1 / 27

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary. รายงานประจำปีการประกันคุณภาพ พ.ศ. 2545 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บทนำ.

cole-rose
Download Presentation

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทสรุปสำหรับผู้บริหารExecutive Summary รายงานประจำปีการประกันคุณภาพ พ.ศ. 2545 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. บทนำ • รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ พ.ศ. 2545 ของสถาบันฯ ได้จัดทำขึ้น เพื่อแสดงถึงสัมฤทธิ์ผลในการดำเนินงานและใช้เป็นเอกสารข้อมูลสำหรับการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพภายใน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้จัดทำตามรูปแบบที่ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กำหนด ข้อมูลในรายงานประจำปีดังกล่าวเป็นข้อมูลในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 - กันยายน 2545 สำหรับข้อมูลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้คุณภาพ (Key Quality Indicators : KQI) ได้แสดงข้อมูลในช่วง 3 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 - 2545

  3. เนื้อหาสาระโดยสรุป • ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 สภาพปัจจุบันของสถาบัน ส่วนที่ 2 องค์ประกอบคุณภาพและผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบ คุณภาพ ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา สถาบันฯ ส่วนที่ 4 ภาคผนวก

  4. ส่วนที่ 1 สภาพปัจจุบันของสถาบัน • บุคลากร • มีบุคลากรเป็นข้าราชการสาย ข ค พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวชาวต่างประเทศ และลูกจ้างชั่วคราวโครงการวิจัย รวมทั้งสิ้น 75 คน • งบประมาณ • ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน จำนวนเงิน 17,529,700 บาท • ได้รับจัดสรรงบประมาณเงินรายได้ จำนวนเงิน 550,200 บาท • ได้รับจัดสรรงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก จำนวนเงิน 13,055,700 บาท • หน่วยวิจัยเครือข่าย • มีหน่วยวิจัยเครือข่าย 38 หน่วย ภายใต้ศูนย์วิจัย 11 ศูนย์ • หน่วยบริการเทคโนโลยี 2 หน่วย

  5. ส่วนที่ 1 สภาพปัจจุบันของสถาบัน (ต่อ) • การบริหารโครงการ • โครงการวิจัยที่ดำเนินการและบริหารผ่านสถาบันฯ 38 โครงการ • โครงการความร่วมมือกับองค์กรในและต่างประเทศที่มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ 3 โครงการ

  6. ส่วนที่ 2 องค์ประกอบคุณภาพและผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ • องค์ประกอบคุณภาพประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ • ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ นโยบาย กลยุทธ์และแผน • การบริการการวิจัย • การบริการวิชาการแก่ชุมชน • การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม • การบริหารและจัดการ • การเงินและงบประมาณ • ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

  7. ส่วนที่ 2 องค์ประกอบคุณภาพและผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 1 ความสำคัญ 5 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ นโยบาย กลยุทธ์และแผน 1.1 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ (1) 1.2 นโยบายและกลยุทธ์ (2) 1.3 แผนการดำเนินการตามแผน และการประเมินแผน (2) • องค์ประกอบที่ 2 ความสำคัญ 40 การบริการการวิจัย 2.1 ทรัพยากรบุคคล (10) 2.2 ปัจจัยเกื้อหนุน (15) 2.3 กระบวนการปฏิบัติงาน (15)

  8. ส่วนที่ 2 องค์ประกอบคุณภาพและผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 3ความสำคัญ 30 การบริการวิชาการแก่ชุมชน 3.1 ทรัพยากรบุคคลด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน (10) 3.2 ปัจจัยเกื้อหนุนการบริการวิชาการแก่ชุมชน (10) 3.3 กระบวนการบริการวิชาการแก่ชุมชน (10) • องค์ประกอบที่ 4 ความสำคัญ 5 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4.1 ทรัพยากรบุคคลด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (1) 4.2 ปัจจัยเกื้อหนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) 4.3 กระบวนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2)

  9. ส่วนที่ 2 องค์ประกอบคุณภาพและผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 5 ความสำคัญ 10 การบริหารและจัดการ 5.1 ผู้บริหาร (2) 5.2 บุคลากรสนับสนุนการบริหารและจัดการ (3) 5.3 ปัจจัยเกื้อหนุน (2) 5.4 กระบวนการบริหารและจัดการ (3) • องค์ประกอบที่ 6 ความสำคัญ 5 การเงินและงบประมาณ 6.1 กระบวนการบริหารการเงินและงบประมาณ (5)

