1 / 101

กฎหมายเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์

กฎหมายเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ศ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ. กฎหมายแรงงานที่สำคัญ (ในวิสาหกิจเอกชน). 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน) 2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 3. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

Download Presentation

กฎหมายเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ศ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ

  2. กฎหมายแรงงานที่สำคัญ(ในวิสาหกิจเอกชน)กฎหมายแรงงานที่สำคัญ(ในวิสาหกิจเอกชน) 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน) 2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 3. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 4. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 5. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 6. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 7. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522

  3. กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่นายจ้างส่วนใหญ่มักเข้าใจและปฏิบัติผิดพลาด...กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่นายจ้างส่วนใหญ่มักเข้าใจและปฏิบัติผิดพลาด... การเรียกหลักประกัน (จำนวนและมูลค่าหลักประกัน และการคืนหลักประกัน) วันหยุด (วันหยุดพักผ่อนประจำปี) วันลา (วันลาป่วย วันลาเพื่อคลอดบุตร และการจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าว) การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าตอบแทน การจ่ายค่าจ้าง (ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามกำหนดเวลา ยึดหน่วง หรือหักค่าจ้าง) การบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างหรือการลาออก (การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า) การจ่ายค่าชดเชย การล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ

  4. ข้อผิดพลาดสามัญประจำทุกสถานประกอบการข้อผิดพลาดสามัญประจำทุกสถานประกอบการ การกระทำที่ผิดกฎหมายของนายจ้างหรือผู้บริหารซึ่งเห็นได้ชัดทุกสถานประกอบกิจการนั้น พบได้ใน • สัญญาจ้างแรงงาน • ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน • หนังสือเตือน • หนังสือเลิกจ้าง • ใบลาออก • ใบสำคัญแสดงการทำงาน ฯลฯ

  5. ข้อแนะนำสำหรับนักบริหารข้อแนะนำสำหรับนักบริหาร การทำสัญญาจ้างแรงงาน • 1. ทำเป็นหนังสือ มีข้อความกำหนดหน้าที่ที่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติต่อกัน เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ตรงตามที่ได้เจรจาตกลงกันไว้โดยครบถ้วน • ไม่มีข้อความที่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน ฝ่าฝืนศีลธรรม มีลักษณะเอาเปรียบ หรือสร้างภาระให้แก่ลูกจ้างเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

  6. ข้อแนะนำสำหรับนักบริหารข้อแนะนำสำหรับนักบริหาร 3. ได้ให้นักกฎหมายแรงงานหรือพนักงานตรวจแรงงาน ตรวจสอบข้อความในสัญญาจ้างแรงงานนั้นแล้ว4. ทำขึ้น 2 ฉบับ และมอบให้ลูกจ้างยึดถือไว้ 1 ฉบับ • การทำสัญญาจ้างแรงงาน

  7. Pacta sunt servanda สัญญาต้องเป็นสัญญา (สัญญาต้องได้รับการปฏิบัติ) (ใครทำ) สัญญา(กับใครไว้ก็)ต้อง(ปฏิบัติให้) เป็น(ไปตาม) สัญญา(นั้น) 7

  8. สัญญาจ้าง (ที่ไม่มีผลบังคับดังสัญญา) 1. ตกเป็นโมฆะ • ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายเงินทดแทน ฯลฯ) 8

  9. สัญญาไม่จ่ายค่าชดเชย สัญญาจ้างที่ระบุว่า การเลิกจ้างตามสัญญานี้ นายจ้างไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าชดเชย และลูกจ้างไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง เห็นได้ชัดแจ้งว่ามีวัตถุประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึง ตกเป็นโมฆะ (๕๖๙/๒๕๔๗) 9

  10. สัญญารวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่าย ข้อตกลงที่รวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติ โดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาที่ทำจริง เป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๐ (๕๙๗๘/๒๕๕๐) 10

