1 / 72

EQ และ AQ กับความสำเร็จในการทำงาน

EQ และ AQ กับความสำเร็จในการทำงาน. ดร. สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 27 กรกฎาคม 2550. อารมณ์ : Affection Emotion. การรู้คิด : Cognition. รู้สึก . ดีใจ – เสียใจ . รับรู้ .

albert
Download Presentation

EQ และ AQ กับความสำเร็จในการทำงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. EQ และ AQ กับความสำเร็จในการทำงาน ดร. สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 27 กรกฎาคม 2550

  2. อารมณ์ : Affection Emotion การรู้คิด : Cognition รู้สึก ดีใจ – เสียใจ รับรู้ สบายใจ – เศร้าใจ จำ ไม่โกรธ - โกรธ คิด รัก - เกลียด ตัดสินใจ

  3. ความฉลาดของสติปัญญา(I.Q.)ความฉลาดของสติปัญญา(I.Q.) จิตวิทยา ??????????? ???????????

  4. เคยได้ยิน เคยได้เห็นมาบ้างแล้วใช่ไหม??? • ฉลาดแต่โง่ ทำอะไรมีแต่คนเกลียด • เก่งแต่ทำงานกับคนอื่นไม่ได้ ให้ทำอะไรก็ทะเลาะกับคนทั้งเมือง - ถ้าอยากให้งานเสร็จต้องให้คนนี้เลย - ผู้ประสานสิบทิศ - คนรักทั้งบ้านทั้งเมือง ไปที่ไหนคนรู้จะแห่กันไปรับ

  5. ความฉลาดของสติปัญญา(I.Q.)ความฉลาดของสติปัญญา(I.Q.) จิตวิทยา ความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q) ?????????????

  6. ความฉลาดของสติปัญญา(I.Q.)ความฉลาดของสติปัญญา(I.Q.) จิตวิทยา ความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q) ความฉลาดในการฟันฝ่าอุปสรรค (A.Q.)

  7. Emotional Intelligence (ความฉลาดทางอารมณ์) - เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดเพื่อความอยู่รอดของบุคคลในด้านอารมณ์ ด้านบุคคล และด้านสังคม - เป็นเรื่องที่ทำให้บุคคลเข้าใจในตนเองและผู้อื่น การสร้างความสัมพันธ์กับคนทั่วไป การปรับหรือการเผชิญกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

  8. เป็นความสามารถที่ไม่ใช่เรื่องของสติปัญญา แต่เป็นทักษะ ความชำนาญที่ทำให้บุคคลสามารถเผชิญกับความกดดันหรือต้องการที่มาจากบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

  9. สมรรถนะส่วนบุคคล 1. การตระหนักรู้ความรู้สึก – อารมณ์ของตน (Emotional Awareness) 2. การบริหารจัดการอารมณ์ของตน (Emotional Management) 3. การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง (Self Motivation) สมรรถนะทางสังคม 1. การรับรู้อารมณ์คนอื่น (Emotional Perception) 2. การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Human Relationship) องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) Daniel Goleman

  10. ความฉลาดทางอารมณ์ : กรมสุขภาพจิต • ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข • องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ 1. ดี - ควบคุมอารมณ์ ความต้องการของตนเองได้ - เห็นใจผู้อื่น - รับผิดชอบ

  11. ความฉลาดทางอารมณ์ : กรมสุขภาพจิต • องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ (ต่อ) 2. เก่ง- รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง - ตัดสินใจและแก้ปัญหา - มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น 3. สุข- ภูมิใจในตนเอง - พึงพอใจในชีวิต -มีความสงบทางใจ

  12. การบริหารอารมณ์ สติอารมณ์ อัจฉริยทางอารมณ์ ปัญญาอารมณ์ ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ สติปัญญาทางอารมณ์ EQ คืออะไร

  13. Self Awareness : ตระหนักอย่างไร, รับรู้อย่างไร ตระหนักรู้, รู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ของตนเอง, (ของผู้อื่น) องค์ประกอบของ Awareness 1.Thinking 2. Senses 3.Appraisal 4.Feeling 5. Action EQ

  14. 1. Your thoughts. 2. Your Physiological Changes. 3. Your Behaviors or Action Tendencies. อารมณ์ของท่านประกอบด้วย

  15. ความสัมพันธ์ระหว่าง EQ กับ IQ IQ = Intelligence Quotient IQ = MA  100 CA MA = Mental Age อายุสมอง CA = Chronological Age อายุตามปฏิทิน ระดับ IQ จะช่วยให้คุณได้รับการจ้างงาน แต่ระดับ EQ จะช่วยให้คุณได้เลื่อนตำแหน่ง

