1 / 68

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ณ ห้องสุทธามงคล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

ผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขัน. การบรรยายพิเศษเรื่อง การบริหารต้นทุนในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ. อาจารย์อรอุมา กอสนาน ประธานคณะทำงานบริการวิชาการชุมชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์. วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Download Presentation

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ณ ห้องสุทธามงคล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขัน การบรรยายพิเศษเรื่อง การบริหารต้นทุนในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ อาจารย์อรอุมา กอสนาน ประธานคณะทำงานบริการวิชาการชุมชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ณ ห้องสุทธามงคล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

  2. การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน • นิยามและความหมายของผลิตภาพ • แนวทางและวิธีการเพิ่มผลผลิต • ประโยชน์ที่ได้รับจากการเพิ่มผลผลิต หัวข้อที่จะนำเสนอ

  3. การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

  4. ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง...ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง... ราคาน้ำมัน ปรับเพิ่มสูงขึ้น ยุบสภาฯ การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และการ รัฐประหาร ค่าเงินบาท แข็งค่า และ น้ำมันแพง เกิดโรคซาร์สและ สงครามสหรัฐฯ กับอิรัก ไข้หวัดนก, ความไม่สงบในพื้นจังหวัด ชายแดนภาคใต้, สึนามิ ลอยตัว น้ำมันเบนซิน 21 ต.ค 2004 สถานการณ์ ทางการเมือง เริ่มรุนแรง ลอยตัว น้ำมันดีเซล 12 ก.ค.2005 ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ที่มา: สศช และ, Biznews

  5. ต้นทุนวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้น...ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวต้นทุนวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้น...ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว % Jul 08 อุตสาหกรรม Jan 07 147.14 Dubai ($:bbl) 55.28 136.62 Diesel (Baht : litre) 22.94 44.24 92.9 ภาคขนส่ง Steel(บิลเล็ต) ($:ton) 420 1143(Jun) 172.1 ก่อสร้าง ยานยนต์ Copper ($:25tons) 6110 8412 37.7 เครื่องใช้ไฟฟ้า Aluminium ($:25tons) 2785 3308 18.8 ยานยนต์,เครื่องใช้ไฟฟ้า LDPE ($:tons) 1345 1870 39.0 พลาสติก Gold ($:OZ) 636.3 925.45 45.4 อัญมณี เครื่องประดับ Silver ($:tons) 12.89 17.75 37.7 อัญมณี เครื่องประดับ Rubber(RSS3) (฿/Kg.) 72.8 108.18 48.6 ผลิตภัณฑ์ยาง Rice(W5%) (฿/Kg.) 10.43 20.8 99.4 อาหาร

  6. ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานที่หลากหลาย...ช่วยลดความเสี่ยงต้นทุนพลังงานภาคอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานที่หลากหลาย...ช่วยลดความเสี่ยงต้นทุนพลังงาน หน่วย: ktoe ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

  7. ต้นทุน Logistics ต่อ GDP ต้นทุน Logistics ถนน 40-50 % น้ำ 15-20% อากาศ 2-3% ราง 1% อื่นๆ Transport น้ำมันเป็นพลังงานสำคัญในภาคขนส่ง Warehouse & Inventory ค่าเสียโอกาสจากการถือครองสินค้า ค่าบริหารจัดการคลังสินค้า ค่าคลังสินค้า Admin.

  8. ทศวรรษแห่ง การเปลี่ยนวิกฤต เป็น โอกาส แม้ว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจะลดลง แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส และเศรษฐกิจก็ยังคงเติบโตได้ เราจึงควรเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็ง การลอยตัวค่าเงินบาท แม้จะทำให้หนี้สินเพิ่ม แต่ก็ช่วยให้การส่งออกขยายตัว ไข้หวัดนกที่ระบาดในปี 2003-2004 ทำให้ไทยหันไปส่งออกไก่ต้มสุก GDP Growth(%) ราคาน้ำมันแพง เป็นโอกาสให้กับผู้ผลิตพลังานทดแทนและถังก๊าซ อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายกำลังการผลิตแต่ตลาดในประเทศชะลอตัว เลยต้องหันไปเน้นส่งออก ค่าเงินบาทที่แข็งค่าและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้มีการขยายการลงในต่างประเทศ

  9. การมองหาโอกาส จากวิกฤต มอง Trendของตลาดแล้วเห็นโอกาส ของแพง เน้นของที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมากขึ้น พลังงานแพง อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และพืชพลังงาน ประเภทอ้อยและมันสำปะหลัง รวมถึงการติดตั้งแก๊ส ค่าพาหนะแพง ซื้อของทาง Internetและมีการวางแผนก่อนการ เดินทาง (GPS) ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปรับตัวตามตลาด และการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

