1 / 21

CHAPTER 4

CHAPTER 4. Table. Chapter 4. การสร้างตาราง Attribute สำหรับ Table Cellpadding and Cellspacing Width and Height การจัดตำแหน่งของข้อความในตาราง Align และ Valign การปรับแต่งสีพื้นหลังและภาพพื้นหลัง Colspan และ Rowspan. การสร้างตาราง.

Download Presentation

CHAPTER 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. CHAPTER 4 • Table

  2. Chapter 4 • การสร้างตาราง • Attribute สำหรับ Table • Cellpadding and Cellspacing • Width and Height • การจัดตำแหน่งของข้อความในตาราง Align และ Valign • การปรับแต่งสีพื้นหลังและภาพพื้นหลัง • Colspan และ Rowspan

  3. การสร้างตาราง • < TABLE > ใช้สร้างตาราง ซึ่งในเว็บเพจส่วนใหญ่หรือเกือบทุกเว็บเพจมักใช้แท็กนี้กันทั้งนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าตารางสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลาย แบบตั้งแต่ใช้เป็นตารางธรรมดาเพื่อแสดงค่าตัวเลขทางสถิติหรือตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการใช้ตารางนำเสนอข้อมูลแบบนี้ทำให้เห็นการเปรียบเทียบ ที่ชัดเจน ต่อมามีการประยุกต์ใช้ตารางกับข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น ข้อความ หรือรูปภาพเพื่อช่วยออกแบบโฮมเพจ (คือเว็บเพจแรกที่จะแสดงให้เห็นเมื่อเข้าสู่ เซิร์ฟเวอร์นั้น) หรือเว็บเพจทั่วๆ ไปด้วย จนบางครั้งดูไม่ออกว่าเป็นตาราง ในบทนี้จะค่อยๆ อธิบายจากการทำตารางง่ายๆ ไปจนถึงการใช้ตารางช่วยออกแบบเว็บเพจ

  4. การสร้างตาราง • โครงสร้างของตาราง • โครงสร้างตารางโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยแถวและคอลัมน์ โดยช่องข้อมูลที่อยู่ในแนวนอนเดียวกันก็คือแถว Row และช่องข้อมูลที่อยู่ตรงกันในแนวตั้งก็คือ คอลัมน์นั่นเอง Column • หลักการในการสร้างตาราง • ประกาศ <TABLE> ก่อน จากนั้นจะเริ่มสร้างจาก Row <TR> โดยทิศทางจะเป็น ซ้าย --> ขวา แล้วค่อยๆ สร้าง Cell , ช่องในแต่ละ Column ต่อมา <TD>

  5. การสร้างตาราง – ตัวอย่าง <TABLE> <TR>                <TD>.........</TD><TD>.........</TD></TR><TR><TD>.........</TD>          <TD>.........</TD> </TR> <TR><TD>.........</TD><TD>.........</TD> </TR> <TABLE> ผลลัพธ์ที่ได้คือ ตารางขนาด 3 แถว แถวละ 2 คอลัมน์นั่นเอง

  6. การสร้างตาราง – Tag ที่เกี่ยวข้อง • <TABLE> กำหนดการสร้างตาราง และมีคำสั่งปิดคือ </TABLE> • <TR> (Table Row) เป็นการกำหนดแถวของตาราง และมีคำสั่งปิดคือ </TR> • <TD> (Table Data) เป็นการกำหนดข้อมูลในตาราง และมีคำสั่งปิดคือ </TD> • นอกจากนี้ยังมี Tag อื่นๆ ที่ช่วยในการสร้างตาราง คือ • <CAPTION> เป็นการกำหนดคำ หรือข้อความอธิบายตาราง และมีคำสั่งปิดคือ </CAPTION> • * <TH> มีค่าเท่ากับ <TD> เพียงแต่ทำให้ข้อมูลที่อยู่ในนี้เป็นตัวหนาและจัดรูปแบบให้อยู่ตรงกลาง

  7. การสร้างตาราง – การกำหนดเส้นขอบ BORDER • การกำหนดเส้นของตาราง • โดยทั่วไปแล้วข้อมูลในตารางจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ อย่างชัดเจนโดยมีเส้นกรอบล้อมรอบแต่ละช่องข้อมูล แต่บางครั้งเพื่อความสวยงามแล้ว นักออกแบบเว็บเพจอาจเลือกที่จะไม่แสดงเส้นกรอบที่ทำให้รกหูรกตานั้นได้ โดยเฉพาะในกรณีที่นักออกแบบให้แท็ก <TABLE> ในการตกแต่งเว็บเพจ การกำหนดว่าจะแสดงหรือไม่แสดงกรอบทำได้โดยใช้แอตทริบิวต์ BORDER และ BORDERCOLOR ที่ Tag <TABLE> เท่านั้น • ตัวอย่าง <TABLE BORDER="ค่าตัวเลข" BORDERCOLOR="#RGB หรือชื่อสี" > • หมายเหตุ โดยปกติถ้าไม่ใส่ Attribute นี้ จะไม่มีเส้นขอบขึ้นมาให้

