1 / 93

เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ : แนวคิด นโยบายและแนวปฏิบัติ

เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ : แนวคิด นโยบายและแนวปฏิบัติ. โดย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา (ดร.วราภรณ์ สีหนาท) วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตมีคุณภาพ พัฒนาชาติยั่งยืน. สภาพการณ์และประเด็นท้าทาย.

shadow
Download Presentation

เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ : แนวคิด นโยบายและแนวปฏิบัติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ: แนวคิด นโยบายและแนวปฏิบัติ โดย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา (ดร.วราภรณ์ สีหนาท) วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น

  2. บัณฑิตมีคุณภาพ พัฒนาชาติยั่งยืน

  3. สภาพการณ์และประเด็นท้าทายสภาพการณ์และประเด็นท้าทาย ความคาดหวังของสังคมต่อสถาบันอุดมศึกษา/บัณฑิต ความร่วมมือกับต่างประเทศ (Co-operative) ความเจริญทางเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา + Co-opetitive การขยายตัวและความหลากหลายของสถาบันอุดมศึกษา การแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเท(Competitive) การเคลื่อนย้ายและความต้องการของนักศึกษา 3

  4. การเคลื่อนไหวในต่างประเทศการเคลื่อนไหวในต่างประเทศ ประเทศต่างๆในทวีปยุโรป • Bologna process • European Qualifications Framework (EQF) • National Qualifications Framework (NQF) ประเทศอื่นๆ เช่น อัฟริกาใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ ประเทศไทย เป็นต้น 4

  5. Status of NQFs in the Asia-Pacific Region Source : DEEWR. (March,2008) p.16 5

  6. Status of Implementation of NQFs (worldwide) Source : DEEWR, (March ; 2008) 1st generation: implementation started between the late 1980s and mid 1990s 2nd generation: implementation and development started in the late1990s or early 2000s 3rd generation: currently under consideration 6

  7. แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศไทยแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศไทย • การกำหนด “คุณสมบัติ” หรือลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา โดยคำนึงถึง - พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 - ปรัชญาการศึกษา – มิติความดี + ความงาม + ความจริง - ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ความต้องการของนักศึกษา - การเปลี่ยนแปลงของสังคม – สังคมไทย สังคมโลก • การกำหนดระดับความรู้ ความสามารถ และทักษะ • การกำหนดวิธีการผลิตบัณฑิต และวิธีการประเมินคุณสมบัติ 7

  8. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(Thai Qualifications Framework for Higher Education ; TQF : HEd) หมายถึง กรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ การแบ่งสายวิชา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 8

  9. บัณฑิตมีคุณภาพ พัฒนาชาติยั่งยืน ตราสัญลักษณ์ของปีแห่งคุณภาพการอุดมศึกษาไทย เป็นรูปคน 5 คน ผนึกกำลังกันอย่างเหนียวแน่น ได้มาจากแนวคิดของการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) (TQF:HEd) โดยมุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของผู้เรียนซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพ เพื่อประกันคุณภาพบัณฑิตและสื่อสารให้หน่วยงาน รวมทั้ง ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและมั่นใจถึงกระบวนการผลิตบัณฑิต โดยกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ซึ่งเป็นผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษาไว้ ๕ ด้าน จึงกำหนดสีให้แต่ละคน เป็นตัวแทนของมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) 9

  10. บัณฑิตมีคุณภาพ พัฒนาชาติยั่งยืน • ด้านคุณธรรม จริยธรรม แทนด้วยสีเหลือง • ด้านความรู้ แทนด้วยสีส้ม • ด้านทักษะทางปัญญา แทนด้วยสีเขียว • ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แทนด้วยสีน้ำเงิน • และความรับผิดชอบ • ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข แทนด้วยสีฟ้า • การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 10

  11. กลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้กลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) สื่อด้วยสี ความหมาย สีเหลือง คือ สีที่แสดงถึงการกพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถใน การปรับวิถิชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตน ตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม คุณธรรม จริยธรรม สีส้ม คือ สีของวันพฤหัสบดีถือว่าเป็นวันครู เป็นสีที่แสดงถึงความสามารถในการ เข้าใจ การนึกคิด และการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริง ในหลักการ ทฤษฏี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ หมายรวมถึงความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ และความรู้จากภูมิปัญญาไทย ความรู้ สีเขียว คือ สีที่แสดงถึงธรรมชาติความเจริญเติบโต และการอยู่รอดในโลก แสดงถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจ ในแนวคิด หลักการ ทฤษฏี และกระบวนการต่างๆในการคิดวิเคราะห์และ การแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ สีน้ำเงิน คือ สีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นสีที่แสดงถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและ รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ สีฟ้า คือ สีที่แสดงถึงการมีอิสระในการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติความสามารถ ด้านภาษา การสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 11

