1 / 62

312 107 Basic Chemistry

312 107 Basic Chemistry. การถ่ายโอนอิเล็คตรอน. (Electron Transfer). อ.ดร. รจนา บุระคำ. เคมีไฟฟ้า. กระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และการใช้พลังงานไฟฟ้าทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี. ปฏิกิริยารีดอกซ์ (ออกซิเดชัน-รีดักชัน).

lala
Download Presentation

312 107 Basic Chemistry

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 312 107 Basic Chemistry การถ่ายโอนอิเล็คตรอน (Electron Transfer) อ.ดร. รจนา บุระคำ

  2. เคมีไฟฟ้า กระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และการใช้พลังงานไฟฟ้าทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ปฏิกิริยารีดอกซ์ (ออกซิเดชัน-รีดักชัน)

  3. ปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox reaction) ปฏิกิริยาที่สารมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอน (ให้-รับ) ซึ่งกันและกัน สารที่ให้อิเล็กตรอน เลขออกซิเดชันสูงขึ้น เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน สารที่รับอิเล็กตรอน เลขออกซิเดชันต่ำลง เกิดปฏิกิริยารีดักชัน     ปฏิกิริยารีดอกซ์ ประกอบด้วย ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน และ ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน

  4. เกณฑ์การกำหนดค่าเลขออกซิเดชัน (O.N.) 1.ธาตุอิสระ (ไม่รวมตัวกับธาตุอื่น มีค่า O.N. = ศูนย์) เช่น Mg , O2 , O3 , S8 , Cl2 , P4 2. ธาตุหมู่ 1 ในสารประกอบ มีค่า O.N. = 1 เช่นLiNO3 , NaCl , KClO3 3. ธาตุหมู่ 2 ในสารประกอบ มีค่า O.N. = 2 เช่นMgCl2 , CaCO3 , BeCl2 4. ธาตุไฮโดรเจน ในสารประกอบ มีค่า O.N. = 1 เช่นHCl , NH3 , H2O ยกเว้น ในสารประกอบของโลหะ เช่น NaH , AlH3 H มี O.N. = -1

  5. เกณฑ์การกำหนดค่าเลขออกซิเดชัน (O.N.) 5. ธาตุออกซิเจน ในสารประกอบ มีค่า O.N. = - 2 เช่น H2O , CO2 ยกเว้นH2O2 , NaO2 , OF  O มี O.N.  -2 6. ผลรวมของ O.N. ในสารประกอบมีค่าเป็นศูนย์ เช่น KMnO4 , MnO2 , Na2C2O4 7. ผลรวมของ O.N. ในไอออนเท่ากับจำนวนประจุ เช่น MnO4- , Cr2O72- , Fe(CN)63-

  6. Mn2O7 = 2Mn + 7O 2Mn + 7(-2) = 0 2Mn = 14 Mn = +7 MnSO4 = Mn + SO4 Mn + (-2) = 0 Mn = +2 C2O42- = 2C + 4O 2C + 4(-2) = -2 2C = 6 C = +3

  7. 2KMnO4 + 5H2S + H2SO4 K2SO4 + MnSO4 + S + H2O  2KMnO4 + 5H2S + 3H2SO4 K2SO4 + 2MnSO4 + 5S + 8H2O  การดุลสมการรีดอกซ์ 1. การดุลโดยใช้เลขออกซิเดชัน ทำเลขออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้นและลดลงในปฏิกิริยาให้เท่ากัน KMnO4 + H2S + H2SO4 K2SO4 + MnSO4 + S + H2O  +2 0 +7 -2 คูณด้วย 2 และ 5 ทำให้จำนวนอะตอมทางขวามือเท่ากับทางซ้ายมือ

  8. Mn2+ + PbO2 MnO4- + Pb2+  Mn2+ + 4H2O MnO4- + 8H+ + 5e- (ออกซิเดชัน) PbO2 + 4H+ + 2e- Pb2+ + 2H2O (รีดักชัน)   2(Mn2+ + 4H2O MnO4- + 8H+ + 5e-) 5(PbO2 + 4H+ + 2e- Pb2+ + 2H2O)   2Mn2+ + 5PbO2 + 4H+ 2MnO4- + 5Pb2+ + 2H2O  2. การดุลโดยใช้ครึ่งปฏิกิริยา ทำให้แต่ละครึ่งปฏิกิริยามีอะตอมและประจุเท่ากันก่อน แล้วทำจำนวนอิเล็กตรอนที่ให้และรับในแต่ละครึ่งปฏิกิริยาเท่ากัน ตย. ทำจำนวนอิเล็กตรอนที่ให้และรับให้เท่ากัน รวมครึ่งปฏิกิริยาทั้งสอง

