1 / 110

โครงงานเรื่อง

โครงงานเรื่อง. ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป. เสนอ. ครู ชลิต แจ่มผล. สมาชิกกลุ่ม 1. นางสาว กมลรัตน์ กุมพล ม.5/4 เลขที ่ 36. 2. นางสาว สมหญิง สิงแอด ม.5/4 เลขที่35. 3. นางสาว สุชาดา วงษ์อุ้ย ม.5/4 เลขที่31. 4. นาย ภานุวัฒน์ หอมสุวรรณ์ ม.5/4เลขที่7.

azuka
Download Presentation

โครงงานเรื่อง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงงานเรื่อง ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป

  2. เสนอ ครู ชลิต แจ่มผล

  3. สมาชิกกลุ่ม1. นางสาว กมลรัตน์ กุมพล ม.5/4 เลขที่36

  4. 2. นางสาว สมหญิง สิงแอด ม.5/4 เลขที่35

  5. 3. นางสาว สุชาดา วงษ์อุ้ย ม.5/4 เลขที่31

  6. 4. นาย ภานุวัฒน์ หอมสุวรรณ์ ม.5/4เลขที่7

  7. 5. นาย อิสราวุฒิ ราชฤทธิ์ ม.5/4 เลขที่20

  8. คำถามก่อนเรียน • 1. ใครเป็นคนเสนอทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป ก. อัลเฟรด เวเจเนอร์ ข. เบนจามิน แฟรงคลิน ค. อเล็กซานเดอร์ ดูทอยว์ ง. อาเธอร์ โฮล์มส

  9. 2. แผ่นดินที่โผล่พื้นผิวน้ำที่ติดกันเป็นทวีปเดียวกันเรียกว่า • ก. พันเจีย • ข. แพนทาลาสซา • ค. แง้มอา • ง. ลอราเชีย

  10. 3. ทวีปอเมริกาใต้และทวีปยุโรปอยู่รวมกับทวีปอะไร • ก. ออสเตรเลีย • ข. เอเชีย • ค. แอนตาร์กติก • ง. อเมริกาเหนือ

  11. 4. นักอุตุนิยมวิทยาและนักธรณีฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้เสนอทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเมื่อ พ.ศ. อะไร • ก. 2446 • ข. 2454 • ค. 2534 • ง. 2455

  12. 5. ทวีปที่เริ่มแยกเป็นสองส่วนซีกทางเหนือเรียกว่าอะไร • ก. กอนวานาแลนด์ • ข. ลอราเชีย • ค. ทะเลเททิศ • ง. แพนทาลาสซา

  13. 6. การทำแผนที่พื้นมหาสมุทรปรากฏว่าพบอะไร • ก. มีร่องลึก • ข. สันเขากลางพื้น • ค. ซากสัตว์ • ง. ถูกทั้ง ก และ ข

  14. 7. การเคลื่อนที่จะช้ามากประมาณกี่เซนติเมตรต่อปี • ก. 1-10 • ข. 9-15 • ค. 8-10 • ง. 1-2

  15. 8. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกเช่นอะไร • ก. แผ่นดินไหว • ข. ภูเขาไฟระเบิด • ค. ซากสัตว์ • ง. ถูกทุกข้อ

  16. 9. แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่มีกี่แผ่น • ก. 10 • ข. 6 • ค. 5 • ง. 7

  17. 10. ซากพืชและซากสัตว์จะพบอยู่บริเวณใด • ก. ตามถนน • ข. ในป่า • ค. แนวชายฝั่ง • ง. บนภูเขา

  18. ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป • เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย อัลเฟรด เวเจเนอร์ ชาวเยอรมัน ซึ่งมีใจความว่า เมื่อ 180 ล้านปี ผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งโผล่พ้นผิวน้ำที่ติดกันเป็นทวีปเดียว เรียกทวีปใหญ่นี้ว่า แพงกีอา (pangaea)

  19. ซึ่งแปลว่า all land หรือ แผ่นดินทั้งหมด เมื่อเลาผ่านไป แพงกีอาเริ่มแยกเป็นหลายส่วน แต่ละส่วนขยับเขยื้อนเคลื่อนที่แยกจากกันไปเป็นทวีปต่างๆ ดังปรากฏในปัจจุบัน

  20. โลกในยุคปัจจุบัน • โลกในยุคปัจจุบันประกอบด้วย 7 ทวีปได้แก่ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีปแอนตาร์กติก ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และทวีป

  21. ออสเตรเลีย โดยมีทะเลและมหาสมุทรคั่นระหว่างทวีปยกเว้นทวีปอเมริกาเหนือที่ต่ออยู่กับทวีปอเมริกาใต้และทวีปยุโรปอยู่รวมกับทวีปเอเชีย

