1 / 15

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัด ตรัง

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัด ตรัง. อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี. ประวัติ.

finola
Download Presentation

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัด ตรัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตรังสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง

  2. อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

  3. ประวัติ • พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)(จีน: 許心美) (8 เม.ษ. พ.ศ. 2400-10 เม.ษ. 2456) เจ้าเมืองตรังผู้พัฒนาเมืองตรังให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม และได้เลื่อนตำแหน่งเป็น สมุหเทภิบาล สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต • คอซิมบี้ ณ ระนอง เกิดเมื่อวันพุธเดือน 5 ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2400 ตรงกับเดือนเมษายน พ.ศ. 2400 ที่จังหวัดระนอง เป็นบุตรคนสุดท้องของ  พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซูเจียง ณ ระนอง) •  เป็นชาวจีนฮกเกี๊ยนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 3) และ นางกิม โดยชื่อ "ซิมบี้" เป็นภาษาฮกเกี๊ยน แปลว่า "ผู้มีจิตใจดีงาม" เมื่ออายุได้ 9 ขวบ ได้ติดตามบิดาเดินทางกลับไปประเทศจีนและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และได้ดูแลกิจการแทนบิดา ทั้ง ๆ ที่มิได้เรียนหนังสือ มีความรู้หนังสือเพียงแค่เซ็นชื่อตนได้เท่านั้น แต่มีความสามารถพูดได้ถึง 9 ภาษา บิดาจึงหวังจะให้สืบทอดกิจการการค้าแทนตน มิได้ประสงค์จะให้รับราชการเลย

  4. ต่อมา เมื่อบิดาถึงแก่กรรม ขณะที่คอซิมบี้อายุได้ 25 ปี พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ผู้เป็นพี่ชาย (ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร) ได้นำเข้ารับราชการเป็นครั้งแรก โดยเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง ต่อมาได้เลื่อนเป็นผู้ว่าราชการเมืองกระบี่ บรรดาศักดิ์เป็น พระอัษฎงคตทิศรักษา ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ทั้งนี้เนื่องจากราษฎรชาวตรังได้ยื่นฎีกาถวายความว่า เจ้าเมืองตรังคนก่อน (พระยาตรังคภูมิภาบาล (เอี่ยม ณ นคร)) กดขี่ข่มเหงราษฎรทั้งที่สภาพเศรษฐกิจก็ไม่ดี • พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เมื่อรับตำแหน่งเจ้าเมืองตรังได้พัฒนาปรับปรุงสภาพหลายอย่างในเมืองตรังให้เจริญรุ่งเรืองหลายอย่าง ด้วยกุศโลบาลส่วนตัวที่แยบยล เช่น การตัดถนนที่ไม่มีผู้ใดเหมือน รวมทั้งส่งเสริมชาวบ้านให้กระทำการเกษตร เช่น ให้เลี้ยงไก่โดยบอกว่า เจ้าเมืองต้องการไข่ไก่ ให้เอากาฝากออกจากต้นไม้ โดยบอกว่าเจ้าเมืองต้องการเอาไปทำยา ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ และยางพารา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำยางพารามาปลูกที่ภาคใต้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นในปัจจุบัน

