1 / 24

การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม

การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม หรือ ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest). ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมาย ป.ป.ช.

Download Presentation

การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม หรือ ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ

  2. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมาย ป.ป.ช. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 และมาตรา 101 ได้กำหนดห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สัญญาหรือได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี (2) เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือ ดำเนินคดี

  3. (3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว (4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทนพนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น

  4. โดยให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าวเป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงให้นำมาใช้บังคับการดำเนินกิจการของผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีโดยอนุโลม เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำซึ่งเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม อันจะไปสู่การกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการดังกล่าวให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ประกาศกำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดและหากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 122 ซึ่งได้มีประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในบทบัญญัติดังกล่าว เพียงสองตำแหน่ง คือ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี

  5. ความหมายของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) : การเป็นปฏิปักษ์อันมิอาจลงรอยกันได้ ระหว่างหน้าที่กับผลประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่แห่งความเชื่อถือและไว้วางใจของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ : สถานการณ์ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะมีผลประโยชน์ส่วนตัวอันเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือการใช้อิทธิพลทางการเมือง : ความไม่สอดคล้องกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ของบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่สาธารณะ

  6. ตำแหน่งสาธารณะ (public office) หมายถึง บุคคลหรือองค์กรทางปกครอง ซึ่งมีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม และไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัว ในสายตาของชาวตะวันตกมองว่าการมีผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นรากเหง้าของการใช้อำนาจโดยมิชอบของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ส่วนตนซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผลประโยชน์ส่วนตนของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐหรือหน่วยงานที่สังกัด ถ้าหากไม่มีกลไกในการเปิดเผยป้องกันการปกปิดซ่อนเร้นก็จะทำให้ผลประโยชน์ส่วนตนเข้าไปแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่และเกิดการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตนในที่สุด องค์ประกอบในการควบคุมการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่สำคัญคือให้มีกลไกในการเปิดเผยการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ต้องระบุให้ชัดเจนว่าผลประโยชน์ส่วนตนลักษณะใดที่ขัดกันกับการตัดสินใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนรวม และมีการจัดทำขั้นตอนที่จะแยกการมีผลประโยชน์ส่วนตนออกไปจากกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนรวม มีกรอบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ มีการควบคุมดูแลโดยองค์กรภาคประชาสังคม ให้ประชาชนมีสิทธิในการถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐและมีสื่อที่มีความเป็นอิสระในการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยมิชอบ

  7. จริยธรรมส่วนตัวและจริยธรรมสาธารณะจริยธรรมส่วนตัวและจริยธรรมสาธารณะ (private and public ethics) ผู้ได้รับมอบหมายด้วยความเชื่อถือ และความไว้วางใจจากบุคคลอื่นนอกจากต้องยึดมั่นในหลักศีลธรรมว่าด้วยความซื่อสัตย์แล้ว จะต้องคำนึงถึงมาตรฐานแห่งความประพฤติ (standard of behaviour) ด้วย จริยธรรมส่วนบุคคล ประเมินจากความประพฤติของบุคคลแต่ละคน โดยประเมินจากระดับศีลธรรมภายในจิตใจ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ปรากฏภายนอก จริยธรรมสาธารณะ ประเมินจากความประพฤติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน หรือองค์กรที่บุคคลนั้นสังกัดอยู่ โดยถือความสุจริตของสถาบัน หรือองค์กรนั้นอันเป็นส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนบุคคล

  8. การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวแม้ได้รับการคุ้มครองตามหลักเสรีภาพของปัจเจกบุคคล แต่การแสวงหาประโยชน์ส่วนบุคคล อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการพิจารณาหรือใช้ดุลพินิจของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ จึงต้องขยายขอบเขตความซื่อสัตย์ของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะให้ปลอดจากอิทธิพล หรือสิ่งล่อใจอันไม่เหมาะสม เพื่อปกป้องการตัดสินใจของบุคคลเหล่านั้นให้มีความเป็นอิสระ และไม่มีส่วนได้เสีย อันเป็นการป้องกันความลับของทางราชการ การรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศและความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

