451 likes | 1.04k Views
ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนา (Development Theory and Concepts). ทฤษฎีและแนวคิด ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน. Basic Needs Theory. Basic Minimum Needs : BMN. Paradigm ( กระบวนทัศน์/แนวคิด). ภายใต้กระแสการพัฒนาที่หลากหลายของโลก ผลการพัฒนาในเกือบทุกประเทศปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวางว่า
E N D
ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนา(Development Theory and Concepts)
ทฤษฎีและแนวคิดความจำเป็นขั้นพื้นฐานทฤษฎีและแนวคิดความจำเป็นขั้นพื้นฐาน Basic Needs Theory Basic Minimum Needs : BMN
Paradigm (กระบวนทัศน์/แนวคิด) ภายใต้กระแสการพัฒนาที่หลากหลายของโลก ผลการพัฒนาในเกือบทุกประเทศปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวางว่า - คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลง :สะท้อนให้เห็นความไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและทันเหตุการณ์ - ประเด็นการพัฒนาคือ การแก้ไขปัญหาความยากจน หรือ “การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต” : ความเหมาะสมที่ประชาชนพึงจะได้รับคืออะไร : ควรที่จะอยู่ในระดับใดหรืออัตราขั้นต่ำที่พึงจะได้รับ
ความเป็นมาของแนวคิด ผลงาน :International Labour Organization, ILO เสนอ : World Employment Conference 2519 จุดกำเนิดทฤษฎี : 1) ความสำเร็จของการพึ่งพาตนเอง : ความสำเร็จการพัฒนาของจีน (โครงการต้าจ้าย) ในแนวคิด “Walking on Two Legs” การพัฒนาด้วยลำแข้งตนเอง/การพึ่งตนเองเป็นหลัก : - อาศัยความช่วยเหลือจากภายนอกให้น้อยที่สุด - เน้นพัฒนาชนบทให้ช่วยเหลือและร่วมมือในชุมชนมากที่สุด - ประชาชนเป็นผู้กำหนดความจำเป็นพื้นฐานชุมชน
ความเป็นมาของแนวคิด 2) การรวมตัวนักวิชาการเสนอทางเลือกการพัฒนาใหม่ Dag Hammarskjold : Another Development กลุ่มนักวิชาการระหว่างประเทศที่เรียกตนเองว่า The Club of Romeเป็นกลุ่มนักวิชาการที่ปรึกษาองค์กรระหว่าง ประเทศที่มีประสบการณ์จากการศึกษาทางการพัฒนาที่เกิดขึ้น ทั่วโลก ยอมรับว่า “อิทธิพลบริษัทข้ามชาติ (Multi Cooperation) ที่มีต่อการพัฒนาประเทศต่างๆ ในโลก อาจนำไปสู่การทำลายตนเองของโลกในอนาคต”
ความเป็นมาของแนวคิด 2) การรวมตัวนักวิชาการเสนอทางเลือกการพัฒนาใหม่ - ทำให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนอาหาร อดอยากทั้งที่ ประเทศตะวันตกมีอาหารเหลือเก็บอยู่หลายปี ขณะที่ประเทศใน แอฟริกาไม่มีอะไรจะกินระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมข้ามชาติ จะดึงเอาทรัพยากรส่วนการยังชีพเข้าสู่ประเทศที่มีอำนาจต่อไป - ระบบการพัฒนาอุตสาหกรรมโลกมีปัญหามลภาวะ จะทำให้แพร่กระจาย และเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งมีแต่จะ ขยายตัวมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อทุกคนในประชาคมโลก
ความเป็นมาของแนวคิด • นักวิชาการเสนอรายงานทั้ง 3 ฉบับ ในแง่การพัฒนาว่า • 1. Limit to Growth จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ • 2. Manland at the Turning Point สภาวะมนุษยชาติ • กำลังมาถึงจุดที่จะเปลี่ยนกลับ (Back to the Nature) • 3. Reshaping the International Economic Order • การจัดรูปแบบระหว่างประเทศใหม่ หรือการจัดระเบียบ • เศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่ • ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาที่พึ่งตนเองโดยคำนึงถึงสภาพท้องถิ่น จะทัดทานอิทธิพลบริษัทข้ามชาติให้ลดน้อยลง
ความเป็นมาของแนวคิด 3) การตอบสนองข้อเสนอเรียกร้องของทฤษฎีพึ่งพา : ทฤษฎีพึ่งพาไม่ได้เสนอแนะขั้นตอน กระบวนการใน เชิงเทคนิค/กลไกชัดเจน (Mechanicaformal Formulation) 4) การแก้ปัญหาความล้มเหลวทฤษฎีภาวะทันสมัย : ปัญหาการดำเนินงานพัฒนาตามกรอบแนวคิดและ ทฤษฎีภาวะทันสมัยเกิดปัญหาการพัฒนาภาวะด้อยพัฒนา (Development of Underdevelopment)
