1 / 27

ผีเสื้อ

ผีเสื้อ. นำเสนอโดย. ลักษณะทั่วไป ของ ผีเสื้อ.

gazelle
Download Presentation

ผีเสื้อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผีเสื้อ นำเสนอโดย

  2. ลักษณะทั่วไป ของ ผีเสื้อ • ผีเสื้อเป็นแมลงพวกหนึ่งแตกต่างจากพวกนกและสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ตรงที่ไม่มีโครงกระดูกอยู่ภายใน ลำตัว ประกอบด้วยวงแหวนหลายวงต่อกัน เชื่อมยึดด้วยเยื่อบางๆ เพื่อการเคลื่อนไหวได้สะดวก เปลือกนอกแข็งเป็นสารพวกไคทิน (Chitin) ภายในเปลือกแข็ง เป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ เคลื่อนที่ ลำตัวของผีเสื้อเป็นวงแหวนเชื่อมต่อกัน ๑๔ ปล้อง ปล้องแรกเป็นส่วนหัว (head) ปล้องที่ ๒, ๓ และ ๔ เป็นส่วน อก (thorax) และปล้องที่เหลือทั้งหมดเป็นส่วนท้อง (abdomen)

  3. ลักษณะทั่วไป ของ ผีเสื้อ (ต่อ) • ส่วนหัวมีตารวม (compound eye) ใหญ่คู่หนึ่ง ตรง บริเวณด้านข้างประกอบด้วยเลนส์เล็กๆหลายพันอัน ต่างจากตา ของคนเราที่มีเพียงเลนส์เดียว ตารวมรับภาพที่เคลื่อนที่ได้เร็ว เราจึงพบว่าผีเสื้อบินได้ว่องไว จับตัวได้ยาก บางทีอาจพบมีตา เดี่ยว (simple eye) ๒ ตา เชื่อกันว่า ใช้ในการรับรู้แสงว่ามืด หรือสว่าง • หนวดมี ๑ คู่ อยู่ระหว่างตารวม เป็นอวัยวะรูปยาวเรียว คล้ายเส้นด้าย ต่อกันเป็นข้อๆ ทำหน้าที่รับความรู้สึกในการดมกลิ่น • ข้างใต้ของส่วนหัว มีงวง (proboscis) ใช้ดูดอาหารเหลว พวกน้ำหวานดอกไม้และของเหลวอื่นๆ งวงจะม้วนเป็นวงคล้าย ลานนาฬิกาเวลาไม่ได้ใช้ และจะคลายเหยียดออกเวลากินอาหาร งวงประกอบขึ้นด้วยหลอดรูปครึ่งวงกลม ๒ หลอดมาเกี่ยวกันไว้ ทางด้านข้างด้วยขอเล็กๆ เรียงเป็นแถว สองข้างของงวงมี อวัยวะที่มี ๓ ข้อต่อ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนปากที่เหลืออยู่เรียกว่า พัลป์ (palp) ยื่นออกมา

  4. ลักษณะทั่วไป ของ ผีเสื้อ (ต่อ) • ส่วนอกประกอบด้วยปล้องต่อกัน ๓ ปล้อง รอยต่อ ระหว่างปล้องมักไม่ค่อยชัดเจนนัก เนื่องจากมีเกล็ดสีปกคลุม อก แต่ละปล้องมีขาปล้องละคู่ ส่วนปีกคู่หน้าและปีกคู่หลัง ติดอยู่บนอกปล้องกลางและอกปล้องสุดท้าย • ปีกของผีเสื้อเป็นแผ่นเยื่อบางๆ ประกบกัน มีเส้นปีกเป็น โครงร่างให้คงรูปอยู่ได้ ปกติผีเสื้อส่วนใหญ่จะมีเส้นปีกในปีกคู่หน้า ๑๒ เส้น และในปีกคู่หลัง ๙ เส้น การจัดเรียงของ เส้นปีกเป็นลักษณะสำคัญในการแยกชนิดของผีเสื้อ พื้นที่ที่อยู่ ระหว่างเส้นปีกเรียกว่า ช่องปีก (space) เรียกชื่อตามเส้นปีก ที่พาดอยู่ตอนล่าง เช่น ช่องปีกที่อยู่ระหว่างเส้นปีกที่ ๓ กับ เส้นปีกที่ ๔ เรียกว่า ช่องปีกที่ ๓ เกล็ดสีเล็กๆ บนปีกเรียงตัว กันเป็นแถวซ้อนกันแบบกระเบื้องมุงหลังคา นอกจากนี้ ยังมี เกล็ดพิเศษเรียกว่า แอนโดรโคเนีย (androconia) เกล็ด พิเศษนี้ตอนโคนต่อกับต่อมกลิ่น อาจอยู่กระจัดกระจายหรืออยู่ เป็นกลุ่ม เรียกว่า แถบเพศ (brand) ทำหน้าที่กระตุ้นความ ต้องการทางเพศของตัวเมีย

