1 / 34

การสื่อสารการเมือง Political Communication

การสื่อสารการเมือง Political Communication. บรรยาย โดย. รองศาสตราจารย์ ดร.สมาน งามสนิท Fulbright Scholar, Ohio University, Ohio, U.S.A. กรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ม.ราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

deirdra
Download Presentation

การสื่อสารการเมือง Political Communication

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสื่อสารการเมือง Political Communication บรรยาย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมาน งามสนิท Fulbright Scholar, Ohio University, Ohio, U.S.A. กรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ม.ราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ saman10feb@yahoo.com, professorsman.com

  2. การสื่อสาร(communication) หมายถึง การกระทำให้ผู้อื่นรับรู้ในสิ่งที่ผู้สื่อสารต้องการให้รับรู้ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร Sender Message Channel Receiver S. M. C. R.

  3. องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร Sender (S.) Message (M.) Channel (C.) Receiver (R.)

  4. ประเภทของการสื่อสาร 1. การสื่อสารภายในตน intrapersonal communication การสื่อสารกับตนเอง ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย สัมผัส ใจ

  5. 2. การสื่อสารระหว่างบุคคล interpersonal communication การสื่อสารระหว่างคน ๒ คน

  6. 3. การสื่อสารกลุ่ม group communication Group communication

  7. การสื่อสารสาธารณะ public communication การสื่อสารกับสาธารณชนในที่สาธารณะ

  8. การสื่อสารมวลชน mass communication การสื่อสารผ่านสื่อมวลชนไปยังคนจำนวนมากที่อยู่ไกลกันคนละแห่ง ไม่รู้จักกัน แต่ได้รับข่าวสารพร้อมกัน

  9. ประเภทของสื่อในการสื่อสาร communication media สื่อ media, channel คือตัวนำสารไปยังผู้รับสาร โดยย่อ กำหนดแบ่งได้ดังนี้ ๑. สื่อบุคคล person media เป็นการใช้คน ผู้นำ ผู้มีชื่อเสียง ดารา ฯลฯ เป็นผู้นำสารไปยังผู้รับสาร เป็นสื่อที่มีความสำคัญ มีอิทธิพล ๒. สื่อสิ่งพิมพ์ print media คือสื่อที่พิมพ์ด้วยอักษร ตรา สัญลักษณ์ เครื่องหมายต่างๆ บนกระดาษหรือสิ่งอื่น เป็นสื่อที่ให้รายละเอียดของเนื้อหาสาระได้ดีมาก คงทน เช่น หนังสือ ตำรา หนังสือพิมพ์ สารสาร ใบปลิว แผ่นพับ โพสเตอร์ต่างๆ ฯลฯ

  10. ๓. สื่อ electronic, digital media เช่น สื่อโทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่เข้าถึงผู้รับสารได้มาก รวดเร็วทันใจ อาจมีราคาแพงในการลงทุน แต่เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อผู้รับสาร

  11. ๔. สื่อกิจกรรม activity, events media ได้แก่ การปราศรัยหาเสียง เลือกตั้ง การแข่งกีฬาสี ประกวดร้องเพลง งานบุญ งานประเพณีประจำท้องถิ่น การเดินขบวน เป็นสื่อที่มีอิทธิพล เพราะเปิดโอกาส ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม

  12. การเมือง politics ทางวิชาการ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดรัฐ การได้อำนาจมาปกครองหรือบริหารรัฐ ทางวิชาชีพ หมายถึง การกระทำ หรือกิจกรรม ที่บุคคลใช้เพื่อแสวงและได้อำนาจมาเพื่อบริหาร จัดการ องค์กร สังคม ประเทศและหรือโลก ส่วนบุคคล หมายถึง ความเชื่อส่วนบุคคลที่เชื่อว่า สังคมหรือประเทศชาติควรจะบริหาร จัดการโดยวิธี ระบอบหรือทฤษฎีใดวิธีหนึ่ง เช่น ระบอบประชาธิปไตย สังคมนิยม เผด็จการ รัฐสวัสดิการ หรือระบอบอื่นๆ

