1 / 56

การเตรียมความพร้อมด้านการค้าและการลงทุนภาคการประมงของไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การเตรียมความพร้อมด้านการค้าและการลงทุนภาคการประมงของไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงต่างประเทศ 21 กันยายน 2555. Outline. การเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความตกลงอาเซียน

Download Presentation

การเตรียมความพร้อมด้านการค้าและการลงทุนภาคการประมงของไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเตรียมความพร้อมด้านการค้าและการลงทุนภาคการประมงของไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนการเตรียมความพร้อมด้านการค้าและการลงทุนภาคการประมงของไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงต่างประเทศ 21 กันยายน 2555

  2. Outline การเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความตกลงอาเซียน การเตรียมความพร้อมด้านการค้าสินค้าประมงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

  3. การเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความตกลงอาเซียนการเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความตกลงอาเซียน

  4. การค้าสินค้าประมงไทยกับอาเซียนการค้าสินค้าประมงไทยกับอาเซียน • มูลค่าการค้ากับกลุ่ม ASEAN23,705 ล้านบาท (8% ของทั้งหมด) • นำเข้าจากกลุ่ม ASEAN 11,755 ล้านบาท (17% ของทั้งหมด) • ส่งออกไปกลุ่ม ASEAN 11,950 ล้านบาท (5% ของทั้งหมด) 4

  5. กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (the Framework Agreement on ASEAN Investment Area: AIA) - มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2541 ไทยต้องเปิดเสรีลงทุนในกิจการ ๓ สาขา คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำไม้จากป่าปลูก และการเพาะขยายปรับปรุงพันธุ์พืชภายใน 1 มกราคม 2553อนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในไทยได้สูงสุด 100% ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) เป็นความตกลงฉบับใหม่ ลงนามเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2552 และ มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555 ให้สมาชิกอาเซียนเปิดเสรีการลงทุนตามความสมัครใจ โดยเลือกเปิดในสาขาที่มีความพร้อมตามกรอบระยะเวลาใน AEC Blueprint แต่ สมาชิกจะต้องเปิดการลงทุนไม่น้อยกว่าพันธกรณีที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลง AIA เดิม การเปิดเสรีการลงทุนสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้ความตกลงของอาเซียน 5

  6. เมื่อกลางปี 2552 เนื่องจากมีเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องของไทยได้แสดงความกังวลว่าการเปิดเสรีดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 เห็นชอบให้ชะลอการเปิดเสรีการลงทุนตามรายการยกเว้นชั่วคราว (TEL) ในกิจการ 3 สาขา คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะขยายและการปรับปรุงพันธุ์พืช และการทำไม้จากป่าปลูก และได้มีการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการเปิดเสรีการลงทุนในกิจการ 3 สาขา และกำหนดมาตรการรองรับ และมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนดังกล่าว โดยมีเลขาธิการ BOI เป็นประธาน และมีผู้แทนกรมประมงร่วมเป็นคณะทำงาน ด้วย การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้ความตกลงของอาเซียน(ต่อ) 6

  7. เนื่องจากมีสมาชิกอาเซียนหลายประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ตามพันธกรณีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อเดือนมีนาคม 2553 อาเซียนจึงมีมติให้ผ่อนปรน โดยเห็นชอบให้สมาชิกอาเซียนสามารถนำรายการยกเว้นชั่วคราว (TEL) ภายใต้ความตกลง AIA ที่เดิมผูกพันให้ต้องเปิดเสรีการลงทุนตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 (ของไทย มี 3 สาขา รวมสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ )มาทยอยเปิดเสรี โดยผ่อนปรนข้อจำกัดต่างๆ ให้กับนักลงทุนอาเซียนมากขึ้น เป็นระยะ ๆตามกรอบระยะเวลาภายใต้ความตกลง ACIA โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเสรีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 100 % การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้ความตกลงของอาเซียน(ต่อ) 7

  8. จากแนวทางดังกล่าวของอาเซียน ไทยได้ผูกพันการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ความตกลง ACIAโดยอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนสามารถเข้ามาถือหุ้นในกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเฉพาะ 2 สาขาย่อย คือ 1) สาขาการเพาะเลี้ยงทูน่าในกระชังน้ำลึก2) สาขาการเพาะเลี้ยงกุ้งล็อบสเตอร์ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นในประเทศไทย ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ (6 ชนิดพันธุ์) ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 51 และ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนด การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 8

