1 / 75

บทที่ 1 บทนำ (Introduction)

บทที่ 1 บทนำ (Introduction). โดย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ. ตัวแปรสำคัญทางเศรษฐศาสตร์มหภาค แนวคิดหลักทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การผันแปรของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เครื่องชี้สภาพทางเศรษฐกิจมหภาค สรุป

Download Presentation

บทที่ 1 บทนำ (Introduction)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 บทนำ(Introduction) โดย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. หัวข้อ • ตัวแปรสำคัญทางเศรษฐศาสตร์มหภาค • แนวคิดหลักทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค • สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ • การผันแปรของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ • เครื่องชี้สภาพทางเศรษฐกิจมหภาค • สรุป • กิจกรรมและคำถามท้ายบท

  3. 1.1 ตัวแปรสำคัญทางเศรษฐกิจมหภาค

  4. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) , ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) , รายได้ประชาชาติ (NI) , รายได้ส่วนบุคคล (PI)และรายได้ส่วนบุคคลหลังหักภาษีแล้ว (DI) • การใช้จ่ายในการบริโภคภาคเอกชน (C) , การลงทุนภาคเอกชน (I) , การใช้จ่ายภาครัฐบาล (G) , การส่งออก (X) , การนำเข้า (M) • ดุลการค้า (BOT) , ดุลบริการ (BOS) , ดุลบัญชีเดินสะพัด (CA) , ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (Cap.A) , ดุลบัญชีเดินสะพัด (BOP) • ดัชนีราคา (PI) , ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) , เงินฝืด เงินเฟ้อ และอัตราเงินเฟ้อ • ตัวแปรที่เป็นตัวเงิน(Nominal)กับตัวแปรที่แท้จริง(Real) , ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้นที่ตัวเงิน (Nominal GDP) , ผลิตภัณฑ์ • มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้นที่แท้จริง (Real GDP) , ตัวหักลด GDP • ปริมาณเงิน (Money Supply) และปริมาณเงินแท้จริง (Real Money Supply)

  5. ค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน (Nominal Wage) และค่าจ้างแท้จริง (Real Wage) • ความต้องการจ้างงาน (Nd) , กำลังแรงงานหรืออุปทานแรงงาน (Ns) , การมีงานทำ (N) , การว่างงาน (U) • อุปสงค์มวลรวม (AD) , อุปทานมวลรวม (AS) • การออม (S) , การลงทุน (I) , อัตราดอกเบี้ย (R) , • อัตราแลกเปลี่ยน (Ex) • นโยบายการเงิน (Monetary policy) , นโยบายการคลัง (Fiscal policy)

  6. ตารางประกอบ

  7. 1.2 แนวคิดหลักทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค

  8. สำนักคลาสสิก (Classical Economics) • สำนักเคนส์เซียน (Keynesian Economics) • สำนักนีโอคลาสสิก(Neo-Classical Economics)หรือนักการเงินนิยม • (Monetarist Economics) • สำนักนีโอเคนส์เซียน(Neo-Keynesian Economics) • สำนักคลาสสิกใหม่ (New-Classical Economics) หรือการคาดคะเน • อย่างมีเหตุผล (Rational Expectation) • สำนักเคนส์เซียนใหม่(New-Keynesian Economics) • สำนักอุปทานนิยม (Supply-Side Economics)

  9. ตัวอย่างตัวเลขตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคตัวอย่างตัวเลขตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค • ไ

  10. นักเศรษฐศาสตร์มหภาคได้พัฒนาความรู้ที่จะอธิบายระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยพยายามอธิบายถึงตัวแปรที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ แต่การอธิบายเหล่านั้นยังไม่มีข้อยุติ ทั้งนี้เป็นเพราะปัญหาต่างๆที่สำคัญ คือ • 1) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) มีการพยากรณ์เศรษฐกิจบ่อยเกินไป จนทำให้เกิดความสับสนในการเลือกแบบจำลองในหมู่ผู้วางนโยบาย • 2) มีความขัดแย้งทางด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง • 3) นักเศรษฐศาสตร์เห็นด้วยกับลักษณะของเส้นอุปสงค์รวม (Aggregate demand) ว่ามีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา • แต่ในเรื่องเส้นอุปทานรวม (Aggregate supply) นักเศรษฐศาสตร์ยังมีความเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับความชัน (slope) ของเส้นอุปทานรวม เส้นอุปทานรวมอาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

  11. ราคาสินค้า (P) AD ผลผลิต (Y) ลักษณะของเส้นอุปสงค์รวม (Aggregate demand)

