1 / 4

จุดแข็ง ( Strengths )

จุดแข็ง ( Strengths ). การใช้ภาษาถิ่นในการเผยแพร่ข้อมูล ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายใกล้ชิดเป็นกันเอง เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ( 35) วัฒนธรรมการทำงานขององค์กรแบบพี่สอนน้อง มีการยอมรับ เคารพนับถือกัน ( 29)

tosca
Download Presentation

จุดแข็ง ( Strengths )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จุดแข็ง (Strengths) การใช้ภาษาถิ่นในการเผยแพร่ข้อมูล ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายใกล้ชิดเป็นกันเอง เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน (35) วัฒนธรรมการทำงานขององค์กรแบบพี่สอนน้อง มีการยอมรับ เคารพนับถือกัน (29) บุคลากรมีความรู้ความสามารถ เป็นคนรุ่นใหม่ ทำให้มีองค์ความรู้และการพัฒนาใหม่ๆ ทำให้ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรได้อย่างทั่วถึง (28) ผู้นำองค์กรเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ให้โอกาสในการเรียนรู้ (23) มีสำนักงานบริหารงานส่งเสริมสหกรณ์อยู่ทุกจังหวัดและศูนย์ฯพัฒนาสหกรณ์ของศูนย์ทั้งประเทศ (22) กระบวนการทำงานชัดเจน มีลำดับขั้นตอน ทำให้ดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ (21) นโยบายชัดเจน สามารถพัฒนาให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งและยั่งยืน (20) องค์กรมีงบประมาณด้านฝึกอบรม สามารถพัฒนาคนให้มีความรู้เท่าทันสถานการณ์ (18) บุคลากรมีความเสียสละ คิดอย่างสร้างสรรค์ มีความสามัคคี ทำงานเป็นทีม และภักดีต่อองค์กร พร้อมพัฒนาระบบสหกรณ์ไปในทางที่ดีขึ้น (15) มีเครื่องมือในการปฏิบัติงานที่มีรูปธรรมและน่าเชื่อถือ (ระบบ CPS) (7)

  2. จุดอ่อน (Weaknesses) ระบบอุปถัมภ์ ระบบเส้นสาย ทำให้คนเก่งไม่ก้าวหน้า (54) ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ เปลี่ยนนโยบายอยู่เสมอ ขาดความรู้ความสามารถ ไม่เปิดใจรับความคิดเห็นของลูกน้อง (34) บุคลากรต่อต้านระบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลง ทำงานเพื่อประโยชน์ของตนเอง มุ่งหวังแต่รายได้/ตำแหน่ง (25) วิทยากรรุ่นพี่เริ่มน้อยลง ทำให้ขาดต้นแบบแก่คนรุ่นหลัง (23) การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรอบรู้เท่าทันกับสหกรณ์ และความรู้ในการบริหารงานสหกรณ์ยังมีน้อย และไม่ต่อเนื่อง (22) วัฒนธรรมองค์กรเป็นแบบแบ่งชั้นวรรณะ ก่อให้เกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี แบ่งพรรคแบ่งพวก (20) ขาดความโปร่งใสในการบริหารงาน (19) ขาดการวัดผลการถ่ายทอดความรู้เชิงคุณภาพสู่ประชาชน โดยเน้นการนำไปใช้จริง (19) ขาดการสร้างแรงจูงใจแก่คนในหน่วยงาน (18) บุคลากรขาดความรู้ ความสามารถ ขาดการพัฒนาตนเองในการถ่ายทอดให้กับสหกรณ์ (16) ระบบการจัดองค์กรด้านบริหารส่วนภูมิภาคไม่เป็นระบบ ขาดความมั่นคงและยั่งยืน (13)

  3. โอกาส (Opportunities) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ให้ความสำคัญกับการสหกรณ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของบุคลากรในองค์กร (63) การดำเนินงานและ การดำรงชีวิตในแบบสหกรณ์ ทำให้คนในองค์กรดำเนินงานอย่างมีความสุข แม้โลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด (45) ภาคการเกษตรมีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์มากขึ้นและใช้ระบบสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการดำเนินการร่วมกัน (39) มีสมาชิกสหกรณ์จำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านวิชาการจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ (33) เทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยให้ทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น (20) การเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนทำให้เกษตรกรไทยมีโอกาสในด้านการค้าขาย การพัฒนาเพื่อเข้าสู่การแข่งขันที่เพิ่มขี้น (17) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้ขับเคลื่อนการทำงานสู่วาระแห่งชาติได้ (16) รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ (13) ต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ (7) มีกฎหมายปฏิบัติแนวเดียวกันอยู่ในกรอบเดียวกันนำสู่การเป็นต้นแบบและการเป็นผู้นำ (5)

  4. ภัยคุกคาม (Threats) การเมืองแทรกแซง ทำให้นโยบายการทำงานเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้การทำงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ (54) สมาชิกสหกรณ์หรือเกษตรกรขาดจิตสำนึกที่ดี ทำให้ระบบสหกรณ์เกิดความล้มเหลวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ (32) นโยบายของรัฐที่สนับสนุนการชำระหนี้ เป็นสิ่งล่อใจให้เกษตรกรรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ไม่ศรัทธาต่อระบบสหกรณ์ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง (29) งบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอต่อการสรรหาเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความรู้สูงเพื่อพัฒนาด้านการถ่ายทอดความรู้ (26) เกษตรกรที่ขาดการศึกษา พื้นฐานความรู้น้อย หรือกลุ่มผู้สูงอายุเมื่อรับฟังการบรรยายทำให้เข้าใจระบบสหกรณ์น้อย (25) การสื่อสารระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันไม่ตรงกัน (20) วัฒนธรรมองค์กรของสหกรณ์ที่ใช้เงินเป็นแรงจูงใจสมาชิก (17) องค์กรอื่นไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร เพราะมองภาพลักษณ์องค์กรในทางลบ ไม่สนับสนุนการทำงานขององค์กร (16) กฎหมายด้านการสหกรณ์บางส่วนล้าสมัย ทำให้เกิดความขัดแย้งต่อการพัฒนาในระยะยาว (11)

More Related