1 / 46

Production and Operation Management

Production and Operation Management. การจัดการผลิตและการปฏิบัติการ. CHAPTER 1 บทนำ การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ Introduction to Production and Operation Management. หน้าที่หลัก 3 ประการ ของการจัดองค์การเพื่อผลิตสินค้าหรือบริกา ร. ด้านการตลาด ( Marketing )

tara
Download Presentation

Production and Operation Management

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Production and Operation Management การจัดการผลิตและการปฏิบัติการ

  2. CHAPTER 1บทนำการบริหารการผลิตและการปฏิบัติการIntroduction to Production and Operation Management

  3. หน้าที่หลัก 3 ประการของการจัดองค์การเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ • ด้านการตลาด (Marketing) • เป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ที่เกิดขึ้นของลูกค้า • ด้านการผลิต (Production) และการปฏิบัติการ (Operation) • เป็นการแปรสภาพทรัพยากรการผลิต ให้ออกมาเป็นสินค้าหรือบริการ • ด้านการเงิน (Financing) และการบัญชี (Accounting) • เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน การใช้เงินทุน การรวบรวมวิเคราะห์ ตลอดจนการรายงานข้อมูลทางการเงิน

  4. การผลิตและการปฏิบัติการการผลิตและการปฏิบัติการ การผลิต (Production) หมายถึง การสร้างสินค้าและบริการ การปฏิบัติการ (Operation) หมายถึง กระบวนการภายในองค์การที่ใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คน เงินทุน วัตถุดิบ และแปรรูปให้กลายเป็นปัจจัยนำออก (Output) ในรูปของสินค้าและบริการ การบริหารการผลิต (Production Management) เป็นการวางแผนและการตัดสินใจเพื่อการผลิตสินค้า

  5. ตัวอย่างของประเภทของการผลิตตัวอย่างของประเภทของการผลิต ที่มา : ดัดแปลงจาก William, J. Stevenson, Operations Management, 2002: 7.

  6. การบริหารการปฏิบัติการ (Operation Management : OM) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ (Service) โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ (Transformation) จากปัจจัยนำเข้า เพื่อให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (Output) หรือเป็นการออกแบบ (Design) การปฏิบัติการ (Operations) และการปรับปรุงระบบการผลิต (Production system improvement) ระบบการผลิต (Production system) เป็นระบบซึ่งเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้า(Input) ออกมาเป็นกลุ่มของปัจจัยนำออก (Output) ตามที่ต้องการ

  7. การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operation management : POM) เป็นการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทางปฏิบัติ และควบคุมกระบวนการแปรรูป (transformation process) ปัจจัยนำเข้า (input) หรือทรัพยากรการดำเนินงานให้เป็นผลลัพธ์ (output) ออกมาในรูปแบบของสินค้า และ/หรือบริการ อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

  8. การผลิตและการดำเนินงานการผลิตและการดำเนินงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็น - สินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) เช่น วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ และ - สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด

  9. 2. กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) • เป็นขั้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่ • - รูปลักษณ์ (Physical) โดย การผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน- สถานที่ (Location) โดย การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า- การแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย การค้าปลีก การค้าส่ง- การให้ข้อมูล (Informational) โดย การติดต่อสื่อสาร- จิตวิทยา (Psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ • 3. ผลผลิต (Output) • เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกันอันเนื่อง มาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) และบริการ (Service) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันหลายประการ

  10. การผลิต/บริการคือกระบวนการแปลงสภาพการผลิต/บริการคือกระบวนการแปลงสภาพ Transformation process OUTPUT INPUT วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน การจัดการ เงินทุน Feedback สินค้า หรือบริการ

  11. คุณลักษณะของการผลิตสินค้าคุณลักษณะของการผลิตสินค้า • สามารถนำมาขายซ้ำได้ • มีการจัดเก็บเป็นสินค้าคงคลังได้ • คุณภาพของสินค้าสามารถวัดได้ • การผลิตแยกออกจากการขาย • สามารถทำการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งได้ • ทำเลที่ตั้งของการผลิตมีผลต่อต้นทุนผลิต • มักง่ายต่อการผลิตแบบอัตโนมัติ • ก่อให้เกิดรายได้ โดยพื้นฐานจากการขายที่มีตัวตนและจับต้องได้

