1.09k likes | 1.66k Views
LM. r. BP. r 0. IS. Y. 0. Y. บทที่ 4 การค้าระหว่างประเทศ ดุลการชำระเงิน และดุลยภาพภาคต่างประเทศ (International Trade, Balance of Payment and International Equilibrium). โดย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ. ความนำ
E N D
LM r BP r0 IS Y 0 Y บทที่ 4การค้าระหว่างประเทศ ดุลการชำระเงิน และดุลยภาพภาคต่างประเทศ (International Trade, Balance of Payment and International Equilibrium) โดย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวข้อ • ความนำ • การค้าระหว่างประเทศ • อัตราแลกเปลี่ยน • ดุลการชำระเงิน • ดุลยภาพภาคระหว่างประเทศ • ดุลยภาพในตลาดผลผลิต ตลาดเงิน และภาคระหว่างประเทศ
- การค้าระหว่างประเทศ ดุลการชำระเงิน และดุลยภาพภาคต่างประเทศ >>วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ >>เข้าใจในกลไกของระบบเศรษฐกิจ >>วางแผนและนโยบายทางเศรษฐกิจ
กลไกความสัมพันธ์ตัวแปรเศรษฐกิจระหว่างประเทศกลไกความสัมพันธ์ตัวแปรเศรษฐกิจระหว่างประเทศ Capital Account ดุลบัญชีทุน Exchange Rate Interest Rate Price Level Expenditure (X-M) ดุลการค้า Balance of Payment ดุลการชำระเงิน Current Account ดุลบัญชีเดินสะพัด
-ทบทวนทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ -ทบทวนทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ • -การนำเข้า • -การส่งออก • -ดุลการค้า
แนวคิดและทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศแนวคิดและทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
1) ทฤษฎีการได้เปรียบอย่างสมบูรณ์(Absolute Advantage Theory) -โดย Adam Smith กล่าวว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งจะผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบอย่างสมบูรณ์ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าของอีกประเทศหนึ่ง การที่ประเทศมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าใด แสดงว่าเขาสามารถผลิตสินค้านั้นด้วยต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าอีกประเทศหนึ่ง -โดยสรุป Adam Smith เห็นว่า การได้เปรียบโดยสมบูรณ์หรือการได้เปรียบโดยเด็ดขาดนี้เป็นต้นเหตุให้มีการค้าระหว่างประเทศ โดยให้แต่ละประเทศเลือกผลิตแต่สินค้าที่ประเทศนั้นมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อส่งไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอีกชนิดของอีกประเทศหนึ่ง ตารางตัวอย่าง แสดงต้นทุนการผลิตสินค้า 2 ชนิด ของ 2 ประเทศ
แบบแผนการค้า ไทยจะผลิตข้าวเป็นสินค้าออก และนำเข้ายาง ส่วนมาเลเชียจะผลิตยางเป็นสินค้าออก และนำเข้าข้าว อัตราแลกเปลี่ยน ไทย ใช้ 4 หน่วยแรงงานผลิตยางได้ 1 หน่วย ถ้าใช้ 3 หน่วยแรงงานจะผลิตยางได้ = 0.75 หน่วย เพราะฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนภายในของไทยระหว่างข้าว : ยาง คือ 1 : 0.75 มาเลเชีย ใช้ 2 หน่วยแรงงานผลิตยางได้ 1 หน่วย ถ้าใช้ 5 หน่วยแรงงานจะผลิตยางได้ = 2.5 หน่วย ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนภายในของมาเลเชียระหว่างข้าว : ยาง คือ 1 : 2.5 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอยู่ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนภายในของประเทศทั้ง 2 ประเทศ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจึงอยู่ระหว่าง ข้าว : ยาง คือ 1 : 0.75 – 2.5