  9. จงดุลสมการรีดอกซ์ต่อไปนี้จงดุลสมการรีดอกซ์ต่อไปนี้ FeCl3 + SnCl2 FeCl2 + SnCl4 KMnO4 + KNO2 + H2SO4 MnSO4 + H2O + KNO3 + K2SO4 Bi(OH)3 + MnO4- BiO3- + MnO2 H+ + NO3- + Cu2O  Cu2+ + NO + H2O

  10. Ex : เมื่อนำแผ่นโลหะทองแดง (Cu) จุ่มลงในสารละลายของ AgNO3 พบว่าที่แผ่นโลหะ Cu มีของแข็งสีขาวปนเทามาเกาะอยู่ และ เมื่อนำมาเคาะจะพบว่าโลหะ Cu เกิดการสึกกร่อน ส่วนสีของ สารละลาย AgNO3 ก็จะเปลี่ยนจากใสไม่มีสีเป็นสีฟ้า โลหะทองแดง (Cu) สึกกร่อน เพราะเกิดการสูญเสียอิเล็กตรอนกลายเป็น Cu2+ซึ่งมีสีฟ้า Cu(s) Cu2+(aq) + 2 e- (ปฏิกิริยาออกซิเดชัน) Ag+รับอิเล็กตรอนเข้ามา กลายเป็น Ag (โลหะเงิน) เกาะอยู่ที่แผ่น Cu Ag+(aq) + e- Ag(s) (ปฏิกิริยารีดักชัน) Cu(s) + Ag+(aq) Cu2+(aq) + 2Ag(s) ปฏิกิริยารีดอกซ์

  11. เซลล์ไฟฟ้าเคมี ประกอบด้วย ขั้วไฟฟ้า (Electrode) 2 ขั้ว จุ่มอยู่ใน สารละลายอิเล็กโทรไลต์ แบ่งเป็น 2 ชนิด • เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) • เซลล์อิเล็กโทรลิติก (Electrolytic cell)

  12. ขั้วที่ให้ e-ได้ดีกว่า เรียก แอโนด (anode) ขั้วลบ (เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน) ขั้วที่รับ e-ได้ดีกว่า เรียก แคโทด (cathode) ขั้วบวก (เกิดปฏิกิริยารีดักชัน)   เซลล์กัลวานิก เปลี่ยนพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยสารเคมีที่อยู่ใน เซลล์เกิดปฏิกิริยาการถ่ายโอนอิเล็กตรอน แล้วทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น เซลล์กัลวานิก ประกอบด้วย ขั้วไฟฟ้าต่างชนิดกัน 2 ขั้ว จุ่มอยู่ใน สารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่ต่างกัน

  13. Voltmeter KCl Zn anode Cu cathode Zn2+ Cu2+ ส่วนประกอบของเซลล์กัลวานิก 1. ขั้วไฟฟ้า เป็นแหล่งเกิดปฏิกิริยาเคมี อาจเป็น - โลหะจุ่มในสารละลายไอออนของโลหะนั้นๆ - แก๊สผ่านเข้าไปในสารละลายไอออนของแก๊สนั้นๆ โดยมีโลหะเฉื่อยเป็นตัวให้ หรือรับอิเล็กตรอน - โลหะ เกลือของโลหะและไอออนลบของเกลือ - สารละลายไอออนบวก 2 ชนิดของโลหะชนิดเดียวกัน มีโลหะเฉื่อยเป็นตัวให้ และรับอิเล็กตรอน

  14. 2. สารละลายอิเล็กโทรไลต์ สารละลายเกลือของขั้วไฟฟ้าทั้งสอง โดยขั้วไฟฟ้าแต่ละชนิดต้อง จุ่มอยู่ในสารละลายเกลือของมัน 3. สะพานไอออน (สะพานเกลือ) เป็นตัวเชื่อมครึ่งเซลล์ทั้งสองเข้าด้วยกันและช่วยรักษาดุลของไอออนครึ่งเซลล์ ทำจากเกลือที่ละลายน้ำได้ดีและมีไอออนบวกและลบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกัน เช่น KNO3, KCl, NH4NO3 4. โวลต์มิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์

