560 likes | 1.12k Views
CHAPTER 4. การวางแผนเลือกที่ตั้ง (Location Planning). ความหมายของที่ตั้ง (Location).
E N D
CHAPTER 4 การวางแผนเลือกที่ตั้ง(Location Planning)
ความหมายของที่ตั้ง (Location) หมายถึง สถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางธุรกิจขององค์การ เช่น โรงงาน โกดังสินค้า สำนักงานใหญ่หรือสาขา เป็นต้น ที่ตั้งจะมีความสำคัญต่อการผลิตและการดำเนินงานขององค์การ เป็นกระบวนการในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดสถานที่ที่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงสุด พิจารณาจากต้นทุน รายได้ ความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคลากร ลูกค้า ผู้ขาย วัตถุดิบและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
ความหมายของที่ตั้ง (Location) โดยการตัดสินใจเลือกที่ตั้งมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจ คือ • การลงทุน (Investment) • ต้นทุนการบริหาร (Management cost) • การขยายกิจการ (Growth) • ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage)
บทบาทของที่ตั้งต่อการดำเนินงานบทบาทของที่ตั้งต่อการดำเนินงาน 1) การออกแบบระบบการผลิตสินค้าหรือบริการ - การกำหนดแผนผังโรงงาน ต้องเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานที่ตั้ง เช่น ขนาดพื้นที่ ความสะดวกในการเข้าถึง ฯลฯ - การออกแบบองค์การและการจัดสรรบุคลากร ต้องปรับให้เหมาะสมกับระบบการผลิตที่เกิดขึ้น - การจัดหาอุปกรณ์การผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวก - ระบบการจัดซื้อและการจัดหาวัตถุดิบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม - การควบคุมการผลิต พิจารณาความสัมพันธ์ของสำนักงานและฝ่ายผลิตว่าจำเป็นต้องอยู่ด้วยกันหรือไม่
บทบาทของที่ตั้งต่อการดำเนินงานบทบาทของที่ตั้งต่อการดำเนินงาน 2) การดำเนินงานผลิต - ระยะทาง การเดินทาง ความสะดวกในการติดต่อของลูกค้า มีผลต่อรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ - ต้นทุนการดำเนินงาน พิจารณาความแตกต่างออกเป็น ต้นทุนคงที่ ได้แก่ ค่าที่ดิน ก่อสร้าง สาธารณูปโภค อุปกรณ์และเครื่องจักร เป็นต้น ต้นทุนผันแปร ได้แก่ การจัดกำลังคน ภาษี และค่าขนส่ง เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง (Factors that affect location decisions) การคมนาคมขนส่ง : ถนน บริการทางคมนาคม รถไฟ เรือ เครื่องบิน ระบบการขนส่งต่างประเทศ สะดวกสบาย • ปัจจัยการผลิต: ได้แก่ • วัตถุดิบ: มีวัตถุดิบที่เพียงพอ น้ำหนัก ปริมาณ ที่เหมาะสมต่อการเคลื่อนย้าย • แรงงาน: มีแรงงานที่มีฝีมือเพียงพอต่อการจ้างงาน • ค่าก่อสร้าง: ค่าแรงและวัสดุก่อสร้างไม่แพงและเพียงพอ • ค่าใช้จ่ายในการจัดหาจัดซื้อ : ต่ำ • ราคาที่ดิน : ราคาต่ำและคุ้มต่อการคืนทุน
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง (Factors that affect location decisions) • ตลาด: ลูกค้า ชุมชน และแหล่งจำหน่ายสินค้าเพียงพอ • สาธารณูปโภค: น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบบำบัดครบครัน • การบริการทางสังคม: มีสถานีตำรวจ ดับเพลิง เทศบาลโรงพยาบาล โรงเรียน ครบถ้วน • สิ่งแวดล้อม: ภูมิอากาศดี มลภาวะน้อย ความชื้นเหมาะสม ไม่มีแสง เสียงรบกวน • กฎหมาย: ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีการค้า ค่าเบี้ยประกันต่างๆ เหมาะสม
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง (Factors that affect location decisions) • ทัศนคติของชุมชน: ทัศนคติของชุมชนที่ล้อมรอบทำเลที่ตั้งโรงงานต้องสนับสนุนต่อการสร้างโรงงาน • คู่แข่งขัน: ควรมีความร่วมมือกันระหว่างคู่แข่งในทางที่ดี • มีโอกาสความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้นในอนาคต
ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งขั้นตอนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง การศึกษาปัจจัย การวิเคราะห์ทางเลือกเทคนิคการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ไม่เลือก การตัดสินใจ เลือก ลงทุนก่อสร้าง
การตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง • การเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจผลิตสินค้า (โรงงานหรือคลังสินค้า) • ใกล้แหล่งวัตถุดิบ • ใกล้แรงงาน • ชุมชนยอมรับ • เส้นทางการคมนาคมดี • สาธารณูปโภคเพื่อการผลิตครบ • คุณภาพและมาตรฐานการดำรงชีวิตต้องดี • การเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจบริการและการจำหน่าย (ค้าส่งค้าปลีก) • ใกล้ลูกค้า • ค่าขนส่ง (สินค้ามีการกระจายตัวสูง จึงมีค่าขนส่งสูง) • เส้นทางการคมนาคมเพียงพอและเข้าถึงเป้าหมาย • คู่แข่งขัน • เลี่ยงใกล้รายใหญ่ • รวมกลุ่มกับรายย่อย (Market Place)
วิธีประเมินทางเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ (Methods of evaluation location alter) การคำนวณระยะทางในการขนส่ง วิธีจุดศูนย์ดุลย์ (center of gravity method analysis) วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (vocational boreal present layout is) จากปัจจัยดังกล่าว ควรทำการจัดการลำดับความสำคัญและความเหมาะสมอย่างละเอียด เนื่องจากมีผลกระทบหรือการขาดทุนของบริษัท คือ
วิธีประเมินทางเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ(Methods of evaluation location alter) 1) ผลผลิต (labor productivity) 2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange rates) และต้นทุน (Cost) แบ่งเป็น - ต้นทุนที่จับต้องได้ (tangible cost) - ต้นทุนประเภทจับต้องไม่ได้ (Intangible cost) 3) ตรงใกล้ตลาดและแหล่งปัจจัยการผลิต (Proximity to markets and suppliers)
ผลผลิตจากแรงงาน (Labor productivity) หรือเรียกว่า กำลังการเพิ่มผลผลิตของแรงงาน เป็นผลผลิตที่ออกมาในรูปของสินค้าและบริการ หารด้วยปัจจัยนำเข้าหรือเน้นความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนทั้งหมดของปัจจัยนำออก (output) และปัจจัยการผลิตที่นำเข้า (input) หรือการวัดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า อันได้แก่ ทุนแรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน กับปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อันได้แก่ สินค้าและบริการ
ผลผลิตจากแรงงาน (Labor productivity) ตัวอย่างเช่น บริษัท Quality Coins ในรัฐคอนเนคตอกัต ต้องจ่ายเงิน $70 ต่อวันเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ 60 ชิ้นในหนึ่งวัน ในขณะเดียวกันบริษัทเดียวกันได้เปิดสาขาในประเทศเม็กซิโก ผลิตสินค้าชนิดกันในหนึ่งวันได้ 20 ชิ้น โดยมีค่าจ้างแรงงาน $25 ต่อวัน หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างค่าจ้างแรงงานต่อผลผลิตที่ได้ จะได้ผล ดังต่อไปนี้ เมื่อ
ผลผลิตจากแรงงาน (Labor productivity) กรณีที่ 1 การผลิตในสหรัฐอเมริกา กรณีที่ 2 การผลิตในเม็กซิโก
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange rates)และต้นทุน (Cost) อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มหรือลดลงจะขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ และสภาพแวดล้อมภายนอกประเทศด้วย ดังนั้นการตั้งโรงงานจะเป็นไปไม่ได้ หากขาดเงินทุน 2 ประเภท คือ ต้นทุนที่จับต้องได้ (Tangible cost) เป็นต้นทุนทางตรง สามารถนับหรือกำหนดเป็นเชิงปริมาณได้ง่าย เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าเสื่อมราคา ภาษี เป็นต้น ต้นทุนที่จับต้องไม่ได้ (Intangible cost) เป็นต้นทุนเชิงปริมาณที่เห็นได้ยาก คือ เป็นทัศนคติและความรู้สึกที่มีอิทธิพลต่อการตั้งโรงงาน
ตารางแสดงการจัดลำดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใน 20 ประเทศระหว่างปีพ.ศ.2540-2544
ความอยู่ใกล้และแหล่งปัจจัยการผลิต(Proximity to markets and suppliers) ควรพิจารณาให้ตั้งตั้งอยู่ใกล้ตลาดหรือลูกค้า เพื่อความรวดเร็ว คล่องตัวและการส่งสินค้าให้ทันเวลา สถานประกอบควรตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิต โดยพิจารณาจากปัจจัยหลัก ดังนี้ วัตถุดิบเน่าเสียง่าย เช่นอุตสาหกรรม นมเนย แช่แข็ง เป็นต้น ค่าขนส่งจากแหล่งวัตถุดิบถึงโรงงานมีราคาแพง วัตถุดิบมีน้ำหนักและปริมาณมาก เช่นการผลิตเหล็ก เป็นต้น
