1 / 42

นโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบัน การพล ศึกษา พ.ศ.2556-2560

นโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบัน การพล ศึกษา พ.ศ.2556-2560. โดย นาย ปริวัฒน์ วรรณ กลาง อธิการบดีสถาบันการพลศึกษา 8 พฤศจิกายน 2556. ประเด็นการเชื่อมโยง. บทนำ : มิติโครงสร้างองค์กรสถาบันการพลศึกษา : มิติด้านภารกิจ หน้าที่สถาบันการพลศึกษา ส่วน ที่ 1

chacha
Download Presentation

นโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบัน การพล ศึกษา พ.ศ.2556-2560

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบันการพลศึกษานโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2556-2560

  2. โดย นายปริวัฒน์วรรณกลาง อธิการบดีสถาบันการพลศึกษา 8 พฤศจิกายน 2556

  3. ประเด็นการเชื่อมโยง... บทนำ : มิติโครงสร้างองค์กรสถาบันการพลศึกษา : มิติด้านภารกิจ หน้าที่สถาบันการพลศึกษา ส่วนที่ 1 กรอบและทิศทางการบริหารราชการ สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2556-2560 ส่วนที่ 2 นโยบายและแนวทางการบริหารราชการ สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2556-2560 นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก

  4. ส่วนที่ 3 • นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี • พ.ศ. 2556-2560 • ด้านการศึกษา • ด้านกีฬา • ด้านการวิจัย • ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา • ด้านกิจการนักเรียน และนักศึกษา • ด้านการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน • และกีฬาไทย • 7. ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม • 8. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

  5. บทนำ : มิติด้านโครงสร้างองค์กร สถาบันการพลศึกษา สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขต โรงเรียนกีฬา

  6. : มิติด้านภารกิจ หน้าที่ สถาบันการพลศึกษา การศึกษา การกีฬา

  7. ส่วนที่ 1 กรอบและทิศทางการบริหารราชการ สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2556-2560 สถาบันการพลศึกษา มีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนา การจัดการศึกษา และการกีฬา เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จุดเริ่มต้นสำคัญ คือ การบริหารเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี และการใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างต่อเนื่องสนองตอบ ความต้องการของสังคมและสามารถแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในและต่างประเทศในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

  8. การกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารราชการของสถาบันการพลศึกษาได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 และตอบสนองต่อแผนพัฒนา นโยบาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

  9. ส่วนที่ 2 นโยบายและแนวทางการบริหารราชการ สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2556-2560 นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก • 1. การจัดทำแผนพัฒนากรอบอัตรากำลังให้สอดคล้องกับภารกิจของสถาบัน • จัดทำกรอบอัตรากำลังที่สอดคล้องกับโครงสร้างและภารกิจของสถาบันทุกหน่วยงาน และทุกสายงาน แยกเป็นสายผู้บริหาร สายผู้สอน และสายสนับสนุน • จัดทำมาตรฐานตำแหน่งทุกตำแหน่ง จำแนกตามประเภท และสายงานตามลักษณะงานที่รับผิดชอบตามกรอบภารกิจของสถาบัน หน้าที่ และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้ที่ดำรงตำแหน่งนั้นๆ

  10. ครู อาจารย์จะต้องมีกรอบอัตรากำลังแยกตามคณะและตามรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน (Teaching load) ผู้ฝึกสอนกีฬาของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬาจะต้องพิจารณาตามชนิดกีฬาที่เปิดสอน • บุคลากรทางการศึกษาจะต้องจัดทำภาระงานให้ชัดเจน (Working load) • ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญให้ปฏิบัติงานด้านการสอนหรือวิจัยถึงอายุ 65 ปี โดยให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากับอัตราเงินเดือนขั้นสุดท้ายที่ได้รับก่อนออกจากราชการ

  11. 2. จัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 กำหนดนโยบาย ดังนี้ 1. จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาขึ้นทั้งในสำนักงานอธิการบดี วิทยาเขต และโรงเรียนกีฬา โดยให้ศูนย์อาเซียนศึกษาในสำนักงานอธิการบดี เป็นหน่วยงานกลาง (CEO)ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการด้านอาเซียนศึกษาของสถาบัน 2. การเปิด-ปิดภาคเรียนให้สอดคล้องกับชาติสมาชิกประชาคมอาเซียน