  8. การสร้างตาราง – การกำหนดเส้นขอบ BORDER <TABLE BORDER=1> <TR> <TD>data</TD> <TD>data</TD> </TR> <TR> <TD>data</TD> <TD>data</TD> </TR> </TABLE> <TABLE> <TR> <TD>data</TD> <TD>data</TD> </TR> <TR> <TD>data</TD> <TD>data</TD> </TR> </TABLE>

  9. ข้อมูล ข้อมูล Cellpadding Cellspacing Attribute สำหรับ Table - Cellpadding และ Cellspacing • โดยปกติเมื่อมีการใส่ข้อความลงไปใน Cell หรือ <TD> จะมีช่องว่างต่างๆ เกิดขึ้น เราสามารถกำหนดให้ค่าของช่องว่างเรานี้มากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ • Cellpadding = ช่องว่างระหว่างข้อมูลกับกรอบภายใน Cell • Cellspacing = ช่องว่างระหว่าง Cell กับ Cell • Cellpadding กับ Cellspacing จะเป็น Attribute ที่ใส่ไว้ใน <TABLE> โดยกำหนดค่าเป็นตัวเลข Pixel เช่นเดียวกับ Attribute Border

  10. Attribute สำหรับ Table – Width และ Height • การใช้แอตทริบิวต์ WIDTH และ HEIGHT เพื่อกำหนดขนาดของช่องข้อมูลและตำแหน่งของข้อมูลในแต่ละช่อง • โดยการกำหนดทั้ง WIDTH และ HEIGHT สามารถกำหนดเป็นแบบ Percent หรือ ว่ากำหนดเป็น Pixel ก็ได้ • สามารถกำหนดได้ใน Tag ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น <TABLE> , <TR>, <TD> แต่ต้องให้มีความสัมพันธ์กัน เช่น ถ้าในแถวเดียวกันกำหนด Height ไว้เท่าไร ในแถวนั้นถ้ามี <TD> ใดกำหนดสูงกว่า ก็จะให้ผลลัพธ์เท่ากับค่าที่สูงสุดในแถวนั้น • เช่นเดียวกันกับ Column ถ้าใน Column มีการกำหนด Width ไว้ ตารางจะนับค่าที่มากที่สุดแทนค่าอื่นๆ ที่กำหนดเอาไว้

  11. Attribute สำหรับ Table – Width และ Height เลือกเอา Height ที่มากที่สุด เลือกเอา Width ที่มากที่สุด

  12. Attribute สำหรับ Table – การจัดตำแหน่ง • เราสามารถกำหนดตำแหน่งให้กับข้อมูลที่อยู่ในตารางได้ โดยการใช้ Attribute • Align = กำหนดตำแหน่ง Left , Center , Right (ซ้าย กลาง ขวา) • Valign = กำหนดตำแหน่ง Top , Middle , Bottom (บน กลาง ล่าง) • ซึ่งเราสามารถใส่ Attribute Align , Valign ได้ที่ TAG <TR>, <TD> • ถ้ากำหนด Align ไว้ที่ <TABLE> จะเป็นการจัดตำแหน่งของ Table กับจอภาพแทน • ที่สำคัญคือ ถ้าหากว่าเรากำหนดไว้ใน <TR> แล้วไปกำหนดต่อใน <TD> จะนับจากส่วนที่ย่อยสุดเป็นหลักก่อน คือ ดูตามค่า ใน <TD> แล้วค่อยไปดูใน <TR>

  13. Attribute สำหรับ Table – การจัดตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น <TABLE> <TR ALIGN=RIGHT> <TD>x</TD> <TD ALIGN=LEFT>x</TD> </TR> <TR> <TD ALIGN=CENTER>x</TD> <TD>x</TD> </TR> </TABLE> จัดตาม <TR> จัดตาม <TD> จัดตาม Default จัดตาม <TD>

  14. Attribute สำหรับ Table – การจัดตำแหน่ง สรุปการกำหนดตำแหน่ง

  15. Attribute สำหรับ Table – สีพื้นหลังและภาพพื้นหลัง • เราสามารถใส่สีให้กับช่องของตารางหรือ Cell ได้โดยการเพิ่ม Attribute BGCOLOR เข้าไป (เหมือนกับ <BODY> ) ช่องก็จะมีสีตามที่เรากำหนดไว้ • สามารถกำหนดได้ใน Tag ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น <TABLE> , <TR>, <TD> แต่มีหลักการเหมือนกันกับ Align คือ ถ้าหากว่าเรากำหนดไว้ใน <TABLE> แล้วไปกำหนดต่อใน <TR> หรือ <TD> จะนับจากส่วนที่ย่อยสุดเป็นหลักก่อน คือ ดูตามค่า ใน <TD> แล้วค่อยไปดูใน <TR> แล้วจึงไปดูค่าใน <TABLE> ต่อไป