  15. Voltmeter KCl Zn anode Cu cathode Zn2+ Cu2+ ตัวอย่างเซลล์กัลวานิก  Cu2+(aq) + Zn(s) Cu(s) + Zn2+(aq)  ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน Zn(s) Zn2+ + 2e- ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)  Zn และ Cu เรียกว่า ขั้วไฟฟ้า มิเตอร์ไฟฟ้าวัดทิศทางการเคลื่อนที่ ของ e- โดยเข็มจะเบนจากขั้วไฟฟ้า หนึ่งไปยังอีกขั้วไฟฟ้าหนึ่ง ตามทิศทาง การเคลื่อนที่ของ e-แสดงว่ามีการถ่ายโอน e-

  16. การเขียนแผนภาพเซลล์ 1. ครึ่งเซลล์ออกซิเดชันให้เขียนไว้ทางซ้ายมือแบบออกซิเดชัน โดยขีดคั่นระหว่างขั้วไฟฟ้าและสารละลาย 2. ครึ่งเซลล์รีดักชันให้เขียนไว้ทางขวามือแบบรีดักชัน โดยขีดคั่นระหว่างขั้วไฟฟ้ากับสารละลาย 3. ใช้เครื่องหมาย | | แทนสะพานเกลือ A(s) + B+(aq)  A+(aq) + B(s) แผนภาพเซลล์ไฟฟ้าเคมี A(s) | A+(aq) | | B+(aq) | B(s) ครึ่งเซลล์ออกซิเดชัน ครึ่งเซลล์รีดักชัน

  17. 4. ใส่ความเข้มข้นของอิเล็กโทรไลต์ไว้ในวงเล็บ Cu(s) | Cu2+(aq)(0.1M) | | Ag+(aq)(0.1M) | Ag(s) 5. ครึ่งเซลล์ที่เป็นแก๊ส ให้ใช้ Pt เป็นสื่อในการให้และรับอิเล็กตรอน แอโนด : Pt(s) | H2(g) | H+(aq) แคโทด : H+(aq) | H2(g) | Pt(s) 6. ครึ่งเซลล์ที่มีอิเล็กโทรไลต์มากกว่า 1 ชนิด ใช้เครื่องหมาย , คั่น ระหว่างอิเล็กโทรไลต์ แอโนด : Pt(s) | Fe3+(aq) , Fe2+(aq) แคโทด : Co3+ (1.0 M), Co2+ (0.1 M) | Pt

  18. จงเขียนปฏิกิริยารีดอกซ์จากแผนภาพเซลล์ที่กำหนดให้จงเขียนปฏิกิริยารีดอกซ์จากแผนภาพเซลล์ที่กำหนดให้ Fe | Fe2+(aq) || Ni2+(aq) | Ni Pt | H2 | H+(aq) || Cu2+(1 M) | Cu Al | Al3+(aq) || Cu2+(aq) | Cu

  19. ศักย์ไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้ามาตรฐานศักย์ไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้ามาตรฐาน ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนพิจารณาได้จาก ศักย์ไฟฟ้า โดยการเปรียบเทียบกับ ครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐาน (Standard hydrogen electrode, SHE) ครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐาน ประกอบด้วย ขั้วไฟฟ้าเป็นแก๊สไฮโดรเจน ความดัน 1 บรรยากาศ มี Pt เป็นสื่อให้และรับอิเล็กตรอน สารละลายอิเล็กโทรไลต์เป็นกรดไฮโดรคลอริก 1 mol/l อุณหภูมิ 25C และกำหนดให้ครึ่งเซลล์นี้มีศักย์ไฟฟ้า 0.00 โวลต์

  20. H2(1 atm) 2H+ + 2e-  2H+ + 2e- H2(1 atm)  เมื่อต้องการหาค่าศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์หรือขั้วไฟฟ้าใด นำมาต่อกับครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐาน ถ้าครึ่งเซลล์มาตรฐานไฮโดรเจนให้อิเล็กตรอนได้ดีกว่า เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ถ้าครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐานเป็นฝ่ายรับอิเล็กตรอน เกิดปฏิกิริยารีดักชัน

