1 / 18

แนวทางการจัดตำแหน่งเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ ตามพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 :

แนวทางการจัดตำแหน่งเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ ตามพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 : (มาตรา 131). การจัดตำแหน่งปัจจุบันเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่. พิจารณาตาม ตำแหน่ง มิใช่ตัวบุคคลหรือคุณวุฒิของบุคคล จัดตำแหน่งตามสายงานและระดับที่ปรากฏใน บัญชีตำแหน่ง ของส่วนราชการที่ ก.พ.

Download Presentation

แนวทางการจัดตำแหน่งเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ ตามพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 :

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการจัดตำแหน่งเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่แนวทางการจัดตำแหน่งเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ ตามพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551: (มาตรา 131)

  2. การจัดตำแหน่งปัจจุบันเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่การจัดตำแหน่งปัจจุบันเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ • พิจารณาตาม ตำแหน่ง มิใช่ตัวบุคคลหรือคุณวุฒิของบุคคล • จัดตำแหน่งตามสายงานและระดับที่ปรากฏในบัญชีตำแหน่งของส่วนราชการที่ ก.พ. • กำหนด • จัดตำแหน่งตามระดับของผู้ครองตำแหน่ง ณ วันที่ ก.พ. ประกาศตามมาตรา • 131 (เช่น ตำแหน่งระดับ 3-5 /6ว ซึ่งผู้ครองตำแหน่งมีระดับ 6ว ณ วันที่ ก.พ. • ประกาศ ให้จัดตำแหน่งเป็น ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ) • กรณีตำแหน่งว่างและเป็นตำแหน่งระดับควบ ให้ก.พ. ร่วมกับกรมพิจารณาตาม • ความจำเป็นและความเหมาะสม โดยกำหนดได้ไม่เกินระดับสูงสุดของตำแหน่งเดิม • จัดตำแหน่งโดยคงเลขที่ตำแหน่งไว้ตามเดิม • จัดตำแหน่งในปัจจุบันเข้าประเภทและระดับตำแหน่งใหม่ตาม แนวทางการจัด • ตำแหน่งเข้าระบบใหม่ ดังนี้

  3. การจัดตำแหน่งปัจจุบันเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่การจัดตำแหน่งปัจจุบันเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ แนวทางการพิจารณาจัดตำแหน่งเข้าระบบใหม่ • การจัดตำแหน่งเข้าประเภทตำแหน่ง • พิจารณาจากลักษณะงานและสายงานเป็นหลัก โดยพิจารณาจากบทบาทของตำแหน่งงานในแต่ละหน่วยราชการ รวมทั้งลักษณะงานของตำแหน่งงานนั้นๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงานราชการโดยรวม โดยทั่วไปแล้ว บทบาทของผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการอาจแบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานทั่วไป ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้เชิงวิชาการ ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารของส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงประเภทตำแหน่งที่กำหนดไว้ในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้แก่ ตำแหน่งประเภททั่วไป ตำแหน่งประเภทวิชาการ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทบริหาร ในระบบจำแนกตำแหน่งใหม่นั่นเอง

  4. การพิจารณาว่าสายงานใดจะจัดอยู่ในประเภทตำแหน่งใด มีแนวทางดังนี้ 1.1 ตำแหน่งในสายงานที่เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ที่เป็นหัวหน้า ส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือกรม อาทิ นักบริหาร 11 บส. (ปลัดกระทรวง) นักบริหาร 10 บส. (อธิบดี) นักปกครอง 10 บส. (ผู้ว่าราชการจังหวัด) นักบริหาร 9 บส. (รองอธิบดี) เป็นต้น และตำแหน่งอื่นๆ ที่เทียบเท่า ให้จัดเข้า ประเภทบริหาร 1.2 ตำแหน่งในสายงานที่เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง และระดับสูง อาทิเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานนโยบายและแผน 9 บส. (ผู้อำนวยการสำนัก) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 บก. (ผู้อำนวยการกอง) เป็นต้น ให้จัดเข้า ประเภทอำนวยการ 1.3 ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นระดับ 3 ซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้ที่จบวุฒิปริญญาในการปฏิบัติงาน อาทิ ตำแหน่งนักวิชาการ... หรือ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์... เป็นต้น ให้จัดเข้า ประเภทวิชาการ 1.4 ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นระดับ 1-2 ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ที่จบวุฒิปริญญาในการปฏิบัติงาน อาทิ เจ้าหน้าที่... เจ้าพนักงาน... ช่าง... นายช่าง... เป็นต้น ให้จัดเข้า ประเภททั่วไป