  5. ในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้จัดตั้งกองโปลิศภูธรขึ้นแล้วซื้อเรือกลไฟไว้เป็นพาหนะตรวจลาดตระเวณ บังคับให้ทุกบ้านเรือนต้องมีเกราะตีเตือนภัยไว้หน้าบ้าน หากบ้านใดได้ยินเสียงเกราะแล้วไม่ตีรับจะมีโทษ เป็นต้น • พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มีวิธีการบริหารปกครองแบบไม่มีใครเหมือน โดยใช้หลักเมตตาเหมือนพ่อที่มีต่อลูก เช่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามนโยบายก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก แต่การลงโทษนั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนผู้นั้น เช่น ให้ไปทำนา เป็นต้น ชาวบ้านถือมีดพร้าผ่านมาก็จะขอดู ถ้าพบว่าขึ้นสนิมก็จะดุกล่าวตักเตือน แม้แต่ข้าราชการก็อาจถูกตีศีรษะได้ต่อหน้าธารกำนัลถ้าทำผิด หรือแม้กระทั่งดูแลให้ชาวบ้านสวมเสื้อเวลาออกจากบ้าน • พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังนาน 11 ปี ในปี พ.ศ. 2444 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต รับผิดชอบดูแลหัวเมืองตะวันตก ตั้งแต่ภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา ตะกั่วป่า ระนอง และสตูล มีผลงานเป็นที่เลื่องลือไปถึงหัวเมืองมลายูและปีนัง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี แต่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้ปฏิเสธ จึงได้ทรงจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการซึ่งพระยารัษฎา ฯ ก็ได้ปฏิเสธไปอีกอย่างนิ่มนวล โดยขอเป็นเพียงสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต เช่นเดิมต่อไป จากนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสายสะพายช้างเผือกชั้นที่ 1 และทรงถือว่าพระยารัษฎา ฯ เป็นพระสหาย สามารถห้อยกระบี่เข้าเฝ้าฯ โดยพระบรมราชานุญาตพิเศษ

  6. พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2456 ณ บ้านจักรพงษ์ ปีนัง ด้วยสาเหตุเจ็บป่วยจากการถูกยิงโดยคนสนิท พร้อมกับหลานชาย (พระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง)) ที่ท่าเทียบเรือกันตัง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 สิริอายุได้ 56 ปี • เมื่ออนิจกรรม หลวงบริรักษ์โลหวิสัย บุตรชายได้รับหนังสือแสดงความเสียใจจากบุคคลต่าง ๆ รวมถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีใจความว่า • เรามีความเศร้าสลดอย่างยิ่งในอนิจกรรมของบิดาเจ้า ผู้ซึ่งเรายกย่องอย่างสูง ไม่เฉพาะที่เป็นข้าราชการเท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นเพื่อนผู้หนึ่ง ซึ่งเราเศร้าสลดที่ต้องสูญเสียไปเช่นนั้น จงรับความเศร้าสลดและเห็นใจอย่างแท้จริงจากเราด้วย • ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2456 หนังสือพิมพ์ สเตรตส์ เอโก และหนังสือพิมพ์ปีนังกาเซ็ต ที่ตีพิมพ์ในปีนังก็ได้ลงบทความไว้อาลัยต่อการจากไปของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี พร้อมทั้งยกย่องว่าเป็นสมุหเทศาภิบาลที่ยอดเยี่ยมมมาก ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนทั้งในอดีตและอนาคต • ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองตรัง ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่บนเขารัง จังหวัดภูเก็ต

  7. สัญลักษณ์ประจำจังหวัดสัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ตราประจำจังหวัดตรัง ภาพสะพานกระโจมไฟ และภาพลูกคลื่นภาพสะพานกระโจมไฟ หมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าทำการค้าขายกับต่างประเทศภาพลูกคลื่น หมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูงๆ ต่ำๆ คล้ายลูกคลื่น

  8. ที่พัก • โรงแรมเรือรัษฎา - ดิไอเดียลเวนิวฟอร์มีทติ้ง อีเวนท์สถานที่ตั้ง : ตัวเมืองตรัง • โรงแรมธรรมรินทร์ ธนาสถานที่ตั้ง : ตัวเมืองตรัง  • โรงแรมเอสทูเอสควีนตรังสถานที่ตั้ง : ตัวเมืองตรัง  • อนันตรา สิเกา รีสอร์ท แอนด์ สปาสถานที่ตั้ง : ชายหาดปากเมง • ปากเมง รีสอร์ทสถานที่ตั้ง : ชายหาดปากเมง • มายาเล รีสอร์ท สถานที่ตั้ง : เกาะไหง

