1 / 46

โครงการ สัมนา การตอบข้อสอบกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25 สิงหาคม 2553

โครงการ สัมนา การตอบข้อสอบกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25 สิงหาคม 2553 โดย สโมสรนักศึกษานิติศาสตร์. คำแนะนำ การศึกษากฎหมายและการตอบข้อสอบกฎหมาย. A. ความรู้เพื่อการ ประกอบอาชีพในอนาคต. W. B+. B. C+. C. F. D+. D. ความเข้าใจเบื้องต้น.

wade-fulton
Download Presentation

โครงการ สัมนา การตอบข้อสอบกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25 สิงหาคม 2553

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการสัมนา การตอบข้อสอบกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25 สิงหาคม 2553 โดย สโมสรนักศึกษานิติศาสตร์

  2. คำแนะนำ การศึกษากฎหมายและการตอบข้อสอบกฎหมาย A ความรู้เพื่อการ ประกอบอาชีพในอนาคต W B+ B C+ C F D+ D

  3. ความเข้าใจเบื้องต้น การตอบข้อสอบกฎหมายที่ดีประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักที่สำคัญคือ • คำตอบที่ถูกต้องด้วยกฎหมายและเหตุผล (หลักกฎหมายกับความเข้าใจในถ้อยคำของกฎมาย และการวิเคราะห์หาประเด็นข้อพิพาท) รูปแบบการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายที่สมบูรณ์

  4. การคิดและเขียนตอบข้อสอบกฎหมายการคิดและเขียนตอบข้อสอบกฎหมาย ต้องทราบว่าโจทย์ถามอย่างไร หรือให้ตอบอย่างไร วิธีการตอบข้อสอบกฎหมาย 1. ข้อสอบกฎหมายแบบบรรยาย คำถามให้ตอบอย่างไร, ข้อสอบนี้มีกี่คำถาม, คำถามนั้นมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หรือเกี่ยวกับทฤษฎี หลักการ แนวคิดอย่างไร 2 2. ข้อสอบกฎหมายแบบวินิจฉัยข้อเท็จจริง/ข้อสอบตุ๊กตา 1 การกำหนดประเด็นที่ต้องวินิจฉัย 2.1 การตอบแนววางหลักกฎหมาย • ประเด็นคือ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยความรู้ในข้อกฎหมายเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงในคดีหรือในข้อสอบนั้นเอง • ประเด็นที่ได้อาจมีทั้งประเด็นหลัก และประเด็นรอง • ประเด็นที่นักศึกษาวิเคราะห์ได้จากข้อสอบ และสิ่งที่โจทก์ถาม(ท้ายข้อสอบ)จะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาของคำตอบในข้อนั้น ๆ 2.2 การตอบแนวฟันธง การฝึกฝนภาษากฎหมาย 3 เทคนิคและข้อควรปฏิบัติอื่น ๆ

  5. การคิดและตอบข้อสอบกฎหมาย(ต่อ)การคิดและตอบข้อสอบกฎหมาย(ต่อ) คำถามให้ตอบอย่างไร, ข้อสอบนี้มีกี่คำถาม, คำถามนั้นมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หรือเกี่ยวกับทฤษฎี หลักการ แนวคิดอย่างไร ต้องทราบว่าโจทย์ถามอย่างไร หรือให้ตอบอย่างไร กฎหมายสามยุคมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร และแต่ละยุคมีลักษณะสำคัญเหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร นายฟ้าซื้อที่ดินมาโดยทราบดีว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ นายฟ้าจึงขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของนายเมฆซึ่งเป็นทางที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุดแต่นายเมฆไม่ยินยอม โดยอ้างว่าการขอใช้ทางจำเป็นของนายฟ้าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะนายฟ้าซื้อที่ดินมาโดยทราบเป็นอย่างดีว่าตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่นจนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ ทั้งนายฟ้ามิได้เสนอใช้ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางจำเป็นดังกล่าวผ่านที่ดินของนายเมฆด้วย ให้วินิจฉัยว่าข้ออ้างของนายเมฆฟังขึ้นหรือไม่

  6. นางสาพาเด็กหญิงเขียวบุตรสาวซึ่งอยู่ในรถเข็นเด็กไปเที่ยวเดินเล่นในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ขณะที่เดินอยู่นั้น นายแดงได้แหย่สุนัขพันร็อทไวเลอร์ของเด็กชายเหลือง ซึ่งบิดามารดาปล่อยให้พามาเดินเล่นโดยไม่มีตะกร้อครอบปาก สุนัขของเด็กชายเหลืองมีนิสัยดุร้ายโมโหง่ายและตัวใหญ่ เมื่อถูกนายแดงแหย่จึงโกรธเห่าเสียงดังและกระชากสายจูงหลุดจากมือเด็กชายเหลืองวิ่งไล่ตามจะกัดนายแดง นายแดงวิ่งผ่านไปทางที่นางสาเข็นรถของเด็กหญิงเขียวอยู่ สุนัขดังกล่าววิ่งไล่ตามมาพบเด็กหญิงเขียวจึงกัดเด็กหญิงเขียวจนถึงแก่ความตายส่วนนางสาตกใจสิ้นสติล้มลงแขนหัก ต้องพักจากหน้าที่การงานเป็นเวลาหนึ่งเดือน นายแดงวิ่งตกท่อระบายน้ำในสวนสาธารณะนั้นซึ่งบำรุงรักษาไม่เพียงพอขาหักรักษาตัวหนึ่งเดือนเช่นกัน ให้วินิจฉัยว่านางสาและนายแดงจะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากใครได้บ้าง

