1 / 35

ธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. โครงสร้างการกำกับดูแล การใช้บังคับกฎหมาย และกรณีศึกษา สฤณี อาชวานันทกุล 9 ธันวาคม 2549. หัวข้อนำเสนอ. ความสำคัญและหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ บริบทของประเทศไทย โครงสร้างการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ไทย

verda
Download Presentation

ธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โครงสร้างการกำกับดูแล การใช้บังคับกฎหมาย และกรณีศึกษา สฤณี อาชวานันทกุล 9 ธันวาคม2549

  2. หัวข้อนำเสนอ • ความสำคัญและหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ • บริบทของประเทศไทย • โครงสร้างการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ไทย • การใช้บังคับกฎหมายหลักทรัพย์ • กรณีศึกษา: การสั่งพักการซื้อขายชั่วคราว • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

  3. ความสำคัญและหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ความสำคัญและหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์

  4. “ปริมาณ” + “คุณภาพ” = ตลาดทุนที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ • มูลค่าตลาด (market capitalization) • มูลค่า/ปริมาณการซื้อขาย (trading value/volume) • จำนวนบริษัทจดทะเบียน • จำนวนนักลงทุน ปริมาณ คุณภาพ • ความถี่ของการสร้างราคาหุ้น (“ปั่นหุ้น”) และการลงโทษผู้กระทำผิด • สัดส่วนหุ้นบลูชิพ/หุ้นทั้งหมด • ความถูกต้องและความโปร่งใสของงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน • กฎเกณฑ์คุ้มครองนักลงทุนรายย่อย • สัดส่วนนักลงทุนเพื่อคุณค่า (value investors) / นักลงทุนสถาบัน • “วัฒนธรรมการเปิดเผยสารสนเทศ”

  5. ความล้มเหลวของตลาด ส่งผลให้ตลาดทุนขาดเสถียรภาพ • ความล้มเหลวของตลาด (market failure) • ภาวะการแข่งขันไม่เป็นธรรม (anti-competitive behavior) • พฤติกรรมไม่เหมาะสมของผู้เล่นในตลาด (market misconduct) • ความไม่เท่าเทียมกันในการรับทราบสารสนเทศ (information asymmetry) • ภาวะไร้เสถียรภาพของระบบ (systemic instability) • ผลกระทบจากความล้มเหลวของตลาด • เงินไหลเข้าประเทศเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น (hot money) เป็นหลัก เพิ่มความเสี่ยงของระบบ • พฤติกรรมทุจริตต่างๆ เช่น ปั่นหุ้น และปัญหา moral hazard ของนักลงทุน (เลือกเล่นแต่ “หุ้นปั่น” เป็นหลัก ไม่สนใจปัจจัยพื้นฐาน) • ความล้มเหลวของตลาดเกิดขึ้นทั่วโลก แม้ในตลาดทุนของประเทศพัฒนาแล้ว • รายงาน Measuring Market Cleanliness ของอังกฤษ – นักลงทุนทำ “insider trading” ก่อนการเปิดเผยสารสนเทศสำคัญ 28.9% - 38.9% ของสารสนเทศทั้งหมด

  6. หลักธรรมาภิบาลสากลขององค์กรกำกับดูแลตลาดทุนหลักธรรมาภิบาลสากลขององค์กรกำกับดูแลตลาดทุน • แนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของภาครัฐ ตามรายงานของ IMF / Brookings / World Bank • ต้องมีความเป็นอิสระและมีความรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้อง (independence with accountability) • มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจดำเนินการต่าง ๆ (transparency) • มีมาตรการที่จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่ามีการดำเนินงานอย่างซื่อตรงและเป็นธรรม (integrity) • เป้าหมายขององค์กรกำกับดูแลตลาดทุน ภายใต้ชุดหลักการขององค์กรกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Organization of Securities Commissions หรือ IOSCO) • ปกป้องคุ้มครองนักลงทุน • ดำเนินงานให้ตลาดหลักทรัพย์มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส • ลดความเสี่ยงของระบบ (systemic risk)

