1 / 52

การกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาลของธุรกิจประกันภัย

การกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาลของธุรกิจประกันภัย. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) วันที่ 14 ธันวาคม 2553. คุณยุทธ วรฉัตรธาร อนุกรรมการ ศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ทำไมต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ?.

nubia
Download Presentation

การกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาลของธุรกิจประกันภัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลของธุรกิจประกันภัยการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลของธุรกิจประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) วันที่ 14 ธันวาคม 2553 คุณยุทธ วรฉัตรธาร อนุกรรมการ ศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  2. ทำไมต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี?ทำไมต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี?

  3. ผลการวิจัย : การทุจริตคอรัปชั่นในภาคธุรกิจเอกชนไทย • ฝ่าฝืนกฎระเบียบ 73.23% • ปกปิดข้อเท็จจริง/สร้างข้อมูลเท็จ 10.31% • หลีกเลี่ยงภาษีอากร 7.63% • ยักยอกเงินบริษัท 2.95% • สร้างราคาหุ้น 2.95% • อื่น ๆ 2.93%

  4. พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ : บริษัทในตลาดหุ้นแชมป์ทุจริต

  5. ตัวอย่างลูกเล่นบริษัทจดทะเบียน (บจ.) กรณีที่ 1: ผู้ถือหุ้นใหญ่ใช้เงินส่วนตัวซื้อทรัพย์สินของบริษัท ก. (บจ.) มูลค่า 100 ล้านบาท (ราคาตลาด 50 ล้านบาท และมูลค่า ตามบัญชี 50 ล้านบาท) ทำให้บริษัท ก. มีกำไรเพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท กรณีที่ 2: ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท ก. (มหาชน) (บจ.) ใช้บริษัทส่วนตัวที่ให้ คนอื่นถือหุ้นแทนซื้อทรัพย์สินของบริษัทสูงกว่ามูลค่าตาม บัญชี 10% แต่ต่ำกว่าราคาตลาด 50% กรณีที่ 3: บริษัท ก. (บจ.) ซึ่งถือหุ้นบริษัท ข. 10% ค้ำประกันเงินกู้ให้ บริษัท ข. ในวงเงิน 100 ล้านบาท

  6. Why Business Fail? • Neglect 2.80% • Fraud 1.20% • Disaster 1.40% • Reason unknown 7.10% • Inexperience and incompetence 87.50%

  7. 1. บริหารผิดพลาด ไม่เอาใจใส่ ขาดประสบการณ์และความสามารถ หน้าใหญ่ ตามแห่ ไม่รอบคอบ ตามไม่ทัน 2. รั่วไหลโกงกิน ระบบการควบคุมไม่ดี มีการโกง เอาเปรียบบริษัท 3. ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การลอกเลียนแบบสินค้า การทำบัญชีปลอมแปลง การหลีกเลี่ยงภาษี การประกอบธุรกิจที่ไม่มีใบอนุญาต สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจขาดทุนหรือล้มเหลว

  8. ความหมายของ CG CG = Corporate Governance CG = การกำกับดูแลกิจการ หรือ บรรษัทภิบาล GCG = Good Corporate Governance GCG = การกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ บรรษัทภิบาลที่ดี หรือ ธรรมาภิบาล

  9. โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ ผู้ถือหุ้น แต่งตั้ง & ประเมินผลงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม CorporateGovernance รับผิดชอบ คณะกรรมการ แต่งตั้ง & กำกับดูแล ฝ่ายจัดการ

  10. การกำกับดูแลกิจการคืออะไร?การกำกับดูแลกิจการคืออะไร? OECD : ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่นของบริษัท โดยให้มีโครงสร้างที่ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัท และให้มีวิธีต่างๆ ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น รวมถึงสอดส่องดูแลผลปฏิบัติงานของบริษัท SET : ระบบที่จัดให้มี โครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ ระหว่าง คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันนำไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นประกอบ

  11. ผู้มีส่วนได้เสียมีใครบ้าง?ผู้มีส่วนได้เสียมีใครบ้าง? • พนักงาน • ลูกค้า • คู่ค้า • เจ้าหนี้เงินกู้ • ผู้ถือหุ้น • ชุมชน / สังคม • ภาครัฐ • คู่แข่งขัน • อื่นๆ

  12. กรอบและกระบวนการกำกับดูแลกิจการกรอบและกระบวนการกำกับดูแลกิจการ • กำหนดโครงสร้างหรือองค์ประกอบคณะกรรมการ • ขนาด • คุณสมบัติ • ความเป็นอิสระ • การคานอำนาจ • สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการ • กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ • สรรหาและแต่งตั้ง CEO (อาจรวมผู้บริหารระดับสูงอื่นๆ) • กำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ • ร่วมกันกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ธุรกิจ • กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และวางแผนธุรกิจ • กำหนดและพิจารณางบประมาณ

  13. กรอบและกระบวนการกำกับดูแลกิจการ (ต่อ) • กำกับดูแลและติดตามผลการบริหารกิจการของฝ่ายบริหาร • กำกับดูแลให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี เหมาะสม และเพียงพอ • กำกับดูแลให้มีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี เหมาะสม และเพียงพอ • กำกับดูแลให้มีรายงานทางการเงินที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ เชื่อถือได้ • กำกับดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอและโปร่งใส • กำกับดูแลให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ • กำกับดูแล และติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ • พิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมแก่กรรมการและผู้บริหาร

  14. กระบวนการบริหารจัดการธุรกิจกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจ • ศึกษาและกำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ • กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย • วางแผนธุรกิจ • จัดทำงบประมาณ • บริหารให้เป็นตามแผนและเป้าหมาย • บริหารการตลาด • บริหารการเงิน • บริหารบุคลากร • บริหารการลงทุน • สร้างระบบงานและระบบการควบคุมภายใน • สร้างระบบการตรวจสอบภายใน • สร้างระบบรายงานทางการเงินและรายงานเพื่อการบริหารจัดการ • สร้างระบบบริหารความเสี่ยง

  15. กำกับดูแลและบริหารกิจการกันอย่างไร?กำกับดูแลและบริหารกิจการกันอย่างไร? การกำกับดูแลโดยคณะกรรมการ • คัดเลือก แต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหาร • พิจารณาและกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ธุรกิจ • พิจารณาและอนุมัติแผนธุรกิจและงบประมาณ • กำกับ ดูแล ติดตาม ผลการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร • กำกับดูแลให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีและเหมาะสม • กำกับดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีและเหมาะสม บริหารจัดการโดยคณะผู้บริหาร • ศึกษาและเสนอทิศทางและกลยุทธ์ธุรกิจ • เสนอแผนธุรกิจและงบประมาณ • บริหารธุรกิจตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติ • สร้างหรือจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีและเหมาะสม • สร้างหรือจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีและเหมาะสม

  16. กำกับดูแลและบริหารกิจการกันอย่างไร? (ต่อ) การกำกับดูแลโดยคณะกรรมการ • กำกับดูแลให้มีรายงานทางการเงินที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เชื่อถือได้ • กำกับดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ โปร่งใส • กำกับดูแลให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร • กำกับดูแลและติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและจรรยาบรรณธุรกิจ บริหารจัดการโดยคณะผู้บริหาร • จัดทำรายงานทางการเงินที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพและเชื่อถือได้ • จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ มีคุณภาพและโปร่งใส • จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร • ปฏิบัติตามนโยบายและจรรยาบรรณธุรกิจ

  17. การกำกับดูแลกิจการไม่ใช่การบริหารจัดการแต่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการไม่ใช่การบริหารจัดการแต่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการ คณะกรรมการ = กำกับดูแล (ปกครองหรือควบคุมดูแลอย่างเอาใจใส่) ฝ่ายบริหาร = บริหารจัดการ (ปกครอง จัดการ สั่งการและควบคุมการดำเนินงาน)

  18. การกำกับดูแลกิจการที่ดีหมายถึงอะไร?การกำกับดูแลกิจการที่ดีหมายถึงอะไร? • การกำกับดูแลกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง รอบคอบ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท หรือ ... • กำกับดูแลกิจการให้มีกำไรโดยปฏิบัติตามกฎหมาย ทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และทำคุณประโยชน์ให้สังคมเมื่อมีโอกาส หรือ ... • กำกับดูแลกิจการตามแนวปฏิบัติภายใต้หลักการของ OECD หรือหลักการที่แนะนำโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ

  19. หลักพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดีหลักพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี • ความซื่อสัตย์ สุจริต และมีคุณธรรม(Integrity) • ความโปร่งใส (Transparency) • ความรับผิดชอบในหน้าที่ (Responsibility) • ความรับผิดชอบต่อผลงาน (Accountability) จิตสำนึก จิตสำนึก และจิตสำนึก

  20. สรุป - การกำกับดูแลกิจการเท่ากับเป็นการกำกับดูแลให้บริหารจัดการ ธุรกิจให้มีกำไรหรือผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมาย (performance) โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎเกณฑ์กติกา (compliance) คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียหรืออย่างมีจริยธรรม - เท่ากับต้องคำนึงถึง economic performance และ social performance

  21. Economic Performance ต้องมีจิตสำนึกคุณภาพ Social Performance ต้องมีจิตสำนึกคุณธรรม

  22. ตัวอย่างจิตสำนึกคุณภาพตัวอย่างจิตสำนึกคุณภาพ บริษัทผลิตรถยนต์ กำหนดระเบียบปฏิบัติไว้ว่า ต้องมีการสุ่มตรวจคุณภาพอย่างน้อย 1% ของชิ้นส่วนการผลิตและทดสอบจนมีความเชื่อมั่น 99.98% แต่พนักงานเห็นว่าต้องเร่งผลิตให้ได้ตามเป้าหมายด้วยเวลาจำกัด จึงสุ่มตรวจเพียง 0.5%

  23. ตัวอย่างจิตสำนึกคุณธรรมตัวอย่างจิตสำนึกคุณธรรม คำประกาศพันธกิจของ Ben & Jerry’s พันธกิจผลิตภัณฑ์ “จะผลิต จำหน่าย และขายไอศครีมธรรมชาติคุณภาพเยี่ยมและใช้ส่วนผสมธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์ รวมทั้งส่งเสริมข้อปฏิบัติทางธุรกิจที่เคารพต่อโลกและสิ่งแวดล้อม” พันธกิจทางสังคม “การดำเนินกิจการของบริษัท จะตระหนักถึงบทบาทความเป็นธรรมต่อสังคมด้วยการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตคนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก”

  24. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม จิตสำนึก จิตสำนึก จิตสำนึก • มีความเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ • ไม่ทุจริตคดโกง • ไม่ฉ้อฉล หลอกลวง • ไม่รับสินบน ไม่ติดสินบน • ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น • ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม • ให้ความช่วยเหลือ และทำคุณประโยชน์ให้ผู้อื่น • การใช้วิจารณญาณเรื่องความถูกผิด ฯลฯ

  25. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตามกฎหมายความรับผิดชอบของคณะกรรมการตามกฎหมาย มาตรา 85 พ.ร.บ. บริษัทมหาชน 2535 – Fiduciary Duty “ ในการดำเนินกิจการของบริษัท กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity) และระมัดระวัง (Duty of Care) รักษาผลประโยชน์ของบริษัท (Duty of Loyalty) ” หลักการ • ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ รอบคอบ • ประโยชน์สูงสุดสำหรับบริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย • ปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานของการได้รับข้อมูลสำคัญของบริษัทอย่างครบถ้วน มาตรา 89/7-8 พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เพิ่มความชัดเจนของการทำหน้าที่ของกรรมการ ดังนี้ • การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและความระมัดระวังหมายความว่าต้องกระทำเยี่ยงวิญญูชนผู้ประกอบธุรกิจเช่นนั้นจะพึงกระทำภายใต้สถานการณ์อย่างเดียวกันคือกรรมการและผู้บริหารต้องตัดสินใจด้วยความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญมีข้อมูลที่เชื่อว่าเพียงพอต่อการตัดสินใจและไม่มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงและทางอ้อมในเรื่องที่ตัดสินใจ • การทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตหมายความว่าทำโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญมีจุดมุ่งหมายโดยชอบและเหมาะสมและไม่กระทำการโดยมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท

  26. สรุป“CG ดีเป็นวัคซีนป้องกันการปฏิบัติอันมิชอบ” (Good CG is vaccine against misconduct) “CG ดีเป็นวัคซีนป้องกันการบริหารผิดพลาด” (Good CG is vaccine against mismanage)

  27. ประโยชน์ของการมี CG ดี • เพิ่มประสิทธิภาพของบริษัทในการจัดการ • มีการกำหนดบทบาทที่ชัดเจนของคณะกรรมการและฝ่ายบริหาร • มีระบบ check and balance อันช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป • คณะกรรมการมีองค์ประกอบทั้งผู้เชี่ยวชาญทางธุรกิจ และผู้มีความเป็นอิสระที่มองผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม • สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงาน • ผู้ลงทุนได้รับทราบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง • ข้อมูลชัดเจนให้ผู้ลงทุนตัดสินได้ • มีกรรมการภายนอกที่เป็นอิสระช่วยพิจารณาการทำรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ • ไม่ใช้ข้อมูลภายในเอาเปรียบคนอื่น (Insider Trading)

  28. ประโยชน์ของการมี CG ดี (ต่อ) • สร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ • ลดความเสี่ยงที่บริษัทจะล่มสลาย • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการทำกำไรในอนาคต • สร้างภาพลักษณ์ที่ดี • เรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสีย • ระดมทุนหรือกู้ยืมเงินได้ง่ายและเร็วขึ้น ด้วยต้นทุนต่ำ • บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืน • สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย • สนับสนุนการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

  29. กรณีที่ 1: จิตสำนึกตัวอย่าง - บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกค้นพบว่า มีสารชนิดหนึ่งที่ผสมในใบยาแล้วทำให้ผู้เสพรู้สึกรสชาติดี สูบแล้วติดง่ายกว่าเดิม - ผู้อำนวยการฝ่ายเคมีชีวภาพ วิจัยแล้วพบว่าสารนี้มีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็งสูง เสนอผู้บริหารระดับสูงให้เลิกใช้สารนี้ - ผู้บริหารมั่นใจว่าใช้สารนี้ทำให้มีโอกาสเพิ่มยอดขายสูงขึ้นมาก ยังต้องการผลิตตามสูตรใหม่นี้ และขู่ไม่ให้ผู้อำนวยการฝ่ายเปิดเผยความลับนี้ หากเปิดเผยจะดำเนินคดีฐานนำความลับไปเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งผิดวินัยและข้อตกลงว่าจ้างตามระเบียบบริษัท • ผู้อำนวยการควรทำอย่างไร?

  30. กรณีที่ 2: ทำให้ลูกค้าหลงผิด นายซื่อสัตย์ทำงานเป็นพนักงานขายในบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเดินทาง จองห้องพักโรงแรม เช่ารถ ลูกค้าส่วนใหญ่จะติดต่อทางโทรศัพท์ หน้าที่หลักของพนักงานขายคือ ดูเที่ยวบิน เวลา ราคาให้ลูกค้าได้ราคาดีที่สุด บริการส่วนนี้ไม่มีปัญหาอะไร ลูกค้าส่วนใหญ่จะให้ช่วยจองโรงแรมและรถเช่าด้วย บริษัทที่ให้บริการทั้งเรื่องหลังมักจัดโปรโมชั่นให้พนักงานของ agency หลาย ๆ แห่งแข่งกันส่งลูกค้า ใครส่งมากมีโอกาสได้จับรางวัลเงินสด หรือให้พักฟรีในรีสอร์ทชั้นดี แต่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปรวมในราคาขาย พนักงานเกือบทั้งหมดของตัวแทนเกือบทุกแห่งนิยมส่งลูกค้าผ่านโปรแกรมดังกล่าว นายซื่อสัตย์เห็นว่า การเข้าร่วมทำให้ลูกค้าซื้อบริการในราคาสูงขึ้น • นายซื่อสัตย์ควรร่วมโปรแกรมหรือไม่?

  31. กรณีที่ 3: ใช้เวลาทำงานไม่ถูกต้อง - นายซื่อตรงเป็นพนักงานประจำหน่วยงานดูแลสวนสาธารณะ ซึ่งมีสถานที่พักผ่อนและออกกำลังกายด้วย - งานหลักนายซื่อตรงคือ การตัดหญ้า ดูแลต้นไม้ในสวนและสนามกีฬา - เจ้าหน้าที่และผู้บริหารหน่วยงานรวมถึงครูฝึกนักกีฬามักใช้ให้นายซื่อตรงไปตัดหญ้าและดูแลสวนที่บ้าน - เสร็จงานทุกครั้งมีการให้ทิป 5 เหรียญ/ครั้ง - ทำมาเป็นปีไม่รู้สึกอะไร จนไปเข้าอบรมหลักสูตรจริยธรรม - จึงรู้สึกทำไม่ถูกที่ใช้เวลาและเครื่องมือของหลวงไปทำประโยชน์ส่วนตัว • นายซื่อตรงควรแก้ปัญหาอย่างไร?

  32. กรณีที่ 4: ให้พนักงานออกไม่เป็นธรรม - นายสมศักดิ์ทำงานเป็นพนักงานใน discountchain store ซึ่งขยายกิจการเร็วมาก - ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาที่จะเปิดใหม่ - ตามโครงการ ต้องเร่งเปิดให้ได้ตามกำหนด - มีงานเตรียมการมากมาย แต่มีพนักงานมือดีมาช่วยอีก 5 คน - ทั้ง 5 คนถูกชักจูงมาร่วมงานจากบริษัทอื่น - สุดท้ายทุกอย่างเสร็จและเปิดทันตามกำหนด - หลังจากเปิดสาขาได้ 1 สัปดาห์ ผู้จัดการให้นายสมศักดิ์เอาคนออก 3 คน โดยให้เหตุผลว่า 2 คนก็เพียงพอแล้ว - นายสมศักดิ์พยายามทัดทาน แต่ไม่สำเร็จ - นายจ้างอ้างว่า 3 คนนี้กลับไปที่เดิมได้อยู่แล้ว • นายจ้างทำถูกหรือไม่? เพราะอะไร?

  33. จรรยาบรรณธุรกิจ : เครื่องมือสร้างบรรษัทภิบาลที่ดี

  34. ความหมาย จริย = ความประพฤติ หรือกิริยาที่ควรประพฤติ ธรรม = คุณความดี จริยธรรม = ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ จรรยา = ความประพฤติ จรรยาบรรณ = ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ แต่ละประเภทกำหนดขึ้น หรือ = แนวประพฤติปฏิบัติที่จัดทำขึ้นเป็น ลายลักษณ์อักษร เช่น จรรยาบรรณวิชาชีพต่าง ๆ

