1 / 21

วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics

วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics. อ . มานิตา หนูสวัสดิ์. สัปดาห์ที่ 5: วัฒนธรรมทางการเมือง Political Culture. วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture). ความหมาย

zaynah
Download Presentation

วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics อ.มานิตา หนูสวัสดิ์

  2. สัปดาห์ที่ 5: วัฒนธรรมทางการเมืองPolitical Culture

  3. วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) • ความหมาย • วัฒนธรรมทางการเมือง คือ รูปแบบของการกำหนดทิศทางสู่เป้าหมายทางการเมือง ส่วนใหญ่แสดงออกในรูปแบบของความเชื่อ, สัญลักษณ์ และคุณค่า (Heywood 2002: 206) • วัฒนธรรมทางการเมือง คือ แบบอย่างของทัศนคติและความโน้มเอียงซึ่งบุคคลในฐานะสมาชิกของระบบการเมืองมีต่อการเมือง (Almond and Powell1966) • วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง ความคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม โดยเฉพาะความคิดและความเข้าใจต่อการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรในสังคม (นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2554: 51)

  4. ความสำคัญและบทบาทของวัฒนธรรมทางการเมือง • สำหรับบุคคล วัฒนธรรมทางการเมืองทำหน้าที่เป็นเครื่องชี้แนะแนวทางการประพฤติทางการเมืองให้แก่บุคคล โดยการช่วยตีความสิ่งที่เป็นการเมือง • สำหรับสังคมโดยรวม วัฒนธรรมทางการเมืองเปรียบเสมือนแบบแผนของค่านิยมและบรรทัดฐานทางการเมือง ซึ่งช่วยให้การทำงานของสถาบันและองค์กรทางการเมืองต่างๆมีความสอดคล้องกันพอสมควร • บทบาทที่สำคัญของวัฒนธรรมทางการเมือง คือ มีส่วนสนับสนุนให้ความชอบธรรมกับระบอบการเมืองในสังคมนั้นๆดำรงอยู่และมีความมั่นคง และในขณะเดียวกันอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการดำเนินงานของระบบการเมือง

  5. ความสำคัญและบทบาทของวัฒนธรรมทางการเมือง • การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง ไม่ได้มุ่งเน้นแต่การศึกษาโครงสร้างทางการเมืองเท่านั้น แต่มุ่งเน้นตีความว่าคนมีความเชื่ออย่างไรเกี่ยวกับโครงสร้างและพฤติกรรมดังกล่าว ทั้งนี้เพราะความเชื่อเหล่านี้เองที่ให้ความหมายต่อพฤติกรรมของคนทั้งสำหรับตัวเขาเอง และสำหรับคนอื่น การศึกษาความเชื่อเหล่านี้จึงเป็นแนวทางในการอธิบายว่า ทำไมคนจึงมีพฤติกรรมทางการเมืองออกมาในรูปแบบอื่นๆ (พฤทธิสาร ชุมพล 2550: 97) • วัฒนธรรมทางการเมืองมีผลต่อคุณค่า ความเชื่อ ความคิดและความเห็นต่อระบอบการเมืองที่เราอาศัยอยู่

  6. รูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมือง • 1. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ (Parochial political culture) • 2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject political culture) • 3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participant political culture)

  7. รูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมือง • 1. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ (Parochial political culture) • วัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้ ประชาชนแทบไม่มีความสัมพันธ์กับระบบการเมืองและขาดสำนึกความเป็นพลเมืองของรัฐ เขาไม่คิดว่าการเมืองระดับชาติจะกระทบเข้าได้ และเขาไม่หวังว่าระบบการเมืองระดับชาติจะตอบสนองความต้องการอะไรของเขาได้

  8. รูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมือง • 2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject political culture) • วัฒนธรรมทางการเมืองในรูปแบบนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมรู้จักสถาบันทางการเมืองและมีความรู้สึกต่อมันไม่ว่าในแง่บวกหรือลบ ประชาชนเริ่มมีสนใจและความสัมพันธ์กับระบบการเมือง คือ เขารู้ว่าระบบการเมืองสามารถจัดสรรและจัดการผลประโยชน์ให้เขาได้ แต่เขาไม่สามารถบทบาทหรืออิทธิพลต่อระบบการเมืองนั้นได้ เขารู้เรื่องราวเกี่ยวกับอำนาจรัฐและการเมืองและยอมรับกับระบบนั้นๆ แต่ไม่รู้ว่าตนจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมผ่านช่องทางหรือกลไกใด

