1.44k likes | 2.3k Views
รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง. บทที่ 6. ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง. โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. หัวข้อ. นโยบายการเงินและเครื่องมือทางการเงิน เป้าหมายนโยบายการเงิน
E N D
รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง บทที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
หัวข้อ • นโยบายการเงินและเครื่องมือทางการเงิน • เป้าหมายนโยบายการเงิน • ประสิทธิภาพนโยบายการเงินและการใช้นโยบายการเงิน • ผลกระทบของนโยบายการเงิน • ประสิทธิภาพนโยบายการคลังและการใช้นโยบายการคลัง • การใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังร่วมกัน • การวิเคราะห์การใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเชิงตัวแบบ • ความล่าช้าของการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
นโยบายการเงินและเครื่องมือทางการเงินนโยบายการเงินและเครื่องมือทางการเงิน
นโยบายการเงิน คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น การรักษาเสถียรภาพของราคา ส่งเสริมการจ้างงาน การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม • รัฐบาลมักใช้นโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเสถียรภาพของระดับราคา และอัตราแลกเปลี่ยน และสนับสนุนการเติบโตมากกว่าเป้าหมายอื่น ตัวอย่างเช่น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซงให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2541 เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนหรือควบคุมระดับเงินเฟ้อจะมีผลต่อการกระจายรายได้ กล่าวคือ จะทำให้ผู้ที่เป็นหนี้มีภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
นโยบายการเงินทำงานอย่างไรนโยบายการเงินทำงานอย่างไร
ช่องทางต่าง ๆ ของกลไกการทำงานของนโยบายการเงิน
ความสัมพันธ์ระหว่างแบบจํ าลอง การคาดการณ์เศรษฐกิจ และ การตัดสินใจนโยบายการเงิน
ประเภทของนโยบายการเงินประเภทของนโยบายการเงิน • แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ • 1. นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary Monetary Policy) เป็นนโยบายการเงินที่ต้องการทำให้สภาพคล่องทางการเงิน (liquidity) เพิ่มขึ้นซึ่งทำได้โดยการใช้เครื่องมือทางการเงินในการที่จะเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้สูงขึ้น นโยบายการเงินในลักษณะนี้จะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง ซึ่งจะมีผลกระตุ้นให้อุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น รัฐบาลมักจะใช้นโยบายการเงินลักษณะนี้เมื่อต้องการสนับสนุนการเติบโต ดังที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่ในขณะนี้ (พ.ศ. 2543)
2. นโยบายการเงินแบบหดตัว(Contraction or tight monetary policy) เป็นนโยบายการเงินที่ต้องการทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดลง และทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทั้งนี้กระทำได้โดยใช้เครื่องมือทางการเงินไปในทิศทางที่จะลดปริมาณเงินลง นโยบายลักษณะนี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเช่น ควบคุมไม่ให้อุปสงค์รวมสูงเกินไป อันจะทำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ หรือช่วยรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาท เป็นต้น นโยบายการเงินแบบหดตัวนี้ รัฐบาลได้นำใช้หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใหม่ๆ ( 2540 – 2541) ดังที่ปรากฏในจดหมายแสดงเจตจำนงที่ยื่นต่อ IMF ฉบับที่ 1
เครื่องมือนโยบายการเงินเครื่องมือนโยบายการเงิน • ธนาคารชาติจะใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดโดยเครื่องมือที่ใช้มีวัตถึประสงค์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนปริมาณเงิน (money supply) และอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการเมื่อปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของภาคธุรกิจแอละครัวเรือนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไปยังภาคที่แท้จริงหรือภาคการผลิตและการจ้างงาน
นโยบายการเงิน (Monetary Policy) เครื่องมือทางการเงิน (monetary instrument) ตลาดเงิน ปริมาณเงิน/อัตราดอกเบี้ย ภาคที่แท้จริง (Real sector) ปัญหาหรือเป้าหมายทางเศรษฐศาสตร์
