1 / 33

การสอบสวนการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ตุลาคม 2553- กุมภาพันธ์ 2554

การสอบสวนการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ตุลาคม 2553- กุมภาพันธ์ 2554. นพ.ธนพล หวังธีระประเสริฐ นพ.เอกชัย ยอดขาว นพ.โรม บัวทอง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ความเป็นมา.

malina
Download Presentation

การสอบสวนการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ตุลาคม 2553- กุมภาพันธ์ 2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสอบสวนการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอ อ.คลองใหญ่ จ.ตราดตุลาคม 2553- กุมภาพันธ์ 2554 นพ.ธนพล หวังธีระประเสริฐ นพ.เอกชัย ยอดขาว นพ.โรม บัวทอง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  2. ความเป็นมา • สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดในวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ว่ามีการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอ ที่อ.คลองใหญ่ จ.ตราด • พบผู้ป่วยสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอทั้งหมด 9 ราย (2 กลุ่มก้อน)ในระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2553 (ค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังในช่วงเดียวกันมี 4 ราย) • ทีม SRRT ของสำนักระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี และโรงพยาบาลคลองใหญ่ จ.ตราด ได้ร่วมกันสอบสวนโรคตั้งแต่ 28 ธันวาคม 2553 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2554

  3. จุดประสงค์การสอบสวน • เพื่อยืนยันและดูขอบเขตของการระบาด • เพื่อหาแหล่งโรคและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ • เพื่อให้คำแนะนำในการป้องกันควบคุมโรค

  4. วิธีการสอบสวนโรค

  5. การศึกษาเชิงพรรณนา • ทบทวนสถานการณ์ของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอที่อ.คลองใหญ่ จ.ตราด • ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี ตับอักเสบ และตัวเหลืองตาเหลือง • ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในบ้านเดียวกันและในเพื่อนบ้านใกล้เคียง • สัมภาษณ์ผู้ป่วยแต่ละรายโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง

  6. นิยามผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอนิยามผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ • ผู้ป่วย • ผู้ป่วยสงสัย • ผู้อาศัยในอ.คลองใหญ่ จ.ตราดและมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองตั้งแต่ 26 กันยายน 2553 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2554 • ไม่ได้ป่วยจากโรคอื่นๆ (ที่ทำให้เหลืองได้) โดยมีผลทางห้องปฏิบัติการยืนยันชัดเจน • ผู้ป่วยยืนยัน • ผู้ป่วยสงสัยที่แอนติบอดี IgM ต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบเอให้ผลบวก

  7. การศึกษาสิ่งแวดล้อม • ตลาดขายอาหารทะเลที่อ.คลองใหญ่ • สำรวจแหล่งที่มาของอาหารทะเล • สัมภาษณ์ผู้ขาย • โรงงานน้ำดื่มและน้ำแข็ง (โรงงานก.) • สำรวจกระบวนการผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็งของโรงงาน • ค้นหาขั้นตอนการผลิตที่อาจมีการปนเปื้อน • สัมภาษณ์คนงานและเจ้าของโรงงาน

  8. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ • แหล่งของเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ • อาหารทะเล • น้ำดื่มและน้ำแข็ง • นำทดสอบหา RNA ของเชื้อไวรัสตับอักเสบเอโดยวิธี PCR • ทดสอบหาแอนติบอดี IgMต่อเชื้อโดยชุดทดสอบแบบไว (Rapid test) • หาระดับภูมิคุ้มกัน • ทดสอบแอนติบอดี IgMและ IgGในซีรั่มที่เจาะเก็บมาได้ โดยวิธี enzyme linked immunofluorescent assay (ELFA) • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหมายถึง ผู้ที่แอนติบอดี IgMให้ผลลบและแอนติบอดี IgGให้ผลบวก • ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหมายถึง ผู้ที่แอนติบอดี IgMให้ผลลบและแอนติบอดี IgGให้ผลลบ

