230 likes | 362 Views
การปรับปรุงการมัธยมศึกษา. สำหรับประกอบการทำแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 26 ตุลาคม 2549 กรุงเทพ. ภาพรวม การเข้าเรียนและความเท่าเทียม คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประเด็นความท้าทายในยุคต่อไป. ภาพรวม. บทบาทของการมัธยมศึกษา.
E N D
การปรับปรุงการมัธยมศึกษาการปรับปรุงการมัธยมศึกษา สำหรับประกอบการทำแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 26 ตุลาคม 2549 กรุงเทพ
ภาพรวม • การเข้าเรียนและความเท่าเทียม • คุณภาพ • ประสิทธิภาพ • ประเด็นความท้าทายในยุคต่อไป
ภาพรวม บทบาทของการมัธยมศึกษา • เป็นตัวเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอุดมศึกษา และตลาดแรงงาน • เป็นเครื่องมือหลักในการลดความยากจนในประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่ความเท่าเทียมกันทางด้านรายได้ที่ดีขึ้น รวมถึงความเสมอภาคทางด้านสังคม • นำไปสู่ผลตอบแทนทางสังคมที่สูงขึ้น (เช่น ด้านสุขภาพ) • นำไปสู่ผลตอบแทนสาธารณะที่ไม่ใช่การตลาด (เช่น อัตราการใช้สิทธิ ความข้องเกี่ยวกับอาชญากรรม)
ภาพรวม ภูมิหลังของการศึกษาในประเทศไทย • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 “สิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ 12 ปีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย” • การปฏิรูปที่สำคัญในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง • การปฏิรูปด้านการเรียน ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตร • การปฏิรูปครู การอบรมครู, มาตรฐานระดับวิชาชีพ • การประกันคุณภาพการศึกษา กลไกการควบคุมคุณภาพภายในและภายนอก • รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมทางด้านการศึกษา
ภาพรวม รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาไทย
การเข้าเรียน จำนวนปีการศึกษาที่จบ • จำนวนปีการศึกษาที่จบโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ผ่านมา • สำหรับประชากรอายุ 15-21 จำนวนปีการศึกษาที่จบโดยเฉลี่ยคือประมาณ 10 ปี แสดงให้เห็นถึงการจัดการศึกษาภาคบังคับที่ประสบความสำเร็จ
การเข้าเรียน จำนวนปีการศึกษาที่จบ • 95 % ของจำนวนประชากรอายุ 16-19 ปีสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา และ80% สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในปี 2545 • ในปี 2537 มีเพียง 50 % ของประชากรอายุ 16-19 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา • การเรียนซ้ำชั้นมีไม่มากนัก (1-2 %) และการออกกลางคันมักเกิดในช่วงต่อของช่วงชั้นเรียน
การเข้าเรียน ความเสมอภาคของชายและหญิง • ช่องว่างระหว่างชายและหญิงมีมากขึ้น โดยนักเรียนหญิงจะได้ประโยชน์มากกว่า • ในปี 2537 อัตราการเข้าเรียนสุทธิสำหรับนักเรียนหญิงอยู่ที่ 63 % และนักเรียนชายอยู่ที่ 61 % • ในปี 2545 อัตราการเข้าเรียนสุทธิสำหรับนักเรียนหญิงอยู่ที่ 72 % และนักเรียนชายอยู่ที่ 64 %
การเข้าเรียน ความเท่าเทียมระหว่างชุมชนเมืองและชนบท • อัตราการมีส่วนร่วมในการมัธยมศึกษาครอบคลุมถึงพื้นที่ชนบท • ช่องว่างระหว่างชุมชนเมืองและชนบทในการสำเร็จการศึกษาลดลงจาก 25 % ในปี 2537 เหลือเพียง 8 % ในปี 2545
การเข้าเรียน อัตราการเข้าเรียนโดยรวม: การเปรียบเทียบระดับสากล
การเข้าเรียน การเข้าถึงกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการศึกษา • ข้อมูลของเด็กที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียนมีอยู่จำกัด • ผู้อพยพ เด็กด้อยโอกาส และชนกลุ่มน้อยไม่ได้ถูกรวมอยู่ในกลุ่มผู้ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา • ในปี 2547 มีเด็กด้อยโอกาสจำนวน 175000 คนที่เข้าเรียนในระดับก่อนชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (1.27 % ของประชากรอายุ 3-17 ปี) • อุปสรรคสำคัญในการออกจากการศึกษาของนักเรียนคือข้อจำกัดด้านการเงิน
