1 / 18

โรคพิษสุนัขบ้าจะเป็นเพียงอดีต หากทุกคนร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง

โรคพิษสุนัขบ้าจะเป็นเพียงอดีต หากทุกคนร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง. วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก 8 กันยายน 2550. วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก . ให้เวลา 1 นาที ให้คุณคิด และเขียนคำตอบของคำถามที่ว่า คุณรู้จัก “ โรคพิษสุนัขบ้า ” ดีแล้วหรือยัง ทำไมจึงต้องมี “ วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ”.

Antony
Download Presentation

โรคพิษสุนัขบ้าจะเป็นเพียงอดีต หากทุกคนร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคพิษสุนัขบ้าจะเป็นเพียงอดีตหากทุกคนร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจังโรคพิษสุนัขบ้าจะเป็นเพียงอดีตหากทุกคนร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก 8 กันยายน 2550

  2. วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ให้เวลา 1 นาที ให้คุณคิด และเขียนคำตอบของคำถามที่ว่า คุณรู้จัก “โรคพิษสุนัขบ้า”ดีแล้วหรือยัง ทำไมจึงต้องมี “วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก”

  3. ทำไมเราต้องศึกษาเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าทำไมเราต้องศึกษาเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า • โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ป้องกันได้ 100% แต่มีคนเสียชีวิตจากโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 55,000 คนต่อปี ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสุนัข • นั่นหมายถึง ณ บางพื้นที่ในโลกนี้ มีคนเสียชีวิต จากโรคนี้เกือบทุกๆ10 นาที • ประมาณ 30-50% ของคนที่เสียชีวิตจากโรคนี้ เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี • ประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากโรคนี้ 25 รายในปี 2549 • ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคนี้ทั้งในคนและสัตว์อย่างทั่วถึง ทำให้ประเทศเหล่านี้มีคนที่เสียชีวิตจากโรคนี้เหลือเพียงไม่กี่คนต่อปี

  4. ทำไมจึงต้องมี “วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก” • เนื่องจากมีคนเสียชีวิตจากโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 55,000 คนต่อปี • ประเทศไทยมีคนถูกสุนัขกัดและต้องได้รับวัคซีน ปีละไม่ต่ำกว่า 500,000 ราย • โรคนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้ 100% ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ • ณ ขณะนี้ เรามีความพร้อมที่จะรับมือกับโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว • ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนจะร่วมมือช่วยกันทำให้โรคพิษสุนัขบ้านี้เป็นเพียงแค่ประวัติศาสตร์!

  5. เราควรจะต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับโรคนี้:เราควรจะต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับโรคนี้: • ทำไมเราต้องศึกษาเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า • โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร และมีความเป็นมาอย่างไร • สัตว์ชนิดใดบ้างที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ • เราจะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร • อาการแสดงของโรคพิษสุนัขบ้า • วิธีป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

  6. โรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)คืออะไรโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)คืออะไร • โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ถูกค้นพบ มานานกว่า 4,000 ปีแล้ว จากบันทึกและภาพเขียนทางประวัติศาสตร์ • เมื่อมีอาการแสดงของโรคนี้เกิดขึ้น ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตเกือบ 100% (ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้ารอดชีวิตเพียงสองรายเท่านั้น) • โรคพิษสุนัขบ้า มีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อไวรัส

  7. ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) คืออะไร • ไวรัส เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรีย • ไวรัสไม่สามารถเจริญเติบโตนอกเซลล์สิ่งมีชีวิตได้ • ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า มีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน • ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า เข้าสู่ร่างกายคนและทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง Picture of rabies virus: Rabies virus is shaped like a submarine.

  8. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) คืออะไร • ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal cord) • ระบบประสาทที่ปกติ มีความจำเป็นต่อการทำกิจกรรมทุกๆอย่างของเรา ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด การมองเห็น การหายใจ การกลืน การรับประทาน การเคลื่อนไหว รวมถึงการพูดจาด้วย

  9. ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลางไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง • หลังถูกสัตว์กัด เช่น ที่ขา ไวรัสจะแพร่กระจายไปตามเส้นประสาท จากไขสันหลัง สู่สมอง และวิ่งย้อนกลับมา ยังส่วนต่างๆของร่างกาย จุดที่ไวรัสเข้าสู่ร่างกาย

  10. เราจะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไรเราจะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร • เมื่อสัตว์ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า สัตว์เหล่านั้นจะมีพฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการคลุ้มคลั่ง มีพฤติกรรมอยากกัดคนหรือสัตว์อื่น หรือเปลี่ยนจากขี้ขลาดเป็นไม่กลัวคน • เราจะติดเชื้อเมื่อเราถูกสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กัด/ข่วน (แมว) • สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ในหลายๆประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย • ในแถบอเมริกาเหนือ ยุโรป และประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่สุนัขได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์ป่า แต่ไม่มีผลกระทบมากนักเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันอย่างทั่วถึง