  16. การใช้ปัญญากำกับอารมณ์การใช้ปัญญากำกับอารมณ์

  17. EQ ดี ทำให้เกิด ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำทุกอย่างด้วยใจ สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ควบคุมสติได้ดี มีอุเบกขา สามารถเผชิญกับความหลากหลายของชีวิต Self Esteem สูง ภาคภูมิใจ ในตัวเอง ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่กลัวสิ่งท้าทาย ไม่กลัวการเผชิญหน้า ไม่กลัวความผิดหวัง สนุกกับการเรียน, การทำงาน

  18. องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ ภายในตน กับคนอื่น ความฉลาดทางอารมณ์ พื้นอารมณ์ การปรับตัว การบริหารความเครียด

  19. องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ ภายในตน กับคนอื่น ความฉลาดทางอารมณ์ พื้นอารมณ์ การปรับตัว การบริหารความเครียด

  20. ภายในตน รู้เท่าทันในอารมณ์ของตนเอง: เป็นความสามารถในการตระหนักในอารมณ์และความรู้สึกของตน รู้ว่าอะไรทำให้เกิดอารมณ์นั้นๆ กล้าแสดงออก: สามารถแสดงความรู้สึก ความเชื่อ และความคิดของตน เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตน โดยการแสดงออกเป็นไปแบบไม่ทำลายล้าง คนกล้าแสดงออกไม่เป็นคนที่อวดเบ่งจนเกินไป และไม่เป็นคนขี้อาย สามารถแสดงออกโดยไม่ก้าวร้าวหรือไปล่วงละเมิดคนอื่น

  21. นับถือตนเอง: สามารถยอมรับจุดแข็งจุดอ่อนของตน ยอมรับขีดจำกัดและสิ่งที่ตนทำได้ มีความมั่นใจในตนเองและมีจิตที่เข้มแข็ง ตระหนักรู้ในตน: สามารถรู้ศักยภาพของตน รู้จักทำเพื่อให้ชีวิตมีความหมาย และใช้ชีวิตให้คุ้มค่า การตระหนักรู้ในตนเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่คนพยายามพัฒนาตนให้เต็มตามศักยภาพ เป็นคนที่พัฒนาตนตลอดเวลา

  22. พึ่งพาตนเอง: สามารถดูแลตนเองไม่ต้องอาศัยคนอื่นมาปกป้องหรือคอยช่วยเหลือ เป็นคนมีความมั่นใจในตนเอง มีพลังในตัว ปรารถนาให้ความคาดหวังของตนเป็นจริง และ ทำสิ่งที่ตนเองควรทำ แต่ไม่ให้ความคาดหวังหรือสิ่งที่ควรทำมาเป็นนายจนเป็นทุกข์.

  23. กับคนอื่น เห็นอกเห็นใจคนอื่น: สามารถตระหนักรู้ เข้าใจ และ รับรู้ความรู้สึกของคนอื่น ความรู้สึกไวเข้าใจว่าอะไร ทำไม อย่างไรที่ทำให้คนอื่นรู้สึกอย่างนั้น สามารถอ่านอารมณ์ ความรู้สึกคนอื่นได้ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล: สามารถสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่พึงพอใจร่วมกันกับคนอื่น ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความสนิทชิดเชื้อ ต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งฝ่ายให้และฝ่ายรับความรักความ

  24. ปรารถนาดี เป็นสัมพันธภาพที่ให้มีความสุขอบอุ่นใจเมื่ออยู่ด้วยกัน อยู่กันอย่างง่ายๆไม่มีพิธีรีตรอง รับผิดชอบต่อสังคม: สามารถแสดงตนทำงานร่วมกันคนอื่น เป็นผู้ให้ และเป็นสมาชิกสังคมที่สร้างสรรค์ผลงานรับผิดชอบทำให้สังคมทั้งๆที่รู้ว่าตนจะไม่ได้รับผลประโยชน์ส่วนตน เอาสังคมเป็นที่ตั้ง

  25. การปรับตัว สามารถแก้ปัญหา: สามารถระบุและนิยามปัญหา สามารถคิดหาทางออกที่ได้ผล คิดอย่างรอบคอบ มีเหตุมีผล มีระบบระเบียบ ในการมองปัญหาและทางแก้ไขปัญหา ต้องการแก้ปัญหาให้ดีที่สุด เผชิญหน้ากับปัญหามากกว่าหนีปัญหา

