1 / 49

บทที่ 6 ยาต้านจุลชีพ Antibacterial Drugs

บทที่ 6 ยาต้านจุลชีพ Antibacterial Drugs. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบ 1. คุณสมบัติที่ดีของยาต้านจุลชีพ 2. กลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ 3. หลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ชนิดของยาต้านจุลชีพ เช่น กลุ่ม Penicillins กลุ่ม Aminoglycosides เป็นต้น.

Download Presentation

บทที่ 6 ยาต้านจุลชีพ Antibacterial Drugs

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 ยาต้านจุลชีพ Antibacterial Drugs

  2. วัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบ • 1. คุณสมบัติที่ดีของยาต้านจุลชีพ • 2. กลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ • 3. หลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีประสิทธิภาพ • 4. ชนิดของยาต้านจุลชีพ เช่น กลุ่ม Penicillins กลุ่ม Aminoglycosides เป็นต้น

  3. ตามหลักแล้ว ยาต้านจุลชีพ (antimicrobial agent) เป็นกลุ่มยาที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หรือทำลายจุลินทรีย์ สามารถนำมาใช้ใน 2 ลักษณะ คือ • 1. เพื่อควบคุมจุลินทรีย์ภายนอกร่างกาย • Antiseptic • Disinfectant • 2. เพื่อรักษาโรคติดเชื้อภายในร่างกาย • Antibacterial drugs/ antibiotics

  4. ยาต้านจุลชีพที่ใช้ภายนอกร่างกายยาต้านจุลชีพที่ใช้ภายนอกร่างกาย ยากลุ่มนี้จะมีกลไกการออกฤทธิ์ไม่เลือกสรร เช่น สามารถตกตะกอนโปรตีน ละลายไขมันฯลฯ ทำให้มีผลต่อเชื้อโรคประเภทต่างๆ รวมทั้งอาจมีผลต่อเซลของโฮสต์ด้วย จึงมีการนำมาใช้ใน 2 ลักษณะ คือ • 1. เพื่อทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นพวกวัสดุ สิ่งของ เรียกว่า Disinfectantและ • 2. พวกที่ใช้กับผิวกายหรือส่วนนอกร่างกายเรียกว่า Antisepticทั้งสองชนิดนี้มักเรียกรวมกันว่ายาฆ่าเชื้อ

  5. ยาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อภายในร่างกาย ยาในกลุ่มนี้จะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่เลือกสรรต่อเชื้อจุลชีพมากกว่าที่จะมีผลต่อโฮสต์ ยาในกลุ่มนี้จึงมีชื่อเรียกว่า antimicrobial chemotherapeutic agent ซึ่งเป็นที่เรียกกันสั้นๆ ว่ายาต้านจุลชีพ

  6. Antibacterial Drugs • ยาต้านจุลชีพอาจได้จากเชื้อจุลชีพหรือได้จากการสังเคราะห์ ซึ่งเป้าหมายแรกเริ่มของการผลิตมาเพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นหลัก มียาบางตัวที่อาจให้ผลต่อการรักษาเชื้อโปรโตซัว หรือในรายที่เกิดโรคจากเชื้อไวรัส ยาจะช่วยป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนที่จะตามมาจากเชื้อแบคทีเรียได้ ดังนั้นความสำเร็จในการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรค ก็ขึ้นอยู่กับการที่จะสามารถวินิจฉัยโรคให้ได้ใกล้เคียงตรงกับเป้าหมายที่สุด