  12. หลักการสำคัญของ TQF ๑. เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การจัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ๒. มุ่งเน้นที่ Learning Outcomes ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อ ประกันคุณภาพบัณฑิต ๓. มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและ การจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน ๔. เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและ ความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี 12

  13. หลักการสำคัญของ TQF (ต่อ) ๕. มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใดๆของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้กับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งใน และต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัด หลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิตซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ เป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง ๖. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 13

  14. วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ TQF ๑. เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชาของคุณวุฒิในระดับต่างๆ ๒. เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองโดยบัณฑิตในสาขา/สาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้นๆ ๓. เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations) ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข็งและความพร้อมในการจัดการศึกษา 14

  15. นโยบาย 15

  16. ระดับนโยบาย แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานที่ ๒ : แนวการจัดการศึกษาจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบริหารโดยใช้สถานศึกษา เป็นฐาน มาตรฐานที่ ๓ : แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ การสร้างวิถีการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง มาตรฐานที่ ๑ : คุณลักษณะของคนไทยที่ พึงประสงค์ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข มาตรฐาน การศึกษาปฐมวัย สพฐ. มาตรฐาน การอาชีวศึกษา สอศ. มาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. มาตรฐานการอุดมศึกษา สกอ. 16

  17. ระดับนโยบาย ระดับการนำไปสู่การปฏิบัติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการบริหาร จัดการการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาที่ ๑ มาตรฐานคุณวุฒิ สาขา/สาขาวิชาที่ ๒ สกอ. มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/ สาขาวิชาที่ ๓ รายละเอียดของหลักสูตร(Programme Specification) แต่ละสาขาวิชาของสถาบันฯต่างๆ ม/ส 17

  18. มาตรฐานการอุดมศึกษา (๓ มาตรฐาน) ๑.คุณภาพบัณฑิต ๒.การบริหารจัดการ การอุดมศึกษา (๒ มาตรฐาน) ๓.การสร้างและพัฒนา สังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ ๒.๑.ธรรมาภิบาลของการบริหาร การอุดมศึกษา ๒.๒.พันธกิจของการบริหาร การอุดมศึกษา 18

  19. ๑. มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต (๓ ตัวบ่งชี้) (๑) บัณฑิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน สามารถเรียนรู้ สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติงานและ สร้างงานเพื่อพัฒนาสังคมให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล (๒) บัณฑิตมีจิตสำนึก ดำรงชีวิต และปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม (๓) บัณฑิตมีสุขภาพดี ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ มีการดูแล เอาใจใส่ รักษาสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม 19

  20. ๒. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา • ๒.๑ มาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของการบริหารการอุดมศึกษา (๓ ตัวบ่งชี้) • (๑) มีการบริหารจัดการบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความยืดหยุ่น • สอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของประเภทสถาบันและสังคมเพื่อ • เพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีอิสระทางวิชาการ • (๒) มีการบริหารจัดการทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่มี • ประสิทธิภาพและประสิทธิผล คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้ มีการจัดการ • ศึกษาผ่านระบบและวิธีการต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าคุ้มทุน • (๓) มีระบบการประกันคุณภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน • การอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง 20

  21. ๒. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา (ต่อ) • ๒.๒ มาตรฐานด้านพันธกิจของการบริหารการอุดมศึกษา (๔ ตัวบ่งชี้) • (๑) มีหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัย ยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของประเภทสถาบันและสังคม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการเรียนรู้และการสร้างงานด้วยตนเองตามสภาพจริง ใช้การวิจัยเป็นฐาน มีการประเมินและใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการหลักสูตร ตลอดจนมีการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรและการเรียนการสอน 21