  7. ความสมดุล : ความท้าทายของธรรมาภิบาลตลาดทุน • ความท้าทายของการกำกับดูแลตลาดทุน อยู่ที่การหา “จุดสมดุล” ที่เหมาะสม ระหว่างประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะระหว่างบริษัทจดทะเบียนและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กับนักลงทุนรายอื่นๆ • ปกป้องบริษัทจดทะเบียน/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากเกินไป = การกำกับดูแลอ่อนเกินไป (lax regulation) ความล้มเหลวของตลาด โดยเฉพาะการทุจริต • ปกป้องนักลงทุนมากเกินไป = การกำกับดูแลเข้มงวดเกินไป (over-regulation) บริษัทจดทะเบียนเผชิญต้นทุนสูงไป / “หนี” ไปจดทะเบียนที่ตลาดอื่น (ปัญหาของ Sarbanes-Oxley Act ในอเมริกา) ต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ประโยชน์ของนักลงทุน องค์กร กำกับ

  8. บริบทของประเทศไทย

  9. รัฐและองค์กรกึ่งรัฐถือหุ้นอย่างน้อย 22.1% ในตลาดหุ้น ยังไม่รวมหุ้นที่ถือใน อสมท., ธนาคารต่างๆ ฯลฯ

  10. สัดส่วนของนักลงทุนรายย่อย (free float) ยังต่ำมาก...

  11. ...แต่มีสัดส่วนการซื้อขายสูงสุด สะท้อนพฤติกรรมเก็งกำไร 5,322 พันล้านบาท 3,596 พันล้านบาท (10 เดือน) นักลงทุนรายย่อย 34% เจ้าของ/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 44% 11% นักลงทุนต่างประเทศ 29% 55% นักลงทุนสถาบันในประเทศ 4% 23% มูลค่าตลาด มูลค่าซื้อขาย

  12. โครงสร้างการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ไทยโครงสร้างการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ไทย

  13. โครงสร้างของ ก.ล.ต. • ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยสมาชิกดังต่อไปนี้ • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย • ปลัดกระทรวงการคลัง • ปลัดกระทรวงพาณิชย์ • ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน แต่ไม่เกิน 6 คน โดยในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การบัญชี และการเงินด้านละ 1 คน และไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือเป็นข้าราชการ • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นกรรมการและเลขานุการ • ผู้บริหารสูงสุดของสำนักงาน ก.ล.ต. คือเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีคลัง เลขาธิการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้

  14. “หมวกหลายใบ” ขององค์กรรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐในตลาดทุน • ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นทั้งกรรมการคณะกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่รัฐมีอำนาจควบคุม • องค์กรรัฐและองค์กรกึ่งรัฐอื่นๆ เป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญในบริษัทเหล่านั้นด้วย เช่นในกรณี บมจ. การบินไทย: กระทรวงการคลัง กำกับดูแล ก.ล.ต. ถือหุ้น 30% คณะกรรมการ กองทุนรวมวายุภักษ์ สำนักงานประกันสังคม ถือหุ้น 54% กำกับดูแล ถือหุ้น 0.50% ถือหุ้น 17% บมจ. การบินไทย

  15. ก.ล.ต. ไทย มีสัดส่วนกรรมการจากภาคการเมืองสูงมาก...