  12. คุณลักษณะของการบริการคุณลักษณะของการบริการ • ไม่สามารถนำมาขายซ้ำได้ • ไม่สามารถจัดเก็บเป็นสินค้าคงคลังได้ • คุณภาพของบริการบางลักษณะยากที่จะสามารถวัดได้ • การขายเป็นส่วนหนึ่งของการบริการ • เป็นเรื่องของการจัดหา ไม่มีตัวสินค้าจึงไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง • ทำเลที่ตั้งของการบริการมีความสำคัญในการติดต่อกับลูกค้า • มักจะยากต่อการดำเนินการแบบอัตโนมัติ • ก่อให้เกิดรายได้ โดยพื้นฐานจากการขายที่ไม่มีตัวตนและจับต้องไม่ได้

  13. การบริหารการผลิตและการดำเนินการการบริหารการผลิตและการดำเนินการ • เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณค่าในรูปของสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยกระบวนการแปรสภาพ INPUTให้ออกมาเป็น OUTPUT • คุณค่า : ลูกค้าต้องการจากการใช้งานหรือประโยชน์ • มูลค่า : ลูกค้าเป็นผู้จ่ายเงินตามมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ของ • ประโยชน์หลัก หรือคุณค่านั้น ปัจจัยนำเข้า MAN MONEY MATERIAL METHOD MACHINE MANAGEMENT

  14. ส่วนประกอบของระบบการผลิต (ภาพรวม)

  15. วัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิตวัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิต การบริหารการผลิตเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจและองค์การอันมี พันธกิจ (Mission) คือผลกำไรที่ทำให้องค์การอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว เมื่อมีการแยกพันธะกิจออกเป็นวัตถุประสงค์ของแต่ละหน้าที่หลักจะพบว่า ฝ่ายการตลาด : วัตถุประสงค์หลัก คือ การขยายตัวของส่วนแบ่งตลาด (Market Share) และความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)ฝ่ายการเงิน : วัตถุประสงค์หลักคือ ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) และการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ (Liquidity)ฝ่ายการผลิต : วัตถุประสงค์หลัก คือ คุณภาพ (Quality) และผลิตภาพ (Productivity)แต่แม้คุณภาพและผลิตภาพคือหัวใจของการผลิต

  16. วัตถุประสงค์ทั้งหมดของการผลิตมีดังนี้วัตถุประสงค์ทั้งหมดของการผลิตมีดังนี้          1. การสร้างคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับคุณภาพที่กำหนดได้         2. การมีระดับต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งแสดงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ         3. การมีความสามารถที่จะส่งผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลาที่กำหนดแก่ลูกค้า         4. การมีความยืดหยุ่นที่จะปรับปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความ ต้องการของลูกค้าและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

  17. คุณภาพ (Quality) เป็นวัตถุประสงค์หลักของการผลิตที่สำคัญที่สุด เพราะการที่ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ย่อมต้องการสิ่งที่ตรงกับความคาดหมายของเขา หรือถ้าได้ในสิ่งที่เหนือกว่าความคาดหมายก็ยิ่งพอใจมากขึ้น คุณภาพครอบคลุมความหมายถึงประโยชน์ใช้สอย รูปร่างลักษณะที่ดึงดูดใจ คุณค่าทางจิตใจที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ผลิตภาพ (Productivity) เป็นวัตถุประสงค์สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของการบริหารการผลิต เพราะผลิตภาพคือการเปรียบเทียบระหว่างปริมาณของปัจจัยนำเข้าและปริมาณของผลผลิตจากระบบการผลิต ผลิตภาพ = ผลผลิต / ปัจจัยนำเข้า

  18. อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพ(Productivity growth) อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพ = (ผลิตภาพของปีปัจจุบัน – ผลิตภาพของปีก่อนหน้า) ผลิตภาพของปีก่อนหน้า ตัวอย่าง ถ้าผลิตภาพเพิ่มจาก 100 ไปเป็น 120 ดังนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเป็น (120-100) / 100 = 0.20 หรือ 20%

  19. การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพเป็นสิ่งที่ผู้บริหารการผลิตให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะสามารถทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยทั้งในด้านค่าแรงหรือค่าใช้จ่ายใน การบริหารงานลดลง อันจะช่วยให้การแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งอื่นทำได้ง่ายขึ้น หรือทำให้ผลกำไรขององค์การสูงขึ้น การเพิ่มผลิตภาพทำได้หลายวิธีคือ      1. Efficientคือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ปัจจัยนำเข้าเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย         2. Downsizeคือ ผลผลิตเท่าเดิมแต่ใช้ปัจจัยนำเข้าลดลง         3. Expandคือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเร็วกว่า การเพิ่มขึ้นของปัจจัยนำเข้า         4. Retrench คือ ผลผลิตลดลงแต่ช้ากว่าการลดลงของปัจจัยนำเข้า         5. Breakthroughs คือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ใช้ปัจจัยนำเข้าลดลง

