1 / 40

312 105 General Chemistry

312 105 General Chemistry. อ.ดร. รจนา บุระคำ ห้องพัก Sc. 1501-2. 0 1 2 3 4 5. 0 1 2 3 4 5. เลขนัยสำคัญ ( significant figures ). 3. 7. 3. 75. เลขนัยสำคัญ ( significant figures ). กลุ่มของตัวเลขที่แสดงความเที่ยงตรงของการวัด ประกอบด้วย - ตัวเลขที่แสดงความแน่นอน ( Certainty)

gazit
Download Presentation

312 105 General Chemistry

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 312 105 General Chemistry อ.ดร. รจนา บุระคำ ห้องพัก Sc. 1501-2

  2. 0 1 2 3 4 5 0 1 2 3 4 5 เลขนัยสำคัญ (significant figures) 3.7 3.75

  3. เลขนัยสำคัญ (significant figures) กลุ่มของตัวเลขที่แสดงความเที่ยงตรงของการวัด ประกอบด้วย - ตัวเลขที่แสดงความแน่นอน (Certainty) - ตัวเลขที่แสดงความไม่แน่นอน (Uncertainty) เป็นตัวเลข ตัวแรกที่อยู่ต่อท้ายตัวเลขที่มีความแน่นอน

  4. เลขนัยสำคัญ 1. เลขที่ไม่ใช่ 0 ทั้งหมด เป็นเลขนัยสำคัญ เลขนัยสำคัญ 3 ตัว 456 cm. 3.5 g เลขนัยสำคัญ 2 ตัว 2. เลข 0 ระหว่างเลขอื่น เป็นเลขนัยสำคัญ เลขนัยสำคัญ 4 ตัว 2005 kg เลขนัยสำคัญ 3 ตัว 1.01 cm

  5. 3. เลข 0 ทางด้านซ้ายของเลขอื่นไม่เป็นเลขนัย สำคัญ เลขนัยสำคัญ 1 ตัว 0.02 g 0.0026 cm เลขนัยสำคัญ 2 ตัว 4. เลข 0 ทางด้านขวาของเลขอื่นและมีจุดทศนิยม เป็นเลขนัยสำคัญ 0.0200 g เลขนัยสำคัญ 3 ตัว เลขนัยสำคัญ 3 ตัว 30.0 cm

  6. 5. เลข 0 ทางขวามือของเลขอื่นที่ไม่มีจุดทศนิยมไม่จำเป็น ต้องเป็นเลขนัยสำคัญ เลขนัยสำคัญ 2 หรือ 3 ตัว 130 cm 10,300 g เลขนัยสำคัญ 3, 4 หรือ 5 ตัว เลขนัยสำคัญ 3ตัว 1.03 x 104 g เลขนัยสำคัญ 4ตัว 1.030 x 104 g เลขนัยสำคัญ 5ตัว 1.0300 x 104 g

  7. 89.332 + 1.1 มีเลขหลังจุดทศนิยม 1 ตำแหน่ง มีเลขหลังจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง 90.432 ปัดเป็น 90.4 ปัดเป็น 0.79 3.70 -2.9133 0.7867 เลขนัยสำคัญ การบวกและการลบ ผลลัพธ์ต้องมีจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเท่ากับจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมของตัวตั้งที่มีตัวเลขหลังจุดทศนิยมน้อยที่สุด

  8. เลขนัยสำคัญ 3 sig figs ปัดเป็น 3 sig figs 2 sig figs ปัดเป็น 2 sig figs การคูณและการหาร ผลลัพธ์ต้องมีจำนวนตัวเลขนัยสำคัญเท่ากับจำนวนตัวเลขนัยสำคัญของตัวตั้งที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด 4.51 x 3.6666 = 16.536366 = 16.5 6.8 ÷ 112.04 = 0.0606926 = 0.061

