1 / 31

ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ( Convention Against torture ) และ อนุสัญญา ระหว่างประเทศ ว่าด้วยการ คุ้มครองบุคคลจากการสูญหายโดยถูกบังคับ ( The International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance ). ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Download Presentation

ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (Convention Against torture) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการสูญหายโดยถูกบังคับ(The International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance) ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. เนื้อหาการบรรยาย 2. อนุสัญญาคุ้มครองบุคคลจาก การสูญหายโดยถูกบังคับ (CED) 2.1 ความหมายของการบังคับบุคคลให้สูญหาย 2.2 องค์ประกอบของการกระทำความผิด 2.3 การปราบปรามการบังคับบุคคลให้สูญหาย 2.4 การป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหาย 2.5 การเยียวยาผู้เสียหาย 1. อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) 1.1 นิยามการทรมาน 1.2 ลักษณะของการกระทำทรมาน 1.3 ปัญหาของการกระทำทรมานในประเทศไทย 1.4 แนวทางแก้ไขปัญหา 1.5 ความแตกต่างระหว่างการกระทำทรมานตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานกับธรรมนูญกรุงโรมจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ 3. บทสรุป

  3. 1. อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (Convention Against torture)

  4. 1.1 นิยามการทรมาน “การทรมาน” หมายถึง การกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางร่างกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ด้วยความประสงค์เพื่อได้ข้อมูลหรือได้คำรับสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม เพื่อการลงโทษบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามสำหรับการกระทำซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระทำหรือถูกสงสัยว่ากระทำ รวมทั้งเพื่อการบังคับขู่เข็ญ หรือเพื่อการเลือกปฏิบัติอื่นใด โดยที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือโดยบุคคลอื่นที่ได้รับความยินยอมของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่รวมการลงโทษตามกฎหมาย

  5. 1.2 ลักษณะของการกระทำทรมาน • ต้องเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ • ต้องเป็นการกระทำต่อร่างกายหรือจิตใจทำให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างสาหัส • ต้องเป็นการกระทำโดยมี “มูลเหตุจูงใจ” (motive) เพื่อ -เพื่อได้ข้อมูลหรือได้คำรับสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม -เพื่อการลงโทษบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามสำหรับการกระทำซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระทำหรือถูกสงสัยว่ากระทำ - เพื่อการบังคับขู่เข็ญ - เพื่อการเลือกปฏิบัติอื่นใด

  6. 1.3 ปัญหาของการกระทำทรมานในประเทศไทย 1. ไม่มีกฎหมายบัญญัติเฉพาะ 2. เทียบเคียงกฎหมายที่มีอยู่ที่ไม่สามารถลงโทษได้สมตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานที่ต้องการให้ลงโทษหนักแบบ Seriouscriminal offenses 3. เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำความผิด จึงยากที่จะมีการดำเนินคดี

  7. 4.ไม่มีฐานความผิดจึงไม่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดน (extradition) ตามหลัก “ความผิดสองรัฐ” (double criminality) 5.ไม่มีการกำหนดความผิดฐานกระทำทรมานให้เป็นความผิดสากล (Universal jurisdiction) ทำให้ประเทศไทยอาจเป็นที่หลบซ่อนตัวของผู้กระทำทรมาน ไม่สอดคล้องกับ “ไม่ส่งตัว ก็ต้องพิจารณาลงโทษ” (autdedereautjudicare) 6. การกระทำโดยทรมาน เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถอ้างสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์สงครามเพื่อเป็นเหตุให้มีการกระทำทรมาน

  8. 1.4 แนวทางแก้ไขปัญหา 1.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเพิ่ม มาตรา 166/1กำหนดฐานความผิดเรื่องการกระทำทรมาน และกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงเพื่อยับยั้ง 2. กำหนดให้การกระทำทรมานอย่างเป็นระบบ (systematic) หรืออย่างกว้างขวาง (widespread) ที่มาจากการทำตามนโยบายของรัฐ (policy) ที่กระทำต่อประชาชน เป็นความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Crime against humanity) ซึ่งไม่มีอายุความ 3. กำหนดให้การกระทำทรมานมีเขตอำนาจสากล (Universal jurisdiction) โดยการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 7 (4) และแก้ไขมาตรา 10ด้วย

  9. 4. กำหนดให้สถานการณ์สงครามหรือสถานการณ์ฉุกเฉินไม่สามารถยกเป็นเหตุให้มีการกระทำทรมาน 5. เพิ่มกระบวนการศาลเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทำทรมาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90/1 6. กำหนดให้มีคณะกรรมการต่อต้านการทรมานทำหน้าที่ร่วมสืบสวน หรือสอบสวน และเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำทรมาน

  10. 1.5ความแตกต่างระหว่างการกระทำทรมานตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานกับธรรมนูญกรุงโรมจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ1.5ความแตกต่างระหว่างการกระทำทรมานตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานกับธรรมนูญกรุงโรมจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ ธรรมนูญกรุงโรม ข้อ 7วรรค 2 e “การทรมานหมายถึง การกระทำโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความทุกข์หรือความเจ็บปวดร้ายแรงต่อร่างกายหรือจิตใจของบุคคลในที่คุมขังหรือภายใต้การควบคุมในฐานะผู้ถูกกล่าวหา (a person in the custody or under the control of the accused) เว้นแต่การทรมานไม่รวมถึงความเจ็บปวดทุกข์ทนที่เกิดจากการลงโทษตามกฎหมาย”

  11. ความแตกต่าง 1. “ทรมานทั่วไป” อยู่ในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน แต่ “ทรมานอย่างเป็นระบบ หรืออย่างกว้างขวาง ตามนโยบาย” เป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Crime against humanity) 2. ธรรมนูญกรุงโรมเน้น “โอกาส” (occasion) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานเน้น “มูลเหตุจูงใจ” (motive)

  12. 3.ธรรมนูญกรุงโรมมีพัฒนาจากกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal law) อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน มีพัฒนาการจากกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human rights law) 4. ธรรมนูญกรุงโรมเน้นคุ้มครองมนุษยชาติจากการกระทำความผิดอาญาร้ายแรง ผู้กระทำจึงอาจไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐก็ได้ อาจเป็นกลุ่มกบฏ แต่อนุสัญญาต่อต้านการทรมานคุ้มครองบุคคลจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้กระทำจึงต้องเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐเท่านั้น

  13. Rome Statute

  14. 2. อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการสูญหายโดยถูกบังคับ(the International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance)

  15. 2.1 ความหมายของการบังคับบุคคลให้สูญหาย อนุสัญญาฯข้อ 2 ได้ให้คำนิยามของการสูญหายโดยถูกบังคับว่า หมายถึง “การจับกุม การคุมขัง การลักพาตัว หรือ การลิดรอนเสรีภาพรูปแบบอื่น ที่กระทำโดยเจ้าพนักงานของรัฐหรือโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กระทำการภายใต้อำนาจหรือการสนับสนุนหรือการยอมรับของรัฐ ตามด้วยการปฏิเสธไม่รับรู้การลิดรอนเสรีภาพดังกล่าวหรือโดยการปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของผู้สูญหาย ทำให้ผู้สูญหายอยู่นอกการคุ้มกันของกฎหมาย”

  16. 2.2 องค์ประกอบของการกระทำความผิด 2.2.1 ผู้กระทำการบังคับบุคคลให้สูญหายที่จะเป็นความผิดตามอนุสัญญาฯจำกัดเฉพาะการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ (1) เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ (2) บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งดำเนินการภายใต้อำนาจ การสนับสนุนหรือการยอมรับจากรัฐ

  17. 2.2.2 การกระทำคือ (1) การจับกุม กักขัง ลักพาตัว หรือการกระทำในรูปแบบใด ๆ ก็ตามที่เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และ (2) ปฏิเสธที่จะยอมรับว่าได้มีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ หรือ การปกปิดชะตากรรม หรือที่อยู่ของบุคคลที่สูญหาย

  18. 2.2.3 วัตถุแห่งการกระทำ บุคคลธรรมดา 2.2.4องค์ประกอบภายใน เจตนา 2.2.5 ผลแห่งการกระทำ ทำให้ผู้ถูกลิดรอนเสรีภาพอยู่นอกการคุ้มครองของกฎหมาย

  19. 2.3 การปราบปรามการบังคับบุคคลให้สูญหาย 2.3.1 การกำหนดความรับผิดทางอาญา ข้อ 4 รัฐภาคีต้องดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อกำหนดให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นความผิดอาญาภายใต้กฎหมายอาญาภายในรัฐตน ข้อ 1 บุคคลจะถูกบังคับให้สูญหายมิได้ สถานการณ์พิเศษทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสภาวะสงคราม สภาวะคุกคามจากสงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ รวมทั้งสถานการณ์ฉุกเฉินใด ๆ ไม่อาจถูกยกเป็นข้ออ้างของการกระทำให้บุคคลสูญหายได้