  7. นายหมื่นทำหนังสือสัญญาให้นายแสนเช่าตึกแถวมีกำหนด 6 ปี แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ทุกวันสิ้นเดือน สัญญาเช่ามีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่าแล้วผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีก 3 ปี ตามเงื่อนไขประเพณีที่ได้กระทำกันในวันทำสัญญานี้ ก่อนครบกำหนดการเช่าในปีที่ 6 นายแสนมีหนังสือถึงนายหมื่นขอทำสัญญาเช่าต่ออีก 3 ปี ตามข้อตกลง แต่นายหมื่นไม่ยินยอมให้เช่าต่อเมื่อครบกำหนด 6 ปี นายหมื่นได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าต่อนายแสน ขอให้นายแสนออกจากตึกแถวที่เช่าภายใน 15 วัน ให้วินิจฉัยว่านายแสนมีสิทธิอยู่ในตึกแถวที่เช่าต่ออีก 3 ปี ตามข้อตกลงได้หรือไม่ และการบอกเลิกสัญญาเช่า

  8. การกำหนดประเด็นที่ต้องวินิจฉัยการกำหนดประเด็นที่ต้องวินิจฉัย • ประเด็นคือ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยความรู้ในข้อกฎหมายเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงในคดีหรือในข้อสอบนั้นเอง • ประเด็นที่ได้อาจมีทั้งประเด็นหลัก และประเด็นรอง • ประเด็นที่นักศึกษาวิเคราะห์ได้จากข้อสอบ และสิ่งที่โจทก์ถาม(ท้ายข้อสอบ)จะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาของคำตอบในข้อนั้น ๆ คำแนะนำเบื้องต้นในการจับประเด็น (ดูเอกสารหน้า11) เมื่ออ่านคำถามให้ขีดเส้นใต้ หรือทำสัญลักษณ์ หรือให้คำทางกฎหมายแก่ข้อเท็จจริงที่มีนัยทางกฎหมาย (ข้อเท็จจริงนั้นอาจจะส่งผลกระทบทางกฎหมายอย่างหนึ่งอย่างใด) พิเคราะห์ข้อเท็จจริง หรือข้อความในคำถามที่ขีดเส้นใต้ไว้ทั้งหมด แล้ววิเคราะห์ว่ามีหลักกฎหมายใดเกี่ยวข้องกับที่ได้ศึกษามาหรือไม่ อย่างไร ใส่ตัวเลข หรือสัญลักษณ์เหนือประโยค หรือวลีที่โจทย์ถามทุกคำถามเสมอ เนื่องจากว่าสุดท้ายแล้วเมื่อนักศึกษาสรุปคำตอบ นักศึกษาจะต้องสรุปคำตอบทุกประเด็นตามที่โจทย์ถาม จากตัวอย่างด้านล่าง ประเด็นของข้อพิพาทคืออะไร

  9. ประเด็นข้อพิพาทคือ? นางส้มและนายเงาะสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายถูกนายฝรั่งฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่าซื้อทีวีขนาดใหญ่ตามสัญญาซื้อขายราคา 100,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด นางส้มอ้างว่าแม้ทีวีจะได้นำมาดูด้วยกันในครอบครัวก็ตาม แต่สามีของตนเป็นคนทำสัญญาซื้อทีวีไม่ใช่ตนเอง จึงไม่มีสิทธิฟ้องตนเองให้รับผิดได้

  10. ประเด็นข้อพิพาทคือ? มานพอายุ 17 ปีได้ไปซื้อรถยนต์ยี่ห้อ Audi หนึ่งคันจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วในราคา 1.4 ล้านบาทเพื่อเป็นของขวัญที่นางสาวจอมพลยอมจดทะเบียนสมรสด้วยเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากนั้นไม่นานพ่อของนายมานพก็ไปบอกเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าวกับบริษัทรถยนต์ และปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงินใด ๆ ทั้งสิ้น

  11. ประเด็นข้อพิพาทคือ? นายเอนั่งเครื่องบินไปกับนางสาวบีซึ่งเป็นภรรยาและกำลังตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน ปรากฏว่าเครื่องบินประสบอุบัติเหตุตกเป็นผลให้นายเอเสียชีวิตทันที ส่วนนางสาวบีรอดชีวิตแต่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย หลังจากนั้นนางสาวบีได้เสียชีวิตหลังจากที่คลอดเด็กชายซีแล้ว ปรากฏว่า 20 ปีต่อมา นายซีได้ยื่นฟ้องญาติฝ่ายพ่อและแม่ของตนเพื่อเรียกร้องมรดกส่วนของพ่อและแม่ที่จะพึงได้แก่ตน ในการสืบพยานพบว่าทั้งนายเอและนางสาวบีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่อย่างใด

  12. นายฟ้าซื้อที่ดินมาโดยทราบดีว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ นายฟ้าจึงขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของนายเมฆซึ่งเป็นทางที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุดแต่นายเมฆไม่ยินยอม โดยอ้างว่าการขอใช้ทางจำเป็นของนายฟ้าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะนายฟ้าซื้อที่ดินมาโดยทราบเป็นอย่างดีว่าตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่นจนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ ทั้งนายฟ้ามิได้เสนอใช้ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางจำเป็นดังกล่าวผ่านที่ดินของนายเมฆด้วยให้วินิจฉัยว่า ข้ออ้างของนายเมฆฟังขึ้นหรือไม่