  21. ประโยชน์ของค่าศักย์ไฟฟ้ารีดักชันมาตรฐานประโยชน์ของค่าศักย์ไฟฟ้ารีดักชันมาตรฐาน - ใช้บอกความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของสารต่างๆ E มาก รับ e- ได้ดีกว่า Eน้อย ตัวออกซิไดซ์ที่ดี ตัวรีดิวซ์ที่ดี ขั้วลบ (แอโนด) ขั้วบวก (แคโทด) โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง Eหากไม่มีการระบุว่าเป็น Ereductionหรือ Eoxidation ให้ถือว่าเป็น Ereduction

  22. - ใช้ทำนายทิศทางของปฏิกิริยา ถ้า Ecellมีค่าเป็นบวกแสดงว่าเกิดปฏิกิริยาได้ โดยครึ่งเซลล์ที่มีค่า Eมากกว่าเกิดปฏิกิริยารีดักชัน ส่วนครึ่งเซลล์ที่มีค่า Eน้อยกว่าเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ถ้า Ecellเป็นลบแสดงว่าไม่เกิดปฏิกิริยา

  23. การหาค่าศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์การหาค่าศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์ สามารถคำนวณจากค่า E ของขั้วไฟฟ้ามาตรฐานที่ใช้ทำเซลล์กัลวานิก (จากตาราง) (1) Ecell = Ecathode - Eanode เมื่อ Eของขั้วไฟฟ้า ใช้ค่าศักย์ไฟฟ้ารีดักชัน แม้ว่าขั้วไฟฟ้าจะเกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชันก็ตาม (2) Ecell = Eox + Ered เมื่อ Eของขั้วไฟฟ้า ต้องเป็นค่า Eที่ขั้วไฟฟ้านั้นเกิดปฏิกิริยา (Eox = -Ered)

  24. 0.34 V e- e- H2(g) Cu แคโทด Cu2+ SO42- H+ Cl- 1 M CuSO4 1 M HCl หาศักย์ไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าทองแดง Ecell = Ecathode - Eanode 0.34 = ECu - EH2 ECu = 0.34 – 0.00 = 0.34 โวลต์ อิเล็กตรอนไหลจากครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนมาตรฐานไปยังครึ่งเซลล์ทองแดง แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วัดได้เป็นศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์ทองแดง  ครึ่งเซลล์ที่รับอิเล็กตรอน ศักย์รีดักชัน ครึ่งเซลล์ที่ให้อิเล็กตรอน ศักย์ออกซิเดชัน ค่าเดียวกัน แต่เครื่องหมายตรงข้าม 

  25. ตย. จงคำนวณค่า Ecellจากแผนภาพของเซลล์ต่อไปนี้ Al | Al3+(aq) || Cu2+(aq) | Cu  ปฏิกิริยาที่แอโนด (ออกซิเดชัน) 2(Al(s) Al3+(aq) + 3e-) E = -1.66 โวลต์  3(Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)) E = +0.34 ปฏิกิริยาที่แคโทด (รีดักชัน)  ปฏิกิริยาของเซลล์ (รีดอกซ์) 2Al(s) + 3Cu2+(aq) 2Al3+(aq) + 3Cu(s) Ecell = ? Ecell = Ecathode - Eanode Ecell = 0.34 – (-1.66) = 2.00 โวลต์ Ecell = Eox + Ered = 1.66 + 0.34 = 2.00 โวลต์ หรือหาจากสูตร

  26. ตย. จงทำนายว่าปฏิกิริยาที่กำหนดให้นี้เกิดขึ้นได้หรือไม่และมีทิศทาง ของปฏิกิริยาอย่างไร Fe3+(aq) + Cu(s) Fe2+(aq) + Cu2+(aq)  Cu(s) Cu2+(aq) + 2e- E= 0.34  ปฏิกิริยาที่แอโนด (ออกซิเดชัน) 2(Fe3+(aq) + e- Fe2+(aq)) E = 0.77  ปฏิกิริยาที่แคโทด (รีดักชัน)  Cu(s) + 2Fe3+ Cu2+(aq) + 2Fe2+(aq) E = ? ปฏิกิริยาของเซลล์ (รีดอกซ์) Ecell = Ecathode - Eanode = 0.77 – 0.34 = 0.43 โวลต์ แสดงว่าปฏิกิริยานี้เกิดได้และมีทิศทางจากซ้ายไปขวา

  27. ความสัมพันธ์ระหว่าง Ecell กับ Gและ K G = - nFEcell G = - 2.303 RT log K G log K = - 2.303 RT nFEcell log K = 2.303 RT nEcell Log K = 0.0592