  13. การสื่อสารการเมือง Political Communication การที่มีผู้ส่งสาร กำหนดกระบวนการสร้างสาร เลือกใช้สื่อเพื่อส่งสารไปยังผู้รับสาร เพื่อผลทางการเมืองโดยตรงหรือโดยอ้อม ผลของการสื่อสาร อาจมีผลทันทีหรือในระยะยาว Berelson 1948, Lasswell 1969 ได้กำหนดรูปแบบการสื่อสารการเมืองว่า Who says what to whom by what channel with what effects ใคร พูด ทำอะไร กับใคร โดยวิธีไหน ได้ผลอย่างไร องค์ประกอบของการสื่อสารการเมือง เหมือนกันกับองค์ประกอบการสื่อสารทั่วไป ยกเว้น แต่ผู้ส่งสาร คือนักการเมือง ตัวสารเน้นเนื้อหาสาระ อุดมการณ์ แนวคิด ความเชื่อทางการเมือง สื่อเหมือนกัน ส่วนผู้รับสาร เน้นไปที่ผู้นำทางความคิด ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ฯลฯ

  14. องค์ประกอบของการสื่อสารการเมือง political communication ผู้ส่งสารsender ได้แก่ นักการเมือง ผู้นำ ผู้บริหารพรรคการเมือง ประเทศชาติ นักสื่อสารมวลชน ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มผลประโยชน์ นักเคลื่อนไหวสังคม หรือบุคคลธรรมดาที่ใฝ่การเมือง สาร สาร messageได้แก่ ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง อุดมการณ์ ปรัชญา ความเชื่อทางการเมือง เพื่อโน้มน้าวใจ โฆษณา ชวนเชื่อ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งการสนับสนุน การต่อต้านกิจการ กฎระเบียบที่ฝ่ายการเมืองประกาศใช้ ฯลฯ สื่อ channel, media,คือตัวหรือช่องทางที่นำสารไปยังผู้รับสาร ได้รวดเร็วทันใจ มีประสิทธิภาพ

  15. ผู้รับสาร Receiver, Audience ได้แก่ ประชาชนทั่วไป สมาชิกพรรคการเมือง ผู้นำ ผู้นำความคิด (opinion leaders) ผู้สนับสนุนพรรค ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แม้แต่ผู้ต่อต้านหรือคัดค้านพรรคของผู้ส่งสาร ผลที่คาดหวัง expected results ผลที่คาดหวังอาจมีผลทันทีหรือระยะยาว โดยการสร้างสารให้มีผล ต่อความรู้ ความคิด ต่อความเชื่อและนำไปปฏิบัติทางการเมือง หรือใช้หลัก KAP K, Knowledge ให้ผู้รับสารมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สื่อสาร A, Attitude ให้ผู้รับสารเกิดมีทัศนคติที่ดี หรือไม่ดีต่อเรื่องที่สื่อสาร P, Practice ให้ผู้รับสารนำเรื่องที่สื่อสารไปปฏิบัติให้ได้

  16. Karl Deutschให้ความสำคัญกับการสื่อสารการเมืองมาก ถึงกับเรียกการสื่อสารการเมืองว่า The Nerves of Government เส้นประสาทของรัฐบาล เนื่องจากสารทางการเมือง เป็นสิ่งเร้าให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง การสื่อสารการเมืองเป็นเสมือนนมแม่หรือเส้นเลือดของการเมือง เนื่องจากว่า การสื่อสารเป็นกิจกรรมที่จำเป็นซึ่งทำหน้าที่เชื่อมประสานทุกภาคส่วนของสังคมเข้าด้วยกันเพื่อดำเนินกิจกรรม และหน้าที่ของสังคมไปด้วยกันเป็นองค์รวม การกระจายข่าวสารทางการเมืองในชุมชน ในสังคมหนึ่งๆ ได้สะท้อนให้เห็นภาพรวมของความไว้วางใจและคุณภาพชีวิตของการเมือง ดังนั้น การสื่อสารการเมืองจึงเป็นสาขาย่อยที่มีความสำคัญยิ่งของวิชารัฐศาสตร์ ที่ต้องศึกษา