  10. กิจการอุตสาหกรรมก็เปรียบเสมือน เรือที่ต้องเล่นออกไปกลางทะเลใหญ่ ในยามปกติก็เล่นไปได้สบาย แต่ ในยามไม่ปกติ (ภาวะวิกฤต) ก็ต้องเจอกับอุปสรรคมากมาย ทั้งพายุ ลมแรง คลื่นสูง และฟ้าผ่า “มีเพียงเรือที่แข็งแกร่งและมีความพร้อมเท่านั้น ที่จะสามารถฝ่าพายุไปได้”

  11. 1. อุตสาหกรรมเคมี 2. อุตสาหกรรมอาหาร 3. อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ 4. อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ 5. อุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม 6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 7. อุตสาหกรรมแก้วและกระจก 8. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 9. อุตสาหกรรมเซรามิก 10. อุตสาหกรรมเหล็ก 11. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 12. อุตสาหกรรมยา 13. อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 14. อุตสาหกรรมพลาสติก 15. อุตสาหกรรมสิ่งทอ 16. อุตสาหกรรมรองเท้า อุตสาหกรรมที่ทำการสอบถามเกี่ยวกับการปรับตัวในภาวะปัจจุบัน ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  12. การปรับตัว (ระยะสั้น) ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  13. How to strengthen (ระยะกลาง) Flexible Firm Human Resource Strengthening & Competitiveness Product & Process innovation Logistics Environment นโยบายด้านพลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรม Logistics

  14. การสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเอง (ระยะกลาง) (ต่อ) คน (Human Resource) • เน้นการสร้างให้คนรู้จักการสร้างสรรค์ผลงาน • เน้นให้คนมีการสร้างสรรค์นวัตกรรม Process & Product innovation • การลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต/ประหยัดพลังงาน • รู้จักการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลภัณฑ์ • การคิดค้นวัตถุดิบใหม่ๆ พลังงาน และ Logistic • การแก้ปัญหาสินค้าขนส่งไม่เต็มรถ • การตีรถเปล่าขากลับ • การนำระบบ GPS มาใช้ • Packaging • การOutsource • Just In Time (JIT)

  15. นิยามและความหมายของผลิตภาพนิยามและความหมายของผลิตภาพ

  16. ในยุคที่มีการแข่งขันกันสูงทางการค้าและธุรกิจองค์การต่างๆ ทั้งที่ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมรวมถึงองค์การของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ หลักของการเพิ่มผลผลิตในองค์การทุกแห่งจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด 4 ประการ คือ      1.      การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ      2.      การลดต้นทุน      3.      ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและการบริการ      4.      ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

  17. ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่ออกมาใช้ได้อย่างดีที่สุดในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย ความหมายที่ 2  หมายถึง ความสามารถที่ทำให้เกิดผลในการงานหรือลงมือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม (Doing Things Right)ประสิทธิภาพเป็นการเปรียบเทียบส่วนที่เป็น Input หรือปัจจัยนำเข้ากับ Output ผลิตผลที่ได้ การวัดค้าประเมินประสิทธิภาพ คือ Input ต้องใกล้เคียงกับ Output มากที่สุดและมีความสูญเสียน้อยที่สุด ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสามารถในการเลือกเป้าหมายที่เหมาะสมในการบรรลุเป้าหมายนั้นๆความหมายที่ 2 หมายถึง ผลสำเร็จหรือผลที่เกิดขึ้นหรือการเลือกลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม

  18. อัตราผลิตภาพ (Productivity) ผลิตภาพ ผลิตภาพ คือ อัตราส่วนระหว่างผลิตผล (Outputs) ขององค์การในรูปของสินค้าและบริการต่อจำนวนปัจจัยการผลิต (Inputs) ที่ใช้ไปเราสามารถแบ่งประเภทของอัตราผลิตภาพได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้           1. อัตราผลิตภาพเฉพาะส่วน (Partial Productivity) คือ อัตราส่วนระหว่างผลิตผลต่อทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตแต่ละชนิด เช่น อัตราผลิตภาพวัตถุดิบ (Material Productivity) อัตราผลิตภาพเรื่องเงินลงทุน (Capital Productivity) อัตราผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) อัตราผลิตภาพค้าใช้จ่าย (Expense Productivity) อัตราผลิตภาพพลังงาน (Energy Productivity)                 เป็นต้น

  19. อัตราผลิตภาพ (Productivity) ผลิตภาพ (ต่อ) 2. อัตราผลิตภาพองค์ประกอบรวม (Total Factor Productivity) คือ อัตราส่วนผลิตผลสุทธิ ต่อผลรวมของทรัพยากรด้านเงินทุน และแรงงาน (ผลิตผลสุทธิ =  ผลผลิตรวม - ค่าวัตถุดิบบริการที่ต้องซื้อ) ตัวอย่าง ผลิตผล      1000   บาท ทรัพยากรที่ใช้            -  วัตถุดิบ 200   บาท -   เงินลงทุน 300   บาท             -   แรงงาน 200   บาท -   ค่าใช้จ่าย  50    บาท             -   พลังงาน 100   บาท อัตราผลิตภาพเฉพาะส่วน ได้แก่ อัตราผลิตภาพวัตถุดิบ=  1000/200  =    5.00  บาท/บาท อัตราผลิตภาพเรื่องเงินลงทุน =  1000/300=    3.33  บาท/บาท