  9. กล่าวโดยสรุปการขัดกันแห่งผลประโยชน์มีวัตถุประสงค์เพื่อกล่าวโดยสรุปการขัดกันแห่งผลประโยชน์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ควบคุมและลดความเสี่ยงของอิทธิพล หรือแรงจูงใจ โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ 2. ป้องกันความเสียหายอันเกิดขึ้นในกระบวนการตัดสินใจของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ ให้มีความเป็นอิสระ และเป็นธรรมมากที่สุด การขัดกันแห่งผลประโยชน์ จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคล ซึ่งอาจละเมิดต่อจริยธรรม และกฎหมายเนื่องจากผลประโยชน์ระดับรอง ได้เข้าแทรกแซงการใช้ดุลพินิจ หรือกระบวนการตัดสินใจ ทำให้ผู้พิจารณาต้องละทิ้งคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่สาธารณะ อันทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของสถาบันหรือองค์กร ซึ่งเป็นผลประโยชน์หลัก

  10. การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมที่เกิดขึ้นอยู่เสมอการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ • การที่เจ้าหน้าที่รัฐออกนโยบาย หรือตรากฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง แม้ว่าประโยชน์ที่ได้รับจะเป็นประโยชน์ทางด้านการเงินหรือไม่ก็ตาม • การที่เจ้าหน้าที่รัฐดำรงตำแหน่งหรือทำหน้าที่ที่มีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดภาวะผลประโยชน์ทับซ้อน • การที่เจ้าหน้าที่รัฐรับเงิน สิ่งของ หรือบริการ ซึ่งอาจส่งผลเป็นการตอบแทนแก่ผู้ให้ในอนาคต • การที่เจ้าหน้าที่รัฐทำงานให้กับบริษัทเอกชนหรือมีตำแหน่งอยู่ในบริษัทเอกชนซึ่งการดำเนินธุรกิจของบริษัทเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายที่ออกโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือองค์กรของเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว • การที่เจ้าหน้าที่รัฐประกอบอาชีพอื่นพร้อมกับการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการขัดกันของผลประโยชน์ได้

  11. ประเด็นที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษหลายๆ ประเทศกำลังประสบปัญหากับการจัดการกับการมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดจากการให้เงินสนับสนุนทางการเมืองและการใช้จ่ายเงินในการหาเสียง องค์ประกอบในการควบคุมการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่สำคัญคือให้มีกลไกในการเปิดเผยการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ต้องระบุให้ชัดเจนว่าผลประโยชน์ส่วนตนลักษณะใดที่ขัดกันกับการตัดสินใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนรวม และมีการจัดทำขั้นตอนที่จะแยกการมีผลประโยชน์ส่วนตนออกไปจากกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนรวม มีกรอบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ มีการควบคุมดูแลโดยองค์กรภาคประชาสังคม ให้ประชาชนมีสิทธิในการถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐและมีสื่อที่มีความเป็นอิสระในการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยมิชอบ

  12. ข้อกำหนด/กฎระเบียบเพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ควรพิจารณาให้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย • การเปิดเผยแหล่งที่มาของรายได้/การดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในบริษัททั้งที่ แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร • ให้มีการแจ้งผลประโยชน์ทางด้านการเงิน (การลงทุนต่าง ๆ การถือหุ้น รวมถึงการลงทุนของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งได้กระทำไปในนามของผู้อื่น) • การแจ้งหรือเปิดเผยการขัดกันของผลประโยชน์ในทันทีเมื่อเกิดขึ้น • การให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องแจ้งข้อมูลการลงทุนของตนอย่างสม่ำเสมอ • ข้อจำกัดในการทำงานหลังจากพ้นตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำทุจริต

  13. การทำงานอื่นของเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับการอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงาน ก่อนที่จะรับงานอื่นที่มีค่าตอบแทนได้ ในกรณีที่งานอื่นเป็นงานที่ไม่มี ค่าตอบแทนการรับงานดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดการขัดกันของผลประโยชน์ • ข้อจำกัดในการทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสที่พ้นจากตำแหน่งแล้วเพื่อป้องกัน กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐขณะอยู่ในตำแหน่งเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนโดยหวังว่าจะได้ทำงานในภาคเอกชนนั้น ๆ หลังจากพ้นตำแหน่งหน้าที่ • กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มี ผลประโยชน์ทับซ้อน

  14. ความหมายของการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามคำวินิจฉัยของศาลความหมายของการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามคำวินิจฉัยของศาล คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2551 วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 269 มีเจตนารมณ์ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องแจ้งความประสงค์ในการรับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นผู้ถือหุ้นต่อประธาน ป.ป.ช. เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะกับการประกอบธุรกิจส่วนตนและครอบครัว อันเป็นการควบคุมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมาตรา 269 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็น ผู้แจ้ง และความในวรรคสามที่ให้นำบทบัญญัติมาตรานี้มาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้น หมายถึงบทบัญญัติในเรื่องการเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นผู้ถือหุ้นที่อยู่ในเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องแจ้งความประสงค์รับประโยชน์ต่อประธาน ป.ป.ช. เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงหน้าที่ในการแจ้งความประสงค์ด้วย เพราะกฎหมายมิได้ควบคุมคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เนื่องจากไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

  15. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 10/2551 วันที่ 22 กรกฎาคม 2551 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ป้องกันมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทยมีการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรากฎหมาย รวมทั้งควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 265 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติข้อห้ามไว้อย่างชัดเจนว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น... และไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ...

  16. มีปัญหาต้องพิจารณาต่อไปว่า ข้อยกเว้นในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารับหรือดำรงตำแหน่งกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคสอง มีความหมายและขอบเขตอย่างไรนั้น เห็นว่าเมื่อคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงถ้อยคำของข้อยกเว้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 265 วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่มาก่อนหน้า กล่าวคือ ยกเว้นการรับหรือดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งในราชการฝ่ายนิติบัญญัติโดยแท้แล้ว ก็ควรจะแปลความคำว่า “ราชการแผ่นดิน” ในมาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องหรือสอดรับกับจุดประสงค์ของถ้อยคำในตัวบทบัญญัติที่มาก่อนว่า ราชการแผ่นดินในที่นี้หมายถึงราชการบริหารในฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารไปดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ หรือในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำให้ผู้ควบคุมและผู้ถูกควบคุมเป็นบุคคลคนเดียวกัน

  17. อันจะทำให้เป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งหากได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีแล้ว จึงได้รับการยกเว้น ให้ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารในการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารได้ ดังนั้น จึงเห็นว่าการแต่งตั้งให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสมาชิกของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นกรรมการในหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือกำกับดูแลของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์แห่งการบริหารราชการของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งมิได้เป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ จึงอยู่ในความหมายและขอบเขตของการเป็นกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งได้รับการยกเว้นให้กระทำได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 265 วรรคสอง

  18. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12 – 13/2551 วันที่ 9 กันยายน 2551 พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ซึ่งบัญญัติห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นลูกจ้างของบุคคลใดเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นไปโดยชอบ ป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์อันจะก่อให้เกิดสถานการณ์ขาดจริยธรรมซึ่งยากต่อการตัดสินใจ ทำให้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์สาธารณะ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์สาธารณะ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่จึงขัดกันในลักษณะที่ประโยชน์ส่วนตัวจะได้มาจากการเสียไปซึ่งประโยชน์สาธารณะ

