1 / 54

การประชุมชี้แจง แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556

การประชุมชี้แจง แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556. Thailand ICT Master Plan 2009-2013. วัตถุ ประสง ค์ ของการ จัด งาน. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สาระสำคัญของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 ต่อสาธารณะ

jazlynn
Download Presentation

การประชุมชี้แจง แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมชี้แจงแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 Thailand ICT Master Plan 2009-2013

  2. วัตถุประสงค์ของการจัดงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน • เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สาระสำคัญของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 ต่อสาธารณะ • เพื่อทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวทางที่ระบุในแผนแม่บทฯ ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • เพื่อทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีฯ เพื่อแปลงแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

  3. โครงสร้างการนำเสนอ • แนวคิดและกระบวนการในการจัดทำแผนแม่บทฯ • วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย • ยุทธศาสตร์และมาตรการ • ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และวัตถุประสงค์/เป้าหมาย • กลไกในการนำแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ • โครงการเร่งด่วน

  4. เส้นเวลาของนโยบายเทคโนโลยสารสนเทศและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารของประเทศไทยเส้นเวลาของนโยบายเทคโนโลยสารสนเทศและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารของประเทศไทย แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙ ปี พ.ศ. ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๔๙ ๕๐ ๕๑ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๘ ๕๙ ๖๐ ๖๑ ๖๒ ๖๓ กรอบนโยบาย IT2010 (๒๕๔๔-๒๕๕๓)‏ กรอบนโยบาย IT2020 (๒๕๕๔-๒๕๖๓)‏ แผนแม่บท ICT ของประเทศไทย (๑) พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ ขยายระยะเวลา ๒๕๕๑ แผนแม่บท ICT ของประเทศไทย (๒) พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๖ แผนแม่บท ICT ของประเทศไทย (๓) พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๑ การศึกษาเพื่อประเมินกรอบนโยบาย IT 2000 งานจัดทำแผนแม่บท(๒)‏ งานจัดทำนโยบายIT2020 ทำแผนปฏิบัติ

  5. มติคณะรัฐมนตรี 11 กันยายน 2550 • แผนแม่บท ICT • เห็นชอบให้ขยายเวลาแผนแม่บทฉบับที่ 1 จนถึงปี 2551 (โดยแผนแม่บทฉบับที่ 2 ซึ่งกระทรวง ICT เสนอมีระยะเวลา 5 ปี คือ พ.ศ.2552-2556) • ให้กระทรวง ICT ประสานให้บุคลากรของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ • กรอบนโยบายระยะยาว • การจัดทำกรอบนโยบายICT 2020 ควรเร่งดำเนินการโดยเร็ว และให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

  6. แนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทฯแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทฯ • ทำอย่างไรประเทศไทยจะแข่งขันได้ (ด้วย ICT) และทำอย่างไรประเทศไทยจะพึ่งพาตนเอง (ด้าน ICT) ได้มากขึ้น ? • เราจะเพิ่มการใช้ประโยชน์จาก ICTให้มากกว่าที่ผ่านมาได้อย่างไร !!! • เราจะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนา ICT กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างไร!!! เน้นการใช้ stakeholders consultation

  7. E-readiness rankings(EIU &IBM Institute for Business Value) ลำดับที่

  8. Networked Readiness Index (WEF) ลำดับที่

  9. World Competitiveness Yearbook: Technological Infrastructure (IMD) ลำดับที่

  10. หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับประเทศหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับประเทศ • โครงสร้างพื้นฐานด้านการเชื่อมโยงและ เทคโนโลยี (20%) • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (15%) • สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม (15%) • สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย (10%) • นโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐบาลต่อ ICT (15%) • การปรับใช้ ICT ของผู้บริโภคและธุรกิจ (25%) E-Readiness Rankings • โครงสร้างพื้นฐาน (20%) • ราคาที่ย่อมเยา (20%) • ความรู้ (20%) • คุณภาพ (20%) • การใช้ ICT ที่แท้จริง (20%) DAI Networked Readiness Index • สภาพแวดล้อม (1/3): ตลาด กฎระเบียบและ การเมือง โครงสร้างพื้นฐาน • ความพร้อม (1/3): ส่วนบุคคล ภาคธุรกิจ และภาครัฐ • การใช้ (1/3): : ส่วนบุคคล ภาคธุรกิจ และภาครัฐ World Competitiveness Yearbook • โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี (5%)