  7. ยาปฏิชีวนะ (antibiotics)หมายถึง สารประกอบที่สร้างขึ้นโดยจุลชีพชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์สามารถยับยั้งหรือขัดขวางการเจริญเติบโต ของจุลชีพอีกกลุ่มหนึ่ง หรือมีฤทธิ์ทำลาย จุลชีพกลุ่มนั้น ๆ แหล่งที่มา ได้จากจุลชีพในกลุ่มต่อไปนี้ • 1. Actinomycetalesgroup เช่น เชื้อรา Streptomycesspp. เช่น ยา Chloramphenicol, Erythromycin, Kanamycin, Neomycin, Streptomycin, Tetracyclineเป็นต้น • 2. Aspergillalesgroup.เช่น ผลิตจากเชื้อรา Penicilliumspp. ได้ยา Penicillin เป็นต้น • 3.Bacillaceaegroup เช่น ผลิตจากแบคทีเรียชนิด Bacillusspp. ได้ยา Polymyxin, Colistin เป็นต้น

  8. Sulfonamides คือกลุ่มสารประกอบของตัวยา Sulfa ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี • ตัวอย่าง เช่น Sulfamonomethoxine, Sulfaguanidine เป็นต้น • ปัจจุบันการผลิตยาในทางอุตสาหกรรมก็ได้จากการสังเคราะห์ หรือ กึ่งสังเคราะห์ทั้งสิ้น

  9. ประเภทของยาต้านจุลชีพแบ่งตามขอบเขตการออกฤทธิ์เป็นประเภทของยาต้านจุลชีพแบ่งตามขอบเขตการออกฤทธิ์เป็น • 1. ออกฤทธิ์กับเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกคือ เชื้อแบคทีเรียที่ย้อมติดสีม่วงเนื่องจากผนังเซลมีส่วนประกอบของ peptidoglycan เช่น Penicillins • 2. ออกฤทธิ์กับ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ คือ เชื้อแบคทีเรียย้อมติดสีแดงเนื่องจากผนังเซลมีส่วนประกอบของ lipopolysaccharide เช่น Aminoglycosides • ออกฤทธิ์แบบข้อ 1 หรือ ข้อ 2 จัดเป็น พวกออกฤทธิ์แคบ • ออกฤทธิ์ทั้งใน ข้อ 1 และข้อ 2 เช่น Ampicillin จัดเป็น พวกออกฤทธิ์กว้าง

  10. ประเภทการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ แบ่งเป็น • Bactericidal : ยาออกฤทธิ์ต่อ ผนังเซล, เซลเมมเบรน, DNA หรือยาที่ความเข้มข้นสูงทำให้มีฤทธิ์ฆ่าจุลชีพ (99.9% ของเซลแบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงถูกฆ่าในเวลาที่กำหนด) • Bacteriostatic : ยาออกฤทธิ์ต่อขบวนการสร้างโปรตีนหรือยาที่ความเข้มข้นต่ำ ทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโต (reversible change) และจะต้องอาศัยกลไกในการต้านทานโรคของร่างกายมาช่วยในการกำจัดเชื้อร่วมด้วย

  11. Bactericide vs. Bacteriostatic ทราบได้จากการเพาะเชื้อ 105 colony-forming units (CFU) แล้วบ่มเพาะที่ 37 C จากนั้นจึงศึกษาการให้ยาต้านจุลชีพชนิดที่ออกฤทธิ์ ฆ่า/ทำลาย หรือ ยับยั้ง เปรียบเทียบกลุ่มควบคุม

  12. Mode of Action of Antibacterial Drugs 1. ทำให้โครงสร้างผนังเซลของแบคทีเรียผิดปกติ ออกฤทธิ์ bactericidal เช่น Penicillins & Cephalosporins 2.ขัดขวางการสังเคราะห์โปรตีน 2.1 ออกฤทธิ์bactericidal เช่น Aminoglycosides 2.2 ออกฤทธิ์bacteriostatic เช่น Lincomycin, Spectinomycin Chloramphenicol Tetracycline Erythromycin

  13. Mode of Action of Antibacterial Drugs (ต่อ) 3.ทำให้การทำงานของเซลเมมเบรนผิดปกติหรือขัดขวางขบวนการสร้างเซลเมมเบรน ออกฤทธิ์ bactericidal เช่น Polymyxin, Colistin 4.ขัดขวางขบวนการสร้างกรดนิวคลีอิคของแบคทีเรียอออกฤทธิ์ bactericidal เช่น Quinolones 5.รบกวนการสร้างเมตาบอไลท์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของแบคทีเรีย ออกฤทธิ์ bacteriostatic เช่น Sulfonamides และ Trimethoprim

