1 / 40

คำนำ

คำนำ.

collin
Download Presentation

คำนำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คำนำ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ จากการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินเล่มนี้เกิดขึ้น เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาและระเบียบกระทรวงการคลังที่ใช้ในการขออนุมัติเบิกจ่ายค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุมีเนื้อหาจำนวนมาก อาจทำให้ไม่สะดวกในการค้นหาในเวลาเร่งด่วน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องหยิบเฉพาะเนื้อหาที่จำเป็นใช้ในการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานและเป็นเอกสารเผยแพร่สำหรับผู้สนใจ ศนิยา พิมพ์มีลาย เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

  2. สารบัญ • เนื้อเรื่องหน้า • การเบิกจ่ายเงิน 3-19 • การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง 20-25 • เงินยืมราชการ 26-26 • การจัดซื้อจัดจ้าง 27-29 • หลักประกันซอง/หลักประกันสัญญา 30-30 • การควบคุมวัสดุ/ครุภัณฑ์ 31-32 • รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง 33-35 • ค่าสาธารณูปโภค 36-37

  3. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน งานการเงินและบัญชี ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอโดย นางศนิยา พิมพ์มีลาย เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

  4. เรื่องที่นำเสนอ • การเบิกจ่ายเงิน • การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง • เงินยืมราชการ • การจัดซื้อจัดจ้าง • การควบคุมพัสดุ • รถยนต์/น้ำมันเชื้อเพลิง • ค่าสาธารณูปโภค

  5. การเบิกจ่าย-เงิน

  6. การเบิกจ่าย-เงิน • มีการก่อหนี้ผูกพัน ก่อน ที่กรมจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวด • นำค่าใช้จ่ายของปีก่อนมาเบิกจ่ายในปีปัจจุบัน (ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อได้รับใบแจ้งหนี้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด)

  7. การเบิกจ่าย-เงิน • รายการที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อได้รับใบแจ้งหนี้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งสามาถนำมาเบิกจ่ายในปีงบประมาณ ถัดไปที่ได้รับใบแจ้งหนี้ได้ เช่น • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เฉพาะเดือน กย. • ค่าไฟฟ้า ประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าฝากส่งไปรษณีย์รายเดือน เฉพาะเดือน สค. กย. • ค่าเช่าบ้าน

  8. การเบิกจ่าย-เงิน • นำค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือกระทรวงการคลังไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำมาเบิกได้ มาเบิกจากทางราชการ • ค่าของขวัญวันเด็ก วันปีใหม่ • ค่าการ์ด สคส. และค่าจัดส่ง • ค่าบริการเสริมโทรศัพท์มือถือ

  9. การเบิกจ่าย-เงิน นำค่าใช้จ่ายที่ต้องเบิกจากงบลงทุนมาเบิกจากงบดำเนินงาน • การจัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานนาน มีลักษณะคงทน แต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด เกิน 5,000 บาท นำมาเบิกจ่ายในค่าวัสดุ • รายการประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุง ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 50,000 บาท

  10. การเบิกจ่าย-เงิน การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และการฝึกอบรม ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม • มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง (ระบุจำนวน.....วัน.....ชั่วโมง ไม่ถูกต้องครบถ้วน) • เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ซ้ำซ้อนกับ OTและวันลา • ขออนุญาตเดินทางไปราชการในพื้นที่ ที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบ(เป็นภารกิจส่วนตัว แต่ขออนุญาตเดินทางไปราชการเพื่อเบิกค่าใช้จ่าย)

  11. การเบิกจ่าย-เงิน • ขออนุญาตเดินทางโดยรถส่วนตัวแต่ นำใบเสร็จค่าเติมน้ำมันระหว่างทางมาเบิก (ต้องเบิกเป็นค่าชดเชยตามระยะทาง) • เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยไม่ประหยัด เช่นออกเดินทางจากโรงแรม หรือที่พักอาศัยในหน่วยงานเดียวกัน ไปยังจุดหมายเดียวกัน เบิกค่า แท็กซี่ คนละคัน • ระยะทางไม่สอดคล้องกับสถานที่ในการขออนุญาตเดินทาง

  12. การเบิกจ่าย-เงิน • มีการแก้ไขใบขออนุญาตเดินทาง เพิ่มเติม หลังจากได้รับอนุมัติแล้ว เช่นเปลี่ยนแปลง วันที่เดินทาง ผู้ร่วมเดินทาง • ระยะเวลาในการเดินทางที่ขอเบิกเงินไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ • การขออนุญาตใช้รถในการเดินทางไม่ตรงกับการเดินทางไปราชการจริง