  11. ทำไมการจัดอันดับความสามารถด้าน ICT จึงสำคัญ ? มิติภายนอก:เพื่อส่งเสริมธุรกิจและการลงทุนจากต่างชาติ มิติภายนอก มิติภายใน มิติภายใน: • เพื่อประเมินความสามารถ ในการแข่งขันด้าน ICT ของไทยเมื่อเทียบกับ ต่างประเทศ • เพื่อพัฒนาภาค ICT ของไทย

  12. ตัวชี้วัดสำคัญที่ประเทศไทยได้คะแนนน้อยตัวชี้วัดสำคัญที่ประเทศไทยได้คะแนนน้อย สมาชิก บรอดแบนด์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์พื้นฐาน คอมพิวเตอร์ E-Readiness (EIU) DAI (ITU) NRI (WEF) Tech. Infra. WCY (IMD)

  13. ปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งอันดับการพัฒนา ICT ของประเทศไทยในทุกๆ ดัชนีคือ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ซึ่งยังมีไม่เพียงพอและยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง ทำให้การพัฒนาและการใช้ประโยชน์ของ ICT เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ การพัฒนาธุรกิจ การให้บริการของภาครัฐ ไม่สามารถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  14. นอกจากนี้ ควรให้ความสนใจกับการแก้ไขจุดอ่อนที่สำคัญโดยเร่งด่วนในช่วงของแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 ได้แก่ เรื่องคน ที่ต้องพัฒนาทั้งในปริมาณและคุณภาพ และเรื่องการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ (National ICT governance) ที่ต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มิฉะนั้นแล้ว จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในเรื่องอื่นๆ ต่อไป เนื่องจากทั้งสองประเด็นถือเป็นปัจจัย พื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนา

  15. ขั้นตอนในการผลักดันแผนแม่บทฯขั้นตอนในการผลักดันแผนแม่บทฯ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เริ่มดำเนินงาน นำเสนอต่อคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NITC) ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ รับฟังความคิดเห็นสาธารณะรวม ๖ ครั้ง ๔-๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ ปรับปรุงแก้ไขตามข้อสังเกตของ NITC และการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ๓๐ กรกฎาคม-๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๑ เสนอ NITC พิจารณาให้ความเห็นชอบ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ การดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ

  16. มติคณะรัฐมนตรี 5 สิงหาคม 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ทั้ง 4 ข้อ ดังนี้ 1.เห็นชอบร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 2. ให้ทุกกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำและ/หรือปรับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) 3. มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (กทสช.) รับผิดชอบการดำเนินการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และเป็นหน่วยงานประสานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณ รองรับแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) รวมถึงการติดตามประเมินผลเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป 4. ให้หน่วยงานกลางที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรและการบริหารจัดการภาครัฐ(สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ) นำแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) มาใช้เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการ ปรับปรุงโครงสร้าง และจัดสรรทรัพยากรทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาของแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552-2556 ต่อไป

  17. ลำดับของการนำเสนอแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย บทที่ 2 Role ofICTin NationalDevelopmentContext บทที่ 1Intro-duction บทที่ 6Managementand Evaluation บทที่ 3 Status of ICTDevelopment บทที่ 5 Implementa-tion time- frame บทที่ 4 DevelopmentStrategies การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนแม่บท ICT การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล บทนำ สถานภาพการพัฒนา ICT ของประเทศไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนา ICT ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยและบทบาทของ ICT