  5. ลักษณะทั่วไป ของ ผีเสื้อ (ต่อ) • ผีเสื้อบางพวกอาจมีจำนวนเส้นปีกน้อยกว่า หรือมากกว่า ๑๒ เส้น บางพวกเหลือเพียง ๑๐ เส้น เส้นปีกส่วนมากจะเริ่ม จากโคนปีกหรือจากเซลล์ปีก เซลล์ปีกเป็นบริเวณที่ว่างรูปสาม- เหลี่ยมอยู่บริเวณกลางปีก ค่อนไปทางด้านหน้า ถ้าปลายเซลล์มี เส้นปีกกั้นอยู่เรียกว่า เซลล์ปีกปิด แต่ถ้าไม่มีเส้นปีกกั้นเรียกว่า เซลล์ปีกเปิด บางเส้นจะแตกสาขามาจากเส้นอื่น ผีเสื้อใน วงศ์ผีเสื้อบินเร็วมีเส้นปีกเป็นเส้นเดี่ยวไม่มีการแตกสาขาเลย • ขาของผีเสื้อเป็นข้อๆซึ่งแต่ละขาแบ่งออกได้เป็น ๕ ส่วน นับจากที่ติดกับลำตัวจะเป็นโคนขา (coxa) ข้อต่อโคนขา (trochanter) ต้นขา (femur) ปลายขา (tibia) และข้อเท้า (tarsus) มีเล็บเป็นจำนวนคู่ที่ปลายข้อเท้า

  6. ลักษณะทั่วไป ของ ผีเสื้อ (ต่อ) • ผีเสื้อหลายวงศ์มีขาคู่หน้าเสื่อมไปมาก จนไม่มีส่วนของ ข้อเท้า เห็นเป็นกระจุกขนอยู่เป็นพู่ บางวงศ์จะพบลักษณะเช่นนี้ ในเพศผู้เท่านั้น ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหางติ่งมีกระจุกขนเล็กๆ อยู่ทางตอนในของปลายขา และผีเสื้อหนอนกะหล่ำมีเล็บถึง ๔ เล็บ แทนที่จะมีเพียง ๒ เล็บเหมือนผีเสื้ออื่นๆ • ส่วนท้องต่อมาจากส่วนอก รูปร่างยาวเรียว ค่อนข้าง อ่อนกว่าส่วนอก ตอนปลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ อวัยวะสืบพันธุ์นี้มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด จึงเป็น ลักษณะสำคัญในการจำแนกผีเสื้อกลุ่มที่มีลักษณะภายนอกคล้าย กันมากๆ เช่น ผีเสื้อเณร (สกุล Euma)

  7. ลักษณะการดำรงชีวิตของผีเสื้อลักษณะการดำรงชีวิตของผีเสื้อ • ชีวิตของผีเสื้อเริ่มจาก ไข่ แล้วไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอน ซึ่งเรามักเรียกกันว่า ตัวแก้ว ต่อมาตัวแก้วจะหยุดกินอาหาร และไม่เคลื่อนไหว กลายสภาพเป็น ดักแด้ และในไม่ช้าดักแด้จะกลายสภาพเป็น ผีเสื้อ สีสวยเที่ยวบินว่อนอยู่ตามดงดอกไม้ ซึ่งเป็น ตัวเต็มวัย ชีวิตของผีเสื้อจึงแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ

  8. เมื่อผีเสื้อตัวเมียมีท้องแก่ มันจะบินไปหาต้นพืชซึ่งตัวแก้วของมันจะใช้เป็นอาหารได้ ตามปกติ ผีเสื้อแต่ละกลุ่ม แต่ละวงศ์ จะวางไข่ไว้บนต้นพืชคนละชนิดกัน เมื่อมันเลือกต้นพืชที่มันต้องการได้แล้ว มันจะเริ่มวางไข่ไว้ตามส่วนต่างๆ ของต้นพืชนั้น • ผีเสื้อบางชนิดชอบวางไข่ไว้ตามก้านดอกไม้ แต่บางชนิดวางไข่ไว้บนยอดอ่อนของพืช ชนิดที่วางไข่ไว้บนกลีบดอกไม้ก็มี มีบางชนิดวางไข่ไว้ตามซอกเปลือกไม้ตรงโคนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีพืชที่จะเป็นอาหารของตัวแก้วขึ้นอยู่ใกล้ๆ หลังจากตัวแก้วฟักออกจากไข่แล้ว จึงจะไต่มายังพืชอาหารของมัน • ตามปกติผีเสื้อมักวางไข่ฟองเดียวโดดๆ หรือ เป็นกลุ่มเล็กๆ มีน้อยชนิดที่วางไข่ไว้เป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มไข่นี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของผีเสื้อ บางชนิดจะวางไข่ติดกันเป็นเส้นห้อยลงมา คล้ายกับลูกปัทม์ที่นำมาร้อยต่อกัน มีน้อยชนิดที่วางไข่เรี่ยราดไว้ตามพื้นดิน

  9. ไข่ของผีเสื้อแต่ละชนิดมีขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันออกไป โดยปกติ ไข่ของผีเสื้อจะเล็กมาก ผีเสื้อชนิดที่มีไข่โตที่สุดนั้น ไข่ของมันจะมีขนาดพอๆ กับหัวเข็มหมุดหัวโตเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบไข่ของผีเสื้อ จึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) เท่านั้น • จากภาพที่มองผ่านเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ เราจะเห็นว่า ไข่ของผีเสื้อบางชนิดมีลักษณะตั้งยาวสีขาวหรือสีเหลือง แต่ไข่ของผีเสื้อบางชนิดมีลักษณะกลม มีรอยบั้ง และมีสีเขียว แต่บางชนิดมีไข่กลมแบนสีขาวหรือสีออกเทา และมีรอยบุ๋ม หรือไม่ก็มีไข่แบนเกือบเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า ออกสีขาวหรือสีเหลือง ไข่ของผีเสื้อหางแฉกที่เรียกกันว่า ผีเสื้อหางติ่ง (Swallowtail) นั้น มีลักษณะกลมมาก เรียบ และโตกว่าไข่ของผีเสื้ออื่นๆ และมักมีสีเหลือง สีสันของไข่นี้มักเป็นสีที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อพรางตาศัตรู

  10. ตัวแก้วหรือตัวหนอนของผีเสื้อ มีลำตัวยาว มีขาจริง 3 คู่ และมีขาเทียม (prologs) ที่ส่วนท้องอีกหลายคู่ ไซ้สำหรับเดินทั้งสิ้น ซึ่งผิดกับหนอนของแมลงอื่นๆ เช่น หนอนแมลงวัน หรือ ลูกน้ำ ซึ่งไม่มีขาเลย ไม่ว่าจะเป็นขาจริงหรือขาเทียม เมื่อมันกลายเป็นผีเสื้อแล้ว ขาเทียมจะหดหายไป ส่วนขาจริงจะเจริญไปเป็นขาของผีเสื้อ ดังนั้น ส่วนของตัวแก้วที่มีขาจริง คือ ส่วนที่จะเจริญไปเป็นส่วนอก (thorax) ของแมลงนั่นเอง • ส่วนหัวของตัวแก้วมีปากชนิดกัดกิน (biting type) ใช้กัดกินใบพืชอาหารของมัน ทำนองเดียวกับปากของตั๊กแตน จิ้งหรีด หรือ แมลงสาบ ซึ่งผิดกับเมื่อตอนที่มันกลายเป็นผีเสื้อแล้ว ซึ่งปากจะเปลี่ยนไปเป็นปากชนิดดูดกิน (siphoning type)