  11. ข้อบังคับกำหนดให้หญิงเกษียณอายุก่อนชายข้อบังคับกำหนดให้หญิงเกษียณอายุก่อนชาย ๖๐๑๑ - ๖๐๑๗/๒๕๔๕ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานส่วนหนึ่ง)กำหนดการเกษียณอายุลูกจ้างหญิง ๕๕ ปี ลูกจ้างชาย ๖๐ ปี ข้อกำหนดการเกษียณอายุลูกจ้างหญิงจึงขัดต่อกฎหมาย = โมฆะ 11

  12. 2. ใช้ได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร • มีข้อสัญญาที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๓๐ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ 12

  13. นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างนายจ้างได้เปรียบลูกจ้าง สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควรให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้บังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ม. 14/1 13

  14. สัญญาห้ามทำงานที่แข่งขันสัญญาห้ามทำงานที่แข่งขัน ๖๐๗๕/๒๕๔๙ตามใบสมัครงานมีข้อความว่า “ข้าพเจ้ายินยอมที่จะไม่ทำงานเพื่อหรือทำประโยชน์ให้กับสำนักงานกฎหมายอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นเวลา ๒ ปี...” โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการฝ่ายงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นตำแหน่งที่สามารถล่วงรู้ความลับในทางการค้าและข้อมูลของจำเลยได้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในการประกอบกิจการโดยชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อโจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างแล้ว โจทก์ไปทำงานกับสำนักงานกฎหมายในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการผิดสัญญาข้อดังกล่าว 14

  15. สัญญาห้ามทำงานที่แข่งขันสัญญาห้ามทำงานที่แข่งขัน ๘๕๗๐-๘๕๗๒/๒๕๕๒ ลูกจ้างคนที่หนึ่งทำงานในตำแหน่งพนักงานโต้ตอบจดหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิบัตร ลูกจ้างคนที่สองและคนที่สามทำงานในตำแหน่งเลขานุการทนายความ มีหน้าที่ในงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและงานอื่น ๆ ตามที่ทนายความมอบหมายในสำนักงานกฎหมายของนายจ้าง แม้ลูกจ้างทั้งสามคนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของลูกความได้ก็เนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่ตามปกติให้แก่นายจ้าง ลูกจ้างทั้งสามไม่จำต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญหรือเทคนิคพิเศษ ไม่ใช่หน้าที่สำคัญที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการดำเนินกิจการของนายจ้าง หรือก่อความเสียหายแก่นายจ้างได้ข้อสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างทั้งสามในส่วนที่ห้ามมิให้ลูกจ้างเข้าทำงานในสำนักงานกฎหมายอื่นในเขตกรุงเทพมหานครภายในระยะเวลาอย่างต่ำ ๒ ปี หลังจากพ้นสภาพการเป็นพนักงานของนายจ้าง เป็นข้อตกลงที่เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์แก่นายจ้างเพียงลำพังฝ่ายเดียวและเกินสมควร ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะไม่อาจใช้บังคับแก่ลูกจ้างทั้งสามได้ 15

  16. สัญญาฝึกอบรม ๒๐๐/๒๕๕๐สัญญาฝึกอบรมและดูงานต่างประเทศกำหนดให้ลูกจ้างนำความรู้กลับมาใช้ในการทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนแม้ระยะเวลาที่นายจ้างส่งลูกจ้างไปฝึกอบรมและดูงานโดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจะมีกำหนดเพียง ๒ สัปดาห์ แต่ระยะเวลาที่ให้ลูกจ้างกลับมาทำงานให้นายจ้างมีกำหนด ๓ ปี ก็ไม่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้าง สัญญายังให้สิทธิลูกจ้างไม่ต้องกลับมาทำงานโดยชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด การคำนวณค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้ ก็ให้เอาค่าใช้จ่ายทั้งหมดหารด้วย ๓๖ เดือน แล้วคูณด้วยจำนวนเดือนที่ยังทำงานไม่ครบ ก็ไม่ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบเช่นกัน จึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม 16