  9. การปัดเศษทศนิยม มากกว่า 5 ปัดขึ้น น้อยกว่า 5 ปัดทิ้ง เลข 5 พิจารณาตัวเลขถัดไป - กรณีที่หลังเลข 5 ไม่มีตัวเลขต่อท้าย ถ้าปัดขึ้นแล้วเป็นเลขคู่ ปัดขึ้น 3.575 3.58 ถ้าปัดขึ้นแล้วเป็นเลขคี่ ไม่ต้องปัด 7.265 7.26 - กรณีที่หลังเลข 5 มีตัวเลขอื่น (ที่ไม่ใช่ 0) ต่อท้าย ให้ปัดขึ้น เช่น 0.2352 0.24

  10. ปริมาณสัมพันธ์

  11. ปริมาณสัมพันธ์ (Stoichiometry) วิชาเคมี ที่ศึกษาเกี่ยวกับปริมาณสารที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมี - ปริมาณของตัวทำปฏิกิริยาและผลผลิต - พลังงานของสารที่เปลี่ยนแปลงในปฏิกิริยาเคมี

  12. ทำไมต้องศึกษาปริมาณสัมพันธ์?ทำไมต้องศึกษาปริมาณสัมพันธ์? • ใช้คาดคะเนปริมาณผลผลิต เมื่อทราบปริมาณตัวทำปฏิกิริยา • ช่วยประหยัดสารเคมี เพราะสามารถบอกได้ว่าควรใช้ • ตัวทำปฏิกิริยาปริมาณเท่าใดให้พอดี • คำนวณหาพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาหรือที่ใช้ในปฏิกิริยาได้ • เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเพิ่มผลผลิต

  13. น้ำหนักอะตอม (Atomic Weight) หรือ มวลอะตอม (Atomic Mass) อะตอมมีขนาดเล็กมาก มวลของอะตอมมีค่าน้อยมาก ชั่งหามวลที่แท้จริงได้ยาก ใช้มวลเปรียบเทียบ (relative mass) โดยเทียบกับมวลของธาตุมาตรฐาน C-12

  14. หน่วยมาตรฐาน : amu (atomic mass unit) 1 อะตอมของ C-12 (มี 6 โปรตอน และ 6 นิวตรอน) มีมวลอะตอม 12 amu 1 amu = 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม = 1.66 x 10-24 g 1 g = 6.02 x 1023amu มวลอะตอมของธาตุใดๆ จึงเป็นตัวเลขที่แสดงว่าธาตุนั้นๆ 1 อะตอม มีมวลเป็นกี่เท่าของ 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม มวลอะตอมของธาตุ = มวลของธาตุ 1 อะตอม 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม

  15. คำถาม: ทังสเตนมีมวลอะตอม 183.84 amu จงหาน้ำหนักเป็นกรัมของทังสเตน 25 อะตอม วิธีคิด: ทังสเตน 1 อะตอม มีมวล = 183.84 amu ทังสเตน 25 อะตอม มีมวล = 183.84 x 25 amu = 4.596 x 103amu เปลี่ยน amu เป็น g มวล 1 amu= 1.66 x 10-24 g มวล 4.596 x 103 amu = 7.629 x 10-21 g ตอบ : ทังสเตน 25 อะตอม มีมวล 7.629 x 10-21 g

  16. น้ำหนักโมเลกุล (MolecularWeight) ใช้วิธีเปรียบเทียบกับมวลของธาตุมาตรฐาน C-12 เช่นเดียวกับมวลอะตอม มวลโมเลกุลของสารใดๆ บอกให้ทราบว่า สารนั้น 1 โมเลกุลมีมวลเป็นกี่เท่า ของ 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม มวลโมเลกุล = มวลของสาร 1 โมเลกุล 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม

  17. มวลโมเลกุลของสาร หาได้จากผลบวกของมวลอะตอม ของธาตุทั้งหมดในโมเลกุล SO2= 1 S + 2 O = (32 x 1) + (16 x 2) = 64 เช่น H2SO4 = 2 H + 1 S + 4 O = (2 x 1) + (1 x 32) + (4 x 16) = 98 CH3COOH = 2 C + 2 O + 4 H = (2 x 12) + (2 x 16) + (4 x 1) = 60