ประโยชน์จากการค้า สมมติ ข้าว 1 หน่วย แลกยางได้ 1 หน่วย ไทย ก่อนค้า ผลิตข้าว 1 หน่วย ใช้แรงงาน 3 หน่วยแรงงาน ผลิตยาง 1 หน่วย ใช้แรงงาน 4 หน่วยแรงงาน รวมแรงงานที่ต้องใช้ทั้งหมด 7 หน่วยแรงงาน หลังค้า มุ่งผลิตข้าวอย่างเดียว 2 หน่วย ใช้แรงงานเพียง 6 หน่วยแรงงาน แล้วนำข้าวส่วนที่เกินความต้องการ ( 1 หน่วย ) ไปแลกกับยาง ( ได้ยางมา 1 หน่วย ) จะเห็นได้ว่า ไทยใช้แรงงานลดลง 1 หน่วยแรงงาน แต่มีสินค้าบริโภคเท่ากับเมื่อก่อนมีการค้าระหว่างประเทศ มาเลเชีย ก่อนค้า ผลิตข้าว 1 หน่วย ใช้แรงงาน 5 หน่วยแรงงาน ผลิตยาง 1 หน่วย ใช้แรงงาน 2 หน่วยแรงงาน รวมแรงงานที่ต้องใช้ทั้งหมด 7 หน่วยแรงงาน หลังค้า มุ่งผลิตยางอย่างเดียว 2 หน่วย ใช้แรงงาน 4 หน่วยแรงงาน แล้วนำยางส่วนที่เกินความต้องการ ( 1 หน่วย ) ไปแลกกับข้าว ( ได้ข้าว 1 หน่วย ) จะเห็นได้ว่า มาเลเชียใช้แรงงานในการผลิตสินค้าน้อยลง 3 หน่วยแรงงาน ซึ่งแรงงานส่วนที่เหลือสามารถนำไปผลิตสินค้าอื่น ๆ เพิ่มความมั่งคั่งให้กับประเทศมากขึ้น
2) ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage Theory) -โดย เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) กล่าวว่า ประเทศ 2 ประเทศจะทำการค้าขายกัน เมื่อประเทศหนึ่งสามารถผลิตสินค้าชนิดนั้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตสินค้าชนิดนั้นในอีกประเทศหนึ่ง -หลักสำคัญของทฤษฎีคือ ประเทศไม่ควรที่จะผลิตสินค้าทุกชนิดที่ตนผลิตได้ดีกว่าประเทศอื่น แต่ควรผลิตสินค้าที่ตนผลิตได้ดีที่สุด สำหรับประเทศที่มีความสามารถในการผลิตต่ำไม่ควรที่จะหยุดผลิตสินค้าทุกชนิดเพราะกรรมกรมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำมากในทุก ๆ ทาง แต่ควรที่จะหยุดผลิตสิ่งที่กรรมกรมีความสามารถในการผลิตต่ำที่สุด ตารางตัวอย่าง แสดงต้นทุนการผลิตสินค้า 2 ชนิด ของ 2 ประเทศ
แบบแผนการค้า มาเลเชียผลิตยางได้ด้วยต้นทุนต่ำสุด คือใช้ 0.28 หน่วยแรงงาน และจะผลิตยางเป็นสินค้าออก ส่วนข้าวให้ฟิลิปปินส์เป็นผู้ผลิตส่งออก อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนการค้าระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้นอยู่ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนภายในของประเทศทั้ง 2 มาเลเชีย ใช้ 2 หน่วยแรงงาน ผลิตยางได้ 1 หน่วย ถ้าใช้ 5 หน่วยแรงงาน จะผลิตยางได้ = 2.5 หน่วย ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนภายในของมาเลเชีย ข้าว : ยาง คือ 1 : 2.5 ฟิลิปปินส์ ใช้ 7 หน่วยแรงงาน ผลิตยางได้ 1 หน่วย ถ้าใช้ 6 หน่วยแรงงาน จะผลิตยางได้ = 0.85 ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนภายในของฟิลิปปินส์ ข้าว : ยาง คือ 1 : 0.85 ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอยู่ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนภายในของประเทศทั้ง 2 ประเทศ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจึงอยู่ระหว่าง ข้าว : ยาง คือ 1 : 0.85 – 2.5
