1 / 20

(1) สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture)

(1) สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture). สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture). หมายถึง รูปแบบในการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ วิธีการเข้าใช้เครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้ กำเนิดปี ค.ศ.1983 โดย องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน - “ISO”

ace
Download Presentation

(1) สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. (1) สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  2. สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) • หมายถึง รูปแบบในการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ วิธีการเข้าใช้เครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้ • กำเนิดปี ค.ศ.1983 โดย องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน - “ISO” • ได้ออกแบบรูปแบบในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออกเป็น 7 ชั้น (layer) รูปแบบในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีชื่อเรียกว่า OSI (Open System Interconnection) • วัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยไม่ยึดติดกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทใดๆ • แม้ว่า OSI จะเป็นโครงสร้างมาตรฐานการติดต่อสื่อสารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่โปรโตคอลอื่นๆ มีการใช้งานอยู่แล้ว เช่น TCP/IP ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต, IPX/SPX ที่ใช้กับระบบปฏิบัติการของบริษัทโนเวลล์, NetBEUI ที่ใช้ในระบบเครือข่ายของบริษัทไมโครซอฟท์ OSI จึงถูกใช้เป็นแบบอ้างอิง รวมทั้งใช้อธิบายถึงกลไกการทำงานของโปรโตคอลในเครือข่าย 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  3. สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) • แบบอ้างอิง OSI จะแบ่งขั้นตอนการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ออกเป็น 7 ชั้น (Layer) การแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้จะยึดหลักเหมือนกับการสื่อสารทั่วไป เช่น การรับส่งจดหมายหรือพัสดุไปรษณีย์ จะมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังแสดงในรูป รูปแบบระบบการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  4. สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  5. สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) รูปแสดงกระบวนการเพิ่มข้อมูลส่วนหัวในการสื่อสารระหว่างชั้น 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  6. สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) ชุดโปรโตคอล OSI ประกอบด้วยโปรโตคอลมาตรฐานหลายโปรโตคอล ดังแสดงในรูป รูปแสดง OSI Protocols 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  7. 7. ชั้นประยุกต์ (Application Layer) • เป็นชั้นบนสุดของ OSI และหมายถึงApplication ทางด้านการสื่อสาร เช่น FTAM (File Transfer, Access and Management) บริการถ่ายโอนไฟล์ รวมถึงอ่าน ลบ เขียนไฟล์ที่อยู่ในอีกเครื่องหนึ่ง, MHS (Message Handing Service) บริการเกี่ยวกับอีเมล์ • ตัวอย่างการบริการของลำดับชั้นนี้ • แสดงความสำเร็จของการสื่อสาร • การใส่รหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล • การกู้ข้อมูลที่เกิดความเสียหาย 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  8. 6. ชั้นนำเสนอ (Presentation Layer) • รับผิดชอบการแปลงข้อมูลที่จะส่ง เช่น • การบีบอัดข้อมูล • ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันรับส่งข้อมูลกันได้ รูปเปรียบเทียบการสื่อสารชั้นประยุกต์และชั้นนำเสนอ กับการแปลภาษา 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  9. 