  17. สัญญารับทุนฝึกอบรม ๖๙๐/๒๕๕๒สัญญาให้ทุนฝึกอบรมที่ให้ลูกจ้างต้องกลับมาทำงานกับนายจ้าง มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและเสียเบี้ยปรับนั้น เป็นข้อห้ามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของนายจ้างไม่ให้สูญเสียลูกจ้างที่อุตส่าห์ลงทุนส่งไปฝึกอบรมจนมีคุณวุฒิ เป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้ข้อกำหนดที่ให้ลูกจ้างสามารถเลือกเอาได้ว่าจะกลับมาทำงานกับนายจ้างหรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนพร้อมเสียเบี้ยปรับ ๓ เท่า ก็ไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้ลูกจ้างต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติส่วนที่นายจ้างส่งลูกจ้างไปอบรมเพียง ๑๔ วันแต่มีกำหนดให้ลูกจ้างต้องกลับมาทำงานกับนายจ้างเป็นเวลา ๓ ปี เป็นข้อกำหนดที่ทำให้ลูกจ้างต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ จึงมีผลบังคับได้เพียง ๑ ปีเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี 17

  18. ข้อแนะนำสำหรับนักบริหารข้อแนะนำสำหรับนักบริหาร • การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 1. ปฏิบัติต่อลูกจ้างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด 2. ปรับปรุงการปฏิบัติต่อลูกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างมีความ ปลอดภัย มีสุขภาพอนามัย และมีคุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น 3. กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สอดคล้องกับ กฎหมาย และเหมาะสมกับประเภทกิจการ

  19. ข้อแนะนำสำหรับนักบริหารข้อแนะนำสำหรับนักบริหาร • การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน • กำหนดวินัยในการทำงาน วิธีการ การสอบหาข้อเท็จจริง และโทษทางวินัย ให้เหมาะสมกับกิจการ และให้โอกาส ลูกจ้างชี้แจงแสดงเหตุผล • หลีกเลี่ยงการตัด หัก หรือ ลดค่าจ้าง รวมทั้งการเลิกจ้างโดยเลือกใช้วิธีการอื่นแทน

  20. การจ้างเหมาค่าแรง ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการฯ ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว (ม. 11/1) 20

  21. ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ (ม. 11/1) 21

  22. SEXUAL HARASSMENT “ล่วงเกินฯทางเพศ” ห้าม! • นายจ้าง • หัวหน้างาน • ผู้ควบคุมงาน หรือ • ผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือ • ก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ ต่อ • ลูกจ้าง(ผู้ใต้บังคับบัญชา)(เพื่อนร่วมงานไม่ใช่) ม. 16 22

  23. ความหมาย ารกระทำใด ๆ ที่ ก ไม่สมควร เพื่อให้ได้รับสัมผัสทางกาย สนองอารมณ์หรือใจ ในเรื่องทางเพศ ไม่ว่าจะกระทำด้วยกาย วาจา ภาษากาย หรือด้วยสัญลักษณ์อื่นใดและไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะยินยอมให้กระทำเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม 1372 /2545 การชักชวนผู้ใต้บังคับบัญชาหญิงขณะทดลองงานไปเที่ยวเตร่ในเวลาค่ำคืน แสดงว่ามีความประสงค์จะล่วงเกินทางเพศ 23

  24. หลักปฏิบัติต่อบทบัญญัตินี้หลักปฏิบัติต่อบทบัญญัตินี้ ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวนายจ้างเอง หรือเป็นหัวหน้างาน ผู้ตรวจงาน หรือผู้ควบคุมงาน นอกจากผู้นั้นจะได้รับโทษทางอาญาเป็นส่วนตัวแล้วแล้ว นายจ้างอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนมากได้ นายจ้างจึงควรแสดงออกให้แน่ชัดและจริงจัง(โดยออกประกาศหรือคำสั่ง)ว่า นายจ้างจะลงโทษทางวินัยสถานหนักทันทีที่บุคคลนั้นฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องนี้ 24

  25. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอม เป็น คราวๆ ไป • งานต่อไปนี้ให้ทำได้ตามที่จำเป็น(ไม่ต้องได้รับความยินยอม) • ลักษณะงาน – สภาพต้องทำติดต่อกัน • งานฉุกเฉิน ม. 24