  12. 3. การจัดการศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา กำหนดแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการหลักสูตรเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 สถาบันการพลศึกษา โดยคณะวิชาจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาโท และจัดการเรียนการสอนโดยสถาบันเอง

  13. รูปแบบที่ 2สถาบันการพลศึกษา โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศที่เป็นคู่สัญญาความร่วมมือด้านวิชาการ จัดหลักสูตรระดับปริญญาโทและ/หรือปริญญาเอก เป็นหลักสูตรนานาชาติ โดยลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ - หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและปริญญา ของสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ*เป็นการจัดการศึกษาแบบ off shoreโดยสถาบันการพลศึกษาจะเอื้ออำนวยด้านสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ ทรัพยากรและบุคคลากร รวมทั้งการมีสวนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

  14. - หลักสูตรแบบปริญญาร่วม* (Joint Degree Program) ระหว่างสถาบันการพลศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ที่จัดทำหลักสูตร และจัดการเรียนการสอนร่วมกันในสถาบันการพลศึกษาตลอดทั้งหลักสูตร หรือมีบางส่วนจัดในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ หรือผสมผสานกับการจัดการศึกษาระบบทางไกลผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต - หลักสูตรแบบสองปริญญา*(Double Degree Program) ที่เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการพลศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศจัดทำหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในลักษณะเดียวกันกับหลักสูตรปริญญาร่วมข้างต้นแต่ผู้สำเร็จการศึกษาได้ปริญญาบัตรจากทั้งสองสถาบัน

  15. ส่วนที่ 3 นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี พ.ศ. 2556-2560 • ด้านการศึกษา • ด้านกีฬา • ด้านการวิจัย • ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา • ด้านกิจการนักเรียน และนักศึกษา • ด้านการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน และกีฬาไทย • ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม • ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

  16. ด้านการศึกษา การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนกีฬา 1. ปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับ และสัญญา การจัดการศึกษาสำหรับโรงเรียนกีฬาให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และสามารถบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ทบทวนและผลักดันการใช้ระบบ E-Education ให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานวิชาการ

  17. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา 1. ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตผลคุณภาพด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ • ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันการปรับปรุงหลักสูตรเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้บริการวิชาการสังคม และโครงการพิเศษที่เน้นผู้เรียนให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง อาทิ สหกิจศึกษา (Co-operative Education)โดยทำความตกลงร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับคณะวิชาและวิทยาเขตที่มีศักยภาพ

  18. 2. ด้านกีฬา • 2.1 การกำหนดชนิดกีฬาที่เปิดสอนในโรงเรียนกีฬาและวิทยาเขต จุดเน้นสำคัญ คือ • มุ่งพัฒนานักกีฬาตามชนิดกีฬาที่สอดคล้องกับรายการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ เช่น กีฬาซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ เป็นต้น • กระจายชนิดกีฬาที่เปิดสอนให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

  19. ต้องมีความเชื่อมโยงกันในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา โดยคำนึงถึงการ บูรณาการร่วมกันระหว่างโรงเรียนกีฬา กับวิทยาเขต สามารถพัฒนาต่อยอดกับวิทยาเขตที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันหรือจังหวัดพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อส่งต่อการพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง

  20. 2.2 การพัฒนานักกีฬา เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ Input Process Output

  21. 2.2.1 กำหนดให้วิทยาเขตที่มีศักยภาพเป็นเจ้าภาพหลัก (CEO) ในแต่ละชนิดกีฬา โดยทำข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมกีฬาต่างๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนานักกีฬา เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 2.2.2 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งการปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับการเบิกจ่าย 2.3 จัดทำปฏิทินการแข่งขันกีฬา ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

  22. 2.4 การจัดการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย มีแนวทางดำเนินการดังนี้ - จัดทำระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณจัดการแข่งขันเช่น อัตราค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการจัดการแข่งขันให้สามารถเบิกจ่ายได้สะดวก คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ

  23. - พัฒนาระบบฐานข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณที่เป็นจริงของคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาฝ่ายต่างๆ เพื่อเสนอต่อสำนักงบประมาณในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับสถาบันการพลศึกษาต่อไป - กำหนดลำดับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาฯ กีฬาโรงเรียนกีฬาฯ เพื่อให้วิทยาเขตและโรงเรียนกีฬาที่จะเป็นเจ้าภาพได้รับทราบล่วงหน้า 3 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อม วางแผนบริหารจัดการ และการเสนอของบประมาณในการปรับปรุงอาคารสถานที่ สนามกีฬาและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  24. 3. ด้านการวิจัย 3.1 จัดหางบประมาณสนับสนุนการวิจัย จากแหล่งเงินทุนทั้งภายในและภายนอก - งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) - งบประมาณสนับสนุนจากเงินรายได้ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬานั้นๆ - งบประมาณสนับสนุนจากงบดำเนินงานของสถาบันการพลศึกษา - งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก

  25. 3.2 จัดทำระเบียบ แนวปฏิบัติการเบิกจ่ายให้มีความคล่องตัว - งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเงินรายได้ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา สถาบันสามารถจัดทำระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณซึ่งเป็นงบเงินอุดหนุน เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายงบประมาณ - งบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากงบดำเนินงานของสถาบัน สามารถเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง - งบประมาณวิจัย วช. และเงินรายได้ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา สามารถจัดทำระเบียบการเบิกจ่ายเป็นงบเงินอุดหนุน เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

  26. - งบประมาณจากหน่วยงานภายนอก (กรณีที่บุคลากรรับทำงานวิจัยให้หน่วยงานภายนอกหรือหน่วยงานภายนอกมาจ้างให้จัดทำงานวิจัย) สามารถออกระเบียบ แนวปฏิบัติในการเบิกจ่าย โดยงบประมาณส่วนหนึ่งเป็นของผู้ทำวิจัยและอีกส่วนหนึ่งนำเข้าเป็นเงินรายได้ของหน่วยงาน เช่น ผู้ทำวิจัยได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 85 โดยส่งเข้าเป็นเงินรายได้ของต้นสังกัดร้อยละ 15 ของงบประมาณทั้งหมด

  27. 3.3 จัดทำกระบวนการเร่งรัดการวิจัยเพื่อให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด โดยให้มีการกำหนดแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งต้องคำนึงถึงเนื้องาน เวลาและงบประมาณให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

  28. 3.4 ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ - การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยภายในประเทศให้ต้นสังกัดจัดสรรงบประมาณสนับสนุน - การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยในต่างประเทศ ให้สถาบันจัดสรรงบประมาณสนับสนุน - พัฒนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์ในสาขาที่เป็นจุดเด่นของสถาบัน เช่น การวิจัยเชิงทดลองด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในการฝึกซ้อมกีฬาและการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา - สร้างปัจจัยเกื้อหนุนหรือแรงจูงใจด้วยการส่งเสริม สนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น การยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยของสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับดีเด่น

  29. 4. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 4.1 กำหนดผู้รับผิดชอบ กำกับ ติดตามและดำเนินงาน โดยให้ผู้บริหารระดับสถาบัน วิทยาเขต คณะวิชา แต่งตั้งคณะกรรมการหรือบุคคลเพื่อรับผิดชอบ กำกับ ติดตามและดำเนินงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก

  30. 4.2 จัดทำมาตรฐานการดำเนินงานของแต่ละตัวบ่งชี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยให้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการดำเนินงานของแต่ละตัวบ่งชี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับวิทยาเขต 17 แห่งเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก

  31. 4.3 การเชื่อมโยงนโยบายและแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากระดับสถาบันไปสู่วิทยาเขตและคณะวิชา เพื่อการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการมอบหมายและถ่ายทอดภารกิจให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงานให้มีความรู้และเข้าใจสามารถปฏิบัติได้

  32. 5. ด้านกิจการนักเรียนและนักศึกษา 5.1 สร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงาน ด้านองค์การนักเรียน นักศึกษา - ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งองค์การนักเรียนและนักศึกษาทั้งในวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬาให้มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ของสถาบัน เช่น กิจกรรมด้านกีฬา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย - จัดทำระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการดำเนินงานขององค์การนักเรียนและนักศึกษา

