1 / 54

กรมควบคุมโรค 10 กรกฎาคม 2552

สถานการณ์และยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุม โรคไข้หวัดใหญ่ 2009. กรมควบคุมโรค 10 กรกฎาคม 2552. สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1). 120 ประเทศ. ผู้ป่วย (ณ วันที่ 1 ก.ค. 52) ใน 120 ประเทศ 77,201 ราย เสียชีวิต 332 ราย (ที่มา : WHO). สถานการณ์การรายงานขององค์การอนามัยโลก.

nellie
Download Presentation

กรมควบคุมโรค 10 กรกฎาคม 2552

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานการณ์และยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุมสถานการณ์และยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุม โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 กรมควบคุมโรค 10 กรกฎาคม 2552

  2. สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1)

  3. 120 ประเทศ ผู้ป่วย (ณ วันที่ 1 ก.ค.52) ใน 120 ประเทศ 77,201 ราย เสียชีวิต 332 ราย (ที่มา : WHO)

  4. สถานการณ์การรายงานขององค์การอนามัยโลกสถานการณ์การรายงานขององค์การอนามัยโลก ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 (เวลาไทย) พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จำนวน 116 ประเทศ ผู้ป่วยยืนยันรวม 70,893 ราย เสียชีวิต 311 ราย (คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.44) สถานการณ์รายวัน ติดตามได้จากเว็บไซต์ กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.thหรือ องค์การอนามัยโลก www.who.int

  5. ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (H1N1) 2009 รายจังหวัด(เดือนพฤษภาคม -1 กรกฎาคม 2552) แผนที่แสดงจำนวนผู้ป่วยสะสม

  6. วงจรการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสถานที่ต่างๆวงจรการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสถานที่ต่างๆ บ้าน โรงเรียน นักท่องเที่ยว ค่ายทหาร เรือนจำ สำนักงาน โรงงาน สถานที่สาธารณะ

  7. สรุปสถานการณ์ H1N1 ประเทศไทยอยู่ในระยะเริ่มต้นของการระบาด (1 เดือนเศษ) การระบาดยังมีอีกหลายระลอก ต่อเนื่องไปถึงสิ้นปี พื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดในระยะนี้ ได้แก่ โรงเรียน สถานบันเทิง โรงงาน เรือนจำ ค่ายทหาร และที่ที่มีคนจำนวนมากมารวมกัน มาตรการป้องกันควบคุมโรคที่เข้มแข็งของทุกภาคส่วน จะช่วยให้ระดับความรุนแรงของการระบาดน้อยลง

  8. การติดต่อและอาการของโรคการติดต่อและอาการของโรค เชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ระยะฟักตัว: 1-3 วัน (อาจยาวนานได้ถึง 7 วัน) ช่องทางติดต่อ - โดยการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง - รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ ราวบันได ระยะแพร่เชื้อ: 1 วันก่อนปรากฏอาการ จนถึงวันที่ 7 หลังวันเริ่มป่วย อาการ ใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหากมีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดอักเสบรุนแรง หอบ หายใจลำบาก

  9. เปรียบเทียบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) กับไข้หวัดใหญ่ธรรมดา (ตามฤดูกาล) 17 มิย. 2552

  10. ข้อเปรียบเทียบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่า-ใหม่ A/H1N1

  11. ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A/H1N1 ขึ้นกับ :- 1. การแพร่กระจาย ความรุนแรงของเชื้อไวรัส 2. ความแข็งแรง – อ่อนแอของประชากรในประเทศนั้น ๆ 3. ความสามารถของแต่ละประเทศในการป้องกัน-ดูแลรักษา

  12. จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกและในประเทศไทยในแต่ละปีEstimated number of annual influenza cases – Global vs Thailand 17 มิย. 2552

  13. การตอบสนองต่อสถานการณ์ทั่วโลก (1) องค์การอนามัยโลกเร่งประสานการผลิตวัคซีนป้องกันโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ H1N1 ทั่วโลกมีการเตรียมพร้อม/ปฏิบัติตามแผนงานสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ หลายประเทศออกประกาศแนะนำหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศที่เป็นแหล่งโรค และมีมาตรการคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ มีการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้าประเทศอย่างใกล้ชิด บางแห่งมีการกักกันผู้เดินทางจากพื้นที่ระบาดไว้ที่โรงแรม

  14. การตอบสนองต่อสถานการณ์ทั่วโลก (2) ประกาศหยุดราชการ/ห้ามการชุมนุม ในพื้นที่ระบาด อพยพคนจากพื้นที่ระบาด ลดเที่ยวบินไปยังพื้นที่ระบาด สำรองยาต้านไวรัส (โอเซลทามิเวียร์) แจกจ่ายยา/อุปกรณ์ป้องกันให้ประชาชน จำกัดการนำเข้าสุกร/ผลิตภัณฑ์จากสุกร รวมทั้งบางแห่งทำลายสุกร

  15. นอกประเทศ ในประเทศ Phase 4 Phase 5,6 ; ;

  16. นอกประเทศ ในประเทศ Phase 4 Phase 5,6 ; ; ยุทธศาสตร์ ป้องกัน สกัดกั้น โรคเข้าประเทศ เฝ้าระวังโรคเข้มข้น ค้นหาไว ควบคุมไม่ให้แพร่กระจาย ชะลอการระบาด ช่วยเหลือ บรรเทาความเสียหายและผลกระทบ

  17. การระบาดจะแพร่ต่อไปทุกประเทศ และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal influenza) ในปีต่อๆไป ตามธรรมชาติของไข้หวัดใหญ่ สำหรับประเทศไทย ตามธรรมชาติของโรค การแพร่เชื้อจะขยายต่อไปทั่วประเทศ จะมีผู้ป่วยในโรงเรียน โรงงาน ที่ทำงาน และชุมชน เพิ่มขึ้นเป็นระยะ การระบาดในทุกจังหวัด จะเริ่มในเขตเมือง โดยเฉพาะในโรงเรียน ความรุนแรงของโรค เทียบได้กับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือไข้หวัดใหญ่ธรรมดา (อัตราป่วยตาย 0.1 -1%) ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ( > 95%) หายเองโดยไม่ต้องรักษาใน รพ. ผู้ป่วย 5-10% ควรรักษาใน รพ. ซึ่งส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเช่นโรคปอด หัวใจ หอบหืด หรือหญิงมีครรภ์ ซึ่งโรคอาจรุนแรง ปัญหาสำคัญในขณะนี้คือความตระหนก ซึ่งจะส่งผลกระทบวงกว้าง วิเคราะห์โรคและสถานการณ์ ไข้หวัดใหญ่ H1N1จากข้อมูลล่าสุด 7 ก.ค. 2552

  18. ระยะปัจจุบัน 32 21 14 9 ระยะต่อมา (มิย.) ระยะแรก (ปลายเมย. – พค.) ผู้เดินทางที่ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีไข้ ผ่านเข้าประเทศ 7 ก.ค. 2552

  19. ครม. เห็นชอบ 10 กค. 2550 คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอำนวยการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดนกและ การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ (รองนายกฯ) แผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2553)

  20. นายกรัฐมนตรี ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน คณะกรรมการอำนวยการฯ (รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ/ นานาชาติ WHO US CDC ….… กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) โครงสร้างคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ในปัจจุบัน (รองนรม.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน)

  21. การเตรียมความพร้อมโดย ความร่วมมือพหุภาคี Multi-sector cooperation ภาคเอกชน Private ภาครัฐ Public ภาคบริการพื้นฐาน (Essential services) พลังงาน ไฟฟ้า น้ำประปา ขนส่ง คมนาคม สื่อสาร / IT การเงิน / ธนาคาร รักษาความปลอดภัย 22 Aug 07

  22. การเตรียมพร้อม รับการระบาดใหญ่ ใช้หลายยุทธศาสตร์ ยาต้านไวรัส วัคซีน การดูแลผู้ป่วย อุปกรณ์ป้องกันตัว ด้านการ แพทย์/เวชภัณฑ์ (Medical/Pharma.) ส่งเสริมอนามัยบุคคล จำกัดการเดินทาง แยกกักผู้สัมผัสโรค จำกัดกิจกรรมทางสังคม ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ ด้านสาธารณสุข/สังคม (Non-Pharmaceutical) ด้านเศรษฐกิจและสังคม (Social and economic systems - to keep the society running) รักษาความมั่นคง / กฎหมาย จัดหาอาหารและน้ำดื่ม จ่ายพลังงาน เชื้อเพลิง บริการคมนาคมขนส่ง บริการสื่อสารโทรคมนาคม จัดระบบการเงิน ธนาคาร Source: David Nabarro at APEC-HMM, Sydney 8 June 2007

  23. ระดับกรม เริ่ม มีนาคม 49 ทำแล้วทุกจังหวัด ระดับจังหวัด เมื่อรัฐบาลพร้อม ปฏิทินการ ซ้อมแผนบนโต๊ะ ระดับประเทศ 8 มีค. 50 ระดับกระทรวง เริ่ม กค.. 49

  24. APEC Health Ministers Meeting7-8 June 2007, Sydney ไทยร่วมมือนานาชาติ เตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ • เฝ้าระวังโรคและ แลก • เปลี่ยนข้อมูล สถานการณ์ • ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร • พัฒนาการตรวจชันสูตร • สนับสนุนเวชภัณฑ์ วัสดุ • ร่วมสอบสวนควบคุมโรค • ร่วมมือการซ้อมความพร้อมระดับภูมิภาค เช่นAPEC, ASEAN, MBDS ACMECS ทวิภาคี • ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน: ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ภูมิภาค • ผ่านเวที ASEAN, APEC, ACMECS, ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เป็นต้น นานาชาติ • ผ่านเวที WHO, OIE, FAO, UNICEF เป็นต้น FAO OIE

  25. 2 1 3 เป้าหมายการจัดการปัญหาไข้หวัดใหญ่ H1N1 ชะลอการระบาด ลดจำนวนผู้ป่วยที่มารพ. การระบาดใหญ่ : ไม่ได้ดำเนินมาตรการใด ลดจำนวนผู้ป่วยและผลกระทบด้านสุขภาพ จำนวนผู้ป่วยในแต่ละวัน การระบาดใหญ่ : มีการดำเนินมาตรการ จำนวนวัน นับจากวันที่มีผู้ป่วยรายแรก ที่มา : US CDC

  26. หากทุกฝ่าย ช่วยกัน ป้องกันโรคควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด เป้าหมายการจัดการปัญหาไข้หวัดใหญ่ H1N1 การป้องกันและ ควบคุมโรค ช่วง เมย. – พค. ช่วย ชะลอการระบาดใน ประเทศประมาณ 6 สัปดาห์ จำนวนผู้ป่วยในแต่ละวัน วัน นับตั้งแต่เริ่มมีผู้ป่วยรายแรก หน่วยงานต่างๆ และประชาชน มีโอกาสเตรียมตัว ทุกฝ่ายไม่ตระหนก ประชาชนรู้วิธีป้องกันโรค โรงเรียนและธุรกิจปรับตัวรับได้ มีผลกระทบน้อย 17 มิย. 2552

  27. การตรวจคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ โดยวัดไข้ ได้ผลน้อย และระยะนี้ไม่มีความจำเป็น ไม่ต้องเน้น ยาต้านไวรัสมีจำกัด หากใช้โดยไม่จำเป็นจะขาดแคลน ควรสงวนไว้สำหรับกรณีจำเป็น วัคซีน H1N1 ยังไม่มี วัคซีนสำหรับ Seasonal flu ไม่ป้องกัน H1N1 แต่ช่วยลดภาระไข้หวัดใหญ่โดยรวม มาตรการหลักคือ การส่งเสริมพฤติกรรมอนามัย เน้นการล้างมือ การไอและจามถูกวิธีและใช้หน้ากากอนามัย ซึ่งช่วยลดการแพร่เชื้อและการติดโรคได้มาก มาตรการด้านชุมชนและสังคม ปรับใช้ตามความจำเป็น การปิดโรงเรียนและสถานที่ทำงาน มีประโยชน์น้อยกว่าการให้ผู้ป่วยอยู่บ้าน เครื่องมือป้องกันควบคุมไข้หวัดใหญ่ (1) 15 มิย. 2552

  28. ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งโรคกำลังแพร่กระจายในประเทศ แต่มีความรุนแรงน้อย คล้ายไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ยุทธศาสตร์หลัก คือ สร้างความเข้าใจของประชาชน ลดความตระหนก ชะลอและควบคุมการระบาดให้อยู่ ในระดับจำกัด เพื่อบรรเทาผลกระทบของการระบาด จัดการป้องกันควบคุมไข้หวัดใหญ่โดยภาพรวม ไม่จำเป็นต้องแยกสายพันธุ์ใหม่หรือเก่า เพราะความรุนแรงน้อย และใช้มาตรการป้องกัน ควบคุม รักษา เหมือนกัน ปรับยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (1) 15 มิย. 2552

  29. ปรับยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (1) การเฝ้าระวังโรค • เน้นการค้นหาและสอบสวนการป่วยเป็นกลุ่ม • เก็บตัวอย่างส่งชันสูตรเฉพาะผู้ป่วยบางราย (ตามข้อกำหนด) • การรายงาน • รายงานจำนวนผู้ป่วย H1N1 เป็นตัวเลขรวม ไม่เน้นรายบุคคล • รายงานรายจังหวัด หรือ รายกลุ่มการระบาด • รายงานเปรียบเทียบกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเป็น ครั้งคราว เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง 17 มิย. 2552

  30. ปรับยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (2) การคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ • คง Thermal scanner ไว้ (ไม่เน้น) • หากพบผู้เดินทางที่มีไข้ • ตรวจอุณหภูมิซ้ำ • ถ้าอาการน้อย ให้คำแนะนำ แจกหน้ากากและเจลแอลกอฮอล์ แจก ต. 8 เก็บข้อมูลให้ SRRT ติดตาม • ถ้าอาการมาก Refer เข้า รพ. (น่าจะมีจำนวนน้อยมาก) • (ไม่ควรใช้ quick test ที่ด่าน เพราะต้องใช้ผู้มีทักษะเก็บ ต้องทำโดยมี biosafety ที่เหมาะสมผลตรวจมี false positive / false negative จะตีความได้ไม่ชัดเจนสำหรับการดูแลผู้ป่วยต่อไป) 17 มิย. 2552

  31. ปรับยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (3) การรักษา • แนะนำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ซึ่งอาการน้อย ดูแลตนเองที่บ้าน หากกินยาลดไข้ ให้ใช้พาราเซตามอล • ผู้ป่วยที่มีอาการมาก (เช่น ไข้สูง อาเจียนมาก หอบ หายใจลำบาก อ่อนเพลียมาก) ให้มาพบแพทย์ • แพทย์ให้ยาต้านไวรัสเฉพาะผู้ป่วยอาการมากหรือมีภาวะเสี่ยง และรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงไว้รักษาในโรงพยาบาล 17 มิย. 2552

  32. ปรับยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (4) การป้องกันโรค • เร่งสร้างความเข้าใจ ลดความตระหนก ส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรค โดยประชาชน • คนปกติ ล้างมือบ่อยๆ เลี่ยงที่แออัด • ผู้ป่วย ไอ จาม ใส่ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษทิชชู หรือใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือหลังไอ จาม และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดผู้อื่นระหว่างป่วย • หากมีผู้ป่วยในโรงเรียน โรงงาน สถานที่ทำงาน แนะนำให้ผู้ป่วย หยุดเรียนหรือหยุดงาน เพื่อรักษาและพักผ่อนอยู่บ้านจนหายป่วย หากจะพิจารณาปิดโรงเรียนหรือสถานประกอบการชั่วคราว ควรหารือผู้เกี่ยวข้องและพิจารณาโดยรอบคอบ • สำหรับการระบาดในค่ายทหาร คุก โรงเรียนอยู่ประจำ จัดมาตรการเฉพาะ ดูแลเฉพาะ (แยกผู้ป่วย ทำความสะอาด NPI) 23 มิย. 2552

  33. การรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี

  34. การใช้ยา Oseltamivir ในประเทศต่าง ๆ :- พค.2552 ประเทศที่มี stockpile จะมีโอกาสใช้สูงขึ้น ประเทศญี่ปุ่น ใช้ oseltamivir จำนวนมาก ประเทศในยุโรป ใช้ oseltamivir จำนวนมาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ oseltamivir จำนวนน้อย ประเทศไทย ใช้ oseltamivir จำนวน ?? (แนวโน้มมากเกินความจำเป็น)

  35. แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรืออาจติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A(H1N1) ท่านสามารถสืบค้นฉบับปรับปรุงปัจจุบันได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขwww.moph.go.th หรือ เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th

  36. การให้คำปรึกษาสำหรับทีมแพทย์การให้คำปรึกษาสำหรับทีมแพทย์ • หากมีผู้ป่วยอาการหนักและ มีภาวะแทรกซ้อน โทรขอรับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงสาธารณสุขส่วนกลาง ตลอด 24 ชั่วโมง ตามรายชื่อแพทย์และตารางเวรรับคำปรึกษาที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขwww.moph.go.th หรือ เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th

  37. โรงพยาบาลจะรับมือกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จำนวนมาก อย่างไร ? • จัดช่องทางพิเศษแบบวันสต็อป เซอร์วิส ที่แผนกผู้ป่วยนอก ไม่ปะปนกับผู้ป่วยทั่วไป • จัดหน้ากากอนามัย คำแนะนำ และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้บริการผู้ป่วยและญาติ

  38. แนวทางการป้องกัน และควบคุมโรค

  39. การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์ปฏิบัติการ ทำการทุกวัน ตั้งแต่ 25 เม.ย. 2552 เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรค โดยสถานบริการ สธ., ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วทั่วประเทศและอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน เตรียมพร้อมด้านการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทราบผลตรวจใน 48 ชม. ด้วยเครือข่าย 14 แห่ง และรถตรวจเคลื่อนที่ 6 คัน พร้อมทั้งพันธมิตรทางห้องปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ฝึกอบรมบุคลากรและเตรียมห้องแยกผู้ป่วยในรพ.ทุกแห่ง

  40. สำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เตรียมพร้อมด้วยยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วยกว่า 4 แสนคนและพร้อมเพิ่มปริมาณการผลิต ในกรณีจำเป็นฉุกเฉิน ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อมวลชน เว็บไซต์ call center ตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิที่สนามบินนานาชาติและมีแพทย์ประจำจุดตรวจ พร้อมส่งผู้ป่วยทันทีหากพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ เช่น เฝ้าระวังโรคในสถานศึกษา สายการบิน บริษัททัวร์ โรงแรม การซ้อมแผนทุกภาคส่วนระดับจังหวัด ร่วมกับก.การต่างประเทศชี้แจงข้อมูลและสร้างความมั่นใจให้กับสถานทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ประสานความร่วมมือกับ WHO และ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข

  41. กลุ่มเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคในวงกว้างกลุ่มเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคในวงกว้าง บ้าน โรงเรียน นักท่องเที่ยว ค่ายทหาร เรือนจำ สำนักงาน โรงงาน สถานที่สาธารณะ

  42. หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอล เพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (1)

  43. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (2) • ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม

  44. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (3) • อาการจะค่อยๆทุเลา ดีขึ้นใน 3-5 วัน • หากไม่ดีขึ้น และมีอาการรุนแรงขึ้น คือไข้สูงขึ้น ไอถี่ขึ้น เจ็บหน้าอก หายใจเร็วกว่าเดิม ควรรีบไปพบแพทย์

  45. กลุ่มเสี่ยงที่ต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่กลุ่มเสี่ยงที่ต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ • กลุ่มเสี่ยงที่อาจมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก (น้อยกว่า 5 ปี) หญิงมีครรภ์และผู้มีภาวะอ้วน ควรรีบไป พบแพทย์

  46. คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ (1) • ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ • ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน • เช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำสะอาดที่ไม่เย็น • ให้ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด • พยายามให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง

  47. คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ (2) • ให้นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก • ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ปิดปาก และจมูก เวลาไอหรือ จามด้วยกระดาษทิชชูหรือแขนเสื้อของตนเอง ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ร่วมบ้านหรือร่วมห้อง (หากเป็นไปได้ ควรให้ผู้ป่วยนอนแยกห้อง) รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หรือใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น • หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น คือไข้สูงขึ้น ไอถี่ขึ้น เจ็บหน้าอก หายใจเร็วกว่าเดิมควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  48. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป

  49. ติดตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิดติดตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด ค้นหาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ -เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th - เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th - เว็บไซต์กรมควบคุมโรค www.ddc.moph.go.th หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 025901994, 0 2590 3333 ,และ 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง คำแนะนำเพิ่มเติม

  50. ปัจจัยสำคัญสำหรับ การเตรียมความพร้อมทางด้านสาธารณสุข • การวางแผนและประเมินความเสี่ยงร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • ปัจจัยด้านกฎหมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ • การตรวจจับอย่างรวดเร็ว : การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและห้องปฏิบัติการ ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า • การตอบสนองอย่างรวดเร็ว : ,มาตรการควบคุมโรค, การป้องกันตนเองเช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย การฆ่าเชื้อ การจัดคลังสำรองวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น การสำรวจและเตรียมความพร้อมในคลังสำรอง • การจัดการข้อมูลข่าวสาร • การสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารความเสี่ยง

More Related