1 / 6

รายงานสถานการณ์การระบาด 46 จังหวัด

สถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง. รายงานสถานการณ์การระบาด 46 จังหวัด. พบพื้นที่การระบาด 25 จังหวัด รวม 88 , 529 ไร่

Download Presentation

รายงานสถานการณ์การระบาด 46 จังหวัด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง รายงานสถานการณ์การระบาด 46จังหวัด พบพื้นที่การระบาด 25จังหวัดรวม88,529 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังยืนต้นทั้งประเทศ(9,023,871 ไร่)โดยมีพื้นที่ระบาดลดลง 23,451 ไร่หรือลดลงร้อยละ 20.94 เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ระบาดสัปดาห์ที่ผ่านมา(111,980 ไร่) ระหว่างวันที่ 16 – 22 มิ.ย. 54 จังหวัดที่พบการระบาดเพิ่มขึ้นได้แก่ อุทัยธานีและสระบุรี พื้นที่ระบาดจำแนกตามอายุมันสำปะหลัง 1 – 4 เดือน 37,050 ไร่ มากว่า 4 – 8 เดือน 46,318 ไร่ มากกว่า 8 เดือน 5,161 ไร่ จังหวัดที่พบการระบาดลดลงได้แก่ นครราชศรี ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี พิษณุโลก ชัยภูมิ ราชบุรี สุรินทร์ เลยและมุกดาหาร

  2. ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดลดลงหรือเพิ่มขึ้น จากต้นเดือน พ.ค. 54 เป็นต้นมา มีฝนตกต่อเนื่องทุกพื้นที่ที่ปลูกมันสำปะหลัง สภาพอากาศความชื้นสูง สภาพไม่เหมาะกับการขยายพันธุ์และการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง และมันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดี ทำให้พื้นที่การระบาดของเพลี้ยแป้งฯลดลง ผลการปล่อยแมลงช้างและแตนเบียน Anagyrus lopezi อย่างต่อเนื่องและศัตรูธรรมชาติทั้งสองชนิดสามารถทำลายเพลี้ยแป้งฯได้ดี จึงทำให้ปริมาณเพลี้ยแป้งลดลง เก็บเกี่ยวผลผลิตและในพื้นที่ที่ต้นมันสำปะหลังได้รับความเสียหาย เกษตรกรได้ทำการไถเตรียมดินเพื่อปลูกใหม่ ทำให้พื้นที่การระบาดลดลง ในบางจังหวัดยังมีพื้นที่แห้งแล้ง จึงพบการระบาดของเพลี้ยแป้งเพิ่มขึ้น การคาดการณ์ • จากสภาพอากาศสัปดาห์ที่ผ่านมาและอีก 7 วันข้างหน้า ในพื้นที่ทึ่มีฝนตกต่อเนื่อง มันสำปะหลังแตกยอดใหม่เจริญเติบโตได้ดีและปริมาณเพลี้ยแป้งสีชมพูลดลง แต่ควรเฝ้าระวังต่อไปอย่างต่อเนื่อง • สำหรับเพลี้ยแป้งสีเขียวและเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียส อาจมีปริมาณเพิ่มขึ้น • - ส่วนในพื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีฝนตก การระบาดของเพลี้ยแป้งสีชมพูจะยังคงมีอยู่

  3. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 1. จัดส่งสารเคมีแช่ท่อนพันธุ์(ไทอะมิโทแซม 25% wp) ให้ 46 จังหวัดเรียบร้อยแล้วจำนวน 65152.40 กก. 2. ปล่อยแตนเบียน 3. ปล่อยแมลงช้างปีกใส 4. ความก้าวหน้าในการใช้ ITตามโครงการฯ โดยใช้ GPS 3 จังหวัดนำร่องได้แก่ จ.กาญจนบุรี อ.เลาขวัญ จ.นครราชศรีมา อ.ด่านขุนทดและจ.กำแพงเพชร อ.ปรางค์ศิลาทอง อยู่ในระหว่างจับพิกัดพื้นที่ดำเนินการ 5. ดำเนินการจัดตั้ง ศจช. เพื่อเฝ้าระวังในพื้นที่ 46 จังหวัดเพิ่มอีก 377 ศูนย์ การปล่อยแตนเบียนของหน่วยงานราชการและเอกชน จากวันที่ 1 ก.พ. 53 – 22 มิ.ย. 54 รวมปล่อยทั้งหมด 5,371,236 คู่ ควบคุมพื้นที่ระบาด 107,424.72 ไร่ กรมส่งเสริมการเกษตร2,902,264 คู่สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง 1,306,740 คู่ กรมวิชาการเกษตร 396,385 คู่โรงแป้งมันฯ 10 บริษัท 765,847 คู่ การปล่อยแมลงช้างปีกใส ของกรมส่งเสริมการเกษตร จากวันที่ 1 ธ.ค. 53 – 22 มิ.ย. 54 รวมปล่อยทั้งหมด 3,014,068 ตัว ควบคุมพื้นที่ระบาด 30,140.68 ไร่ ผลการปล่อยจากการประเมินผลการปล่อยศัตรูธรรมชาติทั้ง 2 ชนิด หลังปล่อย 1 เดือน พบว่าปริมาณเพลี้ยแป้งในพื้นที่ปล่อยลดลง และพบแตนเบียนออกจากมัมมี่เพลี้ยแป้งจากยอดที่สุ่มไว้ แสดงว่าแตนเบียนมีประสิทธิภาพในการเข้าทำลายเพลี้ยแป้งได้ดีทั้งนี้ยังพบปริมาณไข่แมลงช้างปีกใสในธรรมชาติเพิ่มขึ้นด้วย

  4. แนวทางการควบคุมการระบาดเพลี้ยแป้งแนวทางการควบคุมการระบาดเพลี้ยแป้ง แผนการเฝ้าระวัง - ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนสำรวจติดตามติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1 ครั้งจากแปลงติดตามสถานการณ์ แผนการเตือนภัย - เมื่อสำรวจพบเพลี้ยฯมีแนวโน้มการระบาดให้ประกาศเตือนภัยทางหอกระจายข่าวและวิทยุท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แนวทางการควบคุมเพลี้ยแป้งด้วยวิธีผสมผสาน 1. หลังการเก็บเกี่ยว ให้เก็บซากต้นมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งเผาทำลาย 2. ไถตากดินอย่างน้อย 14 วัน ก่อนปลูกใหม่ 3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนปลูก 4. ถ้าพบเพลี้ยแป้งที่ยอดมันสำปะหลังให้เก็บมาทำลาย 5. หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลิตขยายแตนเบียน AnagyrusLopeziและแมลงช้างปีกใส สนับสนุน ศจช.เพื่อปล่อยควบคุม

  5. แผนการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติแผนการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติ

More Related