  28. ค่า Ecell G และ K ใช้ทำนายปฏิกิริยา G K Ecell 1 1 1 + 0 - ปฎิกิริยาเกิดได้เอง ปฏิกิริยาสมดุล ปฏิกิริยาเกิดเองไม่ได้ - 0 +

  29. ตย. จงหาค่า Gของปฏิกิริยา และ ปฏิกิริยานี้เกิดได้เองหรือไม่  Cu2+(aq) + Fe(s) Cu(s) + Fe2+(aq) หาค่า Ecell  ปฏิกิริยาที่แอโนด Fe Fe2+ + 2e- E = 0.44  ปฏิกิริยาที่แคโทด Cu2+ + 2e- Cu E = 0.34  Cu2+ + Fe Cu + Fe2+ Ecell = 0.78 ปฏิกิริยาของเซลล์ หาค่า G G = -nFEcell = - 2 x 96500 x 0.78 J = - 1.5 x 105 J ปฏิกิริยานี้มี Ecell เป็นบวก และ G มีเครื่องหมายลบ แสดงว่า เกิดได้เอง

  30. 0.0592 E = E - log Q n สมการของเนินสต์  ค่าศักย์ไฟฟ้ารีดักชันมาตรฐาน ความเข้มข้นสารละลายอิเล็กโทรไลต์เป็น 1 M ถ้าสารละลายอิเล็กโทรไลต์ไม่ใช่ 1 M การหาศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ จะไม่สามารถใช้ค่า Eจากตารางได้ สมการของเนินสต์ E = ศักย์ไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าหรือเซลล์ที่ไม่ใช่สภาวะมาตรฐาน E = ศักย์ไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าหรือเซลล์ที่สภาวะมาตรฐาน n = จำนวนอิเล็กตรอนที่ถ่ายเท Q = ผลคูณของความเข้มข้นของสารทางขวามือหารด้วยผลคูณของความเข้มข้น ของสารทางซ้ายมือยกกำลังด้วยตัวเลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมี

  31. ใช้สมการเนินสต์หาค่า Ecell

  32. ตย. จงหาค่า Ecell ของปฏิกิริยา 2Al(s) + 3I2(s)  2Al3+(aq) + 6I-(aq) เมื่อขั้วไฟฟ้า Al จุ่มในสารละลาย Al3+เข้มข้น 0.10 M และ I2อยู่ในสารละลาย I-เข้มข้น 0.01 M เซลล์ไฟฟ้าเคมีนี้มีค่า Ecell = 2.20 โวลต์ หาค่า n (จำนวนอิเล็กตรอน) Al(s)  Al3+(aq) + 3e- ปฏิกิริยาที่แอโนด (ออกซิเดชัน) I2 + 2e- 2I- ปฏิกิริยาที่แคโทด (รีดักชัน) ทำจำนวนอิเล็กตรอนที่ให้และรับให้เท่ากัน (คูณสมการแรกด้วย 2 คูณสามการที่สองด้วย 3) 2(Al(s)  Al3+(aq) + 3e-) 3(I2(s) + 2e- 2I-(aq) n = 6

  33. 0.0592 Ecell = Ecell - log Q n หาค่า Ecell 0.0592 = 2.20 - log [Al3+]2 [I-]6 6 log (0.1)2 (0.01)6 0.0099 = 2.20 - = 2.34 โวลต์

  34. ใช้สมการเนินสต์คำนวณหาความเข้มข้นของใช้สมการเนินสต์คำนวณหาความเข้มข้นของ สารละลายอิเล็กโทรไลต์ เมื่อทราบ Ecellและ Ecell

  35. 0.0592 Ecell = Ecell - log Q n ตย. จงคำนวณความเข้มข้นของ HCl ในเซลล์ไฮโดรเจน-ทองแดง Pt | H2 | H+(aq) || Cu2+(1 M) | Cu เมื่อ Ecell และ Ecell มีค่า 0.34 และ 0.30 โวลต์ ตามลำดับ H2(g) + Cu2+(aq)  Cu(s) + 2H+(aq) เขียนปฏิกิริยาของเซลล์ หา [HCl] จากสมการเนินสต์ 0.30 = 0.34 - [H+] 0.0592 log 6 1 [H+] = [HCl] = 4.74 M