  13. ธงคำตอบ การขอทางจำเป็นผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นว่าจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้เป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมจะต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต กล่าวคือต้องไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินที่ตนได้มาถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่หากรู้มาก่อน ถือว่าไม่สุจริตไม่มีสิทธิผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะฟังว่านายฟ้าซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ก็ไม่ทำให้สิทธิของนายฟ้าที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป เพราะสิทธิของนายฟ้าดังกล่าวเป็นสิทธิที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้ เมื่อที่ดินของนายเมฆเป็นที่ดินที่ล้อมที่ดินของนายฟ้า นายฟ้าจึงมีสิทธิเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของนายเมฆออกสู่ทางสาธารณะได้ ซึ่งหากนายเมฆได้รับความเสียหายจากการเปิดทางจำเป็นในที่ดินของตน นายเมฆก็มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเป็นค่าเสียหายได้ตามมาตรา 1349 วรรคสี่ การใช้สิทธิของนายฟ้าตามกฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต (คำพิพากษาฎีกาที่ 5103/2547) แม้นายฟ้าซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งตกอยู่ในที่ล้อมจะมีทั้งสิทธิที่จะผ่านที่ดินของนายเมฆที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะและมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่นายเมฆก็ตามแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349วรรคสี่ ก็ไม่ได้บังคับให้ปฏิบัติหน้าที่เสียก่อนแล้วจึงใช้สิทธิได้ นายฟ้าจึงขอเปิดทางจำเป็นได้โดยไม่ต้องเสนอใช้ค่าทดแทนให้แก่นายเมฆก่อน (คำพิพากษาฎีกาที่ 1241/2491) ข้ออ้างของนายเมฆจึงฟังไม่ขึ้น

  14. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยปัญญาชน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจัดให้มีการรับน้องใหม่ขึ้นในวันหยุดเรียนภายในมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์บุญมี เป็นอาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษาคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ นายเอก อายุ 19 ปี ประธานนักศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการ “รับน้อง” คนหนึ่ง สั่งให้น้องใหม่ทุกคนดื่มเหล้า โดยอ้างว่าเพื่อ “สปิริต” ของ “ชาววิศว ปัญญาชน” นายโท อายุ 18 ปี ซึ่งเป็นนักศึกษาปีที่ 1 จำใจต้องดื่มโดยไม่เต็มใจ นายเอกเห็นว่านายโทไม่เต็มใจดื่มจึงบังคับให้ดื่มอีกสามแก้ว จนนายโทถึงกับอาเจียน นายเอกยังสั่งให้นายตรี อายุ 18 ปี นักศึกษาน้องใหม่อีกคนหนึ่งแสดง “สถานการณ์จำลอง” เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศโดยให้นายตรีกระทำต่อตนเอง นายตรีทำด้วยความฝืนใจ แต่เหตุที่ยอมทำก็เพราะเชื่อโดยสนิทใจว่าเป็นเรื่องของ “สปิริต” และอีกเหตุหนึ่งก็ด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ที่ตนดื่มด้วยความสมัครใจ หลังเหตุการณ์รับน้อง ได้มีการเผยแพร่ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่นายโทและนายตรีไปทั่วทางอินเตอร์เน็ตยังความอับอายแก่บุคคลทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะนายตรีถึงกับเกิดอาการซึมเศร้าต้องรักษาตัวกับจิตแพทย์ ให้วินิจฉัยว่า นายโทและนายตรีจะฟ้องใครให้ต้องรับผิดเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนประเภทใดได้บ้างหรือไม่ เพียงใด

  15. วิธีการตอบข้อสอบกฎหมายวิธีการตอบข้อสอบกฎหมาย ปัญหาที่ถามถึงหลักกฎหมายว่ามีประการใด คือ ประสงค์จะทดสอบพื้นฐานความรู้ว่า จดจำ และมีความเข้าใจหลักกฎหมายนั้นดีหรือไม่ และอาจให้แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลสอดคล้องกับหลักกฎหมายและสามัญสำนึกได้ดีหรือไม่ ข้อสอบแบบบรรยาย หรือ ข้อสอบเชิงปัญหาหลักการ (ดูเอกสารเล่มเล็กหน้า9-10 และเอกสารเล่มใหญ่หน้า 5-6) ข้อสอบแบบวินิจฉัยข้อเท็จจริง หรือข้อสอบแบบตุ๊กตา (ดูเอกสารเล่มเล็กหน้า 9-14 และเอกสารเล่มใหญ่หน้า 6-18) 1. การวินิจฉัยแบบวางหลักกฎหมาย 2. การวินิจฉัยแบบฟันธง

  16. ข้อสอบแบบบรรยาย • ดูเอกสาร “ตอบข้อสอบกฎหมายไม่ยากอย่างที่คิด” หน้า 4-6 • ลักษณะของคำถามประเภทนี้อาจเป็นการถามเพื่อ • คำถามให้อธิบายหลักการ หรือหัวข้อที่ถาม • คำถามให้อธิบายเปรียบเทียบ • คำถามให้อธิบายความคิดเห็น • คำถามที่ให้บรรยายและให้วินิจฉัยคดีร่วมด้วยในบางครั้ง (ดูหน้า 5)

  17. นักศึกษาควรตอบหรืออธิบายให้อาจนักศึกษาควรตอบหรืออธิบายให้อาจ อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบเข้าใจเสมือน อาจารย์ไม่เคยมีความรู้ในเรื่องนั้นมาก่อน ต้องวางโครงเรื่องหรือเค้าเรื่องที่จะเขียนตอบ ให้ชัดเจนก่อนลงมือ ควรยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจนเสมอ

  18. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ถือเป็นกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคโดยตรงมากที่สุด แต่จากที่ท่านได้ศึกษามา ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวกลับมีประเด็นที่แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัด หรืออุปสรรคในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคหลายประการ ให้ท่านอธิบาย หรือแสดงให้เห็นถึงประเด็นเหล่านั้นอย่างชัดเจน

  19. ข้อสอบแบบวินิจฉัยข้อเท็จจริง หรือข้อสอบแบบตุ๊กตา คือ ข้อสอบที่ผูกข้อเท็จจริงมาเป็นเรื่องราว มีตัวละครเช่น นาย ก. นาย ข. ฯลฯ ตัวละครเหล่านี้ได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้วท้ายที่สุดโจทย์ก็จะถามปัญหาให้นักศึกษาต้องพิจารณา วิเคราะห์ วินิจฉัยและให้คำตอบ ข้อสอบลักษณะนี้นักศึกษาต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย และทักษะในการวิเคราะห์ข้อกฎหมายนำไปปรับใช้กับประเด็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องและเป็นปัญหาที่ข้อสอบต้องการให้วินิจฉัยให้ครบถ้วน

  20. ลักษณะของข้อสอบกฎหมายลักษณะของข้อสอบกฎหมาย • ข้อสอบกฎหมายที่ต้องตีความกฎหมาย คือ ข้อสอบมีลักษณะต้องตีความกฎหมายเรื่องนั้น ๆ ให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงนำหลักกฎหมายที่ได้จากการตีความนั้นไปปรับกับข้อเท็จจริงในคดีหรือในคำถามนั้น ๆ เช่น “อาวุธ” ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือ “บุพการี” ในคดีอุทลุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้อีกจากในเอกสาร หน้า 6-7)

  21. ตัวอย่าง • นายหมึกทะเลาะกับนายหมากที่นายหมากผิดสัญญาไม่ไปติดตั้งตู้ปลาตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ต้องนำปลาที่ซื้อมาแพงไปเลี้ยงในโอ่งจนตายทั้งหมด วันต่อมานายหมึกไปพบนายหมากที่ตลาดจึงต่อว่าอย่างรุนแรงและด้วยความโมโหจึงคว้าไข่ไก่ร้านป้ามานวยปาใส่นายหมากจนไข่แตกเลอะเทอะเต็มตัว นายหมากไปแจ้งความให้จับนายหมึกข้อหา ทำร้ายร่างกายโดยมีอาวุธ ให้ท่านวินิจฉัยว่าตำรวจจะจับนายหมึกข้อหาดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

  22. ตัวอย่าง • เด็กชายสุรชัยอาศัยอยู่กับนางโสรยาผู้เป็นป้าตั้งแต่ยังเป็นทารก นางโสรยาให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ส่งเสียด้วยดีมาตลอดเสมือนลูกของตนและเด็กชายสุรชัยก็เข้าใจว่าเป็นมารดาเช่นกัน • วันหนึ่งสุรชัยไปวิ่งเล่นในตลาดแถวร้านป้ามานวย ชนแผงไข่ที่ร้านแตกเสียหายจึงบังคับให้ชดใช้เงิน สุรชัยบอกว่าตนไม่มีเงิน ป้ามานวยจึงเล่าความจริงให้สุรชัยฟังว่า ตอนสุรชัยยังเป็นทารกมีสร้อยศิลามณีติดตัวมา และนางโสรยาเก็บไว้เป็นของตนมาตลอด สุรชัยอยากได้สร้อยดังกล่าวคืนเพราะคิดว่าเป็นสมบัติของตนจึงตัดสินใจปรึกษาท่านในฐานะที่เป็นทนายให้ช่วยฟ้องเรียกสร้อยดังกล่าวคืนจากนางโสรยา • ให้ท่านวินิจฉัยว่า สุรชัยจะฟ้องนางโสรยาเพื่อเรียกสร้อยดังกล่าวคืนได้หรือไม่ อย่างไร

  23. ข้อสอบที่ปรับข้อเท็จจริงเข้ากับกฎหมาย คือ ข้อสอบมุ่งให้นักศึกษาพิจารณาหาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องประเด็นปัญหาที่มีในคำถามและนำมาปรับกับข้อเท็จจริง เพื่อวินิจฉัยให้คำตอบ นาย ก. ได้โทรศัพท์ไปหาเพื่อนชื่อ นาย ข. และขอยืมเงินจำนวน 50,000 บาทเป็น ค่ารักษาพยาบาลมารดาที่กำลังป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล นาย ข.ได้ฟังก็รู้สึกเห็นใจและรีบไปโอนเงินดังกล่าวทางเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติทันที หลังจากนั้นนาย ข. ก็แจ้งให้นาย ก. ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าว แต่นาย ก. ปฏิเสธไม่ยอมชำระเงิน โดยอ้างว่าตนเองไม่ได้ยืมเงินไปและไม่มีหลักฐานแต่อย่างใด ให้ท่านวินิจฉัยว่า นาย ข. จะฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งให้นาย ก. ชำระเงินกู้ได้หรือไม่ อย่างไร