  10. ส่วนที่ 2 องค์ประกอบคุณภาพและผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 7 ความสำคัญ 5 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 7.1 ทรัพยากรบุคคลด้านการประกันคุณภาพ (1) 7.2 ปัจจัยเกื้อหนุนการประกันคุณภาพ (1) 7.3 กระบวนการประกันคุณภาพ (3)

  11. ผลการประเมินตนเองตามระดับการพัฒนาคุณภาพผลการประเมินตนเองตามระดับการพัฒนาคุณภาพ รายการตรวจสอบ (Audit Checklist) ผลการตรวจสอบ ความสำคัญ ระดับการพัฒนา (0-8) คะแนน มี ไม่มี องค์ประกอบที่ 3: การบริการวิชาการ องค์ประกอบที่ 2: การบริการการวิจัย องค์ประกอบที่ 1: ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ นโยบาย กลยุทธ์ และแผน 30 40 5 2.3 กระบวนการปฏิบัติงาน 1.3 แผน การดำเนินการตามแผน และการประเมินแผน 3.1 ทรัพยากรบุคคลด้านการบริการวิชาการ แก่ชุมชน 3.3 กระบวนการบริการวิชาการแก่ชุมชน 2.1 ทรัพยากรบุคคล 1.1 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ / / / / / / 2 1 10 15 10 10 6 6 6 6 4 6 1.2 8 8 8 0.8 12 2.2 ปัจจัยเกื้อหนุน 1.2 นโยบายและกลยุทธ์ 3.2 ปัจจัยเกื้อหนุนการบริการวิชาการแก่ชุมชน / / / 10 2 15 5 5 6 10.5 7 1.6

  12. ผลการประเมินตนเองตามระดับการพัฒนาคุณภาพ (ต่อ) รายการตรวจสอบ (Audit Checklist) ผลการตรวจสอบ ความสำคัญ ระดับการพัฒนา (0-8) คะแนน มี ไม่มี องค์ประกอบที่ 5: การบริหารและจัดการ องค์ประกอบที่ 4:การทำนุบำรุงศิลป วัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5 10 4.1 ทรัพยากรบุคคลด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4.3 กระบวนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5.1 ผู้บริหาร 5.4 กระบวนการบริหารและจัดการ 5.3 ปัจจัยเกื้อหนุน / / / / / 1 2 3 2 2 5 6 5 6 5 2.4 1.6 1.4 1.4 0.7 4.2 ปัจจัยเกื้อหนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5.2 บุคลากรสนับสนุนการบริหารและจัดการ / / 3 2 6 5 2.4 1.4

  13. ผลการประเมินตนเองตามระดับการพัฒนาคุณภาพ (ต่อ) รายการตรวจสอบ (Audit Checklist) ผลการตรวจสอบ ความสำคัญ ระดับการพัฒนา (0-8) คะแนน มี ไม่มี องค์ประกอบที่ 7: ระบบและกลไก การประกันคุณภาพ องค์ประกอบที่ 6: การเงินและ งบประมาณ 5 5 7.1 ทรัพยากรบุคคลด้านการประกันคุณภาพ 6.1 กระบวนการบริหารการเงินและงบประมาณ 7.3 กระบวนการประกันคุณภาพ / / / 3 5 1 6 6 6 2.4 4 0.8 7.2 ปัจจัยเกื้อหนุนการประกันคุณภาพ / 1 5 0.7 คะแนนรวม 100 76.3

  14. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ • เป็นส่วนที่แสดงผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง โดยนำเสนอรูปแบบทั้งการบรรยาย การวิเคราะห์ และการประเมิน เพื่อสรุปเป็นภาพรวมของผลการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถาบันฯ • จากการตรวจประเมินตนเองโดยคณะกรรมการประกันคุณภาพของสถาบันฯ โดยพิจารณาจากรายการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง และระดับการพัฒนาคุณภาพตามองค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ และจากรายการแสดงตัวบ่งชี้คุณภาพ (KQI) สามารถสรุปผลการประเมินตนเองได้ดังนี้

  15. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ นโยบาย กลยุทธ์ และแผน จากการตรวจประเมินทุกรายการตรวจสอบมีเอกสารหลักฐานประกอบครบถ้วน โดยมีระดับการพัฒนาเป็น 6, 6, 4 สำหรับรายการตรวจสอบที่ 1.1, 1.2 และ 1.3 ตามลำดับ โดยรายการตรวจสอบที่ 1.3 นั้นถึงแม้จะมีการจัดทำ PDCA ไว้บ้างก็ตามแต่การประเมินผลยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ควรจะดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