  36. ใช้สมการเนินสต์หาค่าคงที่สมดุล (Keq) และ ค่าคงที่การละลาย (Ksp) เมื่อทราบค่า Ecell

  37. 0.0592 Ecell = Ecell - log Q n ที่สภาวะสมดุล Ecell = 0 และ Q = K 0.0592 0 = Ecell - log K n nEcell log K = 0.0592

  38. ตย. จงหาค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา MnO4- + Br- + H+ Mn2+ + Br2 + H2O หาค่า Ecell 5(2Br- Br2 + 2e-) E = -1.09 โวลต์ ปฏิกิริยาออกซิเดชัน 2(MnO4- + 8H+ + 5e- Mn2+ + 4H2O) E = 1.51 โวลต์ ปฏิกิริยารีดักชัน 2MnO4- + 10Br- + 16H+ 2Mn2+ + 5Br2 Ecell = 0.42 โวลต์ ปฏิกิริยารีดอกซ์ nEcell หาค่า K = 10 x 0.42 = 70.95 log K = 0.0592 0.0592 K = 8.83 x 1070

  39. ตย. จงหาค่า Kspของ AgCl เมื่อปฏิกิริยาเป็นดังนี้ AgCl(s)  Ag+(aq) + Cl-(aq) หาค่า Ecell AgCl(s) + e- Ag(s) + Cl-(aq) E = 0.22 โวลต์ Ag+(aq) + e- Ag(s) E = 0.80 โวลต์ Ecell = - 0.58 โวลต์ nEcell = (1) (-0.58) หาค่า Ksp log Ksp = = - 9.8 0.0592 0.0592 Ksp = 6.27 x 10-10

  40. C1 0.0592 Ecell = Ecell - log n C2 เซลล์ความเข้มข้น (concentration cell) เป็นเซลล์กัลวานิกที่มีครึ่งเซลล์ทั้งสองเหมือนกัน แต่ต่างกัน ที่ความเข้มข้น เมื่อต่อครบวงจร อิเล็กตรอนจะไหลจากครึ่งเซลล์ ที่มีความเข้มข้นน้อยไปยังครึ่งเซลล์ที่มีความเข้มข้นมาก แต่ปฏิกิริยา จะเกิดจากสารละลายที่มีความเข้มข้นมากไปยังสารละลายที่มีความ เข้มข้นน้อย เมื่อ C1และ C2เป็นความเข้มข้นของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ (C2C1) Ecell = 0 เพราะเป็นขั้วไฟฟ้าชนิดเดียวกัน

  41. ตย. จงหาค่า Ecellจากเซลล์ความเข้มข้นดังนี้ Ag | Ag+(0.01 M) || Ag+(0.1 M) | Ag หาค่า Ecell C1 0.0592 Ecell = Ecell - log n C2 0.01 0.0592 log = 0 - 1 0.1 = 0.0592 โวลต์

  42. ชนิดของเซลล์กัลวานิก - เซลล์กัลวานิกแบบปฐมภูมิ (primary galvanic cell) ใช้แล้วทิ้ง เช่น เซลล์แห้ง หรือ ถ่านไฟฉายที่ใช้ได้ครั้งเดียว

  43. เซลล์แห้ง ภายในเซลล์เกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ สังกะสีเป็นแอโนด จะถูกออกซิไดส์ Zn  Zn2+ + 2e- MnO2จะถูกรีดิวซ์ด้วยอิเล็กตรอนที่มาจากแผ่นสังกะสี ปฏิกิริยาที่แคโทดจะเป็น 2e- + 2MnO2 + 2NH4+ Mn2O3 + H2O + 2NH3 Zn2+จะรวมกับ NH3ที่เกิดขึ้น กลายเป็นไอออนเชิงซ้อน Zn2+ + 4NH3 [Zn(NH3)4]2+ เซลล์ชนิดนี้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 1.5 โวลต์ ถ้า NH4+ไม่ได้ทำปฏิกิริยากับ MnO2แต่ไปรับอิเล็กตรอนที่แคโทด จะเกิด H2 2NH4+ + 2e- 2NH3 + H2 ถ้ามี H2มากจะทำให้ไฟอ่อนลง แต่ MnO2ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยไปออกซิไดส์ H2ให้เป็น H2O MnO2 + H2 MnO + H2O