เครื่องมือทางการเงินที่จะใช้ควบคุมระดับปริมาณเงินหรืออัตราดอกเบี้ยที่สำคัญมีดังนี้เครื่องมือทางการเงินที่จะใช้ควบคุมระดับปริมาณเงินหรืออัตราดอกเบี้ยที่สำคัญมีดังนี้ • การซื้อขายพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกว่า Open Market Operationเป็นเครื่องมือที่ธนาคารชาติใช้ในการควบคุมปริมาณเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกพันธบัตรอายุไถ่ถอนระยะเวลาต่างๆกันซึ่งส่วนใหญ่เป็นระยะเวลาสั้นเช่น 1เดือน 3เดือนและ 6เดือนเป็นต้นเมื่อธนาคารชาติต้องการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลงในทางปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยจะซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งให้เป็นคู่ค้าเรียกว่า “Primary Dealers” ซึ่งได้แก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนบางแห่งซึ่ง primary dealers เหล่านี้อาจไปซื้อขายต่อกับสถาบันการเงินหรือนักลงทุนอื่นๆ
ตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Market)ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งตลาดซื้อคืนพันธบัตรในเดือนเมษายน 2522 เพื่อให้สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องมากู้ยืมเงินโดยนำพันธบัตรมาขายโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนในภายหลังขณะที่สถาบันการเงินที่มีสภาพคล่องสูงก็จะมาซื้อพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำตัวเป็นผู้ซื้อและขายรายหนึ่งโดยเข้ามาขายหรือซื้อแล้วแต่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มหรือลดสภาพคล่องนี้จะมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเช่น 1วัน 3วันหรือ7วัน • การให้กู้ยืมผ่านหน้าต่างเงินกู้ (Loans Windows)หน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทยประการหนึ่งคือจะเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่สถาบันการเงิน (Lender of Last Resort) อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารชาติคิดเรียกว่าอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount Rate)
การกำหนดอัตรารับช่วงซื้อลด (rediscount rate)ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดอัตราดอกดเบี้ยในการรับซื้อตราสารทางการเงินตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินหรือที่เรียกว่า “อัตรารับช่วงซื้อลด” ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการที่ให้ปริมาณเงินขยายตัวก็กระทำได้โดยกำหนดอัตรารับช่วสงซื้อลดให้ลดลงเพื่อจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการรับซื้อตั๋วเงินที่ออกโดยธุรกิจมากขึ้น • เงินสดสำรองตามกฎหมาย (legal reserve requirement)ธนาคารกลางในต่างประเทศส่วนใหญ่รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินสดไว้ที่ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมาย 6% โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงไว้ด้วยการฝากเงินสดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1% และเงินสดที่กันไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ 2.5% ที่เหลืออีก 2.5%เป็นพันธบัตรรัฐบาลที่ปลอดภาระผูกผันแต่ในส่วนของเงินสดที่กันไว้ที่ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้พันธบัตรกันสำรองทดแทนได้
เครื่องมือนโยบายการเงินภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) • ภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงินจะส่งสัญญาณทางการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา และเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำธุรกรรมต่างๆ ในตลาดการเงิน เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงิน ที่สำคัญคือ 1. การซื้อ/ขายพันธบัตรในตลาดซื้อคืนพันธบัตร และ 2. การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Swap) • การเปลี่ยนแปลงจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวเมื่อกลางปี 2540 ทำให้ธปท.สามารถดำเนินนโยบายการเงินภายในประเทศอย่างมีอิสระ มากขึ้น โดยธปท.ไม่จำเป็นต้องรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนไว้ ณ อัตราที่กำหนด ดังนั้น การเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนโดยตรงของธปท.จึงลดลง
ในการประเมินผลกระทบของธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เพื่อที่จะตัดสินใจว่าควรมีการ ชดเชย (sterilize) ผลกระทบทางการเงินนั้นหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับการประเมินการเปลี่ยนแปลงของสภาพคล่องโดยรวม และการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ซึ่งปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินคงคลังของภาครัฐ ฐานะการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ และภาระผูกพันที่ครบกำหนดกับธปท. • ในฐานะที่ธปท.เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ธปท.จึงมีหน้าที่ในการออกจำหน่าย และเก็บรักษาพันธบัตรรัฐบาล โดยขณะนี้ ธปท.ได้จัดตั้งระบบ “Primary Dealership” เพื่อคัดเลือกสถาบันการเงินที่มีความพร้อมเป็นคู่ค้าหลักของธปท. ซึ่งสถาบันการเงินดังกล่าวจะมีส่วนร่วมในการประมูลและจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล คู่ค้าหลักของ ธปท. ยังมีหน้าที่จัดการ สภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้
เป้าหมายนโยบายการเงินเป้าหมายนโยบายการเงิน
ในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารชาติของประเทศต่างๆทั่วโลกมีเป้าหมายสุดท้าย (ultimate target) ที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (economic stability) ในขณะที่เศรษฐกิจมีการเติบโตหรือกล่าวในนัยที่กว้างขึ้นคือธนาคารชาติทุกประเทศมีเป้าหมายในการที่จะให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ • ในการใช้มาตรการหรือเครื่องมือทางการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐบาลจะต้องมีตัวแปรหลักที่จะควบคุมดูแลหรืออาจเรียกว่าเป้าหมายขั้นกลาง (intermediate target) ทั้งนี้ถ้ารัฐบาลเชื่อว่าถ้าสามารถดูแลเป้าหมายขั้นกลางได้ก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายสุดท้ายได้ • เป้าหมายขั้นกลางที่รัฐบาลใช้เป็นหลักมีหลายตัวเช่นฐานเงิน (Monetary base) อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อหรือปริมาณเงิน (money supply) เป็นต้น
การที่จะใช้ตัวแปรใดเป็นเป้าหมายขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละประเทศทั้งนี้มีความเชื่อว่าเป้าหมายขั้นกลางนี้จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเป้าหมายขั้นสูงสุด (ultimate target) คือเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ • สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้มีการนำเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting ) มาใช้ • เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงสะท้อนออกมาจากแนวคิดของธนาคารแห่งประเทศไทยสรุปได้ดังนี้ ประการแรกภายใต้สภาพแวดล้อมและนโยบายเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโดยเฉพาะการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการในปี 2540 ทำให้นโยบายการเงินมีอิสระมากยิ่งขึ้นประกอบกับโครงสร้างของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระดับราคาเปลี่ยนไปจากเดิมคือยืดหยุ่นไปตามอัตราแลกเปลี่ยน
จึงมีความจำเป็นต้องมีกลไกใหม่ในการรักษาเสถียรภาพของราคาประการที่สองเป้าหมายนโยบายการเงินเดิมที่ใช้ฐานเงินหรือปริมาณเงิน (Monetary Targeting) ประสบปัญหาเนื่องจากความต้องการเงินในระบบซึ่งสืบเนื่องมาจากวิวัฒนาการทางการเงินทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินกับระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง และ ประการสุดท้ายเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อมีความชัดเจนและเข้าใจง่ายกว่าเป้าหมายทางการเงินเนื่องมาจากเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ประกาศมีความโปร่งใส (transparency) สาธารณชนสามารถตรวจสอบได้ว่าธนาคารชาติสามารถรักษาเงินเฟ้อได้ตามที่ประกาศหรือไม่จึงเป็นกรอบนโยบายที่เอื้อต่อการสร้างความน่าเชื่อถือต่อการสร้างความน่าเชื่อถือ (creditability) และเน้นย้ำความรับผิดชอบของธนาคารชาติ (accountability) ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการจากธนาคารชาติ
เครื่องมือทางการเงิน เป้าหมายขั้นกลาง เป้าหมายขั้นสุดท้าย
เป้าหมายของนโยบายการเงินเป้าหมายของนโยบายการเงิน • เป้าหมายปริมาณเงิน (Money targeting : M) • เป้าหมายอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate targeting : r) • เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation targeting : p) William poole ได้เสนอกรอบแนวคิดในการเลือกเป้าหมายระหว่างปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย โดยหลักการแล้วธนาคารกลางจะเลือกควบคุมเป้าหมายด้านปริมาณเงินหรือเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย (ในที่นี้วัดความมีเสถียรภาพทางรายได้ให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด) ขึ้นอยู่กับที่มา (Source) ของความไม่มีเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจว่ามาจากตลาดการเงิน (การเปลี่ยนแปลงเส้น LM) หรือมาจากตลาดผลผลิต (การเปลี่ยนแปลงเส้น IS)