  11. ตัวแก้วส่วนมากไม่มีขนยาวรุงรัง ถ้าหากเราพบหนอนที่มีลักษณะลำตัวยาว มีขาจริง 3 คู่ มีขาเทียม และมีปากชนิดกัดกิน แต่มีขนยาวรุงรังแล้ว เราแน่ใจได้ทันทีเลยว่า เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน (Moth) ไม่ใช่หนอนของผีเสื้อ (Butterfly) ปกติ หนอนของผีเสื้อกลางคืนนั้น ชาวบ้านมักเรียกกันว่า บุ้ง ไม่เรียกว่า ตัวแก้ว หนอนของผีเสื้อบางชนิดเท่านั้นที่มีขนสั้นๆ สีต่างๆ ที่ลำตัว • สีสันของตัวแก้วนี้ ตามปกติจะเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี จึงล้วนแต่เป็นสีพรางตาศัตรูทั้งสิ้น เพื่อให้รอดพ้นจากศัตรู โดยเฉพาะนก ตัวแก้วที่หากินอยู่ตามต้นหญ้าจะมีลำตัวผอมยาว หัวท้ายแหลม มีลายเขียวๆ เป็นทางยาว เข้ากับใบหญ้าได้ดี ตัวแก้วบางชนิดมีลำตัวรี แบน และเกาะแน่นอยู่ใต้ใบไม้ และสีสันยังเข้ากับใบไม้อีกด้วย ตัวแก้วที่หากินอยู่ตามต้นถั่วมีรูปร่างยาวรีและมีสีสันคล้ายฝักถั่ว บางชนิดดูคล้ายมูลนกที่ติดอยู่ตามใบไม้ ตัวแก้วที่มีสีสันเข้ากับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ มักเป็นตัวแก้วที่นกชอบกิน

  12. การเปลี่ยนแปลงร่างกายจากตัวแก้วมาเป็นดักแด้ (Pupa) นั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก เพราะตัวแก้วหากินอยู่เสมอและกินจุ แต่ดักแด้อยู่นิ่งกับที่และไม่กินอะไรเลย การลอกคราบจากตัวแก้วในระยะสุดท้ายมาเป็นดักแด้นั้น คล้ายคลึงกันมาก กับการลอกคราบในแต่ละครั้งของตัวแก้ว เพียงแต่ว่าในระยะนี้ ผิวหนังใหม่ใต้ผิวหนังเก่าเป็นผิวหนังของดักแด้ และมีรูปร่างเป็นดักแด้เมื่อตัวแก้วลอกคราบออกมาเป็นดักแด้ใหม่ๆ ผิวหนังของดักแด้ยังอ่อนนิ่มอยู่ แต่นานๆ ไป หลายชั่วโมง ผิวหนังของมันจึงแข็งขึ้น และมีรูปร่างและสีสันเป็นดักแด้มากขึ้น จนกลายเป็นดักแด้ที่สมบูรณ์

  13. เมื่อผีเสื้อลอกคราบออกมาจากดักแด้นั้น ในระยะแรก มันจะปล่อยของเหลวสีชมพูจางๆ ที่เรียกว่า meconium ออกมา meconium นี้เป็นสิ่งขับถ่ายที่สะสมอยู่ในระยะที่มันเป็นดักแด้ เพราะดักแด้นั้นไม่มีปากสำหรับกินอาหาร และไม่มีช่องสำหรับขับถ่าย สิ่งขับถ่ายจึงต้องสะสมเอาไว้ก่อน และมาปล่อยออกในระยะที่มันเป็นผีเสื้อแล้ว

  14. ผีเสื้อที่ลอกคราบออกมาใหม่ๆ ปีกยังเล็กอยู่และค่อนข้างยับยู่ยี่ มันจะต้องไต่ไปเกาะกิ่งไม้หรือวัตถุใดๆ ที่ไม่มีอะไรมาเกะกะ เพื่อมันจะได้แผ่ปีกได้เต็มที่ ถ้าหากมีอะไรมาเกะกะ ปีกของมันอาจฉีกขาดได้ มันจะเกาะนิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว ปล่อยให้อากาศเข้าไปทางปากแบบดูด และรูหายใจ (spiracles) อากาศจะเข้าไปสะสมอยู่ภายในลำตัวบริเวณอกและท้องโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ จะผลักดันให้โลหิตเข้าไปหล่อเลี้ยงภายในปีกเล็กๆ ที่ยับยู่ยี่ของมัน แล้วปีกของมันจะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นทุกที และบางมากขึ้นจนกระทั่งโตได้ขนาดเต็มที่ และมีความบางเต็มที่ ผิดกับเมื่อตอนมันลอกคราบออกมาใหม่ๆ ซึ่งมีปีกเล็กและยังหนาอยู่อย่างไรก็ดี ผีเสื้อในระยะนี้ยังไม่พร้อมที่จะบินไปไหนมาไหน มันยังต้องเกาะอยู่นิ่งๆ โดยแผ่ปีกออกเล็กน้อย อีกราว 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปีกของมันแห้งเต็มที่ มันจึงจะบินไปไหนมาไหนได้ สำหรับการขยายปีกของมันนั้น ใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น ปีกของมันก็กางออกเต็มที่แล้ว