  19. ข้อเท็จจริงได้ความจากการไต่สวนผู้ถูกร้องว่า หลังจากผู้ถูกร้องเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ผู้ถูกร้องยังคงเป็นพิธีกรในรายการ “ชิมไป บ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ให้แก่ บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เมื่อพิเคราะห์ถึงลักษณะกิจการงานที่ บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ได้กระทำร่วมกันกับผู้ถูกร้องมาโดยตลอดเป็นเวลาหลายปี โดย บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ทำเพื่อมุ่งค้าหากำไร มิใช่เพื่อการกุศลสาธารณะ และผู้ถูกร้องก็ได้รับค่าตอบแทนอย่างสมฐานะและภารกิจ เมื่อได้กระทำในระหว่างที่ผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการกระทำและนิติสัมพันธ์ที่อยู่ในขอบข่ายที่ มาตรา 267 ประสงค์จะป้องปรามเพื่อมิให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับภาคธุรกิจเอกชนแล้ว

  20. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2544 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 เห็นว่า รัฐธรรมนูญ (2540) มาตรา 208 มีเจตนารมณ์ที่จะป้องกันมิให้มีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ของส่วนบุคคล โดยปิดกั้นมิให้รัฐมนตรีอาศัยอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ตนมีส่วนได้เสีย หรือที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่อีกทั้งเพื่อให้รัฐมนตรีอุทิศเวลาและทุ่มเทกำลังให้กับการบริหารราชการแผ่นดิน อันเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐธรรมนูญมอบหมายอย่างเต็มที่ ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้ จึงต้องเป็นนิติบุคคลที่ประกอบการหรือมีการดำเนินการอยู่ตามปกติอันอาจจะนำไปสู่การขัดกันของผลประโยชน์ หรือทำให้รัฐมนตรีต้องแบ่งเวลาจากการบริหารราชการแผ่นดินมาให้ มิใช่นิติบุคคลที่เลิกกิจการ หรือไม่ได้ประกอบกิจการใดๆ แล้ว

  21. คำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2550 วันที่ 17 กันยายน 2551 เห็นว่า บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มีเจตนารมณ์เพื่อป้องปรามการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้แสวงหาประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของตน เพราะการปฏิบัติหน้าที่หรือวินิจฉัยสั่งการหรืออำนาจที่ตนมีอยู่เหนือหน่วยงานของรัฐ อาจส่งผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อการใช้ดุลพินิจหรือการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ อันจะก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของตนกับผลประโยชน์ของรัฐ หรือก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้

  22. ทั้งเมื่อพิเคราะห์ถึงว่าผู้เข้าประมูลซื้อที่ดินแข่งกับจำเลยที่ 2 ทั้งสองรายเป็นบริษัทประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ต่างก็รู้ว่ากำลังเสนอราคาประมูลแข่งกับภริยานายกรัฐมนตรี น่าเชื่อว่าผู้เข้าประมูลซื้อทั้งสองรายย่อมต้องรู้ว่าไม่สมควรที่จะชนะการประมูลในครั้งนี้ ผลการประมูลจึงออกมาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด ดังนั้นจึงเป็นที่เห็นได้ว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไม่สามารถขายที่ดินตามฟ้องทั้งสี่แปลงโดยการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไม่ได้รับประโยชน์จากการขายที่ดินทั้งสี่แปลงได้เท่าที่ควร กรณีจึงเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมโดยชัดแจ้ง การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินดังกล่าว เป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนบุคคลขัดแย้งกับผลประโยชน์ส่วนรวมซึ่งต้องห้ามมิให้กระทำตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

  23. ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มีเจตนารมณ์สำคัญในการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้โอกาสจากการมีอำนาจในตำแหน่งที่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากหน่วยงานของรัฐที่ตนกำกับ ดูแล หรือควบคุม อันอาจจะทำให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของตนกับผลประโยชน์ของรัฐ โดยเมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แล้วจะเห็นได้ว่า เป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 100 (1) ถึง (4) โดยบทบัญญัติดังกล่าวให้ถือว่าการกระทำของคู่สมรสเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง

  24. สวัสดี

More Related