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น สังคมจะต้องสร้างการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นที่จะทำให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ อย่างเหมาะสมตามสภาพได้ 1. Johan Gultung :เสนอความต้องการที่จำเป็น ต่อการดำเนินชีวิตในสังคม นอกจากการอุปโภคบริโภค วัตถุปัจจัย มนุษย์ยังมีความต้องการที่แฝงเร้นและฝังลึกอยู่ ในจิตใจ 4 ประการ คือ
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 1) Security needsความมั่นคงปลอดภัยของมนุษย์ ต้องการความอยู่รอดและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งแบบรุนแรง ทั้งระดับบุคคลและระดับสังคม 2) Welfare needsความจำเป็นในสวัสดิภาพในการ ต้องยังชีพ โดยต้องการปัจจัยขั้นพื้นฐานด้านเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ อาศัย ยา รักษาโรค การศึกษา นันทนาการ และการพักผ่อน หย่อนใจ (สวัสดิภาพสำหรับ 3 วัย คือ วัยเจริญเติบโต วัยทำงาน วัยชรา
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 3) Identity needsความเป็นเอกลักษณ์ของตน มนุษย์ ต้องการที่จะได้รับการยอมรับและอยู่ร่วมกันได้กับคนในสังคม อย่างมีความผูกพันกัน ไม่ต้องการสภาวะความแปลกแยก ความมีศักดิ์ศรีและอิสรภาพแห่งตน 4) Freedom needsความมีเสรีภาพ มนุษย์ต้องการมี เสรีภาพในการคิดการพูด การตัดสินใจ การเลือกวิถีชีวิตของ ตนเอง
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น • 2) Paul Streeten : • จำแนกความจำเป็นขั้นพื้นฐานออกเป็น 2 ประการ • 3.1 ความค้องการทางกายภาพ เป็นสิ่งของวัตถุต่างๆ • อาหาร ที่อยู่ การคมนาคมและการบริการต่างๆ • 3.2 ความต้องการทางจิตภาพ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ • ความมั่นใจตนเอง การพึ่งตนเอง การมีศักดิ์ศรี การยอมรับ • การเข้ามีส่วนร่วม
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 3. International Labour Organization (ILO): กำหนดนโยบายความจำเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ใช้แรงงาน 1) Private Consumption การบริโภคของคนงานจะ ต้องมี : - อาหารพอกิน - ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม - มีเครื่องนุ่งห่มที่พอเพียง - มีอุปกรณ์เครื่องใช้ตามความจำเป็น
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 3. International Labour Organization :ILO 2) Public Support คนงานต้องการบริการสาธารณะ ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการอุปโภค บริโภคสำหรับชุมชน เช่น - น้ำดื่มที่สะอาด - ความสะอาดของสิ่งแวดล้อม - การคมนาคมที่สะดวก - การให้บริการทางการศึกษา และสาธารณสุข
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 4. Mahbub ul Haqเสนอแนวคิดเชิงนโยบายการ ตอบสนองความต้องการของรัฐ โดยมุ่งเน้น : 1) ต่อสู้กับความยากจน 2) ต่อสู้กับภาวะทุโภชนาการ 3) ต่อสู้กับความเจ็บไข้ได้ป่วย 4) ต่อสู้กับความไม่รู้หนังสือ 5) ต่อสู้กับการว่างงาน 6) ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 5. Mchaleเสนอให้มีการกำหนดความจำเป็นขั้นพื้นฐานไว้ ในข้อกำหนดของการพัฒนาประเทศ 1) Basic Need จะต้องกำหนดในแผนพัฒนาประเทศ อย่างชัดเจน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา จำเป็นที่ จะต้องเรียนรู้ 2) Basic Need จะต้องสอดคล้องกับอุดมการณ์ของ สังคมหรือประเทศนั้นๆ โดยประชาชนสังคมหรือประเทศนั้น เป็นผู้กำหนด 3) ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการระบุขอบข่าย/ประเมิน คุณค่า และระบุความจำเป็นขั้นพื้นฐานของตนเอง
