1 / 27

ทักษะการเล่นฟุตบอลเบื้องต้น

ทักษะการเล่นฟุตบอลเบื้องต้น. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1. การเดาะลูกบอล. หน่วยการเรียนรู้ที่ 2. การหยุดลูกบอล. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3. การเลี้ยงลูกบอล. การโหม่งลูกบอล. หน่วยการเรียนรู้ที่ 4. การทุ่มลูกบอล. หน่วยการเรียนรู้ที่ 5. การยิงประตู. หน่วยการเรียนรู้ที่ 6.

acacia
Download Presentation

ทักษะการเล่นฟุตบอลเบื้องต้น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทักษะการเล่นฟุตบอลเบื้องต้นทักษะการเล่นฟุตบอลเบื้องต้น หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเดาะลูกบอล หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การหยุดลูกบอล หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเลี้ยงลูกบอล การโหม่งลูกบอล หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การทุ่มลูกบอล หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การยิงประตู หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

  2. การฝึกทักษะการเดาะลูกบอลการฝึกทักษะการเดาะลูกบอล • สาระสำคัญ • การเดาะลูกบอลเป็นการบังคับลูกบอลโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คือ หลังเท้า เข่า หน้าขา ศีรษะ ข้างเท้าด้านนอก ข้างเท้าด้านใน หน้าอกและไหล่ • ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • มีความรู้มีความเข้าใจวิธีการเดาะลูกบอลและสามารถนำไปสู่ การปฏิบัติได้ • สาระการเรียนรู้ การเดาะลูกบอลประกอบด้วยท่าต่างๆดังนี้ • การเดาะลูกบอลด้วยหลังเท้า • การเดาะลูกบอลด้วยเข่าหรือหน้าขา • การเดาะลูกบอลด้วยศีรษะ • การเดาะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน

  3. การเดาะลูกบอลด้วยหลังเท้าการเดาะลูกบอลด้วยหลังเท้า ควรเริ่มด้วยการฝึกในสภาพพื้นสนามที่เป็นปูนซีเมนต์ พื้นไม้ หรือที่เรียบเพื่อต้องการให้ลูกบอลกระดอน การตกหนึ่งครั้งแล้วเดาะด้วยหลังเท่าหนึ่งครั้งสลับกัน จะทำให้มีความรู้สึกสัมผัสที่ถูกต้องรู้ว่าลูกบอลลอยขึ้นลงอย่างไร ฝึกจนเกิดความชำนาญจึงค่อยๆเริ่มเดาะลูกบอลไม่ให้ตกพื้น แล้วเคลื่อนที่เดาะจากช้าไปสู่เร็ว การเดาะบอลด้วยหลังเท้าจะนำไปสู่การรับลูกบอล การส่งลูกบอลและการยิงประตูด้วยหลังเท้าที่แม่นยำ การเดาะบอลด้วยหลังเท้า

  4. การเดาะด้วยเข่าหรือหน้าขาการเดาะด้วยเข่าหรือหน้าขา การฝึกเริ่มด้วยผู้ฝึกจับลูกบอลสองมือเหนือหน้าขาประมาณ 1 ฟุต ปล่อยลูกบอลลงพร้อมยกเข่าขึ้นเดาะแล้วจับลูกบอลไว้แล้วปล่อยลงสลับขาไปเรื่อยๆ เมื่อเกิดความชำนาญแล้วไม่ต้องใช้มือช่วยให้ฝึกอยู่กับที่และเคลื่อนที่ ผลที่ได้รับจากการฝึกคือสามารถบังคับลูกบอลด้วยเข่าและหน้าขาให้ลูกบอลอยู่ใกล้ตัวมากที่สุดและมีกล้ามเนื้อหน้าท้องที่แข็งแรง การเดาะบอลด้วยเข่าหรือหน้าขา

  5. การเดาะลูกบอลด้วยศีรษะการเดาะลูกบอลด้วยศีรษะ จุดที่ใช้เดาะคือหน้าผากบริเวณเหนือคิ้วใต้ตีนผม เพราะเป็นจุดที่สามารถรับแรงปะทะได้ดีที่สุด การฝึกให้เงยหน้าเกรงคอปรับระดับหน้าผากให้ขนานกับพื้น ใช้มือช่วยจับลูกบอลโยนสูงไม่เกินสองฟุตจากหน้าผาก ใช้แรงจากการย่อเข่าลำตัวยึดเข้าปะทะลูกเดาะหนึ่งครั้งใช้มือช่วยรับลูกเมื่อเกิดความชำนาญแล้วเลิกใช้มือช่วย ผลที่ได้รับจากการฝึกสามารถบังคับและรับลูกบอลที่ลอยมาให้อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เพื่อพักให้เพื่อนร่วมทีมรวมถึงการส่งและโหม่งทำประตู การเดาะบอลด้วยศีรษะ