  35. จรรยาบรรณธุรกิจในเชิงปฏิบัติจรรยาบรรณธุรกิจในเชิงปฏิบัติ • จรรยาบรรณ คือ แนวประพฤติปฏิบัติที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษร • นิยามของจรรยาบรรณธุรกิจส่วนใหญ่จะพูดถึงเรื่องกฎเกณฑ์ มาตรฐาน และหลักการทางคุณธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง และความไม่ถูกต้องในสถานการณ์ต่างๆ • จรรยาบรรณธุรกิจ : หลักการและมาตรฐานทางคุณธรรมที่จัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในเป็นแนวประพฤติปฏิบัติในวงการธุรกิจ

  36. สาระสำคัญในจรรยาบรรณ • ปรัชญาหรืออุดมการณ์ในการประกอบธุรกิจ • การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย • แนวปฏิบัติเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน • การป้องกัน ดูแล และการใช้ทรัพย์สิน • การส่งเสริมและบทลงโทษ

  37. แนวปฏิบัติที่ดีของการจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจ • เป็นลายลักษณ์อักษร • ครอบคลุมกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ • มีกลไกในการสื่อสาร • มีกลไกในการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ

  38. ตัวอย่างเนื้อหาจรรยาบรรณตัวอย่างเนื้อหาจรรยาบรรณ • สารจากผู้นำองค์กร • พันธะผูกพันของเราต่อความซื่อตรงสุจริต (Integrity) • จรรยาบรรณเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัย หลักประกัน และสิ่งแวดล้อม • จรรยาบรรณเกี่ยวกับพนักงาน • จรรยาบรรณเกี่ยวกับพันธมิตรธุรกิจ • จรรยาบรรณเกี่ยวกับสังคมและรัฐบาล • จรรยาบรรณเกี่ยวกับทรัพย์สินขององค์กรและความซื่อตรงสุจริตทางการเงิน

  39. จรรยาบรรณเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัย หลักประกัน และสิ่งแวดล้อม • สุขภาพ ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดีในการปฏิบัติงาน • การจัดการผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

  40. จรรยาบรรณเกี่ยวกับพนักงานจรรยาบรรณเกี่ยวกับพนักงาน • การปฏิบัติที่เป็นธรรมและความเสมอภาคของโอกาสการจ้างงาน • การเคารพซึ่งกันและกัน • ความปลอดภัยและการปราศจากการก่อกวนใดๆ ในที่ทำงาน • ความเป็นส่วนตัวและความลับพนักงาน

  41. จรรยาบรรณเกี่ยวกับพันธมิตรธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ • ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ • การรับของขวัญหรือการรับรอง • การแข่งขันทางการค้า • ข้อจำกัดทางการค้า • การควบคุมการส่งออก • การฟอกเงิน • การติดต่อกับคู่ค้า

  42. จรรยาบรรณเกี่ยวกับสังคมและรัฐบาลจรรยาบรรณเกี่ยวกับสังคมและรัฐบาล • การให้สินบนและการทุจริต (Bribery and Corruption) • การติดต่อกับทางการ • ความผูกพันกับสังคม (Community Engagement) • การสื่อสารกับภายนอก • กิจกรรมทางการเมือง

  43. จรรยาบรรณเกี่ยวกับทรัพย์สินขององค์กรและความซื่อตรง สุจริต ทางการเงิน • ความถูกต้องของข้อมูล การบันทึก การรายงาน และบัญชี • การปกปักษ์รักษาทรัพย์สินขององค์กร • ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร • การใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น • การใช้ระบบคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย

  44. จรรยาบรรณและแนวปฏิบัติเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของ GM “คณะกรรมการคาดหวังให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนมีจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลาและยึดมั่นในนโยบายที่กำหนดในเรื่อง “การสร้างชัยชนะด้วยความซื่อตรงสุจริต” (Winning with Integrity) ซึ่งเป็นอุดมการณ์และแนวทางขององค์กรที่ให้พนักงานยึดถือปฏิบัติ คณะกรรมการไม่อนุญาตให้มีการยกเว้นไม่ปฏิบัติตามนโยบาย จรรยาบรรณ ไม่ว่ากรณีใดๆ และไม่ว่ากรรมการหรือผู้บริหารท่านใดก็ตาม ในกรณีที่เกิดหรือมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดความขัดกันทางผลประโยชน์กับกรรมการท่านใด กรรมการท่านนั้นจะต้องรายงานประธานกรรมการ ถ้าเกิดความขัดกันทางผลประโยชน์ขึ้นและไม่สามารถแก้ไขได้ กรรมการท่านนั้นควรลาออกไป ในการอภิปรายเพื่อพิจารณาและตัดสินใจเรื่องใดๆ กรรมการต้องควบคุมตนเองไม่ให้การปฏิบัติหน้าที่นี้ไปส่งผลต่อธุรกิจของตนหรือต่อผลประโยชน์ส่วนตัวของตน”

  45. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ • ความหมายเดียวกับผลประโยชน์ทับซ้อน • หมายถึงการใช้อำนาจหน้าที่การงานเบียดบังเอาผลประโยชน์จากบริษัทหรือสร้างผลประโยชน์ส่วนตัวไปทับซ้อนผลประโยชน์บริษัท ทำให้บริษัทเสียประโยชน์ • ตัวอย่างรายการที่มีโอกาสเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ • การรับงานอื่นนอกบริษัท • การทำงานให้คู่แข่ง • รับเป็นที่ปรึกษาหรือกรรมการในบริษัทอื่น • การลงทุนในกิจการอื่น เช่น คู่แข่ง คู่ค้า ลูกค้า

  46. รายการเกี่ยวโยง : โอกาสเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ • ความขัดแย้งทางผลประโยชน์มักเกิดระหว่างผู้ปฏิบัติหน้าที่กับผู้เกี่ยวโยง ส่วนมากจึงเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน • ความหมายรายการเกี่ยวโยง • บุคคลเกี่ยวโยงและรายการเกี่ยวโยง • ประเภทรายการเกี่ยวโยง • ธุรกิจปกติ • สนับสนุนธุรกิจปกติ • เช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะสั้น • สินทรัพย์หรือบริการ • ช่วยเหลือทางการเงิน • รายการที่ได้รับยกเว้น • แนวปฏิบัติเกี่ยวกับรายการเกี่ยวโยง • มูลค่ารายการ • อำนาจดำเนินการ • การเปิดเผยข้อมูล

  47. ถามตัวเองแล้วคิดก่อนทำถามตัวเองแล้วคิดก่อนทำ Am I honest about everything? Are we doing things fairly? Do I make too much money? หรือ • เรื่องที่กำลังจะทำถูกกฎหมายหรือไม่? • สอดคล้องกับจรรยาบรรณของบริษัทหรือไม่? • สอดคล้องกับคุณค่าองค์กรหรือไม่? • มีความเสี่ยงที่รับไม่ได้หรือไม่? • เป็นไปตามพันธะที่ให้ความเชื่อมั่นต่อผู้อื่นไว้หรือไม่? • คนอื่นคิดอย่างไรกับการกระทำนี้? • ถ้าเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ภาพพจน์ดูเป็นอย่างไร? • รู้สึกว่ามัน “ถูกต้อง” หรือไม่?

  48. ผู้นำ คุณธรรม จริยธรรมและบรรษัทภิบาล True leadership must be for the benefit of the followers, not the enrichment of the leaders.

  49. ผู้นำ คุณธรรม จริยธรรมและบรรษัทภิบาล ความโปร่งใส = อุปนิสัยดี/ไม่ขี้โกง+ตัดสินใจบน พื้นฐานของการสร้างคุณค่าให้ องค์กร+ให้บริการอย่างมีคุณภาพ (หรือเป็นคนของส่วนรวม)

  50. ผู้นำ คุณธรรม จริยธรรมและบรรษัทภิบาล * รวยได้ โดยไม่ต้องโกง * * อยู่อย่างพอเพียง แล้วจะรู้ว่ามีเพียงพอ *

More Related