  20. นั่นคือ การมุ่งหาแนวทางเพิ่มอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) อัตรากำไรต่อรายได้ หรือการเพิ่มผลกำไรโดยรวม จึงมักมีแนวคิดหรือคำนิยามใหม่ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 ดังเช่น การปรับปรุงผลิตภาพ การยกเครื่ององค์กรธุรกิจ(Reengineering) การแข่งขันตามฐานเวลา(Time-Based Competition)การบริหารตามแนวราบ(Horizontal Management) การปรับองค์กร (Reorganize) และอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักสำหรับทุกองค์กรก็คือ การมีสมรรถนะในการแข่งขันสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ลดลงและสามารถให้บริการที่เหมือนเดิมหรือดีกว่า สำหรับกิจกรรมการผลิต ก็จะมุ่งการปรับปรุงผลิตภาพด้วยการจำกัดจำนวนแรงงานหรือชั่วโมงการเดินเครื่องต่อหน่วยผลิตผล เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด รวมทั้งการลดความสูญเปล่าในรูปของ เวลา วัสดุ และเครื่องจักร นั่นหมายถึงการปรับปรุงผลลัพธ์โดยรวมของธุรกิจ ประเด็นหลักที่องค์กรส่วนใหญ่ในโลกธุรกิจมักคำนึงถึง และหาแนวทางปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  21. ผลิตภาพกับสิ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญผลิตภาพกับสิ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญ

  22. 1. ลดค่าใช้จ่าย (ที่ไม่จำเป็น) โดยร่วมด้วยช่วยกันทุกคนสอดส่องดูแลว่ามีจุดรั่วไหล หรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในองค์กรที่ควรงดไว้ก่อน หยุดไว้ก่อน ชะลอไว้ก่อน แม้แต่จะต้องหยุด 3 วัน ทำ 4 วันก็ตาม เพราะการเปิดดำเนินการบริษัทหรือสำนักงานทุกวัน กับคำสั่งซื้อที่หดหายไปอย่างมากมายล้วนไม่เป็นประโยชน์ ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งที่ผ่านมาเมื่อปี 2540 มีหลายองค์กรถึงขั้นงดเปิดเครื่องปรับอากาศ เปิดไฟบางพื้นที่และปิดไฟในหลายพื้นที่ 2. ลดต้นทุนการผลิต (ขจัดความสูญเสีย) ถึงเวลาที่ทุกคนควรจะเรียนรู้และหาหนทางปรับปรุงกระบวนการทำงานของตนไม่ให้สร้างมลพิษหรือของเสีย เพราะช่วงเวลาที่เศรษฐกิจดี ยอดการสั่งซื้อเข้ามามากไม่ขาดสาย เราก็มัวแต่ผลิตสินค้า 24 ชั่วโมง โดยละเลยการพัฒนาพนักงานและปรับปรุงงาน แต่ตอนนี้มีเวลามากมายที่เราควรจะเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์เตรียมพร้อมไว้สำหรับวงจรเศรษฐกิจรอบใหม่ที่จะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ การลดต้นทุนเพิ่มผลิตภาพให้ได้มากที่สุด ดังนี้

  23. การลดต้นทุนเพิ่มผลิตภาพให้ได้มากที่สุด ดังนี้ 3. ลดจำนวนผลผลิต (ที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด) ผลิตสินค้าที่ยังขายได้ และพอมีกำไรในปริมาณที่สอดรับกับความต้องการจริงๆ โดยไม่ผลิตเผื่อหรือทำเกินจากการพยากรณ์ความต้องการที่ผิดพลาด เพราะสินค้าหรือวัตถุดิบที่อยู่ในโกดัง ไม่ต่างกับเงินของเราที่จมอยู่ 4. ลดเวลาทำงาน (ที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม) ขั้นตอนไหนที่ทำไปก็ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าใดๆ แก่องค์กร ลด ละ และเลิกซะ จำไว้เสมอว่ากระบวนการที่ดีต้องมีการตรวจสอบที่น้อย ขนส่งไม่มาก และไม่มีการรอคอย