  13. การเบิกจ่ายเงิน • การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ารับการฝึกอบรมสัมมนา ไม่ได้เบิกค่าใช้จ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนที่ผู้จัดไม่ออกค่าใช้จ่ายให้ แต่เบิกเพิ่มทั้งค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พักเหมาจ่าย • การรับเชิญเป็นวิทยากรให้หน่วยงานอื่น แต่เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากหน่วยงานต้นสังกัด (ต้องเบิกจากหน่วยงานผู้จัด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี) • การเดินทางเกี่ยวข้องเรื่องทุนการศึกษา ไม่ถือเป็นการเดินทางไปราชการชั่วคราวตามระเบียบกระทรวงการคลัง เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้

  14. การเบิกจ่าย-เงิน • การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ของมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ถูกต้อง • ปริญญาตรี ปวส.เอกชน ระเบียบกำหนดให้เบิกครึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลัง กำหนด แต่นำมาเบิกทั้งหมด โดนไม่หารครึ่งก่อน

  15. การเบิกจ่าย-เงิน • การเบิกค่ารักษาพยาบาล เกินสิทธิ์ • การเบิกค่าตรวจสอบสุขภาพให้บุคคลในครอบครัว เบิกได้เฉพาะตัวเท่านั้น • ไม่ได้ทำการตรวจสอบ อัตราการเบิกจ่ายแต่ละรายการตามรหัสค่ารักษาพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด • ให้ธุรการเป็นผู้รับรองการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล เงินสวัสดิการศึกษาบุตร ไม่ได้

  16. การเบิกจ่ายเงิน • การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงิน ตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ไม่จัดทำการออกใบสั่งซื้อในระบบ GFMIS (PO) เพื่อวางฎีกาจ่ายตรงให้แก่ผู้ขาย • มีการสำรองจ่ายเงินสดในการจัดซื้อจัดจ้างบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลสมควร ทำการเบิกจ่ายเงินไม่เป็นหลักเกณฑ์ที่ระเบียบกำหนด เช่นการจัดทำ PO การหักภาษี ณ ที่จ่าย การออกใบรับรองการหักภาษี เป็นต้น

  17. การเบิกจ่ายเงิน • ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย /หักบ้างไม่หักบ้าง /หักไม่ถูกต้อง หลักเกณฑ์การหัก ภาษี ณ ที่จ่าย • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป • นิติบุคคล ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป • เบิกผิดศูนย์ต้นทุน/ จ่ายเงินขาดเกินบัญชี

  18. การเบิกจ่ายเงิน • ไม่ได้พิสูจน์ยอดบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นประจำทุกเดือน • บางครั้ง กรณี บัญชีเงินฝากธนาคารมีเงินคงค้างบัญชี เจ้าหน้าที่จะทำเช็คถอนเงินสดรวมกับยอดอื่นออกมา เพื่อให้บัญชีเป็น ศูนย์ โดยไม่มีการพิสูจน์ว่าเกิดจากอะไร (แต่เก็บเงินไว้เสียเอง)

  19. การเบิกจ่าย-เงิน การปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง • การตรวจสอบความถูกต้อง และครบถ้วนของเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายว่า เป็นไปตามระเบียบฯที่กำหนดไม่เคร่งครัด ทำให้มีการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด มีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน • เจ้าหน้าที่ ไม่ติดตาม ศึกษาและทำความเข้าใจในระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง บ่อยครั้ง • เบิกจ่ายเงินตามระเบียบที่ยกเลิกไปแล้ว

  20. การเบิกจ่าย-เงิน • หลักฐานการเบิกจ่าย ไม่ครบถ้วน • จ่ายเงินแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่ติดตามใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายแนบประกอบใบสำคัญคู่จ่ายให้ครบถ้วน (บางหน่วยจ่ายเงินตั้งแต่ต้นปี ปลายปียังไม่มีการติดตามใบเสร็จรับเงินแนบหลักฐานการจ่าย) • ไม่ได้ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว”รับรองการจ่ายเงินตามที่ระเบียบกำหนด เสี่ยงต่อการนำมาเบิกซ้ำได้ • การจัดเก็บหลักฐานเสี่ยงต่อการสูญหาย