  12. (ก) (ข) ราคาสินค้า (P) AS ราคาสินค้า (P) P1 AS P0 P0 AD1 AD1 AD0 AD0 ผลผลิต (Y) ผลผลิต (Y) Yf Y0 Yf ราคาสินค้า (P) ราคาสินค้า (P) AS AS P1 P0 P0 AD1 AD1 AD0 AD0 ผลผลิต (Y) ผลผลิต (Y) Y0 Yf Y0 Yf (ค) (ง) กรณี การเพิ่มขึ้นในรายจ่ายรัฐบาล ลักษณะของเส้นอุปทานรวม (Aggregate supply)

  13. สำนักคลาสสิก (Classical Economics) • แนวคิดนี้เริ่มตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1775 (พ.ศ.2318) โดยมีผู้นำของสำนักนี้ได้แก่ Adam Smith, T. Multhus, D. Ricardo และ J.B. Says เป็นต้น • การว่างงานเป็นการว่างงานโดยสมัครใจ (Voluntary unemployment) ตลาดมีการแข่งขันโดยสมบูรณ์ ทุกๆตลาดอยู่ในภาวะสมดุล ราคาสินค้ายืดหยุ่นได้ • มีความเป็นกลางทางการเงิน (Money is neutral) นั่นคือ ตลาดเงินและตลาดผลผลิตแยกออกจากกันหรือเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กันและกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินก็จะไม่มีผลต่อการว่าจ้างแรงงาน และผลผลิตหรือรายได้ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรในตลาดเงิน จะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการจ้างงานและระดับผลผลิตหรือรายได้ซึ่งเป็นตัวแปรในตลาดผลผลิต นั่นคือ มีความเป็นกลางทางการเงิน (Money is neutral)

  14. การที่เกิดการว่างงานเป็นเพราะค่าจ้างที่แท้จริงสูงกว่าค่าของผลผลิตของแรงงานหน่วยสุดท้าย การว่าจ้างแรงงานจึงน้อยลง หากปล่อยให้ค่าแรงงานที่เป็นตัวเงินลดลง หรือราคาสินค้าที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น ก็จะทำให้เกิดการว่าจ้างแรงงานเต็มที่ (Full employment) จากการปรับตัวนี้เองจะมีผลทำให้เส้นอุปทานรวมของสำนักคลาสสิกตั้งฉากกับแกนตั้ง (ตามรูป (ก))

  15. สำนักเคนส์เซียน (Keynesian Economics) • เริ่มจาก John Maynard Keynes ในปี ค.ศ.1930 (พ.ศ.2473) • การว่างงานเป็นการว่างงานแบบไม่สมัครใจ (Involuntary unemployment) ตลาดไม่มีการแข่งขันสมบูรณ์ อัตราค่าจ้างแรงงานคงที่ในระยะสั้น ไม่มีความเป็นกลางทางการเงิน (Money is not neutral) ตลาดเงินและตลาดผลผลิตไม่สามารถแยกออกจากกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงิน ก็จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณการว่าจ้างแรงาน และผลผลิตหรือรายได้

  16. ลักษณะของเส้นอุปทานรวมจะเป็นเส้นขนานกับแกนนอน (ตามรูป (ข)) เพราะในระยะสั้นค่าจ้างแรงงานและระดับราคาสินค้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ง่าย(Rigidity) • ที่ระดับเศรษฐกิจต่ำกว่าที่ระดับการว่าจ้างแรงงานเต็มที่ หากมีการเพิ่มขึ้นในอุปสงค์รวมก็จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว มีการว่าจ้างแรงงาน และผลผลิตจะเพิ่มสูงขึ้น • ในภาวะที่เศรษฐกิจซบเซา การเพิ่มปริมาณเงินเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานอาจไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะสถานการณ์ที่เรียกว่า “กับดักสภาพคล่อง” หรือ “Liquidity trap” กล่าวคือ การเพิ่มปริมาณเงินโดยการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว อัตราดอกเบี้ยจะไม่ลดลง ทั้งนี้เพราะปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นนั้นแทนที่จะถูกปล่อยเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ แต่กลับกลายเป็นว่าปริมาณเงินนั้นถูกถือไว้โดยประชาชนทั้งสิ้น

  17. สำนักนีโอคลาสสิก(Neo-Classical Economics)หรือนักการเงินนิยม (Monetarist Economics) • แนวคิดนี้ได้จากแบบจำลองของ Friedman และ Phelps • ยายามที่จะอธิบายว่าเหตุไรบางครั้งเกิดภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรืองและซบเซา หรือที่เรียกว่า “วัฏจักรในระบบเศรษฐกิจ” (business cycle) • ในเรื่องการคาดคะเนในเรื่องราคาสินค้า (price expectation) ในระยะสั้นเส้นอุปทานรวมมีลักษณะความชันเป็นบวก ลาดขึ้นจากซ้ายไปขวา แต่ในระยะยาวมีลักษณะตั้งฉากกับแกนตั้ง • การใช้นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากกว่านโยบายการคลัง