  11. สัตว์ชนิดไหนบ้างติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้สัตว์ชนิดไหนบ้างติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ • สัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า มีหลากหลายชนิดของ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ที่สำคัญได้แก่ สุนัข ค้างคาว แรคคูน หมาจิ้งจอก แมว และสกั๊งค์ • สุนัขเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนติดเชื้อโรคนี้ทั่วโลก • บางประเทศเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา มีการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขด้วยวัคซีนอย่างทั่วถึง สาเหตุหลักของโรคจึงมาจากสัตว์ป่า โดยเฉพาะค้างคาว

  12. อาการของโรคพิษสุนัขบ้า (คน) • อาการเริ่มแรกคือ ปวดหัว มีไข้ และเจ็บคอ • มีอาการตื่นเต้น สับสน หวาดระแวง • ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บแปลบ ณ ตำแหน่งที่ถูกกัด • มีอาการประสาทหลอน (hallucinations) • มีอาการกลัวน้ำ (hydrophobia) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณคอ • มีอาการอัมพาต (Paralysis) หรือมีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกายหลังจากได้รับเชื้อ • สุดท้ายมีอาการโคมาและเสียชีวิต ภายใน 2 สัปดาห์หลังแสดงอาการ

  13. ค้างคาวกับโรคพิษสุนัขบ้าค้างคาวกับโรคพิษสุนัขบ้า • ค้างคาวเป็นสัตว์ที่สำคัญที่นำเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้าในอเมริกาเหนือ • ประชาชนไม่ได้ตระหนักถึงการที่ถูกค้างคาวกัดมากนัก เนื่องจากแผลที่ถูกกัดมีขนาดเล็กมาก การป้องกัน: • วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ไม่จับค้างคาว • ถ้าพบค้างคาวในบ้าน ให้บอกผู้ปกครอง และแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. A small bat bite on a finger

  14. จะทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์กัด:จะทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์กัด: • ล้างบริเวณแผลที่ถูกกัดให้สะอาด ด้วยน้ำและสบู่ อย่างน้อย 15 นาที • เด็กๆต้องแจ้งผู้ปกครองให้ทราบในทันที • พบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (post-exposure) • ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพและการควบคุมสัตว์ • ถ้าสัตว์ที่กัดเป็นสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ควรดูอาการแสดงของโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเวลา 10 วัน • ถ้าสัตว์ที่กัดเป็นสัตว์ป่า ให้นำสัตว์มาตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

  15. การป้องกันหลังการสัมผัสโรคการป้องกันหลังการสัมผัสโรค • การให้แอนตี้บอดี้ต่อเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า บริเวณที่ถูกกัด สามารถป้องกันโรคได้ ถ้าฉีดก่อนที่เชื้อไวรัสมีการเพิ่มจำนวนในเซลและวิ่งเข้าสู่เส้นประสาท • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ตามตารางการฉีดที่แพทย์กำหนด • วัคซีนที่ได้รับจะช่วยให้ร่างกายผลิตแอนตี้บอดี้ที่มาฆ่าเชื้อไวรัสได้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่แขน

  16. จะป้องกันตัวเองจากโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไรจะป้องกันตัวเองจากโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยงเป็นประจำทุกปี ปีแรกต้องฉีด 2 ครั้ง • ไม่เล่นกับลูกสุนัขที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน • หลีกเลี่ยงจากสัตว์จรจัดหรือสัตว์ป่า • ไม่ควรเก็บหรือนำสัตว์ป่าไว้ในบ้าน • ไม่ควรรักษาสัตว์ป่าที่ได้รับบาดเจ็บด้วยตนเอง • ถ้าพบสัตว์ที่ป่วย ให้ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • ดูแลภาชนะและอาหารของสัตว์เลี้ยงไม่ให้สัมผัสกับสัตว์จรจัดหรือสัตว์ป่า ที่อาจเป็นพาหะของเชื้อ

  17. คุณช่วยได้...ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าคุณช่วยได้...ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้า สามารถควบคุม และทำให้หมดไปได้......โดย การมีส่วนร่วมของทุกคน รวมทั้งคุณ • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้สัตว์เลี้ยง ทุกปี • ไม่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุนัขจรจัดครองเมือง • สนับสนุนทุกกิจกรรมในการลดและป้องกันปัญหา สุนัขจรจัดและโรคพิษสุนัขบ้า

  18. แหล่งความรู้ โรคพิษสุนัขบ้า • เว็บไซด์ โรคพิษสุนัขบ้า ภาษาไทย www.soonak.com • เว็บไซด์ ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อwww.cueid.org • เว็บไซด์กรมปศุสัตว์ http://www.dld.go.th/dcontrol/15Zoo/Rabies/Rebies.htm • World Rabies Day Website: • www.worldrabiesday.org • US Centers for Disease Control and Prevention (CDC) Rabies Website: • www.cdc.gov/rabies • CDC’s Kids Rabies Website: • www.cdc.gov/ncidod/dvrd/kidsrabies/ • World Health Organization • www.who.int • Pan American Health Organization • http://www.paho.org/english/ad/dpc/vp/rabia.htm • Alliance for Rabies Control • www.rabiescontrol.org

More Related