1 / 34

โครงสร้างอะตอม (วิชา สารและการเปลี่ยนแปลง)

3. 2. 1. โครงสร้างอะตอม (วิชา สารและการเปลี่ยนแปลง). ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. อาจารย์ ศรีสวัสดิ์ พานิชเจริญกิจ. ประโยชน์จากการเรียน เรื่องโครงสร้างอะตอม. ทราบสมบัติทางเคมีและสมบัติการเปล่งแสงของธาตุ

uriah
Download Presentation

โครงสร้างอะตอม (วิชา สารและการเปลี่ยนแปลง)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 3

  2. 2

  3. 1

  4. โครงสร้างอะตอม (วิชา สารและการเปลี่ยนแปลง) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อาจารย์ ศรีสวัสดิ์ พานิชเจริญกิจ

  5. ประโยชน์จากการเรียน เรื่องโครงสร้างอะตอม • ทราบสมบัติทางเคมีและสมบัติการเปล่งแสงของธาตุ • 2. เราสามารถศึกษากาแล็กซี่ (galaxy) ดวงดาวและดาวเคราะห์ต่างๆ โดยพิจารณาจากการศึกษาสเปกตรัมที่ได้จากดวงดาว

  6. โครงสร้างของอะตอมยุคแรกโครงสร้างของอะตอมยุคแรก ดีโมครีตัส ( นักปราชญ์ชาวกรีก) ได้กล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจาก อนุภาคที่เล็กมาก  เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้   อนุภาคเล็กๆ เหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆ สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้  ดีโมครีตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า อะตอม (Atom)  จากภาษากรีกที่ว่า  atoms  ซึ่งมีความหมายว่า  ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก ตามความคิดเห็นของเขา  อะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้

  7. แบบจำลองอะตอมของจอห์นดอลตันแบบจำลองอะตอมของจอห์นดอลตัน ในปี พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803)  จอห์น ดอลตัน (John Dalton)  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอมซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ หลายอนุภาค  อนุภาคเหล่านี้เรียกว่า “อะตอม” ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้  และทำให้สูญหายไม่ได้ 2.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน  เช่นมีมวลเท่ากัน  แต่จะมีสมบัติต่างจากอะตอมของธาตุอื่น 3. สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยาเคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อย ๆ แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

  8. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน การค้นพบอิเล็กตรอน เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน (J.J. Thomson: 1856-1940) พิสูจน์พบอนุภาคประจุลบ ทอมสันศึกษาแนวคิดที่ว่า ก๊าซสามารถนำไฟฟ้าได้ ถ้ามีสภาพเหมาะสม ซึ่งได้แก่ การจัดสภาพให้มีความต่างศักย์สูงมากๆ และความดันต่ำ โดยใช้หลอดแก้วสุญญากาศ ซึ่งประกอบด้วยวงจรไฟฟ้ากระแสตรงที่มีความต่างศักย์  10,000  โวลต์ ขั้วไฟฟ้าที่ต่อกับขั้วบวก เรียกว่า แอโนด และขั้วลบ เรียกว่า  แคโทด  เมื่อผ่านไฟฟ้าเข้าไปในหลอดพบว่า เกิดลำแสงพุ่งจากแคโทด ไปยังแอโนด เรียกลำแสงนี้ว่า  รังสีแคโทด

  9. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน รังสีแคโทดจะเบนเข้าหาขั้วแอโนดเสมอ ทำให้ทอมสันได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติของรังสีแคโทดดังนี้

  10. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน 1. รังสีแคโทดเดินทางเป็นเส้นตรง 2.มีประจุลบ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก 3. มีค่าประจุต่อมวลคงที่ จากการศึกษาเกี่ยวกับ Oil - drop Experiment ของ แอนดรูว์ มิลลิแกน พบว่า อนุภาคในรังสีแคโทดมีค่าประจุต่อมวลคงที่ 1.76  x  108คูลอมบ์ต่อกรัม ไม่ว่าจะใช้โลหะชนิดใดเป็นขั้วไฟฟ้าหรือก๊าซที่ใช้บรรจุในหลอดรังสีแคโทดก็ตาม  ดังนั้นจึงสรุปว่า อนุภาคในรังสีแคโทดเป็นอนุภาคมูลฐานของอะตอมและมีประจุลบ ต่อมาเรียกว่า อนุภาคอิเล็กตรอน ทอมสันสรุปว่า “อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคมูลฐานที่อยู่ในอะตอมของธาตุทุกชนิด”