  18. สรุปหลักการและประเด็นสำคัญของแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (1) • มีเป้าหมายในเชิงการพัฒนาสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • สานความต่อเนื่องทางนโยบายจาก IT2010 และแผนแม่บทฯ(ฉบับที่ 1) ที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย • เน้นแก้ไขจุดอ่อนที่สำคัญ 2 ประการเป็นลำดับแรก ได้แก่ การพัฒนาคน และการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการเร่งพัฒนาโครงข่ายความเร็วสูงให้มีการกระจายอย่างทั่วถึงและราคาเป็นธรรมเนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาในสังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และนวัตกรรม ที่อาศัย ICT เป็นพลังขับเคลื่อนหลัก และเป็นสิ่งที่ประเทศไทยยังมีระดับการพัฒนาที่ด้อยกว่าหลายๆ ประเทศ

  19. สรุปหลักการและประเด็นสำคัญของแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (2) • สอดคล้องกับทิศทาง/เป้าหมายของการพัฒนา ICT ระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสร้างโอกาสในการเข้าถึง ICT ของประชาชนภายใน พ.ศ 2558 (ค.ศ. 2015) จากการประชุม World Summit on the Information Society และเป้าหมายในการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม (Universal access to broadband) ภายในปี 2015 ตามปฏิญญากรุงเทพ • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มุ่งเน้นให้เกิดธรรมาภิบาล ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ ที่ต้องบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาลและการใช้ ICT ในภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ

  20. สรุปหลักการและประเด็นสำคัญของแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (3) โดยประเด็นเรื่องการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ (ยุทธศาสตร์ที่ 2) เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนของการพัฒนา ICT ของประเทศที่พบจากการวิเคราะห์ SWOT ที่ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนและต้องปรับปรุงในเรื่องการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ เพื่อให้มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีกลไกการทำงาน (รวมถึงการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ) ที่เอื้อให้เกิดการบูรณาการ และลดการซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงาน ส่วนประเด็นเรื่องการใช้ ICT สนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในภาครัฐ (ยุทธศาสตร์ที่ 4) เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาครัฐเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ และควรมีบทบาทเป็นผู้นำในการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารและการบริการที่ให้แก่ประชาชน ซึ่งก็ต้องมุ่งเป้าให้เกิดธรรมาภิบาลด้วย

  21. สรุปหลักการและประเด็นสำคัญของแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (4) • ใช้แนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดย - เร่งพัฒนาคนให้มีความสามารถที่จะสร้างของเพื่อใช้เองได้ และพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว - คำนึงถึงความพร้อมด้านทรัพยากร และการใช้อย่างคุ้มค่า • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการใช้ ICTเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความได้เปรียบในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะในภาคการเกษตร การท่องเที่ยว และการบริการด้านสุขภาพ โดยใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมไทย และเอกลักษณ์ของไทย

  22. วิสัยทัศน์ของแผนแม่บท ICT ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) ด้วย ICT “สังคมอุดมปัญญา” ในที่นี้หมายถึง สังคมที่มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างชาญฉลาดโดยใช้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประชาชนทุกระดับมีความเฉลียวฉลาด (Smart)และรอบรู้สารสนเทศ (Information Literacy)สามารถเข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมมีวิจารณญาณและรู้เท่าทันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล(Smart Governance)เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง

  23. วิสัยทัศน์-พันธกิจ-วัตถุประสงค์วิสัยทัศน์-พันธกิจ-วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มปริมาณและศักยภาพของกำลังคน 2. สร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ICT 3. สนับสนุนการปรับโครงสร้าง การผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า 4. สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล 5. สร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรม ICT พันธกิจ 1. พัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ 2. พัฒนาโครงข่าย ICT ความเร็วสูง 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการ ICT ที่มีธรรมาภิบาล วิสัยทัศน์ “SMART” Thailand

  24. เป้าหมาย • ประชาชนอย่างน้อย 50% มีความรอบรู้ สามารถเข้าถึงและใช้ ICT ได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน • ยกระดับความพร้อมด้าน ICTใน Networked Readiness Indexให้อยู่ในกลุ่ม Top quartile (25%) • มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICTต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 15%