  24. ข้อสอบที่ต้องการทราบคำแนะนำ การตอบข้อสอบลักษณะนี้ต้องมีการวินิจฉัยประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจากประเด็นทางกฎหมายอาจเป็นเสีย หรือผลดีต่อลูกความเราอย่างไร คำแนะนำเพื่อให้ลูกความได้ประโยชน์มากที่สุดคืออะไร นาย ก. ได้โทรศัพท์ไปหาเพื่อนชื่อ นาย ข. และขอยืมเงินจำนวน 50,000 บาทเป็น ค่ารักษาพยาบาลมารดาที่กำลังป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล นาย ข.ได้ฟังก็รู้สึกเห็นใจและรีบไปโอนเงินดังกล่าวทางเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติทันที หลังจากนั้นนาย ข. ก็แจ้งให้นาย ก. ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าว แต่นาย ก. ปฏิเสธไม่ยอมชำระเงิน โดยอ้างว่าตนเองไม่ได้ยืมเงินไปและไม่มีหลักฐานแต่อย่างใด หากนาย ข.มาปรึกษาท่านในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ท่านจะวินิจฉัยปัญหานี้และจะมีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมเหตุผลที่ชัดเจน

  25. วิธีการตอบข้อสอบกฎหมายวิธีการตอบข้อสอบกฎหมาย 1. การวินิจฉัยแบบวางหลักกฎหมาย 2. การวินิจฉัยแบบฟันธง หลักกฎหมาย1 หลักกฎหมาย 2 หลักกฎหมาย1 หลักกฎหมาย 2 หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ 1 และสรุปคำตอบ หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ 1 และสรุปคำตอบ หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ 2 และสรุปคำตอบ หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ 2 และสรุปคำตอบ หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องประเด็นที่ 3 และสรุปคำตอบ หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องประเด็นที่ 3 และสรุปคำตอบ ธงคำตอบที่โจทก์ให้วินิจฉัย ธงคำตอบที่โจทก์ให้วินิจฉัย

  26. นายแดงกู้ยืมเงินจากนายเฮง 200,000 บาท มีนางสาวสวยและนายดำเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของนายแดงโดยยอมรับผิดต่อนายเฮงอย่างลูกหนี้ร่วม และทำหลักฐานการกู้ยืมและค้ำประกันเป็นหนังสือถูกต้อง ต่อมานางสาวสวยในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่นายเฮง 150,000 บาท นายเฮงไม่ติดใจเรียกร้องจากนางสาวสวยอีกจึงทำหนังสือปลดหนี้ให้แก่นางสาวสวย แล้วนายแดงตกลงทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่นางสาวสวยว่าเป็นหนี้เงินกู้นางสาวสวย 150,000 บาทตามที่ชำระหนี้แทนไป ให้วินิจฉัยว่า (ก) นายแดงจะต้องรับผิดต่อนายเฮงและนางสาวสวยหรือไม่ เพียงใด (ข) นายดำจะต้องรับผิดต่อนายเฮงหรือไม่ เพียงใด หลักกฎหมาย 30% หลักกฎหมาย หลักกฎหมาย หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง (ประเด็นหลัก) 60% หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง 10% ธงคำตอบ คำอธิบายหลักกฎหมาย ควรวางหรือเขียนไว้ในส่วนใดของคำตอบ?

  27. ธงคำตอบ (ก) การที่ผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดีต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม (คำพิพากษาฎีกาที่ 893/2540) หนี้ที่เหลือนั้นลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 เงินกู้จำนวน 50,000 บาท ที่นางสาวสวยยังมิได้ชำระ แม้นายเฮงจะไม่ติดใจเรียกร้องจากนางสาวสวยด้วยการปลดหนี้ ก็ยังคงเป็นหนี้ส่วนที่มิได้มีการชำระ นายแดงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดชำระเงินกู้จำนวน 50,000 บาท ให้แก่นายเฮง เมื่อนางสาวสวยชำระหนี้แทนนายแดงจำนวน 150,000 บาท ย่อมรับช่วงสิทธิของนายเฮงเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่นายแดงเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 693 วรรคหนึ่ง แต่การที่นายแดงตกลงทำสัญญากู้เงินให้ไว้แก่นางสาวสวยว่าเป็นหนี้เงินกู้จำนวน 150,000 บาท ตามที่ได้ชำระหนี้แทนไป ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้สิทธิไล่เบี้ยนั้นระงับไป และถือว่าได้มีการส่งมอบเงินกู้แล้ว นางสาวสวยย่อมบังคับตามมูลหนี้ในสัญญากู้อันเกิดจากการแปลงหนี้ใหม่ได้ ดังนั้น นายแดงต้องรับผิดชำระเงินกู้จำนวน 150,000 บาทให้แก่นางสาวสวย (ข) การค้ำประกันของนายดำเป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวกับนางสาวสวย ย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับนางสาวสวยจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 682 วรรคสอง เมื่อนางสาวสวยได้ชำระหนี้ให้แก่นายเฮงบางส่วนและนายเฮงได้ปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่นางสาวสวย ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับนายดำระงับด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293นายดำจึงหลุดพ้นไม่ต้องรับผิดต่อนายเฮง (คำพิพากษาฎีกาที่ 893/2540, 2551/2544)