  11. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน โรเบิร์ต มิลลิแกน (R. Millikan : 1868-1953) หาประจุของอิเล็กตรอน โดยวัดค่าสนามไฟฟ้าที่ทำให้แรงดึงดูดระหว่างประจุ (แรงคูลอมป์) บนละอองน้ำมันเท่ากับค่าแรงโน้มถ่วงของโลก

  12. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน  ค่าประจุบนละอองน้ำมันมีค่า = 1.602 x 10-19 C  มิลลิแกนหามวลของอิเล็กตรอนโดย e/m = 1.75882 x 108 C/g m = e / (1.75882 x 108 C/g) = (1.602 x 10-19 C) / (1.75882 x 108 C/g) = 9.109 x 10-31 kg “อิเล็กตรอน” เป็นอนุภาคที่มีประจุลบ มีประจุ = 1.602 x 10-19 C มีมวล = 9.109 x 10-31 kg

  13. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน การค้นพบโปรตรอน เนื่องจากอะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า แสดงว่าต้องมีอนุภาคที่มีประจุบวกรวมอยู่ในอะตอมด้วย โกลด์สไตน์สังเกตพบรังสีแอโนด (รังสีที่มาจากอนุภาคประจุบวก) จากการดัดแปลงการทดลองของทอมสัน เมื่ออิเล็กตรอนจากกระแสไฟฟ้าวิ่งชนกลุ่มอะตอม ทําให้อะตอมไอออไนซ์ ได้อิเล็กตรอนกับอะตอมไอออนบวก (A → A+ + e)

  14. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน ถ้าเจาะรูที่แผ่น Cathode จะมีอนุภาควิ่งไปด้านหลัง เรียกว่า “รังสีแคแนล”  รังสีจะเบนเข้าหาสนามไฟฟ้าลบ  มีมวลต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊ส การทดลองของ รัทเทอร์ฟอร์ด ยืนยันการค้นพบโปรตอน โดยระดมยิงโมเลกุลไนโตรเจนด้วยอนุภาคอัลฟา ( 42He ) ทําให้ได้อนุภาคซึ่งหนักเป็น 1830 เท่าของอิเล็กตรอน และมีประจุเท่ากับอิเล็กตรอน

  15. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน หลังจากการค้นพบอิเล็กตรอน และโปรตอน ทอมสันจึงได้เสนอทฤษฎีอะตอมว่า "อะตอมมีลักษณะทรงกลม ประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ และโปรตอนซึ่งมีประจุบวก กระจายอยู่ในอะตอมอย่างสม่ำเสมอ อะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน" แบบจำลองอะตอมของทอมสัน

  16. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด ในปี 1871-1937 ลอร์ด เออร์เนสท์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Lord Ernest Rutherford) นักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์ ทดลองใช้อนุภาคแอลฟายิงไปยังแผ่นโลหะทองคำบางๆ และใช้ฉากเรืองแสงซึ่งฉาบด้วยซิงค์ซัลไฟด์เป็นฉากรับอนุภาคแอลฟาเพื่อตรวจสอบว่า อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่เดินทางเป็นเส้นตรงผ่านทะลุแผ่นทองคำไปได้ มีบางอนุภาคที่เฉออกจากเส้นทางเดิม และบางอนุภาคซึ่งน้อยมากสะท้อนกลับจากเส้นทางเดิมเมื่อกระทบแผ่นทองคำ ทราบได้เพราะอนุภาคแอลฟากระทบฉากเรืองแสง

  17. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด จากการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดพบว่า 1. การที่อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่วิ่งผ่านแผ่นทองคำไปเป็นแนวเส้นตรงแสดงว่า อะตอมไม่ใช่ของแข็งทึบตัน แต่ภายในอะตอมมีที่ว่างมาก 2. อนุภาคแอลฟาบางอนุภาคที่หักเหออกจากทางเดิมเพราะภายในอะตอมมีอนุภาคที่มีมวลมากและมีประจุไฟฟ้าบวกสูงและมีขนาดเล็ก ดังนั้น เมื่ออนุภาคแอลฟาเข้าใกล้อนุภาคนี้จะถูกผลักให้เบนออกจาก ทางเดิมหรือเมื่ออนุภาคแอลฟาเข้ามากระทบอย่างจังก็จะสะท้อนกลับ

  18. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด ดังนั้นเพื่ออธิบายผลการทดลอง รัทเทอร์ฟอร์ดจึงได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมาใหม่ดังนี้ “อะตอมประกอบด้วยโปรตอนรวมกันกันเป็นนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง นิวเคลียสมีขนาดเล็กมากแต่มีมวลมากและมีประจุบวก ส่วนอิเลคตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสเป็นบริเวณกว้าง” แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