  25. ยุทธศาสตร์การพัฒนา SMART Thailand ใช้ ICT เพื่อสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารและบริการของรัฐ ใช้ ICT เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันอย่างยั่งยืน (Strategic Sectors, SMEs) 4 6 Hardware Software Communication พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT พัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ICT 3 5 บริหารจัดการ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล(Institutional arrangement, Rules and Regulation, Financing, …) 2 พัฒนากำลังคน (ICT Professionals and “Information-Literate” People) 1

  26. ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (1) พัฒนากำลังคน การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Information Literacy) เน้นการสร้างบุคลากรทักษะสูง (highly skilled professionals)สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เน้นความสามารถในการใช้อย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ 26

  27. กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนากลุ่มเป้าหมายของการพัฒนา • สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรม • สนับสนุน R&D เทคโนโลยีขั้นสูง การศึกษาขั้นพื้นฐาน แรงงาน อาจารย์มหาวิทยาลัย พัฒนากำลังคน ผู้ด้อยโอกาส • จัดทำหลักสูตร/ อบรม ICT แก่ผู้สูงอายุ • ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องมือ และถ่ายทอดสู่ภาคการผลิต/ผู้ใช้ การศึกษานอกระบบ บุคลากรภาครัฐ • กำหนดมาตรฐานความรู้ด้าน ICT สำหรับบุคลากรทุกระดับ • จัดตั้งสถาบันพัฒนาความรู้ด้าน ICT แก่ข้าราชการ • พัฒนาความเข้มแข็งของ CIO ภาครัฐ (รวม อปท.)

  28. ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนากำลังคน

  29. ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนากำลังคน พัฒนากำลังคน การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Information Literacy) โดยสรุป.... ในช่วง 5 ปีของแผนฯ จะมุ่งเน้น • การเตรียมการด้านการศึกษาเพื่อสร้างรากฐาน/เตรียมคนไว้สำหรับการพัฒนาในอีก 5-10 ปีข้างหน้า • สร้างทักษะของคนให้เก่งขึ้น โดยเน้น learning process and skill building เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

  30. ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (2) บริหารจัดการICT การบริหารจัดการระบบ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล • เป้าหมายสำคัญ – “Leadership and Governance” • มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรขับเคลื่อนวาระ แห่งชาติด้าน ICT สามารถประสานให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ • มีสภา ICT เพื่อเป็นตัวแทนของภาคเอกชนในการประสาน นโยบายและทำงานร่วมกับภาครัฐ • มีกฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการใช้ ICT • มีกระบวนการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นการ บูรณาการ ลดความซ้ำซ้อน

  31. ยุทธศาสตร์ที่ 2: บริหารจัดการ ICT อย่างมีธรรมาภิบาล

  32. ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (3) โครงสร้างพื้นฐานICT การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กระจายทั่วถึงไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ เป้าหมายสำคัญ –“Broadband Infrastructure” • ทุกครัวเรือนและสถานประกอบการในจังหวัดศูนย์กลางความเจริญ สามารถเข้าถึงบริการ เครือข่ายความเร็วสูง • สถาบันการศึกษาระดับมัธยมขึ้นไป เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ความเร็วอย่างน้อย 10 Mbps • ห้องสมุดประชาชน/ศูนย์การเรียนชุมชน/ศูนย์สารสนเทศชุมชน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ ความเร็วอย่างน้อย 4 Mbps • สถานพยาบาลและสถานีอนามัยในชนบทห่างไกลทั่วประเทศเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ที่ ความเร็วอย่างน้อย 4 Mbps และมีระบบการแพทย์ทางไกลที่มีประสิทธิภาพและใช้ได้จริง • มีระบบการแจ้งเตือน และการจัดการภัยพิบัติที่ทันสมัย ดำเนินการได้สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล • มีการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมและโครงข่าย ICT ที่ทันสมัย พร้อมบุคลากรใน กิจการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะ • มี National Information Security Plan ภายในปี 2553