  18. น้ำหนักสูตร (Formular Weight) สารประกอบอิออนิก อยู่ในรูปผลึกที่ประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบจำนวนมาก สูตรของสาร จะเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำของไอออนบวกและไอออนลบ ซึ่ง ไม่ใช่สูตรโมเลกุล เช่น NaCl มีไอออนบวกและลบ เป็นอัตราส่วน 1:1 น้ำหนักสูตร หาได้จากการเปรียบเทียบกับมวลของธาตุมาตรฐาน หรือ คิดจากผลบวกของมวลอะตอมของธาตุต่างๆในสูตรของสารนั้น

  19. จงคำนวณหาน้ำหนักสูตรของสารประกอบต่อไปนี้จงคำนวณหาน้ำหนักสูตรของสารประกอบต่อไปนี้  NaCl                     =   23 + 35.5   =   58.5         C2H5Cl                = (2 x 12)+(5 x 1)+(1 x 35.5) =   64.5         CuSO4· 5H2O     =   [(1 x 63.55) + (1 x 32) + (4 x 16)]  + 5 x [(2 x 1) + (1 x 16)]                                         =    249.55

  20. โมล (Mole) โมล: ปริมาณสารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับจำนวนอะตอมของ C-12 ที่มีมวล 12 กรัม ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.02 x 1023อะตอม อนุภาคอาจเป็นอะตอม โมเลกุล หรือ ไอออน เลขจำนวน 6.02 x 1023เรียกว่า เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) “Lorenzo Romano Amedeo Carlo Avogadro di Quaregna di Cerreto”

  21. เลขอาโวกาโดร มาจากไหน? 1 amu = 1.66 x 10-24 g 1 g = 6.02 x 1023 amu C-12 มวล 12 g = 12 x 6.02 x 1023 amu แต่ C-12 12 amu = 1 อะตอม ดังนั้น C-12 มวล 12 g = 6.02 x 1023อะตอม หรือ 1 โมลอะตอม C-12 = 6.02 x 1023อะตอม C-12 1 โมลของสารใดๆ หมายถึง ปริมาณสารจำนวน 6.02 x 1023อนุภาค ซึ่งมีมวลเท่ากับมวลอะตอมของธาตุหรือมวลโมเลกุลของสารนั้นๆ

  22. สารที่มีสถานะเป็นแก๊สสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส แก๊ส 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลิตร ที่ STP มีจำนวน 6.02 x 1023โมเลกุล (Standard Temperature Pressure; อุณหภูมิ 0 C ความดัน 1 บรรยากาศ) โมลของสาร = น้ำหนักของสาร มวลอะตอมหรือมวลโมเลกุล จำนวนอะตอมหรือโมเลกุลของสาร = โมลของสาร x 6.02 x 1023 ปริมาตรแก๊สที่ STP = โมลของแก๊ส x 22.4 ลิตร

  23. จำนวนโมล = น้ำหนักสาร มวลโมเลกุล จำนวนโมลของ NH3 = 15.35 = 0.90 โมล 17 คำถาม : ถ้ามีแก๊สแอมโมเนียหนัก 15.35 กรัม จงคำนวณหาจำนวนโมล จำนวนโมเลกุล และ ปริมาตรที่ STP NH3มวลโมเลกุล = 17 จำนวนโมเลกุล = จำนวนโมล x 6.02 x 1023โมเลกุล = 0.90 x 6.02 x 1023 = 5.42 x 1023 ปริมาตรที่ STP = จำนวนโมล x 22.4 ลิตร = 0.90 x 22.4 = 20.16 ลิตร

  24. สูตรเคมี กลุ่มสัญลักษณ์ของธาตุหรือสารประกอบที่แสดงถึงองค์ประกอบของสารต่างๆ ว่าประกอบด้วยธาตุใดบ้างอย่างละกี่อะตอม สูตรเอมไพริกัล (Empirical formular) เป็นสูตรเคมีที่แสดงว่าใน 1 โมเลกุลประกอบด้วยธาตุอะไรบ้างและมีอัตราส่วน อย่างต่ำของจำนวนอะตอมเท่าใด สูตรโมเลกุล (Molecular formular) เป็นสูตรเคมีที่แสดงว่าใน 1 โมเลกุลของสารประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง และแต่ละธาตุมีจำนวนอะตอมแน่นอนเท่าใด สูตรโครงสร้าง (Structural formular) เป็นสูตรเคมีที่แสดงว่าใน 1 โมเลกุลของสารประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง อย่างละกี่อะตอม และอะตอมของธาตุต่างๆในโมเลกุลยึดเกาะกันอย่างไร