  26. วันหยุด ประจำสัปดาห์ ตามประเพณี พักผ่อนประจำปี ม. 5 26

  27. วันหยุดประจำสัปดาห์ • ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่า 1 วัน • โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน • งานบางประเภท สะสมวันหยุดได้ (หากตกลงกัน) ม. 28 27

  28. วันหยุดตามประเพณี • ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้า • ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ ม. 29 28

  29. วันหยุดพักผ่อนประจำปีวันหยุดพักผ่อนประจำปี • นายจ้างต้องกำหนดวัน(ที่ที่จะให้ลูกจ้าง)หยุดพักผ่อนประจำปี ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน • เมื่อลูกจ้างทำงานในปีแรกมาแล้วครบ 1 ปี(365 วัน) • โดยนายจ้างจะกำหนดเองหรือตกลงกับลูกจ้างก็ได้ ม. 30 29

  30. วันลา ป่วย เพื่อคลอดบุตร เพื่อทำหมัน เพื่อฝึกอบรมฯ เพื่อกิจธุระอันจำเป็น ม. 5 เพื่อรับราชการทหาร 30

  31. วันลาป่ว ย • ลาได้ เท่าที่ป่วยจริง • ติดต่อกัน 3 วันทำงานขึ้นไป เรียกใบรับรองของแพทย์ได้ • ต้องลาป่วย อันมิใช่เนื่องมาจากการทำงาน • จ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันทำงาน / ปี (ม. 57) ม. 32 31

  32. ลาเพื่อทำหมั น ลาเพื่อทำหมัน ชาย หญิง ลาได้ตามเวลาที่แพทย์กำหนด ม. 33 ได้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา (มาตรา 57 วรรคสอง) 32

  33. ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็ น ***** หลักเกณฑ์ จำนวนวัน และการจ่ายค่าจ้าง เป็นไปตาม “ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน” ***** ม. 34 33

  34. ลาเพื่อรับราชการทหา ร • ในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อทดลองความพรั่งพร้อม • จ่ายค่าจ้างตามวันที่ลา แต่ไม่เกินปีละ 60 วัน (ม.58) พลทหาร ศรราม สมชาย ธนา ได้สิทธิตามมาตรา 35 หรือไม่? ม. 35 34

  35. ลาเพื่อการฝึกอบร ม • ***** • (เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5) • ***** • เพื่อประโยชน์ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคมฯ • การสอบวัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดฯขึ้น ม. 36 35

  36. ลาเพื่อคลอดบุต ร • เฉพาะลูกจ้างหญิง เท่านั้น ! • ครรภ์หนึ่ง ไม่เกิน 90 วัน (นับรวมวันหยุดระหว่างวันลา) • ได้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน (ม. 59) ข้อน่าคิด : คลอดบุตรแฝด 3 ลาได้กี่วัน? ม. 41 36

  37. ค่าตอบแทนในการทำงาน ค่าจ้าง ค่าทำงาน ในวันหยุด ค่าล่วงเวลา ในวันหยุด ค่าล่วงเวลา ม. 5

  38. ค่าจ้าง • เงิน ที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน • จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน • ตามสัญญาจ้าง • สำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายระยะเวลาอย่างอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลของงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน

  39. ค่าจ้าง : คำที่เป็นปัญหา • “ค่าจ้าง” เป็นฐานในการคำนวณเงินอื่นตามกฎหมาย ได้แก่ ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ เงินประกัน เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ฯลฯ • การจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างโดยเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นนอกจาก “ค่าจ้าง” หรือ “เงินเดือน” จะสร้างปัญหาทางกฎหมายให้แก่นายจ้างนั้นได้

  40. สรุปวิเคราะห์ เงินจำนวนใด ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร หากจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน(โดยตรง)หรือจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำ มีจำนวนแน่นอนโดยไม่ปรากฏวัตถุประสงค์การจ่ายเป็นประการอื่นย่อมถือว่าเป็น “ค่าจ้าง”