ประโยชน์จากการค้า สมมติ ข้าว 1 หน่วย แลกยางได้ 1 หน่วย มาเลเชีย ก่อนค้า ผลิตข้าว 1 หน่วย ใช้แรงงาน 5 หน่วยแรงงาน ผลิตยาง 1 หน่วย ใช้แรงงาน 2 หน่วยแรงงาน รวมแรงงานที่ต้องใช้ทั้งหมด 7 หน่วยแรงงาน หลังค้า มุ่งผลิตยางอย่างเดียว 2 หน่วย ใช้แรงงาน 4 หน่วยแรงงาน แล้วนำยางส่วนที่เกินความต้องการ ( 1 หน่วย ) ไปแลกกับข้าว (ได้ข้าวมา 1 หน่วย ) ฟิลิปปินส์ ก่อนค้า ผลิตข้าว 1 หน่วย ใช้แรงงาน 6 หน่วยแรงงาน ผลิตยาง 1 หน่วย ใช้แรงงาน 7 หน่วยแรงงาน รวมใช้แรงงานทั้งหมด 13 หน่วยแรงงาน หลังค้า มุ่งผลิตข้าวอย่างเดียว 2 หน่วย ใช้แรงงาน 12 หน่วยแรงงาน แล้วนำข้าวส่วนที่เกินความต้องการ ( 1 หน่วย ) ไปแลกกับยาง ได้ยางมา 1 หน่วย จะเห็นได้ว่า มาเลเชีย ใช้แรงงานน้อยลง ( ลดลง ) 3 หน่วยแรงงาน ฟิลิปปินส์ใช้แรงงานน้อยลง ( ลดลง ) 1 หน่วยแรงงาน
3) ทฤษฎีของฮิคค์เชอร์และโอลิน (Hechscher-Olin Theory) -กล่าวว่า สินค้าที่แตกต่างกันย่อมมีอัตราการใช้ปัจจัยแตกต่างกัน ประเทศที่แตกต่างกันย่อมมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน ประเทศใดที่มีปัจจัยการผลิตชนิดไหนมากจะผลิตสินค้าที่ต้องการปัจจัยการผลิตนั้นได้ในราคาถูก และจะส่งสินค้าชนิดนั้นเป็นสินค้าออก -ความหมายของความสมบูรณ์ของปัจจัย มี 2 ความหมาย (1) ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยตามปริมาณของปัจจัย (Physical definition) คือ ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยที่วัดจากปริมาณของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นเทียบกับ ปัจจัยการผลิตชนิดอื่นของประเทศนั้น เทียบกับประเทศอื่น(ปริมาณของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นเทียบกับปัจจัยการผลิตชนิดอื่นของประเทศอื่น) (2)ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยตามราคาของปัจจัย (Price definition) คือ ความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยที่วัดจากราคาของปัจจัยชนิดนั้นเมื่อเทียบกับราคาของ ปัจจัยชนิดอื่นของประเทศนั้น เทียบกับประเทศอื่น(ราคาของปัจจัยชนิดนั้นเมื่อเทียบกับราคาของปัจจัยชนิดอื่นของประเทศอื่น)
W C T J โดยสรุป ประเทศไทย (T) มีความอุดมสมบูรณ์ในปัจจัยแรงงาน (L) (ทำให้อัตราการใช้ปัจจัยหรือสัดส่วน ของไทยมากกว่าสัดส่วน ของญี่ปุ่น) ประเทศไทยจะสามารถผลิตสินค้าที่ใช้ปัจจัยชนิดนั้นได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ดังนั้นไทยจะผลิตข้าวได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ไทยจึงผลิตข้าว และส่งข้าวเป็นสินค้าออก แล้วนำเข้าผ้าจากญี่ปุ่น ส่วนประเทศญี่ปุ่น (T) มีความอุดมสมบูรณ์ในปัจจัยทุน (K) (ทำให้อัตราการใช้ปัจจัยหรือสัดส่วน ของญี่ปุ่นมากกว่าสัดส่วน ของไทย) ประเทศญี่ปุ่นจะสามารถผลิตสินค้าที่ใช้ปัจจัยทุนมากในการผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ดังนั้นไทยจะผลิตผ้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ญี่ปุ่นจึงผลิตผ้า และส่งผ้าเป็นสินค้าออก แล้วนำเข้าข้าวจากไทย
ฟังก์ชันการส่งออก (X) การนำเข้า (M) X = X ( Yf , P , e ) ; M = M ( Y , P , e ) ; เมื่อ X คือ มูลค่าสินค้าส่งออก M คือ มูลค่าการนำเข้า P คือ ระดับราคาสินค้า e คือ อัตราแลกเปลี่ยน (฿/$) Yfคือ ระดับรายได้ประชาชาติของต่างประเทศ (Foreign) Y คือ ระดับรายได้ประชาชาติของประเทศ
แทรก AD , X-M Y= AD M=Ma+mY Xa A X=Xa Ma Xa-Ma 450 Y (รายได้ประชาชาติ) 0 Xn>0(X>M) Y1 Xn =(Xa-Ma)-mY (การส่งออกสุทธิ) Xn<0(X<M) Xn=0(X=M)