  9. ไทยมีเกษตรกรรายย่อย 80-90% ที่ต้องพึ่งพิงรายได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นรายได้หลัก ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยรวม ปี 2553 จำนวน 1.38 ล้านตัน หรือ 36% ของผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมด มีมูลค่าผลผลิต 78,023 ล้านบาท ปี 2553 มีฟาร์มเพาะเลี้ยงน้ำจืดกระจายทั่วประเทศ 547,178 ฟาร์ม โดย 80% เป็นฟาร์มขนาดเล็ก และ 20% เป็นฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทำการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดย ปี 2553 มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 29,000 ฟาร์ม ซึ่ง 85% เป็นผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย ผลผลิตเฉลี่ย 500,000 ตัน/ปี โดยผลผลิตกว่า 90% ส่งออก การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 9

  10. เพื่อเตรียมความพร้อมกำหนดแนวทางรองรับการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้กรอบอาเซียน ในอนาคตกรมประมงได้จัดจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดทิศทาง และนโยบายการตัดสินใจต่อการเปิดเสรีการลงทุน รวมทั้งการจัดทำมาตรการรองรับและการเยียวยาผลกระทบโดยใช้งบประมาณกรมประมง จำนวน 2 ล้านบาท การศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้กรอบอาเซียน 10

  11. ผลการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้กรอบอาเซียน ระยะที่ 1 ทำการศึกษาโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) 11

  12. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลกระทบทางบวก 1. สร้างรายได้ สร้างการจ้างงานในภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ /อุตสาหกรรมต่อเนื่อง 2. เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในไทย 3. การถ่ายโอนเทคโนโลยี (กรณีที่มีไทยร่วมทุนด้วย) ซึ่งมีส่วนช่วย สนับสนุนการพัฒนาภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย

  13. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลกระทบทางลบ • ด้านเศรษฐกิจ • ราคาสัตว์น้ำที่ผลิตในประเทศ • การจัดการ Balanced Demand–Supply • ความสามารถในการแข่งขันเกษตรไทย โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย • ด้านสังคม • วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร • ต่างชาติเข้ามาถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยใช้ Nominee • ปัญหาการจ้างแรงงานข้ามชาติ

  14. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลกระทบทางลบ (ต่อ) • ด้านสิ่งแวดล้อม • ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม • ปัญหาโรคระบาดสัตว์น้ำ • ปัญหาสัตว์น้ำชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) • ผลกระทบต่อการเข้าถึงทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ

  15. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเด็นที่ ๑ : เกษตรกรรายย่อยด้อยความสามารถในการแข่งขัน ขาดแคลนเงินทุนและเทคโนโลยี มาตรการที่ ๑.๑เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรรายย่อย ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการเพาะเลี้ยงและการบริหารจัดการ โดยเน้นร่วมมือกับชุมชน มาตรการที่ ๑.๒เสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร สร้างระบบคลัสเตอร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่๑.๓ จัดทำระบบประกันภัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่๑.๔จัดตั้งกองทุนรองรับผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นกับเกษตรกร

  16. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๒ : การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มาตรการที่๒.๑ส่งเสริมการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่ม

  17. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๓ : การให้ความรู้และข้อมูลการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่ ๓.๑เผยแพร่ข้อมูล โดยจัดประชุมสัมมนาระหว่างเกษตกร ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มาตรการที่ ๓.๒เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อที่เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ มาตรการที่ ๓.๓จัดประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแนวทางตั้งรับและใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ

  18. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๔ : การแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทย และการปกป้องเกษตรกรรายย่อย มาตรการที่ ๔.๑ แยกการเพาะเลี้ยงเป็นสองระดับ คือ 1) การเพาะเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อย ที่ผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศ ซึ่งต้องการการปกป้อง และการสร้างความสามารถในการผลิต และ 2) ผู้ประกอบการรายใหญ่เพื่อการส่งออกต้องทำตามเงื่อนไขการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่กำหนด เช่น การจัดทำแผนการลงทุน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เป็นต้น

  19. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๔ : (ต่อ) มาตรการที่ ๔.๒กำหนดเงื่อนไขการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยยึดหลักการคุ้มครองเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย และวิถีชุมชน โดยกระจายอำนาจให้องค์การปกครองท้องถิ่น (อปท.) บริหารจัดการร่วมกับกรมประมง มาตรการที่ ๔.๓ร่วมมือกับ อปท. ในการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่