  33. -จัดหางบประมาณสนับสนุนองค์การนักเรียน นักศึกษา สภานักศึกษาและชมรม โดยคณะกรรมการบริหารองค์การนักเรียน นักศึกษา เพื่อเสริมสร้างพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้เป็นคนดี มีจิตอาสา มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 5.2 ขับเคลื่อนกิจกรรมนักเรียน นักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยโครงการนำร่องในปีการศึกษา 2557 ดังนี้ - โครงการไหว้ครูของนักเรียนและนักศึกษา ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา - โครงการรับน้องอย่างสร้างสรรค์ ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา 5.3 จัดหาสถานที่ทำการองค์การนักเรียน นักศึกษา ให้ดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน

  34. 6. ด้านการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย - จัดทำประกาศ กำหนดพื้นที่จังหวัดให้แต่ละวิทยาเขตรับผิดชอบ - ให้แต่ละวิทยาเขตสำรวจการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย ในแต่ละจังหวัดที่รับผิดชอบ - สรุปส่งให้สถาบันการพลศึกษา กองกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ รวบรวม - จัดทำโครงการ อนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ - สถาบันการพลศึกษา รวบรวมและเผยแพร่

  35. 7. ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม • 7.1 พัฒนาระบบและกลไกการบริการทางวิชาการ • 7.2 กำหนดให้มีเจ้าภาพหลักรับผิดชอบ ในแต่ละกิจกรรม/โครงการ เช่น • การบริการด้านกีฬา • การตัดสินกีฬา • การเป็นผู้ฝึกสอน • การจัดการแข่งขัน • การให้บริการด้านอาคารสถานที่

  36. 8. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ • ในการบริหารจัดการ 8.1 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล - ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผลงานทางวิชาการ/ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น โดยปรับปรุงพัฒนาขั้นตอน กระบวนการดำเนินการให้ชัดเจน และสามารถตรวจสอบ ติดตามรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานได้ในทุกขั้นตอน

  37. 8.2 การจัดตั้งกองทุน -กองทุนเพื่อบุคลากร - กองทุนนักเรียนและนักศึกษา

  38. 8.3 พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี - มีระบบฐานข้อมูลที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการบริหารจัดการในการที่จะขับเคลื่อนพัฒนาการสถาบันให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน - มีฐานการคิด หลักการ วิธีการ และกลยุทธ์ในการทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สร้างความพึงพอใจไปสู่การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาอย่างแท้จริง

  39. - สร้างเครือข่ายความร่วมมือภายในและภายนอก ทั้งในสำนักงานอธิการบดี คณะวิชา วิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา รวมทั้งหน่วยงาน องค์กรกีฬา สมาคมกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนำได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในในการบริหาร การตัดสินใจและร่วมในกระบวนการจัดการศึกษา - บริหารจัดการโดยอาศัยระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย จัดทำระบบฐานข้อมูล เช่น ด้านบุคลากร นักกีฬา นักเรียน นักศึกษาให้เป็นปัจจุบัน เพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

  40. 8.4 สร้างเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดี - จัดทำระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์การดำเนินงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล - สร้างแนวปฏิบัติให้มีขั้นตอนชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินงานในแต่ละหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ - สร้างและพัฒนาเครื่องมือ แบบฟอร์ม จัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกภารกิจของสถาบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร รวมทั้งระบบกลไกการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการที่ดี

  41. 6 7 2 8 1 3 5 4 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ ด้านการศึกษา ด้านการบริการวิชาการ และแก่สังคม ด้านกีฬา • ด้านการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม • การละเล่นพื้นบ้าน • และกีฬาไทย ด้านการวิจัย • ด้านกิจการนักเรียน • และนักศึกษา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี พ.ศ. 2556-2560

  42. ขอขอบคุณ คณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากรของสถาบันการพลศึกษาทุกท่าน สำหรับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เชื่อมโยง บูรณาการภารกิจของสถาบันให้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมาย >>>2556-2560

More Related