  15. สีและลวดลายบนปีกของผีเสื้อสีและลวดลายบนปีกของผีเสื้อ • ลวดลายและสีบนปีกผีเสื้อประกอบ ขึ้นด้วยเกล็ดสีเล็กๆ เรียงกันคล้ายกระเบื้องบนหลังคา สีของแต่ละเกล็ดจะเกิดจากเม็ดสีภายในเกล็ด หรือเกล็ดที่ไม่มี เม็ดสีภายใน แต่มีรูปร่างเป็นสันนูนสะท้อนแสงสีรุ้งออกมาได้ เม็ดสีอาจสร้างได้จากสารเคมีในตัวแมลงเอง หรือจาก สารเคมีที่แปลงรูปมาจากพืชอาหารของมัน สีเหลืองเรียกว่า เทอรีน (pterines) มาจากพวกกรดยูริก ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่าย พบในผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ สีแดง และสีส้มพบใน พวกผีเสื้อขาหน้าพู่ สีแดงนี้จะค่อยๆ ซีดลง เมื่อถูกกับออกซิเจน ในอากาศ ผีเสื้อพวกนี้เมื่อออกมาใหม่ๆ จึงมีสีสดกว่าพวกที่ออก มานานแล้ว แต่ถ้านำไปรมไอคลอรีน สีจะกลับคืนมา บางทีจะมี สีสดใสกว่าเดิม ส่วนสารฟลาโวน (flavones) ได้มาจากพืช สารนี้อยู่ในดอกไม้ ทำให้มีสีขาวจนถึงสีเหลือง พบในผีเสื้อสีตาล และผีเสื้อบินเร็วบางพวก สารนี้จะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลือง เข้มเมื่อถูกกับแอมโมเนีย สารพวกเมลานิน (melanin) เป็น สารสีดำ พบในคนและสัตว์สีดำทั่วไป สีเขียวและสีม่วงฟ้า เป็นสีที่เกิดจากการสะท้อนแสงของเกล็ดสีบนปีก โดยแสงจะส่องผ่านเยื่อบางๆหลายชั้นที่ประกอบกันเป็นเกล็ด หรือสะท้อน จากเกล็ดที่เป็นสันยาวเหมือนสีรุ้งที่สะท้อนให้เห็นบนฟองสบู่

  16. สีและลวดลายบนปีกของผีเสื้อสีและลวดลายบนปีกของผีเสื้อ • ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตลมมรสุม จึงมีลักษณะของ อากาศในฤดูฝนกับฤดูร้อนแตกต่างกันมาก สภาพนี้มีผลต่อ ผีเสื้อหลายพวก ทำให้มีลักษณะและสีเป็นรูปร่างเฉพาะของ แต่ละฤดู เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพป่าในฤดูนั้นๆ เช่น ในฤดู ฝนจะมีสีสดใส และมีจุดดวงตากลม (oculus) ข้างใต้ปีก และขอบปีกจะมนกลม ในหน้าแล้ง ลายและสีใต้ปีกจะไม่พบเป็น รูปดวงตากลม แต่มีลายกระเลอะๆ อย่างใบไม้แห้งแทน และ ปีกจะหักเป็นมุมยื่นแหลมออกมา ผีเสื้อเหล่านี้ เช่น ผีเสื้อตาล พุ่ม (Mycalesisspp.)และผีเสื้อแพนซี มยุรา (Precis almana)สิ่งแปลกที่พบในพวกผีเสื้อก็คล้ายกับที่พบในพวกนกบาง ชนิด คือ มีสีสันของปีกในเพศหนึ่งแตกต่างจากอีกเพศหนึ่ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนจัดเอาไว้เป็นคนละชนิด หรือคนละสกุล เช่น ผีเสื้อหนอนส้ม (Papilio polytes)ผีเสื้อปีกไข่เมียเลียน (Hypolimnas misippus)นอกจากนี้ ผีเสื้อบางชนิดยังมีลักษณะของเพศใดเพศหนึ่ง แตกต่างกันออกไปอีกหลาย แบบ แต่ละแบบอาจมีสีสันแตกต่างกันออกไป จนคนทั่วไปไม่อาจเชื่อได้ว่า เป็นชนิดเดียวกัน พวกที่เพศเมียมีรูปร่างหลายแบบ เช่น ผีเสื้อหางติ่ง ผีเสื้อนางละเวง (Papilio memnon)ผีเสื้อหนอนมะพร้าว (Elymnias hypermnestra)ส่วนชนิดที่เพศผู้มีรูปร่าง หลายแบบได้แก่ ผีเสื้อบารอนฮอสพีลด์ (Euthalia monina)