  26. ทดสอบความเป็นจริง: สามารถประเมินประสบการณ์ที่ได้กับความเป็นจริงที่เกิด พยายามหาข้อเท็จจริง หลักฐานจริงเพื่อยืนยัน เพื่อตัดสิน สนับสนุนการรับรู้และความคิดของตน เป็นการทำให้ข้อมูลที่ได้กระจ่าง

  27. ยืดหยุ่น:สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย คาดเดาไม่ออก และ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอด ไม่ติดกับกรอบเมื่อเห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยน เปลี่ยนความคิดเมื่อมีหลักฐานแสดงว่าคิดผิด ไม่ยึดติดกับความคิดว่าถ้าตนตัดสินใจแล้วเปลี่ยนไม่ได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นจนเกินงาม เป็นคนใจกว้าง เปิดใจ และอดทนฟังความคิดเห็น แนวคิด หรือ การกระทำที่ต่างไปจากตน

  28. การบริหารความเครียด ทนทานต่อความกดดัน:สามารถทนต่อภาวการณ์ที่มีอุปสรรค ขวากหนาม และ ภาวะความกดดัน “ไม่ล้มสลาย” เผชิญกับปัญหาโดยความคิดทางบวก มียุทธศาสตร์และฝึกใช้ยุทธศาสตร์ในการเผชิญกับความกดดันคนที่ทนทานต่อความกดดันสูงจะเข้าเผชิญกับปัญหามากกว่า “ถอยหนี” ไม่ยอมแพ้ ไม่ท้อถอยด้วยความรู้สึกสิ้นหวัง หรือ รู้สึกหมดหวัง

  29. ควบคุมตัวเมื่อถูกกระตุ้น: สามารถยับยั้งชั่งใจ หรือชะลอความอยากเมื่อมีสิ่งล่อใจให้ทำ สามารถควบคุมตนเอง รู้จักรอ ไม่ตะกุมตะกราม ไม่แสดงความกระหายอยาก ทุรนทุรายที่จะเอาให้ได้ สามารถจัดการอารมณ์อยากในขณะนั้นๆ

  30. พื้นอารมณ์ ความสุข: รู้สึกพึงพอใจกับชีวิต มีความสุขส่วนตน และรู้สึกที่ดีกับคนอื่น จิตใจสดชื่น ร่าเริง คนที่มีความสุขรู้สึกดีและไม่เครียดกับการทำงาน ทำตัวสบายๆ และ สนุกสนานเมื่อโอกาสอำนวย ความสุขเป็นผลที่เกิดขึ้นและเป็นปรอทวัดความฉลาดทางอารมณ์และรู้จักบริหารจัดการอารมณ์

  31. มองโลกในแง่ดี: มองโลกในแง่สดใส และ คงเจตคติทางบวกแม้เผชิญกับอุปสรรคขวากหนาม มองโลกในแง่ดีต่างกับคนที่มองโลกในแง่ร้ายซึ่งบอกอาการเก็บกด

  32. ทำไมความฉลาดทางอารมณ์จึงมีความสำคัญ ? - ความฉลาดทางอารมณ์ช่วยทำอะไรให้สำเร็จได้สูงกว่าสมองปราดเปรื่องอย่างเดียว - ผู้นำที่บริหารสำเร็จมีความฉลาดทางอารมณ์สูง - การปฏิบัติของผู้บริหารมีทั้งที่ทำให้ทุกคนระคายเคืองไปหมด หรือกลับกันกล่อมให้คนทุ่มเทสุดตัว

  33. ทำไมความฉลาดทางอารมณ์จึงมีความสำคัญทำไมความฉลาดทางอารมณ์จึงมีความสำคัญ - สองในสามของลูกน้องบอกว่าที่ทำงานให้ไม่ เต็มที่ มาจากความไม่เอาไหน พูดไม่เข้าหู ทำตัวไม่เป็น ของเจ้านาย

  34. EQ ดี ทำให้เกิด ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำทุกอย่างด้วยใจ สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ควบคุมสติได้ดี มีอุเบกขา สามารถเผชิญกับความหลากหลายของชีวิต Self Esteem สูง ภาคภูมิใจ ในตัวเอง ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่กลัวสิ่งท้าทาย ไม่กลัวการเผชิญหน้า ไม่กลัวความผิดหวัง สนุกกับการเรียน, การทำงาน

  35. ปรากฏการณ์ที่เห็นได้จริงในชีวิตประจำวันปรากฏการณ์ที่เห็นได้จริงในชีวิตประจำวัน - ทำไมบางคนมีความอึดทำงานจนสำเร็จ ขณะที่บางคนทิ้งงาน หรือ บางคนอาจเลิกไปเลย ? - ทำไมความสำเร็จของคนที่มีพรสวรรค์/มีระดับสติปัญญาสูงจึงห่างไกลจากศักยภาพจริงของคน? - ทำไมบางองค์กรยังคงอยู่ในวงการในขณะที่บางองค์กรล้มสลาย?