  6. การเดาะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านในการเดาะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน ใช้วิธีการเดียวกับการเดาะบอลด้วยหลังเท้าให้ลูกบอลตกกระดอนแล้วใช้ข้างเท้าด้านในเดาะเกร็งข้อเท้า จุดสัมผัสลูกบอลตั้งแต่ตาตุ่มไปถึง ขอบรองเท้าตก – เดาะสลับกันและสลับเท้าจนเกิดความแม่นยำชำนาญให้ฝึกอยู่กับที่แล้วฝึกแบบเคลื่อนที่ การเดาะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านในช่วยในการรับลูกบอลด้วย ข้างเท้าด้านในมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างจังหวะส่งและจังหวะยิงด้วยข้างเท้าด้านในได้อย่างแม่นยำ การเดาะบอลด้วยข้างเท้าด้านใน

  7. การฝึกทักษะการหยุดลูกบอลการฝึกทักษะการหยุดลูกบอล • สาระสำคัญ • การหยุดลูกบอล คือ การทำให้ลูกบอลที่เคลื่อนที่มาหยุดนิ่ง โดยการใช้ฝ่าเท้าและส่วนต่าง ๆ ในร่างกายหยุดลูกบอล ได้แก่ ฝ่าเท้า ข้างเท้าด้านใน ข้างเท้าด้านนอก อก เข่า หน้าแข้ง หน้าท้อง ศีรษะ ในการหยุดลูกบอลจึงเป็นทักษะสำคัญในการเล่นฟุตบอลอีกทักษะหนึ่ง ในการเล่นฟุตบอลที่ดี • ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • มีความรู้มีความเข้าใจวิธีการหยุดลูกบอลและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ • สาระการเรียนรู้ • การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน • การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก • การหยุดลูกบอลด้วยฝ่าเท้า

  8. การหยุดลูกบอล • การหยุดหรือบังคับลูกบอล • การหยุดลูกบอล หมายถึง การบังคับลูกบอลที่เคลื่อนที่มาในลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่กับเท้าบนพื้นดินหรือเคลื่อนไหวไปในลักษณะที่อยู่ในครอบครอง หลักทั่วไปในส่วนต่าง ๆของร่างกายช่วยในการบังคับลูกบอลนั้น ต้องอาศัยการผ่อนตาม เพื่อให้ลูกบอลอยู่ในครอบครอง ซึ่งหมายถึงเท้า ร่างกายจะต้องอยู่ในมุมของลูกบอลที่เคลื่อนที่เข้ามา แล้วบังคับให้ลูกบอลหยุดนิ่ง • วิธีการปฏิบัติในการหยุดลูกบอล มีดังนี้ • มีความรู้มีความเข้าใจวิธีการหยุดลูกบอลและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ • การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน • การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก • การหยุดลูกบอลด้วยฝ่าเท้า

  9. การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านในการหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน • เมื่อลูกบอลกลิ้งมากับพื้นให้หันหน้าเข้าหาลูกบอลหรือวิ่งเข้าหา ลูกบอล • สายตามองดูลูกจรดเท้าข้างไม่ใช่หยุดลงบนพื้น ให้ปลายเท้าตรงไปข้างหน้ายกเท้าข้างที่จะใช้หยุดขึ้นจากพื้นเล็กน้อย หันปลายเท้าออกข้างนอก • ขณะที่ลูกบอลเคลื่อนใกล้เข้ามาในระยะที่พอจะหยุดได้แล้ว ให้เหยียดเท้าข้างที่จะใช้หยุดรับออกไปรับลูกบอลกระทบข้าง ด้านใน • ขณะที่ลูกบอลกระทบเท้าให้ดึงเท้ากลับมาข้างหลัง เพื่อผ่อนตามแรงของลูกโดยเร็ว การปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ลูกบอลอยู่ในครอบครองของเท้าและไม่กระดอนออกไปห่างจากตัว การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน

  10. การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอกการหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก การหยุดบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก คือ การหยุดลูกโดยใช้หลังเท้าข้างนอกตรงด้านนิ้วก้อยหรือรับลูกที่มาทางด้านข้าง เช่นทางขวาและจะเล่นต่อไปทางขวา โดยไม่ต้องเสียเวลาหมุนตัวหาทิศทาง แต่โอกาสที่เล่นพลาดมีได้ง่าย ควบคุมลูกไว้ยากเพราะลูกมักจะกระดอนไปไกล วิธีการหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก มีดังนี้ • หันหน้าเข้าหาลูกบอล สายตามองดูลูกบอลตลอดเวลา ต้องทรงตัวให้ดีโดยการกางแขนออก ย่อตัวลงเล็กน้อย • ใช้ข้างเท้าที่ไม่ใช้หยุดลูกบอลเป็นเท้าหลักและรับน้ำหนักแล้ว ให้ ลูกบอลตกทางด้านตรงข้างกับเท้าที่จะใช้หยุด • ยกเท้าข้างที่จะใช้หยุดไปรับลูกที่กลิ้งมากับพื้นหรือกระดอนขึ้นจากพื้น โดยใช้ข้างเท้าด้านนอกประคองลูกลงสู่พื้นเบา ๆ เมื่อ ลูกบอลกระทบเท้าให้ผ่อนความแรงเล็กน้อย การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก

  11. การหยุดลูกบอลด้วยฝ่าเท้าการหยุดลูกบอลด้วยฝ่าเท้า • เมื่อลูกบอลกลิ้งมากับพื้นให้หันหน้าเข้าหาลูกบอลพร้อมกับยกเท้าข้างที่จะหยุดขึ้นยกปลายเท้าให้เงยขึ้น สันเท้าห่างขึ้นประมาณ 3 นิ้ว • ย่อตัวลงกางและแขนออก โน้มตัวไปข้างหน้า เข่าของเท้าจะหยุดงอเล็กน้อย เมื่อลูกบอลกลิ้งผ่านมาจนอยู่ใต้ฝ่าเท้าให้ใช้ฝ่าเท้าประกบลูกบอลที่กลิ้งมากับพื้น โดยกดปลายเท้าลงเบา ๆ พร้อมกับเหยียดขาลงเล็กน้อย • ถ้าลูกบอลกลิ้งมาแรงให้ผ่อนแรงเท้าตามความแรงของลูก เพื่อไม่ให้ลูกกระดอนไปจากเท้าอย่าใช้วิธีกระทืบลูกบอล การหยุดลูกบอลด้วยฝ่าเท้า

  12. การฝึกทักษะการเลี้ยงลูกบอลการฝึกทักษะการเลี้ยงลูกบอล • สาระสำคัญ • การเลี้ยงลูกบอลเป็นการครอบครองลูกบอลให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือกลับหลัง โดยใช้เท้า หรือ เพื่อทำการหลบหลีกคู่ต่อสู้ เป็นทักษะที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการเล่นฟุตบอล ต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญ • ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • มีความรู้มีความเข้าใจวิธีการเลี้ยงลูกบอลและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ • สาระการเรียนรู้ • การเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน • การเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก • การเลี้ยงลูกบอลด้วยหลังเท้า

  13. การฝึกทักษะการเลี้ยงลูกบอลการฝึกทักษะการเลี้ยงลูกบอล การเลี้ยงลูกบอล หมายถึง การพาลูกบอลไปด้วยการใช้เท้าทั้งสองเข้าสลับกัน จะเป็นการเดินหรือวิ่งก็ตาม เราสามารถที่จะไปได้ตามทิศทางที่ต้องการ ช้า เร็ว หรือหลบหลีกด้วยการใช้เท้าทั้งสองข้างบังคับลูก รวมทั้งการหลอกล่อ ป้องกันหรือเพื่อการพาไปยิงประตู การเลี้ยงลูกบอลหรือบังคับลูกบอลให้อยู่ในครอบครองนับว่ามีประโยชน์มากในการเล่นฟุตบอล เพราะผู้ที่จะเล่นฟุตบอลให้ได้ดีนั้น จะต้องมีความคุ้นเคยต่อลูกบอลก่อน ทั้งต้องรู้จักวิธีบังคับ ลูกบอลด้วยการเลี้ยง การเดาะ การโหม่ง เพื่อหลบหลีกฝ่ายตรงข้ามและเคลื่อนไหวไปตามทิศทางที่ต้องการ ทักษะดังกล่าวจำเป็นต้องฝีกหัดจนรู้จังหวะของลูก การเตะลูกความแรงและวิถีของลูกรวมทั้งความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตลอดจนสายตาของผู้เลี้ยง ลูกบอลก็มีส่วนสำคัญมาก