ดุลการค้า ( Balance of trade ) • ดุลการค้า = มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ ( X ) – มูลค่าการนำเข้า ( M ) • - ถ้า มูลค่าการส่งออกมากกว่ามูลค่าการนำเข้า ( X > M ) แสดงว่า ดุลการค้า “เกินดุล” • - ถ้า มูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้า ( X < M ) แสดงว่า ดุลการค้า “ขาดดุล” • - ถ้า มูลค่าการส่งออกเท่ากับมูลค่าการนำเข้า ( X = M ) แสดงว่า ดุลการค้า “สมดุล”
ตารางที่ สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี 2536-2546 (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า : ล้านบาท
ตารางที่ โครงสร้างสินค้าออกของไทยปี 2537-2546 (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า : ล้านบาท
ตารางที่ โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยปี 2537-2546 (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า : ล้านบาท
-ระบบอัตราแลกเปลี่ยน • -อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ • -อุปทานของเงินตราต่างประเทศ • -อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ • -การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
ความหมายของอัตราแลกเปลี่ยน (exchange rate) อัตราแลกเปลี่ยน คือ จำนวนเงินตราสกุลหนึ่งที่จะต้องถูกจ่ายหรือเสียไปเพื่อแลกกับหนึ่งหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง หรือ คือ ราคาของเงินตราต่างประเทศ หรือราคาของเงินตราต่างประเทศที่คิดอยู่ในหน่วยของเงินตราอีกประเทศหนึ่ง ตัวอย่าง อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์คือ ฿ 40 = $ 1 คือ ราคาของเงินบาท 40 บาท คิดในหน่วยของเงินดอลลาร์เท่ากับ 1 ดอลลาร์
ความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยนความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยน 1) เป็นตัวกลางในการชำระหนี้ระหว่างประเทศจากการค้าระหว่างประเทศ โดยที่แต่ละประเทศใช้เงินต่างสกุลกัน 2) มีผลกระทบต่อการนำเข้า การส่งออก ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การผลิต การจ้างงาน ตลอดจนรายได้ประชาชาติ
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน ระบบของอัตราแลกเปลี่ยน มี 2 แบบ 1) อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (fixed exchange rate) ถูกกำหนดโดยธนาคารกลางของประเทศ 2) อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว หรืออัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงได้อย่างเสรี (flexible or floating exchange rate) ถูกกำหนดโดยอุปสงค์เงินตราต่างประเทศและอุปทานเงินตราต่างประเทศ
ข้อดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีข้อดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี • ช่วยแก้ปัญหาดุลการชำระเงินที่เกินดุลหรือขาดดุล (ดุลการชำระเงินจะเป็นผลรวมของดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย) และรัฐไม่จำเป็นต้องแทรกแซงในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ • การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาโดยอัตโนมัติ • ข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี • มีความยากในการคาดคะเนเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน เพราะอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศมีความไม่แน่นอนตามภาวะทางเศรษฐกิจ ทั้งการนำเข้า/การส่งออกสินค้าและบริการ เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และการเก็งกำไร เป็นต้น