  22. โลกเมื่อประมาณ 200 ล้านปี • ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสมัยก่อนนั้นพื้นแผ่นดินมีลักษณะต่างจากพื้นแผ่นดินในปัจจุบัน โดยอัลเฟรด เวเจเนอร์ (Alfred Wegener) นัก

  23. อุตุนิยมวิทยาและนักธรณีฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้เสนอทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป(theory of continental drift)เมื่อ พ.ศ.2455ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าเมื่อประมาณ

  24. 200 ล้านปีมาแล้วทวีปต่างๆบนโลกเคยอยู่ร่วมกันเป็นทวีปใหญ่เพียงทวีปเดียวเรียกว่า พันเจีย(pangea) และล้อมรอบด้วยมหาสมุทรผืนเดียวกันเรียกว่า แพนทาลาสซา(panthalassa)โดยอ้างหลักฐาน

  25. จากข้อมูลทางสภาพภูมิศาสตร์ของทวีปต่างๆที่ในปัจจุบันสามารถต่อเป็นพื้นเดียวกันได้อย่างเหมาะสม และการค้นพบซากสัตว์และซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันในทวีปที่อยู่ใกล้เคียง

  26. โลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน การแพร่พันธุ์ของสัตว์ในอดีต

  27. โลกเมื่อประมาณ 140 ล้านปี • ต่อมาเมื่อประมาณ 140 ล้านปีที่ผ่านมา ทวีปต่างๆได้เริ่มแยกเป็นสองส่วน คือ ซีกทางเหนือเรียกว่า ลอราเซีย( laurasis) ส่วนซีกทางใต้เรียกว่า กอนวานาแลนด์(gond-wanaland)ซึ่งแบ่งแยกด้วยทะเลเททิส

  28. สภาพภูมิอากาศในอดีต สีเขียวคือป่าเขตร้อน สีขาวคือธารน้ำแข็ง

  29. โลกเมื่อประมาณ 60 ล้านปี • เมื่อ 60 ล้านปีที่ผ่านมาทวีปต่างๆเคลื่อนที่แยกจากกันมากขึ้นจนดูคล้ายกับทวีปในปัจจุบัน แต่ต่างกันตรงที่ประเทศอินเดียยังไม่เชื่อมต่อกับทวีปเอเชียและทวีปออสเตรเลียกับทวีปแอนตาร์กติกเริ่มแยกออกจากกัน

  30. เวเจเนอร์ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของทวีปไว้ว่า ทีปต่างๆ เคลื่อนที่จากกันอย่างช้าๆโดยใช้เวลาหลายล้านปีกว่าจะมีรูปร่างอย่างที่เห็นในปัจจุบัน แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในสมัยก่อนยังไม่ยอมรับจนเมื่อมีการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อทำการศึกษาและทำแผนที่พื้นมหาสมุทร พบว่ามีร่องลึก(trech) และสันเขากลางพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก(mid-atlantic ridge)

  31. นอกจากนี้ตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรจะพบรอยแยกของเปลือกโลกยาวตลอดแนว และตามรอยแยกนี้จะมีหินละลายปะทุออกมาจากชั้นแมนเทิลเป็นระยะๆ เมื่อได้รับความเย็นจะแข็งตัวกลายเป็นเปลือกโลกใหม่และจะดัน

  32. เปลือกโลกเก่าให้แผ่กระจายออกจากด้านข้าง ผลก็คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปก็จะเคลื่อนที่แยกจากกัน แต่การเคลื่อนที่จะเกิดช้ามากประมาณ1-10 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งเวเจเนอร์เรียกว่า ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป ปัจจุบันทวีปต่างๆยังคงมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาซึ่งในอนาคตข้างหน้าแผนที่โลกอาจจะต้องเปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้อย่างแน่นอน

  33. แนวสันเขากลางพื้นมหาสมุทรแอตแลนติกแนวสันเขากลางพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก • ลักษณะเด่นของพื้นที่มหาสมุทรแอตแลนติก คือ 1. เทือกเขากลางมหาสมุทรซึ่งมีลักษณะเป็นเทือกเขายาวที่โค้งอ้อมไปตามรูปร่างของขอบทวีป ด้านหนึ่งเกือบขนานกับชายฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนอีกด้านหนึ่งขนานกับชายฝั่งของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา 2. เทือกเขากลางมหาสมุทรมีรอยแยกตัวออกเป็นร่องลึกไปตลอดความยาวของเทือกเขา

  34. 3. มีรอยแตกตัดขวางบนสันเขากลางมหาสมุทรมากมาย รอยแตกเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด 4. มีเทือกเขาเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกของพื้นมหาสมุทร บริเวณที่เป็นประเทศอังกฤษในปัจจุบัน เป็นเกาะที่อยู่บนไหล่ทวีปที่มีส่วนของแผ่นดินใต้พื้นน้ำต่อเนื่องกับทวีปยุโรป

  35. รูปแสดงเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติกรูปแสดงเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก

  36. อายุของหินบะซอลต์บริเวณรอยแยกกลางมหาสมุทรแอตแลนติกอายุของหินบะซอลต์บริเวณรอยแยกกลางมหาสมุทรแอตแลนติก • ในปี พ.ศ. 2503 มีการสำรวจใต้ทะเลและมหาสมุทรใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้พบ หินบะซอลต์ที่บริเวณร่องลึก หรือรอยแยกบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก และพบว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกจะมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยกหรือในรอยแยก

  37. จากหลักฐานดังกล่าวสามารถ อธิบายการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ เมื่อเกิดรอยแยกแผ่นดินจะเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกันอย่างช้าๆ ตลอดเวลา ขณะเดียวกันเนื้อของหินบะซอลต์จากส่วนล่างจะถูกดันแทรกเสริมขึ้นมาตรงรอยแยกเป็นเปลือกโลกใหม่ ทำให้ตรงกลางรอยแยกเกิดหินบะซอลต์ใหม่เรื่อยๆ โครงสร้างและอายุหินรองรับแผ่นธรณีภาคจึงมีอายุอ่อนสุดบริเวณ เทือกเขากลางมหาสมุทร และอายุมากขึ้นเมื่อเข้าใกล้ขอบทวีป

  38. "รอยเลื่อน” ของเปลือกโลก • เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ และรวดเร็ว ซึ่งแรงที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเรียกว่า “แรงเทคโทนิก” (Tectonic Force) หรือ “แรงแปรสัณฐาน” อัน

  39. เกิดจากความร้อนภายในโลก การขยายตัวและหดตัว รวมถึงการเคลื่อนไหวของแมกมา (Magma) จากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งแรงเทคโทนิกแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ “กระบวนการไดแอสโตรฟิซึม" (Diastrophism)

  40. ของผืนโลก และ “กระบวนการโวลคานีซึม” (Volcanism) หรือการระเบิดของภูเขาไฟนั่นเองทั้งนี้ สาเหตุใหญ่ที่สุดในการเกิดแผ่นดินไหวก็คือ “รอยเลื่อน” ที่กระทำต่อผิวโลกอาจทำให้เกิดเป็นที่ราบสูงหรือภูเขาไล้ และยังทำให้

  41. เกิดน้ำตก หรืออ่างน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งแผ่นดินไหวบางครั้งทำให้เปลือกโลกยุบตัวลง เกิดเป็นทะเลสาบที่เรียกว่า “ทะเลสาบอ่าง” (Basin Lake) และยังจะทำให้แผ่นดินเลื่อนได้อีกด้วย

  42. ถ้ารอยเลื่อนเกิดภายใต้ท้องทะเล หรือมหาสมุทรแล้ว จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเล ซึ่งทำให้เกิดคลื่นใหญ่เรียกว่า “สึนามิ” (Tsunamis) หรือคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล (Tidal Wave) ซึสึนามิเป็นชื่อเรียกคลื่นชนิดนี้ในภาษาญี่ปุ่น อันเป็นถิ่นที่มีลูกคลื่นแบบนี้บ่อยครั้ง

  43. รอยต่อของเพลตอันทำให้เกิด “การเคลื่อนตัวของแผ่นดิน” • ประมาณ 95% ของแผ่นดินไหวเกิดจากบริเวณที่มีภูเขาไฟที่ยังคุอยู่ และมักเป็นพวกเทือกเขาเกิดใหม่ (Young Mountain) และเป็นบริเวณที่มีความไม่สมดุลในเรื่องแรงที่กระทำต่อผิวโลก จึงมีพวก

  44. ไดแอสโตรฟิซึมและโวลคานีซึมอยู่มากมาย และมักจะเกิดรอยเลื่อน จัดเป็นแนวความอ่อนแอของเปลือกโลก (Lines of waekness) โดยผ่าน “ทฤษฎีเพลตเทคโทนิกส์” กล่าวว่า ชั้นนอกของโลก หรือชั้นธรณีภาค ประกอบด้วยเพลตขนาดใหญ่

  45. ประมาณ 12 เพลต แผ่นที่ใหญ่สุดคือ "ยูเรเซียน" (Eurasian) ซึ่งไทยก็อยู่ในแผ่นนี้ และใกล้กับแผ่น "ออสเตรเลียน" (Australian) แผ่น "ฟิลิปปิน" (Philippine) ส่วนแผ่นอื่นๆ ไล่จากทะเลแปซิกฟิกไป

  46. ทางตะวันออก คือ "แปซิฟิก" (Pacific) ยวน เดอ ฟูกา (Juan de Fuca) นอร์ธ อเมริกา (North America) "แคริบเบียน" (Caribbean) "เซาธ์ อเมริกัน" (South American) "สก็อตเทีย" (Scotia) "แอฟริกา" (Africa) "อราเบียน" (Arbian) และอินเดียน (Indian)

More Related