1 / 51

ก้าวทันมาตรฐานบัญชีใหม่ปี 2552

ก้าวทันมาตรฐานบัญชีใหม่ปี 2552. ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี. หัวข้อการบรรยาย. - แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 32 : ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

Download Presentation

ก้าวทันมาตรฐานบัญชีใหม่ปี 2552

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ก้าวทันมาตรฐานบัญชีใหม่ปี 2552 ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี

  2. หัวข้อการบรรยาย - แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 32 : ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 33 : ต้นทุนการกู้ยืม (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 51 : สินทรัพย์ไม่มีตัวตน – ฉบับที่ 53 : ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น

  3. หัวข้อการบรรยาย – ฉบับที่ 37 : รายได้ รวมการรับรู้รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ – ฉบับที่ 29 : สัญญาเช่า (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 52 : เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล – ฉบับที่ 39 : นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด – ฉบับที่ 25 : งบกระแสเงินสด (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 30 : ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

  4. TAS ในปัจจุบัน • ปัจจุบัน TAS ที่มีผลบังคับใช้มี 30 ฉบับ การตีความ 3 ฉบับ และแม่บทการบัญชี 1 ฉบับ แนวปฏิบัติทางบัญชี 2 ฉบับ (www.sec.or.th) • TAS ปัจจุบันส่วนใหญ่อ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS หรือ IFRS) ฉบับที่มีการแก้ไขในเดือนธันวาคม 2546 และมีนาคม 2547 เป็นต้นมา • TAS บางฉบับอ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกา (GAAP) • TAS บางฉบับไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากล เช่น TAS 11

  5. มาตรฐานการบัญชีไทยที่อ้างอิงจากมาตรฐานของอเมริกามาตรฐานการบัญชีไทยที่อ้างอิงจากมาตรฐานของอเมริกา • TAS 26 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ • TAS 34 การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (IAS 39 ปี 56) เหลือ อ เดียวในการคิดลดกระแสเงินสดคือ อ ดอกเบี้ยในสัญญาเงินกู้ • TAS 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน (IAS 39 ปี 56) • TAS 42 การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจและเฉพาะด้านการลงทุน (IAS 39 ปี 56)

  6. มาตรฐานการบัญชีที่ไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากลมาตรฐานการบัญชีที่ไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากล • TAS 11 หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2532 • ข้อกำหนดของ TAS สอดคล้องกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจของไทยในเวลานั้น แต่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ IAS 39 ในส่วนของการด้อยค่าและการเก็บเงินไม่ได้ของเงินให้สินเชื่อของลูกหนี้ • ตาม IAS 39 กิจการต้องประมาณจำนวนเงินที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ โดยการเปรียบเทียบจำนวนลูกหนี้ตามบัญชีกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตของลูกหนี้คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเมื่อมีการให้สินเชื่อหรือให้เครดิต • ขณะนี้สภาฯ มีแผนที่จะปรับปรุง TAS ฉบับนี้ให้เป็นไปตาม IAS 39

  7. ทิศทาง TAS • ขณะนี้สภาวิชาชีพบัญชีอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไข TAS ให้ตรงตาม IFRS ที่มีการแก้ไขใหม่นับแต่ปี 2546 และ 2547 เป็นต้นมา (หากไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ) • สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีในการประชุมครั้งที่ 9 (1/2551) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้จัดเลขระบุฉบับมาตรฐานการบัญชีของไทยให้ตรงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ

  8. TAS ที่ยกเว้นสำหรับกิจการที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน • ปัจจุบันมีการประกาศยกเว้น TAS สำหรับกิจการที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน จำนวน 8 ฉบับ • TAS 24 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • TAS 36 การด้อยค่าของทรัพย์สิน • TAS 44 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 45 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 46 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • TAS 47 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง • TAS 48 การแสดงรายการสำหรับตราสารการเงิน • TAS 12 ภาษีเงินได้

