1 / 7

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ภาษาไทย ม.๓

ผลงานของ นาง นฤมล ศักดิ์ศรีเกษมกุล ตำแหน่ง ครู วิทย ฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ภาษาไทย ม.๓. นำเรื่อง และ ความเป็นมา.

tuwa
Download Presentation

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ภาษาไทย ม.๓

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลงานของ นางนฤมล ศักดิ์ศรีเกษมกุลตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ภาษาไทย ม.๓

  2. นำเรื่อง และ ความเป็นมา • กาพย์พระไชยสุริยาเป็นงานประพันธ์ของสุนทรภู่ โดยแต่งขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๓๘๒ - ๒๓๘๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่สุนทรภู่บวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม • จุดมุ่งหมายของการแต่งก็เพื่อใช้เป็นแบบสอนอ่านคำเทียบหลังจากที่เรียนการผันอักษรแล้ว จึงให้อ่านประสมคำในมาตราแม่ต่างๆ เริ่มตั้งแต่มาตราแม่ ก กา แล้วต่อด้วยแม่กน แม่กง แม่กก แม่กด แม่กบ จนถึงแม่ เกย ตามลำดับ

  3. ความเป็นมา (ต่อ) สุนทรภู่เคยเป็นครูของเจ้าฟ้าสามพระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว นักวรรณคดีจึงสันนิษฐานว่าสุนทรภู่ได้แต่งแบบเรียนสอนภาษาไทยชั้นต้นขึ้น เรื่องพระไชยสุริยา มาเป็นเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับการสอนหนังสือไทย ซึ่งเมื่อผู้เรียนอ่านตัวอักษรได้แล้วก็ให้เรียนการประสมอักษร

  4. ความเป็นมา (ต่อ) สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความสามารถอย่างสูงในการแต่งคำประพันธ์ทั้งบทกลอน และกาพย์ ได้ประพันธ์นิทาน เรื่องพระไชยสุริยา เป็นกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

  5. ความเป็นมา (ต่อ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น และพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ได้แต่งแบบเรียน ภาษาไทยเพื่อใช้ในโรงเรียนหลวง จึงได้นำคำประพันธ์บางตอนในกาพย์พระไชยสุริยามาเป็นแบบฝึกอ่านในมูลบทบรรพกิจด้วย สะธุสะ

  6. เรื่องย่อ พระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาวัตถี มีมเหสีชื่อสุมาลี บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ และเป็นสุขมาช้านาน จนกระทั่งเมื่อข้าราชบริพารและผู้มีอำนาจพากันลุ่มหลงในอบายและเที่ยวข่มเหงราษฎรจนเดือดร้อนไปทั่ว ในที่สุดน้ำป่าก็ไหลบ่าท่วมเมืองจนผู้คนล้มตาย ผู้ที่มีชีวิตรอดก็หนีออกจากเมืองไป ทิ้งสาวัตถีกลายเป็นเมืองร้าง พระไชยสุริยาพามเหสีและข้าราชบริพารหนีลงเรือสำเภาออกจากเมืองแต่ถูกพายุใหญ่พัดเรือแตก พระไชยสุริยากับนางสุมาลีว่ายน้ำไปขึ้นฝั่งแล้วรอนแรมไปในป่า พระดาบสรูปหนึ่งเข้าฌาณเห็นพระไชยสุริยากับนางสุมาลีต้องทนทุกข์ทรมานก็เวทนา เพราะเห็นว่าพระไชยสุริยาทรงเป็นกษัตริย์ที่ดี แต่ประสบเคราะห์กรรมเพราะหลงเชื่อเสนาอำมาตย์ จึงเทศนาโปรดจนทั้งสองศรัทธาและบำเพ็ญธรรมจนได้ไปเกิดบนสวรรค์

  7. ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ๑. คนเราเมื่อประพฤติดี ย่อมได้ดีและมีความสุข ๒. คนเราควรเคารพในสิ่งที่ควรเคารพเท่านั้น ๓. การประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม ย่อมทำให้ตนเองและสังคมเจริญด้วย ๔. การประพฤติชั่วนอกจากจะทำให้ตนเองดูเป็นคนไม่ดีแล้วยังทำให้ประเทศชาติและสังคมเสื่อมโทรมด้วย ๕. ความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของบ้านเมือง ขึ้นอยู่กับประชาชนทุกคนในชาติที่จะต้องช่วยกันธำรงรักษาไว้

More Related