  14. สรุปชนิดของกลุ่มยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์แบบ bactericidal และ bacteriostatic

  15. รูปที่ แสดงตำแหน่งที่ยาต้านจุลชีพชนิดต่างๆ ออกฤทธิ์ต่อเซลแบคทีเรีย

  16. คุณสมบัติของ Antibacterial Drugs ที่ดี 1. ออกฤทธิ์ได้ดี และมีความจำเพาะต่อชนิดของเชื้อ 2. ออกฤทธิ์แบบ bactericidal ดีกว่า bacteriostatic 3.ออกฤทธิ์อย่างอิสระไม่เกี่ยวข้องกับระบบความต้านทานโรค ในร่างกาย 4. ไม่ค่อยก่อให้เกิดปัญหาการดื้อยา 5. ปลอดภัยต่อการให้ยารักษาแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง 6. มีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด

  17. หลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพหลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพให้มีประสิทธิภาพมีปัจจัยเกี่ยวข้อง 3 ประการ คือ • 1. ชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค • 2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ • 3. สภาวะร่างกาย

  18. รูปที่ แสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ

  19. ชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค การวินิจฉัยโรคเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเป็นอันดับแรกสุด ซึ่งจะประมวลได้จากการซักประวัติ การสังเกตอาการ การผ่าซากดูวิการ รวมทั้งการเพาะหาเชื้อชนิดต่างๆและการตรวจทางภูมิคุ้มวิทยา ในกรณีที่ไม่สามารถจะตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ก็ควรจะคาดเดาได้ว่าเกิดจากเชื้อในกลุ่มแบคทีเรียที่ย้อมติดสีแกรมบวกหรือแกรมลบ

  20. วิธีการย้อมสีแกรม โครงสร้างแสดงความแตกต่างของเชื้อแกรมบวกและแกรมลบ เชื้อแกรมบวกย้อมติดสีน้ำเงินม่วง เชื้อแกรมลบย้อมติดสีค่อนข้างแดง

  21. ชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค (ต่อ) • โดยทั่วไปการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้สัตว์มีไข้ ถ้าอาการไข้ค่อยๆสูงขึ้นจนถึงสูงสุด มักเกิดจากเชื้อพวกแกรมบวก แต่ถ้าอาการไข้สูงถึงจุดสูงสุดทันทีทันใด มักเกิดจากเชื้อแกรมลบ แม้ว่าปัจจุบันยาที่ผลิตสู่ท้องตลาดจะสามารถออกฤทธิ์ได้กว้าง แต่การใช้ยารักษาเชื้อชนิดแกรมลบนั้น มักจะต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าปกติ • ส่วนถ้าอาการไข้สูงเกินกว่า 106 องศาฟาเรนไฮต์ มักจะไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยกเว้นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  22. ตาราง แสดงตำแหน่งที่ติดเชื้อและเชื้อที่มักพบเป็นสาเหตุ

  23. 2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ • จะต้องทราบเกี่ยวกับเภสัชจลนศาตร์ของยา เลือกใช้ยาที่สามารถออกฤทธิ์ไปยังอวัยวะเป้าหมายได้ตรงจุด มีการเลือกให้ยาในรูปแบบที่เหมาะสม ยาที่ใช้รักษาจะต้องมีขนาดสูงพอที่จะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อ คือต้องสูงกว่าระดับยาต่ำสุดที่ใช้ยับยั้งเชื้อ โดยมีระยะห่างของการให้ยาแต่ละครั้งอย่างถูกต้องเพื่อให้รักษาระดับยาที่จะออกฤทธิ์ได้อย่างต่อเนื่อง • ควรพยายามเลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์แคบไว้ก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลาย normal floraอื่นๆ และกรณีที่ให้ยาที่น่าจะรักษาได้แต่ไม่ได้ผล ควรทำการหาเพาะเชื้อและหาความไวของยาต่อเชื้อด้วย (sensitivity test)

  24. รูปที่ แสดงการเพาะแยกเชื้อแบคทีเรียและการทดสอบความไวของเชื้อ

  25. 2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ (ต่อ) • ตัวอย่างเช่น ยาที่ควรใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในสมอง คือยาที่สามารถผ่าน blood brain barrierได้ดี เช่น Chloramphenicol เป็นต้น • ยาที่ควรใช้ในการรักษาการติดเชื้อในท่อน้ำดี คือยาที่ขับผ่านในท่อน้ำดีในปริมาณสูง เช่น Ampicillin,Tetracycline เป็นต้น หรือ • ยาที่ควรใช้ในการรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คือยาที่ขับผ่านทางเดินปัสสาวะในปริมาณสูงและควรให้โดยการฉีด เช่น Penicillin ยาในกลุ่มAminoglycosides

  26. 2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ (ต่อ) • ยาที่รักษาโรคในทางเดินอาหาร หากให้เป็นยากินก็ได้ผลดีพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฉีดซึ่งมีราคาแพงกว่า เป็นต้นและ • หากมีอาการอาเจียน วิธีการให้ยาก็ควรเป็นการฉีด เป็นต้น

  27. 2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ (ต่อ) • ขนาดของยาที่ให้ ตามหลักแล้วครั้งแรกที่ให้ยาควรให้ในขนาดที่สูงก่อน ซึ่งเป็นขนาดที่จะทำให้ระดับของยาในเลือดสูงพอที่จะให้ผลในการรักษาทันที แล้วตามด้วยขนาดยาที่ลดลงเพื่อให้รักษาระดับยาในเลือดอยู่ในระดับ minimum effective concentrationตลอดเวลาที่ให้ยา โดยทั่วไปขนาดยาที่ให้ครั้งแรกจะเป็น 2 เท่าของขนาดปกติที่ให้ในครั้งต่อมา • ส่วนระยะห่างของการให้ยาขึ้นอยู่กับค่ากึ่งชีวิตของยาแต่ละตัว (มาลินี, 2540)

  28. นอกจากนี้ในการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงและผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันปกติ จะใช้ยาต้านจุลชีพประมาณ 5-7 วันติดต่อกันจึงจะหยุดยาได้ แต่ในกรณีที่เป็นโรคอย่างเรื้อรัง เชื้อมีการเจริญช้า หรือเป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเป็นโรคที่กลับเป็นซ้ำบ่อยๆ จำเป็นจะต้องให้ยานานกว่าปกติ เช่นวัณโรค (ในคน) • หากให้ยาที่ออกฤทธิ์แบบbactericidalจะใช้ยาในระยะเวลาสั้นกว่ายาที่มีฤทธิ์เป็น bacteriostatic

  29. 3. สภาวะร่างกาย • สัตว์ที่อายุน้อยควรลดขนาดยา สัตว์ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรงจะตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพได้ดี สามารถกำจัดเชื้อได้เมื่อใช้ยาชนิดbacteriostatic ในขณะที่สัตว์ป่วยจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องควรจะเลือกใช้ยาชนิด bactericidal มากกว่า นอกจากนี้ในบริเวณที่มีการติดเชื้อและมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย ก็จะมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา เช่น การเป็นฝีหนอง pH การใส่สิ่งแปลกปลอม เช่น อวัยวะเทียม การใช้เหล็กดามกระดูก การเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับหรือไตหรือนิ่ว จะส่งผลต่อการออกฤทธิ์และการเป็นพิษของยาด้วย

  30. หลักการใช้ยาต้านจุลชีพร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด ใช้ในบางกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ดังต่อไปนี้ • 1. กรณีโรคติดเชื้อ ที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด และยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียว ไม่มีผลต่อเชื้อทุกตัว • 2. ใช้กรณีรักษาโรคติดเชื้ออย่างรุนแรง ซึ่งไม่ทราบหรือไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดจากเชื้ออะไร • 3. กรณีที่ทราบแล้วว่า ยาที่ให้ร่วมกันนั้นสามารถออกฤทธิ์แบบsynergism หรือ additive • 4.โรคที่ใช้ยารักษาในขนาดที่สูงและยานั้นมีความเป็นพิษสูง การใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นจะช่วยลดความเป็นพิษและลดอัตราการดื้อยาด้วย เช่นในกรณีโรคเมลิออยโดซิส

  31. การให้ยามากกว่า 1 ชนิดร่วมกันอาจเกิดผลได้ 4 แบบ คือ 1 Synergism คือ เมื่อใช้ยาสองชนิดร่วมกันยาจะมีกลไกเสริมฤทธิ์กันอย่างทวีคูณ เช่น • 1.1 ยับยั้งปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกันอย่างต่อเนื่อง เช่น Sulfa-Trimethoprim • 1.2 ยับยั้งเอนซัยม์ที่ทำให้ยาต้านจุลชีพเสื่อมฤทธิ์ เช่น Chloramphenicol ร่วมกับยาในกลุ่ม Penicillins • 1.3 เสริมความสามารถของยาต้านจุลชีพที่มีผลต่อการสร้างผนังเซลและทำให้เพิ่มความสามารถของยาในการผ่านเข้าเซล เช่น Penicillin-Streptomycin

  32. 2 Additive (ยาต่างแยกกันออกฤทธิ์ โดยออกฤทธิ์ทั้ง 2 ชนิด) • 3 Indifference (ไม่แตกต่างจากการใช้ยาชนิดเดียว)

  33. 4 Antagonism(ยาออกฤทธิ์ต้านกัน) เช่น • 4.1คุณสมบัติทางเคมีหักล้างกันเอง การผสมยาChloramphenicol+ Erythromycin จะตกตะกอน • 4.2กลไกการออกฤทธิ์ของยาเกิดต้านกันเอง เช่น การให้ PenicillinและTetracyclineจะไม่ให้ผลในการรักษาเนื่องจาก Tetracyclineไปขัดขวางการสังเคราะห์โปรตีน ทำให้เซลหยุดการแบ่งตัว ดังนั้น Penicillinจึงไม่สามารถไปมีผลต่อการสร้างผนังเซลได้ • 4.3เหนี่ยวนำให้สร้างเอนซัยม์ที่ทำให้ยาต้านจุลชีพเสื่อมฤทธิ์ • 4.4แย่งจับที่ binding siteเดียวกัน

  34. รูปที่ แสดงผลที่แตกต่างกันเมื่อให้ยาต้านจุลชีพมากกว่าหนึ่งชนิดร่วมกัน บนซ้ายคือการเสริมฤทธิ์แบบทวีคูณ ล่างซ้ายคือให้ผลไม่แตกต่างจากเมื่อให้ยาเพียงชนิดเดียว ล่างขวาคือให้ผลขัดขวางกัน

  35. การเลือกใช้ยาร่วมกันนี้ มีหลักโดยทั่วไปว่าไม่ควรเลือกใช้ยาที่มีฤทธิ์ bacteriostaticร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์ bactericidalซึ่งมักจะให้ผลต้านฤทธิ์กัน ในขณะที่การใช้ยาที่มีฤทธิ์ bactericidalร่วมกันมักจะให้ผลเสริมฤทธิ์กัน อย่างไรก็ตามหลักการนี้ก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป เช่น โรค Brucellosisการรักษาโดยใช้ยาTetracycline ซึ่งมีฤทธิ์เป็น bacteriostatic ร่วมกับStreptomycin ซึ่งมีฤทธิ์เป็น bacteriocidalให้ผลในการรักษาได้ดีกว่าการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว

  36. มีรายงานยาที่ออกฤทธิ์ต้านกันในหลอดทดลอง (In vitro) หลายชนิด แต่เมื่อนำมาใช้ในผู้ป่วยก็ไม่ได้มีผลหักล้างกัน เช่น Penicillin + Chlortetracycline,Ampicillin + Chlortetracycline + Streptomycin, Penicillin + Chlortetracycline อย่างไรก็ตาม การที่ผลการใช้รักษาในผู้ป่วยไม่เหมือนกับผลที่ได้ในหลอดทดลองก็เนื่องจากในผู้ป่วยมีกลไกของภูมิต้านทานโรคมาช่วยในการต่อสู้กับเชื้อด้วย

  37. การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อ • การให้ยาต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์เพื่อป้องกันโรคได้มีการนำมาใช้ในหลายกรณี เช่น • ใช้ป้องกันโรคที่ระบาดอยู่เป็นประจำในการเลี้ยงสัตว์ระบบอุตสาหกรรมซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องแรงงานและเวลา ช่วงเวลาที่ให้ยาคือก่อนระยะที่สัตว์จะ แสดงอาการของโรค และการใช้ยานั้น จะให้ขนาดยาในระดับต่ำกว่าขนาดยาที่ใช้รักษาเป็นระยะเวลาหนึ่งและจะต้องมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าด้วย

  38. การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (ต่อ) • ให้เพื่อป้องกันเชื้อฉวยโอกาสในสัตว์ป่วยซึ่งมักจะมีภูมิคุ้มกันต่ำลง • ให้เพื่อป้องกันเชื้อแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด • ให้ร่วมกับการใช้ยาที่มีผลกดระบบภูมิคุ้ม เช่น ยาพวกสเตียรอยด์ (แต่แยกคนละเข็ม)

  39. สาเหตุที่ทำให้การใช้ยาต้านจุลชีพไม่ได้ผลสาเหตุที่ทำให้การใช้ยาต้านจุลชีพไม่ได้ผล • 1. เครื่องมือที่ให้ยาไม่สะอาด โดยเฉพาะ การฉีดเช่น มีฝีในบริเวณที่ฉีดยาเข้ากล้าม หรือ เกิดเส้นเลือดอักเสบ บริเวณที่ฉีดเข้าเส้นเลือด • 2. ไม่ให้ยาตาม recommendation : ก่อน/หลังอาหาร : ให้ผิด route :ให้ไม่ต่อเนื่องหรือให้ในระยะเวลาที่สั้นเกินไป

  40. 3.ให้ยาที่ไม่มีความไวต่อเชื้อชนิดนั้น หรือเชื้อดื้อยา หรือวินิจฉัยโรคผิด • 4. สัตว์ได้รับยาไม่ครบ dose เช่น สัตว์ไม่กินอาหารจึงไม่ได้รับยาที่ผสมอยู่ในอาหาร หรือ ป้อนยาแล้วยาหก หรือ สัตว์ได้รับยาแล้วอาเจียน หรือ ยามีรสขมทำให้สัตว์ไม่ชอบกิน • 5. โฮสต์มีระบบภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม • 6.ให้ยาหลายชนิดพร้อมกันทำให้เกิด : antagonism หรือ incompatibility

  41. 7. ให้ยาพร้อมกับอาหารบางชนิด เช่น • Penicillin ไม่ควรให้พร้อมอาหาร/เครื่องดื่มที่เป็นกรด • Tetracycline ไม่ควรให้พร้อมนม • Sulfa ไม่ควรให้ พร้อม Vitamin B • 8. ชนิดสัตว์และพันธุกรรมจะเกี่ยวข้องกับการใช้ยาให้ได้ผลหรืออาจมีผลต่อการแพ้ยาได้แตกต่างกันเช่น • แมวจะแพ้ยาหลายชนิดกว่าสุนัข เช่น Penicillin, Paracetamol • สุนัขพันธุ์ Collie จะแพ้ยาถ่ายพยาธิ Ivermectin ถึงตายได้

