1 / 48

CHAPTER 4

CHAPTER 4. การวางแผนเลือกที่ตั้ง (Location Planning). ความหมายของที่ตั้ง (Location).

clyde
Download Presentation

CHAPTER 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. CHAPTER 4 การวางแผนเลือกที่ตั้ง(Location Planning)

  2. ความหมายของที่ตั้ง (Location) หมายถึง สถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางธุรกิจขององค์การ เช่น โรงงาน โกดังสินค้า สำนักงานใหญ่หรือสาขา เป็นต้น ที่ตั้งจะมีความสำคัญต่อการผลิตและการดำเนินงานขององค์การ เป็นกระบวนการในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดสถานที่ที่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงสุด พิจารณาจากต้นทุน รายได้ ความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคลากร ลูกค้า ผู้ขาย วัตถุดิบและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน

  3. ความหมายของที่ตั้ง (Location) โดยการตัดสินใจเลือกที่ตั้งมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจ คือ • การลงทุน (Investment) • ต้นทุนการบริหาร (Management cost) • การขยายกิจการ (Growth) • ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage)

  4. บทบาทของที่ตั้งต่อการดำเนินงานบทบาทของที่ตั้งต่อการดำเนินงาน 1) การออกแบบระบบการผลิตสินค้าหรือบริการ - การกำหนดแผนผังโรงงาน ต้องเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานที่ตั้ง เช่น ขนาดพื้นที่ ความสะดวกในการเข้าถึง ฯลฯ - การออกแบบองค์การและการจัดสรรบุคลากร ต้องปรับให้เหมาะสมกับระบบการผลิตที่เกิดขึ้น - การจัดหาอุปกรณ์การผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวก - ระบบการจัดซื้อและการจัดหาวัตถุดิบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม - การควบคุมการผลิต พิจารณาความสัมพันธ์ของสำนักงานและฝ่ายผลิตว่าจำเป็นต้องอยู่ด้วยกันหรือไม่

  5. บทบาทของที่ตั้งต่อการดำเนินงานบทบาทของที่ตั้งต่อการดำเนินงาน 2) การดำเนินงานผลิต - ระยะทาง การเดินทาง ความสะดวกในการติดต่อของลูกค้า มีผลต่อรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ - ต้นทุนการดำเนินงาน พิจารณาความแตกต่างออกเป็น ต้นทุนคงที่ ได้แก่ ค่าที่ดิน ก่อสร้าง สาธารณูปโภค อุปกรณ์และเครื่องจักร เป็นต้น ต้นทุนผันแปร ได้แก่ การจัดกำลังคน ภาษี และค่าขนส่ง เป็นต้น

  6. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง (Factors that affect location decisions) การคมนาคมขนส่ง : ถนน บริการทางคมนาคม รถไฟ เรือ เครื่องบิน ระบบการขนส่งต่างประเทศ สะดวกสบาย • ปัจจัยการผลิต: ได้แก่ • วัตถุดิบ: มีวัตถุดิบที่เพียงพอ น้ำหนัก ปริมาณ ที่เหมาะสมต่อการเคลื่อนย้าย • แรงงาน: มีแรงงานที่มีฝีมือเพียงพอต่อการจ้างงาน • ค่าก่อสร้าง: ค่าแรงและวัสดุก่อสร้างไม่แพงและเพียงพอ • ค่าใช้จ่ายในการจัดหาจัดซื้อ : ต่ำ • ราคาที่ดิน : ราคาต่ำและคุ้มต่อการคืนทุน

  7. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง (Factors that affect location decisions) • ตลาด: ลูกค้า ชุมชน และแหล่งจำหน่ายสินค้าเพียงพอ • สาธารณูปโภค: น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบบำบัดครบครัน • การบริการทางสังคม: มีสถานีตำรวจ ดับเพลิง เทศบาลโรงพยาบาล โรงเรียน ครบถ้วน • สิ่งแวดล้อม: ภูมิอากาศดี มลภาวะน้อย ความชื้นเหมาะสม ไม่มีแสง เสียงรบกวน • กฎหมาย: ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีการค้า ค่าเบี้ยประกันต่างๆ เหมาะสม