  16. ...และมีสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐสูงสุดในกลุ่มประเทศตัวอย่าง...และมีสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐสูงสุดในกลุ่มประเทศตัวอย่าง

  17. โครงสร้างของ ตลท. • คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วย • บุคคลซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 5 คน ซึ่งต้องเป็น “ผู้มีความรู้และประสบการณ์ในกิจการตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจการเงินเป็นอย่างดี” อย่างน้อย 1 คนในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ • บุคคลซึ่งสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ (หมายถึงบริษัทหลักทรัพย์) แต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 5 คน • ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแต่งตั้งโดยกรรมการตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์โดยตำแหน่ง • กรรมการตลาดหลักทรัพย์ทุกคนจะต้อง “ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง หรือพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งได้รับเลือกตั้ง” • ปัจจุบันมีการลดจำนวนกรรมการที่เป็นตัวแทนของบริษัทสมาชิกจาก 5 คน เหลือ 3 คน และเพิ่มกรรมการที่เป็นตัวแทนจากบริษัทจดทะเบียนอีก 2 คน

  18. ธรรมาภิบาลที่ดีของตลาด ใช้รูปแบบองค์กรแสวงหากำไรได้ • ตลท. เป็นหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์จำนวนน้อยในโลก ที่ยังไม่แปรรูปเป็นบริษัท (demutualization) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน • ตลาดหลักทรัพย์ที่แปรรูปเป็นบริษัทแล้ว ใช้ข้อจำกัดด้านการถือหุ้นและโครงสร้างคณะกรรมการ เป็นเครื่องมือในการหาจุดสมดุลระหว่างหน้าที่ในฐานะองค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) และการแสวงหาผลกำไรในฐานะบริษัทเอกชน • จำกัดไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งถือหุ้นเกิน 5% ในบริษัทตลาดหลักทรัพย์ (ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์) • กรรมการทุกคนต้องเป็นกรรมการอิสระ (NYSE ของอเมริกา) / กรรมการส่วนใหญ่ต้องไม่ใช่ตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ (ฟิลิปปินส์) / กรรมการส่วนใหญ่ต้องเป็นกรรมการผู้ดูแลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest Directors – ฮ่องกง) • ชี้ให้เห็นว่า ธรรมาภิบาลที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูป “องค์กรไม่แสวงหากำไร” เสมอไป • โครงสร้างกรรมการของ ตลท. ยังไม่มีตัวแทนนักลงทุน

  19. การใช้บังคับกฎหมายหลักทรัพย์การใช้บังคับกฎหมายหลักทรัพย์

  20. การปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลภายในยังมีการปรับและกล่าวโทษน้อยการปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลภายในยังมีการปรับและกล่าวโทษน้อย

  21. กระบวนการยุติธรรมขาดประสิทธิผลในการลงโทษผู้ผิดกระบวนการยุติธรรมขาดประสิทธิผลในการลงโทษผู้ผิด • ความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เป็นความผิดทางอาญา ก.ล.ต. ไม่มีอำนาจในการตัดสินความผิดได้เอง ก.ล.ต. จึงต้องรวบรวมพยานหลักฐานอย่างละเอียด • กระบวนการดำเนินคดีอาญาใช้เวลานานมาก และโจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดให้ชัดเจนจนศาล “สิ้นสงสัย” ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้เลยในกรณีทุจริตในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการปั่นหุ้น เพราะพยานหลักฐานมีลักษณะเป็นพยานหลักฐานแวดล้อม (circumstantial evidence) มากกว่า • ในเดือนสิงหาคม 2549 ศาลมีคำสั่งพิพากษาจำคุก 2 ผู้ต้องหา กรณีร่วมกันปั่นหุ้น บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) (“KMC”) ซึ่ง ก.ล.ต. ส่งผลการตรวจสอบให้ศาลไปตั้งแต่ปี 2536 ความล่าช้าครั้งนี้ทำให้ผู้ผิดจำนวน 6 คน รวมทั้ง “เสี่ยสอง” นายสอง วัชรศรีโรจน์ สามารถหลบหนีการจับกุมจนคดีหมดอายุความ • อำนาจของ ก.ล.ต. ไทยมีข้อจำกัดกว่า ก.ล.ต. ในหลายๆ ประเทศ เช่น ไม่มีอำนาจในการสอบสวนเอง หรืออำนาจในการเปรียบเทียบปรับทางแพ่ง

  22. บทลงโทษของไทยต่ำกว่าแทบทุกประเทศในภูมิภาคบทลงโทษของไทยต่ำกว่าแทบทุกประเทศในภูมิภาค

