1 / 34

รายงาน วิชา เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ เสนอ อาจารย์สงกรานต์ กัลยา จัดทำโดย นายเจริญศักดิ์ พยัคฆา

รายงาน วิชา เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ เสนอ อาจารย์สงกรานต์ กัลยา จัดทำโดย นายเจริญศักดิ์ พยัคฆา รหัส 62822 เลขที่ 8. ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลี นควบ คุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์

sabine
Download Presentation

รายงาน วิชา เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ เสนอ อาจารย์สงกรานต์ กัลยา จัดทำโดย นายเจริญศักดิ์ พยัคฆา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงาน วิชา เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ เสนอ อาจารย์สงกรานต์ กัลยา จัดทำโดย นายเจริญศักดิ์ พยัคฆา รหัส 62822 เลขที่8

  2. ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 1.ประวัติระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (History of Gasoline Injection System)ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนนี้มิได้เพิ่งจะมาพิจารณาขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้แต่ได้เริ่มค้นคว้าทดลองขึ้นในประเทศเยอรมนีโดยบริษัทบอชมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 เพื่อเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1932 หลังจากมีการค้นคว้า ทดลองและพัฒนามาเรื่อย ๆ ก็ประสบความสำเร็จมีการผลิตระบบฉีดเชื้อเพลิงใช้กับเครื่องยนต์แก๊สโซลี นชนิดลูกสูบของเครื่องบินออกจำหน่ายระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนที่ใช้กับรถยนต์ระบบแรกของบริษัท BOSCH เริ่มผลิตขึ้นในปี ค.ศ.1952  เพื่อใช้กับรถยนต์แข่ง ต่อมามีการพัฒนาโดยการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาควบคุม (Electronic Control Techniques) เป็นผลให้ปริมาณที่ฉีด มีปริมาณที่แน่นอนเที่ยงตรงสูงมาก ระบบที่พัฒนาโดยบริษัท BOSCHนี้ เรียกว่าระบบ ECGI (Electronically Controlled GasolineInjection)และจากการร่วมมือกันกับบริษัทโฟล์คสวาเกนได้มีการผลิตออกจำหน่ายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967  ต่อมาระบบ ECGI ก็ได้พัฒนาต่อไปอีกจนกระทั่งผ่านการควบคุมมลพิษจากไอเสียอันเข็มงวดกวดขันทั้งในประเทศเยอรมนีเองและต่างประเทศปัจจุบัน ECGI เป็นที่รู้จัก และใช้กันอย่างแพร่หลาย ในชื่อ “ระบบการฉีดเชื้อเพลิงแบบอิเล็กทรอนิกส์”(Electronic Fuel Injection) หรือชื่อย่อที่รู้จักกันในทั่วไปว่า “EFI”

  3. 2.ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ปัจจุบันเครื่องยนต์แก๊สโซลีนได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้นคือนอกจากจะพยายามทำให้ได้กำลังสูงสุดแล้ว ยังต้องมีความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและเกิดมลภาวะเป็นพิษจากแก๊สไอเสีย น้อยที่สุดอีกด้วย ซึ่งประสิทธิภาพของเครื่องยนต์นี้ จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกันคือ 1.อัตราส่วนการอัด 2.กระบวนการในการเผาไหม้ 3.อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ป้อนเข้ากระบอกสูบ 4.การออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งที่จะมีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์หากอัตราส่วนผสมของเชื้อเพลิงที่ป้อนเข้ากระบอกสูบไม่เหมาะสมจะเป็นสาเหตุให้

  4. เครื่องยนต์มีกำลังงานต่ำสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และเกิดแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) มากซึ่งจะเป็น อันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ 3.อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้กับเครื่องยนต์ จะประกอบด้วยส่วนผสม 3 แบบ คือ 1.อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงตามทฤษฎี (theoretical air-fuel ratio) รูปที่ 1.34 แสดงอัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิง

  5. 2.อัตราส่วนผสมหนา (rich mixture) เป็นอัตราส่วนที่มากกว่า 14.7 : 1  เช่น 12: 1ซึ่งใช้ส่วนผสมที่ใช้อากาศน้อยกว่าทฤษฎีจะเรียกว่า ส่วนผสมหนา (rich mixture) 3.อัตราส่วนผสมบาง(lean mixture)เป็นอัตราส่วนที่น้อยกว่า 14.7 : 1   เช่น 16: 1ซึ่งใช้ส่วนผสมที่ใช้อากาศมากกว่าทฤษฎี จะเรียกว่า ส่วนผสมบาง (lean mixture)   4.วิธีการผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (Air-Fuel Mixing Method) สำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะมีวิธีการใหญ่ ๆ อยู่ 2 วิธี คือ

