1 / 44

โดย ดร. วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการประมงต่างประเทศ กรมประมง

การเปิดเสรีการลงทุน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาเซียน. โดย ดร. วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการประมงต่างประเทศ กรมประมง. การค้าสินค้าประมงไทยกับอาเซียน. มูลค่าการค้ากับกลุ่ม ASEAN 23,705 ล้านบาท ( 8% ของทั้งหมด) นำเข้าจากกลุ่ม ASEAN 11,755 ล้านบาท ( 17% ของทั้งหมด)

dirk
Download Presentation

โดย ดร. วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการประมงต่างประเทศ กรมประมง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาเซียนการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาเซียน โดย ดร. วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการประมงต่างประเทศ กรมประมง

  2. การค้าสินค้าประมงไทยกับอาเซียนการค้าสินค้าประมงไทยกับอาเซียน • มูลค่าการค้ากับกลุ่ม ASEAN23,705 ล้านบาท (8% ของทั้งหมด) • นำเข้าจากกลุ่ม ASEAN 11,755 ล้านบาท (17% ของทั้งหมด) • ส่งออกไปกลุ่ม ASEAN 11,950 ล้านบาท (5% ของทั้งหมด) 3

  3. การค้าสินค้าประมงที่สำคัญการค้าสินค้าประมงที่สำคัญ (ส่งออก) (นำเข้า)

  4. กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (the Framework Agreement on ASEAN Investment Area: AIA) - มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2541 ไทยต้องเปิดเสรีลงทุนในกิจการที่สงวนไว้ชั่วคราว (TEL) ๓ สาขา ได้แก่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำไม้จากป่าปลูก และการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธ์พืช ภายใน 1 มกราคม 2553 โดยอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนสามารถเข้ามาถือหุ้นประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในไทยได้สูงสุด 100% ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) เป็นความตกลงฉบับใหม่ ลงนามเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในต้นปี 2555 กำหนดให้สมาชิกอาเซียนเปิดเสรีการลงทุนตามความสมัครใจ โดยเลือกเปิดในสาขาการลงทุนที่มีความพร้อมตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน AEC Blueprint แต่ทั้งนี้ สมาชิกจะต้องเปิดตลาดการลงทุนไม่น้อยกว่าพันธกรณีที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลง AIA เดิม พันธกรณีการเปิดเสรีการลงทุนสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้ความตกลงของอาเซียน 5

  5. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถือเป็นอาชีพสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำและแหล่งรายได้ที่สำคัญของไทย มีเกษตรกรรายย่อย 80-90% ที่ต้องพึ่งพิงรายได้จากการเพาะเลี้ยงเป็นรายได้หลัก ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยรวม ปี 2551 จำนวน 1.37 ล้านตัน หรือ 42% ของผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมด มีมูลค่าผลผลิต 78,023 ล้านบาท ปี 2553 มีฟาร์มเพาะเลี้ยงน้ำจืดกระจายทั่วประเทศ 547,178 ฟาร์ม โดย 80% เป็นฟาร์มขนาดเล็ก และ 20% เป็นฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทำการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดย ปี 2553 มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 29,000 ฟาร์ม ซึ่ง85% เป็นผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย ซึ่งได้พัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงอย่างต่อเนื่องโดยมีการใช้เทคโนโลยีเฉพาะที่ก้าวหน้า ผลผลิตเฉลี่ย 500,000 ตัน/ปี โดยผลผลิตกว่า 90% ส่งออก การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน 6

  6. เมื่อกลางปี 2552 เนื่องจากมีเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องของไทยได้แสดงความกังวลว่าการเปิดเสรีดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ไทยมีการพิจารณาทบทวนการเปิดเสรีดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 เห็นชอบให้ชะลอการเปิดเสรีการลงทุนตามรายการยกเว้นชั่วคราว (TEL) ในกิจการ 3 สาขา คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะขยายและการปรับปรุงพันธุ์พืช และการทำไม้จากป่าปลูก การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 7

  7. ส่งผลให้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ไทยยังไม่ได้เปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้กับนักลงทุนอาเซียน แต่อย่างไร ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางและผลกระทบในการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) และความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA) โดยมีเลขาธิการ BOI เป็นประธาน และมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและกรมประมงร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาแนวทางการเปิดเสรีการลงทุน 3 สาขาดังกล่าว และแนวทางในการรองรับและเยียวยาผลกระทบจากการเปิดเสรีดังกล่าว พร้อมทั้งให้มีการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนใน 3 สาขา ดังกล่าว การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 8