  36. ความฉลาดในการฟันฝ่าขวากหนาม (AQ) Paul G Stoltz ชีวิตคนเหมือนนักปีนภูเขา ความอิ่มเอิบคือ ความสำเร็จที่ปีนถึงยอดเขา อันเกิดจาก การมุ่งมั่น ความพยายาม การก้าวย่างที่เป็นไปอย่างช้าๆ ทุกย่างก้าวที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวด ยากลำบาก

  37. ความสำเร็จ คือ ระดับความก้าวหน้า หรือ การได้เลื่อนระดับสูงขึ้น, ความรุ่งเรืองของงานที่ทำตลอดชีวิต ทั้งๆที่มีอุปสรรคและขวางหนามที่มาในรูปแบบต่างๆ

  38. ความฉลาดในการฟันฝ่าอุปสรรค (AQ)? - ความฉลาดในการฟันฝ่าอุปสรรคเป็นกรอบความคิด AQ ที่ทำให้เข้าใจและเห็นแง่มุมต่างๆที่ทำให้เกิดความสำเร็จ - AQ เป็นมาตรวัดว่าบุคคลจะตอบสนองต่ออุปสรรคอย่างไร

  39. - AQ ให้เครื่องมือที่ตั้งบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์เพื่อปรับปรุงการตอบสนองต่ออุปสรรค ดังนั้น AQ เป็นทั้งความรู้ เครื่องมือวัด และ แนะการปฏิบัติที่ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เราเผชิญในชีวิตประจำวัน และ การเผชิญต่ออุปสรรคเมื่อเราพยายามก้าวไปข้างหน้า หรือ ไต่เต้าให้สูงขึ้น

  40. เป็นเครื่องมือวัด แนวทางไต่เต้า AQ ทำให้เป็นคนที่มีประสิทธิภาพ

  41. CORE แสดงว่าบุคคลจะแสดงออกอย่างไรเมื่อเผชิญกับสิ่งท้าทายในชีวิตประจำวัน เช่น ในหน้าที่การงาน การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร การดำเนินชีวิตครอบครัว ความไม่นิ่งของการเมือง หนี้สิน เป็นต้น

  42. CORE Control - การควบคุม Owner - ความเป็นเจ้าของ Reach - การเข้าถึง Endurance – ความอุตสาหะ พยายาม

  43. CORE Control - การควบคุม Owner - ความเป็นเจ้าของ Reach - การเข้าถึง Endurance -- ความอุตสาหะ พยายาม

  44. C(การควบคุม)หมายความ ถึงการควบคุมความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์และการรับรู้ว่าตนจะทำให้เกิดผลกระทบอะไรต่อสถานการณ์

  45. O(ความเป็นเจ้าของ)เป็นมุมมองต่อบทบาทของตนต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งที่ตนจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสถานการณ์O(ความเป็นเจ้าของ)เป็นมุมมองต่อบทบาทของตนต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งที่ตนจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสถานการณ์

  46. R (การเข้าถึง)เป็นการมองว่าบุคคลยอมให้ปัญหาหนึ่งๆ ในชีวิตแทรกแซงด้านอื่นๆของชีวิตตน เช่นปัญหาในการทำงานกระทบการปฏิบัติหน้าที่และความสัมพันธ์ที่ตนมีต่อคนอื่นในที่ทำงานเดียวกันมากน้อยเพียงใด

  47. E(ความอุตสาหะพยายาม) เป็นการรับรู้ของบุคคลว่าปัญหาที่เกิดนั้นจะยาวนานเพียงใด เช่น รับรู้ว่า “ปัญหานี้ทำให้ชีวิตฉันสิ้นอนาคตเลย” หรือ “อุปสรรคนี้ก็จะผ่านไปเหมือนอุปสรรคอื่นๆก่อนหน้านี้”

  48. AQ เป็นเรื่องของบุคคล แต่มีผลกว้างไปกว่านั้น AQ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของ: - ชุมชน - การทำงานเป็นทีม - วัฒนธรรม - สัมพันธภาพ - ครอบครัว - สังคม - องค์กร

  49. AQ สามารถทำนาย - ประสิทธิภาพของการปฏิบัติ - แรงจูงใจ - พลังในตนเอง - ความคิดสร้างสรรค์ - การเรียนรู้

  50. - ความร่าเริง ความสุข - สุขภาพกายสุขภาพจิต - การเกาะติดสิ่งที่กำลังปฏิบัติ - เจตคติ - การสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลง

More Related