  44. เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ให้พลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพมาก เช่น เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน-ออกซิเจนที่ใช้ในยานอวกาศ ปฏิกิริยาที่แอโนด (ออกซิเดชัน) 2(H2(g) + 2OH-(aq)  2H2O + 2e-) ปฏิกิริยาที่แคโทด (รีดักชัน) O2(g) + 2H2O + 4e- 4OH-(aq) ปฏิกิริยาของเซลล์ (รีดอกซ์) 2H2(g) + O2(g)  2H2O

  45. - เซลล์กัลวานิกแบบทุติยภูมิ (secondary galvanic cell) สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก เนื่องจากปฏิกิริยาเป็นแบบผันกลับได้ เซลล์สะสมไฟฟ้าตะกั่ว ตะกั่ว เป็น แอโนด ตะกั่วออกไซด์ เป็น แคโทด กรดกำมะถัน เป็น อิเล็กโทรไลต์ Pb(s) + SO42-(aq)  PbSO4(s) + 2e- ปฏิกิริยาที่แอโนด (ออกซิเดชัน) ปฏิกิริยาที่แคโทด (รีดักชัน) PbO2(s) + 2e- + SO42-(aq) + 4H+(aq)  PbSO4(s) + 2H2O ปฏิกิริยาของเซลล์ (รีดอกซ์) Pb(s) + PbO2(s) + 4H+(aq) + 2SO42-(aq)  2PbSO4(s) + 2H2O

  46. ขณะใช้งาน SO42-กับ H+จะถูกใช้ไป และ เกิดน้ำขึ้น ทำให้กรดเจือจางลง เกิด PbSO4ขึ้นที่ขั้วไฟฟ้า ทำให้เซลล์เสื่อมคุณภาพ ผ่านกระแสไฟฟ้าตรงจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเข้าไปในทิศทางตรงข้าม กับกระแสเดิม จะได้ Pb และ PbO2กลับคืนมา 2PbSO4 + 2H2O  Pb + PbO2 + 4H+ + 2SO42-

  47. ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ที่แอโนด Li (s) ------> Li+(s) + e-ที่แคโทด TiS2(s) + e- -----> TiS2 -(s) ปฏิกิริยารวม Li(s) + TiS2(s) -----> Li+(s) + TiS2-(s) สารจำพวกพอลิเมอร์บางชนิด มีสมบัติยอมให้ไอออนผ่านได้ดีแต่ไม่ยอมให้อิเล็กตรอนผ่านได้จึงนำมาใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ที่เรียกว่า อเล็กโทรไลต์แข็ง และสามารถนำมาประกอบกับขั้วไฟฟ้าเป็นแบตเตอรี่ได้ โดยมีโลหะลิเทียมเป็นแอโนดและโทเทเนียมไดซัลไฟด์ (TiS2) เป็นแคโทด เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้เป็นแบบทุติยภูมิสามารถประจุไฟได้ใหม่ ปัจจุบันนี้มีการใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้กับรถยนต์ ทำให้ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นกับแบตเตอรี่

  48. เซลล์อิเล็กโทรลิติก เกิดจากการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไป เพื่อทำให้ปฏิกิริยาเคมีที่ไม่เกิดขึ้นเองสามารถเกิดปฏิกิริยาได้ ขั้วไฟฟ้าที่ต่อกับขั้วบวกของแบตเตอรี่ เกิดออกซิเดชัน เรียก แอโนด ขั้วไฟฟ้าที่ต่อกับขั้วลบของแบตเตอรี่ เกิดรีดักชัน เรียก แคโทด  

  49. เซลล์อิเล็กโทรลิติก (Electrolytic cell) 1. ขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว ขั้วที่ต่อกับขั้วบวกของแหล่งกำเนิด  ขั้วบวก  แอโนด  ออกซิเดชัน ไอออนลบเคลื่อนที่เข้ามา ถ่ายเทอิเล็กตรอน ขั้วที่ต่อกับขั้วลบของแหล่งกำเนิด  ขั้วลบ  แคโทด  รีดักชัน ไอออนบวกเคลื่อนที่มารับอิเล็กตรอน

  50. 2. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า เป็นแหล่งให้พลังงานของเซลล์ เพื่อให้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเองไม่ได้ สามารถเกิดปฏิกิริยาได้ 3. อิเล็กโทรไลต์ที่หลอมเหลวหรือสารละลายอิเล็กโทรไลต์ เป็นสารที่ต้องการแยกสลายด้วยไฟฟ้า

More Related