  8. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีสมาชิกหลายประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ตามพันธกรณีดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนอาเซียน (CCI) เมื่อมีนาคม 2553 จึงมีมติให้ผ่อนปรนการเปิดเสรีฯ โดยเห็นชอบให้สมาชิกประเทศอาเซียนสามารถนำรายการยกเว้นชั่วคราว (TEL) ภายใต้ความตกลง AIA ที่เดิมผูกพันให้ต้องเปิดเสรีการลงทุนภายใน 1 มกราคม 2553 มาทยอยเปิดเสรีเพิ่มขึ้น โดยผ่อนปรนข้อจำกัดต่างๆ ให้กับนักลงทุนอาเซียนมากขึ้น เป็นระยะ ๆตามกรอบระยะเวลาภายใต้ความตกลง ACIAโดยกำหนดระยะเวลาอย่างช้าที่สุดภายในปลายปี 2557 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ และภายในปลายปี 2558 สำหรับลาวและพม่า การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 9

  9. จากแนวทางดังกล่าวของอาเซียน ไทยเห็นควรเปิดเสรีการลงทุนในสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เฉพาะใน 2 สาขาย่อย คือ 1) สาขาการเพาะเลี้ยงทูน่าในกระชังน้ำลึก 2) สาขาการเพาะเลี้ยงกุ้งล็อบสเตอร์ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นในประเทศไทย ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ (6 ชนิดพันธุ์) ก่อน โดยเปิดให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาถือหุ้นในกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2 สาขาย่อยดังกล่าว ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 51 และ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนด ซึ่งคาดว่าไทยจะต้องเปิดเสรีการลงทุนสัตว์น้ำทั้ง 2 สาขาดังกล่าวภายในต้นปี 2555 นี้ การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 10

  10. เนื่องจากสัตว์น้ำทั้ง 2 ชนิด เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง และต้องใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงขั้นสูง ซึ่งไทยยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ ดังนั้น การให้เปิดเสรีให้อาเซียนเข้ามาลงทุนในสาขาดังกล่าวจะช่วยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยและทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงฯ ต่อไป แนวทางการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน 2 สาขาย่อย ดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในอนาคต (ภายในปี 2557) ไทยอาจจะต้องเปิดเสรีให้นักลงทุนอาเซียนสามารถเข้ามาถือหุ้นประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งหมดได้ 100 % การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 11

  11. โครงสร้างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยปี ๒๕๕๑ รวม 1,374,024 ตัน

  12. โครงสร้างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยปี ๒๕๕๓ รวม 547,178 ฟาร์ม 80% เป็นฟาร์มขนาดเล็ก

  13. โครงสร้างการเพาะเลี้ยงของไทยแยกตามชนิดสัตว์น้ำโครงสร้างการเพาะเลี้ยงของไทยแยกตามชนิดสัตว์น้ำ

  14. เพื่อเป็นการรองรับพันธกรณีการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยภายใต้กรอบอาเซียน และเพื่อให้มีการพิจารณากำหนดแนวทางเพื่อเตรียมรองรับการเปิดเสรีการลงทุนในอนาคตกรมประมงได้จัดจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระยะที่ 1 ในปี 2554 เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดทิศทาง และนโยบายการตัดสินใจต่อการเปิดเสรีการลงทุน รวมทั้งการจัดทำมาตรการรองรับและการเยียวยาผลกระทบ โดยใช้งบประมาณกรมประมงจำนวน 2 ล้านบาท กรมประมงมีแผนจะดำเนินการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนฯ ระยะที่ 2 ปี 2555 โดยเน้นการศึกษาการออกทางกฎหมายเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีดังกล่าว การศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้กรอบอาเซียน 15

  15. สาระสำคัญของการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้กรอบอาเซียน ระยะที่ 1 ทำการศึกษาโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) 16

  16. ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของประเทศอาเซียนความได้เปรียบเชิงแข่งขันของประเทศอาเซียน ที่มา:TDRI 17