ขั้นตอนการเลือกที่ตั้งขั้นตอนการเลือกที่ตั้ง การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) การศึกษารายละเอียดและศักยภาพของที่ตั้งที่เป็นไปได้ (Potential site) การเปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ - วิธีการเชิงปริมาณ ใช้ตัวเลขต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของแต่ละทำเล และเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรวมของแต่ละทำเล โดยเลือกทำเลที่เสียค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด ตลอดจนการประยุกต์เทคนิคการขนส่ง (Transportation technique) มาพิจารณาเลือกเส้นทางและพื้นที่ที่มีต้นทุนต่ำที่สุด
ขั้นตอนการเลือกที่ตั้งขั้นตอนการเลือกที่ตั้ง - วิธีการเชิงคุณภาพ มีเทคนิคการตัดสินใจ คือ 1) จัดลำดับความสำคัญของปัจจัย (Ranking technique) โดยใช้การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้ง เปรียบเทียบคุณสมบัติของแต่ละปัจจัยกับแต่ละพื้นที่ 2) การให้คะแนนปัจจัย (Rating technique) โดยการกำหนดคะแนนความสำคัญของแต่ละปัจจัย แต่ละทำเล แล้วทำการรวมคะแนนของแต่ละทำเล มาเปรียบเทียบกัน เลือกที่มีคะแนนรวมสูงสุด
เครื่องมือช่วยตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งเครื่องมือช่วยตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง เชิงคุณภาพ • Factor Rating Method :พิจารณาปัจจัยเฉลี่ยน้ำหนัก เชิงปริมาณ • Load-distance Technique : ระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง • Cost Comparison : เปรียบเทียบต้นทุนรวม • Break-even Analysis :การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • Transportation model : ค่าขนส่งรวมด้วยตัวแบบการขนส่ง
Factor Rating Method • เป็นการเลือกทำเลที่ตั้งโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นปัจจัยเชิงปริมาณและปัจจัยเชิงคุณภาพ แต่ละปัจจัยจะมีน้ำหนักหรือความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปดังนี้ • ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ให้น้ำหนักสูงสุด • ปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมา ให้น้ำหนักรองลงมา • โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักโดยรวมจะเป็น 1 หรือ 100 % • ทำการรวบรวมและเปรียบเทียบ • ค่าที่สูงที่สุด แสดงว่าดีที่สุด
Load-distance Technique โดย dAB ระยะทางระหว่างพื้นที่ A และพื้นที่ B XA ตำแหน่งของพื้นที่ A บนแกน X XB ตำแหน่งของพื้นที่ B บนแกน X YA ตำแหน่งของพื้นที่ A บนแกน Y YB ตำแหน่งของพื้นที่ B บนแกน Y • ขั้นที่ 1เทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง • - เป็นวิธีการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเพียงแห่งเดียวจากหลายทำเลที่เสนอขึ้นมาเป็นทางเลือกตั้งแต่ 2 ทำเลขึ้นไป
Load-distance Technique โดยการคำนวณหาระยะห่างของแต่ละทำเลกับแหล่งวัตถุดิบหรือตลาด แล้วคูณระยะทางเหล่านั้นเข้ากับค่าใช้จ่ายในการขนส่ง โดยใช้หลักการวัดเป็นเส้นตรง - การหาระยะทางระหว่างทำเลที่ตั้งกับเป้าหมาย : ใช้หลักการวัดระยะทางเส้นตรงด้วยกฎ สามเหลี่ยมของพิธากอรัสN กับ M ห่างกันเท่าไร M C2 = A2+B2 A=3 N B=4 C2 = A2 + B2C2= 32 + 42 = 25C = 5
Load-distance Technique ขั้นที่ 2คำนวณระยะทางร่วมที่ได้ทั้งสองทำเล เข้ากับค่าขนส่งต่อระยะทาง LD = li x di • โดยที่ • Ii = อัตราค่าขนส่งต่อระยะทางหรือจำนวนเที่ยวหรือจำนวนหน่วยสินค้า • Di = ระยะทางระหว่างทำเลในแต่ละแหล่ง • ขั้นที่ 3เลือกทำเลที่ตั้งที่มีค่า LD รวมต่ำที่สุด
Load-distance Technique ตัวอย่างเทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง ระหว่างทำเล X กับ Y ควรเลือกทำเลใด โดยสมมติว่าค่าขนส่งสินค้า 6 บาท วัตถุดิบ 5 บาท (ต่อกิโลเมตร) ขั้นที่ 1: คำนวณ Load-distance ; Demand สมมติว่าค่าขนส่งสินค้า 6 บาท (ต่อกิโลเมตร) การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับตลาด (Demand) ของ X • พิกัด X-ก มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(52 + 22) = 5.39 km • พิกัด X-ข มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 22) = 2.83 km • พิกัด X-ค มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 42) = 5.66 km