  9. การศึกษาเชิงวิเคราะห์การศึกษาเชิงวิเคราะห์ • การศึกษา case-control แบบจับคู่ (Matched case-control study) • ผู้ป่วย: ผู้ไม่ป่วย =1:4 • ผู้ป่วย หมายถึงผู้ที่แอนติบอดี IgM ให้ผลบวก • ผู้ไม่ป่วย หมายถึง ผู้ที่แอนติบอดี IgM และ IgG ให้ผลลบ • จับคู่โดยอายุของผู้ไม่ป่วยแตกต่างจากผู้ป่วยไม่เกิน 10 ปี

  10. การเลือกผู้ไม่ป่วย ค้นหา สัมภาษณ์ • สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จากแฟ้มครอบครัว • อยู่ในหมู่เดียวกัน • สามารถสัมภาษณ์ได้ • ถ้าไม่สามารถสัมภาษณ์ได้จะหาผู้ไม่ป่วยจากบ้านใกล้กับผู้ป่วยที่สุดโดยเรียงลำดับซ้ายไปขวา • ขอเจาะเลือดเพื่อทดสอบแอนติบอดี • แอนติบอดี IgM ให้ผลลบ • แอนติบอดี IgG ให้ผลลบ ผู้ไม่ป่วยหมายถึง การทดสอบแอนติบอดี

  11. ผลการศึกษา

  12. แผนภาพแสดงประชากร(ผู้ป่วย)ศึกษาแผนภาพแสดงประชากร(ผู้ป่วย)ศึกษา 13 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 18 ราย ผู้ป่วยสงสัย 8 ราย จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่ม 10 ราย จากเวชระเบียน การศึกษาเชิงพรรณนา การศึกษาเชิงวิเคราะห์

  13. การศึกษาเชิงพรรณนา (ผู้ป่วย 18 ราย) • อายุค่ามัธยฐาน 31ปี (ช่วงระหว่าง 11-69 ปี) • ผู้ใหญ่ (อายุมากกว่า 15 ปี) มี 83% • เพศชาย 7 ราย หญิง 11 ราย • อาชีพ - แม่บ้าน 29%, - ตำรวจ 5% - รับจ้าง 17%, - ครู 5% - ค้าขาย 17%, - ประมง 5% - นักเรียน 17%, - พระ 5% • สัญชาติ (ไทย: กัมพูชา)คือ 5:1 • พบผู้ป่วย 4 กลุ่มก้อน

  14. อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ (18 ราย) อ.คลองใหญ่กันยายน 2553- กุมภาพันธ์ 2554 อาการหรืออาการแสดง เปอร์เซนต์

  15. อัตราป่วยต่อแสนประชากรของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ (18 ราย) แยกตามกลุ่มอายุอ.คลองใหญ่กันยายน 2553- กุมภาพันธ์ 2554 อัตราป่วยต่อแสนประชากร กลุ่มอายุ

  16. วันเริ่มป่วยของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ (18 ราย) แยกตามตำบลอ.คลองใหญ่กันยายน 2553- กุมภาพันธ์ 2554 จำนวนผู้ป่วย วันเริ่มป่วย

  17. ปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ (18 ราย) อ.คลองใหญ่กันยายน 2553- กุมภาพันธ์ 2554 83% จากโรงงานก. เปอร์เซนต์

  18. การกระจายของน้ำดื่มและน้ำแข็งที่ผลิตในท้องถิ่น อ.คลองใหญ่ • น้ำดื่ม • โรงงานก: ต.คลองใหญ่, ต.ไม้รูด, ต.หาดเล็ก • โรงงานข : ต.คลองใหญ่ • โรงงานค : ต.คลองใหญ่, ต.หาดเล็ก • โรงงานง : ต.คลองใหญ่, ต.หาดเล็ก • โรงงานจ : ต.หาดเล็ก • โรงงานฉ : ต.คลองใหญ่, ต.หาดเล็ก • น้ำแข็ง • โรงงานก: ต.คลองใหญ่, ต.ไม้รูด, ต.หาดเล็ก • โรงงานช : ต.คลองใหญ่, ต.หาดเล็ก • โรงงานซ: ต.คลองใหญ่, ต.ไม้รูด, ต.หาดเล็ก • โรงงานฌ: ต.คลองใหญ่, ต.ไม้รูด, ต.หาดเล็ก