  23. บทลงโทษของไทยต่ำกว่าแทบทุกประเทศในภูมิภาค (ต่อ)

  24. สิทธิของนักลงทุนรายย่อยไทยยังไม่เพียงพอสิทธิของนักลงทุนรายย่อยไทยยังไม่เพียงพอ ที่มา: “ตลาดทุนไทยหลัง CG-ROSC: ทิศทางในอนาคต” โดย ชาลี จันทนยิ่งยง, 26 ตุลาคม 2548

  25. สิทธิของนักลงทุนรายย่อยไทยยังไม่เพียงพอ (ต่อ) ที่มา: “ตลาดทุนไทยหลัง CG-ROSC: ทิศทางในอนาคต” โดย ชาลี จันทนยิ่งยง, 26 ตุลาคม 2548

  26. กรณีศึกษา: การสั่งพักการซื้อขายชั่วคราว

  27. หลักการสากล IOSCO ในการเปิดเผย “สารสนเทศสำคัญ” • บริษัทจดทะเบียนต้องมีหน้าที่ในการเปิดเผยสารสนเทศสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน • บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยสารสนเทศทันทีที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น • บริษัทจดทะเบียนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่ง ต้องเปิดเผยสารสนเทศสำคัญพร้อมๆ กัน และมีใจความเหมือนกันในทุกตลาดหลักทรัพย์ที่ตนจดทะเบียนอยู่ • บริษัทจดทะเบียนต้องเผยแพร่สารสนเทศสำคัญอย่างทันท่วงทีด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ • การเปิดเผยชนิดต่อเนื่องต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หลอกลวงนักลงทุน หรือละเว้นข้อมูลสำคัญ • บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยสารสนเทศสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เปิดเผยต่อบุคคลกลุ่มในกลุ่มหนึ่งก่อนที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ข้อนี้อาจยกเว้นได้ในกรณีการสื่อสารระหว่างบริษัทกับที่ปรึกษาทางการเงินหรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือการติดต่อเจรจากับคู่ค้า พนักงาน สหภาพแรงงาน หรือบุคคลอื่นๆ ในการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท ซึ่งในกรณีนี้บุคคลต่างๆ ที่ได้รับข้อมูลต้องมีหน้าที่เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ • บริษัทจดทะเบียนต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการเปิดเผยสารสนเทศ

  28. การสั่งพักการซื้อขายชั่วคราว (ขึ้นเครื่องหมาย H หรือ SP) • ข่าวลือที่ ตลท. จะพิจารณาสั่งพักการซื้อขายให้บริษัทชี้แจง : “สารสนเทศที่อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาและ/หรือปริมาณการซื้อขายของบริษัท ที่ยังไม่ได้แจ้งต่อ ตลท.” • การพิจารณาความมีนัยสำคัญของข่าวลือ • แหล่งข่าวชัดเจน (ผู้บริหาร / ผู้ถือหุ้นใหญ่ / ทางการ) หรือไม่ระบุแหล่งข่าวหรือผู้ให้ข่าว • ผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์และปริมาณการซื้อขาย • แพร่กระจายในวงกว้างหรือไม่ (widespread) • เมื่อข่าวลือนั้นเข้าข่าย “สารสนเทศสำคัญ” ตลท. จะพิจารณาขึ้นเครื่องหมาย • H / SP (Halt / Suspend)- มีข่าวหรือข้อมูลสำคัญที่เห็นได้ชัดว่าอาจกระทบต่อภาวะการซื้อขาย หรือข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Inside Information • NP (Notice Pending) – มีข่าวหรือข้อมูลสำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขาย แต่ไม่ถึงระดับต้องหยุดพักการซื้อขาย

  29. กระบวนการขึ้นเครื่องหมาย NP, H, SP สารสนเทศที่ยังไม่เปิดเผยผ่านระบบ ติดต่อให้ บจ. ชี้แจง ทันเวลาเปิดการซื้อขาย ไม่ทันเวลาเปิดการซื้อขาย พิจารณาขึ้นเครื่องหมายNP, H, SP ซื้อขายตามปกติ ภายหลังการชี้แจง ปลดเครื่องหมาย

  30. ตลท. ขึ้นเครื่องหมาย H/SP ในระดับใกล้เคียงกับต่างชาติ...