  25. CH3 CH2 CH2 CH2 CH3 CH3 CH CH2 CH3 CH3 สารประกอบบางชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่ สูตรโครงสร้างต่างกัน และมีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีแตกต่างกันด้วย เรียกว่า ไอโซเมอร์ เช่น C5H12 Pentane 2-methylbutane CH3 CH3 CH3 C 2,2-dimethylpropane CH3

  26. การหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุลการหาสูตรเอมไพริกัลและสูตรโมเลกุล • - สารนั้นมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบ • - มีมวลอะตอมเท่าใด • - น้ำหนักของธาตุแต่ละชนิดที่เป็นองค์ประกอบ • คำนวณอัตราส่วนโดยน้ำหนักและอัตราส่วนจำนวนอะตอมของ • ธาตุองค์ประกอบแล้วทำให้เป็นเลขจำนวนเต็มน้อยๆ สูตรโมเลกุล = (สูตรเอมไพริกัล)n n = 1, 2, 3, …….. ต้องมีการปัดเศษ 0.1 – 0.2 ปัดทิ้ง 0.3 – 0.7 ปัดทิ้งไม่ได้ ต้องหาตัวเลขที่มีค่าต่ำสุดมาคูณให้มีค่า ใกล้เคียงกับตัวเลขที่จะปัดได้ 0.8 – 0.9 ปัดขึ้น 1

  27. วิธีทำ อัตราส่วนโดยน้ำหนัก S : O = 50.05 : 49.95 อัตราส่วนโดยจำนวนอะตอม S : O = 50.05 : 49.95 32 16 = 1.56 : 3.12 = 1.56 : 3.12 1.56 1.56 = 1 : 2 หาสูตรโมเลกุล (SO2)n = 64 [32 + (16 x 2)]n = 64 n = 1 ตย. สารประกอบชนิดหนึ่งประกอบด้วย S 50.05% โดยน้ำหนัก และ O 49.95% โดยน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักโมเลกุลของสารปะกอบนี้ เท่ากับ 64 จงคำนวณหาสูตรเอมไพริกัล และ สูตรโมเลกุลของสาร ทำให้เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ โดยการหารด้วยตัวเลขที่น้อยที่สุด คือ 1.56 สูตรเอมไพริกัล คือ SO2 สูตรโมเลกุล คือ SO2

  28. เงื่อนไข ผลผลิต ตัวทำปฏิกิริยา สมการเคมี สมการเคมี ประกอบด้วยสัญลักษณ์หรือสูตรของสารต่างๆ - ใช้เขียนแทนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี - บอกให้ทราบว่า สารใดทำปฏิกิริยากันและเกิดสารใดบ้าง - ใช้ในการคำนวณปริมาณสัมพันธ์ของสารต่างๆในปฏิกิริยานั้นๆ

  29. สมการเคมี เขียนได้ 2 แบบ สมการแบบโมเลกุล แสดงปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของสาร อาจมีการแสดงสถานะ ทางกายภาพของสาร เช่น (g), (l), (s), (aq) เช่น CH4 (g) + 2O2(g)CO2(g) + 2H2O (g) สมการไอออนิก ใช้สำหรับปฏิกิริยาที่มีสารประกอบไอออนิกเข้ามาเกี่ยวข้อง เขียนเฉพาะไอออนและโมเลกุลที่จำเป็นและเกิดปฏิกิริยาเท่านั้น สารที่แตกตัวเป็นไอออนในน้ำได้น้อย สารที่ไม่ละลาย สารที่ ตกตะกอนหรือสารที่เป็นแก๊ส ให้เขียนสูตรโมเลกุล