  6. 1.โดยระบบคาร์บูเรเตอร์ (Carburetors System) 2.โดยระบบฉีดเชื้อเพลิง (Injection System) ทั้ง 2 แบบต่างก็มีข้อดีข้อเสียกล่าวคือคาร์บูเรเตอร์เดิมเป็นแบบง่าย ๆ แต่ต่อมาประเทศต่าง ๆ ทางยุโรปและอเมริกามีการออกกฎหมายควบคุมมลพิษของไอเสียอย่างเข้มงวดกวดขันจากคาร์บูเรเตอร์ง่าย ๆ จึงจำเป็นต้องเพิ่มอุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ เข้าไปทำให้ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นและอุปกรณ์บางส่วนก็เป็นกลไกทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานรถยนต์ราคาแพง ๆ ที่ใช้เครื่องยนต์ประเภทสมรรถนะสูง (High Performance) จึงหันมาใช้ระบบฉีดแทนคาร์บูเรเตอร์เพราะระบบฉีดเชื้อเพลิงการเผาไหม้จะสะอาดหมดจดกว่าจึงยังไม่เป็นที่คุ้นเคยดังนั้นการที่จะให้เป็นที่นิยมและยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับระบบ คาร์บูเรเตอร์คงต้องใช้เวลาและคงจะมีใช้อยู่ทั้งสองระบบควบคู่กันไปเช่นเดียวกันกับระบบจุดระเบิดแบบธรรมดาและระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์

  7. รูปที่ 1.35 การเกิดหยดน้ำมันของไอดีที่สูบสุดท้าย ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบคาร์บูเรเตอร์ก็คือ แต่ละสูบจะได้รับส่วนผสมไม่เท่ากัน เนื่องจากเชื้อเพลิงหนักกว่าอากาศมันจึงไหลต่อไปจนสุดท่อร่วมไอดีแล้วจับตัวเป็นหยดน้ำมันทำให้สูบสุดท้าย ส่วนผสมหนาแต่สูบที่อยู่ใกล้คาร์บูเรเตอร์ส่วนผสมบาง

  8. 5.ข้อดีของระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (Advantage of Gasoline Injection System) 1.ให้กำลังสูงกว่าที่ความจุเท่ากัน 2.ให้แรงบิดสูงกว่าที่รอบเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3.ประหยัดเชื้อเพลิงกว่า 4.เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่าจึงเป็นการลดมลพิษ 5.การเผาไหม้แต่ละสูบสมดุลกันมากกว่า 6.ติดเครื่องยนต์เมื่ออากาศเย็นได้ง่ายกว่า 7.ใช้เวลาในการอุ่นเครื่องน้อยกว่า 8.ไม่จำเป็นต้องมีการอุ่นท่อร่วมไอดี 9.อุณหภูมิของอากาศที่เข้ามาต่ำกว่า 10.มีอัตราเร่งดีกว่า ข้อดีดังกล่าวนี้รถยนต์ปัจจุบันที่ทันสมัยราคาแพงจึงใช้ระบบฉีดเชื้อเพลิงแทนคาร์บูเรเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ

  9. 6.หลักการเบื้องต้นระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic fuel injection System) หรือเรียกว่า ระบบ EFI เป็นระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ โดยใช้หัวฉีดที่มีการควบคุมการทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์ 6.1หลักการเบื้องต้น น้ำมันเชื้อเพลิงจากถังจะถูกส่งผ่านกรองน้ำมัน ไปยังหัวฉีดซึ่งตดตั้งไว้ที่ท่อไอดีของแต่ละสูบ โดยใช้ปั้มไฟฟ้า ดังรูป 1.45 เมื่อสัญญาณไฟฟ้าจากคอมพิวเตอร์ป้อนเข้าหัวฉีด น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความดันประมาณ 2.5 บาร์ (bar) จะถูกฉีดเข้าไปผสมกับอากาศในท่อไอดี แล้วถูกดูดเข้ากระบอกสูบของเครื่องยนต์ สำหรับปริมาณน้ำมันที่ถูกฉีดออกมาจะมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการป้อนไฟฟ้าเข้าหัวฉีด กล่าวคือ ถ้ามีสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าหัวฉีกนาน ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดออกมามาก

  10. 6.2ชนิดของระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในรถยนต์นั่งทั่ว ๆ ไปในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบใหญ่ๆ ด้วยกัน โดยจะมีความแตกต่างตามวิธีการวัดปริมาณอากาศที่บรรจุเข้ากระบอกสูบคือ1ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ แบบ D-Jetronicหรือเรียกว่า ระบบ EFI แบบ D

  11. รูปที่ 1.37 ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ (D-Jetronic)

  12. หลักการทำงาน ขณะเครื่องยนต์มีความเร็วรอบต่ำลิ้นเร่งจะเปิดให้อากาศไหลผ่านเข้ากระบอกสูบน้อย ความดันของอากาศในท่อร่วมไอดีจะต่ำ (เป็นสุญญากาศมาก) ตัวตรวจจับสุญญากาศ (Vacuum sensor) จะส่งสัญญาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดีขณะนั้น ป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ให้กำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงน้อย และในทางตรงกันข้าม หากลิ้นเร่งเปิดให้อากาศไหลผ่านเข้ากระบอกสูบมาก (ขณะเร่งเครื่องยนต์) ความดันของอากาศในท่อร่วมไอดีจะสูงขึ้น (เป็นสุญญากาศน้อย) ตัวตรวจจับสุญญากาศจะส่งสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ให้กำหนดระยะเวลาใน การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น 2 ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ แบบ L- Jectronic หรือเรียกว่า ระบบ EFI แบบ Lเป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ EFI แบบ D- Jectronic ซึ่งจะมีการวัดปริมาณอากาศที่ไหลเข้ากระบอกสูบจากแรงดันในท่อร่วมไอดี แต่เนื่องจากปริมาตรกับแรงดันของอากาศมีสัดส่วนแปรผันไม่คงที่แน่นอน กล่าวคือ ปริมาตรของอากาศไม่แปรผันตรงกับแรงดัน ทำให้การวัดปริมาณอากาศจะได้ค่าที่แรงดันที่ไม่เที่ยงตรง จึงเป็นเหตุให้การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นขาดความเที่ยงตรงไปด้วย จากเหตุผลดังกล่าว ในระบบ EFI แบบ L จะทำการวัดปริมาณอากาศโดยใช้มาตรวัดการไหลของอากาศ (Air flow meter) เป็นตัวตรวจจับปริมาณอากาศที่ถูกดูดเข้ากระบอกสูบ แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมาะสม

  13. รูปที่ 1.38 ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ (L-Jetronic)

  14. 7. การควบคุมระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบ EFI จะมีการควบคุมระยะเวลาในการฉีดของหัวฉีด เป็น 2 ส่วนด้วยกันคือการควบคุมระยะเวลาในการฉีดพื้นฐานและการเพิ่มระยะเวลาในการ ฉีดตามสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ โดยมีรายละเอียดของการควบคุม ดังนี้คือ 7.1 การควบคุมระยะเวลาในการฉีดพื้นฐานจากรูปหลักการเบื้องต้นของระบบ  EFI แบบ  D – Jetronic  คอมพิวเตอร์จะได้รับสัญญาณไฟฟ้าจากตัวตรวจจับสุญญากาศ และสัญญาณความเร็วของเครื่องยนต์และในระบบ  EFI  แบบ L – Jetronic คอมพิวเตอร์จะได้รับสัญญาณไฟฟ้าจากมาตรวัดการไหลของอากาศและสัญญาณ ความเร็วของเครื่องยนต์สัญญาณไฟฟ้าทั้งสองที่ป้อนเข้าคอมพิวเตอร์จะเป็น สัญญาณที่ใช้สำหรับกำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงของหัวฉีดระยะ เวลาในการฉีดที่ได้จากสัญญาณทั้งสองนี้จะเรียกว่าระยะเวลาในการฉีดพื้น ฐาน(basic injection time)ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงตามทฤษฎี

  15. หมายเหตุ  :สัญญาณความเร็วรอบเครื่องยนต์จะเป็นข้อมูลในการคำนวณปริมาณอากาศต่อรอบการทำ งานของเครื่องยนต์ พร้อมทั้งยังเป็นตัวกำหนดจังหวะและการเริ่มต้นการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงใน เครื่องยนต์หัวฉีดรุ่นแรก ๆ สัญญาณนี้จะถูกต่อจากขั้วลบของคอยล์จุดระเบิด หรือขั้วของจานจ่าย ส่วนเครื่องยนต์หัวฉีดในปัจจุบันจะได้รับสัญญาณความเร็วรอบจากตัวตรวจจับมุม เพลาข้อเหวี่ยง 7.2 การเพิ่มระยะเวลาในการฉีดตามสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์เนื่องจากเครื่องยนต์ต้องทำงานอยู่ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาทำให้อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงที่จ่ายให้กับเครื่องยนต์ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการทำงานเหล่านั้นด้วย ซึ่งทำให้อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงตามทฤษฎีที่ได้จากระยะเวลาในการฉีดพื้นฐานไม่สามารถตอบสนองการทำงานของเครื่องยนต์ใน ทุกสภาวะได้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้มาก ขึ้นเพื่อให้ได้อัตราส่วนผสมที่หนาเพียงพอกับความต้องการของเครื่องยนต์ด้วยเหตุนี้ในระบบ  EFI จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ที่เรียกว่า sensor เป็นตัวส่งข้อมูลการทำงานของเครื่องยนต์ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้าไปยัง คอมพิวเตอร์ ให้เพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงของหัวฉีดให้เหมาะสมกับสภาวะการทำ งานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากรูปที่  1.40 จะมีสัญญาณการสตาร์ทของเครื่องยนต์ จากขั้ว St.  ของสวิตช์จุดระเบิดและตัวตรวจจับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์  3  ตัวเป็นตัวส่งข้อมูลทางไฟฟ้าป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ให้เพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงจากระยะเวลาในการฉีดพื้นฐาน

  16. -ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำ (Water temperature sensor) จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าให้คอมพิวเตอร์เพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อ เพลิง ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิเครื่องยนต์ กล่าวคือ ระยะเวลาในการฉีดจะเพิ่มขึ้นเมื่อเครื่องยนต์อุณหภูมิต่ำ-ตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศ (Air temperature sensor)จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าให้คอมพิวเตอร์ปรับระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อ เพลิงให้เหมาะสมกับอุณหภูมิอากาศ กล่าวคือ ระยะเวลาในการฉีดจะเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิอากาศต่ำกว่าค่าที่กำหนด และระยะเวลาในการฉีดจะลดลง เมื่ออุณหภูมิของอากาศสูงกว่าค่าที่กำหนด-ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง (Throttle position sensor)จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าให้คอมพิวเตอร์เพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อ เพลิงให้เหมาะสมกับความเร็วรอบเครื่องยนต์ เช่น ขณะเดินเบา เร่งรอบ หรือขณะรับภาระสูงสุด-สัญญาณการสตาร์ท (Starting signal)จะเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งให้คอมพิวเตอร์ ทำการเพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะสตาร์ทเครื่องยนต์

  17. 7.3การควบคุมจังหวะการฉีดเชื้อเพลิง7.3การควบคุมจังหวะการฉีดเชื้อเพลิง กล่องคอมพิวเตอร์จะกำหนดระยะเวลาการฉีดเชื้อเพลิงของหัวฉีดเข้าในแต่ละสูบตามรูปแบบของการฉีดดังนี้                1. การฉีดเชื้อเพลิงพร้อมกันทุกสูบ (Simitaneousinjection)กล่องคอมพิวเตอร์จะควบคุมการฉีดแต่ละสูบให้ฉีดพร้อมกันทั้งหมดในขณะที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุนครบ1 รอบ                2. การฉีดเชื้อเพลิงแบบเป็นกลุ่ม (Group injection) การฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกล่มที่หนึ่งประกอบด้วยหัวฉีดที่ 1, 2 และ 3 ส่วนกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย 4, 5 และ 6 หัวฉีดเชื้อเพลิงในแต่ละกลุ่มจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเพียง 1 ครั้งในขณะที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1 รอบ ดังนั้นเมื่อเครื่องยนต์หมุนไปจนครบ 2 รอบก็จะทำให้ปริมาณการฉีดเชื้อเพลิงโดยรวมจะเท่ากับการฉีดเชื้อเพลิงแบบฉีดพร้อมกัน                3. การฉีดเชื้อเพลิงตามจังหวะการจุดระเบิด (Sequential injection) การฉีดเชื้อเพลิงแบบตามจังหวะการจุดระเบิด น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าไปในแต่ละสูบในจังหวะคาย โดยกล่องคอมพิวเตอร์ จะได้รับสัญญาณ 5 องศา BTDC ตำแหน่งศูนย์ตายบนของสูบที่ 1 ของเซนเซอร์มุมเพลาข้อเหวี่ยง และกำหนดให้หัวฉีดสูบที่ 2, 1,3,4 ฉีดจ่ายเชื้อเพลิงตามลำดับ ดังนั้นเมื่อเพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปจนครบ 2 รอบ ก็จะทำให้ทุกสูบฉีดเชื้อเพลิงได้ปริมาณเชื้อเพลิง 1 ครั้ง