  16. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 2 การบริการการวิจัย เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ถูกกำหนดให้เป็นภารกิจหลักของสถาบันฯ มีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 40 จากการตรวจประเมินพบว่า ทุกรายการตรวจสอบมีเอกสารหลักฐานประกอบชัดเจน มีการจัดทำ PDCA ไว้อย่างครบถ้วนเกือบสมบูรณ์จนถึงสมบูรณ์ แต่ยังมีการพัฒนาให้ดีเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานที่ผ่านมาโดยวิเคราะห์จากตัวบ่งชี้คุณภาพ (KQI) ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ระดับการพัฒนาที่ได้รับจึงเป็น 6, 5, 6 สำหรับรายการตรวจสอบที่ 2.1, 2.2 และ 2.3 ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ดี

  17. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการแก่ชุมชน เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญตามภารกิจหลักของสถาบันฯ ในระดับรองลงมาจากองค์ประกอบที่ 2 โดยได้กำหนดค่าน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบนี้ไว้เท่ากับ 30 และจากการตรวจประเมินตามรายการตรวจสอบ โดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐานประกอบ ความครบถ้วนสมบูรณ์ของการจัดทำ PDCA และจากรายงานแสดงพัฒนาการจากตัวบ่งชี้คุณภาพ (KQI) ที่เกี่ยวข้อง พบว่าระดับการพัฒนาสำหรับองค์ประกอบนี้ควรเป็น 6, 5, 6 สำหรับรายการตรวจสอบที่ 3.1, 3.2 และ 3.3 ตามลำดับโดยจัดอยู่ในเกณฑ์ดี

  18. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากการประเมินตามรายการตรวจสอบทั้ง 3 รายการ พบว่ามีเอกสารหลักฐานประกอบ การจัดทำแผน การดำเนินการตามแผน การประเมินการดำเนินงาน และมีการปรับปรุงแผนตามวงจร PDCA โดยหลักฐานแสดงครบถ้วนเป็นส่วนใหญ่ และจากการตรวจสอบจากตัวบ่งชี้คุณภาพ (KQI) ที่เกี่ยวข้อง พบว่าองค์ประกอบนี้ยังต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป ทั้งนี้เพราะระดับการพัฒนาที่ได้รับคือ 5 สำหรับทุกรายการตรวจสอบในองค์ประกอบนี้

  19. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 5 การบริหารและจัดการ จากการประเมินตามรายการตรวจสอบคุณภาพโดยอาศัยเกณฑ์เช่นเดียวกันกับองค์ประกอบอื่นๆ พบว่าโดยส่วนใหญ่มีระดับการพัฒนาที่ดี (ระดับ 6) ยกเว้นในส่วนปัจจัยเกื้อหนุน (รายการตรวจสอบที่ 5.3) ซึ่งมีระดับการพัฒนาที่ 5 เท่านั้น ซึ่งอาจเนื่องจากความจำกัดในบางระดับของปัจจัยเกื้อหนุนที่ต้องมีการพัฒนาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์มากขึ้นอีกในอนาคต ดังเช่น ระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและการวางแผนของผู้บริหาร ระบบงบประมาณและการบริหารจัดการต่างๆ เป็นต้น

  20. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 6 การเงินและงบประมาณ จากการตรวจประเมินพบว่าในรายการตรวจสอบมีเอกสารหลักฐานประกอบครบถ้วนสมบูรณ์มีการกำหนดแผน ดำเนินการตาม แผนที่กำหนด มีการประเมินผลการดำเนินงานและการปรับปรุงแผนครบถ้วนตามวงจร PDCA และจากการตรวจสอบตามตัวบ่งชี้คุณภาพ (KQI) ที่เกี่ยวข้องพบว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นระดับของการพัฒนาที่ได้รับสำหรับองค์ประกอบนี้คือ 6

  21. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ (ต่อ) • องค์ประกอบที่ 7 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ จากการประเมินตามรายการตรวจสอบคุณภาพในองค์ประกอบนี้ โดยส่วนใหญ่มีการดำเนินการจัดทำ PDCA อย่างครบถ้วน มีเอกสารหลักฐานแสดงชัดเจนและสมบูรณ์ และตัวบ่งชี้คุณภาพ (KQI) ที่เกี่ยวข้องก็แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีขึ้น ดังนั้นระดับการพัฒนาสำหรับรายการตรวจสอบในองค์ประกอบนี้จึงอยู่ในระดับดี (ระดับ 6) เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นปัจจัยเกื้อหนุนการประกันคุณภาพ (รายการตรวจสอบที่ 7.2) ซึ่งได้รับค่าระดับการพัฒนาที่ระดับ 5 ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงพัฒนาในส่วนนี้ ต่อไป