  20. 2.3.2 การบังคับบุคคลให้สูญหายอย่างเป็นระบบหรืออย่างกว้างขวางจะเป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ข้อ5 การบังคับให้บุคคลสูญหายที่เป็นการกระทำแบบกว้างขวางและเป็นระบบย่อมเป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติและมีผลให้นำกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้

  21. 2.3.3 ความรับผิดของผู้บังคับบัญชา(commander and superior responsibility) • ข้อ 6 ผู้บังคับบัญชาที่รู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะไปกระทำการหรือได้กระทำการบังคับบุคคลให้สูญหาย หรือ เพิกเฉยต่อรายงานอย่างเป็นทางการว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะไปกระทำหรือได้กระทำการบังคับบุคคลให้สูญหาย และ ไม่ดำเนินการป้องกันหรือลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา จะมีความรับผิดทางอาญา

  22. 2.3.4 เหตุเพิ่มโทษและเหตุบรรเทาโทษ ข้อ 7 อนุสัญญาได้กำหนดเหตุบรรเทาโทษสำหรับผู้กระทำความผิดไว้ในกรณีที่ผู้นั้นได้มีส่วนช่วยให้ค้นพบบุคคลผู้สูญหายในสภาพที่มีชีวิตอยู่ หรือมีส่วนช่วยให้คดีคลี่คลาย หรือช่วยชี้ตัวผู้กระทำความผิด ข้อ 8 อนุสัญญาได้กำหนดเหตุเพิ่มโทษในกรณีของการบังคับให้บุคคลสูญหายนั้น เป็นผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย หรือเพิ่มโทษให้กับผู้กระทำความผิดในกรณีของผู้เสียหายที่เป็นสตรีมีครรภ์ ผู้เยาว์ ผู้พิการ หรือผู้อ่อนแออื่น ๆ

  23. 2.3.5 อายุความ ข้อ 8 รัฐภาคีต้องกำหนดอายุความในคดีอาญาที่มีระยะเวลายาวและเหมาะสมกับการบังคับบุคคลให้สูญหายซึ่งถือว่าเป็นความผิดที่รุนแรง และต้องกำหนดให้อายุความคดีอาญาในความผิดฐานบังคับบุคคลให้สูญหายเริ่มนับเมื่อการกระทำได้ยุติลง โดยคำนึงว่าการกระทำความผิดฐานบังคับคนให้สูญหายเป็นความผิดต่อเนื่อง

  24. 2.3.6 กำหนดเขตอำนาจสากล ข้อ 9.2 ให้กำหนดเขตอำนาจสากล เพื่อให้สอดคล้องกับหลัก “ไม่ส่งตัว ก็ต้องดำเนินคดีลงโทษ” autdedereautjudicare

  25. 2.4 การป้องกันมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย 2.4.1 การห้ามมิให้มีการคุมขังลับ 2.4.2การสร้างความโปร่งใสให้กับการคุมขังตามกฎหมาย -การทำข้อมูลคนถูกควบคุมตัว -ให้สิทธิญาติหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงข้อมูล -การสร้างระบบยืนยันการปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัว 2.4.3 การฝึกอบรมเจ้าพนักงาน

  26. 2.5 การเยียวยาผู้เสียหาย ข้อ 24 ของอนุสัญญาให้คำนิยามว่า “ผู้เสียหาย” หมายถึง ผู้ถูกบังคับให้สูญหายและหมายรวมถึงบุคคลอื่นที่ได้รับความทุกข์ทรมานโดยตรงจากการถูกบังคับให้บุคคลสูญหายด้วย ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับรู้ความจริงที่เกี่ยวกับพฤติการณ์การถูกบังคับให้สูญหาย ความคืบหน้าและผลของการสอบสวน และชะตากรรมของคนสูญหายโดยถูกบังคับ โดยรัฐจะต้องจัดให้มีมาตรการที่เดียวข้องอย่างเหมาะสม

  27. 3. บทสรุป “หลักของการปฏิบัติหน้าที่ตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน”

  28. Crime control (Public order) Due process (Human Right)

  29. 3.1สถานการณ์ปกติ ต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับสูงตามกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 3.2 สถานการณ์ไม่ปกติ ระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอาจแตกต่างจากสถานการณ์ปกติ เช่น คุมขังได้นานขึ้น จำกัดการใช้สิทธิบางอย่าง

  30. 3.3อย่างไรก็ตามในทุกกรณีไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ปกติหรือไม่ปกติ รัฐและเจ้าพนักงานของรัฐจะทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ไม่ได้ เช่น ฆาตกรรมนอกกฎหมาย การทรมาน หรือ การบังคับบุคคลให้สูญหาย เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน

  31. ขอบคุณครับ

More Related