  24. การลดต้นทุนเพิ่มผลิตภาพให้ได้มากที่สุด ดังนี้ 5. เชื่อมโยงเงินเดือนพนักงานกับความสามารถ ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะมีระบบการพิจารณาเงินเดือนและโบนัสพิเศษที่สอดรับกับผลงานของพนักงานแต่ละคน ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ ระบบวัดผลงานและวิธีการประเมินผลต้องมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม 6. รักษาสมดุลของจำนวนพนักงานกับปริมาณงาน ต่อไปนี้ให้ระลึกไว้อยู่เสมอว่า การรับพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องง่าย แต่การพิจารณาปลดพนักงานเป็นความเศร้า การอดใจไม่เร่งร้อนเพิ่มคนตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันทันใด จนกว่าจะแน่ใจว่าปริมาณความต้องการนั้นจะรักษาระดับไว้ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง อย่าตื่นเต้นกับคำสั่งซื้อที่มากเพียงชั่วคราว เพราะมันอาจหดหายไปได้ในวันข้างหน้า

  25. แนวทางและวิธีการเพิ่มผลผลิตแนวทางและวิธีการเพิ่มผลผลิต

  26. ข้อแนะนำสำหรับ SME

  27. ข้อแนะนำสำหรับ SME • ควรให้เวลาอย่างมากและใกล้ชิดกับธุรกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การมาทำงานเช้ามากขึ้น และกลับบ้านช้ามากกว่าเดิม พูดคุย กับหัวหน้างานและพนักงานมากขึ้น ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ และคู่แข่งอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ควรตระหนกตกใจเกินเหตุ • หันมาทบทวนให้เข้าใจธุรกิจของตนเองให้ลึกซึ้งขึ้น ฝึกดูตัวเลขการเงินและงบบัญชี ดูรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ เช่น แหล่งที่มาของเงินรายได้ ความเสี่ยงของแต่ละแหล่งรายได้ แหล่งเงินสำรอง ต้นทุนและจุดคุ้มทุน หนี้สูญ ระยะเวลาการชำระเงิน รู้จักวางแผน และเขียนแผนธุรกิจ เพื่อทบทวนประเมินศึกษาผลกระทบต่างๆ ศึกษาปัญหา อุปสรรค ทางออก เพราะธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตจะเข้มข้น ซับซ้อน ยุ่งยาก วุ่นวาย สับสนและแข่งขันมากขึ้นจนคาดไม่ถึง

  28. ข้อแนะนำสำหรับ SME • มองหาแนวทางที่จะลดค่าใช้จ่ายขององค์กร เช่น การมองหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาจ่ายเงินกู้ดอกเบี้ยสูง หรือการปิดบัญชี OD ที่ทำกับธนาคารซึ่งมีเงินสดค้ำประกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายอัตราดอกเบี้ยส่วนต่าง ควรเรียกประชุมทุกส่วนงานให้ถี่มากขึ้นและขอให้ทุกกลุ่มช่วยกันคิดหาแนวทางเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แจ้งข้อเท็จจริงให้ทุกคนรับทราบและตระหนักถึงภัยทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดหรือกำลังคืบคลานมาหาให้เข้าใจ เพื่อทำให้ทุกคนเต็มใจและพร้อมรับนโยบายการประหยัดค่าใช้จ่ายและการเปลี่ยนแปลงสภาพธุรกิจเพราะต่างก็ผ่านประสบการณ์มาแล้วจากวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

  29. ข้อแนะนำสำหรับ SME • อย่าลงทุนสิ่งใหม่ๆ หรือขยายธุรกิจที่ไม่จำเป็นในช่วงนี้ ชะลอโครงการไว้ก่อน ไม่ควรลงทุนในสินค้าใหม่ ไม่ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ไม่จำเป็น ไม่ทุ่มงบประมาณส่งเสริมการขายเพราะไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ให้ยึดถือนโยบาย Slow but Sure หรือ Wait and See • - ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องลงทุนต้องไม่ควรเกินร้อยละ 30 ของเงินสดที่มีในมือ ถ้าเกิน ร้อยละ 30 ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าสมควรลงทุนหรือไม่ เพื่อให้มีเงินสดคงเหลือให้มากที่สุดสำหรับการรองรับสภาวะฉุกเฉินและสภาวะเศรษฐกิจวิกฤตได้ยาวนานที่สุด เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะนานแค่ไหน ปัจจัยลบยังมีอีกมากที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมไทย

  30. ข้อแนะนำสำหรับ SME • ไม่ควรกู้เงินเข้ามาเพิ่มภาระ ควรพยายามบริหารด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดที่มี และใช้นโยบายการต่อรองเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีให้มากที่สุด มาถึงตรงจุดนี้อาจมีผู้ประกอบการบางรายเข้าใจว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ธุรกิจของตนซึ่งมีปัญหาอยู่ ก็จะไม่สามารถขอเงินกู้จากธนาคารได้ ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะมีธุรกิจ จำนวนมากเช่นกัน ซึ่งติดต่อขอกู้จากธนาคารเพื่อขยายกิจการ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเช่นกัน โดยสาเหตุมาจากสิ่งเดียวกันคือ ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับทางธนาคารได้ว่าธุรกิจมีความสามารถในการชำระคืนเงินที่กู้ยืมจากธนาคารไปได้ แม้ว่าจะมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ครบถ้วน โดยเฉพาะเรื่องของหลักประกันในการค้ำประกันสินเชื่อนอกเหนือจากการตรวจสอบธุรกิจที่ดำเนินการอยู่