Load-distance Technique • ทำเล X มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางไปตลาดทั้งหมด = 13.82 km การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับตลาด (Demand) ของ Y • พิกัด Y-ก มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(32 + 52) = 5.83 km • พิกัด Y-ข มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 52) = 6.40 km • พิกัด Y-ค มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 12) = 2.24 km • ทำเล Y มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางไปตลาดทั้งหมด = 14.47 km
Load-distance Technique สมมติว่าค่าขนส่งวัตถุดิบ 5 บาท (ต่อกิโลเมตร) การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับแหล่งวัตถุดิบ (Supply) ของ X • พิกัด X - A มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 12) = 4.12 km • พิกัด X - B มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(32 + 22) = 3.61 km • พิกัด X - C มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(02 + 32) = 3.00 km ทำเล X มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางจากแหล่งวัตถุดิบทั้งหมด = 10.73 km • การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับแหล่งวัตถุดิบ (Supply) ของ Y
Load-distance Technique • พิกัด Y - A มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 22) = 2.83 km • พิกัด Y - B มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(52 + 12) = 5.10 km • พิกัด Y - C มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 02) = 2.00 km ทำเล Y มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางจากแหล่งวัตถุดิบทั้งหมด = 9.93 km ขั้นที่ 2 : คำนวณระยะทางร่วมที่ได้ทั้งสองทำเล เข้ากับค่าขนส่งต่อระยะทาง • LDx = [X ไปตลาด x 6]+ [X ไปวัตถุดิบ x 5] (13.82 x 6) + (10.73 x 5) = 136.57 บาท
Load-distance Technique • LDy = [Y ไปตลาด x 6]+ [Y ไปวัตถุดิบ x 5] (14.47 x 6) + (9.93 x 5) = 136.47 บาท • ขั้นที่ 3 เลือกคำตอบที่ค่าขนส่งต่ำกว่า คำตอบ คือ เลือกทำเล Y ให้ค่าขนส่งตามระยะทางต่ำกว่า X
Cost Comparison • การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม (Cost Comparison) • TC = ต้นทุนการผลิตรวม • TFC = ต้นทุนคงที่รวม • TVC = ต้นทุนผันแปรรวม • VC = ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย • Q = จำนวนสินค้าที่จะผลิต • TC = TFC + TVC • TVC = VC(Q) • TC = TFC + VC(Q)
Cost Comparison ตัวอย่าง: การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม บริษัท 3A จำกัด กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง มี 3 ทำเลให้เลือกดังนี้ เมือง A : มีต้นทุนคงที่ 2.0 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 100 บาท/หน่วย เมือง B : มีต้นทุนคงที่ 2.5 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 45 บาท/หน่วย เมือง C :มีต้นทุนคงที่ 1.1 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 200 บาท/หน่วย ถ้าบริษัทนี้พยากรณ์ได้ว่าจะมีกำลังการผลิตปีละ 10,000 หน่วย บริษัทแห่งนี้ควรเลือกทำเลใดในการตั้งโรงงานจึงจะมีต้นทุนต่ำที่สุด
Cost Comparison ตัวอย่าง: การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม บริษัท 3B จำกัด กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง มี 3 ทำเลให้เลือกดังนี้ เมือง A มีต้นทุนคงที่ 1.0 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 200 บาท/หน่วย เมือง B มีต้นทุนคงที่ 2.5 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 80 บาท/หน่วย เมือง C มีต้นทุนคงที่ 1.3 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 160 บาท/หน่วย ถ้าบริษัทนี้พยากรณ์ได้ว่าจะมีกำลังการผลิตปีละ 15,000-20,000 หน่วย บริษัทแห่งนี้ควรเลือกทำเลใดตั้งโรงงานจึงจะมีต้นทุนต่ำที่สุด