  8. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง (Factors that affect location decisions) • ทัศนคติของชุมชน: ทัศนคติของชุมชนที่ล้อมรอบทำเลที่ตั้งโรงงานต้องสนับสนุนต่อการสร้างโรงงาน • คู่แข่งขัน: ควรมีความร่วมมือกันระหว่างคู่แข่งในทางที่ดี • มีโอกาสความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้นในอนาคต

  9. ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งขั้นตอนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง การศึกษาปัจจัย การวิเคราะห์ทางเลือกเทคนิคการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ไม่เลือก การตัดสินใจ เลือก ลงทุนก่อสร้าง

  10. การตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง • การเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจผลิตสินค้า (โรงงานหรือคลังสินค้า) • ใกล้แหล่งวัตถุดิบ • ใกล้แรงงาน • ชุมชนยอมรับ • เส้นทางการคมนาคมดี • สาธารณูปโภคเพื่อการผลิตครบ • คุณภาพและมาตรฐานการดำรงชีวิตต้องดี • การเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจบริการและการจำหน่าย (ค้าส่งค้าปลีก) • ใกล้ลูกค้า • ค่าขนส่ง (สินค้ามีการกระจายตัวสูง จึงมีค่าขนส่งสูง) • เส้นทางการคมนาคมเพียงพอและเข้าถึงเป้าหมาย • คู่แข่งขัน • เลี่ยงใกล้รายใหญ่ • รวมกลุ่มกับรายย่อย (Market Place)

  11. วิธีประเมินทางเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ (Methods of evaluation location alter) การคำนวณระยะทางในการขนส่ง วิธีจุดศูนย์ดุลย์ (center of gravity method analysis) วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (vocational boreal present layout is) จากปัจจัยดังกล่าว ควรทำการจัดการลำดับความสำคัญและความเหมาะสมอย่างละเอียด เนื่องจากมีผลกระทบหรือการขาดทุนของบริษัท คือ

  12. วิธีประเมินทางเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ(Methods of evaluation location alter) 1) ผลผลิต (labor productivity) 2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange rates) และต้นทุน (Cost) แบ่งเป็น - ต้นทุนที่จับต้องได้ (tangible cost) - ต้นทุนประเภทจับต้องไม่ได้ (Intangible cost) 3) ตรงใกล้ตลาดและแหล่งปัจจัยการผลิต (Proximity to markets and suppliers)

  13. ผลผลิตจากแรงงาน (Labor productivity) หรือเรียกว่า กำลังการเพิ่มผลผลิตของแรงงาน เป็นผลผลิตที่ออกมาในรูปของสินค้าและบริการ หารด้วยปัจจัยนำเข้าหรือเน้นความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนทั้งหมดของปัจจัยนำออก (output) และปัจจัยการผลิตที่นำเข้า (input) หรือการวัดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า อันได้แก่ ทุนแรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน กับปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อันได้แก่ สินค้าและบริการ

  14. ผลผลิตจากแรงงาน (Labor productivity) ตัวอย่างเช่น บริษัท Quality Coins ในรัฐคอนเนคตอกัต ต้องจ่ายเงิน $70 ต่อวันเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ 60 ชิ้นในหนึ่งวัน ในขณะเดียวกันบริษัทเดียวกันได้เปิดสาขาในประเทศเม็กซิโก ผลิตสินค้าชนิดกันในหนึ่งวันได้ 20 ชิ้น โดยมีค่าจ้างแรงงาน $25 ต่อวัน หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างค่าจ้างแรงงานต่อผลผลิตที่ได้ จะได้ผล ดังต่อไปนี้ เมื่อ

  15. ผลผลิตจากแรงงาน (Labor productivity) กรณีที่ 1 การผลิตในสหรัฐอเมริกา กรณีที่ 2 การผลิตในเม็กซิโก