คุณภาพ การวัดคุณภาพโดยเปรียบเทียบ… • จากการเปรียบเทียบในระดับสากล ประเทศไทยยังคงตามหลังญี่ปุ่น ฮ่องกง และเกาหลีอย่างมาก • แต่ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศรายได้ปานกลางขั้นต่ำอื่น ๆ ประเทศไทยมีคุณภาพการศึกษาที่ดีกว่าทั้งในด้านคะแนนและการกระจายของความรู้ทั่วประเทศ • อย่างไรก็ตาม มีเด็กไทยจำนวนน้อยมากที่ได้คะแนนอยู่ในกลุ่มความสามารถระดับสูง (เช่น มีนักเรียนประมาณ 40 % อยู่ที่ระดับหนึ่งหรือต่ำกว่าในโครงการประเมินนักเรียนระหว่างประเทศ (PISA) และนักเรียนมากกว่า 50 % ทำคะแนนทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับหนึ่งหรือต่ำกว่าในโครงการประเมินเดียวกัน
คุณภาพ ประจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ครูผู้สอน • 87 % ของครูโรงเรียนระดับมัธยมของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจบการศึกษาระดับปริญญาตรี • ความมั่นใจของครูที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับคะแนนที่ดีขึ้นของนักเรียน(TIMSS 2542) … 55%ของนักเรียนเรียนกับครูที่รู้สึกว่าตนเองเตรียมการสอนไม่เพียงพอในวิชาคณิตศาสตร์ และ58%สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ • รูปแบบการเรียนการสอนแบบครูสอนหน้าชั้น นักเรียนมีโอกาสจำกัดในการประยุกต์ความรู้สู่สถานการณ์ใหม่ๆ หรือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในระหว่างวันเรียน
คุณภาพ ประจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียน • จำนวนนักเรียนต่อห้องในเอเชียมีแนวโน้มที่ใหญ่ แต่ดูเหมือนจะไม่มีผลกระทบด้านลบต่อคะแนนของนักเรียนในประเทศไทย • อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนักเรียนต่อห้องและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก็เป็นสิ่งที่อธิบายได้ยาก • คุณภาพของอุปกรณ์การศึกษาของโรงเรียนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) แต่ความเพียงพอของอุปกรณ์กลับต่ำกว่ามาก (-0.82) รวมทั้งยังไม่สามารถกระจายได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย • มีจำนวนนักเรียนไม่ถึง 40 % ที่มีเครื่องคิดเลขใช้
คุณภาพ ประจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ครอบครัวและตัวเด็กนักเรียนเอง • การกระจายของความรู้ระหว่างกลุ่มผู้มีรายได้ต่าง ๆ มีความเท่าเทียมกัน • สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่มีผลต่อความต้องการของนักเรียนในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา • ครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่ายินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานมากกว่า (กลุ่มผู้มีรายได้สูงสุด – 7878 บาท เทียบกับ กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุด – 840 บาทต่อปี)
ประสิทธิภาพ งบประมาณทางการศึกษา • รัฐบาลจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาคิดเป็น 20 % ของงบประมาณทั้งหมด (4 % ของGDP) • การมัธยมศึกษาได้รับ 28 % ของงบประมาณทางการศึกษาทั้งหมด (1.13 % ของ GDP)
ประสิทธิภาพ งบประมาณทางการศึกษาต่อกลุ่มรายได้ต่างๆ • งบประมาณได้ถูกจัดสรรให้กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุดในระดับประถมศึกษา • การกระจายทรัพยากรสำหรับระดับการมัธยมศึกษาในกลุ่มรายได้ทั้ง 5 กลุ่มค่อนข้างเท่าเทียกัน • งบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับการอุดมศึกษาเป็นไปในทางตรงข้าม