  18. สำนักนีโอเคนส์เซียน(Neo-Keynesian Economics) • ผู้นำสำนักนี้ ได้แก่ J. Tobin, A. Okun และ R. Gardon • ช่วงปี 1970 (พ.ศ.2513) เป็นต้นมา ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาปรากฏว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อและมีการว่างงานโดยไม่สมัครใจเป็นจำนวนมาก คนงานไม่มีโอกาสเลือกงาน อัตราการผละจากงานลดต่ำลงทั้งๆที่เกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา เนื่องมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าแรงที่แท้จริง ( ) และจำนวนคนงาน (N) เป็นไปในทางบวก ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้สามารถอธิบายได้โดยนำ “ทฤษฎีภายในตลาดแรงงาน” หรือที่รู้จักกันในนามของ Internal Labor Market (ILM) และการเพิ่มราคาสินค้าไว้ล่วงหน้า (markup pricing) ลักษณะของเส้นอุปทานรวมจะเป็นเส้นหักงอ (kink) ที่ระดับมีการว่าจ่างแรงงานเต็มที่ (ตามรูป (ค) )

  19. สำนักคลาสสิกใหม่ (New-Classical Economics) หรือการคาดคะเนอย่างมีเหตุผล (Rational Expectation) • ผู้นำแนวคิดนี้ ได้แก่ J. Muth และแนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาโดย R. Lucas , Sergent และ Wallace • ด้นำแนวความคิดเกี่ยวกับ “การคาดคะเนอย่างมีเหตุผล” (Rational Expectation) เข้ามาอธิบายลักษณะของเส้นอุปทานรวม โดยมีข้อสรุปว่า หากทุกๆหน่วยในระบบเศรษฐกิจปฏิบัติอย่างมีเหตุผลแล้ว การใช้นโยบายของรัฐบาลจะไม่เกิดผลต่อระดับการว่าจ้างแรงงานและผลผลิต นั่นคือ เส้นอุปทานรวมจะมีลักษณะตั้งฉากกับแกนนอนเสมอ

  20. สำนักเคนส์เซียนใหม่(New-Keynesian Economics) • ผู้นำของความคิดนี้ได้แก่ C. Azariadis • สืบเนื่องมาจากการใช้นโยบายของรัฐบาลในอันที่จะพยายามรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการเงินหรือการคลัง การใช้นโยบายดังกล่าวจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจหากมีการทำสัญญาว่าจ้างงานไว้ล่วงหน้า แนวความคิดเหล่านี้ปรากฏอยู่ใน “ทฤษฎีการทำสัญญาว่าจ้างแรงงาน” (Labor Contract Theory) ลักษณะของเส้นอุปทานรวมจะมีลักษณะเป็นเส้นลาดก่อนที่จะถึงระดับที่มีการว่าจ้างแรงงานเต็มที่

  21. สำนักอุปทานนิยม (Supply-Side Economics) • แนวความคิดนี้ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มก่อนพวกคลาสสิก และเรื่อยมาจนถึงพวกคลาสสิก คือตั้งแต่สมัย John Lock, David Hume, Adam Smith เรื่อยมาจนถึง David Ricardo, John Stuart Mill • โดยนำหลักการของ J.B. Say ที่เรียกว่า “กฎของเซย์” (Say’s Law) มาพัฒนา โดยเชื่อว่าการพัฒนาทางด้านอุปทานในที่สุดจะก่อให้เกิดอุปสงค์ในตัวของมันเอง ฉะนั้นบทบาทของรัฐบาลจึงควรออกมาในรูปที่เข้าแทรกแซงเศรษฐกิจน้อยที่สุด แต่ควรมีบทบาทในทางที่จะสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวทางด้านอุปทาน พวกนี้เชื่อในเรื่องการทำงานของกลไกราคา

