1 / 21

3204 – 2010 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย บทที่ 7 วิธีการรับส่งข้อมูล

3204 – 2010 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย บทที่ 7 วิธีการรับส่งข้อมูล. ข้อมูล. คือ สิ่งที่มีความหมายในตัว โดยข้อมูลทั่วไปที่ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นข้อมูลชนิดตัวเลข ตัวอักษร ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

joyce
Download Presentation

3204 – 2010 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย บทที่ 7 วิธีการรับส่งข้อมูล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 3204 – 2010 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายบทที่ 7 วิธีการรับส่งข้อมูล

  2. ข้อมูล • คือ สิ่งที่มีความหมายในตัว โดยข้อมูลทั่วไปที่ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นข้อมูลชนิดตัวเลข ตัวอักษร ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ • ในการส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุด ผ่านสายสื่อสารหรือคลื่นวิทยุ ข้อมูลที่ต้องการส่งจะต้องได้รับการแปลงให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณที่เหมาะสมกับระบบการสื่อสารนั้นก่อน

  3. สัญญาณ Signal • อุปกรณ์ที่ทำการสื่อสารข้อมูลกันเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นลักษณะของข้อมูลต้องเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าด้วย โดยสัญญาณทางไฟฟ้า ประกอบไปด้วย • สัญญาณอนาลอก • สัญญาณดิจิตอล

  4. สัญญาณอนาลอก • สัญญาณที่มีความต่อเนื่องกันตลอดเวลา โดยสัญญาณนี้จะอยู่ในรูปของความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปมาอย่างต่อเนื่อง การกำหนดลักษณะของสัญญาณจะกำหนดเป็นขนาดหรือแอมปลิจูด(Amplitude) กับ ค่าความถี่ (Frequency)

  5. สัญญาณดิจิตอล • สัญญาณที่มีค่าไม่ต่อเนื่อง ลักษณะของสัญญาณนี้จะมีอยู่สองระดับถูกแทนเป็นระดับสัญญาณสูง หรือลอจิกสูง กับระดับสัญญาณต่ำ หรือลอจิกต่ำ

  6. รหัสแทนข้อมูล data code • การเก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกเก็บอยู่ในรูปของเลขฐานสอง ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษร ข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บอยู่ในรูปรหัสเลขฐานสองที่แทนด้วยค่า “0” และค่า “1” ทั้งสิ้น โดยระบบจะนำค่าลอจิก “0” และ “1” เหล่านี้มาจัดกลุ่มกัน เรียกว่า รหัสแทนข้อมูล

  7. รหัสแอสกี (ASCII Code) • รหัสแทนด้วยตัวอักษรแบบแอสกี (American Standard Code for Information Interchange; ASCII) • เป็นรหัสแทนข้อมูลที่มีการใช้แพร่หลายกันมากที่สุด เช่น ในไมโครคอมพิวเตอร์ IBM และ IBM คอมแพทิเบิล รหัสแอสกีเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standards Institute; ANSI) • ประกอบด้วยรหัส 7 บิตและเพิ่มอีก 1 บิต เรียกว่า แพริตี้บิต รวมเท่ากับ 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ ซึ่งแต่ละบิตจะแทนด้วยเลข "0" และ "1"

  8. รหัสเอ็บซีดิก (EBCIDIC) • (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code; EBCDIC) เป็นรหัสแทนข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้งานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไอบีเอ็มโดยเฉพาะ • รหัสเอ็บซีดิกนี้มีขนาด 8 บิต เพื่อแทนสัญลักษณ์หนึ่งตัว ดังนั้นจึงสามารถใช้แทนอักขระได้ 28 หรือ 256 ตัว หรือสองเท่าของรหัสแอสกี • รหัสเอ็บซีดิกถือว่าเป็นรหัสมาตรฐานในการใช้แทนอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบัน

  9. รหัสยูนิโค้ด (UNICODE) • ยูนิโค้ด (UNICODE) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2536 เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับรหัสแบบแรก • โดยการกำหนดให้หนึ่งตัวอักษรมีขนาด 16 บิตแทน 8 บิตตามแบบเก่าจึงสามารถใช้แทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 แบบ • ตัวอักษร 128 ตัวแรกจะเหมือนกันกับตัวอักษรในรหัสแอสกีรุ่นเก่า นอกจากนี้มีตัวอักษรจีน 2,000 ตัว ตัวอักษรญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ฮิบรูกรีก สันสกฤต และอื่น ๆ รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สัญลักษณ์พิเศษอีกมากมาย

  10. การส่งข้อมูล(Data transmission) กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน 

  11. พื้นฐานของการส่งข้อมูลพื้นฐานของการส่งข้อมูล • ในทางคอมพิวเตอร์การส่งข้อมูล หมายถึงการส่งชุดข้อมูลเป็นแบบบิต (bit) ที่มีแต่ตัวเลข 0 กับ 1 หรือเป็นไบต์ (byte) ที่เป็นตัวอักษรโดย 8 บิต มีค่าเป็น 1 ไบต์ จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งซึ่งการส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์เราสามารถใช้ตัวกลางในการส่งข้อมูลได้หลากหลายชนิดเทคโนโลยี • สายทองแดง (copper wire) • เส้นใยแก้วนำแสง (optical fiber) • แสงเลเซอร์ (laser) • คลื่นวิทยุ (radio) • อินฟราเรด (infra – red light)

  12. วิธีการส่งข้อมูล วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ใน รูปที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือสิ่งรบกวน(Noise)จากภายนอก ทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด 

  13. วิธีการส่งข้อมูล

  14. ลักษณะการส่งข้อมูล สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกตามลักษณะการส่งข้อมูลได้ 2 ชนิด • การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) • การส่งแบบขนาน (parallel transmission)

  15.  การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง

  16.    การส่งแบบขนาน (parallel transmission) การส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่ม

  17. วิธีการส่งข้อมูล สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกเป็น 2 วิธี ดังนี้ • การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission)  • การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission)

  18. วิธีการส่งข้อมูล สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกเป็น 2 วิธี ดังนี้ • การส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส (asynchronous transmission)  • การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission)

  19. การส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส (asynchronous transmission)  การส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส (asynchronous transmission)  การสื่อสารแบบอซิงโครนัสนั้นจะใช้สายสัญญาณเพียงตัวเดียวแต่จะใช้รูปแบบการส่งข้อมูล หรือ Bit Pattern เป็นตัวกําหนดว่าส่วนไหนเป็นตัวเริ่มต้นข้อมูล ส่วนไหนเป็นตัวข้อมูล ส่วนไหนจะเป็นตัวตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และส่วนไหนเป็นส่วนปิดท้ายของข้อมูล โดยต้องกําหนดให้สัญญาณนาฬิกาเท่ากันทั้งภาครับและภาคส่ง ซึ่งจะมีอุปกรณ์พิเศษ คอยควบคุมการรับและการส่งข้อมูล 

  20. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission)  การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission)  การสื่อสารแบบซิงโครนัสนี้จะใช้สัญญาณนาฬิกาควบคุมการรับส่งสัญญาณ เช่น สายคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ โดยจะมีสายสัญญาณเส้นหนึ่งเป็นสายสัญญาณนาฬิกา ส่วนอีก เส้นหนึ่งเป็นสายของข้อมูล( และมักจะมีสาย กราวน์ ด้วย) สําหรับการสื่อสารแบบซิงโครนัสนี้เหมาะสําหรับการทํางานในระยะใกล้ข้อมูลที่จะส่งมีไม่มากนัก เพราะถ้าระยะทางไกลขึ้นจะทําให้สัญญาณนาฬิกามีปัญหา อีกทั้ง ต้องมีสายหลายเส้นทําให้สิ้นเปลืองมาก 

  21. สรุป การส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่ส่งจะอยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวอักษรที่อ่านได้ โดยการส่งข้อมูลมีทั้งการส่งข้อมูลแบบขนานและการส่งข้อมูลแบบอนุกรม

More Related