  16. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange rates)และต้นทุน (Cost) อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มหรือลดลงจะขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ และสภาพแวดล้อมภายนอกประเทศด้วย ดังนั้นการตั้งโรงงานจะเป็นไปไม่ได้ หากขาดเงินทุน 2 ประเภท คือ ต้นทุนที่จับต้องได้ (Tangible cost) เป็นต้นทุนทางตรง สามารถนับหรือกำหนดเป็นเชิงปริมาณได้ง่าย เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าเสื่อมราคา ภาษี เป็นต้น ต้นทุนที่จับต้องไม่ได้ (Intangible cost) เป็นต้นทุนเชิงปริมาณที่เห็นได้ยาก คือ เป็นทัศนคติและความรู้สึกที่มีอิทธิพลต่อการตั้งโรงงาน

  17. ตารางแสดงการจัดลำดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใน 20 ประเทศระหว่างปีพ.ศ.2540-2544

  18. ความอยู่ใกล้และแหล่งปัจจัยการผลิต(Proximity to markets and suppliers) ควรพิจารณาให้ตั้งตั้งอยู่ใกล้ตลาดหรือลูกค้า เพื่อความรวดเร็ว คล่องตัวและการส่งสินค้าให้ทันเวลา สถานประกอบควรตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิต โดยพิจารณาจากปัจจัยหลัก ดังนี้ วัตถุดิบเน่าเสียง่าย เช่นอุตสาหกรรม นมเนย แช่แข็ง เป็นต้น ค่าขนส่งจากแหล่งวัตถุดิบถึงโรงงานมีราคาแพง วัตถุดิบมีน้ำหนักและปริมาณมาก เช่นการผลิตเหล็ก เป็นต้น

  19. ขั้นตอนการเลือกที่ตั้งขั้นตอนการเลือกที่ตั้ง การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) การศึกษารายละเอียดและศักยภาพของที่ตั้งที่เป็นไปได้ (Potential site) การเปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ - วิธีการเชิงปริมาณ ใช้ตัวเลขต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของแต่ละทำเล และเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรวมของแต่ละทำเล โดยเลือกทำเลที่เสียค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด ตลอดจนการประยุกต์เทคนิคการขนส่ง (Transportation technique) มาพิจารณาเลือกเส้นทางและพื้นที่ที่มีต้นทุนต่ำที่สุด

  20. ขั้นตอนการเลือกที่ตั้งขั้นตอนการเลือกที่ตั้ง - วิธีการเชิงคุณภาพ มีเทคนิคการตัดสินใจ คือ 1) จัดลำดับความสำคัญของปัจจัย (Ranking technique) โดยใช้การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้ง เปรียบเทียบคุณสมบัติของแต่ละปัจจัยกับแต่ละพื้นที่ 2) การให้คะแนนปัจจัย (Rating technique) โดยการกำหนดคะแนนความสำคัญของแต่ละปัจจัย แต่ละทำเล แล้วทำการรวมคะแนนของแต่ละทำเล มาเปรียบเทียบกัน เลือกที่มีคะแนนรวมสูงสุด

  21. เครื่องมือช่วยตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งเครื่องมือช่วยตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง เชิงคุณภาพ • Factor Rating Method :พิจารณาปัจจัยเฉลี่ยน้ำหนัก เชิงปริมาณ • Load-distance Technique : ระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง • Cost Comparison : เปรียบเทียบต้นทุนรวม • Break-even Analysis :การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • Transportation model : ค่าขนส่งรวมด้วยตัวแบบการขนส่ง

  22. Factor Rating Method • เป็นการเลือกทำเลที่ตั้งโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นปัจจัยเชิงปริมาณและปัจจัยเชิงคุณภาพ แต่ละปัจจัยจะมีน้ำหนักหรือความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปดังนี้ • ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ให้น้ำหนักสูงสุด • ปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมา ให้น้ำหนักรองลงมา • โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักโดยรวมจะเป็น 1 หรือ 100 % • ทำการรวบรวมและเปรียบเทียบ • ค่าที่สูงที่สุด แสดงว่าดีที่สุด