  22. ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสถาบันฯ (ต่อ) • จากการกำหนดค่าน้ำหนักความสำคัญในรายการตรวจสอบตามองค์ประกอบทั้ง 7 ด้านขึ้นมา และจากการตรวจประเมินเพื่อกำหนดระดับการพัฒนาในแต่ละรายการตรวจสอบดังกล่าว โดยอาศัยเกณฑ์ตัวคูณของระดับการพัฒนา ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อการประชุมครั้งที่ 4/2545 วันที่ 3 ตุลาคม 2545 ทำให้สามารถคำนวณเป็นคะแนนที่ได้รับ (%) ในแต่ละรายการตรวจสอบได้ และเมื่อนำค่าคะแนนที่ได้รับในแต่ละรายการตรวจสอบขององค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน มารวมเข้าด้วยกัน ปรากฏว่าผลคะแนนจากการประเมินตนเองของสถาบันฯ โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 76.3 ซึ่งผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี

  23. ส่วนที่ 4 ภาคผนวก • ส่วนภาคผนวก ประกอบด้วยข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบคุณภาพ และเพื่อให้รายงานประจำปีฯ ฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยนำเสนอข้อมูลดังนี้ (สำหรับรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมดสามารถดูได้จากรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพฉบับสมบูรณ์) • รายการเอกสารประกอบ • รายชื่อผู้บริหาร • กิจกรรมและผลดำเนินงานบริหารจัดการ • กิจกรรมและผลดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชน • กิจกรรมและผลดำเนินงานหน่วยวิจัยเครือข่ายและหน่วยบริการเทคโนโลยี

  24. ส่วนที่ 4 ภาคผนวก (ต่อ) • รายการเอกสารประกอบ • เป็นรายการเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานประกอบในการตรวจสอบ คุณภาพ ตามรายการดำเนินงานองค์ประกอบคุณภาพทั้ง 7 ด้าน ซึ่งได้จัดเป็นแฟ้มแยกแต่ละองค์ประกอบและเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจนสามารถตรวจสอบและสืบค้นได้โดยสะดวกและรวดเร็ว องค์ประกอบที่ 1 มีเอกสาร 13 รายการ องค์ประกอบที่ 2 มีเอกสาร 40 รายการ องค์ประกอบที่ 3 มีเอกสาร 14 รายการ องค์ประกอบที่ 4 มีเอกสาร 8 รายการ องค์ประกอบที่ 5 มีเอกสาร 24 รายการ องค์ประกอบที่ 6 มีเอกสาร 9 รายการ องค์ประกอบที่ 7 มีเอกสาร 12 รายการ • ทั้งนี้ ในแต่ละรายการยังประกอบด้วยรายการเอกสารย่อยในส่วนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

  25. ส่วนที่ 4 ภาคผนวก (ต่อ) • รายชื่อผู้บริหาร คณะกรรมการ คณะทำงานและหน่วยประกันคุณภาพ • กิจกรรมและผลดำเนินงานบริหารจัดการ • ประกอบไปด้วยข้อมูลและผลดำเนินงานในด้าน บุคลากร งบประมาณ การพัฒนาบุคลากร การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานวิจัย การประกันคุณภาพ การบริหารโครงการ ข้อมูลโครงการวิจัยที่ดำเนินการผ่านสถาบันฯ ข้อมูลโครงการความร่วมมือ ซึ่งนำเสนอในรูปของทั้งการบรรยาย ตาราง สถิติ และกราฟ

  26. ส่วนที่ 4 ภาคผนวก (ต่อ) • กิจกรรมและผลดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชน • เป็นข้อมูลผลการดำเนินการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ซึ่งมีทั้งการจัดอบรม/สัมมนา/ประชุมเชิงปฏิบัติการ บรรยายพิเศษ โครงการและโครงการบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน • กิจกรรมและผลดำเนินงานหน่วยวิจัยเครือข่ายและหน่วยบริการเทคโนโลยี • เป็นข้อมูลผลการดำเนินงานวิจัยหรือกิจกรรมพิเศษที่เด่น การให้บริการวิชาการ ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ รวมทั้งรางวัลผลงานวิจัยของหน่วยวิจัยเครือข่ายและหน่วยบริการเทคโนโลยี

  27. ขอบคุณ

More Related