  17. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลกระทบทางบวก 1. สร้างรายได้ สร้างการจ้างงานในภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ /อุตสาหกรรม ต่อเนื่อง 2. เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในไทย 3. การถ่ายโอนเทคโนโลยี (กรณีที่มีไทยร่วมทุนด้วย) ซึ่งมีส่วนช่วย สนับสนุนการพัฒนาภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย

  18. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ผลกระทบทางลบ • ด้านเศรษฐกิจ • ผลกระทบต่อราคาสัตว์น้ำที่ผลิตในประเทศ โดยเกษตรกรไทย • เพิ่มความยากลำบากในการจัดการ/กำหนดปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำ ( Balanced Demand – Supply) ในประเทศ • ผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันเกษตรไทย โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย

  19. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ผลกระทบทางลบ (ต่อ) • ด้านสังคม • ผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร อาทิ เกษตรกร ต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ หรือ เปลี่ยนจากสถานภาพผู้ประกอบการเป็นลูกจ้าง และอาจต้องขายที่ดินทำกินของตนเองไป • ต่างชาติเข้ามาถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยใช้ Nominee • ปัญหาการจ้างแรงงานข้ามชาติ

  20. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ผลกระทบทางลบ (ต่อ) • ด้านสิ่งแวดล้อม • ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหากขาดการควบคุมที่ดี • ปัญหาโรคระบาดสัตว์น้ำ • 9. ปัญหาสัตว์น้ำชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) • 10. ผลกระทบต่อการเข้าถึงทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ

  21. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเด็นที่ ๑ : เกษตรกรรายย่อยด้อยความสามารถในการแข่งขัน ขาดแคลนเงินทุนและเทคโนโลยี มาตรการที่ ๑.๑เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรรายย่อย จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการเพาะเลี้ยงและการบริหารจัดการฟาร์มและการแปรรูป ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยเน้นร่วมมือกับชุมชน มาตรการที่ ๑.๒เสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกร ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร พัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำธุรกิจเพาะเลี้ยง/แปรรูป/ค้าสัตว์น้ำ เพิ่มโอกาสทางการตลาด สร้างระบบคลัสเตอร์ภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  22. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๑ : เกษตรกรรายย่อยด้อยความสามารถในการแข่งขัน ขาดแคลนเงินทุนและเทคโนโลยี (ต่อ) มาตรการที่๑.๓ จัดทำระบบประกันภัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่๑.๔จัดตั้งกองทุนรองรับผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นกับเกษตรกร (จัดตั้งกองทุนใหม่ หรือใช้ประโยชน์จากกองทุนที่มีอยู่เดิม)

  23. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๒ : การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มาตรการที่๒.๑ ส่งเสริมการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่ม

  24. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๓ : การให้ความรู้และข้อมูลการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่ ๓.๑ เผยแพร่ข้อมูล โดยจัดประชุมสัมมนาระหว่างเกษตกร ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดเสรีฯ และการดำเนินการของภาครัฐ มาตรการที่ ๓.๒เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อที่เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ มาตรการที่ ๓.๓จัดประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ ผู้นำกลุ่มเกษตรกร ผู้นำท้องถิ่นผ่านตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่น ในการกำหนดแนวทางตั้งรับและใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ

  25. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๔ : การแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทย และการปกป้องเกษตรกรรายย่อย มาตรการที่ ๔.๑ แยกการเพาะเลี้ยงเป็นสองระดับ คือ 1) การเพาะเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อย ที่ผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศ ซึ่งต้องการการปกป้อง และการสร้างความสามารถในการผลิต กลุ่มนี้จะยังไม่ถูกบังคับด้วยเงื่อนไขการลงทุน และ 2) ผู้ประกอบการรายใหญ่เพื่อการส่งออก โดยให้เฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ ต้องทำตามเงื่อนไขการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่กำหนด เช่น การจัดทำแผนการลงทุน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เป็นต้น เพื่อปกป้องผลกระทบทางลบที่จะเกิดกับเกษตรกรรายย่อย