  19. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด การค้นพบนิวตรอน เซอร์เจมส์ แชดวิก (Sir James Chadwick) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนออนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้านั้นเรียกว่า นิวตรอน มีมวลใกล้เคียงกับมวลของโปรตอน จากการค้นพบนิวตรอน ทำให้เราทราบว่าอะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐาน 3 ชนิด คือ โปรตอน อิเลคตรอน และนิวตรอน ทำให้แบบจำลองอะตอมเปลี่ยนไปดังนี้ “อะตอมมีลักษณะทรงกลมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง และมี อิเลค ตรอนซึ่งมีจำนวนเท่ากับโปรตอนวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียส”

  20. แบบจำลองอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมของบอห์ร นิวเคลียส (p+n) e n = 4 321 r บอห์ร (Niels Bohr: 1885-1962) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมของไฮโดรเจน โดยใช้แนวคิดของรัทเทอร์ฟอร์ดร่วมกับทฤษฎีควอนตัม ดังนี้ 1. อะตอมไฮโดรเจนประกอบด้วย นิวเคลียสที่มีอิเล็กตรอนโคจรรอบๆ นิวเคลียสเป็นวงกลมโดยมี รัศมี r n คือ เลขควอมตัมมีค่าเป็น 1, 2, 3, ...

  21. แบบจำลองอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมของบอห์ร L = mevr = nh 2 2. อิเล็กตรอนโคจรรอบๆ โดยไม่สูญเสียพลังงาน ซึ่งเรียกว่าสถานะคงตัว โดยที่โมเมนตัมเชิงมุมของวงโคจรจะมีค่าเป็ฯจำนวนเต็มเท่าของ nh/2ซึ่งเขียนได้ว่า L = โมเมนตัมเชิงมุม me= มวลของอิเล็กตรอน v = ความเร็ว h = ค่าคงที่ของพลังค์

  22. แบบจำลองอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมของบอห์ร 3. อิเล็กตรอนสามารถจะรับและปลดปล่อยพลังงานได้ เมื่อมีการเปลี่ยนวงโคจร โดยค่าของพลังงานจะเท่ากับ ค่าของพลังงานที่แตกต่างกันของวงโคจรทั้งสอง คือ E = h = E2 – E1 e จากวงใน  วงนอก (รับพลังงาน) E เป็น + eจากวงนอก  วงใน (คายพลังงาน) E เป็น -

  23. แบบจำลองอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมของบอห์ร 4. อิเล็กตรอนที่อยู่ในวงโคจรดังกล่าวจะมีพลังงานค่าหนึ่งคงที่ และ ตลอดเวลาที่อยู่ในวงโคจรเดียวจะไม่ดูดพลังงาน หรือสูญเสียพลังงานแต่อย่างใด ค่าพลังงานนี้คำนวณได้จากสมการ เมื่อ me = มวลของอิเล็กตรอน z = เลขเชิงอะตอม n = 1, 2, 3

  24. แบบจำลองอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมของบอห์ร นิวเคลียส (p+n) e e e e e n = 4 3 2 1 แบบจำลองอะตอมตามทฤษฎีของบอห์ร แม้จะใช้ได้ดีกับอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว แต่ไม่สามารถอธิบายสเปกตรัมของอะตอมที่มีมากกว่าหนึ่งอิเล็กตรอนได้เลยนอกจากนี้วงโคจรวงกลมของอิเล็กตรอนยังไม่ตรงกับรูปร่างของโมเลกุลที่ได้จากการศึกษาทางรังสีเอกซ์อีกด้วย

  25. แบบจำลองอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมของบอห์ร การเกิดสเปกตรัม 1.  การตรวจหาสเปกตรัมถ้าเป็นสารประกอบทำโดย  การเผาสารประกอบถ้าเป็นก๊าซทำโดย นำก๊าซมาบรรจุในหลอดแก้ว แล้วปรับความดันให้ต่ำแล้วใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการเผา 2.  สีเปลวไฟ หรือสเปกตรัม เกิดจากสาเหตุเดียวกัน ข้อแตกต่าง คือสีเปลวไฟ เป็นสีที่มองจากตาเปล่า จะเห็นเป็นสีเดียว ซึ่งเป็นสีที่เด่นชัดที่สุดสีสเปกตรัมเป็นสีที่ใช้เครื่องมือ สเปกโตรสโคป ส่องดูเปลวไฟ จะเห็นเป็นเส้นสเปกตรัมหลายเส้น  และความเข้มมากที่สุดจะเป็นสีเดียวกันกับสีของเปลวไฟ3.  สีของเปลวไฟ หรือสีของสเปกตรัมเป็นสีที่เกิดที่เกิดจากส่วนที่เป็นไอออนของโลหะ หรือไอออนบวกนั่นเอง ดังเช่น Li+    สีแดง  Na+  สีเหลือง   Ca2+  สีแดงอิฐ Ba2+    สีเขียวอมเหลือง Cu2+    สีเขียวK+   สีม่วง