  20. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๕ : ผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร มาตรการที่ ๕.๑กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติ/ผู้ประกอบการรายใหญ่ ต้องทำแผนการลงทุน การประเมินผลกระทบ EIA , SIA, HIA มาตรการที่ ๕.๒กำหนดมาตรการเงื่อนไขการเข้ามาลงทุน โดยยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาจยกเว้น การทำ EIA, SIA, HIA สำหรับเกษตรกร/ผู้ประกอบการรายย่อย มาตรการที่ ๕.๓ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการใช้ทรัพยากรในพื้นที่

  21. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่๖ : ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดิน มาตรการที่ ๖.๑บังคับใช้กฎหมายการถือครองที่ดินที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ มาตรการที่ ๖.๒กระจาย/ถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีส่วนร่วมกำกับดูแลการเข้ามาใช้ที่ดิน

  22. มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๗ : การกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของนักลงทุนอาเซียน/ต่างชาติ มาตรการที่ ๗.๑ กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนต้องขึ้นทะเบียนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และให้มีหน่วยงานหลัก คือ กรมประมง ทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์การพิจารณามาตรการและกำกับดูแลการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่ ๗.๒ กำหนดมาตรการโดยยึดหลักการคุ้มครองเกษตร/ผู้ประกอบการรายย่อย และวิถีชุมชนท้องถิ่น โดยกระจายอำนาจให้ อปท. บริหารจัดการร่วมกับกรมประมง

  23. แนวทางการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแนวทางการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จากผลการศึกษาของ TDRI ในเบื้องต้นเห็นว่า สัตว์น้ำที่สามารถเปิดเสรีให้ ต่างชาติมาลงทุนได้ คือ ปลากะรัง (เฉพาะการเพาะพันธุ์) และปลานิลแดง หลังจากเปิดเสรีการลงทุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนแล้ว ๓ ปี ควรมีการ ทบทวนผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งประเทศ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หากมีผลเสียมากกว่าผลดี ควรดำเนินการ เจรจาในระดับอาเซียนเพื่อขอยกเลิกการเปิดเสรีในสาขานั้นๆ ???

  24. โอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ที่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนไทยควรเข้าไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ พม่า ลาว กัมพูชา บูรไน อินโดนีเซีย (ภายใต้ความร่วมมือ IMT-GT)

  25. ประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพและคาดว่าจะเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย สิงคโปร์: ประเทศมีศักยภาพด้านเงินทุน และไม่มีพื้นที่ในการเพาะเลี้ยง จึงใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนเพื่อผลิตสัตว์น้ำ มาเลเซีย: ประเทศมีศักยภาพด้านการลงทุน มีนโยบายและเป้าหมายการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำที่ชัดเจน เวียดนาม:เข้ามาลงทุนในเบื้องต้น เพื่อนำเอาความรู้และเทคโนโลยีไปใช้ในประเทศตน

  26. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! ก) ด้านการเตรียมการกำกับดูแลการลงทุนอาเซียนในประเทศไทย 1) รวมรวมและเผยแพร่กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2) จัดทำเกณฑ์พิจารณาการให้อนุญาต (เชิงเทคนิค) การเข้ามาลงทุนโดยต่างชาติแล้วแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ BOI ทราบ 3) จดทะเบียนเพื่อกำกับดูแลและติดตามให้ปฏิบัติและเป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้ กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  27. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ก) ด้านการเตรียมการกำกับดูแลการลงทุนอาเซียนในประเทศไทย (ต่อ) 4) ประสานกับ อปท. ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 5) ประสานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเกษตรกร กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  28. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ข) ด้านการเตรียมการให้นักลงทุนไทยเพื่อการลงทุนในอาเซียน 1) รวบรวมข้อมูล กฎระเบียบ ขั้นตอนการขอเข้าไปลงทุนและเผยแพร่ให้แก่นักลงทุนไทย เพื่อเป็นแนวทางในการลงทุน 2) จัดโครงการนำร่องนำนักลงทุนที่สนใจ เข้าไปสังเกตพื้นที่และโอกาสการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น อาทิ พม่า กัมพูชา ลาว บรูไน อินโดนีเซีย 3) แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีร่วมกันกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น รวมถึงพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมและยั่งยืนในภูมิภาค กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  29. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ค) ด้านการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง 1) ให้ข้อมูลการเปิดเสรีการลงทุนแก่เกษตรกร 2) ฝึกอบรมเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่มีต้นทุนต่ำและผลผลิตสูงได้คุณภาพให้แก่เกษตรกรรายย่อย 3) จัดประชุม/สัมมนา/ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาการรวมกลุ่มให้แก่เกษตรกรเพื่อพัฒนาศักยภาพการพัฒนาในธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  30. การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ง.) ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากรภาครัฐ 1) จัดประชุม/สัมมนา/ฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเปิดเสรีการลงทุน เพื่อสามารถเตรียมการองรับและเยียวยาผลกระทบฯ 2) กรมประมงจัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อจัดทำมาตรการรองรับ การเปิดเสรีการลงทุนทั้งที่อาเซียนเข้ามาลงทุนในไทย และที่ไทยไปลงทุนในอาเซียน กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:

  31. การเตรียมความพร้อมด้านการค้า สินค้าประมงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขัน ของสินค้าประมงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับตลาดอาเซียนและตลาดโลก สินค้ากุ้งทะเล สินค้าทูน่า สินค้าปลานิล สินค้ากุ้งก้ามกราม

  32. การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้ากุ้งทะเลการวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้ากุ้งทะเล เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เปรียบเทียบตลาดอาเซียน/ตลาดโลก ปัจจัยในการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน Competitiveness factor ทั้งในตลาดอาเซียน /ตลาดโลก

  33. การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้ากุ้งทะเลการวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้ากุ้งทะเล เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์ตำแหน่งความสามารถในการแข่งขันของสินค้ากุ้งทะเลของไทย ตลาดโลก ตลาด ASEAN

  34. แนวทางการพัฒนาสินค้ากุ้งทะเล (1) 1. นโยบายภาครัฐ 1.1) ด้านแรงงาน : นโยบายโน้มน้าวให้แรงงานต่างด้าวยังคงทำงานในไทย หรือส่งเสริมแรงงานไทย ทดแทนแรงงานต่างด้าวในโรงงานแปรรูปเบื้องต้น ด้วยสหกรณ์กลุ่มแม่บ้านในพื้นที่ 1.2) ด้านกฎระเบียบ : ทบทวนประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้ฟาร์มเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ 2. การศึกษาวิจัยและพัฒนา (R&D) :เช่น การปรับปรุงพันธุ์กุ้งทะเล ส่งเสริมการศึกษาวิจัยแก่นักวิชาการไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน

  35. แนวทางการพัฒนาสินค้ากุ้งทะเล (2) 3. ระบบ Logistic : สร้างระบบ Logistic เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทยและพม่า 4. การยอมรับของตลาด : ประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างสม่ำเสมอทั้งในและต่างประเทศ สร้าง Country Branding 5. ต้นทุนการผลิต : ควบคุมดูแลภาษีปัจจัยการผลิต สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการทดแทนแรงงาน ควบคุมราคาปัจจัยการผลิต

  36. แนวทางการพัฒนาสินค้ากุ้งทะเล (3) 6. มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการภาษี (NTB) เร่งเจรจา FTA ไทยกับ EU เพื่อชดเชยการถูกตัดสิทธิ GSP เจรจามาตรการ AD กับ USA 7. การสร้างแรงจูงใจในการผลิต สร้างเสถียรภาพราคาขายกุ้งในประเทศ รัฐควบคุมดูแลต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับเหมาะสม สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร

  37. ภาพรวมปัญหาการศักยภาพแข่งขันของสินค้าทูน่าของไทยภาพรวมปัญหาการศักยภาพแข่งขันของสินค้าทูน่าของไทย วัตถุดิบทูน่า 80% นำเข้าจากต่างประเทศ และราคาวัตถุดิบทูน่าสูงขึ้น ใช้แรงงานจำนวนมาก ต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ค่าจ้างแรงงานของไทยสูงกว่าประเทศอาเซียนคู่แข่ง กฎระเบียบภาครัฐบางประการเป็นอุปสรรคต่อภาคอุตสาหกรรม ระบบโลจิสติกส์ของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ไทยจะถูกตัดสิทธิ GSP จากสภาพยุโรป เป็นต้น การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขัน ของสินค้าทูน่าเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (1)

  38. การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขัน ของสินค้าทูน่าเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (2) ปัจจัยในการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน Competitiveness factor ทั้งในตลาดอาเซียน /ตลาดโลก