  17. การบินของผีเสื้อ • ส่วนมากปีกคู่หลังของผีเสื้อจะมีขนาดเล็กกว่าปีกคู่หน้า และเพื่อที่จะให้บินได้ดี จะต้องมีการยืดติดเป็นอันหนึ่งอันเดียว กันในแต่ละข้าง โดยขอบหน้าของปีกคู่หลังจะยื่นขยายออกมา ซ้อนกับปีกคู่หน้า ซึ่งจะอัดติดกันแน่นเวลาบิน ส่วนผีเสื้อกลาง คืนจะมีขอเล็กๆ เกี่ยวกันไว้ดังกล่าวข้างต้น ในเรื่องลักษณะ แตกต่างกันระหว่างผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อที่มี พื้นที่ปีกน้อยเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวจะกระพือปีกเร็วมาก เช่น ผีเสื้อบินเร็ว ส่วนพวกที่มีพื้นที่ปีกมากๆ เช่น ผีเสื้อร่อนลม (ldea spp.)กระพือปีกช้ามาก และกางปีกออกร่อน ไปตามสายลม อัตราเฉลี่ยของการกระพือปีกของผีเสื้อประมาณ ๘-๑๒ ครั้งต่อวินาที ส่วนความเร็วของการบินนั้น ผีเสื้อหนอน กะหล่ำบินได้เร็ว ๑๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจบินได้เร็วกว่านี้ ถ้าตกใจหรือหนีอันตราย

  18. การบินของผีเสื้อ • ผีเสื้อจึงเป็นแมลงที่มีความสามารถในการบินมาก พบ ว่ามีการบินอพยพเป็นฝูงใหญ่ๆ เนืองๆ ชนิดที่มีชื่อเสียงที่สุด ในการบินอพยพ ได้แก่ ผีเสื้อในทวีปอเมริกาเหนือที่มีชื่อว่า Danaus plexippus ผีเสื้อชนิดนี้บินจากตอนเหนือของ ทวีปอเมริกาเหนือ หนีอากาศหนาวลงไปอยู่บริเวณตอนใต้แถวๆ อ่าวเม็กซิโก พอเริ่มฤดูใบไม้ผลิ จะบินย้อนกลับขึ้นไปวางไข่ทาง ภาคเหนืออีก ส่วนในประเทศไทย เคยมีผู้สังเกตเห็นการบินอพยพของ ผีเสื้อหลายชนิด ส่วนมากมักเป็นการบินอพยพย้ายถิ่น หรือ บินขึ้นลงภูเขาตามลำน้ำในตอนเช้าและตอนเย็น เพื่อหลบความ ร้อนของแดดในเวลากลางวัน และการบินอพยพมักไม่เกิดเป็น ประจำอย่างเช่นผีเสื้อในประเทศหนาว เนื่องจากอุณหภูมิของ อากาศในบ้านเราไม่ค่อยแตกต่างกันมาก

  19. การป้องกันอันตรายจากศัตรูการป้องกันอันตรายจากศัตรู • ผีเสื้อที่ออกบินจะมีศัตรูน้อยลงกว่าในระยะที่ยังเป็นตัว หนอน ศัตรูที่สำคัญในเวลากลางวัน ได้แก่ นกจาบคา (bee- eaters) และนกแซงแซว (drongos) นกพวกนี้บินได้ว่องไว สามารถจับผีเสื้อในขณะที่บินในอากาศได้ เมื่อจับได้แล้วมัน จะคาบมาเกาะกินบนกิ่งไม้ ผู้เขียนเคยพบนกจาบคาหัวสีส้ม (Merops leschenaulti)บินจับผีเสื้อหนอนคูน (Catopsiliasp.)กินหลายตัว ที่อำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ศัตรูที่สำคัญรองลงมา คือ พวก กิ้งก่าที่จับผีเสื้อที่ชอบเกาะตามพุ่มไม้ ก้อนหิน และตามพื้น ดินกินเป็นอาหาร ในเวลากลางคืน ศัตรูที่สำคัญคือ ค้างคาว กินแมลงชนิดต่างๆ การป้องกันอันตรายจากศัตรูของผีเสื้อพอจะแยกออกได้ เป็น ๕ วิธีด้วยกันคือ