  14. การเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านในการเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน • ให้ใช้สายตาชำเลืองดูที่ลูกบอล • ใช้ข้างเท้าด้านใน (ลูกแป) สัมผัสลูกบอลเบาๆ • การพาลูกบอลให้เคลื่อนที่ไปนั้นต้องสัมผัสเบาๆ ไม่ใช่การเตะและลูกบอลต้องห่างตัวไม่เกิน 1 ก้าว • ให้ใช้ข้างเท้าด้านในทั้ง 2 ข้างสัมผัสสลับกันไป • ในขณะที่เลี้ยงลูกบอล ต้องไม่เกร็งตัวหรือส่วนต่างๆ โดยเฉพาะเอวต้องอ่อน 1 2 การเลี้ยงบอลด้วยข้างเท้าด้านใน

  15. การเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอกการเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก • ตามองไปยังทิศทางที่พาลูกไป หรือชำเลืองดูลูกบอลเป็น ครั้งคราว • ใช้เท้าด้านนอกทั้งเท้าซ้ายและเท้าขวาหรืออาจจะใช้ข้างเท้า ด้านในและด้านนอกช่วยในบ้างโอกาส • เขี่ยลูกบอลไปข้างหน้าเบา ๆ แล้วจึงตามลูกไป ให้น้ำหนักตัวโน้มไปข้างหน้า เข่าอยู่เหนือลูก ปลายเท้าบิดเข้าข้างในเล็กน้อย ในขณะที่เขี่ยลูกควรวิ่งด้วยปลายเท้าเพื่อสะดวกต่อการเขี่ยลูก 1 2 การเลี้ยงบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก

  16. การเลี้ยงลูกบอลด้วยหลังเท้าการเลี้ยงลูกบอลด้วยหลังเท้า • การเลี้ยงลูกด้วยหลังเท้ามีลักษณะเช่นเดียวกับการเลี้ยงลูกด้วยข้างเท้าด้านใน และการเลี้ยงลูกบอลให้ลูกบอลสัมผัสกับบริเวณที่เราผูกเชือก ปลายเท้าเหยียดชี้ลงพื้น • ให้โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย • อย่าใช่วิธีการเตะให้ทำเหมือนการสะกิด ควรใช้ข้อเท้าช่วย คล้ายสลัดเท้า • ในขณะที่วิ่งให้วิ่งโหย่งๆ ทำตัวให้เบาอย่าเกร็ง และให้ทำสลับทั้งเท้าซ้ายและเท้าขวา 1 2 การเลี้ยงบอลด้วยหลังเท้า

  17. การฝึกทักษะการโหม่งลูกบอลการฝึกทักษะการโหม่งลูกบอล สาระสำคัญ การโหม่งลูกบอลเป็นการใช้ศีรษะบริเวณหน้าผากบังคับลูกบอลที่ลอยมาในอากาศให้เปลี่ยนทิศทาง หรือส่งให้เพื่อนร่วมทีม หรือเพื่อทำประตู ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีความรู้มีความเข้าใจวิธีการโหม่งลูกบอลและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ สาระการเรียนรู้ การโหม่งลูกบอลให้โด่ง การโหม่งลูกบอลระดับอก การโหม่งลูกบอลลงพื้น

  18. การฝึกทักษะการโหม่งลูกบอลการฝึกทักษะการโหม่งลูกบอล การโหม่งลูกบอล คือ การใช้บริเวณหน้าผากเป็นส่วนที่สัมผัส ลูกบอล เพราะเป็นจุดที่สามารถรับแรงปะทะได้ดี การโหม่งมี 3 ประเภท • การโหม่งให้โด่ง • การโหม่งระดับอก • การโหม่งลงพื้น วิธีการโหม่ง • ตาต้องมองดูลูกบอลอยู่ตลอดเวลา ห้ามหลับตาโดยเด็ดขาด • ลำคอเกร็ง ใช้หน้าผากสัมผัสลูกบอล • การโหม่งให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการให้ใช้ลำตัวช่วย โดยบิดตั้งเอว อย่าสลัดคอ • ให้ใช้เข่า ลำตัว ช่วยในการโหม่ง โดยการโยกตัว ลักษณะของลูกบอลจะแรงหรือค่อยอยู่ที่ลักษณะของลูกบอลที่ลอยมาหรือการกระทำต่อลูกบอลนั้น • การโหม่งจะยืนอยู่หรือกระโดดโหม่งก็ตามให้ดูที่จังหวะการเคลื่อนที่มาของลูกบอล สำคัญต้องใช้หน้าผากเท่านั้น