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น • 6. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • สนง. พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำแนวคิด • Basic Minimum Needs มากำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนา • ชนบท โดยมีความมุ่งหวัง : • กำหนดให้การพัฒนาชนบทมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม • เพื่อที่จะสามารถประเมินและวัดผลการพัฒนาได้ • 2) กำหนดเพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในงานพัฒนาชนบท
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น • 3) กำหนดเพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและ • ตรวจสอบนโยบาย และมาตรการดำเนินงานของ • กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ • 4) กำหนดเพื่อที่จะให้มีการประสานแผนประสานกิจกรรม • การพัฒนาชนบทในระดับปฏิบัติการ
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น • ในปี 2524 เป็นยุคเริ่มต้นได้สร้างตัวแบบที่มีตัวชี้วัดถึง • 49 ตัว ต่อมาในปี 2526 มีตัวชี้วัด 9 ตัว และปัจจุบันมีตัวชี้วัด • 8 ตัว (จปฐ.) : • 1) ประชาชนในครอบครัวควรต้องมีอาหารการกินที่ถูก • สุขลักษณะและปริมาณเพียงพอ • 2) ประชาชนในครอบครัวมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม • ที่เหมาะสม • 3) ประชาชนวัยทำงานมีงานทำ มีเสรีภาพในการ • ประกอบการ มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น • 4) ประชาชนมีสิทธิได้รับบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นใน • การดำรงชีพ • 5) ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน • 6) ครอบครัวมีการผลิตพอดำรงชีพ • 7) สามารถควบคุมช่วงเวลา และจำนวนบุตร • 8) ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่ • 9) ประชาชนมีการพัฒนาจิตใจให้ดีขึ้น
แนวคิดทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 7. Redistribution with Growth Hollis B. Chenery and Ahtuwatia เสนอมาตรการ ทางการพัฒนาที่จะมีการควบคุมความเจริญเติบโตของระบบ เศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการพลวัตรของการกระจายรายได้ (Dynamic Redistribution) ที่สามารถแก้ไขปัญหาความ ยากจน การว่างงานและความไม่สมดุลกัน
สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานสาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ทฤษฎีระดับกลาง (Middle-Range Theory) ไม่ใช่ ทฤษฎีหลัก (Grand theory) ที่แพร่หลายทุกประเทศ 1) จุดมุ่งหมายการพัฒนา : มุ่งสนองตอบความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ต้องการของ ประชาชนเป็นหลัก 2) สาขาการผลิตที่มุ่งเน้น : การเกษตรเป็นแกนนำสำคัญ ประชากรมีจำนวนมาก และยังยากจน เจ็บป่วยและคุณภาพชีวิตต่ำ
สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานสาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 3) พื้นที่ให้ความสำคัญ : เขตพื้นที่ชนบทที่มีประชาชนประกอบอาชีพภาคการ เกษตร โดยพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานสนับสนุนการผลิต ภาคเกษตร 4) การจัดลำดับความสำคัญการพัฒนา : อาศัยกลไกการตกลงทางการเมืองและสังคมเพื่อการ กำหนดเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานก่อนแล้วจัดลำดับสำคัญ การพัฒนา
สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานสาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5) วีถีการผลิต : ให้ความสำคัญกับการใช้แรงงานอย่างเข้มข้นเพื่อให้ เกิดการจ้างงานและแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เกิดขึ้น 6) เทคโนโลยีการผลิต : เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต โดยเป็นเทคโนโลยีภายในประเทศ 7) แหล่งทุนในการพัฒนา : การสะสมทุนภายในประเทศ สังคมและชุมชนจะเอื้อ ต่อการพัฒนามากกว่าภายนอกประเทศ
สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานสาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 8) การวัดผลการพัฒนา : พิจารณาจากสวัสดิการสังคม และการเพิ่มคุณภาพ ชีวิตของประชาชนในสังคม 9) ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาการผลิต : การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการผลิตและการค้าให้ ความสำคัญแก่สาขาการเกษตรเป็นหลัก พร้อมทั้งผลิต ผสมผสาน
สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานสาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 10) การวางแผนการพัฒนา : กำหนดจากระดับล่าง (bottom up approach) โดย สนองความต้องการประชาชนอย่างแท้จริง มุ่งใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและทักษะประชาชนให้ เกิดประโยชน์สูงสุด การเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเพื่อการ พึ่งพา ตนเองของชุมชน
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 1.การเปลี่ยนแปลงความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับประเด็น ต่างๆ : - รายได้ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการพัฒนา - อุตสาหกรรมไม่ได้เป็นแนวทางการพัฒนา - กลไกการตลาดไม่ใช่นำไปสู่การพัฒนาเสมอ - ชุมชนเมืองไม่ใช่ใจกลางของประเทศ - ฯลฯ
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 2.การประชุมสัมมนาและเสนอปัญหาการพัฒนาร่วมกัน ระดับนานาชาติ : - ที่ประชุม Alma Ata ประเทศสาธารณรัฐยูเคน “การพัฒนาสาธารณสุข”ปี 2000 “Health for All in 2000” - ที่ประชุม Cocoyoc “การพัฒนาการศึกษา”ความ พร้อมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนา - ที่ประชุม Karachi ประเทศปากีสถาน “การพัฒนาคุณภาพชีวิต”
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 3.การคำนึงถึงปัญหา และวิธีการแก้ไขความสมดุลต่างๆ : - การพัฒนาเมือง = การพัฒนาชนบท - การพัฒนาอุตสาหกรรม = การพัฒนาเกษตร - เทคโนโลยีพื้นฐาน = เทคโนโลยีขั้นสูง -ฯลฯ 4. การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศการพึ่งตนเองใน ระดับภูมิภาคต่างๆ
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5. การให้ความสำคัญในการพัฒนาต่างๆ : 5.1 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ส่งผลดีต่อ - การพัฒนาเกษตรกรรายย่อย (Small holder agriculture) - ผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในสาขาไม่เป็นทางการ (Informal sector) - ผู้ประกอบการรับช่วง (Sub contract) เช่น เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน แรงงานรับจ้าง เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5.2 การให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทเพื่อยกระดับ มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในชุมชนชนบท : - การยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น - การให้บริการของรัฐถึงมือประชาชนให้มากขึ้น เช่น น้ำใช้บริโภค อุปโภคและการเกษตร ระบบสื่อสาร การคมนาคม - กระจายอำนาจการตัดสินใจและกิจกรรมการวาง แผนออกสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นให้มากขึ้น (Land Reform)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5.3 การให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อเทคนิคการผลิต - การใช้แรงงานมากกว่าการใช้ทุน (Labor intensive technique) - การสร้างงาน - ประหยัดการใช้ทุนและเงินตราต่างประเทศ - การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐานการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5.4 การให้ความสำคัญกับการควบคุมประชากรให้มี อัตราการเพิ่มที่เหมาะสม เพราะความยากจนและอัตรา การว่างงาน มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับการมีอัตราการเพิ่ม ของประชากรในระดับสูง 5.5 กำหนดกลุ่มประชากรยากจนที่ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา และการรับประโยชน์ จากการพัฒนาที่สมควร โดยสร้างโอกาสให้กลุ่มยากจน เข้าถึงระบบบริการของรัฐ โดยเฉพาะการศึกษา การบริการ สาธารณสุข ที่อยู่อาศัย การคมนาคม การชลประทาน