  23. Factor Rating Method

  24. Load-distance Technique โดย dAB ระยะทางระหว่างพื้นที่ A และพื้นที่ B XA ตำแหน่งของพื้นที่ A บนแกน X XB ตำแหน่งของพื้นที่ B บนแกน X YA ตำแหน่งของพื้นที่ A บนแกน Y YB ตำแหน่งของพื้นที่ B บนแกน Y • ขั้นที่ 1เทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง • - เป็นวิธีการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเพียงแห่งเดียวจากหลายทำเลที่เสนอขึ้นมาเป็นทางเลือกตั้งแต่ 2 ทำเลขึ้นไป

  25. Load-distance Technique โดยการคำนวณหาระยะห่างของแต่ละทำเลกับแหล่งวัตถุดิบหรือตลาด แล้วคูณระยะทางเหล่านั้นเข้ากับค่าใช้จ่ายในการขนส่ง โดยใช้หลักการวัดเป็นเส้นตรง - การหาระยะทางระหว่างทำเลที่ตั้งกับเป้าหมาย : ใช้หลักการวัดระยะทางเส้นตรงด้วยกฎ สามเหลี่ยมของพิธากอรัสN กับ M ห่างกันเท่าไร M C2 = A2+B2 A=3 N B=4 C2 = A2 + B2C2= 32 + 42 = 25C = 5

  26. Load-distance Technique ขั้นที่ 2คำนวณระยะทางร่วมที่ได้ทั้งสองทำเล เข้ากับค่าขนส่งต่อระยะทาง LD =  li x di • โดยที่ • Ii = อัตราค่าขนส่งต่อระยะทางหรือจำนวนเที่ยวหรือจำนวนหน่วยสินค้า • Di = ระยะทางระหว่างทำเลในแต่ละแหล่ง • ขั้นที่ 3เลือกทำเลที่ตั้งที่มีค่า LD รวมต่ำที่สุด

  27. Load-distance Technique ตัวอย่างเทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง ระหว่างทำเล X กับ Y ควรเลือกทำเลใด โดยสมมติว่าค่าขนส่งสินค้า 6 บาท วัตถุดิบ 5 บาท (ต่อกิโลเมตร) ขั้นที่ 1: คำนวณ Load-distance ; Demand สมมติว่าค่าขนส่งสินค้า 6 บาท (ต่อกิโลเมตร) การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับตลาด (Demand) ของ X • พิกัด X-ก มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(52 + 22) = 5.39 km • พิกัด X-ข มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 22) = 2.83 km • พิกัด X-ค มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 42) = 5.66 km

  28. Load-distance Technique • ทำเล X มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางไปตลาดทั้งหมด = 13.82 km การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับตลาด (Demand) ของ Y • พิกัด Y-ก มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(32 + 52) = 5.83 km • พิกัด Y-ข มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 52) = 6.40 km • พิกัด Y-ค มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 12) = 2.24 km • ทำเล Y มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางไปตลาดทั้งหมด = 14.47 km

  29. Load-distance Technique สมมติว่าค่าขนส่งวัตถุดิบ 5 บาท (ต่อกิโลเมตร) การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับแหล่งวัตถุดิบ (Supply) ของ X • พิกัด X - A มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 12) = 4.12 km • พิกัด X - B มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(32 + 22) = 3.61 km • พิกัด X - C มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(02 + 32) = 3.00 km ทำเล X มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางจากแหล่งวัตถุดิบทั้งหมด = 10.73 km • การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับแหล่งวัตถุดิบ (Supply) ของ Y

