410 likes | 798 Views
ผ้าเนื้อหนา ไม่ค่อยยับ ด้ายพุ่งเข้าเกลียวน้อย เส้นใหญ่. Crash เนื้อหยาบ ด้ายขนาดหนา บางในเส้นไม่เท่ากัน duck,canvas ใช้ด้ายคู่เข้าเกลียวสูง เนื้อแน่นมาก ทำผ้าใบ Butcher rayon ผ้าเป็นมัน ใช้ด้ายเส้นใหญ่. ผ้าทอลายขัดไม่สมดุล( unbalanced plain weave ). 1.ผ้าลูกฟูกหนาปานกลาง
E N D
ผ้าเนื้อหนา ไม่ค่อยยับ ด้ายพุ่งเข้าเกลียวน้อย เส้นใหญ่ • Crash เนื้อหยาบ ด้ายขนาดหนา บางในเส้นไม่เท่ากัน • duck,canvas ใช้ด้ายคู่เข้าเกลียวสูง เนื้อแน่นมาก ทำผ้าใบ • Butcher rayon ผ้าเป็นมัน ใช้ด้ายเส้นใหญ่
ผ้าทอลายขัดไม่สมดุล(unbalanced plain weave) 1.ผ้าลูกฟูกหนาปานกลาง • Broadcloth มีสันเล็ก นุ่ม ด้ายยืนมากกว่าด้ายพุ่งสองเท่า ด้ายพุ่งเข้าเกลียวน้อยกว่า ผ้าที่คุณภาพดีทำจากฝ้ายใยยาวชื่อ pima broadcloth • Poplin คล้ายbroadcloth สันนูนหนากว่า ด้ายพุ่งใหญ่กว่า • Taffeta สันเล็ก ทอจากใยยาว ผ้าเนื้อแน่น แข็งเป็นมัน ถ้าทำจากเรยอน แข็งเพราะตกแต่ง ทอจากอาซิเตดลายจะคงทน • Faille มีสันนูนหนา ด้ายยืนทำจากใยยาว ผ้ามีสันนูนตามขวาง ด้ายพุ่งมีขนาดใหญ่ ด้ายยืนเล็กแต่มีจำนวนมาก
ผ้าลูกฟูกเนื้อหนา • ผ้ากลุ่มนี้สันนูนใหญ่ • Shantung มีสันหนาไม่เท่ากัน ใช้ด้ายผิวไม่เรียบ ขนาดไม่เท่ากัน • Rep ผ้าหนา หนัก หยาบ สันใหญ่ • Bengaline มักใช้เรยองเป็นด้ายยืน พุ่งเป็นฝ้าย บางครั้งด้ายยืนใช้สองเส้นควบ • Grosgrain ผ้ามีสันกลม ด้ายพุ่งหนาใหญ่
ผ้าทอแบบสานตะกร้า (basket weave fabics) • ด้ายยืน ด้ายพุ่ง ควบครั้งละ 2 เส้นขึ้นไป การขัดกันในหนึ่งตารางนิ้วน้อยกว่าผ้าทอลายขัด ยืด หดง่ายกว่า ลุ่ยง่าย เนื้อนุ่ม • Monk’s Cloth ผ้าเนื้อห่าง หยาบ ถูกกดนานๆเป็นถุง ทำผ้าม่าน ปกหนังสือ ผ้าคลุมที่นอน • Oxford 2x1,3x2ด้ายยืนเล็ก เข้าเกลียวมากกว่าด้ายพุ่ง ทอหลวม ผ้านุ่ม
ผ้าทอลายสองสองหน้า ลายทแยงด้านหน้าด้านหลังเหมือนกัน ด้ายยืนด้ายพุ่งเท่ากันหรือใกล้เคียง มักใช้2/2 • Surah เนื้อเบา มันคล้ายไหม พิมพ์ลาย ใช้ตัดชุด รองใน เนคไท • Tweed ทอจากด้ายอย่างน้อย2สีในเส้นเดียวกัน ผ้ามีจุดสีเล็กๆ • Glen tweed ด้ายพุ่ง ด้ายยืนมีสีสลับกัน ผ้ามีสีเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ • Twill flanned อาจทอ2/1หรือ2/2 ด้ายพุ่งเข้าเกลียวต่ำ เส้นใหญ่ ตะกุยขนผิวหน้า อ่อนนุ่ม