  22. ๒. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา (ต่อ) (๒) มีการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นการขยายพรมแดนความรู้และทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมตามศักยภาพของประเภทสถาบัน มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับนานาชาติของสังคมและประเทศชาติ (๓) มีการให้บริการวิชาการที่ทันสมัย เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของสังคมตามระดับความเชี่ยวชาญของประเภทของสถาบัน มีการประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของสังคมและประเทศชาติ 22

  23. ๒. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา (ต่อ) (๔) มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีการปรับใช้ศิลปะ วัฒนธรรมต่างประเทศอย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 23

  24. ๓. มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ (๒ ตัวบ่งชี้) (๑) มีการแสวงหา การสร้าง และการใช้ประโยชน์ความรู้ ทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทศ เพื่อเสริมสังคมฐานความรู้ (๒) มีการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการวิจัยแบบบูรณาการ หลักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการสร้างเครือข่าย และหลักการประสานความร่วมมือรวมพลัง อันนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ 24

  25. 25 25

  26. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 26 26

  27. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 27 27

  28. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 28 28

  29. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 29

  30. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 30

  31. 31 31

  32. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 32 32

  33. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 33 33

  34. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 34 34

  35. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ต่อ) 35 35

  36. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ การนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา ด้านการบริหารการจัดการ การอุดมศึกษา ด้านการสร้างและพัฒนาฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านคุณภาพบัณฑิต มาตรฐานคุณวุฒิระดับ....สาขา/สาขาวิชา...... 36

  37. ไม่ ติดตาม การดำเนินการ ตาม TQF ใช่ ๑ ใช่ เผยแพร่หลักสูตรที่ดำเนินการได้มาตรฐาน TQF ๑ กก.อ.กำหนดหลักเกณฑ์การปรับปรุง ประกาศ ศธ. เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ .พ.ศ. ๒๕๕๒ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ประกาศ กกอ. เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่างๆ เกณฑ์กำหนดชื่อปริญญา สกอ. ๕ปี หลักเกณฑ์การเทียบโอน เกณฑ์/แนวทางอื่น ๆ มหาวิทยาลัย สภาสถาบันอนุมัติ เสนอ วางแผนปรับปรุง + พัฒนา ๑ปี รายละเอียดของหลักสูตร (Programme Specification) เสนอ รายละเอียดของรายวิชาและภาคสนาม/ฝึกงาน (ถ้ามี) (Course + Field Experience Specifications) สกอ. รับทราบ หลักสูตรและ บันทึกไว้ในฐาน ข้อมูล รายงานประจำภาค /ประจำปีการศึกษา (Semester/Annual Programme Report) กระบวนการเรียนการสอน (ที่ทำให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง) รายงานรายวิชา (Course Reports) การวัดและประเมินผล มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ของนักศึกษา/บัณฑิต (POD Network) Teaching Unit การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม นักศึกษา/บัณฑิตได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (บัณฑิตมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้จ้างงานและสังคม) 37

  38. ทักษะ ทักษะ ความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ คุณธรรม หน่วยกิต ระหว่างบุคคล เชิงตัวเลข ขั้นต่ำ * จริยธรรม และความ และการใช้ รับผิดชอบ เทคโนโลยี สารสนเทศ ๑๒๐ ๑๕๐ ๑๘๐ ๕.ประกาศนียบัตรบัณฑิต ขั้นสูง ๔๘ หลัง ป.โทหรือ ๗๒ หลัง ป.ตรี หมายเหตุ :* ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร X เครื่องหมาย X ที่มีจำนวนมากน้อยต่างกัน หมายถึง การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ในลักษณะสะสมของแต่ละคุณวุฒิ ตารางความสัมพันธ์ระหว่างระดับคุณวุฒิ จำนวนหน่วยกิตขั้นต่ำ ของหลักสูตรและมาตรฐานผลการเรียนรู้ ความรู้ ทักษะทาง ระดับคุณวุฒิ ปัญญา การสื่อสาร ๑.อนุปริญญา (๓ ปี) ๒.ปริญญาตรี (๔ ปี) (๕ ปี) (๖ ปี) ๒๔ หลัง ป.ตรี ๓.ประกาศนียบัตรบัณฑิต ๓๖ หลัง ป.ตรี ๔.ปริญญาโท ๒๔ หลัง ป.โท ๖.ปริญญาเอก 38