  9. รูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมือง • 3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participant political culture) • วัฒนธรรมการเมืองแบบนี้ ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับระบบการเมืองและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ ประชาชนมีสำนึกและตระหนักถึงบทบาทของตนในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง พวกเขาเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถมีอิทธิพลต่อการเมืองได้และมีอำนาจที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

  10. รูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมือง • อย่างไรก็ดีจากการศึกษาพบว่าในสังคมหรือประเทศหนึ่งๆไม่ได้มีวัฒนธรรมทางการเมืองเพียงตัวแบบหรือประเภทเดียว แต่มักเป็นในรูปแบบการผสมผสานของ 3 ประเภทของวัฒนธรรมทางการเมืองเหล่านี้ • แบบคับแคบ-ไพร่ฟ้า, แบบไพร่ฟ้า-มีส่วนร่วม, แบบคับแคบ-มีส่วนร่วม

  11. ความสัมพันธ์ • การกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) ผลกระทบต่อระบบการเมือง (Effects of Political System)

  12. ข้อสังเกตเกี่ยวกับความคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง • 1. แนวทางการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองในแบบพลเมือง (Civic culture) เน้นการศึกษาทัศนคติและคุณค่าที่ประชาชนมีต่อการเมือง (เป็นการศึกษาในเชิงจิตวิทยา) ซึ่งเชื่อว่าทัศนคติหรือวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองมีส่วนในการเสริมสร้างความมั่นคงของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย • เสถียรภาพหรือความมั่นคงของประชาธิปไตยต้องมีพื้นฐานจากวัฒนธรรมทางการเมืองที่ผสมผสานระหว่างความพอดีของการบังคับ การยินยอมให้ปกครอง และการแสดงออกการมีส่วนร่วมทางการเมือง

  13. ข้อสังเกตเกี่ยวกับความคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองข้อสังเกตเกี่ยวกับความคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง • 2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองเป็นสาเหตุหรือผลต่อประชาธิปไตยวัฒนธรรมทางการเมืองจะเป็นชี้วัดคุณภาพของประชาธิปไตยได้หรือไม่ หรือ วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นเงื่อนไขที่สนับสนุนให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่ • 3. วัฒนธรรมทางการเมืองย่อย – กลุ่มเชิงชนชั้น ชาติพันธุ์ ศาสนา ฯลฯ ในสังคมมันมีความซับซ้อนของวัฒนธรรมทางการเมืองหลักและย่อย และแต่ละส่วนมีพลวัตต่อกันและกันอย่างมาก วัฒนธรรมทางการเมืองย่อยอาจมีผลกระทบในแง่เสถียรภาพของระบบการเมืองการปกครอง

  14. ข้อสังเกตเกี่ยวกับความคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองข้อสังเกตเกี่ยวกับความคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง • 3. แนวทางการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองในฐานะเป็นอุดมการณ์หรืออำนาจ (Hegemony) – การอธิบายที่ชัดเจนมากที่สุดคือการอธิบายของ Marxist ที่มองว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน เป็นส่วนที่สำคัญของลักษณะชนชั้นเพื่อใช้บอกตำแหน่ง ฐานะ ผลประโยชน์ วัฒนธรรมในแบบที่สองเป็นรูปแบบของความคิดของชนชั้นปกครอง (อุดมการณ์) ในความหมายนี้วัฒนธรรมทางการเมือง คือ สิ่งที่เรียกว่าอุดมการณ์ของชนชั้นนำเป็นพลังอำนาจทางวัฒนธรรม คุณค่า และความเชื่อ ทำหน้าที่สำคัญ คือ การประนีประนอมและเป็นกันชนกับชนชั้นใต้ปกครองซึ่งทำให้ชนชั้นนายทุนยังสามารถครองอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองได้ โดยผ่านเครื่องมือ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ตำนาน

  15. วัฒนธรรมทางการเมืองไทยวัฒนธรรมทางการเมืองไทย • การศึกษาวัฒนธรรมการเมืองไทยในช่วงหนึ่งมุ่งศึกษาที่จะตอบคำถามว่า วัฒนธรรมการเมืองของผู้ที่ถูกศึกษาเป็นเช่นไร เป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด และที่เป็นเช่นนั้นมีสาเหตุจากการกล่อมเกลาในสถาบันการเมืองใด แต่ไม่ค่อยศึกษาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองกับระบอบการปกครองในการศึกษาว่าวัฒนธรรมทางการเมืองมันตีกรอบกำหนดความเป็นไปของระบอบการปกครองได้อย่างไร (พฤทธิสาร ชุมพล 2550: 113)