  39. การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขัน ของสินค้าทูน่าเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (3) การวิเคราะห์ตำแหน่งความสามารถในการแข่งขันของสินค้าทูน่าของไทย ตลาดโลก ตลาดอาเซียน 14.29 % High New Wave New Wave Star Star High Opportunity Opportunity Attractiveness Attractiveness 26.90 % 7.74% 24.89 % Low FallingStar QuestionMark FallingStar QuestionMark Trouble Trouble Low 67.33 % 67.33 % อัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทูน่าของตลาดโลกเฉลี่ย 5 ปี= 7.74 % อัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทูน่าของอาเซียนเฉลี่ย 5 ปี= 26.90 % Competitiveness Competitiveness อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าทูน่าของไทยไปตลาดโลกเฉลี่ย 5 ปี = 14.29 % อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าทูน่าของไทยไปอาเซียนเฉลี่ย 5 ปี = 24.89 %

  40. แนวทางการพัฒนาสินค้าทูน่า (1) 1. วัตถุดิบ: • สนับสนุนการทำประมงร่วม (Joint venture) • ส่งเสริมการย้ายฐานการผลิตทูน่า lions ในประเทศอื่นที่มีแหล่งวัตถุดิบสำคัญ หรือประเทศได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร • สนับสนุนการเจรจากับประเทศที่มีทรัพยากรทูน่าอุดมสมบรูณ์ เพื่อขยายโอกาสและสิทธิพิเศษให้กับผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมทูน่า 2. แรงงาน • ย้ายฐานการผลิตทูน่า loins ในประเทศอื่นๆ ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบ เพื่อลดการใช้แรงงาน • ทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าวให้เหมาะสม อาทิ • อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำงานในเขตพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนฯ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) • ขยายระยะเวลา/อายุใบอนุญาตการทำงานของแรงงานต่างด้าว

  41. แนวทางการพัฒนาสินค้าทูน่า (3) 3. กฎระเบียบของภาครัฐ • ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตนำเข้า และการตรวจสอบวัตถุดิบภายหลังการตรวจปล่อย(Post Audit) ให้เหมาะสม • ปรับปรุงพิกัดศุลกากรสินค้าทูน่า loins ให้อยู่ในพิกัดสินค้าวัตถุดิบ แทนที่จัดอยู่ในพิกัดสินค้าอาหารแปรรูปเช่นในปัจจุบัน 4. เทคโนโลยีการจับ • ปรับปรุงและพัฒนากองเรือประมงทูน่าของประเทศ อาทิ - จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงอวนลาก เป็นอวนล้อมจับ - จัดทำโครงการฝึกอบรมไต้ก๋ง/ลูกเรือ ทำประมงอวนล้อม

  42. แนวทางการพัฒนาสินค้าทูน่า (5) 5. มาตรการทางภาษี(การถูกตัดสิทธิ GSP จาก EU) • เจรจาเขตการค้าเสรี ( FTA) ไทย - สหภาพยุโรป โดยเจรจาให้สหภาพยุโรปลดภาษีสินค้าทูน่าแปรรูป เพื่อชดเชยหรือทดแทนกรณีที่ไทยต้องเสียสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป • ขยายฐานการผลิตและการลงทุนอุตสาหกรรมทูน่าแปรรูปในประเทศอื่นๆ ที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีเช่น เวียดนาม ที่ยังได้รับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป หรือประเทศในกลุ่ม ACP เป็นต้น 6. ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) • อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรรวมทั้งการพัฒนาระบบ NationalSingleWindowและ ASEANSingleWindow • สร้างอำนาจการต่อรองในการใช้บริการขนส่งทางเรือของผู้ผลิตและส่งออกไทย และพัฒนาระบบการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศของไทย • พัฒนาระบบท่าเรือน้ำลึก/ท่าเทียบเรือให้รองรับการเข้าเทียบท่าของเรือประมงได้มากขึ้น และปรับปรุงระบบการขนส่งที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

  43. แนวทางการพัฒนาสินค้าทูน่า (7) 7. มาตรการและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) • เจรจาเพื่อแก้ปัญหามาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) • สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเป็นข้อมูลประกอบการเจรจา • แนวทางการแก้ปัญหาการออกกฎระเบียบเพื่อต่อต้านการทำประมง IUUอาทิ ภาครัฐเจรจาแก้ปัญหาร่วมกับประเทศผู้ผลิต/จับปลาทูน่าที่ไม่สามารถออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (Catch Certificate)ควรเจรจาให้สหภาพยุโรปพิจารณาให้ความช่วยเหลือกับประเทศเหล่านี้ให้สามารถดำเนินการในฐานะ Competent Authority ได้ในอนาคต เป็นต้น