  30. Load-distance Technique • พิกัด Y - A มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 22) = 2.83 km • พิกัด Y - B มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(52 + 12) = 5.10 km • พิกัด Y - C มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 02) = 2.00 km ทำเล Y มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางจากแหล่งวัตถุดิบทั้งหมด = 9.93 km ขั้นที่ 2 : คำนวณระยะทางร่วมที่ได้ทั้งสองทำเล เข้ากับค่าขนส่งต่อระยะทาง • LDx = [X ไปตลาด x 6]+ [X ไปวัตถุดิบ x 5] (13.82 x 6) + (10.73 x 5) = 136.57 บาท

  31. Load-distance Technique • LDy = [Y ไปตลาด x 6]+ [Y ไปวัตถุดิบ x 5] (14.47 x 6) + (9.93 x 5) = 136.47 บาท • ขั้นที่ 3 เลือกคำตอบที่ค่าขนส่งต่ำกว่า คำตอบ คือ เลือกทำเล Y ให้ค่าขนส่งตามระยะทางต่ำกว่า X

  32. Cost Comparison • การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม (Cost Comparison) • TC = ต้นทุนการผลิตรวม • TFC = ต้นทุนคงที่รวม • TVC = ต้นทุนผันแปรรวม • VC = ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย • Q = จำนวนสินค้าที่จะผลิต • TC = TFC + TVC • TVC = VC(Q) • TC = TFC + VC(Q)

  33. Cost Comparison ตัวอย่าง: การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม บริษัท 3A จำกัด กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง มี 3 ทำเลให้เลือกดังนี้ เมือง A : มีต้นทุนคงที่ 2.0 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 100 บาท/หน่วย เมือง B : มีต้นทุนคงที่ 2.5 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 45 บาท/หน่วย เมือง C :มีต้นทุนคงที่ 1.1 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 200 บาท/หน่วย ถ้าบริษัทนี้พยากรณ์ได้ว่าจะมีกำลังการผลิตปีละ 10,000 หน่วย บริษัทแห่งนี้ควรเลือกทำเลใดในการตั้งโรงงานจึงจะมีต้นทุนต่ำที่สุด

  34. Cost Comparison ตัวอย่าง: การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม บริษัท 3B จำกัด กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง มี 3 ทำเลให้เลือกดังนี้ เมือง A มีต้นทุนคงที่ 1.0 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 200 บาท/หน่วย เมือง B มีต้นทุนคงที่ 2.5 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 80 บาท/หน่วย เมือง C มีต้นทุนคงที่ 1.3 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 160 บาท/หน่วย ถ้าบริษัทนี้พยากรณ์ได้ว่าจะมีกำลังการผลิตปีละ 15,000-20,000 หน่วย บริษัทแห่งนี้ควรเลือกทำเลใดตั้งโรงงานจึงจะมีต้นทุนต่ำที่สุด

  35. Cost Comparison

  36. Break-even Analysis - การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน สามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมิน เช่น ค่าที่ดิน ค่าแรง ค่าโสหุ้ยในการผลิต ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าต่างๆ มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาจุดคุ้มทุนที่ต่ำที่สุด ได้ว่าทำเลใดมีการเข้าใกล้จุดคุ้มทุนเร็วที่สุด ทำเลนั้นจะเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง TR = TC P(Q) = TFC + VC(Q) P(Q) - VC(Q) = TFC Q (P-VC) = TFC Q = TFC (P-VC) TC = ต้นทุนการผลิตรวม TFC = ต้นทุนคงที่รวม TVC = ต้นทุนผันแปรรวม VC = ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย Q = จำนวนสินค้าที่จะผลิต TC = TFC + VC(Q) TR = รายได้รวม TR = P x Q P = ราคาขายต่อหน่วย

  37. Break-even Analysis - การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ตัวอย่าง การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งผู้บริหารธุรกิจแห่งหนึ่งกำหนดราคาขายสินค้าไว้ที่หน่วยละ 10 บาท กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่โดยมีข้อมูลต้นทุนดังนี้