  41. สรุปวิเคราะห์ เงินจำนวนใด ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร หากจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์แจ้งชัดว่าเพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างหรือเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานเพิ่มขึ้น หรือเพื่อเป็นรางวัลแก่ลูกจ้างหรือเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างหรือเพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ลูกจ้างได้ออกไปเพื่อกิจการของนายจ้าง ย่อมไม่ถือว่าเป็น “ค่าจ้าง”

  42. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ วันละ ๓๐๐ บาท ในท้องที่กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร (จังหวัดอื่น วันละ ๑๒๒ – ๒๗๓ บาท) ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป วันละ ๓๐๐ บาท ในท้องที่ทุกจังหวัด (อัตราเดียวทั่วประเทศ)

  43. ๘๖๘๒/๒๕๔๘ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเพียงวันละ ๕ ชั่วโมง ลูกจ้างก็ต้องได้ค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน ๑ วัน ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด จะคำนวณจ่ายโดยเฉลี่ยมิได้

  44. การปรับค่าจ้างเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายการปรับค่าจ้างเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ๑. เมื่อกฎหมายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับแล้ว ๒. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างทุกคน(ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน(ที่มักเรียกว่างานเหมา) ฯลฯ) ในแต่ละวันไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งกำหนดไว้ในท้องที่จังหวัดนั้น ๓. แม้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะกำหนดเป็น “วันละ” แต่นายจ้างอาจจ้างลูกจ้างโดยจ่ายเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน หรือจ้างโดยจ่ายค่าจ้างตามผลของงานก็ได้

  45. การปรับค่าจ้างเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายการปรับค่าจ้างเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ๔. ในกรณีที่นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างเป็นรายเดือน ให้กำหนดค่าจ้างรายเดือน(เงินเดือน) เท่ากับ “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันคูณด้วย ๓๐” (เช่น ๓๐๐ บาท คูณด้วย ๓๐ = ๙,๐๐๐ บาท เป็นต้น) ๕. นายจ้างที่จ่ายเงินที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้แก่ลูกจ้างด้วย เช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าเข้ากะ ค่าเที่ยว ค่าตำแหน่ง เป็นต้น ถ้าเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ก็ถือว่าเป็น ค่าจ้าง ด้วย หากนำมาคำนวณรวมกับค่าจ้างหลักแล้วได้จำนวนเท่ากับหรือเกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ถือว่านายจ้างปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว

  46. การปรับค่าจ้างเพื่อการแรงงานสัมพันธ์การปรับค่าจ้างเพื่อการแรงงานสัมพันธ์ ๑. เมื่อกฎหมายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับแล้ว หากนายจ้างมีลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็จะต้องปรับค่าจ้างของลูกจ้างดังกล่าวเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ๒. ส่วนลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างเท่ากับหรือสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว แม้ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติบังคับให้นายจ้างปรับค่าจ้างให้ แต่ลูกจ้างเหล่านั้นย่อมมีความรู้สึกว่านายจ้างควรต้องปรับค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวด้วย ดังนั้น นายจ้างจึงควรพิจารณาความสามารถในการจ่ายของตนว่าพอจะปรับเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนได้ในอัตราหรือในจำนวนเท่าใด

  47. ล่วงเวลา เวลาทำงานปกติ ล่วงเวลา 24 – 7 . 59 น. 8 – 17 น. 17 . 01 - 24 น. ค่าล่วงเวลา • ทำงานนอก/เกินเวลาทำงานปกติ • ในวันทำงาน

  48. ค่าล่วงเวลา =1.5 (เท่า) x อัตราค่าจ้าง : ชั่วโมง x จำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือ =1.5 (เท่า) x อัตราค่าจ้าง : หน่วย x จำนวนผลงานที่ทำ ม. 61

  49. ค่าทำงานในวันหยุด = ตอบแทนการทำงานปกติ ในวันหยุด มาตรา 5 ค่าล่วงเวลาในวันหยุด = ตอบแทนการทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด วันหยุด ประจำสัปดาห์ : ตามประเพณี : พักผ่อนประจำปี

  50. ค่าทำงานในวันหยุด

More Related