  20. วิธีการบิน • ผีเสื้อมีวิธีการบินเป็น ๒ พวก คือ พวกที่บินเร็วอย่าง เช่น ผีเสื้อตาลหนาม (Charaxes)ผีเสื้อหางติ่ง (Papilio)บินได้เร็วมาก จนมีศัตรูน้อยชนิดที่อาจ บินไล่จับได้ทัน พวกนี้ส่วนมากมีสีสดใส อีกพวกหนึ่งบินได้ช้า และบินแปลกไปจากผีเสื้อทั่วไป เพื่อให้ศัตรูงงเวลาเห็น จนไม่ คิดว่าเป็นผีเสื้อ เช่น ผีเสื้อกะลาสี (Neptis)และ ผีเสื้อแผนที่ (Cyrestis)กลุ่มหลังนี้บินร่อนไปช้าๆ นานๆ จะกระพือปีกสักที มักมีลวดลายลวงตาบางอย่างบนปีก ทำให้ศัตรูติดตามได้ยาก ปกติพวกที่มีสารพิษอยู่ในตัวมักบินช้า เพื่อให้ศัตรูรู้จัก และเป็นการประกาศคุณสมบัติในตัวของมัน หรือเป็นการลวง ตาศัตรู

  21. การป้องกันตัวด้วยสีและลวดลายบนปีกการป้องกันตัวด้วยสีและลวดลายบนปีก • ผีเสื้อส่วนมากที่ไม่มีสารพิษในตัว และไม่มีสีสดใสเพื่อ ประกาศคุณสมบัตินี้ มักป้องกันตัวเองด้วยสีสัน และลวดลาย ที่อยู่ทางด้านใต้ปีก โดยเฉพาะปีกคู่หลัง เนื่องจากผีเสื้อเวลา เกาะพักจะพับปีกขึ้น และช่วงเวลาพักเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด ลวดลายอาจจะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัย เช่น ใต้ ปีกของผีเสื้อปลายปีกส้มใหญ่ (Hebomoia glaucippe)เป็นลายกระคล้ายกับทรายแห้ง หรือมีลักษณะคล้ายกับวัตถุใดวัตถุหนึ่งอาจเป็นใบไม้ ดังพบในผีเสื้อใบไม้ใหญ่ (Kallima) และ ในผีเสื้อตาลสายัณห์บางแบบ และผีเสื้อแพนซีมยุราบางแบบ เพื่อที่จะให้สภาพกลมกลืนดียิ่งขึ้น ผีเสื้อพวกนี้มักเกาะตามกิ่ง หรือตามลำต้นไม้ แล้วทอดปีกไปตามแนวกิ่งไม้

  22. การป้องกันตัวด้วยสีและลวดลายบนปีกการป้องกันตัวด้วยสีและลวดลายบนปีก • ผีเสื้อบินเร็ว และผีเสื้อป่า ตลอดจนผีเสื้อตาลสายัณห์ มักมีสีน้ำตาลหรือมีลายเปรอะ ถึงแม้ว่าบางชนิดชอบอาศัยอยู่ ตามที่ร่มครึ้มและค่อนข้างมืด ซึ่งปลอดภัยจากศัตรูตาม ธรรมชาติหลายจำพวก • ส่วนพวกที่มีจุดตากลมๆใต้ปีกดังเช่นพวกผีเสื้อป่านั้น เชื่อ กันว่า มันใช้ในการทำให้ศัตรูตกใจ หรือทำให้ศัตรูโจมตีตรง จุดที่ไม่สำคัญนัก เช่นเดียวกับหางเส้นเล็กๆ ตามขอบปีกคู่หลัง ในพวกผีเสื้อสีน้ำเงิน โดยจะมีปีกยื่นออกมาเป็นติ่ง ซึ่งมีจุดดำ ตรงกลาง ประกอบกับมีหางยื่นออกมา ทำให้ดูคล้ายเป็นหัว และหนวด • การป้องกันตัวอีกแบบหนึ่ง พบในพวกผีเสื้อสีน้ำเงิน โดยมีสีน้ำเงินวาวทางด้านบนปีก และสีดำคล้ำทางด้านใต้ปีก ทำให้พวกนกที่กำลังไล่ผีเสื้อสีน้ำเงินอยู่หาลำตัวผีเสื้อสีคล้ำที่ กำลังเกาะอยู่ไม่พบ