  28. ข้อสอบที่มีข้อสอบย่อยข้อสอบที่มีข้อสอบย่อย • นายโททำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมของนายเอกต่อธนาคารสินไทย จำกัดในวงเงิน 1,500,000 บาท หลังจากนั้นไม่นานนายเอกถูกนายตรีเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องขอให้ล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของนายเอกเด็ดขาดแล้ว นายเอกยื่นขอประนอมหนี้จนกระทั่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายในอัตราร้อยละ 20 (300,000 บาท) แล้ว แต่ปรากฏว่าธนาคาร สินไทย จำกัดมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินในคดีที่นายตรีฟ้องขอให้นายเอกล้มละลายจนพ้นเวลายื่นขอรับชำระหนี้ แต่ได้ยื่นฟ้องนายโทเป็นคดีล้มละลายต่างหากให้ต้องรับผิดในเงิน 1,200,000 บาท ศาลล้มละลายมีคำสั่งไม่รับฟ้องเพราะเหตุธนาคาร สินไทย จำกัดไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีที่นายเอกถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงหมดสิทธินำจำนวนเงินดังกล่าวมาฟ้องนายโทให้ต้องรับผิดในคดีล้มละลายได้อีก หากธนาคาร สินไทย จำกัดนำเรื่องมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำตอบที่ถูกต้องและสมบูรณ์ได้อย่างไรต่อประเด็นดังต่อไปนี้ ก. ธนาคาร สินไทย จำกัดจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ร้อยละ 20 ตามสัญญาประนอมหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายให้ชัดเจน ข. คำสั่งของศาลชอบด้วยเหตุผลทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติล้มละลายหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน

  29. ก. ธนาคาร สินไทย จำกัดจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ร้อยละ 20 ตามสัญญาประนอมหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายให้ชัดเจน หลักกฎหมาย หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ 2 และสรุปคำตอบ คำอธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ธงคำตอบ 1 ข. คำสั่งของศาลชอบด้วยเหตุผลทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติล้มละลายหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน หลักกฎหมาย หลักกฎหมายปรับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ 2 และสรุปคำตอบ คำอธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ธงคำตอบ 2 สรุป ธงคำตอบ 1 ธงคำตอบ 2

  30. ดูเอกสารเล่มใหญ่ น.8-10 เทคนิคการตอบข้อสอบแบบวินิจฉัยข้อเท็จจริง ขั้นตอนวิเคราะห์ข้อสอบ ขั้นตอนเขียนตอบข้อสอบ • ให้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริง • ให้ผลในกฎหมาย • ให้ผลของคำถามหรือธงคำตอบ • ยกประเด็นของปัญหาขึ้นกล่าว • วางหลักกฎหมายตามประเด็นที่ตั้งไว้ • อธิบายหลักกฎหมาย • ปรับกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริง ขั้นตอนการวิเคราะห์ต้องปฏิบัติตามลำดับ คือ เมื่ออ่านข้อสอบแล้วต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ปัญหานี้เป็นเรื่องอะไร มีประเด็น(ข้อพิพาท)อะไรกันบ้าง (ประเด็นเดียว หรือหลายประเด็น) ในประเด็นเหล่านั้นมีหลักกฎหมาย พร้อมเหตุผล หรือคำบรรยาย คำพิพากษาวางหลักไว้อย่างไร แล้วจึงให้ข้อกฎหมายนั้นไปวินิจฉัยกับข้อเท็จจริงในคำถาม และให้ผลของกฎหมายแก่ข้อเท็จจริงนั้นออกมาเป็นคำตอบ แบบฟันธง : คงเขียนถึงส่วนที่ 4 เป็นหลักคือ การปรับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้ากับข้อเท็จจริง และให้เหตุผลในกฎหมายนั้นๆ พร้อมกันไป และสรุปผลออกมาเป็นคำตอบในที่สุด

  31. การตอบข้อสอบกฎหมายแบบผสมการตอบข้อสอบกฎหมายแบบผสม การตอบข้อสอบแบบนี้มักใช้ในข้อสอบที่มีประเด็นหลัก และประเด็นรอง สำหรับข้อกฎหมายประเด็นหลัก : ควรใช้วิธีการตอบแบบวางหลักกฎหมาย (แบบที่ 1) สำหรับข้อกฎหมายประเด็นรอง : ควรใช้วิธีการตอบแบบฟันธง (แบบที่ 2) ต่อเนื่องกันไปจนครบทุกประเด็น นาย ก. ได้ส่งจดหมายลงชื่อตนเองไปถึงนาย ข. เพื่อขอยืมเงินจำนวน 50,000 บาทเพราะจำเป็นต้องนำไปใช้ผ่อนหนี้ค่าเช่าบ้านที่ตนติดค้างผู้ให้เช่ามาหลายเดือน และกำลังตกงานจึงไม่มีเงินในขณะนี้ นาย ข. ได้รับจดหมายและด้วยความเป็นเพื่อนจึงโอนเงินให้ตามจำนวนดังกล่าว ปรากฏว่านาย ข.ได้ทวงถามให้นาย ก. ชำระหนี้ดังกล่าวเนื่องจากเลยกำหนดที่ได้สัญญาไว้แล้ว นาย ก. ปฏิเสธว่าไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินใดๆ ย่อมฟ้องร้องไม่ได้ และตนเองก็ไม่รู้จักนาย ข. แต่อย่างใด ให้ท่านวินิจฉัยข้อต่อสู้หรือข้ออ้างของนาย ก. ฟังขึ้นหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

  32. ข้อแนะนำ สำหรับการสอบข้อเขียน ดูเอกสารเล่มใหญ่ น. 15-18 และเอกสารเล่มเล็ก น. 7-14