  20. สาเหตุการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพสาเหตุการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ • การเปลี่ยนแปลงของผลผลิต การเพิ่มขึ้นของผลผลิตมีผลจากการใช้เทคโนโลยีในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันต้องระมัดระวังไม่ให้คุณภาพของผลผลิตลดลง เพราะการลดต้นทุนอาจจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้าและบริการได้ • การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนำเข้า อาจมีผลต่อผลิตภาพโดยตรง 3 ประเภท    - แรงงาน การที่ผลผลิตภาพจะเพิ่มขึ้นได้ต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือและความรู้   - เงินทุน เป็นการจัดสรรเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนแรงงานคน ดังนั้นจึงควรมี • การพิจารณาให้เหมาะสม   - การจัดการ เป็นตัวประสานการใช้แรงงานและเงินทุน ให้อยู่ในสัดส่วนที่ทำ • ให้เกิดประสิทธิภาพและมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น

  21. EX. บริษัท ASEA TECH เป็นบริษัทขนาดย่อม ต้องเพิ่มต้นทุนเป็น 2 เท่า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนคงที่ และสามารถทำกำไรให้เพียงพอที่จะซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่ • ฝ่ายบริหารคาดการณ์ว่า หากบริษัทไม่ได้รับการอนุมัติเงินกู้จากธนาคาร ก็จะไม่สามารถซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่และอุปกรณ์การผลิตได้ โดยข้อจำกัดอยู่ที่กำลังการผลิตของเครื่องจักรเก่า ทำให้พนักงานต้องถูกให้ออกจากงาน กิจการต้องหยุดผลิตสินค้า • สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยมีทางเลือกในการตัดสินใจดังนี้ • เพิ่มยอดขาย 50% • ลดต้นทุนการเงิน 50% • ลดต้นทุนการผลิต 20%

  22. การเพิ่มผลผลิตทางวิทยาศาสตร์การเพิ่มผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ การเพิ่มผลผลิต = ผลิตผล ปัจจัยการผลิต การวัดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Measurement) • การเพิ่มผลผลิตโดยรวม = ผลิตผล (Total Productivity) แรงงาน + ทุน + วัตถุดิบ

  23. การวัดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Measurement) • การเพิ่มผลผลิตบางส่วน(Partial Productivity) • การเพิ่มผลผลิตแรงงาน = ผลผลิต (Labor Productivity)แรงงาน • การเพิ่มผลผลิตทุน = ผลผลิต (Capital Productivity) ทุน • การเพิ่มผลผลิตวัตถุดิบ = ผลผลิต (Material Productivity) วัตถุดิบ

  24. EX. บริษัทแห่งหนึ่ง มีพนักงาน 4 คน แต่ละคนทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน (ค่าแรง 640 บาทต่อวัน) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 400 บาทต่อวัน บริษัททำการทำการประมวลผลข้อมูลและปิดงานวันละ 8 รายการ ไม่นานมานี้บริษัทได้ทำการซื้อระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลได้วันละ 14 รายการต่อวัน ถึงแม้ว่าพนักงานจะมีจำนวนชั่วโมงการทำงานและการจ่ายเงินเช่นเดียวกัน แต่ทางบริษัทก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 800 บาทต่อวัน

  25. ประเภทของการผลิต แบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ • การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Made-to-order) • เป็นการผลิตที่คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย การเตรียมการผลิตและวัตถุดิบที่ต้องการจะใช้ตลอดจนกระบวนการผลิตจึงไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ต้องเป็นแบบอเนกประสงค์ และผู้ผลิตต้องมีความสามารถและความชำนาญหลายอย่าง เพื่อทำการผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ • ตัวอย่างของการผลิตตามคำสั่งซื่อได้แก่ การตัดเย็บชุดวิวาห์ การรับสร้างบ้านบนที่ดินของลูกค้า การทำผม

  26. การผลิตเพื่อรอจำหน่าย (Made-to-stock) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเป็นมาตรฐานเดียวกันตามความต้องการของ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายการจัดหาวัตถุดิบและการเตรียมกระบวนการผลิตสามารถทำได้ล่วงหน้า เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นเครื่องมือเฉพาะงานและผู้ผลิตถูกอบรมมาเพื่อทำงาน ตามหน้าที่เฉพาะอย่าง • ตัวอย่างเช่น การผลิตสบู่ การผลิตรถยนต์ การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแบบนักเรียน ฯลฯ