  38. Transportation model การเลือกทำเลที่ตั้งโดยเปรียบเทียบค่าขนส่งรวมด้วยตัวแบบการขนส่ง (Transportation Model) • ตัวแบบการขนส่งเป็นเทคนิคการคำนวณในลักษณะของโปรแกรมเส้นตรง (Linear Programming) ที่ใช้คำนวณหาต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุด(Minimizing cost) สำหรับการกระจายสินค้าของโรงงานที่มีสถานที่ผลิตหลายแห่งและมีสถานที่ส่งสินค้าหลายแห่ง • โดยที่ค่าขนส่งของแต่ละเส้นทางขนส่งมีค่าไม่เท่ากัน (ขึ้นกับระยะทางที่ห่างกัน)

  39. Transportation model • ดังนั้นโรงงานจะสามารถทราบได้ว่าควรจะกระจายสินค้าด้วยเส้นทางใดจึงจะได้ค่าขนส่งรวมต่ำที่สุด จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์ทางเลือกเพื่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานได้เป็นอย่างดี Supplyต้นทาง Demandปลายทาง

  40. โรงงาน 1 โรงงาน 2 โรงงาน 3 โรงงาน 5 โรงงาน 4 ร้านค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย พ่อค้าส่ง ร้านค้าปลีก ลูกค้า • Transportation model เส้นทางการขนส่งแต่ละเส้นมีระยะทางไม่เท่ากัน จึงมีค่าขนส่งแตกต่างกันตามระยะทาง

  41. Transportation model ขั้นตอนการคำนวณหาต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุดด้วยตัวแบบการขนส่งและใช้ Microsoft Excel ในการ Solution เพื่อหาคำตอบ • หาผลรวมสินค้าของแหล่งผลิต (Supply) และแหล่งรับสินค้า (Demand) • สร้างตารางเมตริกซ์ (Matrix Square) • สร้างแถวนอน (Row) = จำนวนโรงงานหรือแหล่งผลิตสินค้า (Supply) • สร้างแถวตั้ง (Column) = จำนวนแหล่งที่จะรับสินค้า (Demand)

  42. Transportation model • เมื่อนำแถวนอนกับแถวตั้งมารวมกันจะได้ Matrix Square โดยจะเกิดช่องที่เกิดจากการตัดกันของ Row / Column เรียกว่า Cell ถ้าเกิดจากการตัดกันของ Row ที่ 1 กับ Column ที่ 2 เรียก Cell นั้นว่า C12 • กำหนดค่าขนส่งในแต่ละเส้นทาง และระบุลงไปใน Matrix • สร้าง Matrix Square ลงใน Spread Sheet (Excel) • ต้องเป็น Version ที่มี Solver Parameter adds-in • หรือใช้โปรแกรม QM for Window

  43. Transportation model ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลลงเมทริกซ์ บริษัทแห่งหนึ่งมีโรงงานผลิตสินค้าอยู่ 3 แห่ง แห่งละ 500 ,600 และ 400 หน่วย ตามลำดับ โดยมีเอเย่นต์อยู่ 4 ราย แต่ละรายรับสินค้าได้จำกัดจำนวน คือ 260 , 380 , 490 และ 370 หน่วยตามลำดับ เขียนเป็นแผนภาพและระบุค่าขนส่งได้ดังนี้

  44. Transportation model Matrix= 8610

  45. กลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งสถานประกอบการด้านการบริการ (Service location strategy) ปัจจัยหลักที่มีผลต่อขนาดและรายได้ของธุรกิจ ได้แก่ อำนาจการซื้อของในท้องถิ่น การบริการและภาพลักษณะที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการในพื้นที่ สภาพการแข่งขันในพื้นที่ การแข่งขันเชิงคุณภาพของการบริการ ความสามารถหลักขององค์การและทำเลที่ตั้งของคู่แข่งขัน คุณภาพเชิงกายภาพ นโยบายการดำเนินงาน คุณภาพของการบริหารและการจัดการ

  46. การเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้าการเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้า

  47. การเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้าการเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้า

  48. การเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้าการเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเลือกที่ตั้งธุรกิจให้บริการและผลิตสินค้า

More Related