1 / 34

การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice)

โครงการยกระดับคุณภาพผู้บริหารและครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เครือข่าย. การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice). วัตถุประสงค์ของหลักสูตร.

amber
Download Presentation

การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการยกระดับคุณภาพผู้บริหารและครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งโครงการยกระดับคุณภาพผู้บริหารและครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์เครือข่าย การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

  2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตรวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เป็นเอกสารที่วิทยากรหลักจัดทำขึ้นเพื่อประกอบการพัฒนาวิทยากรแกนนำ และให้วิทยากรแกนนำใช้ในการฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ

  3. หัวข้อการฝึกอบรม ช่วงเช้า Part 1: เกริ่นนำและปูพื้นความรู้ 9:00-10:30 น. พักรับประทานของว่าง 10:30-10:45 น. Part 2: จากหลักบริหารสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10:45-12:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 12:00-13:30 น. ช่วงบ่าย Part 3: กรณีศึกษา 13:30-15:00 น. พักรับประทานของว่าง 15:00-15:15 น. Part 4: สรุปบทเรียน 15:15-16:30 น.

  4. Part 1: เกริ่นนำ และปูพื้นความรู้

  5. ท่านคุ้นเคยกับเหตุการณ์ดังต่อไปนี้หรือไม่ท่านคุ้นเคยกับเหตุการณ์ดังต่อไปนี้หรือไม่ “กระบวนการทำงานในสถานศึกษาล่าช้า ” “ปัญหาเดิมๆ เกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด” “บุคลากรในสถานศึกษาทำงาน แบบผ่านไปวันๆ ขาดแรงจูงใจ ไม่กระตือรือร้น”

  6. ท่านลองตอบคำถามต่อไปนี้ ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อมีปัญหาใดปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นภายในสถานศึกษา สิ่งที่ท่านมักจะเริ่มทำเป็นสิ่งแรก คือ ก. คิดว่าท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวของท่านเองเพียงลำพัง ข. พิจารณาว่าปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับผู้ใดบ้างในสถานศึกษาเพื่อให้คนเหล่านั้นได้มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหา

  7. วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ที่ท่านเลือกใช้ คือ ก. วิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาจากข้อมูลที่ท่านหาได้เอง โดยท่านเป็นผู้กำหนดวิธีการแก้ด้วยตัวของท่านเอง แต่จะสั่งการให้ผู้อื่นเป็นผู้นำวิธีการนั้นไปดำเนินการ ข. สอบถามความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ และนำมาวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการใช้แก้ไขปัญหา

  8. ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษา หรือหัวหน้างาน ท่านมีความเชื่อ ดังนี้ ก. เชื่อมั่นในความคิด และประสบการณ์การทำงานของท่านเองมากที่สุด ข. เชื่อว่าผู้ที่มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง จึงจะเป็นผู้รู้วิธีการแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงงานนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  9. ตลอดระยะเวลาที่ท่านบริหารงานมา ท่านได้ใช้วิธีการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานทุกระดับภายในสถานศึกษาเพื่อขอความคิดเห็นจากพวกเขามากน้อยเพียงไร ก. น้อยมากหรือแทบไม่เคยเลย ข. เป็นประจำ สม่ำเสมอ

  10. ความหมายของการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) American Productivity and Quality Center (1996) Best Practices are leadership, management, or operational methods or approaches that lead to exceptional performance.

  11. ความหมายของการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)เป็นวิธีการในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของชุมชน ผู้ปกครอง และนำมาสู่ความเป็นเลิศในการดำเนินการ

  12. การเกิดขึ้นของ Best Practice • บุคคล • ปัญหาอุปสรรค • แรงขับเคลื่อน

  13. กระบวนการกระตุ้นและรวบรวมความคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศกระบวนการกระตุ้นและรวบรวมความคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ

  14. กรณีศึกษา โปรดอ่านเอกสาร กรณีศึกษา : พระสหายแห่งสายบุรี และร่วมอภิปรายในประเด็น ดังต่อไปนี้ • ท่านได้เห็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารงานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านใดบ้าง • กรณีศึกษาดังกล่าวสามารถปรับใช้กับสถานศึกษาของท่านเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศได้อย่างไร

  15. Part 2: จากหลักบริหารสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ

  16. การวิเคราะห์บริบท :ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต การวิเคราะห์บริบททำให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญในการทำการเปลี่ยนแปลงองค์การ หรือสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับบริบทภายใต้เทคนิคการดำเนินการตามกระบวนการจิตตปัญญา คือ การมองเห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบสถานศึกษา และสามารถนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารสถานศึกษาด้วย วิธีการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ คือ การมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของสิ่งต่างๆ ที่อยู่แวดล้อมสถานศึกษา พิจารณาถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากบริบทของสถานศึกษา ทำให้ผู้บริหารสามารถจัดวางยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับเป้าหมายในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  17. การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจหลักการสำคัญของธรรมาภิบาลและนำไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา สำหรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลนั้นมีหลักการสำคัญ 6 หลักการได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งใช้เป็นหลักการทำให้การบริหารงานภายในสถานศึกษาเกิดความสมดุลระหว่าง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับความสุขและความสำเร็จในการทำงานภายในองค์การของตน เกิดความมั่นใจในการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษา เพราะยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมและโปร่งใส่สามารถตรวจสอบได้