  16. Attribute สำหรับ Table – สีพื้นหลังและภาพพื้นหลัง เช่น <TABLE BGCOLOR=“blue” BORDER=1> <TR> <TD>&nbsp;</TD> <TD>&nbsp;</TD> </TR> <TR> <TD BGCOLOR=“Yellow”>&nbsp;</TD> <TD>&nbsp;</TD> </TR> </TABLE>

  17. Attribute สำหรับ Table – สีพื้นหลังและภาพพื้นหลัง • นอกจากนี้เรายังสามารถใส่ภาพเป็น Background ให้กับตารางได้ด้วย โดยใช้ Attribute Background=“ที่อยู่รูปภาพ/ชื่อรูปภาพ” โดยหลักการใช้เหมือนๆ กับ BACKGROUND ของ <BODY> เช่น • <TABLE BORDER=1> • <TR> • <TD>&nbsp;</TD> • <TD>&nbsp;</TD> • </TR> • <TR> • <TD BACKGROUND=“j002.jpg”>&nbsp;</TD> • <TD>&nbsp;</TD> • </TR> • </TABLE>

  18. ข้อควรระวังในการใช้ Table • ระวังการใช้ HTML จัดรูปแบบอักษรกับ TABLE • ถ้าต้องการกำหนดรูปแบบอักษรให้กับข้อความทุกข้อความในตาราง ไม่สามารถใช้คำสั่ง เช่น <B><I>…..</I></B> ระบุครอบตาราง ดูตัวอย่าง วิธีที่ถูก <table> <tr><td> <B><I>ข้อความ</I></B></td></tr> </table> วิธีที่ผิด <B><I>…..<table> ..... </table> </I></B>

  19. Colspan และ Rowspan • ในตอนสร้างตารางครั้งแรก จะเห็นได้ว่า ตารางที่สร้างขึ้นมาได้นั้นเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมที่มีช่องแต่ละ Row แต่ละ Column เท่าๆกัน แต่ว่าในการใช้งานจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตารางขึ้นมา • การปรับแต่งตารางให้มีรูปร่างที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่อง เช่นการขยายตามแนวนอน หรือการขยายตามแนวตั้งนั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่ม Attribute Colspan หรือ Rowspan เข้าไปที่ <TD> • COLSPAN = การขยายช่องตามแนวตั้ง (Column) ออกไปทางด้านขวามือของช่องตารางนั้น • ROWSPAN = การขยายช่องตามแนวนอน (Row) ลงไปทางด้านล่างของช่องตารางนั้น

  20. Colspan และ Rowspan • ตัวอย่าง COLSPAN • <TABLE> • <TR> • <TD COLSPAN=2>…</TD> • </TR> • <TR> • <TD>…</TD> • <TD>…</TD> • </TR> • </TABLE> จะเห็นว่า Row ที่ 1 จะมีแค่ Cell เดียวเท่านั้น และ Cell นั้นก็จะมีการขยาย Column ออกไป 2 Column ทางด้านขวา * ดูได้ง่ายๆ คือ บรรทัดไหนมีกี่ช่อง ก็จะมี <TD> ตามที่กำหนด และดูได้อีกว่าช่องนั้นขยายไปกี่ Column จากจำนวนช่องด้านบนหรือช่องด้านล่างของช่องที่ขยาย ว่าขยายไปเท่าไร

  21. Colspan และ Rowspan • ตัวอย่าง ROWSPAN • <TABLE> • <TR> • <TD ROWSPAN=2>…</TD> • <TD>…</TD> • </TR> • <TR> • <TD>…</TD> • </TR> • </TABLE> • จะเห็นว่า Row ที่ 1 จะมี Cell 2 Cell และ Cell แรกก็จะมีการขยาย Row ลงไป 2 Row ทางด้านล่าง • ดูได้ง่ายๆ คือ ช่องนั้นขยายไปกี่ Row จากจำนวนช่องข้างซ้ายหรือช่องด้านขวาของช่องที่ขยาย ว่าขยายไปเท่าไร • ถ้าบรรทัดนั้นมีช่องที่ถูกขยายมาจากนั้นบน บรรทัดนั้นจะนับจำนวนช่องเฉพาะที่ไม่ได้ถูกขยายมา เช่น จากรูป แถวที่ 2 จะมีแค่ช่องเดียวหรือ <TD> เดียวเท่านั้นเอง

More Related