  31. ข้อแนะนำสำหรับ SME -ระมัดระวังการทุจริตและมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ ปัญหาสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตามมาจากปัญหาเศรษฐกิจกำลังเป็นภัยร้ายใกล้ตัวคนเมืองที่ไม่อาจหลบเลี่ยงได้ เช่น การฉกชิงวิ่งราว อาชญากรรม ฆาตกรรม แม้กระทั่งลานจอดรถในห้างสรรพสินค้าก็กลายเป็นสถานที่อันตรายอาจต้องติดกล้องวงจรปิดบันทึกภาพในสำนักงานหรือบริเวณบ้านไว้ด้วย - ใช้ความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบออกไปจากความเคยชิน เดิมๆ พลิกวิธีคิดตัวเองใหม่ และกล้าเปลี่ยนแปลง“การรอบรู้ ไม่ได้แปลว่าเราทำได้ แต่การรู้ให้ลึกสักเรื่องแล้วลง มือทำ เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้มากกว่า”

  32. ข้อแนะนำสำหรับ SME • ผู้ที่จะฝ่าฟันวิกฤตได้ สิ่งที่ต้องเตรียมตัวมี 4 เรื่องคือ • ต้องกล้าคิดออกนอกกรอบ • หมั่นอ่านหนังสือแนวสร้างแรงบันดาลใจ เรื่องราวที่ทำให้จิตใจฮึกเหิม • ไม่ประมาทเลินเล่อหรือวางใจในสิ่งใด • ตาถึง ใจถึง มือถึง และเงินถึง • ยอมรับและเข้าใจในความแตกต่างของคน เพื่อให้คนรอบข้างอยู่ ด้วยแล้วสบายใจ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารจะมีคุณสมบัติในการปกครองคน ใช้คนเป็น และทำให้คนมีความจงรักภักดีต่อองค์กร • - คิดในแง่บวก และสร้างแรงบันดาลใจเปลี่ยนจากความไม่สมหวัง หรือคิดลบว่าเป็นไปไม่ได้ มาเป็นวิธีการทำอย่างไรถึงจะเอาชนะ อุปสรรคหรือชนะปัญหา โอกาสมีอยู่มากมาย เราต้องเอื้อมมือไปหยิบมิใช่รอให้ลอยมาหาเอง

  33. ข้อแนะนำสำหรับ SME • รู้จักแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ และแสวงหาเครือข่ายเพื่อช่วยเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น เช่น ขยายธุรกิจ หรือ การขายผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศโดยอาศัยช่องทางพันธมิตรทางธุรกิจที่มีเครือข่ายอยู่แล้ว และมีศักยภาพ สามารถนำผลิตภัณฑ์ของเราไปจำหน่ายได้ การสั่งซื้อวัตถุดิบร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นก็อาจทำให้ได้ปริมาณที่มากพอจนมีอำนาจต่อรองกับผู้ขายได้มากขึ้น การปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่มีนโยบาย สนับสนุนธุรกิจอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอจะทำให้มีโอกาสพบกับพันธมิตรและคู่คิดทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งดีกว่าการทำธุรกิจแบบหัวเดียวกระเทียมลีบ

  34. ข้อแนะนำสำหรับ SME • ธุรกิจควรมีนโยบายการตั้งสำรองเงินสดในกิจการไว้เสมอ เพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ถ้าธุรกิจประสบปัญหาหรือเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ปัญหาที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของกิจการมักเป็นประเด็นปัญหาจากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือปัญหาเกี่ยวกับเงินสดของกิจการเป็นสำคัญ พึงระลึกว่าเงินสด ที่ตั้งสำรองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกรณีที่ธุรกิจประสบปัญหาเร่งด่วนที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินสด หรือเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในธุรกิจเท่านั้น ถ้าธุรกิจต้องการใช้เงินสดในวัตถุประสงค์อื่น เช่น ซื้อเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตใหม่ การขยายกิจการ การลงทุนเพิ่ม หรือแม้แต่ใช้เพื่อให้กู้ยืมกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือกรรมการก็ตาม ควรใช้ แหล่งเงินทุนจากแหล่งหรือวิธีการอื่นๆ ซึ่งจะต้องไม่ดึงเงินสดที่ตั้งสำรองไว้นี้เพราะเงินสดที่ตั้งสำรองนี้คือเครื่องมือในการประกันความเสี่ยงในการอยู่รอดของธุรกิจ