ผ้าลายสองหน้าเดียว • เห็นแนวทแยงด้านหน้าผ้า ด้ายพุ่งด้ายยืนจำนวนต่างกัน ด้ายเข้าเกลียวสูง ทอแน่น ผ้าแข็งแรง • Jean เป็นผ้าเนื้อหนาปานกลาง เนื้อนุ่ม ใช้ตัดเสื้อเชิ้ต ผ้าม่าน • Denim ด้ายยืนย้อมสี ด้ายพุ่งสีขาว ใช้ตัด blue jean • Garbardine แนวทแยงเห็นชัด ทนทาน ใช้ตัดสูท เทเลอร์ ผ้าลายสองก้างปลา (Herringbone fabrics)เกิดจากการทอลายสองแล้วทอกลับให้เส้นทแยงไปทางตรงกันข้าม
ทอแบบต่วน(satin weave) • ดัดแปลงจากทอลายสอง แต่ด้ายลอยข้ามยาวไม่เห็นแนวทแยง ด้ายข้ามอย่างน้อย 4 เส้นขึ้นไปและขัดกับด้ายเส้นถัดไปเช่น4/1 ข้าม4สอด1 การขัดกันของด้ายต่อตารางนิ้วมีน้อย จำนวนเส้นด้ายต่อตารางนิ้วสูงมาก ถ้าทอแน่นเส้นด้ายชิดกันจะมองไม่เห็นด้ายด้านล่าง • ด้ายใดเป็นด้ายลอย ด้ายด้านนั้นมีจำนวนสูง เข้าเกลียวน้อย • ต่วนด้ายยืน(satin)ด้ายยืนเป็นด้ายลอย ต่วนด้ายพุ่ง(sateen)ด้ายพุ่งเป็นด้ายลอย
Crepe-backed satin ผ้าด้านหน้าย่นแบบเครป ด้านหลังผิวเรียบและมัน ด้ายยืนเป็นด้ายลอยเข้าเกลียวต่ำ ด้ายพุ่งเป็นด้ายเครป เนื้อนุ่ม จีบเดรปดี • Brocade พื้นทอแบบใดก็ได้ แต่ยกดอกเป็นต่วน • Damask พื้นทอต่วนแล้วยกดอกต่วนคนละแนว • Tapestry การทอต่วนผสมกับการทอแบบอื่น
การทอแบบเครปและผ้าเครป(Crepe)การทอแบบเครปและผ้าเครป(Crepe) • 1.ผ้าture crepe :ผ้าที่ทอด้วยด้ายเครปเข้าเกลียวแบบsและzนำมาทอด้วยกัน แยกประเภทดังนี้ • 1.1 ผ้าเครปด้ายพุ่ง ด้ายพุ่งใช้ด้ายเครปเข้าเกลียวต่ำ ด้ายยืนเป็นด้ายธรรมดา • flat crepeเป็นเครปด้ายพุ่ง ด้ายยืนเป็นอาซิเตดเข้าเกลียวต่ำ ด้ายพุ่งเป็นเรยองเครป • 1.2 ผ้าเครปด้ายยืน ด้ายยืนเป็นเครป พุ่งเป็นด้ายธรรมดา ผ้ายับง่าย หดมาก ลู่ตัวเช่น ผ้าbemberg
1.3ผ้าเครปสมดุล ด้ายยืนและด้ายพุ่งเป็นเครป ส่วนมากเป็นผ้าบางเบา เส้นด้ายเข้าเกลียวสูงมาก เช่นผ้าchiffon georgette • 1.4 ผ้าเครปแบบพลิกแพลง ใช้ด้ายเครปกับด้ายธรรมดาทอสล้บกันจนเกิดรอยย่นนูน เช่น ผ้าpuckered rayon หรือseersucker ,matelasse เป็นผ้าย่นที่เกิดจากการนำกลุ่มด้ายธรรมดากับกลุ่มด้ายเครปทอสลับกัน เมื่อนำไปตกแต่งด้ายเครปจะหดตัวตามขวางทำให้ด้ายธรรมดาหดตาม • 2. ผ้าย่นที่เกิดจากการใช้ด้ายพิเศษ เนื้อผ้าหนากว่าtrue crepe ด้ายยืนเป็นด้ายธรรมดา ด้ายพุ่งเป็นด้ายพิเศษ ทอลายขัดธรรมดา เมื่อนำไปตกแต่งผ้าหดเกิดรอยย่นมาก เนื้อหนา แน่น แข็ง จับเดรปไม่ได้ ไม่ต้องรีด
