1 / 30

การประกันคุณภาพภายใน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558)

การประกันคุณภาพภายใน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558). ดวงปาน สวงรัมย์ ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. ความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพกายใน กับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558).

selma
Download Presentation

การประกันคุณภาพภายใน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประกันคุณภาพภายในเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ดวงปาน สวงรัมย์ ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

  2. ความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพกายใน กับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) พระราชบัญญัติการศึกษา (เป้าหมาย ม.6 ม.24 ม.39 ม.48) การประกันคุณภาพภายใน (กฎกระทรวงศึกษา ฯ) การประเมินคุณภาพภายใน (กฎกระทรวงศึกษา ฯ) การประเมินคุณภาพภายนอก

  3. กฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๒ เมษายน ๒๕๕๓ ๑ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒ การอาชีวศึกษา ๓ การอุดมศึกษา หมวด ๑ บททั่วไป ๓ หมวด หมวด ๒ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา หมวด ๓ การประกันคุณภาพภายนอก

  4. กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๓ ข้อ ๑๔ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการดำเนินการ ดังนี้ ๑. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ๒. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ๓. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ ๔. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ๕. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ๖. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ๗. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ๘. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

  5. ข้อ ๑๕ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตาม ข้อ ๑๔(๑) ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด และต้องครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้ง คำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่นด้วย

  6. ข้อ ๑๖ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ตามข้อ ๑๔(๒) ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑ ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา อย่างเป็นระบบ ๒ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและความสำเร็จของ การพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ๓ กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา ผลงานวิจัย หรือข้อมูล เชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาคุณภาพและการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่มาตรฐานการศึกษา ที่กำหนดไว้

  7. กำหนดแหล่งวิทยากรภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ ๕ กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษา และผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ๖ กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครองและองค์กรชุมชน ๗ กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ๘ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

  8. ข้อ ๑๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และแจ้งผลให้สถานศึกษาทราบ รวมทั้งเปิดเผยต่อสาธารณชน

  9. ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ผลการประเมินคุณภาพภายนอก แสดงว่า ผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ให้สำนักงาน แจ้งเป็นหนังสือพร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแก่หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษานั้น และให้สถานศึกษานั้นปรับปรุงแก้ไข โดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและดำเนินการตามแผน เพื่อขอรับการประเมินใหม่ภายในสองปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งผลการประเมิน ครั้งแรก ให้สถานศึกษาเสนอแผนพัฒนาคุณภาพต่อสำนักงานเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน ตามวรรคหนึ่ง

  10. การประกันคุณภาพภายนอก (หมวด ๓) ข้อ ๓๘ ในการประกันคุณภาพภายนอก ให้สำนักงานทำการประเมิน คุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ให้ครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่องต่อไปนี้ • มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา (ตบช. ๑ , ๒, ๓, ๔, ๕, ๙, ๑๐, ๑๑) • มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา (ตบช. ๗, ๑๒) • มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (๖) • มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน (๘)

  11. การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้พื้นฐาน (ค่าน้ำหนัก ๘๐ คะแนน) ๑. ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี (๑๐) ๒. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ (๑๐) ๓. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (๑๐) ๔. ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น (๑๐) ๕. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (๒๐)

  12. การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้พื้นฐาน (ค่าน้ำหนัก ๘๐ คะแนน) ๖. ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (๑๐) ๗. ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนา สถานศึกษา (๕) ๘. พัฒนาการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษา และต้นสังกัด (๕)

  13. การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ (ค่าน้ำหนัก ๑๐ คะแนน) ๙. ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา (๕) ๑๐. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา (๕)

  14. การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ๑๑. ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของ สถานศึกษา ๑๒. ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเพื่อให้สอดคล้องกับ แนวทางการปฏิรูปการศึกษา

  15. ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ? : ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนด ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมี และปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดี และมี ความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายในซึ่งเป็นการพัฒนา มาจากรอบแรกและรอบสอง ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ (ค่าน้ำหนักคะแนน ๘๐ คะแนน)

  16. กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ? หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมทั้งความสำเร็จ ตามจุดเน้น และจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ สถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการสถาน ศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด ประกอบด้วย ๒ ตัวบ่งชี้ (ค่าน้ำหนักคะแนน ๑๐ คะแนน)

  17. ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ? หมายถึงตัวบ่งชี้ที่มุ่งประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยสถานศึกษา เป็นผู้กำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อร่วมกัน ชี้แนะ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคม ตามนโยบายของรัฐ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา และปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมและแก้ปัญหาสังคมของ สถานศึกษา เช่น การปฏิรูปการศึกษา การส่งเสริมและสืบสานโครงการตาม พระราชดำริ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมประชาธิปไตย ในสถานศึกษาการป้องกันสิ่งเสพติด การพร้อมรับการเป็นสมาชิก สังคมอาเซียน การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติภัย การแก้ปัญหาความขัดแย้ง การสร้างสังคมสันติสุข และความปรองดอง ฯลฯ โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดและหน่วยงานต้นสังกัดให้การรับรองการกำหนด ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา (ค่าน้ำหนักคะแนน ๑๐ คะแนน)

  18. การรับรองมาตรฐานคุณภาพการรับรองมาตรฐานคุณภาพ การรับรองมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 แนวทาง การประเมินแบบโดดเด่น การรับรองมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑. ให้คะแนนรายตัวบ่งชี้ ๒. คำนวณผลการประเมิน ๓. ตัดสินผลการประเมินคุณภาพภายนอก

  19. การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ๑. การรับรองมาตรฐานระดับตัวบ่งชี้ ๑) มีคะแนนเฉลี่ยรวมตัวบ่งชี้พื้นฐานตั้งแต่ ๔.๐๐ คะแนนขึ้นไป ๒) มีตัวบ่งชี้ย่อยอย่างน้อย ๒๐ ตัวบ่งชี้ ต้องมีคะแนนแต่ละตัวบ่งชี้ ตั้งแต่ ๓.๗๕ คะแนนขึ้นไป ๓) ไม่มีตัวบ่งชี้ใดมีคะแนนต่ำกว่า ๒.๕๑ คะแนน ๒. การรับรองมาตรฐานในภาพรวม ๑) สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับสถานศึกษา ตั้งแต่ ๔.๐๐ คะแนนขึ้นไป ๒) สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับดีขึ้นไป (ตั้งแต่ ๓.๗๕ คะแนนขึ้นไป) ไม่ต่ำกว่า ๓ มาตรฐานใน ๔ มาตรฐาน ๓) สถานศึกษาไม่มีมาตรฐานใดอยู่ในระดับปรับปรุง (น้อยกว่า ๒.๕๑ คะแนน)

  20. การประเมินแบบโดดเด่น : ขอรับการประเมินเพิ่มเติม สถานศึกษาเป็นผู้ขอรับการประเมิน (เป็นสถานศึกษาที่มีผล การประเมินรอบสอง ในภาพรวม ระดับดีมาก) แนวทางการประเมินของสถานศึกษาแบบโดดเด่น ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ แนวทาง “๑ ช่วย ๙” (๑ สถานศึกษา ช่วย ๙ สถานศึกษา)

  21. จำนวนของผู้ประเมินภายนอกที่เข้าประเมินจำนวนของผู้ประเมินภายนอกที่เข้าประเมิน ในแต่ละสถานศึกษา

  22. กระบวนการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษากระบวนการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ประกอบด้วย ๑. การจัดคณะผู้ประเมินภายนอก ๒. การเก็บรวบรวมข้อมูล ๓. ขั้นตอนการประเมิน ระยะเวลาในการประเมิน ระยะเวลาในการประเมิน ๓ วันทำการที่ สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอน

  23. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับ การประเมินภายนอก ทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่เหมาะสม ที่ สมศ. นำเสนอมี 3 วิธีหลัก คือ ๑. การศึกษาจากเอกสาร ๒. การสัมภาษณ์ ๓ การสังเกต

  24. การศึกษาจากเอกสาร แหล่งข้อมูลเอกสาร ได้แก่ รายงานการประเมินตนเอง รายงานประจำปีของสถานศึกษา รายงานการประเมินคุณภาพภายใน รายงานการประชุม รายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับสถานศึกษานั้น ๆ เอกสารที่รายงานเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน เป็นต้น ทั้งนี้อาจรวมถึง ป้ายกระดาน แผนที่ เทปบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ในการศึกษาเอกสารควรมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ คณะผู้ประเมินภายนอกจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเอกสารอย่างระมัดระวังและควรอ่านอย่างมีวิจารณญาณและอย่างมีจิตวิพากษ์และมีการเปรียบเทียบข้อมูล

  25. การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการที่ผู้ประเมินภายนอกดำเนินการสอบถามจากบุคคล ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และบันทึกผลการสัมภาษณ์ บุคคลที่เป็นกลุ่ม เป้าหมาย หมายถึง บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง เป็นต้น แหล่งข้อมูลที่มีจำนวนมาก ผู้ประเมินต้องพิจารณาว่าจะเลือกรูปแบบใดเก็บข้อมูลจากใครจึงจะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด มีหลายรูปแบบ เช่น การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า การสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นต้น

  26. การสังเกต เป็นวิธีเก็บข้อมูลโดยตรงจากปฏิกิริยาทางทางของกลุ่มเป้าหมาย หรือเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น และจด บันทึกไว้โดยไม่มีการสัมภาษณ์ เช่น แหล่งข้อมูลด้านกายภาพของสถานศึกษา หรืออาจเป็นการสังเกตการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เป็นต้น แหล่งข้อมูลประเภทนี้ผู้ประเมิน ฯ สามารถรวบรวมได้ในระยะเวลาอันสั้นในช่วงการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา อาจก่อนเข้า ตรวจเยี่ยม อาจมีการจัดทำแบบสังเกตไว้ล่วงหน้า จะทำให้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตได้รวดเร็วและได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

  27. ขั้นตอนการประเมิน มี ๓ ขั้นตอน ๑. ก่อนการตรวจเยี่ยม ๒ ระหว่างการตรวจเยี่ยม ๓. และหลังการตรวจเยี่ยม

  28. (ร่าง) มาตรฐาน / ตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ มาตรฐาน มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดี และมีสุนทรียภาพ มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุสมผล มาตรฐานที่ ๕ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

  29. (ต่อ) มาตรฐานที่ ๗ สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ ๘ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่าง หลากหลาย มาตรฐานที่ ๙ สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อม และการบริการที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ มาตรฐานที่ ๑๐ สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรฐานที่ ๑๑ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล มาตรฐานที่ ๑๒ สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษา เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

  30. มีอีกมากมายในรายละเอียด ต้องร่วมกันศึกษา และปฏิบัติร่วมกันต่อไป กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สพป.บุรีรัมย์ เขต ๒

More Related