  35. ข้อแนะนำสำหรับ SME • ควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกและร่วมกิจกรรมกับองค์กรหรือหน่วยงานที่ สามารถให้ความช่วยเหลือพึ่งพากันได้ เช่น สภาอุตสาหกรรม หอการค้าจังหวัด สสว. สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอี เป็นต้น หน่วยงานดังกล่าวมีผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆ ด้านที่พร้อมจะช่วยเหลือนักธุรกิจรายย่อยให้ได้รับคำแนะนำและแนวทางที่ถูกวิธี • ควรผลักดันให้มีแหล่งค้นคว้าข้อมูลนวัตกรรมและศูนย์บริการองค์ความรู้ในจังหวัดของตน เช่น ให้มีห้องสมุดที่มีตำรา คู่มือการออกแบบ หรือตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ แหล่งเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ในการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ฯลฯ เพื่อนักธุรกิจSME สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เพราะนักธุรกิจขนาดเล็กในภูธรจะเสียเปรียบในการเข้าหาแหล่งข้อมูล ต่างกับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพซึ่งมีแหล่งให้เข้าไปค้นคว้าหาความรู้ได้มากกว่า (ไม่รวมถึงกรณีข้อมูลจากเว็บไซด์ต่างๆ) ข่าวดีล่าสุดคือคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ 70 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างและดำเนินการจัดตั้งศูนย์ ทีซีดีซี (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) โดยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จใน 18 เดือน

  36. ตัวอย่างแนวคิดการบริหาร

  37. ตัวอย่างแนวคิดการประหยัดต้นทุน แนวคิดของการจัดรูปแบบและขั้นตอนในการทำธุรกรรมการจัดซื้อ จัดกระบวนการจัดซื้อ รูปแบบของการจัดซื้อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสามารถทำให้การจัดซื้อลดต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบลดลงได้อย่างน้อย 10% เช่น จัดให้มีการเปิดประมูลซื้อสินค้าและวัตถุดิบ การประชาสัมพันธ์ให้Suppliers ทราบถึงความต้องการจัดซื้อให้มากขึ้น ทำการต่อรองโดยการสั่งซื้อครั้งละจำนวนมากๆ เพื่อขอราคาพิเศษ และมีการทยอยส่งมอบสินค้าเพื่อวางแผนการจัดเก็บได้ง่ายขึ้น การจ่ายเงินควรทยอยจ่ายตามยอดการจัดส่ง เพื่อให้สามารถลดต้นทุนเกี่ยวกับการบริหารการเงิน ตรวจสอบมิให้มีการรั่วไหลในจุดต่างๆ หลายครั้งที่การทุจริตเกิดจากคนใกล้ตัว หรือคนที่เราไว้วางใจมากที่สุด

  38. ตัวอย่างแนวคิดการประหยัดต้นทุน Suppliers ที่ฉลาดจะบริหารจัดการธุรกิจของตนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บริหารการผลิตครั้งละไม่มากแต่สอดคล้องกับการจัดส่ง สามารถทราบปริมาณที่แน่นอนทำให้การวางแผนจัดซื้อ การจัดเก็บ บริหารการเงิน ทำได้ง่ายขึ้นและต้นทุนต่ำลงด้วยเช่นกัน ถ้าเป็น Suppliers ที่ระบบการเงินยังไม่คล่องตัวสามารถนำคำสั่งซื้อจากบริษัทใหญ่เป็นที่รู้จักและยอมรับของสถาบันการเงินไปขอวงเงินกู้ยืมจากทางธนาคารได้อีกด้วย ทำให้ต้นทุนทางการเงินถูกกว่าการกู้ยืมนอกระบบ การจัดส่งสินค้าต้องวางแผนจัดเส้นทางขนส่ง และระยะเวลารอบการขนส่งให้ดีเพราะน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง จึงต้องวางแผนให้รอบคอบ ศึกษาระบบ Supply Chain ให้เข้าใจลึกซึ้งและนำมาปรุงปรุงใช้งานกับธุรกิจของตน นำเทคโนโลยีไอทีและระบบซอฟท์แวร์มาช่วยในการบริหารจัดการเพื่อความมีประสิทธิภาพในด้านจัดเก็บข้อมูล การวางแผน ติดตาม เปรียบเทียบ และทำให้งานรวดเร็วถูกต้องขึ้น

  39. ตัวอย่างแนวคิดการประหยัดต้นทุน แนวคิดการป้องกันและตรวจสอบการทุจริต การป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นในองค์กร เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้และจะทำให้เกิดการเพิ่มรายได้หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้องค์กรได้โดยไม่เสียเงิน วิธีง่ายๆ ที่จะตรวจสอบคือการเรียกดูข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นในเรื่องต่างๆ สม่ำเสมอ อย่าอนุมัติอะไรง่ายเกินไป หรืออย่าอนุมัติอะไรโดยไม่ดูรายละเอียดให้รอบคอบก่อน ควรศึกษาข้อมูลทางเลือกอื่นๆ มาเปรียบเทียบดู สิ่งเหล่านี้คือวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลแน่นอน ในภาวะฝืดเคืองเช่นนี้ การทุจริตลักทรัพย์ ฉ้อฉล ฉ้อโกง จะเกิดขึ้นมาก การหวังพึ่งพากฎหมายหรือตำรวจทำได้ไม่เต็มที่ จึงควรหาวิธีป้องกันด้วยตนเองไว้ก่อนจะดีกว่า