  19. การสำรวจอาหารทะเล • อาหารทะเลส่วนใหญ่ในอ.คลองใหญ่ ส่งมาจากตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร และตลาดหาดเล็ก ต.หาดเล็ก ซึ่งเป็นตลาดชายแดนไทยกัมพูชา • อาหารทะเลที่ตลาดหาดเล็กนำมาจากท่าเรือที่ตั้งอยู่ใกล้ตลาด รวมถึงนำมาจากประเทศกัมพูชา • หอยนางรม*เป็นอาหารทะเลที่พบว่าเป็นแหล่งโรคของการระบาดของไวรัสตับอักเสบเอมากที่สุด (ในการศึกษาครั้งก่อน) นำส่งมาจากประเทศกัมพูชา * Bialek SR, George PA, Xia GL, Glatzer MB, Motes ML, Veazey JE, et al. Use of molecular epidemiology to confirm a multistate outbreak of hepatitis A caused by consumption of oysters. Clin Infect Dis2007 Mar 15;44(6):838-40.

  20. การสำรวจโรงงานก.

  21. การสำรวจโรงงานก.

  22. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ • น้ำดื่มจากโรงงานก. ตรวจพบเชื้อ (RNA) ไวรัสตับอักเสบเอ • ไม่พบเชื้อ (RNA) ไวรัสตับอักเสบเอจากน้ำดื่มหรือน้ำแข็งจากโรงงานอื่นๆ • ไม่พบเชื้อ (RNA) ไวรัสตับอักเสบเอในหอยนางรม ปู ปลาหมึก และปลาจากตลาดหาดเล็ก • คนงาน 4 คนจาก 6 คนของโรงงานก. ตรวจพบแอนติบอดี IgMโดยชุดทดสอบแบบไว (Rapid test) แต่ให้การตรวจยืนยันให้ผลลบ

  23. สัดส่วนของผู้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบเอในคนไทยแยกตามกลุ่มอายุ(กลุ่มผู้ป่วยและผู้ไม่ป่วยรวม 70 ราย)

  24. แผนภาพแสดงประชากรการศึกษาเชิงวิเคราะห์ทั้งหมด 44 ราย 7 IgM ให้ผลลบ IgG ให้ผลลบ และได้สัมภาษณ์ 13 ราย IgM ให้ผลบวก (ผู้ป่วยยืนยัน) 24 ราย IgM ให้ผลลบ IgG ให้ผลลบ 28ราย IgM ให้ผลลบ IgG ให้ผลบวก 5 ราย IgM ให้ผลลบ IgG ให้ผลบวก ผู้ป่วย 18 ราย ผู้ไม่ป่วย 52 ราย ผู้สัมผัส 44 ราย 34 ราย ไม่ได้สัมภาษณ์ • Conditional logistic regression • อัตราส่วนผู้ป่วยต่อผู้ไม่ป่วยตั้งแต่ 1:1 ถึง 1:4 ผู้ป่วย ผู้ไม่ป่วย

  25. การศึกษาปัจจัยเสี่ยง: conditional logistic regression (13 คู่) *ผลิตภัณฑ์น้ำ = น้ำ + น้ำแข็ง

  26. วิจารณ์ผลการศึกษา(1) • การระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอ ที่อ.คลองใหญ่ ส่วนมากเกิดในกลุ่มผู้ใหญ่ (83%) • การพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในครอบครัวเดียวกันอาจเกิดจากการติดเชื้อจากแหล่งเดียวกันเช่น อาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน • การพบผู้ป่วยในทั้ง 3 ตำบลของอ.คลองใหญ่ทำให้คิดถึงแหล่งรังโรคที่แพร่กระจายไปในทั้ง 3 ตำบลได้เช่น อาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน • กราฟการระบาดแสดงลักษณะการระบาดแบบแหล่งโรคร่วม (common source outbreak)