  16. วัฒนธรรมทางการเมืองไทยวัฒนธรรมทางการเมืองไทย • จากบทความ “วัฒนธรรมทางการเมืองไทย” อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ • การอธิบายลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางไทย เพื่อสามารถทำความเข้าใจพฤติกรรมทางการเมืองที่ผ่านมา เช่น คำถามว่าทำไมคนชนชั้นกลางในเมือง (กทม.) ถึงสนับสนุนหรือให้ความชอบธรรมต่อการใช้ความรุนแรงของรัฐในการสลายการชุมนุม เมษา- พฤษภา 2553, ทำไมชนชั้นกลางในเมืองสนับสนุนการทำรัฐประหาร แต่ไม่สนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง, ทำไมเรื่องการเมืองสำหรับคนบางกลุ่มเป็นเรื่องสำคัญและแลกมาด้วยการต่อสู้ ในขณะที่คนบางกลุ่มกลับไม่เดือดร้อนไม่เห็นใจเหตุการณ์ทางการเมืองที่มันรุนแรงหรือปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มคนที่อยู่ห่างไกลออกไป

  17. วัฒนธรรมทางการเมืองไทยวัฒนธรรมทางการเมืองไทย • วัฒนธรรมทางการเมือง ของอ.นิธิ คือ ความคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง – เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมและการจัดสรรและแบ่งปันทรัพยากร สิ่งที่เกิดจากวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นผลต่อพฤติกรรมการเมืองของกลุ่มคนต่างๆและส่งผลต่อระบบการเมืองด้วย • วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยเกิดขึ้นและมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการเมืองที่มีมาก่อน วัฒนธรรมทางการเมืองมีลักษณะไม่หยุดนิ่งและลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองบางอย่างก็สืบทอดถึงปัจจุบัน ผ่านการศึกษา สื่อ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน

  18. วัฒนธรรมทางการเมืองไทยวัฒนธรรมทางการเมืองไทย • วัฒนธรรมทางการเมืองไทยใน 3 ยุค 1. ไทยโบราณ (ก่อน ร.5) • สังคมสมัยนั้นอำนาจกระจายอยู่ในชนชั้นปกครอง มีการต่อรองและเล่นการเมืองระหว่างขุนนาง – เกิดลักษณะความสัมพันธ์แบบพึ่งพาหรือระบบอุปถัมภ์ เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่พึ่งพากันและกัน 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ • วัฒนธรรมการเมืองแบบรวมศูนย์ หลังร.5 สถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยรวมอำนาจทั้งหลายอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของกษัตริย์

  19. วัฒนธรรมทางการเมืองไทยวัฒนธรรมทางการเมืองไทย 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ • การเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำเท่านั้น – เป็นเรื่องเฉพาะของชนชั้นนำ ที่มีความรู้และฐานะทางเศรษฐกิจ มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของความรู้และการใช้เทคนิคขั้นสูงในการบริหาร (กีดกันประชาชนจากพื้นที่การเมือง) ให้คุณค่ากับการเมืองที่มีความสงบเรียบร้อย ฉะนั้นความหวาดกลัวต่อความไม่มั่นคงของชนชั้นตนเองจึงมีอยู่ เป็นเหตุให้การจัดการทางการเมืองมีแนวโน้มในการใช้ความรุนแรงอย่างมาก (เช่น รัฐใช้ความรุนแรงในการปราบปรามกลุ่มกบฏ กลุ่มที่คิดต่าง) • พัฒนาการของชนชั้นกลางไทยมาตั้งแต่ช่วงสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ – พวกพ่อค้า, ข้าราชการ

  20. วัฒนธรรมทางการเมืองไทยวัฒนธรรมทางการเมืองไทย 3. ในระบอบการเลือกตั้งและรัฐประหาร • วัฒนธรรมการเมืองที่ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือยังมีอยู่ แต่อาจมีสมรรถภาพในการใช้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น, วัฒนธรรมทางการเมืองของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังคงอยู่ (ภายใต้สถาบันกษัตริย์ที่เคารพยกย่อง) ในขณะเดียวกันชนชั้นกลางยังสามารถควบคุมอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ผ่านอำนาจทางกฎหมายและสื่อ • คนชนชั้นกลางนอกระบบราชการมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพัฒนาวัฒนธรรมของสังคมใหม่ๆขึ้นและสถาปนาวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ผ่านการวางกฎเกณฑ์มาตรฐานวิถีชีวิตแทนชนชั้นสูงในระบบเก่า

  21. อ้างอิงและเรียบเรียง • นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554) วัฒนธรรมทางการเมืองไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 12, 49-63. • บูฆอรี ยีหมะ. (2554) ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. • พฤทธิสาณ ชุมพล. (2550) ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. • Heywood, A. (2002) Politics. 2nd edition. New York: Palgrave Macmillan.

More Related