3. ผ้าย่นที่เกิดจากการทอ(Crepe Effect by weaving) • 3.1 การทอแบบเครป(crepe weave)เป็นการทอโดยด้ายพุ่งข้ามด้ายยืนเป็นช่วงๆไม่เท่ากัน ผิวหน้าของผ้าหยาบ เป็นเส้นและเม็ดเล็กๆ • Sand crepe ด้ายข้ามไม่เกิน2เส้น ใช้ด้ายเครปจำนวนด้ายต่อตารางนิ้ว 120x60 ถึง 135x72 ขนาด 100-150 denier ผ้าเนื้อแน่น ละเอียด ใช้ตัดชุด • Moss crepe ใช้ด้ายเครปเป็นด้ายคู่ และด้ายธรรมดาเป็นด้ายคู่ ผ้าจะมีน้ำหนัก • ผ้าทอแบบเครป ค่อนข้างมีราคา ห้ามใช้แปรง รีดตามแนวด้ายลอย
3.2 การทอแบบผ่อนด้าย ด้ายยืนขึงบนแกนสองแกน แกนหนึ่งขึงด้ายตึงธรรมดา อีกแกนขึงด้ายหย่อน เมื่อกระทบด้ายพุ่ง ด้ายยืนที่หย่อนจะย่นเข้ามา เช่นผ้า seersucker ผ้าย่นเป็นทางยาว แถวหนึ่งย่น แถวหนึ่งเรียบสลับกันไป มีลักษณะการย่นแบบถาวร ส่วนใหญ่หน้าผ้ากว้าง สีเรียบ ลายทาง มีทั้งตาเล็ก ตาใหญ่ • 4.ผ้าย่นเกิดจากการตกแต่ง โดยใช้ความร้อนหรือสารเคมี • Plisse’ ตกแต่งโดยพิมพ์โซเดียมไฮด๊อกไซด์ ส่วนถูกด่างจะหดตัวดึงส่วนที่ไม่ถูกย่นเข้ามา • Embossed crepe ใช้ลูกกลิ้งร้อนกดลงบนผ้า บางทีเรียกผ้าย่น ราคาถูก ก่อนตัดเย็บไม่จำเป็นต้องหดน้ำก่อน
ผ้าขน (File Fabrics or Tufted Fabrics) • ผ้าทอขนที่มีจำนวนเส้นด้ายต่อตารางนิ้วสูง จะทนทาน สวยงาม ทำพรม ผ้าบุเครื่องเรือน ผ้าคลุมเตียง • ผ้าขนเป็นห่วงจากด้ายฝ้ายเข้าเกลียวต่ำ อ่อนนุ่ม ซับน้ำดี ใช้ทำผ้าเช็ดตัว • ทำให้น่าสนใจโดย ตัดขนสั้น ยาว ทอพื้นเรียบสลับกับทอขน ทอด้วยด้ายที่หยิกงอ พิมพ์ลวดลาย แปรงขน • ผ้ากำมะหยี่ มีวิธีทำให้ขนตั้ง แต่งขนให้ไปทิศทางเดียวกัน จะมีทิศทางขึ้นและลงของขน ในการตัดเย็บ ต้องระวังทิศทางของขน มิฉะนั้นจะดูเหลือบเป็นสองสี
การผลิตผ้าขน • 1. ผ้าขนที่เกิดจากการทอ เป็นการทอใช้ด้ายยืนหรือด้ายพุ่งชุดพิเศษมาขัดเพื่อให้เป็นขนหรือหว่ง • 1.1 ผ้าทอขนด้ายพุ่ง(Filling Pile Fabrics) ใช้ด้ายพุ่งเป็นขน ใช้ด้ายพุ่ง2ชุด ด้ายยืน1ชุด ใช้ด้ายพุ่งพิเศษทอลอยข้ามด้ายยืน แล้วใช้เครื่องตัดเส้นลอย แปรงขน ถ้าด้ายลอยข้ามซ้ำแบบลายขัดธรรมดาได้ผ้าขนตั้งเป็นแถวเรียงตามยาวผ้า ถ้าด้ายลอยข้ามแบบต่วนได้ผ้ากำมะหยี่มีขนกระจายทั่วไป • Velveteen พื้นทอลายขัดหรือลายสอง ขนยาวไม่เกิน1/8นิ้ว มักผลิตจากฝ้ายใยยาว ขัดมัน หรือใช้ใยเรยอง • Corduroy ผ้ากำมะหยี่ลูกฟูก ขนตั้งเป็นแถว พื้นหลังมีทั้งลายขัดและลายสอง