  26. แบบจำลองอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมของบอห์ร 4.  ธาตุแต่ละธาตุมีเส้นสเปกตรัมเป็นลักษณะเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน ดังรูป การจัดอิเล็กตรอนในอะตอม   จากการศึกษาแบบจำลองอะตอมของบอห์ร ทำให้ทราบว่า การจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ

  27. แบบจำลองอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมของบอห์ร เวเลนซ์อิเล็กตรอน  คือ  จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดหรือสูงสุด ของแต่ละธาตุจะมีอิเล็กตรอนไม่เกิน 8 การจัดอิเล็กตรอน มีความสัมพันธ์กับการจัดหมู่และคาบอย่างไร 1.  เวเลนซ์อิเล็กตรอน จะตรงกับเลขที่ของหมู่ ดังนั้น ธาตุที่อยู่หมู่เดียวกันจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน 2.  จำนวนระดับพลังงาน จะตรงกับเลขที่ของคาบ ดังนั้น ธาตุในคาบเดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน เช่น    35Brมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังนี้      2 , 8 , 18 , 7    ดังนั้น  Br จะอยู่ในหมู่ที่  7  เพราะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน  7  และอยู่ในคาบที่  4  เพราะมีจำนวนระดับพลังงาน  4

  28. แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก แบบจำลองอะตอมของโบร์ ใช้อธิบายเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจนได้ดี แต่ไม่สามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้ จึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยใช้ความรู้ทางกลศาสตร์ควันตัม สร้างสมการเพื่อคำนวณหาโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ จึงสามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของธาตุได้ถูกต้องกว่าอะตอมของโบร์ ลักษณะสำคัญของแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกอธิบายได้ดังนี้

  29. แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก 1. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสอย่างรวดเร็วตลอดเวลาด้วยความเร็วสูง  ด้วยรัศมีไม่แน่นอนจึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้บอกได้แต่เพียงโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณต่างๆ ปรากฏการณ์แบบนี้นี้เรียกว่ากลุ่มหมอกของอิเล็กตรอน บริเวณที่มีกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนหนาแน่น จะมีโอกาสพบอิเล็กตรอนมากกว่าบริเวณที่เป็นหมอกจาง 2. การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสอาจเป็นรูปทรงกลมหรือ รูปอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับระดับพลังงานของอิเล็กตรอน แต่ผลรวมของกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนทุกระดับพลังงานจะเป็นรูปทรงกลม

  30. แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก รูปทรงต่างๆของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน จะขึ้นอยู่กับระดับพลังงานของอิเล็กตรอน การใช้ทฤษฎีควันตัม จะสามารถอธิบายการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส ได้ว่าอิเล็กตรอนจัดเรียงตัวเป็นออร์บิทัล(orbital) ในระดับพลังงานย่อย s , p , d , f  แต่ละออร์บิทัล จะบรรจุอิเล็กตรอนเป็นคู่ ดังนี้ s – orbital     มี   1  ออร์บิทัล  หรือ  2  อิเล็กตรอน p – orbital          มี   3  ออร์บิทัล  หรือ  6  อิเล็กตรอน d – orbital          มี   5  ออร์บิทัลหรือ  10  อิเล็กตรอน f – orbital            มี   7  ออร์บิทัล   หรือ  14  อิเล็กตรอน

  31. แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก แต่ละออร์บิทัลจะมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในออร์บิทัล และระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในออร์บิทัลนั้นๆ  เช่น s – orbital  มีลักษณะเป็นทรงกลม p – orbital  มีลักษณะเป็นกรวยคล้ายหยดน้ำ ลักษณะแตกต่างกัน  3  แบบ ตามจำนวนอิเล็กตรอนใน  3 ออร์บิทัล คือ  Px , Py  ,  Pz            d – orbital  มีลักษณะและรูปทรงของกลุ่มหมอก แตกต่างกัน 5  แบบ  ตามจำนวนอิเล็กตรอนใน  5  ออร์บิทัล คือ  dx2-y2 ,  dz2 ,    dxy  ,    dyz  ,   dxz 

  32. แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก

  33. แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก

  34. The End

More Related