  18. การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษาการนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงวิธีการที่ผู้บริหารองค์การชี้นำและกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ระยะสั้นระยะยาว ค่านิยม และความคาดหวังในผลการดำเนินการขององค์การ โดยอาศัยการสื่อสาร การสร้างบรรยากาศ ระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคม และการสนับสนุนชุมชน อีกทั้งผู้บริหารยังจะได้ทราบถึงเทคโนโลยีการบริหารการศึกษาและทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  19. การวางแผนและการกำหนดยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นแนวทางการวางแผนและการกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารองค์การให้ประสบผลสำเร็จและมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ (Outcome) ที่องค์การปรารถนา ซึ่งเชื่อมโยงกับทุก ๆ มิติทั้ง 4 มิติ เพื่อให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่องค์การต้องการ ผ่านกระบวนการสร้างคุณค่า (Value-Creating Processes) นอกจากนี้การวางแผนและการกำหนดยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จะสื่อสารให้เราได้ทราบถึงทิศทางและการเชื่อมโยงเป้าหมายต่าง ๆ ขององค์การในแต่ละด้านได้อย่างเป็นรูปธรรม และถ่ายทอดยุทธศาสตร์ไปสู่คนในองค์การให้มีเข้าใจได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้ทั้งผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาสามารถนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่างแท้จริง

  20. การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ เป็นแนวทางการบริหารการศึกษาสำหรับผู้บริหาร โดยใช้การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลเป็นเครื่องมือช่วยในการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์หลัก จัดสรรทรัพยากร ให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติตามแผนได้สำเร็จ ทำให้ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนมีความยั่งยืน โดยใช้การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลขึ้นเพื่อให้เกิดผู้รับผิดชอบตามแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา

  21. การบริหารการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากบริบทของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และเป็นส่วนที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษา สถานศึกษา จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การหาเหตุของการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงและบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง โดยสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

  22. การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม กระบวนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุน และส่งเสริมให้สถานศึกษามีพลังในการพัฒนาประเทศอย่างสร้างสรรค์ อันเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาสถานศึกษายุคใหม่ ทั้งนี้สถานศึกษาต้องสร้างระบบการดำเนินงานทางการศึกษาร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบร่วมกัน

  23. การควบคุม การวัดประเมิน และการจัดการความรู้ เป็นเสมือนเส้นเลือดเชื่อมโยงในการขับเคลื่อนการบริหารสถานศึกษา จากแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้ครบวงจรและมีการป้อนกลับเพื่อดำเนินการปรับปรุง ทำให้การบริหารสถานศึกษามีความพร้อมในการรับข้อมูลที่มีคุณภาพเชื่อถือได้และใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์ การจัดการความรู้เป็นการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ให้อยู่กับสถานศึกษาโดยการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ให้องค์ความรู้ถูกถ่ายทอดและเก็บรักษาไว้ที่สถานศึกษา และมีการแบ่งปันความรู้ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างรวดเร็วทั่วทั้งสถานศึกษา

  24. การบริหารงานเพื่อความเป็นเลิศการบริหารงานเพื่อความเป็นเลิศ

  25. ผู้เข้าอบรมร่วมกันอภิปราย “การบูรณาการหลักการบริหาร สู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ”

  26. Part 3: กรณีศึกษา

  27. กิจกรรมกลุ่ม • ผู้เข้าอบรม แบ่งกลุ่ม ศึกษาการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ 2544 นายประยูร กิติวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสบขุ่น จาก ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การปฏิบัติที่เป็นเลิศ พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกันในประเด็น“การบริหารงานอย่างบูรณาการ สู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ”

  28. กิจกรรมเดี่ยว ผู้เข้าอบรมทบทวนหลักการบริหาร จากโมดูล 1 ถึง โมดูล 8 และตอบคำถาม ต่อไปนี้ คำถาม :จากหลักการบริหารทั้ง 8 โมดูล ท่านมีแนวทางในการบูรณาการ หลักการดังกล่าว เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการบริหารสถานศึกษาของท่านได้อย่างไร

  29. Part 4: สรุปบทเรียน

  30. การเกิดขึ้นของ Best Practice • บุคคล • ปัญหาอุปสรรค • แรงขับเคลื่อน

  31. กระบวนการกระตุ้นและรวบรวมความคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศกระบวนการกระตุ้นและรวบรวมความคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ กระบวนการกระตุ้นและรวบรวมความคิดสู่ความเป็นเลิศ ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นและเปิดรับความคิด ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการตามขั้นตอนการเสนอความคิด ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความคิด และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการปรับปรุง ขั้นตอนที่ 4 นำความคิดไปปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 5 ทบทวนเพื่อขยายผลความคิด ขั้นตอนที่ 6 ยกย่อง ชมเชย และประกาศความสำเร็จ ขั้นตอนที่ 7 วัดผล ทบทวน และปรับปรุง

  32. หลักการบริหารสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศหลักการบริหารสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ • การวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต • การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล • การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา • การวางแผนและการกำหนดยุทธศาสตร์ • การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ • การบริหารการเปลี่ยนแปลง • การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม • การควบคุม การวัดประเมิน และการจัดการความรู้

  33. การบริหารงานเพื่อความเป็นเลิศการบริหารงานเพื่อความเป็นเลิศ

  34. Thank You for your attention

More Related