1.2 ผ้าทอขนด้ายยืน(Warp Pile Fabrics)ใช้ด้ายยืน2ชุด ด้ายพุ่ง1ชุด ด้ายยืน1ชุดจะเป็นด้ายพิเศษ • 1.2.1 การทอผ้าสองชั้น(double method)เป็นการทอผ้าทีละสองผืน ใช้ด้ายยืน ด้ายพุ่งอย่างละ2ชุด ทอเป็นพื้นสองผืน ด้ายยืนชุดที่3เป็นตัวยึดผ้าสองชิ้นและเป็นขน อาจเป็นvหรือw ถ้าเป็นv ขนจะแน่น เป็นwขนจะห่าง เป็นวิธีที่นิยมเพราะทอได้เร็ว • Velvet ผ้ากำมะหยี่ขนกระจาย ขนยาวไม่เกิน1/16นิ้ว • panne velvet ผ้ากำมะหยี่ขนเรียบ ทิศทางขนไปทางเดียวกัน นน.เบา ขนเป็นมัน ดูแลยาก ใช้ไปขนไม่มีทิศทาง ใช้ตัดชุดราตรี • Pannette เหมือนpanne แต่ไม่มัน ใช้ทำผ้าม่าน ผ้าบุเครื่องเรือน
Jardiniere พื้นทอซาติน ลวดลายเป็นกำมะหยี่ เล่นความสูงต่ำของขน สวยงาม อาจตัดขนหรือไม่ตัดขน • Velour ผ้าทอเนื้อหนา แน่น หนัก ขนยาวกว่าvelvet ถ้าเป็นฝ้ายใช้ทำผ้าม่าน เป็นขนสัตว์ใช้ตัดโค๊ท • Furlike fabric ทำขนเฟอร์เทียม • 1.2.2 การทอโดยการใช้ลวด ใช้ด้ายยืนสองชุด ชุดหนึ่งขัดด้ายพุ่งเป็นพื้น อีกชุดเป็นขนทอข้ามเส้นลวดไปขัดกับด้ายพุ่ง ความยาวขนขึ้นกับขนาดของลวด
1.2.3 การทอผ่อนด้ายหรือทอผ้าเช็ดตัว ใช้ด้ายยืน2ชุด ชุดหนึ่งขัดกับด้ายพุ่ง อีกชุดเป็นห่วง • 2. ผ้าทอขนโดยการใช้เข็ม ใช้เข็มนำด้ายชุดพิเศษแทงลงบนพื้นผ้า ทากาวยางเพื่อยึดพื้นให้ติดกัน • 3. ผ้าขนเกิดจากใช้ด้ายเชอนิล ผ้ามีลักษณะเป็นขนสั้นๆทั้งด้านหน้าและด้านหลัง • 4. ผ้าขนจากการถักนิต ใช้เครื่องผลิตผ้าถักเจอร์ซี่แบบปล่อยห่วง ตัดขน และไม่ตัด มีความอ่อนนุ่ม ทำผ้าห่มเด็ก ผ้าทำตุ๊กตา • 5. ผ้าติดขน ใช้ขนติดผ้าหรือเส้นด้าย ราคาถูก • 6. ผ้าขนเกิดจากการตะกุย ผ้าทำด้ายเข้าเกลียวหลวม ทอธรรมดา เช่นผ้าสำลี