Break-even Analysis - การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน สามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมิน เช่น ค่าที่ดิน ค่าแรง ค่าโสหุ้ยในการผลิต ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าต่างๆ มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาจุดคุ้มทุนที่ต่ำที่สุด ได้ว่าทำเลใดมีการเข้าใกล้จุดคุ้มทุนเร็วที่สุด ทำเลนั้นจะเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง TR = TC P(Q) = TFC + VC(Q) P(Q) - VC(Q) = TFC Q (P-VC) = TFC Q = TFC (P-VC) TC = ต้นทุนการผลิตรวม TFC = ต้นทุนคงที่รวม TVC = ต้นทุนผันแปรรวม VC = ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย Q = จำนวนสินค้าที่จะผลิต TC = TFC + VC(Q) TR = รายได้รวม TR = P x Q P = ราคาขายต่อหน่วย
Break-even Analysis - การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ตัวอย่าง การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งผู้บริหารธุรกิจแห่งหนึ่งกำหนดราคาขายสินค้าไว้ที่หน่วยละ 10 บาท กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่โดยมีข้อมูลต้นทุนดังนี้
Transportation model การเลือกทำเลที่ตั้งโดยเปรียบเทียบค่าขนส่งรวมด้วยตัวแบบการขนส่ง (Transportation Model) • ตัวแบบการขนส่งเป็นเทคนิคการคำนวณในลักษณะของโปรแกรมเส้นตรง (Linear Programming) ที่ใช้คำนวณหาต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุด(Minimizing cost) สำหรับการกระจายสินค้าของโรงงานที่มีสถานที่ผลิตหลายแห่งและมีสถานที่ส่งสินค้าหลายแห่ง • โดยที่ค่าขนส่งของแต่ละเส้นทางขนส่งมีค่าไม่เท่ากัน (ขึ้นกับระยะทางที่ห่างกัน)
Transportation model • ดังนั้นโรงงานจะสามารถทราบได้ว่าควรจะกระจายสินค้าด้วยเส้นทางใดจึงจะได้ค่าขนส่งรวมต่ำที่สุด จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์ทางเลือกเพื่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานได้เป็นอย่างดี Supplyต้นทาง Demandปลายทาง
โรงงาน 1 โรงงาน 2 โรงงาน 3 โรงงาน 5 โรงงาน 4 ร้านค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย พ่อค้าส่ง ร้านค้าปลีก ลูกค้า • Transportation model เส้นทางการขนส่งแต่ละเส้นมีระยะทางไม่เท่ากัน จึงมีค่าขนส่งแตกต่างกันตามระยะทาง
Transportation model ขั้นตอนการคำนวณหาต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุดด้วยตัวแบบการขนส่งและใช้ Microsoft Excel ในการ Solution เพื่อหาคำตอบ • หาผลรวมสินค้าของแหล่งผลิต (Supply) และแหล่งรับสินค้า (Demand) • สร้างตารางเมตริกซ์ (Matrix Square) • สร้างแถวนอน (Row) = จำนวนโรงงานหรือแหล่งผลิตสินค้า (Supply) • สร้างแถวตั้ง (Column) = จำนวนแหล่งที่จะรับสินค้า (Demand)
Transportation model • เมื่อนำแถวนอนกับแถวตั้งมารวมกันจะได้ Matrix Square โดยจะเกิดช่องที่เกิดจากการตัดกันของ Row / Column เรียกว่า Cell ถ้าเกิดจากการตัดกันของ Row ที่ 1 กับ Column ที่ 2 เรียก Cell นั้นว่า C12 • กำหนดค่าขนส่งในแต่ละเส้นทาง และระบุลงไปใน Matrix • สร้าง Matrix Square ลงใน Spread Sheet (Excel) • ต้องเป็น Version ที่มี Solver Parameter adds-in • หรือใช้โปรแกรม QM for Window
Transportation model ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลลงเมทริกซ์ บริษัทแห่งหนึ่งมีโรงงานผลิตสินค้าอยู่ 3 แห่ง แห่งละ 500 ,600 และ 400 หน่วย ตามลำดับ โดยมีเอเย่นต์อยู่ 4 ราย แต่ละรายรับสินค้าได้จำกัดจำนวน คือ 260 , 380 , 490 และ 370 หน่วยตามลำดับ เขียนเป็นแผนภาพและระบุค่าขนส่งได้ดังนี้
กลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งสถานประกอบการด้านการบริการ (Service location strategy) ปัจจัยหลักที่มีผลต่อขนาดและรายได้ของธุรกิจ ได้แก่ อำนาจการซื้อของในท้องถิ่น การบริการและภาพลักษณะที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการในพื้นที่ สภาพการแข่งขันในพื้นที่ การแข่งขันเชิงคุณภาพของการบริการ ความสามารถหลักขององค์การและทำเลที่ตั้งของคู่แข่งขัน คุณภาพเชิงกายภาพ นโยบายการดำเนินงาน คุณภาพของการบริหารและการจัดการ
การเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้าการเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้า
การเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้าการเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้า
การเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้าการเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้า