  5. 2. การจัดตำแหน่งเข้าระดับตำแหน่ง พิจารณาจากคุณภาพงานและค่าของงานเป็นหลัก โดยคำนึกถึงความยุ่งยาก และความซับซ้อนของตำแหน่งงาน ซึ่งพิจารณาจากองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ได้แก่ ความรู้ความสามารถที่จำเป็นต้องใช้ในงาน (know-how) การแก้ปัญหาตัดสินใจ (problem solving) และขอบเขตของความรับผิดชอบและผลกระทบ (accountability and impact) ระหว่างปี 2544-2546 สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับบริษัท เฮย์กรุ๊ป จำกัด ศึกษาปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน โดยการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) และการประเมินค่างาน (Job Evaluation) โดยได้สำรวจและทบทวนงานในราชการพลเรือน และประมวลผลจากแบบสอบถามผู้ครองตำแหน่งในราชการพลเรือน จำนวนกว่า 50,000 ชุด ผลการวิเคราะห์งานและประเมินค่างาน ถือเป็นหลักสำคัญในการจัดตำแหน่งจากระบบจำแนกตำแหน่งเดิมเข้าระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ โดยผลการจัดตำแหน่งตามระดับ มีดังนี้ อย่างไรก็ดี ในการกำหนดระดับตำแหน่งในระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ และการจัดระดับตำแหน่ง นั้น มิได้ใช้ผลการประเมินค่างานในระบบจำแนกตำแหน่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พิจารณาจากโครงสร้างส่วนราชการประกอบด้วย (Organization Classification) เนื่องจากการจัดโครงสร้าง ส่วนราชการและการแบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นแนวทางการกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ซึ่งสะท้อนถึงความยุ่งยากในการปฏิบัติงานของผู้ครองตำแหน่งตามโครงสร้างส่วนราชการ และระดับชั้นในการบังคับบัญชา

  6. 2.1 ตำแหน่งประเภทบริหาร การกำหนดระดับตำแหน่งประเภทบริหารซึ่งเป็นตำแหน่งระดับหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือเทียบเท่าและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า และรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า รวมถึงตำแหน่งผู้ตรวจราชการระดับกระทรวง นั้น มิได้พิจารณาจากผลการประเมินค่างาน แต่พิจาณาจากโครงสร้างส่วนราชการเป็นสำคัญ เนื่องจากลักษณะตำแหน่งดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการตามโครงสร้างส่วนราชการซึ่งปรากฏในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นตำแหน่งในส่วนราชการที่มีคุณภาพงานและความยุ่งยากของงานในระดับที่แตกต่างกันและมีผลการประเมินค่างานทีแตกต่างกันมากก็ตาม โดยกำหนดไว้ 2 ระดับ ประกอบด้วย ระดับต้น และระดับสูง ในการจัดระดับตำแหน่งในระบบจำแนกตำแหน่งในปัจจุบันเข้าระดับตำแหน่งในประเภทบริหาร จะพิจารณาจากตำแหน่งหัวหน้าและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับตำแหน่ง 9 บส. 10 บส. และ11 บส. เป็นหลัก โดยตำแหน่งระดับ 9 บส. จัดเข้าระดับต้น และตำแหน่งระดับ 10 บส. และ11 บส. จัดเข้าระดับสูง(รายละเอียดตามภาพ)