  27. การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ (Assembly-to-order) • เป็นการผลิตชิ้นส่วนที่จะประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปได้หลายชนิด ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านั้นจะมีลักษณะแยกออกเป็นส่วนจำเพาะหรือโมดูล (Module) โดย ผลิตโมดูลรอไว้ก่อน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจึงทำการประกอบโมดูลให้เป็นสินค้าตามลักษณะ ที่ลูกค้าต้องการ และแต่งเติมรายละเอียดให้สินค้าสำเร็จรูปมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการ ของลูกค้าเฉพาะราย • ตัวอย่างเช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หลายรุ่นที่มีการใช้อะไหล่เหมือนกัน

  28. ประเภทของการผลิต แบ่งตามลักษณะของระบบการผลิตและปริมาณการผลิต • การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ราคาแพง และมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย เช่น • - การสร้างเขื่อน • - การสร้างทางด่วน • - การต่อเรือดำน้ำ • - การต่อเครื่องบิน • การผลิตแบบโครงการมักมีปริมาณการผลิตต่อครั้งน้อยมากหรือผลิตครั้งละชิ้นเดียวและใช้เวลานาน

  29. ประเภทของการผลิต แบ่งตามลักษณะของระบบการผลิตและปริมาณการผลิต • การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) ต่อ • การผลิตจะเกิดขึ้นที่สถานที่ตั้งของโครงการ (Site) เมื่อเสร็จงานโครงการหนึ่ง จึงย้ายทั้งคนและวัสดุสิ่งของเครื่องมือต่าง ๆ ไปรับงานใหม่ เครื่องมือที่ใช้จึงเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่าย และคนงานต้องสามารถทำงานได้หลายอย่างจึงต้องใช้แรงงานมีฝีมือที่ผ่านการอบรมอย่างดี

  30. การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermit ten Production) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยมีปริมาณการผลิตต่อครั้งเป็นล็อต มีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตค่อนข้างบ่อย และผลผลิตไม่มีมาตรฐานมากนัก • เช่น การบริการคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกรวมกันตามหน้าที่การใช้งานไว้ในสถานีการผลิตแยกเป็นหมวดหมู่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของผังโรงงานในจุดที่จะสามารถทำให้กระบวนการผลิตทุกผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินไปตามขั้นตอนการผลิตที่กำหนดไว้อย่างคล่องตัว การเดินเครื่องจักรผลิตจะผลิตสินค้าชนิดหนึ่งจนได้ปริมาณตามที่ต้องการแล้วจึงเปลี่ยนไปผลิตสินค้าชนิดอื่นโดยใช้เครื่องจักรชุดเดิม

  31. การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) • เป็นการผลิตที่คล้ายกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องมาก จนบางครั้งจัดเป็นการผลิตประเภทเดียวกัน แต่จะแตกต่างกนตรงที่การผลิตแบบกลุ่มจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแยกเป็นกลุ่ม ๆ ในแต่ละกลุ่มจะผลิตตามมาตรฐานเดียวกันทั้งล็อต ในขณะที่การผลิตแบบไม่ต่อเนื่องจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์หลากหลายมากกว่า ลักษณะการจัดเครื่องจักรอุปกรณ์ของการผลิตแบบกลุ่มจะเหมือนกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องคือจัดเครื่องจักรตามหน้าที่การใช้งานเป็นสถานีแล้วงานจะไหลผ่านไปแต่ละสถานีตามลำดับขึ้นตอนของงาน • และเนื่องจากการผลิตแบบกลุ่มเป็นการผลิตของเป็นล็อต ขั้นตอนการผลิตจึงมีแบบแผนลำดับเหมือนกันเป็นกลุ่มๆ ตามล็อตการผลิตเหล่านั้น การผลิตแบบกลุ่มนี้ใช้ได้กับการผลิตตามคำสั่งซื้อและการผลิตเพื่อรอจำหน่าย เช่น การเย็บเสื้อโหลเป็นต้น

  32. การผลิตแบบไหลผ่าน หรือการผลิตตามสายการประกอบ หรือการผลิตแบบซ้ำ (Line- Flow หรือ Assembly หรือ Repetitive Production) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในปริมาณมาก เช่น การผลิตแชมพู การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องซักผ้า การผลิตแบบไหลผ่านจะมีเครื่องจักรอุปกรณ์เฉพาะของแต่ละสายผลิตภัณฑ์แยกต่างหาก ไม่มีการใช้เครื่องจักรร่วมกัน เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นแบบเฉพาะงาน • สำหรับแต่ละสายผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตที่รวดเร็ว และได้ปริมาณมาก การผลิตแบบนี้จะเหมาะสมกับการผลิตเพื่อรอจำหน่ายหรือใช้ในการประกอบโมดูลใน การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่อไป