  31. ...แต่หุ้นเก็งกำไรส่วนใหญ่ไม่เคยถูก H/SP : นักลงทุนไม่สนใจ?

  32. เหตุผลส่วนใหญ่ในการขึ้นเครื่องหมาย H/SP ยังไม่ใช่ข่าวลือ

  33. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

  34. ข้อเสนอแนะด้านโครงสร้างองค์กรข้อเสนอแนะด้านโครงสร้างองค์กร • โครงสร้างองค์กรของ ก.ล.ต. ควรปรับเปลี่ยนให้ลดความเสี่ยงจากการแทรกแซงทางการเมืองและผลประโยชน์ทับซ้อนให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยการเปลี่ยนจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ เป็นกรรมการอิสระผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งจากคณะกรรมการสรรหาอิสระ หรือวุฒิสภา • ปัจจุบัน ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ ตามแนวทางดังกล่าว • โครงสร้างองค์กรของ ตลท. ควรปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบบริษัท (demutualization) ในระยะยาว โดยควรมีระดับธรรมาภิบาลที่เข้มข้นกว่าบริษัทเอกชนทั่วไป • มีมาตรการขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างตัวแทน (บริษัทสมาชิก) กับนักลงทุน โดยใช้กฎหมายจำกัดขอบเขตการทำธุรกิจหลักทรัพย์และการถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ • กำหนดให้ตัวแทนนักลงทุนรายย่อยร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ • แยกส่วนขององค์กรที่ทำหน้าที่องค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) ออกจากส่วนที่ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

  35. ข้อเสนอแนะด้านกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับข้อเสนอแนะด้านกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับ • ปรับปรุงกระบวนการทางกฎหมายให้มีประสิทธิผลมากขึ้น โดยเพิ่มอำนาจให้ ก.ล.ต. • มีอำนาจเปรียบเทียบปรับทางแพ่งในคดีอาญา • เพิ่มอำนาจในการสอบสวนคดีอาญา • เพิ่มบทลงโทษ (ค่าปรับและโทษจำคุก) ให้สูงกว่าเดิม ตามมาตรฐานที่ใช้ในต่างประเทศ • ควรมีการขยายขอบเขตหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆ โดยเฉพาะการเปิดเผยสารสนเทศสำคัญ ไปยังผู้มีส่วนได้เสียรายอื่นๆ นอกเหนือจากบริษัทจดทะเบียน เช่น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และสถาบันการเงินตัวกลาง • ก.ล.ต. และ ตลท. ควรมีมาตรการลงโทษผู้เปิดเผยสารสนเทศซึ่งปรากฏภายหลังว่าเป็นเท็จ และผู้เปิดเผยสารสนเทศดังกล่าวมีเจตนาหลอกลวงนักลงทุนรายอื่น ที่ชัดเจนและสูงพอที่จะช่วยป้องปรามการกระทำผิดได้ • บริษัทจดทะเบียนที่ทำผิดกฎการรายงานสารสนเทศ 3 ครั้งภายใน 2 ปี หรือผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินมีปัญหา ควรถูกเพิกถอนออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน (กฎของเกาหลีใต้) • เพิ่มกลไกทางกฎหมายให้นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียรายอื่นๆ สามารถปกป้องดูแลสิทธิของตนเอง เช่น กฎหมายดำเนินคดีแบบรวมกลุ่ม (class action law) และกฎหมายคุ้มครองผู้ให้เบาะแสการทุจริต (whistleblower protection law) – อยู่ระหว่างการดำเนินการของ ก.ล.ต.

More Related