ประสิทธิภาพ งบประมาณรัฐทางด้านการมัธยมศึกษา • โดยเปรียบเทียบแล้ว ประเทศไทยใช้จ่ายด้านการมัธยมศึกษาต่ำกว่าที่ควร (1.13 % ของ GDP): • ประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีงบประมาณทางด้านมัธยมศึกษา 2.1 % ของ GDP • ประเทศที่มีรายได้ปานกลางขั้นต่ำมีงบประมาณทางด้านมัธยมศึกษา 1.86 % ของ GDP • งบประมาณทางด้านมัธยมศึกษาต่อหัวมีสัดส่วนต่ำกว่าระดับประถมศึกษา 24 % • สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก : รายจ่ายต่อหน่วยของการศึกษาระดับมัธยมสูงกว่าระดับประถมศึกษา 74 % • สำหรับประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ : รายจ่ายต่อหน่วยของการศึกษาระดับมัธยมสูงกว่าระดับประถมศึกษา 39 % • สัดส่วนของการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลท้องถิ่นยังคงต่ำ ส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งจากทางรัฐบาลกลาง
ประสิทธิภาพ การใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือน • ภาคเอกชนมีส่วนสนับสนุนการมัธยมศึกษาเพียง 5 % • ค่าใช้จ่ายครัวเรือนโดยเฉลี่ยมีความแตกต่างกันมากเมื่อเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคและกลุ่มรายได้
ประสิทธิภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรงบประมาณสู่การมัธยมศึกษา • งบประมาณการเงินมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนหรือไม่ • “สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกว่าจะนำไปสู่ผลการเรียนของนักเรียนที่ดีกว่าด้วย” (องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2547) • การปรับปรุงคุณภาพของการมัธยมศึกษาจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระดับประถมศึกษา • ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพในการจัดสรรงบประมาณให้แก่ภาคส่วนต่างๆ รวมถึงผลประโยชน์ของการลงทุนภาครัฐ • อาจมีการประหยัดทรัพยากรได้จากการปรับอัตราส่วนนักเรียนต่อครู หรือการรวมโรงเรียน จุดสมดุลย์ที่เหมาะสม • จากการวิจัยอัตราครู/นักเรียนและเวลาที่ใช้โรงเรียนพบว่าครูไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน • เปรียบเทียบจากต้นทุนที่ต่ำลงและความเอาใจใส่ต่อนักเรียนรายบุคคล • สถานที่ของโรงเรียนตั้งอยู่ในระยะทางที่สมเหตุสมผล
ประเด็นความท้าทาย การเพิ่มการเข้าเรียนและความเสมอภาค • ปรับปรุงการเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เข้าถึงเด็กที่ยังอยู่นอกระบบโรงเรียนได้ดีขึ้น • สร้างความแข็งแกร่งต่อรูปแบบการให้บริการด้านการศึกษาทางเลือก เพิ่มความยืดหยุ่นในด้านสถานที่เรียน ตารางเรียนและหลักสูตร • ลดช่องว่างด้านการเงินระหว่างจังหวัดและกลุ่มรายได้ต่าง ๆ โดยการใช้สูตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน โดยคำนึงถึงเงื่อนไขและความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละจังหวัดและกลุ่มรายได้
ประเด็นความท้าทาย การปรับปรุงคุณภาพ • ส่งเสริมการพัฒนาครูทั้งก่อนและระหว่างการสอน • พัฒนากฎเกณฑ์และวิธีการเพื่อเพิ่มคุณภาพและมาตรฐานของครู รวมทั้งการเพิ่มความสามารถให้ทั้งครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียน • สร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลไกประกันคุณภาพทั้งในด้านความเกี่ยวเนื่องและการติดตามผล • สร้างความแข็งแกร่งต่อโรงเรียนในความรับผิดชอบต่อชุมชนเพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพของระบบการศึกษา • บังคับใช้แผนปฏิบัติงานที่เป็นขั้นตอนในการกระจายอำนาจการให้บริการและการบริหารการศึกษาสู่ระดับท้องถิ่น
ประเด็นความท้าทาย การรับรองประสิทธิภาพ • ปรับการกระจายทรัพยากรจากระดับการศึกษาอื่น ๆ สู่ระดับมัธยมศึกษา • ทบทวนสัดส่วนครูต่อนักเรียน และจำนวนนักเรียนต่อห้อง • กระตุ้นให้ภาคเอกชนเพิ่มระดับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน