1 / 35

สัมมนาพืชสวน Seminar (1202 480) อ.บุษบา บัวคำ

สัมมนาพืชสวน Seminar (1202 480) อ.บุษบา บัวคำ. การเขียนรายงานสัมมนา. วิชาสัมมนาคือ. วิชาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของ อาจารย์ นักศึกษาไป ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองในหัวข้อที่ยังไม่เคยมีการศึกษา ค้นคว้ามา ก่อน เพื่อหาความรู้หรือข้อสรุปใหม่ๆ มาเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน

genes
Download Presentation

สัมมนาพืชสวน Seminar (1202 480) อ.บุษบา บัวคำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัมมนาพืชสวนSeminar(1202 480)อ.บุษบา บัวคำ

  2. การเขียนรายงานสัมมนา

  3. วิชาสัมมนาคือ.... • วิชาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ • นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองในหัวข้อที่ยังไม่เคยมีการศึกษาค้นคว้ามาก่อน เพื่อหาความรู้หรือข้อสรุปใหม่ๆ มาเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน • ออกมาบรรยายในที่ประชุมของนักศึกษาในชั้นเรียน • มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความเห็นและความรู้ต่างๆ ระหว่างกัน

  4. จะเริ่มต้นเรียนวิชาสัมมนาได้อย่างไรจะเริ่มต้นเรียนวิชาสัมมนาได้อย่างไร • กำหนดหัวข้อเรื่องที่สนใจศึกษาค้นคว้า • ติดต่อ อ.ที่ปรึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง • ค้นคว้าหาบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น • วางเค้าโครงเรื่องย่อยในการเขียนตามบทความที่ค้นคว้ามาได้ • เขียนขยายความตามเค้าโครงเรื่องที่วางไว้พร้อมทั้งแสดงเอกสารอ้างอิงจากบทความที่ค้นคว้าและปฏิบัติตามข้อกำหนดในการเขียนสัมมนา เช่น ต้องมีส่วน บทคัดย่อ สรุป และบรรณานุกรม (ร่างที่ 1 )

  5. จะเริ่มต้นเรียนวิชาสัมมนาได้อย่างไร (ต่อ) • แก้ไขร่างที่ 2, 3,…จนกระทั่งอ.ที่ปรึกษาเห็นชอบให้นำเสนอในที่ประชุมได้ • จัดทำสื่อในการนำเสนอ • ซ้อมการนำเสนอให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด • นำเสนอในที่ประชุม

  6. รูปเล่มสัมมนา • โครงสร้างหลักของรูปเล่มสัมมนาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ • ส่วนบทนำ • ปกนอก • ปกใน • ใบรับรองสัมมนา • บทคัดย่อ • กิตติกรรมประกาศ • สารบัญ • สารบัญตาราง (ถ้ามี) • สารบัญภาพ (ถ้ามี)

  7. รูปเล่มสัมมนา (ต่อ) • ส่วนเนื้อความ • บทนำ (ความนำ) • เนื้อหา • สรุป • เอกสารอ้างอิง • ภาคผนวก (ถ้ามี)

  8. หลักการตั้งชื่อเรื่องหลักการตั้งชื่อเรื่อง • ควรจะสั้น กะทัดรัด และครอบคลุมใจความในเรื่องไว้ทั้งหมด (ไม่ควรสั้นกว่า 5 คำ หรือยาวกว่า 20 คำ) • การตั้งชื่อเรื่องควรเลือกคำที่เด่น น่าสนใจและจูงใจให้อ่านเรื่องเต็ม • ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำที่ไม่มีความหมายหรือไม่มีความสำคัญที่ชัดเจนและไม่ควรใช้ชื่อย่อ คำย่อ ศัพท์เทคนิค • ควรมีคุณสมบัติ 4 อย่างคือ (ไพศาล, 2545) • แสดงเอกลักษณ์ทางวิชาการ • มีคำสำคัญ (keyword) • มีคำดรรชนี (index word) • แสดงวัตถุประสงค์

  9. ปกนอกและใน • ชื่อเรื่อง - ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ • ชื่อ-นามสกุล นักศึกษา นาย .............................................. นางสาว ........................................ • สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี • ปีการศึกษา ......................

  10. ใบรับรองสัมมนา • ชื่อเรื่อง - ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ • ชื่อ-นามสกุล นักศึกษา • ชื่อ-นามสกุล อาจารย์ที่ปรึกษา • วัน เดือน ปี • คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา ..............

  11. กิตติกรรมประกาศ • เนื้อหาข้อความขอบคุณ • ชื่อ-นามสกุล • เดือน ปี พ.ศ.

  12. สารบัญ • เรื่อง • หน้า • จัดทำในรูปแบบตาราง (ไม่มีเส้น)

  13. บทนำ • ที่มาที่ไป/เหตุผล • ความสำคัญ • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องที่จะนำเสนอ 1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่จะนำเสนอ 2. ค่อยๆ บีบประเด็นให้แคบลง 3. ชี้ให้เห็นประเด็นนำเสนอ 4. บอกวัตถุประสงค์ 5. เข้าสู่เนื้อหา

  14. หลักการเขียนบทนำ • เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด สำคัญอย่างไร ตอบคำถามว่าเราทำเรื่องนี้ทำไมและเมื่อได้ทำการค้นคว้าทดลองแล้วได้ประโยชน์อย่างไร • ควรเลือกใช้ข้อความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการทดลอง และการวิจารณ์ที่จะปรากฏในบทความนั้น

  15. การเขียนเนื้อเรื่อง • ตัวเนื้อเรื่อง (text) จะต้องเรียงเป็นขั้นเป็นตอนให้เข้าใจง่าย เรียบเรียงให้มีความกลมกลืน • ควรจะแทรกเสริมด้วยตัวเลขข้อมูล ตารางต่างๆ ตามที่ได้รวบรวมมา เมื่อเสนอตารางมา ก็จะต้องเสนอผลเป็นคำพูดมาด้วย หากจะมีการวิเคราะห์วิจารณ์ก็ย่อมทำได้เช่นกัน • ไม่ใช่การนำบทความวิจัยมาต่อกันโดยที่ยังมีส่วนที่เป็นวิธีการทดลอง ผลการทดลอง และวิจารณ์ผลการทดลอง

  16. วัตถุประสงค์ • อยู่ท้ายสุดของย่อหน้าสุดท้ายในส่วนของบทนำ • ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ • บอกทิศทาง และขอบเขตของบทความสัมมนา • ตัวอย่าง - เพื่อนำเสนอ - เพื่อเปรียบเทียบ - เพื่อวิเคราะห์ - เพื่อวิจารณ์ - เพื่อชี้แนะ

  17. เนื้อหา • เขียนหัวข้อย่อยที่เราต้องการเขียน • เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่อง และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ • เขียนเนื้อหาในแต่ละหัวข้อย่อยจนครบ • ต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างย่อหน้า/บทความที่นำมาเสนอ • มีการอ้างอิงในเนื้อหา 1. อ้างอิงบทความ (ต้นบทความ/ท้ายบทความ) 2. อ้างอิงตาราง/ภาพ (ต้นฉบับ/ดัดแปลง)

  18. ตัวอย่างหัวข้อย่อย • ชื่อเรื่อง “วัสดุห่อผลกับคุณภาพของผลมะม่วง” - ความสำคัญทางเศรษฐกิจของมะม่วง - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ - แมลงศัตรูพืชกับคุณภาพผลมะม่วง - ประเภทของวัสดุห่อผล - คุณสมบัติของวัสดุห่อผล - อิทธิพลของวัสดุห่อผลต่อคุณภาพผล (งานวิจัย)

  19. โครงสร้างของย่อหน้า • ประโยคนำ • กลุ่มประโยคสนับสนุน • ประโยคสรุป (........................ประโยคนำ.............................) (............................ .........................กลุ่มประโยคสนับสนุน................................................. ........................................................................................................) (...........................................ประโยคสรุป........................................)