  33. ข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อสอบกฎหมายข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อสอบกฎหมาย • คำถามที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าข้อสอบน่าจะมีประเด็นที่เกี่ยวข้อง • ข้อเท็จจริงบางอย่างที่ปรากฏในคำถามอาจเพียงเพื่อให้ข้อสอบสมจริงยิ่งขึ้น โดยไม่มีผลต่อธงคำตอบก็ได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องนำมาประกอบการวินิจฉัย • ข้อสอบกฎหมายแต่ละข้ออาจมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมากน้อยต่างกัน แต่ที่สำคัญคือ กรณีที่มีหลายประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คะแนนของข้อสอบในข้อนั้นก็จะถูกแบ่งออกตามประเด็น ดังนั้น การตอบถูกแต่ไม่ครบทุกประเด็น คะแนนที่ได้รับก็จะไม่สมบูรณ์

  34. นักศึกษาพึงเริ่มอ่านคำถามนักศึกษาพึงเริ่มอ่านคำถาม ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้าย การอ่านแต่ละข้อต้องค่อย ๆ อ่านซ้ำเป็น สองเที่ยว และสามเที่ยว คำตอบจะค่อย ๆ กระจ่างชัดขึ้น ถ้อยคำทุกคำในข้อสอบย่อมมีความหมายเสมอ ควรรู้จักให้ถ้อยคำทางกฎหมายแก่ข้อเท็จจริงที่ให้มาเสมอ เมื่อตัดสินใจจะลงมือทำข้อสอบข้อใด ๆ แล้ว (ควรทำจากข้อง่ายไปข้อยาก?) นักศึกษาต้องอ่านคำถามที่ตั้งใจจะทำให้ถ่องแท้อีกครั้งว่า ประเด็นข้อที่ต้องวินิจฉัยของข้อนี้คืออะไรบ้าง และจะต้องตอบให้ตรงกับที่ถามต้องตอบอย่างไร การตอบเกินกว่าที่ถามย่อมไม่เป็นประโยชน์

  35. อย่าลงมือเขียนคำตอบ จนกว่าจะตัดสินใจว่าจะตอบตามประเด็นที่ถามกี่ประการ ถ้ายังไม่แน่ใจ จำเป็นต้องอ่านคำถามและทบทวนให้แน่ใจอีกครั้งว่า ประเด็นที่ถามคืออะไร และคำตอบควรเป็นอย่างไร ข้อเท็จจริงในคำถามหรือในโจทย์ต้องถือว่า ฟังได้ว่าเป็นยุติตามนั้น ไม่มีข้อโต้เถียงกันอีกแล้วว่าจะเป็นไปตามนั้นจริงหรือไม่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ผู้ออกข้อสอบได้ “มัด” ข้อเท็จจริงมาให้เลยว่าเป็นอย่างนั้นแน่ มิฉะนั้นจะไม่มีทางวินิจฉัยข้อกฎหมายได้เลย ในการตอบปัญหาแบบวินิจฉัยข้อเท็จจริง ไม่สมควรยกตัวอย่างใหม่ขึ้นมาเพื่ออธิบายคำตอบเราโดยไม่จำเป็น หากเรายกตัวอย่างใหม่มายืดยาวย่อมเป็นคำตอบที่ไม่เกี่ยวกับคำถามโดยตรง ไม่สาระต่อคำตอบในข้อนั้น ๆ และเสียเวลา อาจทำให้เข้าใจผิดว่าคำตอบมีเนื้อหามากพอแล้ว ควรอธิบายคำตอบโดยใช้เรื่องราว ข้อเท็จจริง ตัวละครที่ตั้งไว้ในคำถามอย่างเคร่งครัดก็เพียงพอแล้ว ควรตอบประเด็นที่ถามเท่านั้น ไม่ควรตอบในสิ่งที่ไม่ได้ถาม

  36. นักศึกษาหลายคนที่ประมาทเลินเล่อ หรือละเลยไม่ใช้ชื่อตัวบุคคลที่ตั้งไว้ในคำถาม หรืออ้างข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนอาจทำให้ผลของการวินิจฉัยปัญหานั้นผิดไปด้วย (อย่างน่าเสียดาย) • ในคำตอบจะต้องมีส่วนของ • หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมายความว่า สมควรอ้างตัวบทกฎหมายประกอบคำวินิจฉัย แต่ควรจะอ้างเฉพาะข้อความในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องตรงตามประเด็นที่ถามเท่านั้น ไม่สมควรอ้างบทบัญญัติทั้งมาตรา (ดูตัวอย่างข้างล่าง) • มาตรา 15 • สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย • ทารกในครรภ์มารดาก็สามารมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก • เหตุผลที่อ้างอิงประกอบคำตอบปัญหานี้ เพียงอ้างอิงว่าที่นักศึกษาวินิจฉัยเช่นนี้ เพราะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดว่าไว้ในเรื่องนั้นอย่างไร และได้นำเอาบทกฎหมายนั้นๆ มาปรับเข้ากับปัญหานั้นแล้วย่อมเพียงพอ

  37. ปัญหาว่า นักศึกษาสมควรจะอ้างอิงหลักกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงนำบทกฎหมายนั้นมาปรับกับปัญหาที่ถาม หรือสมควรจะวินิจฉัยปัญหาที่ถามโดยอ้างหลักกฎหมายคละกันไปในคำตอบนั้นเอง? (ดูเล่มเล็ก น. 12) หากมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาตรงกับปัญหาที่ถาม (เชิงสนับสนุนคำตอบ หรือเชิงขัดแย้งกับคำตอบ) นักศึกษาควรอ้างอิงหรือยกคำพิพากษาฎีกานั้นมาประกอบคำวินิจฉัยของเราด้วยหรือไม่ ? (ดูเล่มเล็ก น. 12) สมควรอ้างอิงเลขมาตรา (มาตรา xxx) และหมายเลขคำพิพากษาศาลฎีกา (คำพิพากษาฎีกาที่ 1/2553) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ถามนั้นดีหรือไม่ ? (ดูเล่มเล็ก น. 13-14)