  21. การเบิกจ่าย-เงิน • การจัดทำบัญชีหรือทะเบียนคุมการเบิกจ่ายเงิน ควบคู่กับการเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS ไม่เรียบร้อย ครบถ้วน โดยเฉพาะทะเบียนคุมเงินประจำงวด จึงไม่ทราบว่าในแต่ขณะมีเงินงบประมาณแต่ละรายการคงเหลืออยู่เท่าไหร่ เสี่ยงต่อการเบิกจ่ายเงินเกิน กว่างบประมาณที่ได้รับ หรือไม่สามารถบริหารงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขาดการสอบทานความถูกต้องกับรายงานจากระบบ

  22. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การรับเงิน • ไม่ออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการรับชำระเงิน แต่จะออกในวันที่จะนำส่งเงิน จะเก็บเงินไว้เองก่อน • ออกใบเสร็จรับเงินไม่ถูกต้อง ระบุจำนวนเงินผิด • ไม่ได้บันทึกรายการรับเงินในระบบ ทันทีภายในวันที่เกิดรายการ

  23. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การเก็บรักษาเงิน • ไม่ได้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน • กรรมการฯไม่ได้ทำหน้าที่/ไม่ทราบว่าได้การแต่งตั้งเป็นกรรมการ/ไม่รู้ต้องทำอะไรบ้าง • ไม่ได้เก็บรักษาเงินในตู้นิรภัย แต่อยู่ที่เจ้าหน้าที่การเงินหรือผู้ออกใบเสร็จรับเงิน • ไม่ได้จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน

  24. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การนำเงินส่งคลัง • ไม่ได้นำเงินส่งคลังภายในระยะเวลาที่ ระเบียบกำหนด • ไม่ได้บันทึกรายการในระบบ GFMIS ในวันที่เกิดรายการ

  25. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การควบคุมการใช้ใบเสร็จรับเงิน • ไม่ได้จัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน และการรายงานการใช้ใบเสร็จรับเงิน ตอนสิ้นปีงบประมาณ • ใบเสร็จรับเงินใช้ต่อเนื่องหลายปี (ใบเสร็จรับเงินปีงบประมาณใดให้ใช้จัดเก็บเงินเฉพาะปีงบประมาณนั้น เท่านั้น

  26. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ข้อพึงระวัง มีความเสี่ยงสูง • เจ้าหน้าที่คนเดียวทำหน้าที่ทั้งกระบวนการ • ออกใบเสร็จรับเงิน • เก็บรักษาเงิน • นำเงินฝากธนาคาร/ส่งคลัง • บันทึกรายการในระบบ • เจ้าหน้าที่ไม่เคยรายงาน การรับเงิน การจัดเก็บเงิน หรือการนำเงินส่งคลัง ให้ทราบ

  27. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ข้อพึงระวัง มีความเสี่ยงสูง • ผู้บริหาร/หัวหน้าหน่วยงาน ไม่เคยลงนามในเอกสารหลักฐาน ใดๆ เช่นรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ใบจัดเก็บหรือนำส่งเงินรายได้ในระบบ GFMISเป็นต้น

  28. เงินยืมราชการ การยืมเงินเพื่อการจัดฝึกอบรม ให้ยืมเฉพาะรายการที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการฝึกอบรมให้ดำเนินการตามระเบียบพัสดุ และเบิกจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ตามระเบียบ เหมือนภารกิจอื่น รวมทั้งการจัดทำ PO การหักภาษี ณ ที่จ่าย การออกใบรับรองการหักภาษี การเขียนสั่งจ่ายเช็ค เป็นต้น 28

  29. การจัดซื้อจัดจ้าง • ขาดการวางแผนการจัดซื้อ ซื้อบ่อยครั้ง • การจัดซื้อ/จ้าง ไม่ระบุราคาจัดซื้อครั้งก่อน ขาดคู่เทียบราคา • เข้าลักษณะการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง • การซ่อมแซมครุภัณฑ์ หรือการ up grade คอมพิวเตอร์ ไม่ระบุหมายเลขครุภัณฑ์ ให้ชัดเจน ซ่อมจริงหรือไม่จริง

  30. การจัดซื้อจัดจ้าง • การสอบราคา ระบุในเอกสารการสอบราคาว่าให้ส่งของภายใน 30 วันนับจากวันลงนามในสัญญา แต่การทำสัญญากลับระบุ ให้ส่งของภายใน 60 วันหรือ 90 วัน • การจัดซื้อจัดจ้าง ในระบบ e-Auction ให้แนบหลักฐานการจ่ายเงินของบริษัทคู่สัญญา ที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ให้บริการตลาดกลาง ประกอบการเบิกจ่ายเงินทุกครั้ง