  7. การจัดตำแหน่ง: ประเภทบริหาร ระดับ 11 บส. - ปลัดกระทรวง - ห.น.สรก.ในบังคับบัญชา หรือขึ้นตรงต่อนรม. - ที่ปรึกษานรม. • ระดับ 10 บส. • - รองปลัดกระทรวง • - รองหัวหน้าสรก.ในบังคับบัญชา • หรือขึ้นตรงต่อนรม. • - หัวหน้าสรก.ระดับกรม/จังหวัด • - หัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต • - หัวหน้าคณะทูตถาวร • ประจำสหประชาชาติ • หรือประจำสนง.สหประชาชาติ • - ผู้ตรวจราชการกระทรวง • ผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ • - ที่ปรึกษานรม. ระดับสูง (502 คน) • ระดับ 9 บส. • รองหัวหน้าสรก.ระดับกรม/จังหวัด • รองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต • รองหัวหน้าคณะทูตถาวรประจำสหประชาชาติหรือประจำสนง.สหประชาชาติ • หัวหน้าสถานกงสุล • - ที่ปรึกษานรม. ระดับต้น (447 คน)

  8. 2.2 ตำแหน่งประเภทอำนวยการ การกำหนดระดับตำแหน่งในประเภทอำนวยการซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับสำนัก / กอง หรือเทียบเท่า เป็นการพิจารณาจากผลการประเมินค่างาน และผลการสำรวจหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพงาน และความยุ่งยากของตำแหน่งเป็นสำคัญ ประกอบกับการแบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ (เฉพาะในข้อที่ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ) จึงกำหนดระดับตำแหน่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น และระดับสูง ในการจัดระดับตำแหน่งในระบบจำแนกตำแหน่งในปัจจุบันเข้าระดับตำแหน่งในประเภทอำนวยการ จะพิจารณาตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ปรากฏในกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ (เฉพาะในข้อที่ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ) ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง / สำนัก หรือเทียบเท่า โดยตำแหน่งระดับ 8 บก. จัดเข้าระดับต้น และตำแหน่งระดับ 9 บส. จัดเข้าระดับสูง (รายละเอียดตามภาพ)

  9. การจัดตำแหน่ง: ประเภทอำนวยการ • ระดับ 9 บส. • ผอ. สำนัก หรือ เทียบเท่า • หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด • ผู้ตรวจราชการกรม • หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี ระดับสูง (1,169 คน) • ระดับ 8 บก. • ผอ. กอง หรือ เทียบเท่า • หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ระดับต้น (3,591 คน)

  10. 2.3 ตำแหน่งประเภทวิชาการ การกำหนดระดับตำแหน่งในประเภทวิชาการซึ่งเป็นตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางวิชาการในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ เป็นการพิจารณาจากผลการประเมินค่างาน และ ผลการสำรวจหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพงาน และความยุ่งยากของตำแหน่งงานเป็นสำคัญ ประกอบกับทิศทางการปฏิบัติงานราชการในอนาคตที่จะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นผู้สร้างงานและพัฒนางานให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น จึงกำหนดระดับตำแหน่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ในการจัดระดับตำแหน่งในระบบจำแนกตำแหน่งในปัจจุบันเข้าระดับตำแหน่งในประเภทวิชาการ จะพิจารณาตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานในสายงานเริ่มต้นระดับ 3 เดิม ซึ่งเป็นสายงานที่คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งกำหนดให้ใช้วุฒิปริญญาในการปฏิบัติงาน โดยตำแหน่งระดับ 3-5 จัดเข้าระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งระดับ 6-7 จัดเข้าระดับชำนาญการ ตำแหน่งระดับ 8 จัดเข้าระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งระดับ 9 จัดเข้าระดับเชี่ยวชาญ และตำแหน่งระดับ 10-11 จัดเข้าระดับทรงคุณวุฒิ (รายละเอียดตามภาพ)

  11. ข้อสรุปการจัดตำแหน่ง: ประเภทวิชาการ ระดับ 11 (วช./ชช.) ระดับทรงคุณวุฒิ (164 คน) ระดับ 10 (วช./ชช.) ระดับ 9 (วช./ชช.) ระดับเชี่ยวชาญ (1,605 คน) ระดับ 8 (ว/วช.) ระดับชำนาญการพิเศษ (19,115 คน) ระดับ 7 (ว/วช.) ระดับชำนาญการ (141,834 คน) ระดับ 6 (ว) ระดับ 5 ระดับปฏิบัติการ (61,889 คน) ระดับ 4 ระดับ 3 ได้แก่ ตำแหน่งในสายงานเริ่มต้นระดับ 3 เช่น นัก... นักวิชาการ... เจ้าหน้าที่วิเคราะห์... เป็นต้น