ผ้าถักนิต(Knitted Fabrics) เส้นด้ายคล้องกันเป็นห่วงตามแนวขวางหรือตามแนวยืนตลอดผ้า • 1.การถักนิตตามขวาง(filling knitting)ใช้ด้ายเส้นเดียวถักไปที่ละห่วงตามขวางจนหมดแถว แถวใหม่ถักคล้องกับแถวเดิม แบ่งออกเป็น • 1.1 plain or single jersey เป็นการถักนิตแถวเพิร์ลแถวสลับกัน ด้านหน้าเป็นลายก้างปลาตามแนวยืน ด้านหลังเป็นแถวคล้ายคลื่นตามขวาง ผ้ายืดได้ทั้งตามยาวและตามขวาง ทำเสื้อsweather • 1.2 rib structure ลักษณะเป็นสันลูกฟูก แนวก้างปลาตามแนวยืนทั้งสองด้าน เกิดจากถักนิต1ห่วงเพิร์ล1ห่วงสลับกันหรือ2x2,3x3แล้วแต่ต้องการสันฟูกใหญ่แค่ไหนส่วนมากใช้ถักขอบข้อมือ คอเสื้อ ขอบถุงเท้า
1.3 double knits ลักษณะเหมือนrib สองชั้นซ้อนกัน แต่เป็นผ้าชั้นเดียว เกิดจากการใช้เข็ม2ชุด ทำหน้าที่ถักและเกี่ยวยึด(interlock )ช่วยป้องกันไม่ให้ผ้าขาดแล้วหลุดต่อเนื่อง(run resistant)ผ้ามีเนื้อค่อนข้างหนา เห็นลายก้างปลาเหมือนกันทั้งสองด้าน • 2.การถักนิตตามแนวยืน(warp knitting)ใช้มือถักไม่ได้ มีความคงรูป • 2.1 tricot เนื้อเรียบ ละเอียด ด้านหน้าเป็นแนวก้างปลาตามแนวยืน ด้านหลังเป็นตามแนวขวางแบ่งเป็น one-bar,two-bar,three-bar,four-bar
2.2 Raschel ผลิตผ้าหลายรูปแบบ ผ้าถักนิตลูกไม้บางเบาจนถึงผ้าใช้งานหนัก สามารถทำลวดลายหลายอย่างเช่น ผ้าโปร่งตาข่าย ผ้าลูกไม้ ส่วนยืดเสื้อยกทรง ชุดว่ายน้ำ เสื้อเทเลอร์ พรม • 2.3 Simplex ผ้าเนื้อค่อนข้างหนา ทำผลิตภัณฑ์ใช้งานหนัก เช่น ถุงมือตีกอล์ฟ กระเป๋าเดินทาง • 2.4 Melanese คล้ายตริโก ลักษณะแบบrib knit เนื้อละเอียด ด้านหน้าสันนูนตามยาว ด้านหลังสันนูนทแยง ผ้าไม่run ทนทาน คงรูป ไม่ค่อยยืดหด ใช้ทำถุงมือ ชุดชั้นในสตรี
3. พัฒนาการเครื่องถักนิต ใช้เครื่องraschelผสมผสานการทอกับการถักเข้าด้วยกัน โดยการสอดเส้นด้ายชุดพิเศษผ่านห่วงถักตลอดแถวแนวขวางหรือแนวยืน ทำให้ดูเหมือนผ้าทอเรียกfall plate • Co-we-nit และ metap ใช้ทั้งด้ายสอด และด้ายเกี่ยวคล้องห่วงระหว่างแถว ทำให้ได้ผ้าเนื้อแน่นขึ้น
ผ้าลูกไม้และผ้าทอลวดลายผ้าลูกไม้และผ้าทอลวดลาย • 1. ผ้าลูกไม้(Lace)ด้ายควรเป็นด้ายที่เข้าเกลียวแน่น ผิวเรียบ จะทนทาน • 1.1 needle point lace วาดลวดลายลงบนกระดาษหรือผ้าแข็งโปร่งแสง วางทาบกับผ้าลินิน ปักเหมือนทำรังดุม • 1.2 bobbin lace or pillow lace ทำลวดลายบนหมอน ใช้เข็มหมุดตรึงตามลายใช้ด้ายพันผูกตามลาย • 1.3 filet lace ลูกไม้โปร่ง ใช้ด้ายสานไปมา แล้วสานทับเป็นลาย