  40. ตัวอย่างแนวคิดการประหยัดต้นทุน แนวคิดการป้องกันและตรวจสอบการทุจริต พึงตระหนักเสมอว่า “การทุจริตในองค์กร คือบ่อเกิดของความหายนะ” จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างเปิดเผย การทุจริตเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เนื่องจากสาเหตุและปัจจัยหลายอย่าง จึงควรใช้แนวคิด “ล้อมคอกก่อนวัวหาย” ตัวอย่างง่ายๆ ที่จะใช้เพื่อป้องกันการทุจริต เช่น กล้องวงจรปิด หรือการตรวจสอบอาจจะเป็นบุคคล มีการนำเทคโนโลยีทางด้าน IT มาใช้ การใช้เครื่องมือมาเป็นตัวช่วย และมีระบบการตรวจสอบอย่างเปิดเผย “การป้องปรามไม่ให้เกิดขึ้น น่าจะง่ายและดีกว่าการติดตามเรื่องเกิดขึ้นแล้ว”

  41. ตัวอย่างแนวคิดการทำธุรกิจในลักษณะ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเอาชนะอุปสรรคในภาวะเศรษฐกิจถดถอย การมองกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ในสภาวะวิกฤตดูเหมือนจะยากมากๆ แต่ไม่ยากจนเกินความสามารถของผู้ที่มีความเพียรพยายาม มีความคิดใหม่ๆ แบบสร้างสรรค์ คนที่มีความอดทนและขยัน การที่น้ำมันราคาแพง และราคาสินค้าสูงขึ้น ทำให้คนไทยไม่น้อยประสบปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย จึงหันมาหารายได้พิเศษเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มขึ้น หรือท่านที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จแต่ยังมีกำลังใจคิดลุกขึ้นมาสู้ใหม่ในยุคที่ต้องดิ้นรนในทุกด้านเช่นนี้ การหันมาเอาดีทางธุรกิจเล็กๆ เงินลงทุนไม่สูงจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อให้สามารถฝ่าฟันอุปสรรคในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน “นกน้อยทำรังแต่พอตัว”

  42. ตัวอย่างแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ การผลิตสินค้า หรือบริการที่เน้นความแตกต่างจากสินค้า หรือบริการเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยใช้ยุทธวิธี Value Innovation คือการสร้างมูลค่าสินค้า โดยการใช้นวัตกรรม เพื่อสร้างความต้องการซื้อให้เกิดขึ้น เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการนั้นๆ วิธีสร้าง Value Innovationประกอบด้วย 1. Value Added คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ เช่น ผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของ Niche Market ตัวอย่างเช่น มองถึงตลาดของผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพ ที่ต้องการสินค้าที่มีส่วนประกอบที่เต็มไปด้วยคุณค่า แต่ไม่ต้องการเพิ่มแคลอรี่ให้กับร่างกาย เหมาะกับตลาดของวัยทำงาน วัยสูงอายุ การสร้างบูติคโฮเต็ลที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาพัก เมื่อมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานก็สามารถกำหนดราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นได้

  43. ตัวอย่างแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ (ต่อ) 2. Develop Packaging บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ดึงดูดความสนใจและมีเอกลักษณ์ นอกจากจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความต้องการในสินค้าแล้ว ยังช่วยถนอมสินค้าให้มีคุณภาพดีตลอดเวลา เท่ากับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้านั่นเอง ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่ดีศึกษาได้จากประเทศญี่ปุ่น 3. Product Design การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีรูปลักษณ์ที่แตกต่าง มีลักษณะเด่น มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ดูดี มีคุณค่า น่าซื้อ ใช้งานง่าย สนองตอบความต้องการผู้บริโภคได้ดีกว่าของคู่แข่ง 4. Build Brand การสร้างแบรนด์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภค ขณะเดียวกันผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการ จะต้องรักษาคุณภาพสินค้าและบริการให้มีมาตรฐานคงที่ หรือเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาหรือเพิ่มส่วนแบ่งตลาดที่มีอยู่แบรนด์ดีมีคุณค่ายิ่ง ต้องรู้จักการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการมิให้ผู้ใดมาละเมิด

  44. สิ่งต่างๆ ที่เล่าให้ฟัง มิใช่ของใหม่แต่เป็นสิ่งที่หลายท่านเคยได้ยิน ได้ทราบ ได้เรียนรู้มาแล้วทั้งสิ้น เพียงแต่ช่วยถ่ายทอดเพื่อตอกย้ำให้ท่านมีความกระจ่างชัดขึ้น มีกำลังใจมากขึ้น มีแนวคิดเพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือ วันนี้เรามีเพื่อนที่รู้จักกันเพิ่มขึ้น