  42. สรุป • สิ่งที่ควรคำนึงในการเลือกใช้ antibacterial drugs • 1. Drug sensitivity • 2. Route of administration : IV, IM, oral (acid stable/ acid labile) • 3. Dosage • 4. Duration and interval of treatment • 5. Cost of the drug regimen • 6. Possible adverse effect

  43. การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ • ยาต้านจุลชีพถูกนำมาใช้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารและสัตว์ผลิตขน ยาจะช่วยการเจริญได้ดี เมื่อสัตว์อยู่ในระยะร่างกายกำลังเจริญเติบโตโดยเฉพาะสัตว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบไม่ค่อยถูกหลักสุขศาสตร์ เช่น อยู่ในสภาพหนาแน่นมากเกินไป อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างสกปรก

  44. ช่วงอายุของสัตว์ที่จะได้รับประโยชน์จากยาได้มากที่สุดคือ(มาลินี, 2540) • สัตว์ปีก 8-10 อาทิตย์ • สุกร 4-6 เดือน • ลูกโค 3 เดือน • โคเนื้อ 18 เดือน • แกะ 2 เดือน • สัตว์ผลิตขน 2-3 เดือน

  45. ยาในกลุ่มที่ใช้มากคือ Sulfonamides, Penicillinsและ Tetracycline • ขนาดยาที่ใช้เร่งการเจริญเติบโตจะต่ำกว่าขนาดที่ใช้รักษามาก คือ ประมาณ 5-20 ส่วนในล้านส่วนต่ออาหารประจำวัน ในขณะที่ขนาดที่ใช้ป้องกันคือ ประมาณ 100-400 ส่วนในล้านส่วน และขนาดที่ใช้รักษาคือ 2,000 ส่วนในล้านส่วน

  46. สาเหตุที่ยาสามารถเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ได้ เนื่องจาก • ยาไปยับยั้งหรือทำลายเชื้อที่อยู่ในระยะเพิ่งติดเชื้อและยังไม่ได้แสดงอาการ • ยาไปทำลายเชื้อที่สร้างสารพิษที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ • ยาไปลดหรือทำลายเชื้อที่สร้างแอมโมเนียจากไนโตรเจนซึ่งย่อยสลายจากสารอาหารในลำไส้

  47. สาเหตุที่ยาสามารถเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ได้ เนื่องจาก (ต่อ) • ยาไปลดหรือทำลายเชื้อที่แก่งแย่งกับเชื้อที่ช่วยสร้างอาหารในลำไส้ • ยาไปทำให้ผนังของลำไส้บางลงและเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนตัวของลำไส้ ซึ่งจะช่วยให้การดูดซึมอาหารดีขึ้น ทำให้การใช้อาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  48. ยาที่ใช้ในขนาดที่เร่งการเจริญเติบโตนี้ จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการดื้อยา หรือหากเกิดมีปัญหาอันเนื่องมาจากการใช้ยาเป็นระยะเวลานานๆ สภาวะการดื้อยานี้จะหายไปได้เมื่องดการใช้ยา ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ การที่ให้ขนาดยาที่สูงเกินกว่าระดับที่กำหนดเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ทำให้เกิดการดื้อยาอย่างถาวรและยานี้ก็จะปรากฏในรูปสารตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์ด้วย

  49. ชนิดของยาต้านจุลชีพ (แบ่งตามคุณสมบัติทางเคมี) • 1. กลุ่มยา Penicillins (bactericidal) • 2. กลุ่มยา Cephalosporins (bactericidal) • 3. กลุ่มยา Macrolides (bactericidal) • 4. กลุ่มยา Tetracyclines (bacteriostatic) • 5. กลุ่มยาAminoglycosides (bactericidal) • 6. กลุ่มยา Sulfonamides และ กลุ่มยาไตรเมทโธพริม(bacteriostatic) • 7. กลุ่มอื่น ๆ: Lincosamides, Chloramphenicol, Quinolones เป็นต้น

More Related