  39. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๘ โครงสร้างหลักสูตร (ป.ตรี ๔ ปี)≥ ๑๒๐ หน่วยกิต ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป≥ ๓๐ หน่วยกิต ๑. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ๒. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ๓. กลุ่มวิชาภาษา ในสัดส่วนที่เหมาะสม ๔. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กับคณิตศาสตร์ ๒. หมวดวิชาเฉพาะ ≥ ๘๔ หน่วยกิต ๓. หมวดวิชาเลือกเสรี ≥ ๖ หน่วยกิต

  40. ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้สามารถคิดอย่างมี เหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนัก ในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติสามารถ นำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชา หรือ ลักษณะบูรณาการใด ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่ม วิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป โดยให้มี จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต วิชาศึกษาทั่วไปมีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยให้ ศึกษารายวิชาต่างๆ จนเกิดความซาบซึ้ง และสามารถติดตามความก้าวหน้าใน สาขาวิชานั้นได้ด้วยตนเอง

  41. “พระพรหมคุณาภรณ์เล่าความเป็นมาของวิชาศึกษาทั่วไปว่า สมัยก่อน เรียกว่า วิชาศิลปศาสตร์ มีมาตั้งแต่สมัยกรีก เป็นวิชาสำหรับเสรีชน หรือ ชนชั้นสูงที่จะเป็นผู้นำของสังคม เป็นวิชาที่ต้องใช้ความสามารถทางสติ ปัญญาในการศึกษา เป็นการศึกษาที่ยกระดับจิตใจต่างจากวิชาสำหรับ ข้าทาสซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับการใช้ฝีมือหรือแรงงาน” (คัดจาก บทความ “การปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล” เอกสารประกอบการนำเสนอหัวข้อ รูปแบบการจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยมหิดลในการ ประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการสร้างแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาตรีจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑) 41

  42. ปัจจุบันวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึงวิชาการทุกอย่างที่ให้ความรู้ ทั่วไป นอกเหนือจากวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ มักแบ่งเป็น ๓ หมวดย่อย ๑. มนุษยศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาตัวมนุษย์ ชีวิตมนุษย์ ๒. สังคมศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคม ๓. วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษา เกี่ยวกับธรรมชาติแวดล้อม (คัดจาก บทความ “การปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล” เอกสารประกอบการนำเสนอหัวข้อ รูปแบบการจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล ในการ ประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง การจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาตรี จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑) 42

  43. การศึกษาเป็นเรื่องของการพัฒนาคนให้สามารถดำเนินชีวิตได้ดีงามสามารถแก้ปัญหาและการศึกษาเป็นเรื่องของการพัฒนาคนให้สามารถดำเนินชีวิตได้ดีงามสามารถแก้ปัญหาและ สร้างสรรค์สังคมได้ การศึกษาที่มีเป้าหมายนี้ อาจแบ่งได้เป็น ๒ หมวด คือ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณธรรม ซึ่งเรียกว่าเป็นบัณฑิต หมวดวิชาชีพ/วิชาเฉพาะมุ่งสร้างเครื่องมือให้บัณฑิตนำไปใช้แก้ปัญหา และตอบสนองความต้องการของสังคม สถาบันการศึกษาต้องมีหน้าที่นำหมวดวิชาทั้งสองมารวมไว้ ในคนๆเดียวกันให้ได้ (คัดจาก บทความ “การปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล” เอกสารประกอบการ นำเสนอหัวข้อ รูปแบบการจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ การสร้างแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง การจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาตรี จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑) 43

  44. แนวทางทางการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป ต้องเอาคนเป็นหลัก ไม่ใช่เอาวิชาเป็นหลัก เอาคุณภาพของคน เป็นเป้าหมายคือต้องการให้คนเป็นอย่างไร มีคุณภาพอย่างไร เนื้อหาวิชาก็จะตามมา และที่สำคัญคือต้องจัดให้เกิดความพอดี ให้ได้คนดีมีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์ทาง วิชาการด้วย ต้องสมดุลทั้งวิชาศึกษาทั่วไปกับวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ (คัดจาก บทความ “การปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล” เอกสารประกอบการนำเสนอหัวข้อ รูปแบบการจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง การจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาตรี จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑) 44