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรีระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรี ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ฿ 35 = $ 1 appreciate หรือ ค่าเงินเพิ่มขึ้น revaluation หรือ การเพิ่มค่าอัตราแลกเปลี่ยน ฿ 40 = $ 1 depreciate หรือ ค่าเงินลดลง devaluation หรือ การลดค่าอัตราแลกเปลี่ยน ฿ 45 = $ 1
เพิ่ม อัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มขึ้น มองที่ค่าของเงิน(บาทเมื่อแลกกับดอลลาร์) มองที่อัตราแลกเปลี่ยน(บาทต่อดอลลาร์) เช่น ค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มค่าอัตราแลกเปลี่ยนจาก ฿ 1 = $ เป็น ฿ 1 = $ (หรือเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนจาก ฿ 40 = $ 1 เป็น ฿ 35 = $ 1) เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นจาก ฿ 40 = $ 1 เป็น ฿ 45 = $ 1
อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ • หมายถึง ความต้องการของคนในประเทศที่มีต่อเงินตราต่างประเทศ เพื่อที่จะนำเงินตราต่างประเทศนั้นไปซื้อสินค้าเข้า ซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงทุนในต่างประเทศ หรือจ่ายเป็นเงินปันผล ดอกเบี้ย หรือเป็นเงินโอนให้แก่ต่างประเทศ หรือนำไปใช้จ่ายท่องเที่ยวในต่างประเทศ • อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศมีความสัมพันธ์กับอัตราแลกเปลี่ยนในทิศทางตรงกันข้าม
อัตราแลกเปลี่ยน ฿:$ 41 40 Q(ปริมาณเงินตราต่างประเทศ:$) Q2 Q1
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนของเส้นอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนของเส้นอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ • ระดับราคาในประเทศ (ทิศทางเดียวกัน) • อัตราดอกเบี้ยในประเทศ (ทิศทางตรงกันข้ามกัน) • การคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต (ทิศทางเดียวกัน) • ระดับรายได้ประชาชาติในประเทศ (ทิศทางเดียวกัน)
อัตราแลกเปลี่ยน ฿:$ E 40 / 0 Q1 Q2 Q(ปริมาณเงินตราต่างประเทศ:$)
อัตราแลกเปลี่ยน ฿:$ E 41 / 0 Q2 Q1 Q(ปริมาณเงินตราต่างประเทศ:$)
อุปทานของเงินตราต่างประเทศอุปทานของเงินตราต่างประเทศ • หมายถึง ปริมาณเงินตราต่างประเทศที่ประเทศได้รับจากการส่งออกสินค้า จากการลงทุนต่างประเทศ จากการท่องเที่ยว เงินปันผล หรือเงินโอนจากต่างประเทศ เป็นต้น • อุปทานของเงินตราต่างประเทศมีความสัมพันธ์กับอัตราแลกเปลี่ยนในทิศทางเดียวกัน
อัตราแลกเปลี่ยน ฿:$ 41 40 Q(ปริมาณเงินตราต่างประเทศ:$) Q1 Q2
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนของเส้นอุปทานของเงินตราต่างประเทศปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนของเส้นอุปทานของเงินตราต่างประเทศ • ระดับราคาในประเทศ (ทิศทางตรงกันข้ามกัน) • อัตราดอกเบี้ยในประเทศ (ทิศทางเดียวกัน) • การคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต (ทิศทางตรงกันข้ามกัน) • ระดับรายได้ประชาชาติของต่างประเทศ (ทิศทางเดียวกัน)
อัตราแลกเปลี่ยน ฿:$ 40 Q(ปริมาณเงินตราต่างประเทศ:$) Q2 Q1
อัตราแลกเปลี่ยน ฿:$ E 41 0 Q1 Q2 Q(ปริมาณเงินตราต่างประเทศ:$)