  27. วิจารณ์ผลการศึกษา(2) • ผลการศึกษาเชิงพรรณนา ผลการศึกษาเชิงวิเคราะห์ และการพบเชื้อไวรัสตับอักเสบเอในน้ำดื่มบ่งชี้ว่าน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการระบาดครั้งนี้ • น้ำดื่มที่ปนเปื้อนอาจมีจำนวนไม่มากเนื่องจากพบผู้ป่วยจำนวนน้อย และระบบการผลิตน้ำของโรงงานก. เป็นระบบปิด • สาเหตุของการปนเปื้อนเชื้อไวรัสในน้ำดื่มของโรงงานก.น่าจะมาจากสุขอนามัยที่ไม่ดี • อัตราป่วยที่สูงที่สุดในกลุ่มอายุ 26-35 ปีอธิบายได้จากสัดส่วนภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบเอที่ต่ำในคนไทยอายุน้อยกว่า 30 ปี

  28. การปรับปรุงสุขอนามัยในโรงงานการปรับปรุงสุขอนามัยในโรงงาน • เพิ่มถังล้างเท้า(น้ำผสมคลอรีน) ก่อนเข้าห้องเย็นเก็บน้ำแข็ง • วางแผนปรับปรุงระบบการระบายน้ำของโรงงานเพื่อไม่ให้มีน้ำขัง • เข้มงวดให้คนงานสวมถุงมือ รองเท้ายาง และล้างมือทุกครั้งก่อนเข้าปฏิบัติงาน

  29. ข้อจำกัดการศึกษา • การหากลุ่มผู้ไม่ป่วยที่มีอายุมากทำได้ยาก ทำให้มีจำนวนผู้ไม่ป่วยน้อยกว่าที่วางแผนไว้ในการศึกษาเชิงวิเคราะห์ • การสอบสวนโรคและการเก็บเลือดส่งตรวจที่ล้าช้าทำให้ไม่สามารถยืนยันการติดเชื้อได้ในผู้ป่วยบางราย (ตรวจไม่พบแอนติบอดี IgM) • ข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าของโรงงานก.อาจไม่ครบถ้วนหรือไม่เป็นความจริงทั้งหมด

  30. คำแนะนำ • ควรปรับปรุงระบบทำความสะอาดและระบบกำจัดเชื้อในโรงงานก. • ควรปรับปรุงระบบระบายน้ำและระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลในโรงงานก. เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงไปในน้ำดื่ม • ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอให้คนงานในโรงงานน้ำดื่มที่มีสุขอนามัยไม่ดี • ควรมีการตรวจหาแบคทีเรีย coliform เป็นประจำเพื่อดูการปนเปื้อนอุจจาระในน้ำดื่ม

  31. สรุปผลการศึกษา • มีการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอในอ.คลองใหญ่ จ.ตราดในช่วงตุลาคม 2553 ถึง มกราคม 2554 • แหล่งรังโรคมาจากน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อจากโรงงานก. • ควรปรับปรุงระบบระบายน้ำและระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลในโรงงานก.เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและการระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต

  32. กิตติกรรมประกาศ • ขอขอบคุณสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด • โรงพยาบาลคลองใหญ่ จ.ตราด • สำนักงานป้องกันควบคุมโรค 3 จังหวัดชลบุรี • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองใหญ่ • พญ.โมไนยา พฤทธิภาพย์ คุณศจิตา เอี่ยมวิไล คุณนิสา เทียนชัย คุณหัทยา กาญจนสมบัติ คุณสุรีย์ เต็มศิริพัน คุณทรงวิทย์ ภิรมภักดิ์ • อาจารย์และเพื่อนๆ ทุกท่านที่ FETP

  33. ขอบคุณครับ

More Related