  19. การโหม่งให้โด่ง เป็นการโหม่งเพื่อให้ข้ามศีรษะของ คู่ต่อสู้ที่อยู่ขวางหน้า อาจจะยืนอยู่เฉยๆ หรือกระโดดโหม่งก็ตาม เหมาะสำหรับผู้เล่นกองหลังหรือกองกลาง วิธีการปฏิบัติ ให้เงยหน้า เกร็งคอ เอนหลังเล็กน้อย ใช้แรงส่งขึ้นมาตั้งแต่เท้าและหัวไหล่ ลืมตา โน้มตัวกระแทกไปข้างหน้า การโหม่งให้โด่ง

  20. การโหม่งระดับอก เป็นการโหม่งเพื่อส่งให้เพื่อน ในการเล่นความแรงหรือน้ำหนัก อยู่ที่จังหวะและระยะทางความใกล้หรือไกล วิธีการปฏิบัติ ให้กดคางลงมาเล็กน้อย โน้มตัวไปข้างหน้า ไม่ต้องกระแทกมากนัก เมื่อโหม่งแล้วจึงเปิดคางเล็กน้อย การโหม่งระดับอก

  21. การโหม่งลงพื้น เป็นการโหม่งเพื่อยิงประตูหรือเปลี่ยนทิศทาง ลูกโหม่งลงพื้นนี้กองหน้ามักจะใช้ในการยิงประตู วิธีการปฏิบัติ หดตัว ถอยหลัง และให้คางกดชิดอกของตัวเองเหมือนก้มศีรษะลง คล้ายคำนับ และเพิ่มแรกกระแทก หรือพุ่งใส่ตัวก็ได้ เพื่อให้ลูกนั้นพุ่งได้แรงและเร็วขึ้น การโหม่งลงพื้น

  22. การฝึกทักษะการทุ่มลูกบอลการฝึกทักษะการทุ่มลูกบอล สาระสำคัญ การทุ่มลูกบอล คือ การทุ่มลูกเข้าสู่สนามตามกติกา เมื่อลูกบอลออกทางด้านข้าง ฝ่ายตรงกันข้ามจะต้องมาทุ่มลูกตรงจุดที่ลูกบอลออกเข้าสู่สนามทุกครั้ง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีความรู้มีความเข้าใจและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติการทุ่มลูกบอลได้ สาระการเรียนรู้ การทุ่มที่ถูกกติกา หลักและวิธีในการทุ่มลูกบอล

  23. การทุ่มลูกบอล การทุ่มลูกบอล คือ การทุ่มลูกบอลเข้าสู่สนาม ตามกติกา เมื่อมี ลูกบอลออกทางด้านเส้นข้าง ฝ้ายตรงข้ามจะต้องมาทุ่มลูก ตรงที่จุดลูกบอลออกเข้าสู่สนามทุกครั้ง การทุ่มที่ถูกกติกาจะต้องปฏิบัติดังนี้ • ต้องทุ่มลูกด้วยมือทั้งสองข้าง • ลูกบอลต้องมาจากด้านหลัง (ท้ายทอย) ผ่านศีรษะไปข้างหน้าติดต่อกันเป็นจังหวะเดียว • แขนทั้งสองข้างต้องตึงจะเอียงหรืองอด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ • เท้าทั้งสองข้างต้องอยู่บนพื้นในขณะทุ่มจะยกข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ ลักษณะการจับลูกบอลขณะจะทุ่มลูก