  33. ยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT

  34. ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (4) e-Governance การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ เป้าหมายสำคัญ– “Enhance e-Services Delivery” • มีบริการพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น single window ใช้บริการได้ ผ่านสื่อหลายประเภท ออกแบบและพัฒนาโดยใช้ประชาชนเป็น ศูนย์กลาง • ทุกหน่วยงานมีช่องทางสำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะผ่านบริการออนไลน์ • ยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของ e-government services (ดูจาก e-government performance rankings) • มีการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างน้อย 30% ในโครงการ ICT ของภาครัฐ

  35. ยุทธศาสตร์ที่ 4: การใช้ ICT ในการบริหารจัดการภาครัฐ

  36. ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (5) อุตสาหกรรมICT ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ เป้าหมายสำคัญ – Strengthen ICT Industry • สัดส่วนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่า ตลาดในประเทศโดยรวมมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ของไทยเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2551 อย่างน้อย 30% • มูลค่าของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภายในประเทศเติบโตเป็นไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาทภายในปี 2556 • มูลค่าตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ในประเทศเติบโตไม่น้อยกว่า 165,000ล้านบาทภายในปี พ.ศ. 2556 โดยมีสัดส่วนที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่า 50%

  37. ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (5) อุตสาหกรรมICT ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ เป้าหมายสำคัญ • เพิ่มการลงทุนในการวิจัยด้าน ICT ของภาครัฐและเอกชนอย่างน้อย15% จากปี พ.ศ. 2551 • มีเมืองที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ICT ในระดับโลกในประเทศไทย • ผู้ประกอบการ ICT ไทยได้ทำโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20% จากปีพ.ศ. 2551 • บริษัทที่ให้บริการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%

  38. ยุทธศาสตร์ที่ 5: ยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ICT

  39. ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (6) ความสามารถในการแข่งขัน การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เป้าหมายสำคัญ –Strengthen our “Niche” • ลดค่าใช้จ่ายด้าน logistics ตามที่ระบุในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบLogistics ของประเทศไทย • สัดส่วนสถานประกอบการ (เน้น SMEs) ที่เข้าถึงและใช้ ICT มากขึ้น • เพิ่มสถานประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และ และเพิ่มมูลค่าของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ • เพิ่มการจ้างแรงงานด้าน ICT เป็น 200,000 คน • ยกระดับ e-Readiness Rankings เพิ่มขึ้น 10 อันดับ เน้นภาคเกษตร ท่องเที่ยว และบริการสุขภาพ

  40. ยุทธศาสตร์ที่ 6: การใช้ ICT เพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน

  41. เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ของแผนและยุทธศาสตร์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ของแผนและยุทธศาสตร์

  42. เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายของแผนและยุทธศาสตร์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายของแผนและยุทธศาสตร์

  43. กลไกการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติกลไกการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จัดทำ/ปรับแผนแม่บทฯ กระทรวงและแผนปฏิบัติการ ติดตามประเมินผล กระทรวง ICT (ดำเนินการและประสาน) กระทรวง ทบวง กรม กระทรวง ทบวง กรม การนำนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติ ดำเนินโครงการ/กิจกรรม จัดสรรทรัพยากร กระทรวง ทบวง กรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. กระทรวง ทบวง กรม

  44. โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 1 โครงการนำร่องการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา และ Finishing School เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้และทักษะด้าน ICT ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม โครงการส่งเสริมการผลิตบุคลากรระดับปริญญาโทสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และวิทยาการซอฟต์แวร์ โครงการจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางด้าน ICT เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง โครงการเร่งรัดการผลิตบุคลากรด้านความมั่นคงของระบบสารสนเทศ (Information security) ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โครงการเร่งรัดการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้าน ICT ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล โครงการสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทยเข้าร่วมโครงการระดับโลก (International Forum) โครงการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ ICT เพื่อใช้เป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับการศึกษาระดับต่างๆ โครงการจัดทำมาตรฐานความรู้ด้าน ICT สำหรับข้าราชการและบุคลากรของรัฐ โครงการศึกษาแนวทางและกลไกในการประเมินและทดสอบความรู้ด้าน ICT ของข้าราชการและบุคลากรของรัฐ พัฒนากำลังคน