  18. 8. ส่วนประกอบของระบบ EFI ในระบบ EFI แบบ D และระบบ EFI แบบ L จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่สำคัญ ดังแสดงให้เห็นในตัวอย่างในรูปที่ 1.41 และ 1.42 ซึ่งหากแยกอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไปตามหน้าที่การทำงาน จะสามารถแยกเป็นระบบย่อย ๆ ได้ 3 ระบบคือ 1.ระบบเชื้อเพลิง (Fuel system) ที่ประกอบด้วย ถังน้ำมัน ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง กรองน้ำมันเชื้อเพลิง ท่อจ่ายน้ำมัน ตัวควบคุมความดันน้ำมันหัวฉีดประจำสูบ และหัวฉีดสตาร์ทเย็น2. ระบบประจุอากาศ (Air induction system) ที่ประกอบด้วย กรองอากาศ มาตรวัดการไหลของอากาศ เรือนลิ้นเร่ง ห้องประจุไอดีท่อไอดี และลิ้นอากาศ3. ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ประกอบด้วย หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศ ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่งและตัวตรวจจับสัญญาณ (Sensor) อื่นๆ

  19. รูปที่ 1.41 ส่วนประกอบระบบฉีดแบบ D – jectronic

  20. 11.ท่อร่วมไอดี 12.ลิ้นเร่ง 13.รีเลย์ 14.ตัวตรวจจับปริมาณออกซิเจน 15.ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำ 16.สวิตช์ควบคุมหัวฉีดสตาร์ทเย็น 17.จานจ่าย 18.ตัวตรวจจับสุญญากาศ 19.ตัวตรวจจับอุณหภูมิอากาศ 20.ลิ้นอากาศ 21.แบตเตอรี่ 22.สวิตช์จุดระเบิด 1.ถังน้ำมัน 2.ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง 3.กรองน้ำมัน 4.ท่อจ่าย 5.ตัวควบคุมความดัน 6.คอมพิวเตอร์ 7.หัวฉีดประจำสูบ 8.หัวฉีดสตาร์ทเย็น 9.สกรูปรับแต่งรอบเดินเบา 10.ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง

  21. รูปที่ 1.42 ส่วนประกอบระบบฉีดแบบ L – jectronic

  22. ในบทเรียนต่อไปนี้จะกล่าวถึง ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในรถยนต์ปัจจุบันซึ่งประกอบด้วย 1. ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของโตโยต้า(TCCS : Toyota Computer Control System)2. ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของนิสสัน(ECCS : Electronic Concentrete Control System)3. ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของมิตซูบิชิ(MPI : Multi Port Injection System) ระบบเชื้อเพลิงจะทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้ความดันที่เหมาะสมกับหัวฉีดในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการในทุกสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ในระบบเชื้อเพลิงประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆที่สำคัญ คือ 2.1 ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel pump)ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงมีหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังส่งไปยังหัวฉีด และหัวฉีดสตาร์ทเย็นภายใต้ความดันและมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการสูงสุดของเครื่องยนต์ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบ EFI จะมีอยู่ 2 แบบคือ ปั๊มแบบลูกกลิ้ง (roller cell pump) และปั๊มแบบใบพัด (turbine pump)