  45. ภาคเอกชน :ธุรกิจที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีจุดเน้นที่ยุทธศาสตร์ เชื่อมโยงกัน ทั้งแนวตั้งแนวนอน สถาบันการศึกษาและ R&D:พัฒนาเสริมสร้างพื้นฐานด้าน ทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรม สถาบัน/สมาคม/ผู้ให้บริการต่างๆ: พื้นฐานการพัฒนาเทคนิคและการรวมกลุ่มธุรรกิจ CLUSTER ภาครัฐบาล :นโยบาย กฎ ระเบียบเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนโดยอุปสงค์ ส่งเสริมการเปิดกว้างทางการค้า คลัสเตอร์ทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต (Productivity) และนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขัน

  46. 2. ความร่วมมือ (Collaboration) 1. การเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน(Connectivity) • สมาชิกใน Cluster จะร่วมมือกัน โดย มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Core Objective/Value) รวมทั้งกลยุทธ์ • ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและ ถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลข่าวสาร • เป็นการเชื่อมโยง ทั้งแนวตั้งและแนวนอน • การเชื่อมโยงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงผู้ ประกอบการเท่านั้น แต่รวมถึงสถาบัน การศึกษา/วิจัยและพัฒนา สถาบัน การเงิน องค์กรภาครัฐ และสมาคม เอกชน 3. การแข่งขัน (Competition) • Cluster มิใช่ระบบผูกขาดทางการค้าที่ มุ่งกำหนดกลไกราคาหรือปริมาณ เพื่อ ผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก • การรวมกลุ่มแบบ Cluster จะต้องอยู่ บนพื้นฐานของการแข่งขัน 4. ประสิทธิภาพโดยรวม (Collective Efficiency) • ความร่วมมือท่ามกลางการแข่งขันประกอบกับการเชื่อมโยงที่เป็นระบบ การแลก เปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพโดยรวม คลัสเตอร์ : มิติใหม่ของความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน

  47. คลัสเตอร์จะทำให้ภาคการผลิตและบริการมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้คลัสเตอร์จะทำให้ภาคการผลิตและบริการมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ของสมาชิก ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการเกิดธุรกิจใหม่และการขยายตัวของธุรกิจเดิม เกิดการสร้างนวัตกรรม

  48. คลัสเตอร์ควรริเริ่มโดยภาคเอกชน และกระตุ้น/สนับสนุนโดยภาครัฐ ศึกษาความเป็นไปได้ และคัดเลือกคลัสเตอร์ที่จะทำการส่งเสริม Cluster Mapping ขั้นตอนการพัฒนาคลัสเตอร์ Cluster Development Agent (CDA) กระตุ้น/สร้างจิตสำนึกของการรวมกลุ่ม ให้เข้าใจยุทธศาสตร์ และกระบวนการ (Promotion and Mobilization) วิเคราะห์สถานภาพของคลัสเตอร์ (Diagnosis) จัดทำยุทธศาสตร์ ที่เป็นความเห็นร่วมกัน (Collaborative Strategy) นำไปสู่การปฏิบัติ (Implementation) ที่มา : สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

  49. Food Fashion Automobile Chemicals and Plastics Electrical and Electronics Building and Furnishing Materials Household Goods ตัวอย่างแผนที่เครือข่ายวิสาหกิจในประเทศไทย (Cluster Mapping) Dried Fruits - เชียงใหม่ Clothes - เชียงใหม่ Jewels Shaping - พะเยา Canned Tropical Fruits - เชียงใหม่ Electronics - ลำพูน Ceramics - ลำปาง Clothes - สกลนคร Agriculture Machinery - พิษณุโลก Sugar - ขอนแก่น Jewels Shaping - อุบลราชธานี Chicken - ลพบุรี Basic Plastic Product - นครราชสีมา Animal Feed - สระบุรี Agriculture Machinery - อยุธยา Electronics - อยุธยา Basic Processed Leather - สมุทรปราการ Pork - นครปฐม Electrical Appliances - ชลบุรี Frozen Shrimp - สมุทรสาคร Petro Chemicals - ชลบุรี แป้งข้าวเจ้า - ราชบุรี Chemicals-ระยอง/ Petro Chemical - ระยอง Textiles - ราชบุรี Spices (Pepper) - จันทบุรี Canned Pineapple - เพชรบุรี Jewels Shaping - จันทบุรี Basic Iron Production - ประจวบคีรีขันธ์ Basic Iron Production - ระยอง Automobile - ชลบุรี/ ระยอง Processed Para Wood - สุราษฎร์ธานี Processed Para Wood - สงขลา Canned Tuna - สงขลา Basic Processed Para Rubber - สงขลา

More Related