5. ชั้นเซสชั่น (Session Layer) • โปรโตคอลในชั้นนี้ จะควบคุมการสื่อสารผ่านเครือข่ายที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างสองฝั่ง การสื่อสารที่กำลังเป็นไปในช่วงขณะใดขณะหนึ่ง จะเรียกว่า “เซสชั่น” (Session) แอพพลิชั่นทั้งสองฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือรับส่งแพ็กเก็ตกันและกันได้ ในช่วงเวลาที่เซสชั่นยังอยู่ โดยเซสชั่นเลเยอร์จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการสร้างเซสชั่นเลเยอร์ ควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูล และยกเลิกเซสชั่นเมื่อการสื่อสารสิ้นสุด • นอกจากนั้นยังให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้ คือ • - ให้บริการจัดการเรื่องการโต้ตอบข้อมูล ทั้งในแบบ Half-Duplex และ Full-Duplex • - การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาด • - ฟังก์ชันการควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูล (Synchronization) • เมื่อรับ-ส่งข้อมูลผิดพลาด สามารถส่งข้อมูลนับจากจุดที่ผิดพลาด โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  10. 4. ชั้นเคลื่อนย้ายข้อมูล (Transport Layer) • โปรโตคอลชั้นนี้ จะกำหนดโครงสร้างของข้อความ และดูแลความถูกต้องในการรับส่งด้วยการตรวจสอบข้อผิดพลาดบางประการ • รับผิดชอบการรับส่งข้อมูลให้ถึงโพรเซสส์ที่เครื่องผู้รับต้องการ • การจัดเรียงลำดับแพ็กเก็ตข้อมูลที่อาจเดินทางคนละเส้นทางถึงฝ่ายรับโดยไม่เป็นลำดับ ก่อนส่งชุดข้อมูลไปให้ชั้นเซสชั่นต่อไป 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  11. 3. ชั้นเครือข่าย (Network Layer) • โปรโตคอลชั้นนี้ ทำหน้าที่กำหนดเส้นทางการส่งข้อมูล • เชื่อมต่อเส้นทางการสื่อสารเครือข่ายต้นทางและปลายทาง • หาที่หมายปลายทาง (Addressing) และควบคุมการไหลของข้อมูลในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่าย • ดูแลเส้นทางในการส่งข้อมูล (Routing Table) และกั้นหรือกรอง Packet ข้อมูลที่ส่งไปยังที่หมายภายในเครือข่ายย่อยเดียวกัน ไม่ให้ข้ามไปยังเครือข่ายย่อยอื่น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณข้อมูลที่จะวิ่งบนเครือข่ายได้ส่วนหนึ่ง • Protocol IP ,TCP/IP และ IPX เป็น Protocol ที่ทำงานอยู่ใน Layer นี้ 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  12. 2. ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (Data Link Layer) • โปรโตคอลในชั้นนี้จะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล • ทางสถานีส่งจะจัดข้อมูลให้เป็นเฟรม (Frame) ในเฟรมจะเพิ่มข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบ และแก้ไขข้อผิดพลาด ชั้นเชื่อมโยงยังรับผิดชอบการจัดบิตต่อเนื่องที่ส่งผ่านมาจากชั้นกายภาพให้เป็นเฟรมเหมือนเดิม • การจัดบิตต่อเนื่องให้กลับเป็นเฟรมเหมือนเดิมจะใช้บัฟเฟอร์ (Buffer) แล้วใส่ข้อมูลทีละบิตจนครบเฟรม • โปรโตคอลที่ทำงานในชั้นนี้ เหมือนกับชั้นกายภาพ คือ IEEE 802.2 LLC, IEEE 802.3 (10BaseT), IEEE 802.5 (โทเคนริง 16 Mbps), FDDI (โทเคนริงเส้นใยแก้วนำแสง 100 Mbps) และ X.25 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  13. 1. ชั้นกายภาพ (Physical Layer) • ชั้นล่างสุดของ OSI เป็นการกำหนดคุณลักษณะทางกายภาพของเน็ตเวิร์ค ได้แก่ ชนิดของเคเบิลที่ใช้ต่ออุปกรณ์ ชนิดของคอนเน็กเตอร์ที่ใช้ ความยาวของเคเบิล • ชั้นกายภาพ ไม่ได้ระบุอะไรให้กับสัญญาณ นอกจากค่าไบนารีเบื้องต้น คือ 0 และ 1 ไม่สนใจความหมายของข้อมูล สนใจเฉพาะการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือแปลงข้อมูลเป็นแสงขึ้นอยู่กับสื่อกลางที่ใช้ 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  14. (2) โปรโตคอล TCP/IP • โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) พัฒนามากว่า 20 ปี (ค.ศ.1982) จากการวิจัยเพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต • TCP/IP ต้องการให้คอมพิวเตอร์ที่ต่างแพลตฟอร์มกัน ให้สามารถสื่อสารกันได้ ในขณะที่แบบอ้างอิง OSI เน้นที่การแบ่งการทำงานของโปรโตคอลออกเป็นชั้นๆ • การออกแบบ TCP/IP ก็มีลักษณะเป็นชั้นๆ เหมือนกัน แต่เมื่อทำการผลิตอุปกรณ์ ก็จะให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ ซึ่งเป็นผลให้ชุดโปรโตคอล OSI เหมาะสำหรับใช้อธิบายการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ดีกว่า ในขณะที่ชุดโปรโตคอลTCP/IP เป็นที่นิยมมากกว่าในการนำไปใช้จริง 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  15. โปรโตคอล TCP/IP 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert ตารางเปรียบเทียบแบบอ้างอิง OSI กับ TCP/IP