ผ้าทอลวดลาย(figure weave) • 2.1 การทอดอกแบบดอบปี ใช้เครื่องประกอบdobbyช่วยเช่นผ้าbird’s eye • 2.2 การทอลวดลายโดยใช้ด้ายชุดพิเศษ • 2.3 การทอแบบลิโน เหมือนผ้ามุ้ง ใช้เครื่องประกอบdoupติดกับเครื่องทอลายขัด • 2.4 ผ้าทอปิเก(pique’ weave)มีสันนูนโดยมีด้ายหนุนด้านหลัง
การผลิตผ้าโดยวิธีอื่นการผลิตผ้าโดยวิธีอื่น • 1. การอัดสักหลาด(felting)การอัดเส้นใยขนสัตว์ให้เป็นแผ่น ปัจจุบันใช้ทอออกมาเป็นผืน นำมาตะกุยขนแล้วอัดเป็นแผ่น เป็นผ้าไม่มีทิศทางเส้นด้าย เนื้อค่อนข้างแข็ง ให้ความอบอุ่น กันเสียงสะท้อน ใช้ทำหมวก ปูโต๊ะบิลเลียด กรุผนังห้อง หุ้มลูกเทนนิส • 2. bonding การทำให้เส้นใยติดกันเป็นแผ่น โดยใช้เส้นใยที่ผลิตใหม่ เหลือจากการผลิต จากเส้นใยสังเคราะห์จากธรรมชาติ
วิธีการผลิตแบบbonding • 1.ใช้ความร้อน ใช้กับเส้นใยที่หลอมละลาย • 2. ใช้สารละลาย • 3. ใช้สารช่วยติด • 4. ใช้เข็ม • 5. ใช้วิธีแบบอัดกระดาษ
3. ฟิล์ม(Films) • การทำสารละลายให้เป็นแผ่น เรียกว่า พลาสติคหรือผ้ายาง • ผลิตจากสารละลายvinyle or polyurethane • คุณสมบัติกันน้ำ น้ำหนักเบา ดึงปรับขนาดหนา บางได้ ใช้ในงานแพทย์ ร่ม ผ้าปูโต๊ะ เคลือบติดกับผ้าใช้บุเก้าอี้ ทำหนังเทียม • 4. ฟองน้ำ(Foams)ผลิตจากยางและpolyurethane ใช้ประกอบกับผ้าได้ • 5. หนังแท้ ทำจากผิวหนังของสัตว์ ส่วนมากใช้ส่วนด้านหลังและด้านข้าง suede นิยมมาก มีความนุ่ม มีขนบางๆ ทนทาน
6. เฟอร์ เป็นหนังสัตว์ที่ขนติดอยู่ ทั่วไปเป็นขนสองชั้น ชั้นล่างขนสั้นละเอียด ช่วยหนุนให้ขนที่ยาว พองฟู ควรเก็บในที่เย็น ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น มีเฟอร์ผสมระหว่างขนสัตว์กับใยสัเคราะห์ • 7. การทำผ้าติดกันหลายชั้น ใช้กาว ความร้อน เช่น อัดฟิล์มกับผ้า ฟองน้ำหรือแผ่นเส้นใย • อัดผ้าถักนิตกับผ้าธรรมดาทำให้ผ้าไม่ยืดย้วย คงรูป ไม่หลุดลุ่ยง่าย
การตกแต่งผ้า(Finishing) • แบ่งตามความคงทนได้ 4 ประเภท • 1. การตกแต่งแบบถาวร(Permanent)เช่นการอัดพลีท ตะกุยขน ย้อมสี การทำย่นจากใยสังเคราะห์ • 2. การตกแต่งอย่างคงทน(Durable)เช่นการกันยับด้วยเรซิน • 3. การตกแต่งชั่วคราว(Temporary)เช่นการลงแป้ง การรีด • 4. การตกแต่งใหม่(Renewable)เช่น การย้อมสี การรีดจับเกล็ด