  38. นักศึกษาไม่ควรเขียนเรื่องส่วนตัวลงในสมุดคำตอบ(ดูเล่มเล็ก น. 17) กรุณาเถอะครับ..ผมตกมา 5 ครั้งแล้ว ผมได้พยายามเต็มที่แล้วครับ เหลือตัวเดียว จะได้ไปทำประโยชน์ให้ตนเองและครอบครัวต่อไปครับ เพิ่งเลิกกับแฟนครับ ไม่มีสมาธิเลย เต็มที่แล้วครับ การให้คะแนนสอบมิใช่เป็นเรื่องของ “เมตตาธรรม” หากแต่เป็นเรื่องของความเที่ยงธรรมในระหว่างผู้สอบด้วยกัน และเป็นเรื่องของการสร้างมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพกฎหมายให้กับสังคม

  39. การฝึกฝนภาษากฎหมาย • ภาษากฎหมายต่างจากภาษาคนทั่วไปหรือไม่ อย่างไร? • โวหารกฎหมายที่ดี • แจ้งชัด รัดกุม • สั้น กระชับ • มีระเบียบของการใช้ถ้อยคำในภาษากฎหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน • สุภาพนุ่มนวล • สามารถจูงใจให้ผู้อื่นเห็นคล้อยตามได้ การฝึกฝนภาษากฎหมาย ดูเอกสารเล่มใหญ่ น. 1- 24

  40. สื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจน “แจ้งชัด” ถ้อยคำ/ประโยคนั้นมีความหมายเพียงประการเดียว โดยไม่อาจตีความหรือเข้าใจเป็นอื่นไปได้ “รัดกุม”

  41. นันทิดาถูกธงไชยฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนันทิดาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2551 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า 5 เดือนก่อนถูกฟ้องล้มละลาย นันทิดาทำหนังสือสัญญากู้และรับเงินมณีนุชไป 200,000 บาทเพื่อไปใช้จ่ายหนี้ที่เกิดจากธุรกิจ ขณะให้กู้มณีนุชรู้อยู่แล้วว่านันทิดามีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ให้กู้เพราะสงสารและเห็นแก่ความเป็นเพื่อนที่เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาก่อน หาได้มีเจตนาทุจริตสมยอมกันแต่ประการใดไม่ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศให้เจ้าหนี้ไปขอรับชำระหนี้ มณีนุชจึงขอรับชำระหนี้จำนวน 200,000 บาท ถ้าท่านเป็นศาลล้มละลายจะอนุญาตให้มณีนุชได้รับชำระหนี้หรือไม่เพียงใด

  42. เทคนิคและข้อควรปฏิบัติอื่น ๆ (ดูเล่มใหญ่ น. 28-29 และเล่มเล็ก น. 24-26)

  43. Do Not ไม่เด็ดขาด /ขาดการอ้างอิง • ข้อเท็จจริงกรณีการเช่าช่วงนายกล้าผู้ให้เช่าไม่ทราบ ซึ่งการที่บอกเลิกทันทีในที่นี้น่าจะเป็นการบอกเลิกในกรณีนายเก่งผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าดังนั้นหากเป็นกรณีที่บอกเลิกการผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า นายเก่งไม่ต้องออกจากบ้านทันที เพราะกฎหมายกำหนดในกรณีการผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่านั้นผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าก่อน โดยมีเวลาตามที่กำหนดไว้ จะบอกเลิกทันทีมิได้ แต่ถ้าเป็นกรณีบอกเลิกในการเช่าช่วง เมื่อผู้ให้เช่ามิได้อนุญาตหรือยินยอม นายกล้าสามารถบอกเลิกได้ทันที และนายเก่งต้องออกจากแพทันที • นายเก่งออกจากเรือทันทีการออกดังกล่าวต้องกระทบถึงนายสามารถ ถึงแม้นายสามารถไม่ผิดนัดชำระค่าเช่าก็ตาม เพราะว่า เหตุผลสำคัญ คือ การเช่าช่วงเป็นการเช่าช่วงที่ไม่ชอบ เมื่อการเช่าช่วงไม่ชอบและเป็นการเช่าในทรัพย์อันเดียวกัน นายสามารถต้องออกจากแพด้วย ถือเป็นการเช่าในลักษณะบริวาร ถ้าหากเป็นการเช่าช่วงที่ถูกต้องโดยชอบจะมีกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 545 ผู้เช่าช่วงต้องรับผิดโดยตรงต่อผู้ให้เช่า...และหากผู้ให้เช่าจะให้ออกจากแพก็ต้องฟ้องร้องทั้งผู้เช่าและผู้เช่าช่วง

  44. Do Not การตอบซ้ำไปซ้ำมา วินิจฉัยซ้ำสิ่งที่ข้อสอบให้มาชัดเจน และเป็นยุติแล้ว เล็กๆไม่ ใหญ่ๆชอบ หัว-ท้ายไปคนละทาง ตอบในสิ่งที่ไม่ได้ถาม แม้เนื้อหาที่ตอบจะถูกต้องก็ตาม ลายมือ-ลายเท้า? ตอบผิดธง • Think Out of Box • (Creative Thinking) • หากคำกล่าวของนาย ก. เป็นจริง ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร

  45. ก่อนจบการบรรยาย

More Related