1 / 20

จริยธรรมของครูและอาจารย์

จริยธรรมของครูและอาจารย์. จัดทำโดย. นางสาวสุภาภรณ์ ฟักแก้ว รหัส 5024405273. นางสาวทองจันทร์ อนุสนธิ์ รหัส 5024405274. ความหมายของคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม. ความหมายของคุณธรรม. คุณธรรม ( Moral / Virtue )

tommy
Download Presentation

จริยธรรมของครูและอาจารย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จริยธรรมของครูและอาจารย์จริยธรรมของครูและอาจารย์ จัดทำโดย นางสาวสุภาภรณ์ ฟักแก้ว รหัส 5024405273 นางสาวทองจันทร์ อนุสนธิ์ รหัส 5024405274

  2. ความหมายของคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม

  3. ความหมายของคุณธรรม • คุณธรรม (Moral / Virtue) “คุณธรรม” คือ คุณ +ธรรม คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งสรุปว่า คือ สภาพคุณงามความดี คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี 1.สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ 2.คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น

  4. ความหมายของจริยธรรม • คำว่า “จริยธรรม” มีผู้นิยามความหมายไว้หลายอย่าง แต่เพื่อความเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง ควรศึกษาความหมายของคำอื่นที่ใกล้เคียงเกี่ยวข้องกับคำว่า “จริยธรรม” ด้วย ได้แก่คำว่า “จริยศาสตร์” “จริยศึกษา” และศีลธรรม เพราะคำเหล่านี้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด และบางครั้งก็มีผู้นำมาใช้แทนกันได้ โดยมีความหมายเหมือนกันและต่างกัน ดังนี้ • จริยศาสตร์ เป็นคำผสมของคำ 2 คำ คือ จริย กับศาสตร์ โดยมีต้นกำเนิดของคำต่างกัน และคำว่า • จริย มาจากภาษาบาลี แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ • ศาสตร์ มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า วิชา เมื่อนำคำสองคำนี้มาผสมกันจะได้นัยความหมายว่า วิชาที่มีเนื้อหาเรื่องความประพฤติ หรือสิ่งที่ควรประพฤติ

  5. จริยศึกษา เป็นคำผสมของคำ 2 คำเช่นเดียวกัน คือ จริย กับ ศึกษา โดยคำว่า • จริย มาจากภาษาบาลี แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ • ศึกษา เป็นคำที่มาจากภาษา สันสกฤต แปลว่า การเล่าเรียน การฝึกฝน การอบรม เมื่อนำมารวมเป็นคำเดียวกันจะมีความหมายว่า การเล่าเรียนฝึกอบรมเรื่องความประพฤติเพื่อประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรม และวัฒนธรรมตลอดจนระเบียบกฎหมายของบ้านเมืองแห่งชุมชนและประเทศนั้น ๆ

  6. ความหมายของศีลธรรม • “ศีลธรรม” เป็นคำผสมของคำว่า ศีล กับ ธรรม และมีความหมายว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนหลักปฏิบัติทางศาสนาที่บุคคลพึงปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประกอบด้วยคุณธรรม ซึ่งในความหมายของคำว่า ศีลธรรม จะมีความหมายที่แตกต่างออกไปจาก จริยศาสตร์ และจริยศึกษา คือ จริยศาสตร์จะเน้นที่อุดมคติ หรือทฤษฎีที่ควรปฏิบัติ จริยศึกษา จะเน้นที่การเล่าเรียน กระบวนการเรียนรู้ และทั้งสองคำนั้นมีความหมายขยายความถึงศีลธรรม ความเป็นคนดีมีศีลธรรมก็เป็นอุดมการณ์ อุดมคติของชีวิต

  7. ขอบข่ายของจริยธรรม • จรรยา หมายถึงความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ เช่น จรรยาครู จรรยาตำรวจ ฯลฯ • จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก • คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ เช่นความเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จ โดยหวังประโยชน์ส่วนตนเป็นคุณธรรม • มโนธรรม หมายถึง ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เชื่อกันว่ามนุษย์ทุกคนมีมโนธรรม เนื่องจากบางขณะเราจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจระหว่างความรู้สึกว่าต้องการทำสิ่งหนึ่ง และรู้ว่าควรทำอีกสิ่งหนึ่ง • มารยาท หมายถึง กิริยา วาจา ที่สังคมกำหนดไว้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป

  8. จริยธรรมของครูและอาจารย์จริยธรรมของครูและอาจารย์

  9. จริยธรรมของวิชาชีพครูจริยธรรมของวิชาชีพครู • วิชาชีพครู อาจารย์ เป็นวิชาชีพหนึ่งซึ่งเน้นความสำคัญของจริยธรรมในวิชาชีพไว้เป็นอย่างมาก ในกรณีนี้ได้มีการแบ่งไว้อย่างชัดเจน ระหว่างจริยธรรมในวิชาชีพครูในโรงเรียน และจริยธรรมในวิชาชีพอาจารย์ในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หลักจริยธรรมที่ได้กำหนดไว้นั้น มีลักษณะดังนี้ • หน้าที่ 1 วิชาชีพครู อาจารย์ • วิชาชีพครู อาจารย์ เป็นวิชาชีพหนึ่งซึ่งเน้นความสำคัญของจริยธรรมในวิชาชีพไว้เป็นอย่างมาก ในกรณีนี้ได้มีการแบ่งไว้อย่างชัดเจน ระหว่างจริยธรรมในวิชาชีพครูในโรงเรียน และจริยธรรมในวิชาชีพอาจารย์ในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หลักจริยธรรมที่ได้กำหนดไว้นั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้