  24. วิธีการทุ่มลูกบอล • จับลูกบอลด้วยฝ่ามือทั้งสองค่อนไปข้างหลังของลูกให้กระชับ แล้วยกลูกบอลข้ามศีรษะไปข้างหลัง การทุ่มต้องใช้กำลังจากแขนทั้งสองและใช้นิ้วมือกดส่งลูกบอลออกไป • การทุ่มด้วยมือข้างเดียวถือว่าผิดกติกา แม้ว่ามืออีกข้างหนึ่งจะช่วยประคองอยู่ก็ตาม เวลาทุ่มผู้ทุ่มจะเขย่งส้นเท้าก็ได้ แต่เท้าทั้งสองจะต้องอยู่บนพื้นตลอดเวลา • ขณะทุ่มลูกบอลอาจจะใช้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้า หรือแยกเท้าห่างจากกันประมาณ 1 ช่วงไหล่ ปลายเท้าทั้งสองเสมอกันหรือเท้าชิดกันก็ได้ แต่เท้าทั้งสองต้องอยู่นอกเขตสนาม สายตามมองไปตามทิศทางที่จะทุ่ม • เวลาทุ่มให้งอเข่าเล็กน้อย เอนตัวไปข้างหน้าปล่อยลูกให้ออกจากมือ ในขณะที่มีอยู่เหนือศีรษะ หากต้องการให้ลูกบอลไปไกลผู้ทุ่มอาจจะ ก้าวเท้าไปข้างหน้า 1 ก้าวหรือถือลูกบอลวิ่งมาแล้วทุ่มก็ได้ การทุ่มลูกบอล

  25. การฝึกทักษะการยิงประตูการฝึกทักษะการยิงประตู สาระสำคัญ การยิงประตูเป็นการฝึกสืบเนื่องมาจากการส่งและการเตะลูกบอล แต่การยิงประตูต้องเพิ่มแรงเหวี่ยง แรงดีดขณะเข้าปะทะลูกบอลมากกว่าเดิมในการยิงประตู ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีความรู้มีความเข้าใจสามารถอธิบายขั้นตอนการยิงประตูเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ สาระการเรียนรู้ วิธีการฝึกยิงประตู รูปแบบการฝึกยิงประตู

  26. การยิงประตู การยิงประตู (Shooting) มีหลายลักษณะด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เวลา โอกาสและความสามารถเฉพาะตัวของผู้เล่น ซึ่งต้องอาศัยทักษะการเตะลูกนำมาใช้ในการยิงประตู หลักในการยิงประตู ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ • สามารถหาพื้นที่ให้ตัวเอง เพื่ออยู่ในตำแหน่งที่สามารถยิงประตูได้ • เตะลูกให้เต็มเท้าทุกครั้งที่ยิง • ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะผ่านกองหลัง หรือกระโดดแย่งโหม่งเพื่อยิงประตูให้ได้ • ประสานงานสอดคล้องกับเพื่อนร่วมทีมอย่างถูกจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นการส่งคืนลูก วิ่งซ้อนจากหลัง การเข้าหาลูกที่โยนมาอย่างถูกต้อง • ต้องยิงให้ได้ทุกจังหวะและโอกาส • ยิงประตูให้เร็วและมีความรุนแรง • ยิงประตูลูกเลียดจะรับได้ยาก แต่ถ้าผู้รักษาประตูรูปร่างเตี้ยให้ยิง ลูกสูง • ยิงประตูมุมกว้างเสมอ นอกจากบางโอกาสจึงหลอกยิงมุมแคบ • อย่ายิงในขณะเสียการทรงตัว • หลอกให้ผู้รักษาประตูเสียหลักหรือหลงทางก่อนยิง • อย่าแย่งกันยิง ให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบเป็นผู้ยิง • ดูการเคลื่อนไหวของผู้รักษาประตูก่อนยิงและควรยิงด้วยความมั่นใจ

  27. การยิงประตู ในการฝึกยิงประตูต้องฝึกจากง่ายไปสู่ยาก ดังนี้ • ฝึกจากลูกบอลที่หยุดนิ่ง • ฝึกเคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกบอลจากช้าไปสู่เร็ว แล้วยิงประตู • ต้องฝึกการหลบหลีก การกลับตัว การกระโดด แล้วจึงยิงประตู • หากฝึกด้วยการบีบบังคับให้ยิงประตูจะต้องคำนึงถึง การนอน การนั่งการล้มลุกคลุกคลาน การพุ่ง และการสไลด์ยิงประตู รูปแบบการฝึกยิงประตู • การฝึกยิงประตูด้วยการบังคับลูกบอลให้เลียดไปกับพื้นสนาม • การฝึกยิงประตูด้วยลูกฮาล์ฟวอลเลย์ • การฝึกยิงประตูด้วยลูกวอลเลย์

More Related