  12. 2.3 ตำแหน่งประเภททั่วไป การกำหนดระดับตำแหน่งในประเภททั่วไปซึ่งปฏิบัติงานครอบคลุมงานลักษณะที่ใช้ทักษะเฉพาะตัว งานช่วยอำนวยการ และงานปฏิบัติทางเทคนิค เป็นการพิจารณาจากผลการประเมิน ค่างาน และผลการสำรวจหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพงาน และความยุ่งยากของตำแหน่งงานเป็นสำคัญ จึงกำหนดระดับตำแหน่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ในการจัดระดับตำแหน่งในระบบจำแนกตำแหน่งในปัจจุบันเข้าระดับตำแหน่งในประเภททั่วไป จะพิจารณาตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานในสายงานเริ่มต้นระดับ 1และ2 เดิม ซึ่งเป็นสายงานที่คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งมิได้กำหนดให้ใช้วุฒิปริญญาในการปฏิบัติงาน โดยตำแหน่ง ระดับ 1-4 จัดเข้าระดับปฏิบัติงาน ตำแหน่งระดับ 5-6 จัดเข้าระดับชำนาญงาน และตำแหน่งระดับ 7-8 จัดเข้าระดับอาวุโส (รายละเอียดตามภาพ) สำหรับตำแหน่งระดับทักษะพิเศษ เป็นระดับตำแหน่งที่กำหนดไว้สำหรับบางลักษณะงานซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว และกำหนดไว้เพื่อรองรับการบริหารทรัพยากรบุคคลในอนาคต ดังนั้น ในการจัดตำแหน่งจากระบบเดิมเข้าระบบใหม่ จึงยังไม่มีตำแหน่งใดถูกจัดเข้าในระดับนี้

  13. ข้อสรุปการจัดตำแหน่ง: ประเภททั่วไป ระดับ 8 ระดับอาวุโส (2,725 คน) ระดับ 7 ระดับ 6 ระดับชำนาญงาน (104,331คน) ระดับ 5 ระดับ 4 ระดับปฏิบัติงาน (24,930คน) ระดับ 3 ระดับ 2 ระดับ 1 ได้แก่ ตำแหน่งในสายงานเริ่มต้นระดับ 1หรือ2 เช่น เจ้าหน้าที่... เจ้าพนักงาน... ช่าง... นายช่าง...เป็นต้น

  14. สรุปผลการจัดตำแหน่งเข้าประเภทและระดับตำแหน่งใหม่สรุปผลการจัดตำแหน่งเข้าประเภทและระดับตำแหน่งใหม่ บริหาร วิชาการ ระดับสูง 53,690 – 66,480 (10-11) 66,480 11 วช/ชช บส ทรงคุณวุฒิ 11 (10-11) ระดับต้น 48,700 – 64,340 (9) 10 วช/ชช บส 41,720 อำนวยการ 59,770 เชี่ยวชาญ 9 วช/ชช บส บส ระดับสูง (9) 31,280 - 59,770 (9) 29,900 วช 25,390 – 50,550 (8) 8 บก ระดับต้น 50,550 7 (8) ทั่วไป วช ชำนาญการพิเศษ 59,770 21,080 ทักษะพิเศษ 6 (9) 36,020 48,220 (6-7) ชำนาญการ 5 47,450 14,330 อาวุโส (7-8) 4 22,220 ปฏิบัติการ (3-5) 15,410 3 7,940 33,540 ชำนาญงาน (5-6) 2 10,190 1 18,190 ปฏิบัติงาน (1-4) 4,630

  15. บัญชีการจัดตำแหน่งและจัดคนลงในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานบัญชีการจัดตำแหน่งและจัดคนลงในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

  16. บัญชีการจัดตำแหน่งและจัดคนลงในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานบัญชีการจัดตำแหน่งและจัดคนลงในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

  17. บัญชีการจัดตำแหน่งและจัดคนลงในกรมพัฒนาฝีมือแรงงานบัญชีการจัดตำแหน่งและจัดคนลงในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

  18. รายการชื่อเรียกย่อ

More Related