  23. -ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบ TCCSปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในระบบTCCS(โตโยต้า)นั้นจะเป็นแบบใบพัดซึ่งแบบนี้ในขณะทำงานจะมีเสียงดังน้อยกว่าปั๊มแบบกลูกกลิ้ง เพราะจานใบพัด (Impeller) ไม่ต้องเสียดสีกับเสื้อปั๊ม (Casing) การทำงาน เมื่อมอเตอร์ขับใบพัด  (Blade)  ให้หมุนจะเกิดความกันแตกต่างกันขึ้นที่ตัวใบพัด ซึ่งติดตั้งอยู่รอบจานใบพัด (Impeller)ความดัน ที่แตกต่างกันที่ด้านหน้า และด้านหลังของใบพัดจะทำให้เกิดการหมุนวนภายในปั๊มเกิด ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบ ECCSปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในระบบ ECCS (นิสสัน) นี้จะเป็นแบบลูกกลิ้งปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบนี้มีข้อดีก็คือ น้ำมันเชื้อเพลิงจะช่วยระบายความร้อนให้แก่มอเตอร์ และทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีอุณหภูมิสูงขึ้นจึงเผาไหม้ได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือจะมีเสียงดังในการทำงานเนื่องจากลูกกลิ้งต้องเสียดสีกับ เสื้อปั๊ม

  24. การทำงาน ปั๊มลูกกลิ้งประกอบด้วยโรเตอร์ (Rotor) ซึ่งสวมอยู่ภายในเสื้อปั๊ม(Pump Spacer)  ในลักษณะที่เยื้องศูนย์กันปั๊มลูกกลิ้งถูกขับโดยมอเตอร์ไฟฟ้าเมื่อโรเตอร์ หมุนลูกกลิ้ง (Roller) ก็จะถูกทำให้เคลื่อนที่ไปตามพื้นผิวผนังภายในของเสื้อปั๊มทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงช่องว่างระหว่างลูกกลิ้งแต่ละตัวที่แตกต่างกันทำให้เกิดการดูดน้ำมันจากถังน้ำมันเชื้อเพลิงและส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปยัง หัวฉีดดูรูปที่  2.3 ช่องว่างระหว่างลูกกลิ้งทางด้ายซ้ายมือจะค่อย ๆ มีปริมาตรเพิ่มขึ้นจึงเกิดการดูดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาและเมื่อโรเตอร์หมุน ต่อไปปริมาตรจะค่อย ๆ เล็กลง ทำให้มีความดันสูงขึ้นซึ่งจะตรงกับช่องน้ำมันออก (Outlet Port) พอดีน้ำมันเชื้อเพลิงจึงไหลออกทางช่องน้ำมันออก -ตัว เก็บเสียง  (Silencer)  ทำหน้าที่ระงับอาการสั่นสะเทือนและเสียงจากปั๊ม เนื่องจากการผลิตความดันน้ำมันเชื้อเพลิง ให้อยู่ในรูปการเคลื่อนไหวของไดอะแฟรม-ลิ้นกันกลับ  (Check Valve)ทำหน้าที่รักษาความดันน้ำมันเชื้อเพลิงให้ตกค้างอยู่ในท่อน้ำมันเชื้อ เพลิงเพื่อทำให้ การสตาร์ทง่ายขึ้น หากไม่มีความดันตกค้าง จะทำให้เกิดฟองอากาศภายในท่อน้ำมันเชื้อเพลิงได้ง่าย ในขณะอุณหภูมิสูง ทำให้สตาร์ทเครื่องยนต์ยากในครั้งต่อไป- ลิ้นระบาย  (Relief Valve) ทำหน้าที่ป้องกันความดันน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งหมุนเวียนภายในมอเตอร์และปั๊ม ไม่ให้มีความดันเกินค่าที่กำหนด (ประมาณ3.5 – 5.0 กก. /ซม.2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตด้วย) เมื่อความดันเกินค่าที่กำหนดลิ้นระบายจะ ถูกดันให้เปิดน้ำมันระบายกลับไปทางช่องน้ำมันเข้า  (Inlet Port)-ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบนี้มีข้อดีก็ คือน้ำมันเชื้อเพลิงจะช่วยระบายความร้อนให้แก่มอเตอร์และทำให้น้ำมันเชื้อเพลิง มีอุณหภูมิสูงขึ้นจึงเผาไหม้ได้ง่ายแต่มีข้อเสียคือจะมีเสียงดังในการทำงานเนื่องจากลูกกลิ้งต้องเสียดสีกับ เสื้อปั๊ม