  9. สรุปประเด็น (ที่เปลี่ยนแปลง) ของ TAS บางฉบับ

  10. แม่บทการบัญชี • ใช้แทนแม่บทการบัญชีฉบับเดิม (กุมภาพันธ์ 2542) โดยเป็นการปรับปรุงถ้อยคำใหม่ ทั้งนี้ หลักการและเนื้อหาไม่แตกต่างจากฉบับเดิม • ไม่ใช่มาตรฐานการบัญชี • เป็นกรอบอ้างอิงที่ทำให้ TAS ตั้งอยู่บนแนวคิดของแม่บท • TAS ใดขัดกับแม่บท TAS นั้นแก้ไขตัวเอง

  11. TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย IAS 7 Cash Flows Statements (2006) ซึ่งมีข้อแตกต่างจาก TAS ฉบับเดิมคือ • “เงินสด” ตาม TAS 25 (TAS 7) ฉบับเดิมหมายถึงเงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ “เงินสด” ตามTAS 25 (TAS 7) ฉบับใหม่หมายถึงเงินสดในมือและเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม

  12. TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย IAS 7 Cash Flows Statements (2006) ซึ่งมีข้อแตกต่างจาก TAS ฉบับเดิมคือ • TAS 25 (TAS 7) ฉบับเดิมได้ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินลงทุนที่จะถือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดจะมีวันถึงกำหนด 3 เดือนหรือน้อยกว่า แต่ไม่ได้ให้ข้อกำหนดที่ชัดเจนว่าวันถึงกำหนด 3 เดือนหรือน้อยกว่านั้นนับจากวันที่ได้มาหรือวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี TAS ฉบับนี้กำหนดให้วันถึงกำหนด 3 เดือนหรือน้อยกว่านั้นนับจากวันที่ได้มา • ได้ยกเลิกการแสดงกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับรายการพิเศษซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐานฉบับเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับ TAS 35 (1) ซึ่งยกเลิกการแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษ

  13. TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • TAS ฉบับเดิมได้สนับสนุนแต่ไม่ได้กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายสำหรับดอกเบี้ยและเงินปันผลแยกเป็นรายการต่างหากและจัดประเภทแต่ละรายการเข้าเป็นกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงินในแต่ละรอบบัญชีโดยสม่ำเสมอ TAS ฉบับใหม่ได้กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายสำหรับรายการดังกล่าวแยกเป็นรายการต่างหากโดยจัดประเภทแต่ละรายการเข้าเป็นกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงินในแต่ละรอบบัญชีโดยสม่ำเสมอ

  14. TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • TAS ฉบับเดิมได้สนับสนุนแต่ไม่ได้กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดจากภาษีเงินได้เป็นรายการแยกต่างหากและจัดประเภทไว้เป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน TAS ฉบับใหม่ได้กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดจากภาษีเงินได้เป็นรายการแยกต่างหากและต้องจัดประเภทไว้เป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ยกเว้นในกรณีที่ระบุโดยเจาะจงได้ว่าเป็นของกิจกรรมจัดหาเงินและกิจกรรมลงทุน

  15. TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด

  16. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า (lease) • สัญญาเช่า หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงที่ผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าในการใช้สินทรัพย์สำ หรับช่วงเวลาที่ตกลงกันเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนซึ่งได้รับชำระในงวดเดียวหรือหลายงวด • Hire Purchase เช่าซื้อ • Leasing • Rent

  17. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • กำหนดให้กิจการจัดประเภทสัญญาเช่าโดยพิจารณาถึงขอบเขตของความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ที่เช่าว่าตกอยู่กับผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า • จัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงิน (finance = capital lease) หากสัญญานั้นโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า • จัดประเภทเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน (operating lease)หากสัญญานั้นไม่ได้โอนความเสี่ยงหรือผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า

  18. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • ในการจำแนกสัญญาเช่า TAS ฉบับเดิมได้ให้ตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งตามปกติจะทำให้สัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินไว้สี่ข้อ • สัญญาเช่าโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า  เช่าซื้อ • ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สิทธิเลือกมีผลบังคับใช้ โดยราคาตามสิทธิเลือกนั้นมีจำนวนต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์มากเพียงพอที่จะทำให้แน่ใจอย่างสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าว่าผู้เช่าจะใช้สิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์นั้น  Leasing

  19. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • ในการจำแนกสัญญาเช่า TAS ฉบับเดิมได้ให้ตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งตามปกติจะทำให้สัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินไว้สี่ข้อ (ต่อ) • ระยะเวลาของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ แม้ว่าจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น • ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า

  20. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • TAS ฉบับนี้ได้เพิ่มสถานการณ์เพื่อช่วยในการจำแนกสัญญาเช่าอีก 1 ข้อและข้อบ่งชี้อีก 3 ข้อ • สินทรัพย์ที่เช่ามีลักษณะเฉพาะจนกระทั่งมีผู้เช่าเพียงผู้เดียวที่สามารถใช้สินทรัพย์นั้นโดยไม่จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาดัดแปลงที่สำคัญ • หากผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาเช่าได้และผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบผลเสียหายที่เกิดกับผู้ให้เช่าเนื่องจากการยกเลิกนั้น • ผู้เช่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกำไรหรือขาดทุนจากการผันผวนของมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าคงเหลือ • ผู้เช่าสามารถต่อสัญญาเช่าครั้งที่สองด้วยการจ่ายค่าเช่าที่มีจำนวนต่ำกว่าค่าเช่าในตลาดอย่างเป็นนัยสำคัญ

  21. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า

  22. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • ได้เพิ่มคำนิยามเกี่ยวกับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกให้ชัดเจนขึ้น • TAS ฉบับเดิมไม่ได้ให้ข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่า TAS ฉบับนี้กำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่าเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนที่รับรู้เป็นสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าการเงินนั้น

  23. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมได้ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้ให้เช่าโดยจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที หรือปันส่วนไปหักจากรายได้ทางการเงินนั้นตลอดอายุสัญญาเช่าการเงินก็ได้ แต่ TAS ฉบับนี้กำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกเป็นส่วนหนึ่งของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินโดยไม่ต้องบันทึกเป็นรายการแยกต่างหาก • อ้างถึง TAS 36 (ปรับปรุง 255x) การด้อยค่าของสินทรัพย์ เพื่อให้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์เมื่อจำเป็นซึ่ง TAS ฉบับเดิมไม่ได้กล่าวถึง • เน้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสำหรับสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงานทั้งทางด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่า

  24. TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมได้กำหนดให้การเช่าที่ดินและอาคารต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานหรือสัญญาเช่าการเงินแล้วแต่กรณี แต่ไม่ได้กำหนดการปฏิบัติเกี่ยวกับการแยกองค์ประกอบของที่ดินและอาคาร รวมถึงการวัดค่าขององค์ประกอบนั้น แต่ TAS ฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแยกองค์ประกอบของที่ดินและอาคาร รวมทั้งการวัดมูลค่าขององค์ประกอบที่ดินและอาคารให้ชัดเจนขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทสัญญาเช่า

  25. TAS 30 (TAS 21) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา) • TAS ฉบับเดิมได้ทำให้เกิดข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างกิจการที่เสนองบการเงินโดยรวมกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานในต่างประเทศไว้ในงบการเงิน (‘หน่วยงานในต่างประเทศ (integral foreign operations)’) และกิจการในต่างประเทศ (foreign entities) TAS 30 (TAS 21) (ฉบับปรับปรุง) ได้ปรับปรุงข้อกำหนดดังกล่าวให้มีตัวชี้วัดว่าสกุลเงินใดเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ โดยมีผลสรุปได้ว่า • ไม่มีความแตกต่างระหว่างหน่วยงานในต่างประเทศและกิจการในต่างประเทศ

  26. TAS 30 (TAS 21) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • TAS 30 (TAS 21) (ฉบับปรับปรุง) ได้ปรับปรุงข้อกำหนดดังกล่าวให้มีตัวชี้วัดว่าสกุลเงินใดเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ โดยมีผลสรุปได้ว่า (ต่อ) • มีวิธีการแปลงสกุลเงินเพียงวิธีเดียว (all current method) สำหรับหน่วยงานในต่างประเทศแต่ละหน่วยงาน • ยกเลิกย่อหน้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อแตกต่างระหว่างหน่วยงานในต่างประเทศและกิจการในต่างประเทศ รวมทั้งย่อหน้าที่อธิบายวิธีการแปลงค่า

  27. TAS 30 (TAS 21) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • การแปลงค่าสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการในต่างประเทศให้เป็นสกุลเงินที่ใช้นำเสนองบการเงินซึ่งเป็นสกุลเงินที่แตกต่างออกไป ให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้ • สินทรัพย์และหนี้สินให้แปลงค่าด้วยอัตราปิด ณ วันที่ของแต่ละงบดุลนั้น • รายได้และค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนให้แปลงค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนของวันที่เกิดรายการ และ • ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดให้แยกแสดงเป็นรายการต่างหากภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้น

  28. TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา) คาดว่าจะใช้ปี 54 • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ • กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตเพื่อใช้ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน • กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

  29. TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • กำหนดให้กิจการประเมินต้นทุนทั้งหมดของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เมื่อเกิดขึ้นตามหลักการของการรับรู้รายการโดยทั่วไป ต้นทุนดังกล่าวประกอบด้วยต้นทุนเริ่มแรกเพื่อให้ได้มาหรือก่อสร้างรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อมีการต่อเติม การเปลี่ยนแทนส่วนประกอบต่างๆ หรือการบำรุงรักษาสินทรัพย์นั้น TAS 32 (TAS 16) ฉบับเดิมกำหนดหลักการของการรับรู้รายการไว้ 2 ประการ โดยกิจการนำหลักการของการรับรู้รายการประการที่ 2 มาถือปฏิบัติกับต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลัง

  30. TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • กำหนดให้กิจการคิดค่าเสื่อมราคาส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แต่ละส่วนที่มีนัยสำคัญแยกต่างหากจากกัน TAS 32 (TAS 16) ฉบับเดิม ไม่ได้กล่าวถึงข้อกำหนดดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง  component approach • กำหนดให้กิจการวัดมูลค่าคงเหลือของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ด้วยจำนวนที่กิจการคาดว่าจะได้รับในปัจจุบันจากการจำหน่ายสินทรัพย์ในสภาพที่คาดว่าจะเป็นเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน อย่าลืมหักรายจ่ายทำให้ สท ขายออกไปได้ (สามารถใช้หน่วยงานภายในการกำหนดราคาซากได้)ให้หยุดคิดค่าเสื่อมทันที เมื่อราคาซาก > ราคาตามบัญชี และให้กลับมาคิดอีกเมื่อราคาซาก < ราคาตามบัญชี

  31. TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • กำหนดให้กิจการเริ่มคิดค่าเสื่อมราคารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมที่จะใช้งาน • กำหนดให้การสิ้นสุดการคิดค่าเสื่อมราคาจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการตัดรายการสินทรัพย์นั้น หรือ โอนไปหมวดรอการขาย • กำหนดให้กิจการยังคงต้องคิดค่าเสื่อมราคาในช่วงที่กิจการหยุดใช้งานสินทรัพย์นั้นด้วย TAS 32 ฉบับเดิมไม่ได้กำหนดในเรื่องการเริ่มต้นคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ แต่กำหนดให้กิจการหยุดคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อกิจการเลิกใช้งาน และถือสินทรัพย์นั้นไว้เพื่อรอจำหน่าย

  32. TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • กำหนดให้กิจการตัดมูลค่าตามบัญชีของส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หากมีการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบดังกล่าว และกิจการได้รวมต้นทุนในการเปลี่ยนแทนที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการนั้น TAS 32 (TAS 16) ฉบับเดิม ไม่ได้กล่าวถึงการตัดรายการส่วนประกอบที่มีการเปลี่ยนแทน แต่ตามหลักการรับรู้รายการสำหรับรายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์ตาม TAS 32 (TAS 16) ฉบับเดิม ต้นทุนในการเปลี่ยนแทนมาไม่สามารถนำมารวมเป็นมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

  33. TAS 33 (TAS 23) ต้นทุนการกู้ยืม • ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย IAS 23 Borrowing Costs (2006) ซึ่งมีข้อแตกต่างจาก TAS ฉบับเดิมคือ • ยกเลิกข้อกำหนดเดิมที่กำหนดให้กิจการที่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศสามารถนำต้นทุนดอกเบี้ยในแต่ละงวด (ที่รวมผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว) มารวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ไม่เกินจำนวนต้นทุนดอกเบี้ยที่ผู้กู้พึงต้องจ่าย หากสมมติว่ากู้ยืมเป็นเงินบาทที่มีเงื่อนไขคล้ายคลึงกัน ต้นทุนการกู้ยืมที่เป็นเงินตราต่างประเทศสามารถที่จะรวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ตามที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดอื่นในมาตรฐานฉบับนี้

  34. TAS 33 (TAS 23) ต้นทุนการกู้ยืม • ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย IAS 23 Borrowing Costs (2006) ซึ่งมีข้อแตกต่างจาก TAS ฉบับเดิมคือ (ต่อ) • ยกเลิกข้อกำหนดเดิมที่กำหนดให้กิจการที่มีการกู้ยืมเงินเพื่อพัฒนาที่ดินเพื่อใช้ก่อสร้างอาคาร ให้นำต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นไปรวมเป็นต้นทุนของอาคาร อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการรวมต้นทุนการกู้ยืมเพื่อการก่อสร้างอาคารเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ยังไม่เปลี่ยนแปลง

  35. TAS 37 (TAS 18) รายได้ (รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา) • รายได้หมายถึงกระแสรับของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการ เมื่อกระแสรับนั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น • รายได้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ • TAS ฉบับนี้ใช้แทน TAS 37 (TAS 18) (ปรับปรุง 2543) และได้ยกเลิก TAS 26 เนื่องจากได้ครอบคลุมอยู่ใน TAS ฉบับนี้แล้ว

  36. TAS 37 (TAS 18) รายได้ • ใช้แทน TAS 37 (TAS 18) (ปรับปรุง 2543) และได้ยกเลิก TAS 26 เนื่องจากได้ครอบคลุมอยู่ใน TAS ฉบับนี้แล้ว • กิจการจะรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อ • ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในอสังหาริมทรัพย์ไปยังผู้ซื้อแล้ว หรือ • ผู้ซื้อได้รับสิทธิประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ก่อนที่ผู้ซื้อจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย กล่าวคือความเสี่ยงและผลตอบแทนในความเป็นเจ้าของได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วและผู้ขายไม่มีภาระที่จะต้องดำเนินการใดๆ เพิ่มเติมในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ตามสัญญา

  37. TAS 37 (TAS 18) รายได้ • ใช้แทน TAS 37 (TAS 18) (ปรับปรุง 2543) และได้ยกเลิก TAS 26 เนื่องจากได้ครอบคลุมอยู่ใน TAS ฉบับนี้แล้ว (ต่อ) • หากผู้ขายมีภาระผูกพันที่จะต้องดำเนินการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญหลังจากที่ผู้ขายได้โอนสิทธิประโยชน์หรือโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ขายจะรับรู้รายได้ตามขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น อาคารหรือสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

  38. TAS 39 (TAS 10) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กิจการไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการบัญชีตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี หากผลกระทบของการใช้นโยบายดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญ เราสามารถ override TAS บางฉบับ หากทำตาม ไม่ได้ช่วยให้งบมีความถูกต้องตามควรมากขึ้น • งบการเงินจะไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี หากปรากฏว่ามีข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญ • ข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญในงวดก่อน จะต้องแก้ไขด้วยวิธีปรับย้อนหลังงบการเงินในงวดแรกหลังจากค้นพบข้อผิดพลาดดังกล่าว

  39. TAS 39 (TAS 10) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้ใช้วิธีปรับย้อนหลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่เป็นไปโดยความสมัครใจ • ยังคงให้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับ “การไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ” สำหรับการยกเว้นการแก้ไขข้อมูลเปรียบเทียบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อน

  40. TAS 39 (TAS 10) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่กิจการกำลังจะนำมาถือปฏิบัติเมื่อกิจการเริ่มนำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่มาปฏิบัติก่อนการบังคับใช้ • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบหรือประมาณการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่องบการเงินของงวดบัญชีที่มีการนำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ไปปฏิบัติ

  41. TAS 39 (TAS 10) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินของรายการปรับปรุงบัญชีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อนโดยให้เปิดเผยสำหรับรายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกำไรต่อหุ้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติตาม TAS 38 (TAS 33) เรื่อง กำไรต่อหุ้น

  42. TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ตั้งแต่ปี 51 • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ • ไม่เป็นตัวเงิน  ไม่สามารถระบุว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสดที่แน่นอนเท่าไร • สามารถระบุได้ และ • ไม่มีรูปร่าง • สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์ที่กิจการจะได้รับเป็นจำนวนที่ แน่นอน หรือที่สามารถทราบได้

  43. TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • ร่าง TAS 51 (TAS 38) อยู่บนสมมติฐานว่าอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนสามารถกำหนดได้แน่นอน และมีข้อสันนิษฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องไม่เกิน 20 ปีนับจากวันที่สินทรัพย์นั้นสามารถให้ประโยชน์ได้ TAS 51 ได้ตัดข้อสันนิษฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ดังกล่าวออกไป โดยกำหนดว่ากิจการจะพิจารณาว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่สามารถกำหนดได้ก็ต่อเมื่อจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้วไม่พบข้อจำกัดที่สามารถคาดได้เกี่ยวกับระยะเวลาที่สินทรัพย์ดังกล่าวจะสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดสุทธิที่กิจการจะได้รับ

  44. TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจากการทำสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่นจะต้องไม่เกินอายุสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่นแต่อาจจะสั้นกว่าได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์นั้นๆ • หากสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายนั้นมีระยะเวลาที่จำกัดแต่สามารถต่ออายุได้อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น ต้องรวมระยะเวลาที่ต่ออายุใหม่เฉพาะกรณีที่มีหลักฐานสนับสนุนได้ว่ากิจการไม่มีต้นทุนที่เป็นนัยสำคัญจากการต่ออายุดังกล่าว

  45. TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • กำหนดให้กิจการไม่ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่สามารถกำหนดได้ • ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • การนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้ประโยชน์ตามที่คาดไว้ ซึ่งรวมถึงการที่ผู้บริหารคณะอื่นจะสามารถบริหารสินทรัพย์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ • วงจรชีวิตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับการประมาณอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกันที่นำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน

  46. TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ต่อ) • ความล้าสมัยด้านเทคนิค เทคโนโลยี การค้า หรือด้านอื่นๆ • เสถียรภาพของอุตสาหกรรมที่นำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้ประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการที่ได้จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • การโต้ตอบที่คาดว่าจะเกิดจากคู่แข่งหรือคู่แข่งในอนาคต • ระดับของรายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อดำรงไว้ซึ่งประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และความสามารถและความมุ่งมั่นของกิจการเพื่อให้บรรลุระดับของรายจ่ายนั้นๆ

  47. TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ต่อ) • ระยะเวลาที่กิจการสามารถควบคุมสินทรัพย์และสิทธิทางกฎหมาย หรือข้อจำกัดที่คล้ายคลึงกันในการใช้สินทรัพย์ เช่น วันครบกำหนดของสัญญาเช่าที่เกี่ยวข้อง และ • อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นอยู่กับอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์อื่นๆของกิจการ หรือไม่

  48. TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • กำหนดให้กิจการทบทวนอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่ได้มีการตัดจำหน่ายทุกงวดบัญชี เพื่อประเมินว่ายังคงมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดหรือไม่ที่สนับสนุนว่าอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นไม่สามารถกำหนดได้ หากไม่มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่สนับสนุนว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่แน่นอน กิจการบันทึกการเปลี่ยนแปลงประมาณการอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่แน่นอนเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ที่แน่นอน โดยถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชี ตาม TAS 39 (ปรับปรุง 255x)

  49. TAS 53 (TAS 37) ประมาณการหนี้สิน • ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ แต่พอจะประมาณโดยอาศัยสมมติฐานและการจัดเก็บข้อมูลในอดีตได้ระดับนึง • ไม่ได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงแต่อย่างใด

  50. TAS 52 (TAS 10) เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล • เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ในงบดุลกับวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นไปในทางดีหรือไม่ดี เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ • เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลที่ต้องปรับปรุง คือ เหตุการณ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าสถานการณ์ได้มีอยู่ ณ วันที่ในงบดุล และ • เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลที่ไม่ต้องปรับปรุง คือ เหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ได้เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบดุล • ไม่ได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงแต่อย่างใด

More Related