  31. การจัดซื้อจัดจ้าง • การจ้างไม่ติดอากร ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด • แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุไม่ครบตามระเบียบ ตั้งคนที่ไม่เหมาะสม ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นกรรมการตรวจรับ • กรรมการตรวจรับไม่ลงลายมือชื่อในใบตรวจรับพัสดุ • การคิดค่าปรับไม่ถูกต้อง ไม่คิดค่าปรับ ไม่ลงวันที่ในใบส่งของ

  32. หลักประกันซอง/หลักประกันสัญญาหลักประกันซอง/หลักประกันสัญญา • รับหลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญาเป็น เช็คบริษัท ซึ่งไม่สามารถรับได้ • ไม่ได้ทำหนังสือยืนยันยอด หนังสือค้ำประกันธนาคาร • บริษัทเสนอรับประกัน 3 ปี แต่เราทำสัญญาระบุ 1 ปี

  33. การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • ไม่บันทึกรายการวัสดุครุภัณฑ์ที่ได้รับจากหน่วยงานอื่น เช่น กอง/สำนักต้นสังกัด สตร. ศทป. • เอกสารการจัดส่งพัสดุ จากกอง/สำนัก หรือหน่วยงานอื่นไม่มี / ไม่มีครบ • วัสดุรับมาจ่ายหมด ไม่มีของคงเหลือในทะเบียนคุม แต่ของจริงเหลือมาก • ของหมดอายุ เสื่อมสภาพ ใช้ไม่ทัน โดยเฉพาะวัสดุสำนักงาน

  34. การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • การจัดทำทะเบียนควบคุมไม่เรียบร้อย รหัสมีไม่ครบ เสี่ยงต่อการสูญหายได้ • ไม่ได้ควบคุมรายการครุภัณฑ์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ (เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งาน สภาพคงทนถาวร แต่ราคาไม่เกิน 5,000 บาท) • มีครุภัณฑ์ชำรุดรอจำหน่ายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ดำเนินการขออนุมัติจำหน่าย บางส่วนหาซากไม่เจอ เป็นภาระของหน่วยงาน • หลักฐานการยืม การจำหน่าย การโอน ไม่มี

  35. รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง รถราชการ • ไม่พ่นตราเครื่องหมายกรมประมง • ติดสติกเกอร์แทน • ไม่ต่อทะเบียน • คู่มือการจดทะเบียนสูญหาย

  36. รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง การใช้รถ • ไม่ขออนุญาตใช้รถ เว้นแต่การเดินทางที่มีการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง • สมุดการบักทึกการใช้รถ บันทึกไม่ครบถ้วน ระยะทางไม่สอดคล้องกับพื้นที่เดินทาง • ไม่บันทึกประวัติการซ่อม ลงบ้างไม่ลงบ้าง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ • สั่งซ่อมรถโดยไม่เคยตรวจสอบประวัติการซ่อม • มีการซ่อมซ้ำกับรายการเดิม ซ่อมรถคันที่จอดเสียใช้การไม่ได้อีกแล้ว

  37. รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิง • ซื้อน้ำมันฝากปั้ม (จ่ายเงินซื้อคูปองแล้วทยอยเบิกน้ำมันจากปั้ม) • ไม่ทำทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ำมัน • ไม่ได้กำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง • เติมรถส่วนตัว หรือรถที่อื่น • นำบิลน้ำมันเดือนของปีงบประมาณก่อนมาเบิก (ระเบียบกำหนดให้เฉพาะเดือนกันยายน เท่านั้น) • เบิกเติมน้ำมันรถ โดยไม่มีเนื้องานมารองรับ

  38. ค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้าบ้านพัก • มิเตอร์เสียเป็นประจำ/เดินผิดปกติ ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าวิ่งเข้ามิเตอร์ประธาน ของสำนักงาน ส่วนราชการต้องรับภาระแทน โดยไม่มีการควบคุม • การเรียกเก็บเงินสมทบจากบ้านพัก โดยไม่คิดค่า vat และ ft ทำให้ส่วนราชการต้องจ่ายแทน

  39. ค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ • ไม่มีการบันทึกควบคุม • ไม่มีการตรวจสอบก่อนเบิก • โทรส่วนตัวมาเบิกราชการ • โทรทางไกล ไม่ขออนุมัติผู้บังคับบัญชา

  40. อ้างอิง www.cgd.go.th/ - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 - หลักเกณฑ์กรมประมง เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราการเบิกค่าเช่าที่พักเหมาจ่ายในการเดินทางไปราชการและการ ฝึกอบรมในประเทศ - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังของส่วน ราชการ พ.ศ. 2551 - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 - ที่ กษ 0503.5/ ว 4 ลว. 9 มกราคม 2552 เรื่อง การยืมเงินราชการ - ระเบียบสำ นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

More Related