การควบคุมปริมาณเงินและการควบคุมอัตราดอกเบี้ยการควบคุมปริมาณเงินและการควบคุมอัตราดอกเบี้ย r MS1 MS0 ธนาคารกลางไม่สามารถกำหนดเป้าหมายควบคุมปริมาณเงินและควบคุมอัตราดอกเบี้ยไปพร้อมๆกันได้ E1 r1 E2 r0 E0 MD1 MD0 -ถ้าควบคุมปริมาณเงิน MS0อุปทานของเงินแท้จริงเท่ากับ ดุลยภาพที่จุด E0 ธนาคารกลางต้องยอมรับอัตราดอกเบี้ย r0- ถ้าควบคุมอัตราดอกเบี้ย r1ธนาคารกลางต้องยอมรับปริมาณเงิน MS1 ดุลยภาพที่จุด E1อย่างไรก็ตามปริมาณเงินอาจเป็น MS0ได้ ถ้าความต้องการถือเงินเพิ่มเป็น MD1ดุลยภาพที่จุด E2
r r LM2(M0) LM0(M) LM0(M0) LM1(M0) E2 E2 r2 r2 E3 E* E4 E* r* r* LM(r) LM(r) E1 E1 r1 r1 IS2 IS0 IS0 IS1 Y Y Y3 Y1 Y* Y2 Y4 Y2 Y* Y1 เป้าหมายระหว่างปริมาณเงิน (M) กับ อัตราดอกเบี้ย (r) ความไม่มีเสถียรภาพเกิดจากตลาดการเงิน(การเปลี่ยนแปลงเส้น LM) เช่น ความต้องการถือเงินเปลี่ยนแปลง ความไม่มีเสถียรภาพเกิดจากตลาดผลผลิต(การเปลี่ยนแปลงเส้น IS) เช่น การลงทุนเปลี่ยนแปลง
การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ข้อกำหนดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน • (1) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบาย • (2) การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไว้ที่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 3.5 • (3) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็นเป้าหมาย
(1) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบาย • คณะกรรมการฯ มีมติให้หักราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานออกจากอัตราเงินเฟ้อ (Headline Inflation) ที่ใช้กันอยู่ปกติในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งจะใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากราคาสินค้าในกลุ่มดังกล่าว อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ค่าไฟฟ้า หรือราคาน้ำมัน มีความผันผวนระยะสั้นสูง ราคาอาหารสดขึ้นกับสภาพอากาศ และราคาน้ำมันขึ้นกับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ หากยังคงรวมอยู่ในเป้าหมายอาจจะทำให้ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายในทางที่ไม่ถูกต้อง • ในระยะสั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความผันผวนน้อยกว่า ส่วนในระยะยาวอัตราเงินเฟ้อทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปด้วยกันอย่างใกล้ชิด
ตัวอย่างเช่น กรณีที่ราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานสูงขึ้น จะกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนอยู่แล้ว ยิ่งหากดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดเพื่อชะลออุปสงค์รวม ก็จะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ถึงแม้หักราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานออกแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานดังกล่าวก็ยังสูงอยู่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 81 ของข้อมูลเกี่ยวกับราคาที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) และจากการเปรียบเทียบข้อมูลในอดีต • ในระยะสั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความผันผวนน้อยกว่า ส่วนในระยะยาวอัตราเงินเฟ้อทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปด้วยกันอย่างใกล้ชิด
(2) การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไว้ที่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 3.5 • จากการที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าคู่แข่งสำคัญของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ในช่วงปี 2543-2544 การรักษาอัตราเงินเฟ้อของไทยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าคู่แข่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในการส่งออกได้ และเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินบาท • ช่วงเป้าหมายที่กว้างประมาณร้อยละ 3.5 (ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของประเทศนิวซีแลนด์) จะช่วยรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ (Temporary Economic Shocks) ลดความจำเป็นที่คณะกรรมการฯ จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินบ่อยครั้ง และช่วยลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง ส่งผลให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ
(3) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็นเป้าหมาย • โดยเหตุที่อัตราเงินเฟ้อรายเดือนยังมีความผันผวน คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็น เป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งจะสอดคล้องกับประมาณการจากแบบจำลองเศรษฐกิจ-มหภาครายไตรมาสที่คณะกรรมการฯ ใช้เป็นเครื่องมือประกอบการกำหนดนโยบาย
การใช้นโยบายการเงินและประสิทธิภาพนโยบายการเงินการใช้นโยบายการเงินและประสิทธิภาพนโยบายการเงิน
- การเปลี่ยนแปลงของเส้น LM (1) การเปลี่ยนแปลงของอุปทานของเงิน >> อุปทานของเงินแท้จริง ( ) (1.1) ผลของการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน ( ) - LM shift ขวา - LM shift ซ้าย (1.2) ผลของการเปลี่ยนแปลงระดับราคา ( ) - LM shift ซ้าย - LM shift ขวา
กรณี (ค) r (ก) r LM LM/ r2 r1 r2 r1 Ms=f(r) 0 Ms2 Ms1 Ms 0 y1 y2 y3 y Mt Mt ( )/ Mt2/ Mt1/ =Mt2 Mt1 Mt2/ Mt1/= Mt2 Mt1 Mt=k(y) 450 Ms 0 Ms2 Ms1 0 y1 y2 y3 y (ข) (ง)
(2) การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ต่อเงิน >> ( MD) (2.1) ผลของการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ต่อเงินเพื่อใช้สอยและเหตุฉุกเฉิน ( Mt ) - Mt LM shift ซ้าย(เลื่อนซ้าย หรือเลื่อนขึ้นบน โดยความชันของเส้น LM ชันขึ้นไม่ขนานกับเส้นเดิม) - Mt LM shift ขวา(เลื่อนขวา หรือเลื่อนลงล่าง โดยความชันของเส้น LM ลาดมากขึ้นไม่ขนานกับเส้นเดิม)
กรณี (ค) r (ก) r LM/ LM r2 r1 r2 r1 Ms=f(r) 0 Ms2 Ms1 Ms 0 y1/ y1 y2/ y2 y Mt Mt Mt=k/(y) Mt=k(y) Mt2 Mt1 Mt2 Mt1 450 Ms 0 Ms2 Ms1 0 y1/ y1 y2/ y2 y (ข) (ง)
(ค) r (ก) r LM/ LM r2 r1 r2 r1 Ms/ Ms 0 Ms2 Ms2/ Ms1 Ms1/ Ms 0 y1/ y1 y2/ y2 y Mt Mt Mt=k(y) Mt2 Mt2/ Mt1 Mt1/ Mt2 Mt2/ Mt1 Mt1/ 450 Ms 0 0 y y1/ y1 y2/ y2 Ms2 Ms2/ Ms1 Ms1/ (ข) (ง) (2.2) ผลของการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ต่อเงินเพื่อเก็งกำไร ( ) - (เมื่อ r คงที่) LM shift ซ้าย - LM shift ขวา
ประสิทธิภาพนโยบายการเงินประสิทธิภาพนโยบายการเงิน
ประสิทธิภาพนโยบายการเงิน (กรณีนโยบายการเงินแบบขยายตัว) กรณีที่มีความแตกต่างของความชันเส้น LM r LM0 LM1 r LM0 LM1 r0 r0 E0 E0 E1 r1 r1 E1 IS0 IS0 Y Y Y0 Y1 Y0 Y1 LM0 r r LM1 LM0 r0 r0 E0 E0 LM1 r1 E1 IS0 IS0 Y Y Y0Y1 Y0
ประสิทธิภาพนโยบายการเงิน (กรณีนโยบายการเงินแบบขยายตัว) กรณีที่มีความแตกต่างของความชันเส้น IS IS0 r LM0 r LM0 LM1 LM1 E0 E0 r0 r0 E1 r1 r1 E1 IS0 Y Y Y0 Y0 Y1 r LM0 r LM0 LM1 LM1 E0 r0 E0 E1 r0 E1 IS0 r1 IS0 Y Y Y0 Y1 Y0 Y1
สรุปประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงิน-การคลัง และความชันของเส้น IS และ LM กรณีการใช้นโยบายการเงิน
ผลกระทบของนโยบายการเงินผลกระทบของนโยบายการเงิน
r LM0 LM1 E0 r0 r1 E1 IS0 Y 0 Y0 Y1 กรณีการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว
กรณีการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว(ตึงตัว)กรณีการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว(ตึงตัว) r LM1 LM0 E1 r1 r0 E0 IS0 Y 0 Y1 Y0
r LM1 LM0 E1 r1 r0 E0 IS1 IS0 Y Y0 กรณีศึกษา: การใช้มาตรการสำรองเงินทุนไหลเข้า 30%เพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท หมายเหตุ ระดับรายได้อาจเพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดการเปลี่ยนแปลงของเส้น IS และ LM ส่วนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างเดียว -ภายหลังมาตรการดังกล่าว ทำให้-เงินทุนไหลออกนอกประเทศจาที่ขาดความมั่นใจ ทำให้ปริมาณเงินลดลง เส้น LM Shift ซ้าย-การที่เงินไหลออก และ/หรือเงินทุนไหลเข้าลดลง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้น การนำเข้าลดลง เส้น IS Shift ขวา
การใช้นโยบายการคลังและประสิทธิภาพนโยบายการคลังการใช้นโยบายการคลังและประสิทธิภาพนโยบายการคลัง
r LM0 E1 r1 r0 a E0 IS1 IS0 0 ผลของการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว(Expansionary fiscal policy) ที่มีต่อระดับรายได้ประชาชาติและอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ Y0 Y1 Y2 Y
G IS Shift ขวา (จาก IS0เป็น IS1) Y (จาก Y1เป็น Y2) MtMD MD > MS r (จากr0เป็นr1) I (เคลื่อนบนเส้น IS1จากจุด a ไปE2)Y (จากY2เป็นY1) การที่ r Msและการที่ Y Mt MD MD = MS ดุลยภาพใหม่อยู่ที่จุด E1ณ ระดับ r1และ Y1 สรุป ผลของการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว( G ) จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว Y (จาก Y0เป็น Y1)และอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้น r (จาก r0เป็น r1 )