  30. NaCrO2(aq) + NaClO(aq) + NaOH(aq) Na2CrO4(aq) + NaCl(aq) + H2O(l) เมื่ออยู่ในน้ำ สารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นไอออน ดังนี้ Na+(aq) + CrO2-(aq) + Na+(aq) + ClO-(aq) + Na+(aq) + OH-(aq) 2Na+(aq) + CrO42-(aq) + Na+(aq) + Cl-(aq) + H2O(l) สมการไอออนิกสุทธิ CrO2-(aq) + ClO-(aq) + OH-(aq) CrO42-(aq) + Cl-(aq) + H2O(l) สมการไอออนิกที่ดุลแล้ว 2CrO2-(aq) + 3ClO-(aq) + 2OH-(aq) 2CrO42-(aq) + 3Cl-(aq) + H2O(l)

  31. ก่อนที่จะนำสมการเคมีมาใช้ในการคำนวณ สมการเคมีนั้นต้องดุลเสียก่อน นั่นคือจะต้องเป็นไปตาม กฎทรงมวล (อะตอมของแต่ละธาตุทางซ้ายมือของสมการนั้นจะต้องเท่ากับอะตอมของแต่ละธาตุทางขวามือของสมการ) 1. เริ่มดุลจากโมเลกุลที่ใหญ่ที่สุดหรือโมเลกุลที่ประกอบด้วย ธาตุมากที่สุดก่อน 2. ดุลโลหะ 3. ดุลอโลหะ(ยกเว้น H และ O) 4. ดุล H และ O 5. ตรวจดูจำนวนของธาตุในสมการ

  32. จงดุลสมการต่อไปนี้ 1._ H2 + _ O2 ----> _ H2O 2. _ C3H8 + _ O2 ----> _ CO2 + _ H2O 3. _ Na2O2 + _ H2O ----> _NaOH + _O2 4.   _ KClO3 ----> _ KCl + _ O2 5.   _ KClO3 + _ C12H22O11 ----> _ KCl + _CO2 + _H2O 2H2 + O2 ---->  2H2O C3H8 + 5O2 ----> 3CO2 + 4H2O 2Na2O2 + 2H2O ----> 4NaOH +O2 2KClO3 ----> 2KCl + 3O2 8KClO3 + C12H22O11 ----> 8KCl + 12CO2 + 11H2O

  33. การคำนวณจากสมการเคมี - เขียนสมการเคมีของปฏิกิริยานั้น พร้อมดุลสมการให้ถูกต้อง - พิจารณาเฉพาะสารที่ต้องการทราบและสารที่กำหนดให้ที่มีความเกี่ยวข้องกัน - นำข้อมูลที่กำหนดให้มาคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการ Ex : จงคำนวณว่าต้องใช้สังกะสีกี่กรัม และกี่โมล ทำปฏิกิรยากับกรด เกลือ จึงจะทำให้แก๊สไฮโดรเจน 0.224 ลิตร ที่ STP ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ     Zn  +  2HCl    ---->     ZnCl2+  H2 ที่ STP  H2  22.4  ลิตร (1 mol) เตรียมได้จากสังกะสี   65.4 g (1 mol) H2    0.224 ลิตร เตรียมได้จากสังกะสี = 0.654    g                       ดังนั้นจะต้องใช้สังกะสี=   0.654 gหรือ=  0.01 mol

  34. สารกำหนดปริมาณ ถ้าสารที่ทำปฏิกิริยามีปริมาณไม่พอดีกัน ปฏิกิริยาจะสิ้นสุดเมื่อสารใดสารหนึ่งหมด สารที่หมดก่อนจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของผลผลิตที่เกิดขึ้น เรียกว่า สารกำหนดปริมาณ (Limiting reagent)

  35. Ex : จงคำนวณว่าเกิด H2O กี่กรัม จากปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจน 11.2 ลิตร และออกซิเจน 11.2 ลิตรที่ STP          2H2(g)+     O2(g)----->        2H2O(g)   H2   11.2 ลิตรมีปริมาณ =    0.5 mol O2   11.2 ลิตรมีปริมาณ =    0.5 mol หาสารกำหนดปริมาณ ; H2    =   0.25 mol O2=    0.5 mol ดังนั้น     H2เป็นสารกำหนดปริมาณ จากสมการ    H2      2  mol    เตรียมน้ำได้          2 x 18 g H2   0.5  mol    เตรียมน้ำได้       9.0   g ดังนั้นเตรียมน้ำได้      9.0 g.