  20. โครงสร้างของย่อหน้า

  21. การเขียนตาราง • ชื่อตารางตัวหนา ใช้คำว่า “ตารางที่” และอยู่ตำแหน่งบนของตาราง • ถ้าชื่อตารางยาวเกิน 1 บรรทัด ให้พิมพ์อักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 2 ตรงกับอักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 1 • นำเสนอเฉพาะข้อมูลที่เรากล่าวถึง • หมายเหตุ (ถ้ามี) • ระบุ แหล่งที่มา พร้อมอ้างอิงบริเวณด้านล่างของตาราง • ให้แทรกในเนื้อหาที่กล่าวถึงในบทความ โดยลำดับต่อจากเนื้อหานั้นๆ

  22. การเขียนภาพ • ชื่อภาพตัวหนา ใช้คำว่า “ภาพที่” อยู่ตำแหน่งล่างของภาพ • ถ้าชื่อภาพยาวเกิน 1 บรรทัด ให้พิมพ์อักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 2 ตรงกับอักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 1 • หมายเหตุ (ถ้ามี) • ระบุ แหล่งที่มา พร้อมอ้างอิงบริเวณตำแหน่งล่างของภาพใต้ชื่อภาพ • ให้แทรกในเนื้อหาที่กล่าวถึงในบทความ โดยลำดับต่อจากเนื้อหานั้นๆ

  23. ตัวอย่างภาพ

  24. สรุป • การตอบคำถามของวัตถุประสงค์ของการนำเสนอรายงานสัมมนาครั้งนี้ให้กระชับ และเพื่อประโยชน์ให้ผู้อ่านนำไปใช้ต่อได้ • สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และชื่อเรื่อง • เป็นการตอบคำถามของวัตถุประสงค์ • ครอบคลุม กระชับ และชัดเจน • ไม่มีการอ้างอิง

  25. บทคัดย่อ • ชื่อเรื่อง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ • ชื่อ-นามสกุล นักศึกษา • สาขาวิชา ........... • ชื่อ-นามสกุล อาจารย์ที่ปรึกษา ................ • บทคัดย่อ • คำสำคัญ

  26. การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) • เขียนบทคัดย่อเมื่อได้เขียนบทความจบแล้ว • บทคัดย่อควรมีความยาวประมาณ 100-250 คำ (5-10 บรรทัด) • บทคัดย่อคือการย่อทุกโครงสร้างของบทความดึงมาเฉพาะส่วนสำคัญ • บทคัดย่อที่ดีต้องมีใจความ 5 ส่วน คือ • ที่มาของปัญหา หรือ หลักการและเหตุผล • วัตถุประสงค์ • เนื้อเรื่อง (แนวคิด ประเด็นที่นำเสนอ) กระชับ และครอบคลุม • ผลสรุปที่สำคัญๆ • บทคัดย่อจะไม่มีคำนำยืดยาว ไม่มีการอ้างเอกสารอ้างอิง ไม่มีตาราง แต่มีตัวเลข หรือผลที่สำคัญๆ เท่านั้น

  27. ข้อควรระวังของการเขียนบทคัดย่อข้อควรระวังของการเขียนบทคัดย่อ • ไม่มีการอ้างอิง • ภาษาที่ใช้ต้องตรงประเด็น ลดคำที่ไม่จำเป็น • ต้องมีความเชื่อมโยงกันในทุกๆ ส่วน: เกริ่นนำ วัตถุประสงค์ เนื้อหา สรุป • ตัวสะกดต้องถูกต้อง • ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเอน • คำสำคัญที่ดี ต้องไม่ซ้ำกับชื่อเรื่อง • มีเพียง 1 หน้า A4 เท่านั้น

  28. เอกสารอ้างอิง • เอกสารที่อ้างอิงต้องสอดคล้องกับในเนื้อหา • เรียงลำดับตามตัวอักษร ก......ฮ • ภาษาไทย ก่อน ภาษาอังกฤษ • ในกรณีมีชื่อผู้แต่งคนแรกเหมือนกัน ให้ดูคนถัดไปเรื่อยๆ • ในกรณีที่มีผู้แต่งคน/ชุดเดียวกัน ให้เรียงตามปี พ.ศ./ค.ศ. จากน้อยไปมาก • ในกรณีมีผู้แต่งคน/ชุด และปีเดียวกัน ให้เติม ก ข ฯ (ภาษาไทย) หรือ a b .. (ภาษาอังกฤษ) ต่อท้ายปีทั้งในเอกสารอ้างอิง และเนื้อหา