  10. จริยธรรมครู คุณลักษณะ 1.มีความเมตตากรุณา 1.1 พฤติกรรมหลัก - มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม พฤติกรรมบ่งชี้ - ไม่นิ่งดูดาย และเต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังความสามารถ 1.2 พฤติกรรมหลัก - มีความสนใจและห่วงใยในการเรียน และความประพฤติของผู้เรียน พฤติกรรมบ่งชี้ - แนะนำเอาใจใส่ ช่วยเหลือเด็ก และเพื่อนร่วมงานให้ได้รับความสุขและ พ้นทุกข์

  11. - เป็นกันเองกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกเปิดเผย ไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งของผู้เรียนได้ คุณลักษณะ 2. มีความยุติธรรม 2.1 พฤติกรรมหลัก - มีความเป็นธรรมต่อนักเรียน พฤติกรรมบ่งชี้ - เอาใจใส่ และปฏิบัติต่อผู้เรียน และเพื่อนร่วมงานทุกคนอย่างเสมอภาค และไม่ลำเอียง 2.2 พฤติกรรมหลัก - มีความเป็นกลาง พฤติกรรมบ่งชี้ - ยินดีช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ร่วมงาน และผู้บริหาร โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

  12. คุณลักษณะ 3. มีความรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู 3.1 พฤติกรรมหลัก - เห็นความสำคัญของวิชาชีพครู พฤติกรรมบ่งชี้ - สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรวิชาชีพครู - เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาชีพครู - ร่วมมือและส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตราฐานวิชาชีพครู 3.2 พฤติกรรมหลัก - รักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู พฤติกรรมบ่งชี้ - ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดี และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

  13. - รักษาความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน - ปกป้อง และสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคม เกี่ยวกับวิชาชีพครู 3.3 พฤติกรรมหลัก - เกิดความสำนึก และตระหนักที่จะเป็นครูที่ดี พฤติกรรมบ่งชี้ - ปฏิบัติตนให้เหมาะสม ที่เป็นปูชนียบุคคล

  14. จริยธรรมของอาจารย์ที่ปรึกษาจริยธรรมของอาจารย์ที่ปรึกษา • รักษาความลับของศิษย์อย่างเคร่งครัด • พิทักษ์และปกป้องผลประโยชน์ของศิษย์ • อุทิศเวลาเพื่องานอาจารย์ที่ปรึกษา • ให้การช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ

  15. หลักการของอาจารย์ที่ปรึกษาหลักการของอาจารย์ที่ปรึกษา • อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องช่วยงานให้งานอุดมศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ คือการสร้างบัณฑิตที่เป็นคนที่สมบูรณ์ • อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยพัฒนาความพร้อมทางสติปัญญา ให้ใฝ่รู้ และวิธีการแสวงหาความรู้ • ช่วยให้นิสิตประสบความสำเร็จ และมีชีวิตสมบูรณ์อยู่ในมหาวิทยาลัย • ช่วยให้นิสิตเข้าใจตนเอง รู้จักตนเอง รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม • พัฒนาทัศนคติ จริยธรรม และศิลปวัฒนธรรมให้แก่นิสิต

  16. จริยธรรมอาจารย์ • อาจารย์พึงวางตนให้เป็นผู้ควรแก่การยกย่อง เป็นผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ • อาจารย์ควรเป็นผู้มีเหตุผล พึ่งเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และไม่พึงบังคับไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นมีความคิดเห็นคล้อยตามตน • อาจารย์ไม่พึงปฏิบัติต่อผู้ใดอย่างมีอคติ โดยอาศัยเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือลัทธิความเชื่อ • อาจารย์ไม่พึงเรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ ซึ่งชักนำ หรืออาจจะชักนำไปให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน ไม่สุจริตเที่ยงธรรม หรือให้ หรือรับว่าจะให้ ซึ่งประโยชน์ที่ตนสามารถจะให้ได้ในอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อแลกเปลี่ยนกับประโยชน์อันไม่ควรให้

  17. อาจารย์พึ่งมีความรอบรู้ทางวิชาการ พึ่งเตรียมการสอน และเข้าสอนโดยสม่ำเสมอตามกำหนด ในการสอนนั้นจะต้องไม่จงใจปิดบังอำพราง หรือบิดเบื้อนเนื้อหาสาระทางวิชาการ นอกจากนั้น อาจารย์พึ่งตั้งใจค้นคว้าหาความรู้ในสาขาวิชาของตนมาให้แก่ศิษย์ และพึงสนับสนุนให้ศิษย์มีความก้าวหน้าทางวิชาการอยู่เสมอ นอกจากจะต้องสอนศิษย์ให้เป็นคนที่เก่ง และดีแล้ว ตัวครูอาจารย์ก็จะต้องเก่งและดีด้วย ซึ่งนับว่าเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญและยากลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความเป็นคนดีนั้น เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า เป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่จะสอนคนให้เป็นคนดี โดยที่ครูอาจารย์ ซึ่งเปรียบประดุจ “แม่พิมพ์” ของชาติสมควรจะต้องเป็นคนดีด้วย

  18. จรรยาบรรณของครู • จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือกฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนดและสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ • ความสำคัญ จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งพอสรุปได้ 3 ประการ คือ • ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ • รักษามาตรฐานวิชาชีพ • พัฒนาวิชาชีพ

  19. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครูแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู • ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า • ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ • ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ • ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ • ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

  20. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ • ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู • ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์ • ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

More Related