การตกแต่งตามวัตถุประสงค์การผลิตการตกแต่งตามวัตถุประสงค์การผลิต • การตกแต่งประจำ • 1.1 การทำความสะอาด เช่น Kier boiling Degumming scouring desizing • 1.2 การฟอกขาว(Bleaching) สารฟอกขาวส่วนใหญ่เป็น oxidizing agent เช่น สารฟอกขาวออกซิเจนผง อ่อนกว่าสารฟอกขาวคลอลีน สารฟอกขาวเปอร์ออกไซด์ ใช้กับเส้นใยเซลลูโลสและโปรตีน ความเข้มข้น3%ที่อุณ.ห้อง • 1.3 การชุบมัน(Mercerization)ทำให้ผ้าหดตัว แข็งแรง เป็นมัน ดูดน้ำ ใช้กับเส้นใยเซลลูโลส
การตกแต่งโดยใช้แอมโมเนีย มีชื่อทางการค้าว่า Duralized และ Sanforset • 1.4 การเผาขน ทำให้พื้นผิวผ้าเรียบ ใช้กับผ้าทอจากใยสั้น ทำได้สองวิธีคือ ผ่านผ้าเร็วๆไปบนเปลวแก๊ส กับการผ่านผ้าบนแผ่นโลหะที่เผาร้อน แล้วผ่านลงในน้ำ ผ้าthermoplastic ทำหลังการย้อมสีแล้ว • 1.5 การตัดขน • 1.6 การแปรงขน • 1.7 การทำให้ผ้าคงตัว โดยการเป่าลมร้อนหรือไอน้ำ • 1.8 การทุบ • 1.9 การรีด ทำให้ผ้าเรียบเป็นมัน • 1.10 การดึงให้ตรง 1.11 การตรวจ
2. การตกแต่งเพื่อความสวยงาม • 2.1 การรีดให้ผ้ามัน(calendering)และการตกแต่งลายน้ำ(moireing)ใช้ friction calender เป็นลูกกลิ้งต่างระดับความร้อนและน้ำหนัก • 2.2 การลดความมันของผ้า ทำขณะเป็นเส้นใยเติมสาร titaniumdioxide หลังจากเป็นผืนผ้าแล้วใช้การเคลือบ • 2.3 การตกแต่งให้ผ้าย่น โดยการใช้เชิงกล และสารเคมี • 2.4 การทำให้ผ้าโปร่งแสง โดยการใช้กรดกำมะถัน • 2.5 การใช้กรดละลายเส้นใยบางส่วน • 2.6 การเพิ่มขนาดและน้ำหนัก
การตกแต่งเพื่อประโยชน์ใช้สอยการตกแต่งเพื่อประโยชน์ใช้สอย • 3.1 การตกแต่งกันหด วิธีที่ง่ายใช้กับผ้าทั่วไปโดยแช่ผ้าในน้ำ บีบน้ำออก ตาก รีดให้แห้ง การกันหดเรียกทางการค้าว่า sanforize เมื่อนำไปซักผ้าหดอีกประมาณ 1.2% ผลพลอยได้ผ้าไม่ค่อยยับ • 3.2 การตกแต่งไม่ค่อยยับ ใช้กับผ้าที่ยับง่าย รีดยาก ข้อเสียคือ ผ้ากระด้าง ซับน้ำน้อย • 3.3 การตกแต่งให้ผ้าดูดซับน้ำ น้ำยาที่ใช้มีชื่อการค้าเช่น hysorb telezorbant sobtex • 3.4 การตกแต่งทนไฟ ทำเองได้โดยใช้สารละลาย boric acid 3 ออนซ์ + น้ำ 3 ถ้วย , borax 7 ozs+น้ำ8ถ้วย
3.5 การตกแต่งกันน้ำและสะท้อนน้ำ • 3.6 การตกแต่งกันแบคทีเรีย • 3.7 การตกแต่งกันไฟฟ้าสถิต • 3.8 การตกแต่งให้ผ้านุ่ม • การตกแต่งด้วยเรซิน ผ้าจะแข็งกระด้าง ดูดซับคลอลีน ผ้าเปลี่ยนสี สกปรกง่าย เกิดไฟฟ้าสถิตง่าย การดูแล เรซินละลายน้ำได้ ห้ามขยี้ แปรงแรงๆ ไม่ควรใช้สารฟอกขาวคลอลีน ไม่บิดแรง ตากในร่ม