  33. การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process หรือ Continuous Flow Production) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวในปริมาณที่มากมายอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องจักรเฉพาะอย่าง ซึ่งมักจะเป็นการผลิตหรือแปรรูปทรัพยากร ธรรมชาติให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นตอนต่อไป • ตัวอย่างเช่น การกลั่นน้ำมัน การผลิตสารเคมี การทำกระดาษ

  34. ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์      1.  ประสิทธิภาพของต้นทุน  (cost  efficiency)    การลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดยิ่งเป็นสิ่งสำคัญการเพิ่มประสิทธิภาพของต้นทุนอาจทำได้หลายวิธีเช่น - การลดค่าโสหุ้ย - การใช้อุปกรณ์การผลิตชนิดอเนกประสงค์ - การใช้ประโยชน์จากระบบการผลิตอย่างเต็มกำลัง - การควบคุมวัตถุดิบอย่างใกล้ชิด - การเพิ่มผลิตภาพให้สูงสุดและ - การจ้างแรงงานในอัตราต่ำ

  35. ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์ 2. คุณภาพ  (quality)  • บริษัทที่ประกอบการอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันผลิตภัณฑ์ของบริษัทใดเหนือกว่าในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้นย่อมมีโอกาสขายได้มากกว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง • ตัวอย่างเช่นทักษะของพนักงาน ตรงของอุปกรณ์การผลิตการจูงใจและสร้างความภูมิใจให้แก่พนักงานการชี้แจงให้พนักงานทราบถึงมาตรฐานของการทำงาน

  36. 3.  ความเชื่อถือได้  (dependability)  หมายถึงการกระจายผลิตภัณฑ์ออกครอบคลุมตลาดให้มากที่สุด ผลิตออกมาให้ได้ตรงตามกำหนดเวลาในตารางการผลิตและยังต้องรับผิดชอบในการขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางให้ตรงตามกำหนดเวลาอีกด้วยอันจะเป็นการทำให้ตลาดสามารถหาซื้อได้สะดวกทุกสถานที่และทุกเวลาที่อยากซื้อ 4.  ความยืดหยุ่น  (flexibility)  การใช้ระบบการผลิตที่มีระดับความเป็นอเนกประสงค์สูงสามารถปรับเปลี่ยนให้ผลิตสินค้าได้มากมายหลายรุ่นหลายแบบสนองตอบต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รวดเร็ว และสามารถปรับอัตราเร็วในการผลิตได้ง่ายความยืดหยุ่นยิ่งมีมากก็ยิ่งทำให้บริษัทสามารถควบคุมมิติทางด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ได้มากนั่นคือโอกาสที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าจะมีมากขึ้นตามไปด้วย

  37. หน้าที่การตัดสินใจของผู้จัดการฝ่ายผลิตและการดำเนินงานหน้าที่การตัดสินใจของผู้จัดการฝ่ายผลิตและการดำเนินงาน • Service &Production Design การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ • Quality Management การจัดการคุณภาพ • Process & Capacity Design การออกแบบกระบวนการ,กำลังผลิต • Location การเลือกทำเลที่ตั้ง • Layout Design การออกแบบผังองค์การ • HR. & Job Design การออกแบบงานและทรัพยากรบุคคล • Supply Chain Management การจัดการห่วงโซ่อุปทาน • Inventory & MRP & JIT. การจัดการสินค้าคงเหลือและระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี • Intermediate and Short term Scheduling การกำหนดตารางงาน • Maintenance การบำรุงรักษา

  38. หน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคมหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคม • ตอบสนองความต้องการของ Stakeholder • Customer • Suppliers • Orwners • Lende • Employees • Government Agency • Environment • Behavior ( กฎหมาย + ศีลธรรม + จารีตประเพณี )

  39. คำถามท้ายบท • อธิบายความหมายของการผลิต , การปฏิบัติการ และการบริหารการผลิต มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร • อธิบายพร้อมยกตัวอย่างคุณสมบัติของการผลิตสินค้าและการให้บริการ • องค์ประกอบหลักของระบบการบริหารการผลิตมีอะไรบ้าง • อธิบายความหมายของผลผลิต พร้อมยกตัวอย่าง

More Related