  9. ประเพณีในจังหวัดตรัง • ชิงเปรต • "ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วยผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลานลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น

  10. การเดินทาง • รถส่วนตัว • ตรังอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 828 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ทำได้ 2 ทาง คือ       1. ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ระยะทางประมาณ 617 กิโลเมตร และตรงมาตามทางหลวงแผ่นดินสาย 41 สู่อำเภอทุ่งสง ระยะทาง 133 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินสาย 403 สู่ห้วยยอดระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินสาย 4 อีก 28 กิโลเมตร ถึงตรัง รวมเป็นระยะทาง 828 กิโลเมตร       2. ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ มาตามทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงชุมพร แยกเข้า ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง รวมระยะทาง 1,020 กิโลเมตร 

  11. รถไฟ • สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ มีรถด่วนและรถเร็วออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีตรังทุกวัน วันละ 2 ขบวน • กรุงเทพฯ - ตรังรถด่วนออก 17.05 น.ถึง 7.55 น.รถเร็วออก 18.20 น.ถึง 10.20 น.ตรัง - กรุงเทพฯรถเร็วออก 13.25 น.ถึง 5.15 น.รถด่วนออก 17.20 น.ถึง 8.25 น.

  12. รถทัวร์ • จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดตรังทุกวันบจก.ขนส่ง 99  (บขส.) โทรศัพท์ (กรุงเทพฯ) 0 2435 5605 (ตรัง) 0 7521 0455 • กรุงเทพฯ - ตรังรถมาตรฐาน 1 ก (VIP) [24 ที่นั่ง]969 บาท ออก19:00 น.ถึง7:00 น.  ออก19:30 น.ถึง7:30 น. รถปรับอากาศ ม.2 [50 ที่นั่ง]623 บาท ออก19:30 น.ถึง7:30 น.  • ตรัง - กรุงเทพฯรถมาตรฐาน 1 ก (VIP) [24 ที่นั่ง]969 บาท ออก17:00 น.ถึง5:00 น.  ออก17:30 น.ถึง5:30 น. รถปรับอากาศ ม.2 [50 ที่นั่ง]623 บาท ออก16:30 น.ถึง4:30 น. สำรองที่นั่ง :http://www.transport.co.th

  13. กรุงเทพฯ - ตรัง     รถปรับอากาศชั้น 1  ออก18:20 น.ถึง6:00 น.  ออก19:50 น.ถึง7:30 น. รถปรับอากาศ 32 ที่นั่ง  ออก18:50 น.ถึง6:30 น. รถปรับอากาศ VIP 24 ที่นั่ง  ออก19:00 น.ถึง7:00 น.  • ตรัง - กรุงเทพฯ       รถปรับอากาศชั้น 1  ออก17:30 น.ถึง5:30 น. รถปรับอากาศ 32 ที่นั่ง  ออก17:30 น.ถึง5:30 น. รถปรับอากาศ VIP 24 ที่นั่ง  ออก17:00 น.ถึง5:00 น.  ออก17:30 น.ถึง5:30 น. 

  14. เครื่องบิน • กรุงเทพฯ- ตรัง       โทร. 1318 • วันเดินทาง เที่ยวบิน ออก ถึง • ทุกวัน DD740007:3008:50 • ทุกวัน DD740109:2010:40 • ตรัง - กรุงเทพฯ       โทร. 1318 • วันเดินทาง เที่ยวบิน ออก ถึง • ทุกวัน DD741014:2015:40 • ทุกวัน DD741116:3017:50

  15. กรุงเทพฯ- ตรัง       โทร. 02-5159999 • วันเดินทาง เที่ยวบิน ออก ถึง • ทุกวัน FD3191 09:0010:20 • ทุกวัน FD319517:1518:30 • ตรัง - กรุงเทพฯ       โทร. 02-5159999 • วันเดินทาง เที่ยวบิน ออก ถึง • ทุกวัน FD319211:0012:20 • ทุกวัน FD319618:5520:10

More Related