  22. แนวความคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์อุปทานได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใช้อีกในปี ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) เมื่อสหรัฐอเมริกาประสบกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ตลอดจนอัตราการเจริญเติบโตทางด้านผลผลิตเกิดภาวะชะงักงัน การใช้นโยบายแบบเคนส์เซี่ยนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆเหล่านั้นไม่ประสบผล • ประธานาธิบดีเรแกนจึงเสนอรูปแบบเศรษฐกิจของตนที่เรียกว่า “เศรษฐศาสตร์แบบเรแกน” (Reaganomics) มาใช้แก้ปัญหา ซึ่งนโยบายนี้ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งข้อดีและข้อเสีย และมีงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดด้านอุปทานนิยมในช่วงปี 1980 เป็นต้นมาเป็นจำนวนมาก • สำหรับหัวใจของแนวคิดนี้ในเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับนโยบายคือการลดการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะทำให้ภาคการผลิตขยายการผลิต มีการจ้างงาน ระดับผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นในที่สุด

  23. 1.3 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

  24. สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจจุลภาคสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจจุลภาค • หมายถึง สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจส่วนย่อยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่หน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งได้แก่ บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่สนใจโดยตรง และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเขา ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เขาต้องการ • ตัวอย่างเช่น • การตัดสินใจเลือกเข้าสู่ตลาดแรงงาน • การตัดสินใจผลิตพืช/สัตว์/ประมงของเกษตรกร • การตัดสินใจขยายกิจการ/ชะลอการลงทุนของนักลงทุน • การตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวม/การซื้อพันธบัตร/การฝากเงินของผู้มีเงินออม

  25. สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาค • หมายถึง สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจส่วนรวมที่หน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งได้แก่ บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรธุรกิจ เผชิญอยู่ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่หน่วยเศรษฐกิจสนใจโดยตรง แต่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจของเอกชน หรือก่อให้เกิดผลกระทบที่ทำให้การตัดสินใจของเขาไม่ทำให้เกิดผลตามที่คาดหวัง ทำให้ต้อมีการปรับแผนการประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจให้รับกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่เปลี่ยนแปลงไป • ตัวอย่างเช่น • การขยายตัวของเศรษฐกิจ • ระดับราคา(อัตราเงินเฟ้อ) , อัตราแลกเปลี่ยน , ราคาน้ำมัน • การส่งออก , การนำเข้า

  26. 1.4 การผันแปรของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

  27. โครงสร้างเศรษฐกิจมหภาคโครงสร้างเศรษฐกิจมหภาค • ภาคการผลิตและการใช้จ่าย • ภาคการเงิน • ภาคการคลัง • ภาคต่างประเทศ • ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.bot.or.th/bothomepage/databank/EconData/EconData.htm

  28. การผันแปรของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคการผันแปรของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค • 1. วัฏจักรธุรกิจ (Business cycle) • หมายถึง การแปรผันของมูลค่าผลผลิต(Y)ในงวดเวลาหนึ่งที่แตกต่างจากเส้นแนวโน้ม(Trend)การเติบโตของมูลค่าผลผลิตในระยะยาว • หรือ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม แต่ละวัฏจักรจะประกอบด้วยการขยายตัว (expansion) การถดถอย (recession) การหดตัว (depression หรือ contraction) และการฟื้นตัว (recovery หรือ revivals) ระยะเวลาของวัฏจักรแต่ละอันจะไม่เท่ากัน บางวัฏจักรมีระยะเวลา 5 ปี บางวัฏจักรอาจยาวนานถึง 20 ปี ช่วงของวัฏจักรหนึ่งๆจะวัดจากจุดสูงสุดหนึ่งไปยังจุดสูงสุดอีกจุดหนึ่ง หรือจากจุดต่ำสุดจุดหนึ่งไปยังจุดต่ำสุดอีกจุดหนึ่ง

  29. วัฏจักรธุรกิจ (The Business Cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม แต่ละวัฏจักรจะประกอบด้วยการขยายตัว (expansion) การถดถอย (recession) การหดตัว (depression หรือ contraction) และการฟื้นตัว (recovery หรือ revivals) ระยะเวลาของวัฏจักรแต่ละอันจะไม่เท่ากัน บางวัฏจักรมีระยะเวลา 5 ปี บางวัฏจักรอาจยาวนานถึง 20 ปี ช่วงของวัฏจักรหนึ่งๆจะวัดจากจุดสูงสุดหนึ่งไปยังจุดสูงสุดอีกจุดหนึ่ง หรือจากจุดต่ำสุดจุดหนึ่งไปยังจุดต่ำสุดอีกจุดหนึ่ง

  30. แต่ละวัฏจักรจะประกอบด้วย1) การขยายตัว (expansion) 2) การหดตัว (depression หรือ contraction) 3) การถดถอย หรือ ซบเซา (recession) 4) การฟื้นตัว (recovery หรือ revivals)

  31. ผลผลิต : GDP C D B E A เวลา(เดือน) 10 2030 40 50 60 ระยะเวลาของวัฏจักร (2) Trend (1) (3) (4)

More Related