  45. โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 1 โครงการจัดตั้งสถาบัน e-Government เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT ให้แก่บุคลากรภาครัฐ โครงการศึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินมาตรการที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐมีผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะ โครงการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ในการใช้งาน ICT ของชุมชนผ่านศูนย์สารสนเทศชุมชน โครงการปรับปรุงการจัดทำเว็บไซต์ภาครัฐ ให้ได้ตามมาตรฐาน Web accessibility โครงการศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ closed caption ในการให้บริการสื่อโทรทัศน์สำหรับประเทศไทย โครงการส่งเสริมนวัตกรรมการวิจัยด้าน ICT สำหรับผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ โครงการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ICT ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) พัฒนากำลังคน

  46. โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 2 โครงการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลักดันวาระด้าน ICT ของประเทศและประสานงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ โครงการจัดตั้งสภา ICT โครงการสร้างความตระหนักและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ICT และกลไกการบังคับใช้แก่ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป โครงการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย ICT โครงการศึกษาเพื่อประเมินผลในการบังคับใช้กฎหมายที่ออกมาแล้วทั้งหมด โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสภา CIO ภาครัฐ บริหารจัดการ ICT ระดับชาติ

  47. โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 3 โครงการแปรสัญญาร่วมการงานของธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อส่งเสริมการแข่งขันเสรี โครงการยกร่างกฏหมายเกี่ยวกับธุรกิจบริการสื่อสารดาวเทียม และเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ โครงการนำร่องพัฒนาจังหวัดบรอดแบนด์ โครงการนำร่องเพื่อทดสอบการใช้งาน Next Generation Network โครงการพัฒนาระบบการเตือนภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล โครงการศึกษาแนวทางการเปลี่ยนผ่านระบบการแพร่ภาพกระจายเสียงจากระบบอนาลอกไปสู่ระบบดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน ICT

  48. โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 3 โครงการจัดทำฐานข้อมูลความต้องการใช้บริการ ICT และฐานข้อมูลพื้นที่ให้บริการของโครงข่ายที่มีในปัจจุบัน โครงการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการสร้างความรู้และความตื่นตัวต่อภัยอันอาจเกิดขึ้นกับโครงข่ายสารสนเทศและแนวทางในการป้องกันภัยที่เหมาะสม โครงสร้างพื้นฐาน ICT

  49. โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 4 โครงการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อให้โครงข่ายภาครัฐสามารถรองรับการใช้งานและให้บริการอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลรุ่น 6 โครงการจัดทำมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับงานด้าน ICT ของภาครัฐ โครงการจัดตั้งกรมสำรวจและจัดทำแผนที่พลเรือน โครงการจัดทำแผนแม่บทด้านโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ (National Spatial Data Infrastructure: NSDI) โครงการศึกษาเพื่อประเมินผลการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ E-Govern-ance

  50. โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 5 โครงการศึกษาแนวทางและรูปแบบการจัดตั้งกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม ICT โครงการศึกษาแนวทางและรูปแบบของหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์/เทคโนโลยี ด้าน ICT โครงการศึกษาแนวทางและมาตรการเพื่อกระตุ้นการขยายตลาด ICT ของประเทศไทย โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมดำเนินงานในโครงการ ICT ของภาครัฐ โครงการจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และตลาด ICT ของประเทศไทย และตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพเป็นคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ โครงการศึกษาแนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ดิจิทัลคอนเทนต์ของประเทศไทย โครงการส่งเสริมการใช้และพัฒนาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ ICT IndustryCompeti-tiveness

More Related