  23. นิสัยของผีเสื้อ • นิสัยของผีเสื้อบางชนิดช่วยให้รอดพ้นจากศัตรูได้ ผีเสื้อ บินเร็วหลายชนิด ผีเสื้อป่า และผีเสื้อตาลสายัณห์ มีนิสัยชอบ ออกหากินเวลาเช้ามืด หรือตอนโพล้เพล้ เพื่อหลบนกที่ออกหา กินกลางวัน แต่ยังไม่ทราบว่า จะถูกพวกค้างคาวกินบ้างหรือไม่ ผีเสื้อพวกนี้ยังชอบเกาะอยู่ตามที่มืดๆ หรือในพุ่มไม้หนาทึบ ผีเสื้อตัวเมียส่วนมากมีนิสัยเช่นเดียวกันนี้

  24. การป้องกันตัวโดยกลิ่นและรสที่ไม่ดีการป้องกันตัวโดยกลิ่นและรสที่ไม่ดี • ผีเสื้อบางพวกที่กินพืชที่มีพิษ จะได้พิษนั้นๆ ติดไปด้วย ซึ่งพวกสัตว์กินแมลงและกิ้งก่าไม่ชอบสารพวกนี้ พวกนี้จะมี สีสันฉูดฉาดเป็นการประกาศคุณสมบัติของตัว และบินไปมา อย่างช้าๆ เพื่อให้ศัตรูมีเวลาจ้องดูนานๆ จนจำได้ บางทีนกที่ ยังรุ่นหนุ่ม มีประสบการณ์น้อยอาจจับผีเสื้อพวกนี้กินได้ ผีเสื้อ พวกนี้จึงต้องมีผนังลำตัวแข็งเหนียว และบางคราวอาจแกล้ง ทำตายได้อีกด้วย

  25. การเลียนแบบ • จากคุณสมบัติป้องกันตัวได้ของผีเสื้อในข้อที่ ๔ ทำให้ ผีเสื้ออีกพวกที่ไม่มีคุณสมบัตินั้นๆ และจะตกเป็นเหยื่อของศัตรู ได้ง่ายๆ พากันเลียนแบบรูปร่าง นิสัย ตลอดจนวิธีการบินของ พวกที่ป้องกันตัวได้ดี อาจจะเลียนแบบทั้งสองเพศ หรือเลียน แบบเฉพาะเพศเมียเท่านั้น ส่วนมากจะเลียนแบบเฉพาะด้านบน ของปีก แต่บางทีก็ด้านใต้ปีก หรือทั้งสองด้านการเลียนแบบแบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ๑. การเลียนแบบแบบเบตส์ (batesian mimicry) ตัวที่มีสีสดใส มีกลิ่นและรสไม่ดี เป็นตัวแบบ (model) ให้ตัวเลียนแบบ (mimic) ซึ่งเป็นผีเสื้อที่ศัตรูชอบกิน มา เลียนแบบทั้งรูปร่าง สีสัน และนิสัยการบิน๒. การเลียนแบบแบบมูลเลอร์ (mullerian mimicry) กลุ่มผีเสื้อที่ศัตรูไม่ชอบกินอยู่ แล้วมาเลียนแบบกันเอง ทำให้ลักษณะของแบบนั้น ศัตรูรู้จักได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่า เดิม เช่น พวกผีเสื้อหนอนใบรักสีฟ้า (Danaus)หลายชนิด และพวกผีเสื้อจรกา (Euploea)

  26. ความสำพันธ์ต่อระบบนิเวชความสำพันธ์ต่อระบบนิเวช • ผีเสื้อจัดว่าเป็นแมลงที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอีกชนิดหนึ่ง โดยในระยะที่เป็นตัวหนอนจะกัดกินใบไม้ในป่า มิให้มีมาย หรือหนาแน่นจนเกินไป ช่วยให้แสงแดดสอดส่องลงถึงพื้นด้านล่าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมาก ในขณะเดียวกัน ก็เป็นอาหาร ของนกชนิดต่างๆ รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การถ่ายทอด พลังงานในระบบนิเวศ เมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ที่เรียกว่า ผีเสื้อ เพศเมีย ซึ่งกินน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหารหลัก จะบินไปมาระหว่างดอกไม้คอกหนึ่ง สู่อีกดอกหนึ่ง ทำให้เกิดการผสมเกษร ระหว่างเกษรตัวผู้กับเกษรตัวเมีย ทำให้เกิดการกระจายพันธืของพืชชนิดนั้นๆ และอีกทั้งยังเป็นอาหารของนก กิ้งก่า และสัตว์ชนิดอื่นๆ ด้วย ก่อให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศและความยั่งยืนในธรรมชาติตลอดไป

More Related