  36. ผลได้ตามทฤษฎี (Theoretical yield) เป็นค่าที่ได้จากการคำนวณปริมาณผลผลิตตามสมการเคมี ที่ถือว่าปฏิกิริยานั้นเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ในทางปฏิบัติ ผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาจะมีค่าแตกต่างไปจากผลที่ได้ตามทฤษฎีเสมอ ปริมาณผลผลิตที่ได้นี้ เรียกว่า ผลได้จริง (Actual yield) การรายงานผลการทดลอง มักเปรียบเทียบผลได้จริงกับผลตามทฤษฎี ในรูปของ ผลได้ร้อยละ (Percentage yield) ผลได้ร้อยละ = ผลได้จริง X 100 ผลได้ตามทฤษฎี

  37. Ex : จงหาปริมาณผลผลิตตามทฤษฎี(เป็นกรัม) ของทองแดงที่ได้จากการ แยก คอปเปอร์(I) ซัลไฟด์ (Cu2S) 1590 g.ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ       Cu2S   +   O2---->       2Cu   +   SO2ถ้าผลการทดลองได้ทองแดง 1,200 g. จงคำนวณหาผลผลิตร้อยละ Cu2S   1590 g.    = 1590 = 10 mol จากสมการ Cu2S       1 mol     เตรียม    Cu   ได้      2 mol    =   2 x 63.5 g.      Cu2S     10 mol     เตรียม    Cu   ได้    2 x 63.5 x 10 = 1270 g. ผลผลิตร้อยละ = 1200 x  100    =   94.5 159 1270

  38. ความร้อนของปฏิกิริยา การเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือปฏิกิริยาเคมี มักมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ปฏิกิริยาที่ระบบคายความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อม เรียก ปฏิกิริยาคายความร้อน (exothermic reaction) ปฏิกิริยาที่ระบบดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อม เรียก ปฏิกิริยาดูดความร้อน (endothermic reaction) การสลายพันธะ ต้องให้พลังงานกับระบบ (ระบบดูดพลังงานเข้าไป) การเกิดพันธะใหม่ มีการคายพลังงานออกจากระบบ (ระบบให้พลังงานออกมา)

  39. H2(g) + 1O2(g) H2O (g) 2 ตย. จงคำนวณการเปลี่ยนแปลงของพลังงานความร้อนของปฏิกิริยาต่อไปนี้ กำหนดให้ พลังงานพันธะ H-H = 431.0 kJ H-O = 463.0 kJ O=O = 485.0 kJ ปฏิกิริยานี้เป็นแบบดูดหรือคายความร้อน? วิธีทำ จากสมการ พันธะที่ถูกทำลาย คือ H-H และ O=O พันธะที่เกิดขึ้น คือ H-O พลังงานที่ต้องใช้เพื่อสลายพันธะ = 431 kJ + 1 (485.0 kJ) 2 = 673.5 kJ พลังงานที่ถูกคายออกมา = 2 (463.0 kJ) H-O 2 พันธะ = 926.0 kJ ความร้อนที่เปลี่ยนแปลง = 926.0 – 673.5 = 252.5 kJ ความร้อนที่ระบบคายออกมา มากกว่า ความร้อนที่ถูกดูดเข้าไป ปฏิกิริยาคายความร้อน

  40. หนังสืออ้างอิง (อ่านเพิ่มเติม) • เคมี เล่ม 1 ทบวงมหาวิทยาลัย • เคมีพื้นฐาน เล่ม 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • General Chemistry ของ Raymond Chang • Website ทั่วๆ ไป ทั้งของไทยและต่างประเทศ • (search โดยใช้คำว่า ปริมาณสัมพันธ์ หรือ stoichiometry)

More Related