  16. 4.ชั้นประยุกต์ใช้งาน (Application Layer) • การทำงานของโปรโตคอลในชั้นนี้ เป็นการติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง เพื่อเข้าไปใช้ทรัพยากรระยะไกล (Remote Access) โปรโตคอลของโปรแกรมประยุกต์ที่อยู่ในชันนี้ ได้แก่ • HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) : โปรแกรมที่ใช้เช่น Internet Explorer • SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) : โปรโตคอลนี้ ทำหน้าที่รับส่งเมล์ระหว่างโฮสต่างๆ • POP (Post Office Protocol) : โปรโตคอลเพื่อย้ายเมล์จาก Mail Server ไปยังเครื่อง Client • IMAP (Internet Message Access Protocol) :โปรโตคอลให้โปรแกรมเมล์บนเครื่อง Client แสดงรายชื่อเมล์ ลบ ย้าย เขียนเมล์ ที่อยู่บน Mail Server 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  17. 3. ชั้นเชื่อมต่อระหว่างโฮส (Host-to-host Layer) • เป็นชั้นที่ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ • มี 2 โปรโตคอล คือ TCP และ UDP • TCP ใช้การรับส่งข้อมูลแบบคอนเน็กชันโอเรียนเต็ด (Connection-Oriented) หมายถึงการสร้างการเชื่อมต่อก่อนที่จะส่งข้อมูล ตัวอย่างโปรแกรมเช่น FTP • UDP จะใช้การรับส่งข้อมูลแบบคอนเน็กชันเลสส์ (Connectionless) หมายความว่า ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางก่อนส่งข้อมูล ตัวอย่างโปรแกรมเช่น Perch, ICQ, MSN • ข้อแตกต่างระหว่างโปรโตคอล TCP และ UDP คือ ความเชื่อถือในการส่งข้อมูลแบบ TCP จะมีความเชื่อถือมากกว่า ในขณะที่การส่งข้อมูลแบบ UDP จะรวดเร็วกว่า แต่ก็มีโอกาสที่ข้อมูลอาจส่งไม่ถึงปลายทางได้ 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  18. 2. ชั้นอินเทอร์เน็ต (Internet Layer) • เทียบเท่ากับการทำงานในชั้นเครือข่าย (Network Layer) ของ OSI • ชั้นนี้จะทำหน้าที่กำหนดเส้นทางการส่งข้อมูล โปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในชั้นนี้ คือ IP (Internet Protocol) • การกำหนดเส้นทางส่งข้อมูล สามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เราท์เตอร์ 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  19. 1. ชั้นเข้าถึงเครือข่าย (Network Access) • ชุดโปรโตคอล TCP/IP ไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับชั้นเข้าถึงเครือข่าย (Network Access) • อย่างไรก็ตาม TCP/IP สามารถใช้ได้กับเครือข่ายหลายประเภท โดยเครือข่ายที่ใช้งานมากที่สุด คือ อีเธอร์เน็ต นอกจากนี้แพ็กเก็ตของ TCP/IP ยังสามารถส่งผ่านเครือข่ายอื่นๆ ได้ เช่น FDDI, ATM, X.25, Frame Delay, PPP, SLIP และ ISDN เป็นต้น 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

  20. คำถาม • อธิบายสถาปัตยกรรม OSI • ความเป็นมา, วัตถุประสงค์ในการกำหนด, การทำงานแต่ละเลเยอร์, อุปกรณ์ที่ทำงานในแต่ละเลเยอร์, โปรแกรมที่ทำงานในแต่ละเลเยอร์ 412 754 Library and Information Network -- sakda chanprasert

More Related