  26. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๔ : การแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทย และการปกป้องเกษตรกรรายย่อย มาตรการที่ ๔.๒กำหนดเงื่อนไขการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยยึดหลักการคุ้มครองเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย และวิถีชุมชน โดยกระจายอำนาจให้องค์การปกครองท้องถิ่น (อปท.) บริหารจัดการร่วมกับกรมประมง และควรรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน มาตรการที่ ๔.๓ร่วมมือกับ อปท. ในการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ ให้ อปท. มีบทบาทในการพิจารณาให้นักลงทุนเข้ามาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  27. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๕ : ผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร มาตรการที่ ๕.๑กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติ/ผู้ประกอบการรายใหญ่ ต้องทำแผนการลงทุน การเลือกพื้นที่ วิธีการเลี้ยง การดำเนินงาน การจ้างงาน การลงทุน และการจำหน่ายผลผลิต การประเมินผลกระทบ EIA , SIA, HIA พร้อมทั้งเสนอแนะทางแก้ไขผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น มาตรการที่ ๕.๒ กำหนดมาตรการเงื่อนไขการเข้ามาลงทุน โดยยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาจยกเว้น การทำ EIA, SIA, HIA สำหรับเกษตรกร/ผู้ประกอบการรายย่อย มาตรการที่ ๕.๓ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการใช้ทรัพยากรในพื้นที่

  28. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่๖ : ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดิน มาตรการที่ ๖.๑บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการถือครองที่ดินที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ มาตรการที่ ๖.๒กระจาย/ถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีส่วนร่วมกำกับดูแลการเข้ามาใช้ที่ดิน

  29. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๗ : การกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของนักลงทุนอาเซียน/ต่างชาติ มาตรการที่ ๗.๑ กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องขึ้นทะเบียนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และให้มีหน่วยงานหลัก คือ กรมประมง ทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์การพิจารณามาตรการและกำกับดูแลการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่ ๗.๒ กำหนดมาตรการโดยยึดหลักการคุ้มครองเกษตร/ผู้ประกอบการรายย่อย และวิถีชุมชนท้องถิ่น โดยกระจายอำนาจให้ อปท. บริหารจัดการร่วมกับกรมประมง และควรรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน

  30. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๗ : การกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยคนต่างชาติ มาตรการที่ ๗.๓กำหนดมาตรการโดย ยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยแยกการเพาะเลี้ยงเป็นสองระดับ ระดับแรก เป็นการเพาะเลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อย เพื่อการบริโภคในประเทศ และระดับที่สอง เป็นการเพาะเลี้ยงโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งเพาะเลี้ยงเพื่อส่งออก ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการนี้

  31. แนวทางการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแนวทางการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทยอยเปิดให้ลงทุนในสาขาที่ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงที่ไทยยังไม่มี และ/หรือ ต้องการพัฒนาเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้งมังกร และทูน่าในกระชังน้ำลึก ที่ไทยได้เสนอไปแล้ว จากผลการศึกษาของ TDRI ในเบื้องต้นสัตว์น้ำที่จะมีโอกาสเปิดให้ ต่างชาติมาลงทุนคือ ปลากะรัง ปลานิลแดง และกุ้งขาว ?? หลังจากเปิดเสรีการลงทุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนแล้ว ๓ ปี ควรมีการ ทบทวนผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งประเทศ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หากมีผลเสียมากกว่าผลดี ควรดำเนินการ เจรจาในระดับอาเซียนเพื่อขอยกเลิกการเปิดเสรีในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  32. สรุปแนวทาง/มาตรการกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรณีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย • Zoning ตาม capacity ประสานงาน กรมประมง และ อปท. • แผนการลงทุน พิจารณาโดย กรมประมง และ อปท. + Public hearing • Maximum capital • ผลตอบแทนท้องถิ่น • การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้รายย่อย • พ.ร.บ. ท้องถิ่น / อบจ. / สภาตำบล / สาธารณสุข • ไม่อนุญาตให้พื้นที่สาธารณประโยชน์ - อปท. • พื้นที่เอกชน – กรมประมง และ อปท. • ให้ความสำคัญแก่การลงทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อ ชุมชนก่อน กำหนดมาตรการ โดยยึดหลักการคุ้มครองวิถีชุมชน และเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย

  33. สรุปแนวทาง/มาตรการกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรณีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย (ต่อ) • กำหนดขนาดที่จะควบคุมและอนุญาตให้ ต่างชาติลงทุน • กำหนด Invasive alien species • แผนการลงทุน EIA, SIA, HIA • กำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อม • การใช้ GAP HACCP การทำ Traceability โดยใช้มาตรฐานส่งออกสำหรับขนาดฟาร์ม ที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน กำหนดข้อสงวนโดยยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  34. โอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นโอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น • กุ้ง - พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย บรูไน • สวาย - กัมพูชา เวียดนาม • ปลานิล / ปลาทับทิม – ลาว ฟิลิปปินส์ ที่ทำอยู่แล้ว • พม่า – รัฐบาลทหาร • กัมพูชา – การเมืองการปกครอง • ลาว - ชุมชน ปัญหา • โลจิสติคส์ • ต้นทุนอาหารและพันธุ์สัตว์น้ำ สำหรับการเลี้ยงเพื่อส่งออก ปัญหาโดยรวม

  35. โอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น (ต่อ) ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ที่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนไทยควรเข้าไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ พม่า ลาว (กัมพูชา) บูรไน อินโดนีเซีย (ภายใต้ IMT-GT)

  36. โอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น (ต่อ) • การให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการไทย • พื้นที่ และชนิด การเพาะเลี้ยง • นโยบาย กฎระเบียบ ขั้นตอน • โอกาส • พม่า – ศักยภาพด้านพื้นที่ และทรัพยากร • ลาว – ประสานงาน ระดับชุมชน • บรูไน - เปิดรับการลงทุน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • โครงการนำร่อง • รัฐประสานงาน นำเอกชนดูงาน • ประสานการลงทุน รัฐ - เอกชน

  37. ประเทศอาเซียนที่มีศัยกภาพและคาดว่าจะเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย สิงคโปร์: ประเทศมีศัยกภาพด้านเงินทุน และไม่มีพื้นที่ในการเพาะเลี้ยง จึงใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนเพื่อผลิตสัตว์น้ำ มาเลเซีย:ประเทศมีศักยภาพด้านการลงทุน มีนโยบายและเป้าหมายการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำที่ชัดเจน เวียดนาม :เข้ามาลงทุนในเบื้องต้น เพื่อนำเอาความรู้และเทคโนโลยีที่ไปใช้ในประเทศตน

  38. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! ก) ด้านการเตรียมการกำกับดูแลการลงทุนอาเซียนในประเทศไทย 1) รวมรวมและเผยแพร่กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2) จัดทำเกณฑ์พิจารณาการให้อนุญาต (เชิงเทคนิค) การเข้ามาลงทุนโดยต่างชาติแล้วแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ BOI ทราบ 3) จดทะเบียนเพื่อกำกับดูแลและติดตามให้ปฏิบัติและเป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้ กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  39. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ก) ด้านการเตรียมการกำกับดูแลการลงทุนอาเซียนในประเทศไทย (ต่อ) 4) ประสานกับ อปท. ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 5) ประสานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเกษตรกร กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  40. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ข) ด้านการเตรียมการให้นักลงทุนไทยเพื่อการลงทุนในอาเซียน 1) ประสานงานกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เพื่อรวบรวมข้อมูล กฎระเบียบ ขั้นตอนการขอเข้าไปลงทุนและเผยแพร่ให้แก่นักลงทุนไทย เพื่อเป็นแนวทางในการลงทุน 2) จัดโครงการนำร่องนำนักลงทุนที่สนใจ เข้าไปสังเกตพื้นที่และโอกาสการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น อาทิ พม่า กัมพูชา ลาว บรูไน อินโดนีเซีย 3) ประสานงานกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีร่วมกัน รวมถึงพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมและยั่งยืนในภูมิภาค กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  41. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ค) ด้านการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง 1) ให้ข้อมูลการเปิดเสรีการลงทุนแก่เกษตรกร 2) ฝึกอบรมเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่มีต้นทุนต่ำและผลผลิตสูงได้คุณภาพให้แก่เกษตรกรรายย่อย 3) จัดประชุม/สัมมนา/ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาการรวมกลุ่มให้แก่เกษตรกรเพื่อพัฒนาศักยภาพการพัฒนาในธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  42. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ง.) ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากรภาครัฐ 1) จัดประชุม/สัมมนา/ฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเปิดเสรีการลงทุน เพื่อสามารถเตรียมการองรับและเยียวยาผลกระทบฯ 2) กรมประมงจัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อจัดทำมาตรการรองรับ การเปิดเสรีการลงทุนทั้งที่อาเซียนเข้ามาลงทุนในไทย และที่ไทยไปลงทุนในอาเซียน กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  43. ขอขอบคุณค่ะ 44

More Related