  44. การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขัน ของสินค้าปลานิลเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (1) • สภาพทั่วไปและปัญหา • สินค้าปลานิลไทยผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ 90 %และส่งออก 10% • ต้นทุนและราคาขายในประเทศสูงกว่าราคาที่มีการซื้อขายในต่างประเทศ • ตลาดส่งออกหลักของไทยอยู่นอกอาเซียน คือ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 77% สหรัฐอเมริกา 7% กลุ่มประเทศอาเซียน 5% กลุ่มประเทศยุโรป 5% กลุ่มประเทศแอฟริกา 4% และอื่นๆ 2%

  45. New Wave New Wave Opportunity Opportunity Star Star Question Mark Question Mark Trouble Trouble Falling Star Falling Star 60.67% 66.67% Competitiveness Competitiveness การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าปลานิล เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตลาดอาเซียน ตลาดโลก 40.12 -4.42 Attractiveness 8.74 -8.84 Attractiveness

  46. แนวทางการพัฒนาสินค้าปลานิล (1) 1. การเป็นฐานผลิตร่วมในอาเซียน ทำบันทึกความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพในด้านต่างๆ ได้แก่ การผลิตลูกพันธุ์ปลานิลพันธุ์ดี การผลิตอาหารปลานิล และแหล่งการเลี้ยงปลานิลคุณภาพ สำรวจกำลังการผลิตโครงสร้างของราคา ต้นทุนอาหาร การผลิตลูกพันธุ์ปลา กำลังการซื้อ และการอุดหนุนการส่งออกของแต่ละประเทศ เพื่อวิเคราะห์ระดับการผลิตของประเทศไทย พัฒนาระบบการเคลื่อนย้ายและขนส่งปัจจัยการผลิตและผลผลิต และเชื่อมโยงพิธีการศุลกากรภายในภูมิภาค

  47. แนวทางการพัฒนาสินค้าปลานิล (3) 2. การดูแลเกษตรกรรายย่อย พัฒนาเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์น้ำให้สามารถตรวจสอบคุณภาพขั้นต่ำของสัตว์น้ำ (Minimum Requirement) การตรวจสอบและสุ่มตัวอย่างสัตว์น้ำ เพื่อดูความเสี่ยงด้านโรคระบาดสัตว์น้ำด้านความปลอดภัยอาหาร ถ่ายทอดความรู้ การตรวจคุณภาพขั้นต่ำของสัตว์น้ำ ให้กับเกษตกร สร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์ม และปรับปรุงฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน สนับสนุนการรวมกลุ่มขายผลผลิตในตลาดกลาง สนับสนุนธุรกิจ SME ซึ่งผลิตวัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเลี้ยงปลานิลให้เข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนภาคการผลิต

  48. แนวทางการพัฒนาสินค้าปลานิล (6) 3.การเป็น Processing Hub (1) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายใหญ่นำเข้าวัตถุดิบจากอาเซียนมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าเพื่อส่งออก สำรวจข้อมูลการค้าปลานิลแต่ละประเทศเพื่อกำหนดผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน ตรงกับความต้องการของตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยถ่ายทอดการแปรรูปปลานิลให้กับธุรกิจโรงงานขนาด SMEและเกษตรกรรายย่อยให้พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ(OTOP) ทำบันทึกความร่วมมือในการร่วมกันตรวจสอบ "คุณภาพขั้นต่ำ"(Minimum Requirement) สำหรับวัตถุดิบนำเข้าเพื่อการแปรรูปในระดับรัฐบาล และระดับผู้ปฏิบัติ

  49. แนวทางการพัฒนาสินค้าปลานิล (8) 4.การผลิตปลานิล Premium เพื่อ Niche Market (1) กำหนดพื้นที่เลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก (Zoning) ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยง การผลิตอาหาร การให้อาหาร และการควบคุมป้องกันโรคปลานิล และเทคโนโลยีหลังการจับเพื่อเพิ่มมูลค่า เร่งพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิล ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์สินค้าปลานิล สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร ในระบบ Contract farming เพื่อการวางแผนการผลิตปลานิลให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของโรงงานแปรรูป และตลาดต่างประเทศ

  50. การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขัน ของสินค้ากุ้งก้ามกรามเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (1) • สภาพทั่วไปและปัญหา • ปี 2552 มีผลผลิตลดลง เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูงจากราคาน้ำมันและอาหารกุ้ง ลูกพันธุ์กุ้งคุณภาพไม่ดี มีอัตราการรอดตายต่ำ (โรคไวรัสระบาดปี 2549) • สินค้าบริโภคสด ไม่ผ่านการแปรรูป • ผลผลิต 70 % จำหน่ายที่ร้านอาหาร

More Related