  29. เอกสารอ้างอิง • เอกสารที่นำมาอ้างอิงบรรทัดแรกชิดซ้าย บรรทัดที่ 2 เป็นต้นไป ให้ tap เข้าไป 1 เคาะ หรือ 0.5 นิ้ว • เอกสารอ้างอิงแต่ละชนิดมีการเขียนแตกต่างกัน ให้ตรวจสอบในคู่มือการนำเสนอปัญหาพิเศษ • http://www.agri.ubu.ac.th/docs/handout_of_special_problem53.pdf

  30. การพิมพ์รายงานสัมมนา 1. ตัวพิมพ์ • พิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้ตัวพิมพ์ TH Sarabun PSK เนื้อเรื่องใช้ขนาด (font size) 16 หัวเรื่องใช้ขนาด 18 2. กระดาษที่ใช้พิมพ์ • กระดาษขาวไม่มีบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A4 ตั้งแต่ 70 แกรมขึ้นไปใช้เพียงหน้าเดียว 3. การเว้นที่ว่างริมขอบของกระดาษ • ขอบกระดาษ บน 2.5 ซ.ม. ล่าง 2.5 ซ.ม. ซ้าย 3.5 ซ.ม. ขวา 2.5 ซ.ม. ระยะขอบ 0 ซ.ม. หัวกระดาษ 1.25 ซ.ม. ท้ายกระดาษ 1.25 ซ.ม.

  31. การพิมพ์รายงานสัมมนา (ต่อ) 4. การเว้นระยะในการพิมพ์ • การเว้นระยะบรรทัดก่อนขึ้นหัวข้อใหม่ 1 บรรทัดพิมพ์ • ถ้าพิมพ์คำสุดท้ายไม่จบในบรรทัดนั้น ๆ ให้ยกคำนั้นไปพิมพ์ในบรรทัดต่อไป เช่น ปฏิบัติการ ไม่ให้แยกเป็น ปฏิบัติ-การ เป็นต้น 5. การลำดับหน้า • ในการลำดับหน้าส่วนบทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ และสารบัญ ให้ใช้ตัวอักษรเรียงลำดับพยัญชนะในภาษาไทย (ก, ข, ค, ง, จ, ฉ, ช,.........) • จากนั้นตั้งแต่บทนำให้ลำดับหน้าโดยใช้หมายเลข 1, 2, 3,....... โดยให้อยู่แนวเดียวกับขอบขวามือ ห่างจากขอบบน และขอบขวา 1 นิ้ว ใช้ตัวพิมพ์ TH Sarabun PSK ขนาด 16 เช่นเดียวกับเนื้อหา

  32. การพิมพ์รายงานสัมมนา (ต่อ) 6. การวางลำดับและการพิมพ์หัวข้อ • หัวข้อใหญ่ ให้พิมพ์กลางหน้ากระดาษ ตัวหนา ขนาด 18 พอยท์ ไม่ขีดเส้นใต้ • หัวข้อย่อย ให้พิมพ์ติดชิดริมซ้ายของกระดาษ ตัวหนา ขนาด 16 พอยท์ ไม่ขีดเส้นใต้ • การที่จะมีตัวอักษรหรือตัวเลขกำกับหัวข้อหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และถ้าเลือกใช้อย่างใดแล้วให้ใช้อย่างนั้นไปจนตลอดเล่ม

  33. การพิมพ์รายงานสัมมนา (ต่อ) 7. ตาราง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ กราฟ • ตาราง ประกอบด้วยลำดับที่ของตาราง ชื่อของตาราง ส่วนข้อความและที่มาของตาราง ให้พิมพ์อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งหมด • ขนาดของตารางไม่ควรเกินกรอบของหน้ารายงาน

More Related