  17. แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสื่อสารมวลขน ๒ แนวคิด ที่แยกกันคิดอย่างเด็ดขาด 1. ทฤษฎียึดสื่อเป็นศูนย์กลาง Media Centric มองว่า สื่อเป็นตัวกนหดสังคม เป็นตัวขับเคลื่อนสังคม สื่อมวลชนเองก็เปลี่ยนแปลงตัวเองไปตามพัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสาร 2. ทฤษฎียึดสังคมเป็นศูนย์กลาง Society Centric สังคมเป็นตัวกำหนดสื่อ สื่อมวลชนเป็นเพียงตัวสะท้อนทางการเมือง เศรษฐกิจ และสื่อมวลชนนำทฤษฎีสังคมศาสตร์ไปใช้อย่างกว้างขวาง

  18. จาก ๒ ทฤษฎีสื่อสารมวลชนนี้ แยกออกได้เป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้ Media Centric 1 2 Culturalist Materialist 4 3 Society Centric กลุ่ม 1 media culturalist มองว่า คนสนใจสื่อ เปิดรับสื่อ เนื่องจากได้รับอิทธิพล สิ่งแวดล้อมส่วนตัว

  19. Media Centric 1 2 Culturalist Materialist 4 3 Society Centric กลุ่ม 2 media materialist ให้ความสำคัญกับสื่อในสิ่งแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีการสื่อสาร

  20. Media Centric 1 2 Culturalist Materialist 4 3 Society Centric กลุ่ม 3 Social culturalist ให้ความสำคัญกับอิทธิพลของสื่อ การผลิตสื่อและบทบาทของสื่อในชีวิตประจำวัน

  21. กลุ่ม 4 Social Materialist มองว่า สื่อเป็นเพียงแรงสะท้อนจากเงื่อนไขของเศรษฐกิจและวัตถุนิยมในสังคมนั้นๆ Media Centric 1 2 Culturalist Materialist 4 3 Society Centric นักทฤษฎีส่วนใหญ่จะโน้มเอียงมาทางสังคมเป็นศูนย์กลาง หรือทางวัฒนธรรมของสังคม

  22. รูปแบบการเสนอข่าวสารทางการเมืองรูปแบบการเสนอข่าวสารทางการเมือง มี 4 รูปแบบ ดังนี้ 1. Transmission Model ตามแนวของ Shannon and Beaver 1949 เน้นการที่นักการเมืองส่งสารต่างๆผ่านสื่อไปยังผู้รับสาร แล้วผู้รับสารส่งสารย้อนกลับ 2.A ritual or Expressive Model ตามแนวคิดของ James Carey 1975 เน้นการสื่อสารในรูปแบบพิธีกรรม งานศิลปะ พิธีกรรมทางศาสนาและงานประเพณีต่างๆ เป็นการสื่อสารที่ทุกคนมีส่วนร่วม การคบค้าสมาคม การยึดถือ ความเชื่อร่วมกัน 3. Publicity Model เน้นการให้ผู้รับสารรับรู้ สนใจ ในกิจการทางการเมือง เช่น วาระทางการเมือง วาระแห่งชาติ เป็นต้น 4. Reception Model เน้นการสร้างภาพจากสื่อที่ผู้รับสารคุ้นเคย ผู้ส่งสารส่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นอุดมการณ์ ใช้ภาษาที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แต่ผู้รับสารไม่จำเป็นต้องเชื่อตาม อาจตีความหมายเป็นอย่างอื่นตามประสบการณ์และการมองโลกของตน

  23. หน้าที่การเสนอข่าวสารทางการเมือง 1. เสนอข่าวแบบตะเกียง (lantern model) คือการส่องนำทาง สื่อมวลชนต้องนำทางสังคม 2.การเสนอข่าวสารแบบกระจกเงา (mirror model) เป็นการเสนอข่าวสารแบบสะท้อนภาพของสังคม ว่าสังคมในขณะนั้นมีลักษณะอย่างไร เสนอตามความเป็นจริง 3.เสนอข่าวสารแบบสุนัขเฝ้าบ้าน (watchdog model) เสนอข่าวสารแบบเฝ้ามองสังคม เฝ้ามองอาการของสังคม เฝ้ามองทรัพย์สิน อธิปไตย เมื่อมีใคร(ขโมย) มาลักขโมย ต้องเห่า ต้องกัด