  45. วิชาศึกษาทั่วไป มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณสมบัติที่สำคัญ ๖ ประการ คือ ๑. เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นบัณฑิต ดำเนินชีวิตได้ดีงาม สามารถนำ ความรู้หรือเครื่องมือที่ได้จากหมวดวิชาชีพ/วิชาเฉพาะมาช่วยแก้ปัญหา และ สร้างสรรค์สังคม ๒. มีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับสิ่งที่มนุษย์เกี่ยวข้อง ๓. รู้เท่าทันกาละ คือเข้าใจ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลายุคสมัย ว่ามีอะไรเป็นเหตุปัจจัย ๔. รู้เท่าทันเทศะ คือ เข้าใจ รู้เท่าทันความเป็นมา ความแตกต่างและจุดเด่น จุดด้อยของชุมชน สังคมและประเทศต่างๆ ๕. มีศักยภาพ ในการรับรู้และสื่อสารข้อมูล การแสวงหาความรู้ การพัฒนา จิตใจ และการพัฒนาเชาว์ปัญญา ๖. มีปัญญา ซึ่งเป็นแกนกลางของการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ 45

  46. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๐) ของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนรวม ≥ ๓๐ หน่วยกิต น.ศ.ทุกหลักสูตรเรียนร่วมกัน ๑๖ หน่วยกิต กลุ่มวิชาแกน ๗ หน่วยกิต กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต ผู้บริหารหลักสูตรพิจารณาตามความเหมาะสม ๑๔ หน่วยกิต (เลือกจากกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น ~ ๑๕๐ วิชา หรือสร้างรายวิชาใหม่) ทั้งนี้ ควรจัดให้มีรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปต่อเนื่อง ตลอดหลักสูตร และมีส่วนบูรณาการอยู่ในวิชาชีพ/วิชาเฉพาะด้วย มี คณะกรรมการหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการ 46

  47. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๑) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร บริหาร/จัดการโดยคณะกรรมการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนรวม ๓๐ หน่วยกิต วิชาบังคับเรียนทุกหลักสูตร๒๑ หน่วยกิต ๑. กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต (๑) ทักษะภาษาไทย (๒) ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (๓) ภาษาอังกฤษพัฒนา ๒. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ๓ หน่วยกิต (๑) อารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. กลุ่มวิชาพลานามัย ๑ หน่วยกิต (มี ๑๖ วิชา) ๔. กลุ่มวิชาบูรณาการ ๘ หน่วยกิต (๑) ชีวิตและสุขภาพ (๒) การจัดการการดำเนินชีวิต (๓) ทักษะชีวิต (๒ น.ก.) วิชาศึกษาทั่วไปเลือก๙ หน่วยกิต ๑. กลุ่มวิชาภาษา ๔. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๒. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ๕. กลุ่มวิชาสหศาสตร์ ๓. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 47

  48. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๒) ของ มศว. โครงสร้างหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนรวม ≥ ๓๐ หน่วยกิต แบ่งเป็น ๓ กลุ่มวิชา • กลุ่มวิชาภาษา ≥ ๙ หน่วยกิต ๑.๑ ภาษาไทย ≥ ๓ หน่วยกิต ๑.๒ ภาษาต่างประเทศ ≥ ๓ หน่วยกิต ๒. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ≥ ๖ หน่วยกิต ๓. กลุ่มวิชาศิลปะศาสตร์ ≥ ๑๕ หน่วยกิต ๓.๑ วิชาบังคับ ≥ ๙ หน่วยกิต (๑) การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ (๒) มนุษย์กับสังคม (๓) สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต ๓.๒ วิชาเลือก ≥ ๖ หน่วยกิต 48

  49. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์บริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การบริหารหลักสูตร จะบริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งแต่งตั้งโดยมหาวิทยาลัย โดยมีหลักการให้ทุกคณะที่จัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อเชื่อมโยงการศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาเอกได้อย่างกลมกลืนและเกิดประโยชน์สุงสุด กับผู้เรียน 49

  50. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๓) ม.บูรพา หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๓) มีจำนวน ๓๐ หน่วยกิต ประกอบด้วย ๖ กลุ่มวิชา ๑๓๙ รายวิชา โดยคณะกรรมการจัดทำรายวิชาหมวดศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรีให้คณะกรรมการหลักสูตรต่างๆ ได้เป็นผู้พิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของสาขาวิชาชีพที่นิสิตจะต้องศึกษาโดยยึดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 50

More Related