  25. ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบ MPIปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในระบบMPI (มิตซูบิซิ) นี้จะเป็นแบบใบพัด ซึ่งเหมือนกับในระบบ TCCS (โตโยต้า)แบบนี้ในขณะทำงานจะมีเสียงดังน้อยกว่าปั๊มแบบกลูกกลิ้งเพราะจานใบพัด (Impeller) ไม่ต้องเสียดสีกับเสื้อปั๊ม (Casing)  ดูในรูปที่ 2.1วามดันสูงไหลผ่านมอเตอร์และ ลิ้นกันกลับออกไปทางช่องน้ำมันออก (Outlet Port) หลักการทำงานเนื่องจากแกนแม่เหล็กและเข็มนมหนูติดกัน เมื่อขดลวดหัวฉีดได้รับสัญญาณจากกล่อง ECU แกนแม่เหล็กจะยกเข็มนมหนูขึ้นให้เบนซินฉีดออก ปริมาตรการฉีดเบนซินควบคุมโดยระยะเวลาของสัญญาณ เพราะว่าระยะเคลื่อนที่ตัวของเข็มนมหนูคงที่ การฉีดจะมี่อยู่ตลอดเวลาไปตราบเท่าที่เข็มนมหนูเปิดขึ้น หัวฉีดหลักประจำสูบในระบบ ECCS หัวฉีดประจำสูบที่ใช้ในระบบ ECCS (นิสสัน)จะถูกติดตั้งอยู่ที่ฝาสูบบริเวณช่องทางเข้าของไอดี ที่ปลายของหัวฉีดจะมีลักษณะเป็นรู เมื่อมีสัญญาณพัลส์ที่ส่งมาจากคอมพิวเตอร์ไปกระตุ้นให้ขดลวดแม่เหล็กดึงให้ พลันเยอร์เคลื่อนตัวถอยหลัง ทำให้เข็มฉีดเปิดให้น้ำมันเชื้อเพลิงผ่านเข้าไปในท่อร่วมไอดีด้วย ระยะที่เข็มหัวฉีดถูกยกขึ้นจะคงที่ แต่แรงดันเชื้อเพลิงที่เข็มหัวฉีดจะแตกต่างกัน ดังนั้นปริมาณการจ่ายเชื้อเพลิงจะถูกควบคุมด้วยการเปลี่ยนแปลงของช่วงระยะ เวลาของการยกเข็มหัวฉีดเท่านั้น จึงทำให้กระแสไฟฟ้าที่ส่งมายังหัวฉีดนั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากสาเหตุนี้คอมพิวเตอร์จึงจะต้องควบคุมแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ส่งมายังหัวฉีด เชื้อเพลิงที่เหมาะสม ในรูปที่ 2.5 แสดงภาพตัดแสดงส่วนประกอบการภายในและตำแหน่งติดตั้งของหัวฉีด

  26. ระบบฉีดเชื้อเพลิงดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ระบบฉีดเชื้อเพลิงดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์ดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องยนต์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยการนำเอาคอมพิวเตอร์มาควบคุมระบบเชื้อเพลิงแบบคอมมอนเรล(Common Rail)หรือC.D.I(Common Rail Direct Injection) ซึ่งเป็นระบบแรงดันเชื้อเพลิงที่สูงทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และช่วยลดมลพิษทางไอเสีย คอมมอลเรล(Common Rail) เป็นชื่อเรียกของระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งCommon แปลว่า ร่วม และ Rail แปลว่า ราง ซึ่งเมื่อนำความหมาย2คำมารวมกันก็คือ รางน้ำมันร่วม ซึ่งคอมมอนเรลมีลักษณะเป็นรางน้ำมันยาวๆ โดยเป็นตัวเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแรงดันสูงภายในระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

  27. ส่วนประกอบของระบบฉีดเชื้อเพลิงดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้ 1.ปั๊มจายเชื้อเพลิง (Fuel Supply) ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงถึง1377กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรไปยังท่อร่วมภายในปั๊มจะประกอบด้วยลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์กลางวงแหวนลูกเบี้ยว ปั๊มแรงดันต่ำ ซึ่งทำหน้าที่จ่ายเชื้อเพลิงไปยังพลันเยอร์ทั้งสองตัว ลิ้นควบคุมการดูดเชื้อเพลิง (SCV) และเซนเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำมันเชื้อเพลิง พลันเยอร์ทั้งสองตัวที่อยู่ในปั๊ม จะติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกัน โดยมันจะทำงานตรงข้ามกัน คือ พลันเยอร์ตัวหนึ่งตัวใดจะอยู่ในตำแหน่งจ่ายพลันเยอร์อีกตัวก็จะอยู่ในตำแหน่งดูด

  28. 2.ท่อร่วม (Common Rail) ทำหน้าที่รักษาแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงในท่อให้มีแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงในท่อให้มีแรงดันสูงประมาณ1377กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร ทำจากโลหะเหล็กหล่อทนแรงดันสูง -ลิ้นระบายแรงดัน (Pressure Discharge Valve) ทำหน้าที่ ควบคุมแรงดันเชื้อเพลิงและปริมาณการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายในท่อร่วมให้คงที่

  29. -ลิ้นควบคุมแรงดัน (Fuel Discharge Sensor) ทำหน้าที่ ควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงภายในท่อร่วมและส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องยนต์ -เซนเซอร์แรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง (Pressure limiter) เป็นลิ้นนิรภัยกลไกจะทำหน้าที่ลดแรงดัน กรณีน้ำมันในท่อร่วมสูงเกินปกติจะส่งกลับไปยังถังน้ำมันเชื้อเพลิง

  30. 3.หัวฉีด (Injection) หัวฉีดของเครื่องยนต์ดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ต่างจากหัวฉีดของเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไป คือจะมีลูกสูบและลิ้นโซลีนอยด์ ซึ่งทำหน้าที่เปิดลิ้นตามการเปิดของเข็มหัวฉีด โดยมันจะทำงานเมื่อได้รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า125v จากคอมพิวเตอร์หรือ EDU เพื่อเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าจากEDUจ่ายเข้าขดลวดโซลีนอยด์ จะกำเนิดอำนาจแม่เหล็กดูดให้ลิ้นโซลีนอยด์ยกขึ้นน้ำมันเชื้อเพลิงที่รออยู่ที่เข็มหัวฉีดบริเวณด้านล่างของลูกสูบ แรงดันน้ำมันจะดันให้ลูกสูบและเข็มหัวฉีดยกขึ้นเปิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ภายในห้องควบคุมฉีดระบายออกไป

  31. 4.เซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง (Accelerator Podal Position Sensor) เป็นเซนเซอร์ที่ทำงานโดยการเปลี่ยนแปลงมุมกดขาคันเร่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังคอมพิวเตอร์ 5.เซนเซอร์วัดมุมเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshalf Position Sensor) ทำหน้าที่ตรวจจับและส่งสัญญาณมุมเพลาข้อเหวี่ยง 6.เซนเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว (Camshaft Position Sensor) ทำหน้าที่ตรวจจับและส่งสัญญาณมุมเพลาลูกเบี้ยว

  32. ซึ่งหลักการจะเริ่มจากปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง โดยจะดูดน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านกรองน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านไปยังตัว SCV หรือตัวควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะเข้าสู่ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง โดยที่ปั๊มน้ำมันจะดูดและส่งผ่านไปยังตัวรางน้ำมันคอมมอนเรลแล้วน้ำมันเชื้อเพลิงก็จะไปคอยอยู่ที่หลังหัวฉีด จากนั้น กล่อง ECU จะสั่งการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยที่รับข้อมูลมาจากเซ็นเตอร์ตรวจจับตามจุดต่างๆ เช่น อุณหภูมิ น้ำอากาศ ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง เป็นต้น จากนั้นกล่อง ECU ก็ส่งสัญญาณผ่านไปยังตัว EDU เพื่อทำการสั่งการยกหัวฉีด จากนั้นหัวฉีดโซลินอยล์ก็ฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยละอองเพื่อใช้ในการสันดาปของเครื่องยนต์ต่อไป โดยจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงไปตรงๆที่บนหัวลูกสูบ ซึ่งห้องเผาไหม้เล็กๆอยู่ที่หัวลูกสูบ

  33. จบการนำเสนอ โดย นายเจริญศักดิ์ พยัคฆา รหัส 62822 เลขที่8

More Related