  24. การศึกษาสื่อสารการเมืองการศึกษาสื่อสารการเมือง 1. ศึกษาปรัชญา อุดมการณ์ของพรรค ที่ปรากฏอยู่ในตราสัญลักษณ์ของพรรค ตราสัญลักษณ์ของพรรคจะเป็นเครื่องหมายที่บอกปรัชญา อุดมการณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจของพรรค 2. ศึกษาพฤติกรรมของพรรค พรรคการเมือง ก็คือคนที่บริหารพรรค สมาชิกพรรค จะมีพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน 3. ศึกษาวาทะนักการเมือง คำพูดของนักการเมืองแต่ละระดับ ต้องนำมาศึกษา วิเคราะห์ ดังต่อไปนี้

  25. By his word thou shall know him “Nearly all men can stand adversity, but if you want to test a man’s character, give him power” Abraham Lincoln

  26. “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” I will rule this land by the virtues of Dhamma For the benefits and happiness of all Siam people

  27. ฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกันฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกัน ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด ยกแต่ชั่วดีกระด้าง อ่อนแก้ฤาไหว พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕

  28. Winston Churchill, Prime Minister Of United Kingdom, (1874-1965) “The price of greatness is responsibility”

  29. Plato Greek philosopher in Athens False words are not only evil in themselves, But they infect the soul with evil Ignorance is the root and stem of every evil

  30. Mao Tse Tung Founder of Communist China,1893-1976 “Politics is a war without bloodshed, while war is politics with bloodshed” “We shall support whatever the enemy opposes And oppose whatever the enemy supports”

  31. Mahatama Gandhi, Indian Independence Leader (October 2,1869-January 30, 1984) “We must be the change we want to see in the world”

  32. แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง การกระทำหรือไม่กระทำ การพูดหรือไม่พูด การจัดกิกรรม การเดินทาง พักผ่อน พบปะสังสรรค์ ของนักการเมือง ของผู้นำทางการเมือง ล้วนแล้วแต่มี สาร (message) ทางการเมืองทั้งสิ้น จึงต้องมีแนวทางในการวิเคราะห์ข่าวสารการเมืองไว้ ๖ ด้าน ดังนี้ 1.Personal perspective ใช้มิติส่วนตน ได้แก่ความรู้ ความรู้สึก ความเชื่อ ความกล้าส่วนตัวในการวิเคราะห์ 2. Historical perspective ใช้มิติทางประวัติศาสตร์ เรื่องเช่นนี้เคยมีหรือไม่ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ในอดีต มีเหตุการณ์อย่างนี้หรือไม่

  33. 3.Technical perspective ใช้มิติด้านเทคนิคในการวิเคราะห์ เช่นการผลิตภาพสมัยใหม่ เทคนิคการตัดต่อภาพเป็นต้น 4. Ethical perspective ใช้มิติด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสม การกระทำหรือไม่กระทำเช่นนั้น มีคุณธรรม มีจริยธรรมที่เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร 5. Cultural perspective ใช้มิติทางวัฒนธรรม เช่นจัดกรรม งานประเพณีวัฒนธรรมตามกาลเวลา มีนัยทางการเมืองหรือไม่ การใช้วัตถุทางวัฒนธรรมในการสื่อสาร อาจเหมาะสมกับสังคมหนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมกับอีกหลายสังคม 6. Critical perspective มิติด้านการวิจารณ์ ผู้รับสารจะวิพากษ์วิจารณ์ขัอมูลข่าวสารที่ผู้ส่งสารส่งมาได้ตามวิจารณญาณของตน

  34. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบันทฤษฎีสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ สื่อสารมวลชนใช้ทฤษฎี Democratic Participant Theory มีสาระสำคัญ คือ การต่อด้าน การผูกขาดสื่อโดยเอกชน ต่อต้านการนำการสื่อสารมวลชนไปใช้ทางการค้ามากเกินไป ต่อต้านการรวมศูนย์อำนาจของรัฐเหนือสื่อ เน้น พลเมืองทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงสื่อมวลชน มีสิทธิ์ใช้สื่อเพื่อตอบสนองตนเอง องค์กรสื่อและเนื้อหาสื่อต้องไม่ถูกครอบงำโดยรัฐ สื่อจะต้องมีอยู่เพื่อประชาน มิใช่เพื่อตัวองค์กรสื่อเอง มิใช้เพื่อนักวิชาชีพหรือบรรดาลูกค้าของสื่อเอง กลุ่ม ชุมชน องค์กร ควรเป็นเจ้าของสื่อได้เอง The more you know the more you see

More Related